เยี่ยมชมบานหน้าต่าง “ครึ่งพัน” ที่บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรี 1

1

ประวัติความเป็นมาของ ‘บ้านป่องนัก’ เริ่มจาก คำว่า ‘ป่องนัก’ เป็นภาษาคำเมือง มีความหมายว่าบ้านที่มีช่องหน้าต่างจำนวนมาก

โดยบ้านป่องนักเป็นอาคารที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2468 เป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบคลาสสิคสมัยกรีก ราวศตวรรษที่ 13 ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบไทย ลักษณะหน้าต่างแบบแป้นเกล็ด จำนวน 250 บาน ช่องหน้าต่างจำนวน 469 ช่อง หลังคาทรงพีระมิด ใช้เป็นพลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่7 ในการเสด็จพระราชดำเนินมณฑลพายัพ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2469

ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรภาคเหนือ ก็ได้มช้เป็นที่ประทับเช่นกัน และหลังจากนั้นได้ปรับใช้เป็นกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 7 จนถึงปี พ.ศ. 2513 และในปัจจุบันได้ปรับใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสรุศกดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง

ซึ่งในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จะบอกเล่าเรื่องราวและฟื้นความทรงจำเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านต่างๆ ระหว่างพระมหากษัตริย์ กองกำลังทหารกับประชาชนในมณฑลพายัพ ภาคเหนือ และจังหวัดลำปาง

2

โดยก่อนที่จะเข้าเยี่ยมชม ขอแนะนำให้เข้าสักการะ อนุสาวรีย์จอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งท่านเป็นผู้ก่อตั้ง ค่ายสุรศักดิ์มนตรี แห่งนี้

ซึ่งที่มาของ “ค่ายสุรศักดิ์มนตรี" สืบเนื่องมาจาก ประมาณปี พ.ศ. 2445 พวกเงี้ยวมณฑลพายัพได้ก่อการกบฏขึ้นที่เมืองแพร่ และลุกลามไปถึงนครลำปาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ พลตรีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (ยศในขณะนั้น) เป็นแม่ทัพไปปราบปราม เมื่อได้ปราบปรามเงี้ยวจนสงบเรียบร้อยแล้ว พลตรีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี พิจารณาเห็นควรให้มีกองทหารตั้งที่นครลำปาง เพื่อป้องกันไม่ให้มีเหตุเกิดขึ้นอีก จึงได้กราบบังคมทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งกองทหารขึ้นที่จังหวัดลำปางเป็นครั้งแรก และพระราชทานนามค่ายทหารนี้ว่า "ค่ายสุรศักดิ์มนตรี"

211

ให้ประชมชนผู้เข้าขมได้มีโอกาสเข้าชมส่วนต่างๆ ที่บ่งเล่าถึงประวัติศาสตร์ต่างๆ เช่น ภาพถ่ายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ตรวจราชการมณฑลพายัพ ภาพถ่ายการสัมปทานป่าไม้ของบริษัทต่างๆ ที่เข้ามาขออนุญาตการทำไม้ ภาพถ่ายกองทัพกรุงสยามเดินทัพขึ้นมาปราบปรามกบฏฮ่อและเงี้ยว โดยการนำของจอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ภาพถ่ายการขุดอุโมงค์ขุนตาน ภาพถ่ายการสร้างทางลำปาง-เชียงราย ภาพถ่ายการสร้างสะพานรัษฎาภิเศก และการรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย



อ่านบทความต่อ ที่นี่




Create Date : 24 สิงหาคม 2558
Last Update : 24 สิงหาคม 2558 17:31:20 น.
Counter : 877 Pageviews.

1 comment
18 สิงหา รำลึกพระจอมเกล้าฯ ราชา พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
เคยได้ยินชื่อนี้หรือไม่?..."King of Siam's Eclipse" มันคือชื่อปรากฏการณ์สุริยุปราคา ที่ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยการกล่าวถึงสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อปี ค.ศ. 1868 ว่าเป็น "King of Siam's Eclipse" นั่นเอง

1282464043

 เหตุการณ์สุริยุปราคา เมื่อปี ค.ศ. 1868 หรือ พ.ศ. 2411 ของไทย นั้นเป็นที่กล่าวขวัญและเป็นที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจวบจนถึงบัดนี้

หลักฐานจากประกาศหลายฉบับแสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาการคำนวณเพื่อพยากรณ์ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุริยุปราคา จันทรุปราคา ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลามาก ไม่ได้คำนวณได้รวดเร็วอย่างในปัจจุบัน

     ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงประกาศผลการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ล่วงหน้า 2 ปี และเชิญคณะสำรวจทั้งจากฝรั่งเศส อังกฤษ และสิงคโปร์ เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ ณ หว้ากอ ต.คลองวาฬ อ.เมืองฯ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังมิดดวงอยู่นานถึง 6 นาที 46 วินาที แต่แล้วการเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนั้นก็ทำให้พระองค์ทรงประชวรเนื่องจากได้รับเชื้อไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในวันที่ 1 ตุลาคม

พระจอมเกล้าฯ ราชา พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

เป็นที่ยอมรับกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาวิชาวิทยา-ศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราศาสตร์ทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์เทียบเท่ากับนักดาราศาสตร์สากล พระองค์ทรงวางรากฐานที่จะนำวิทยาการใหม่ของตะวันตก ตลอดจนความรู้ทางวิทยาศาสตร์แผนใหม่ และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารประเทศอย่างระมัดระวังและดัดแปลงให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ของประเทศ สิ่งใดแปลกใหม่ แม้ไม่ทรงได้เคยรู้มาก่อน ก็ทรงตั้งพระทัยติดตามศึกษาหาความรู้ด้วยน้ำพระทัยของนักวิทยาศาสตร์

p174pcn5su1hrl1qkm1q5rpulakr3

เมื่อนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีการประชุมกัน เพื่อพิจารณาหาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้ตกลงมีมติเลือกวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนวณคาดหมายไว้ว่าจะเกิดสุริยุปราคาที่ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน อนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นไป และได้ประกาศยกย่องว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย นับว่าเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง

ในรัชสมัยของพระองค์ ทรงได้รับการยกย่องจากวงการวิทยาศาสตร์ของชาติมหาอำนาจในยุคนั้น กล่าวคือ

1. พระองค์ทรงได้รับการทูลเกล้าฯถวายพระเกียรติ ให้ทรงเป็นสมาชิกกิติมศักดิ์ของสัตววิทยาสมาคม (Zoological Society) แห่งสหราชอาณาจักร

2. ประมุขของต่างประเทศตระหนักดีว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องของวิทยาศาสตร์ เครื่องราชบรรณาการส่วนมากเป็นเครื่องมือและหนังสือทางวิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย เช่น พระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ได้ถวายกล้องโทรทรรศน์ ซึ่ง เซอร์ จอห์น เบาริง ได้บันทึกว่า "กล้องที่นำมาถวายมีคุณภาพต่ำกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่ทรงมีอยู่แล้ว"


เจ้าแผ่นดินผู้ทรงอัจฉริยะภาพรอบด้าน

Thomson,_King_Mongkut_of_Siam

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพสูงยิ่ง ทรงเป็นทั้งกวี นักประพันธ์ นักวิชาการ นักภาษาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักบริหารนักการเมือง นักการทูต และที่สำคัญสูงสุด คือ ทรงเป็น เจ้าแผ่นดิน ขณะผนวชทรงพยายามทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้ถึงซึ่งความบริสุทธิ์ ของศาสนา และในฐานะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำวิชาการสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาประเทศ ทรงรักษาชาติให้อยู่รอดปลอดภัย

พระองค์มีพระราชภารกิจมากมาย ขณะที่สถานการณ์บ้านเมืองเต็มไปด้วยความยากลำบาก และอยู่ในภาวะล่อแหลมจากแผนการล่ออาณานิคม แต่พระองค์ก็ทรงดำเนินการต้านกระแส คลื่นยักษ์ของการล่าเมืองขึ้นได้สำเร็จ ทรงวางรากฐานการปฏิรูปและการพัฒนาประเทศชาติ แต่เนื่องด้วยทรงมีเวลาเพียง 17 ปี ในช่วงที่ทรงครองราชย์ ทั้งยังต้องทรงใช้เวลาในการศึกษา เรียนรู้วิทยาการต่าง ๆ ด้วยพระองค์เองอยู่นานหลายปี

ขณะที่พสกนิกรชาวไทยยังไม่มีการศึกษามากนัก สถานการณ์บ้านเมืองจึงยังไม่พร้อมรับการ เปลี่ยนแปลงใด ๆ หากแต่พระองค์ทรงพยายามวางรากฐานทางการศึกษา ทรงโน้มน้าวให้ ประชาชนยอมรับวิทยาการแผนใหม่และมีเหตุผลมากขึ้น พระราชภารกิจหลายอย่างจึงมามี สัมฤทธิผลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสของพระองค์ เป็นส่วนใหญ่

ไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียสเท่านั้น เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศตลอดมาพระมหากษัตริย์ของไทยทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรมทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกรทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญมั่นคงก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ บางพระองค์ได้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติด้วยความกล้าหาญ และเสียสละ

ซึ่งในการนี้ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้กองทัพบกจัดสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในอิริยาบถทรงยืน ความสูง 13.90 เมตร ขึ้นมา เป็นหนึ่งในอนุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม 7 พระองค์ ณ “อุทยานราชภักดิ์” อุทยานที่สร้างขึ้น ด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ อันนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นปึกแผ่นของชาติไทยตราบจนทุกวันนี้

11207328_388367348036680_8373140390506789212_n

สิ่งที่สำคัญ ในการจัดสร้างอุทยานครั้งนี้ คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคเอกชน ได้ร่วมกันบริจาค เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในผู้จัดสร้าง และได้แสดงความจงรักภักดี ด้วยการ ทำให้ อุทยานราชภักดิ์ แห่งนี้เป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อเผยแพร่พระราชประวัติของกษัตริย์แห่งสยามที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการต่อไป

ข้อมูลจาก WeLoveRTA

ลิขสิทธิ์บทความของ emaginfo.com
ติดตามบทความ พิเศษ&Lifestyleหรืออ่าน แมกกาซีน

(ติดต่อขอใช้บทความที่ฝ่ายการตลาด โทร 02-721-6411,086-367-0920)




Create Date : 24 สิงหาคม 2558
Last Update : 24 สิงหาคม 2558 14:53:26 น.
Counter : 1399 Pageviews.

0 comment
รวมที่เที่ยวงานเข้าพรรษา 4 ภาค ไม่ไปไม่ได้แล้ว
เข้าพรรษาปีนี้ มีวันหยุดยาวต่อเนื่องกันถึง 4 วัน หลายคนมีแพลนกลับบ้าน หรือออกท่องเที่ยวต่างจังหวัด แต่สำหรับคนที่อยากจะเดินทางเที่ยว แต่ยังไม่มีแพลน นี่อาจจะเป้นคำตอบของการเดินทางให้กับคุณได้

//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/OrdinationED1.jpg
สำหรับเข้าพรรษา นอกจากจะเป็นวันสำคัญทางศาสนาแล้ว ยังเป็นวันที่มีประเพณีอันงดงามของไทย อย่างการแห่เทียน และกิจกรรมทางศาสนาที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาค ซึ่งไฮไลท์ของแต่ละภาคจะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

ภาคกลาง

1. ประเพณีตักบาตรดอกไม้" พระพุทธบาท สระบุรี
//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/556000009265601.jpeg
ตักบาตรดอกไม้ ประเพณีอันเก่าแก่ ของชาวสระบุรี ที่ควรค่าแห่งการอนุรักษ์ยิ่ง หนึ่งปีมีเพียงครั้งเดียว และมีเพียงแห่งเดียว คือที่พระพุทธบาท สระบุรี เท่านั้น

ขบวนรถบุปผชาติ ต่อแถวเรียงราย ให้ชาวพุทธศาสนิกชน ที่มาร่วมทำบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ด้วยการถวายดอกเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ ได้ชมความวิจิตรงดงามของขบวนดอกไม้ อย่างตื่นตาตื่นใจ
//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/IMG_4473.jpg
ที่พระพุทธบาทแห่งนี้ ยังมีอีกหนึ่งเอกลักษณ์คือความงดงามของดอกเข้าพรรษาที่บานสะพรั่งทั่วทั้งวัดพระพุทธบาท
ตั้งแต่เช้าตรู่ จนกระทั่งตะวันเคลื่อนคล้อยลอยลงต่ำ หลังมณฑปพระพุทธบาทแลลับทิวเขาสุวรรณบรรพตไป

เพราะฉะนั้น ใครที่อยากชมความงดงามของบรรยากาศงานประเพณีหนึ่งเดียวในโลก "ตักบาตรดอกเข้าพรรษาและถวายเทียนพระราชทานประจำปี 2558"

2. ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำ ลาดชะโด อยุธยา
//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/7fbihbgadhbf6f6bhhedg.jpg
ถือเป็นอีกหนึ่งงานประเพณี ที่น่าตื่นตาตื่นใจในภาคกลางเลยก็ว่าได้ สำหรับ"ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด” ที่ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดขึ้นเพื่ออนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงไว้

//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/p17uhmnbrt19oqdur1tg3t3r1qsu5.jpg

แถมยังได่ส่งเสริมให้คนในชุมชนร่วมกันบำรุงรักษาแม่น้ำลำคลองให้อยู่ในสภาพสวยงาม ร่วมสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถีชีวิตริมฝั่งคลองตลอดเส้นทางสายน้ำแห่งชีวิต ที่ซึ่งในน้ำยังมีปลา ในท้องทุ่งนายังเขียวขจีสัมผัสกับกิจกรรมต่างๆ มากมาย
ไฮไลท์ของประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำลาดชะโดนี้ จะมีขบวนเรือแห่เทียนพรรษาทางน้ำ งานแสดงภาพถ่ายวิถีชาวลาดชะโด และการแข่งขันการละเล่นพื้นบ้านลาดชะโด ที่สุดแสนจะหรรษา พาทุกคนร่วมกันย้อนยุคไปยังสมัยที่เมืองกรุงเก่ายังรุ่งเรือง

ใครที่ยังไม่เคยไปชม ห้ามพลาดกับประเพณีหนึ่งเดียว ในการแห่เทียนทางสายน้ำแห่งวัฒนธรรม


3. พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ ณ วัดบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/Image1.jpg
เป็งานพิธีทางศาสนาที่จัดต่อเนื่องกันมาทุกปี ของจังหวัดชัยนาท เพราะที่วัดพระบรมธาตุวรวิหารมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ โดยในอดีตวัดแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบพิธีพุทธาภิเษกของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ โดยถือกันว่าน้ำหน้าวัดเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำไปใช้ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาอีกแห่งหนึ่ง และภายในวิหารมีบ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่มีน้ำออกมาตามธรรมชาติ มีอายุกว่า 700 ปี

//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/b438ecc6f036717f64762c2446fb47bd.jpg

สำหรับในเทศกาลวันเข้าพรรษาของทุกปี จะจัดให้มีขบวนแห่ผ้าห่มพระธาตุทางเรือ จากหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ไปจนถึงวัดบรมธาตุวรวิหาร เพื่อเป็นการสักการบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสืบสานประเพณีที่มีมาแต่โบราณ รวมทั้งสร้างความสมัครสมานสามัคคีและเชื่อมโยงพุทธศาสนิกชนให้ใกล้ชิดกับพุทธศาสนาให้มากยิ่งขึ้น โดยถือเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวชัยนาท เชื่อว่าหากทำการห่มผ้าพระธาตุเจดีย์จะมีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นสิริมงคลกับตนเอง

นอกจากนี้ที่ชัยนาทยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์ช่วงงานเข้าพรรษานั่นก็คือ การแข่งขนเรือยาวประจำปี ที่แสนจะคึกคัก สนุกตื่นเต้นเร้าใจ ในบรรยากาศการเชียร์ทีมฝีพายที่สู่กันชนิดที่ว่าไม่มีใครยอมใคร ก็ถือเป็นสีสันประเพณีของชัยนาท ที่น่าไปสัมผัสบรรยากาศติดขอบแม่น้ำ

ใครที่อยากขบวนแห่ผ้าห่มพระธาตุทางเรืออันยิ่งใหญ่ เดินทางมาได้ที่ชัยนาท ไม่ไกลนี้


ภาคเหนือ

1. ประเพณีใส่บาตรเทียน วัดบุญยืนพระอารามหลวง จ. น่าน
//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/p173h010s6qp31h5p901cdmjjg3.jpg
ประเพณีใส่บาตรเทียนถือเป็นประเพณีที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งอยู่คู่กับชาวอำเภอเวียงสามาเป็นเวลานานช้านาน เพราะเป็นประเพณีที่มีทั้งฝ่ายพระสงฆ์ คฤหัสถ์ใส่บาตรร่วมกัน ที่อื่นปรากฎเฉพาะคฤหัสถ์ใส่บาตรพระเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นต้องมาน่านเท่านั้น ถึงจะได้มีโอกาสได้ชมประเพณuอันแสนเป้นเอกลักษณ์ของชาวเวียงสานี้

//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/Image-1.jpgประเพณีใส่บาตรเทียน ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน เริ่มมีประเพณีใส่บาตรเทียนขึ้นในยุคโบราณยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เดิมทีประเพณีใส่บาตรเทียน เป็นประเพณีที่ทำเฉพาะวัดบุญยืน และต่อมาได้ขยายไปทั่วอำเภอเวียงสา
ในช่วงหลังเวลาเที่ยง ของวันหลังออกพรรษา พระสงฆ์จะเดินเรียงแถวกันนำเทียนและดอกไม้วางลงในบาตร โดยใส่เทียน 2 เล่มเพื่อบูชาพระธรรมและพระวินัย พร้อมด้วยดอกไม้ซึ่งเป็นตัวแทนของพระสงฆ์ หลังจากพระสงฆ์ทั้งหมดที่มาร่วมพิธีใส่บาตรเสร็จก็จะเป็นตอนของคณะศรัทธาสาธุชนเดินใส่บาตรเทียนไปรอบโต๊ะที่ตั้งบาตรไว้ ถือเป็นภาพประเพณีที่หาชมยากในเมืองไทย


ภาคอีสาน

1. ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา อุบลราชธานี
//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/1-19.jpg
ถือเป็นงานชมขบวนแห่เทียนที่ทั่วทั้งประเทศรอชม เพราะฝีมือการแกะสลักและติดพิมพ์ เทียนพรรษาของอุบลราชธานี นั้นโด่งดังมากๆ //www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/buddhist_lent94.jpg

ไม่เพียงแต่ขบวนเทียนพรรษา ศิลปะอันวิจิตรงดงามที่ได้รับความความสนใจเท่านั้น ยังมีประเพณีกิจกรรมเอ้เมืองเรืองโรจน์, ลั่นกลองโฮม ฮ่วมบุญเข้าพรรษา, กิจกรรมเยือนชุมชน คนทำเทียน, ถนนสายธรรม ถนนสายเทียนพิธีรับเทียนหลวงและผ้าอาบน้ำฝนพระราชทาน
มีการแสดงมโหรีมหาดุริยางค์, สืบสานศิลป์ เทียนถิ่นไทยดี, ของฝากของต้อน, งานพงแลง เบิ่งแญงสาวงามเทียนพรรษา, มหาเวียนเทียนวันอาสาฬบูชา, วิจิตรอลังกา, สว่างไสว ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม, ชมการแห่ฟ้อนบูชา ราชธานีแห่เทียน … เรียกได้ว่ายิ่งใหญ่ สมเป็นตัวแม่แห่งประเพณีอแห่เทียนเสียจริงๆ

2.มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง สุรินทร์
//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/p18rbh87nt1gsb1rla4igomsvjn6.jpg
จังหวัดสุรินทร์เป็นดินแดนที่มีความรุ่งเรืองทางอารยธรรมมาช้านาน โดยมีชาวสุรินทร์ที่มีเชื้อสายเขมร ลาว กวยและจีนอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ประกอบกับช้างมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น การแห่เทียนพรรษา การบวชนาค โกนจุก เป็นต้น

//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/20120727_3_1343372417_440472.jpgโดยในช่วงเข้าพรรษาของทุกๆปี จังหวัดสุรินทร์จะจัด“มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง” เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม และดำเนินสืบสานความเป็นเมืองช้างให้อยู่คู่สุรินทร์ตลอดไป

มีการจัดขบวนแห่เทียนพรรษาที่ตกแต่งอย่างสวยงาม วิจิตรอลังการ จาก 12 คุ้มวัดชื่อดังในจังหวัด อาทิ วัดบูรพาราม พระอารามหลวงเฉลิมพระเกียรติ วัดศาลาลอยพระอารามหลวง วัดกลางสุรินทร์ ฯลฯ
ร่วมด้วยขบวนฟ้อนรำศิลปวัฒนธรรมของชาวจังหวัดสุรินทร์จากนักแสดงนับร้อยชีวิต พร้อมขบวนแห่ช้างที่ยิ่งใหญ่นับ 87 เชือก ไม่ว่าจะเป็นขบวนช้างประดับสวยงาม ขบวนช้างเทิดพระเกียรติ ขบวนช้างพระเถระชั้นผู้ใหญ่ เป็นต้น
และไฮไลท์งานบุญใหญ่จะจัดให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมทำบุญตักบาตรบนหลังช้างหนึ่งเดียวในโลก ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง โดยมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่นั่งบนหลังช้างออกรับบิณฑบาตแก่นักท่องเที่ยวให้ได้ร่วมใส่บาตรกันทุกคน


ภาคใต้

1. ตักบาตรธูปเทียนวันเข้าพรรษา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/IMG_9608.jpg
แม้ภาคใต้จะเป็นศูนย์รวมชองชาวมุสลิมส่วนใหญ่ แต่พุทธศาสนิกชนคนไทยในเมืองใต้ก็มีไม่น้อยเช่นกัน
อย่างที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ทุกปีจะจัดงานเที่ยวเมืองคอนตามรอยธรรม ตักบาตรธูปเทียน ทำบุญเสริมสิริมงคล โดยจัดเป็นเทศกาลรื่นเริงและผนวกเข้ากับงานบุญสักการะพระบรมธาตุ พระพุทธสิหิงค์ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ และเกจิอาจารย์ต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
มีกิจกรรมพิธีหล่อเทียน ตักบาตรธูปเทียนพิธีทางศาสนา กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา และพิธีถวายเทียนพรรษาให้วัดต่างๆ


//www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2014/06/Image-2.jpg





Create Date : 24 กรกฎาคม 2558
Last Update : 24 กรกฎาคม 2558 15:40:34 น.
Counter : 1594 Pageviews.

0 comment
กองพลทหารราบที่ 15 กับความหวังของทุกคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทุกคนคงจำได้เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 เหตุการณ์ปล้นปืนทหารที่กองพันพัฒนาที่ 4 บ้านปเหลง ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส อย่างที่ไม่มีคาดคิดว่าอาวุธปืนที่สูญหายกว่า 400 กระบอก ปัจจุบันตามคืนได้กว่า 100 กระบอก

images (1)

รัฐบาลพยายามทุกวิถีทางในการตามหาอาวุธปืนจนสรุปสถานการณ์แล้วว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ธรรมดาเสียแล้ว จึงได้จัดตั้งกองกำลังทารขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา ด้วยการตั้งกองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากรเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2548 โดยนำฐานจัดตั้งจากกองพลทหารราบที่ 16 จ.ประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นกองพลหนุน ต่อมาเปลี่ยนชื่อและแปรสภาพเป็น “กองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร.15) ตั้งอยู่ที่ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ใช้ชื่อค่าย “พญาตานี” ตรงข้ามค่ายอิงคยุทธบริหาร โดยมีหน่วยรองคือ กรมทหารราบที่ 151 เพื่อเตรียมรับผิดชอบจ.นราธิวาส กรมทหารราบที่ 152 รับผิดชอบจ.ยะลา กรมทหารราบที่ 153 รับผิดชอบจ.ปัตตานี และกรมสนับสนุน ตั้งที่แ.เกาะสะบ้า อ.เทพา จ.สงขลา

และยังมีกองพันทหารช่างที่ 15 กองพันทหารม้าที่ 31 กองพันสื่อสารที่ 15 หน่วยข่าวกรองทางทหาร ในปัจจุบันจะมีกองกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 1 กองทัพภาคที่ 2 กองทัพภาคที่ 3 ลงมาช่วยแก้ปัญหา ด้วยการรับผิดชอบเป็นจังหวัดคือ ฉก.นราธิวาส, ฉก.ปัตตานี และฉก.ยะลา เป็นหลัก

IMG_8348

แล้วยังมีส่วนราชการด้วยการบูรณาการทุกส่วน พยายามสร้างผลงานกันอย่างเต็มที่เพื่อคืนความสงบสุขกลับมาให้จงได้ เนื้อในผลงานของพล.ร.15 นั้นมีไม่น้อย มีความพยายามที่จะสะสมสร้างงานมวลชน การพัฒนาสัมพันธ์ งานการข่าวทั้งเชิงลึกและคุณภาพมาตลอด เพื่อพร้อมที่จะรับผิดชอบ จชต.ต่อไปในอนาคต อาทิ ด้านการพัฒนากำลังพล สร้างขวัญและกำลังใจ ดูแลสิทธิกำลังพล ปลูกฝังความรับผิดชอบสำนึกในหน้าที่ ด้วยคำที่ว่า “ไม่เสียสละ ชัยชนะไม่เกิด” เน้นการฝึก การอบรมที่เป็นไปได้และใช้ประโยชน์ได้จริง โดยดูปัจจัยสำเร็จได้จากปัญหาการร้องเรียนที่ลดน้อยลงไปมาก การสมัครใจขออยู่ต่อ และการสละสิทธ์การขอย้ายกลับภูมิลำเนาก็มีสถิติที่เพิ่มขึ้นตามมาด้วย

เนื่องด้วยเพราะผู้บัญชาการทุกท่านได้เร่งรัดติดตามสิทธิ์กำลังพลและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีเกาะติดทุกขั้นตอน และเพิ่มสิทธิพิเศษมากขึ้น เช่น เงินตอบแทนคุณแผ่นดิน เงินสงเครราะห์ช่วยเหลือ การจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ รางวัลตอบแทนตามเหตุการณ์ บ้านพักอาศัย จัดตั้งศูนย์อาหารราราถูก รวมทั้งดูแลครอบครัวส่วนหลังโดยสมาคมแม่บ้านทหารบก ทั้งการปลูกพืชเศรษฐกิจสวนครัว เลี้ยงปลา ส่งเสริมอาชีพในทุกรูปแบบ และการดูแลช่วยเหลือบุตรพิการ เป็นต้น


ด้านการฝึกตามวงรอบของกองทัพบก ก็มีการฝึกกันอย่างจริงจัง นำเหตุการณ์จริงมาจำลองและประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์จริง โดยมีกำลังเตรียมพร้อมเผชิญเหตุต่างๆ เช่น 1 กองพันมี 1 กองร้อยบรรเทาสาธารณภัย และ 1 กองร้อยช่วยเหลือประชาชนอย่างเตรียมพร้อมทันทีเมื่อมีเหตุการณ์หรือภัยพิบัติเกิดขึ้น โดยเฉพาะการฝึกทหารใหม่ปีละ 2 ผลัด ผลัดละประมาณ 1,700 นาย พร้อมกับให้การดูแลเสมือนเป็นลูกหลาน

ในส่วนของงานตามโครงการพระราชดำริ พล.ร.15 รับผิดชอบทั้งสิ้น 16 โครงการ คือ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9-12 โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมโนะ และโครงการศิลปาชีพอีก 11 โครงการ โดยมีลักษณะของการดูแลให้ชาวบ้านมีความอุ่นใจ คอยประสานงานกับหน่วยราชการและกำกับดูแลให้เรียบร้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่มากที่สุด เพื่อสนองพระราชดำริของพระองค์ท่านทุกพระองค์ การปฏิบัติราชการสนามแบบเป็นหน่วย ที่ได้รับผิดชอบจาก กอ.รมน.ภาค 4 สน. คือศูนย์ประสานงานด่านตรวจ

ลักษณะอำนวยการประสานงานให้ด่านตรวจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หน่วยเฉพาะกิจยะลา 12 (ฉก.12) รับผิดชอบอ.รามัน จ.ยะลา หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25 (ฉก.25) รับผิดชอบอ.ทุ่งยางแดง, อ.มายอ, อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี และหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 20 (ฉก.20) รับผิดชอบอ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษจริงๆ สำหรับกำลังพลทหารเป็นรายบุคคล จะส่งตัวไปช่วยราชการในทุกกองกำลังทหารและทุกภาคส่วนอย่างซึมลึกในงานทุกด้าน แม้ในปีที่ผ่านมา การปฏิบัติงานของพล.ร.15 อาจยังไม่เป็นที่ถูกใจนักเนื่องจากสถานการณ์ที่กดดันและความคาดหวังของประชาชนที่อยากให้มีการยุติความรุนแรงและคืนความสงบกลับสู่พื้นที่ 3 จชต.อย่างรวดเร็ว

14375602941437560623l

แต่ผู้ก่อความไม่สงบก็ยังคงปฏิบัติการรุนแรงอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งทางพล.ร.15 เอง ก็ได้ทำการศึกษาและประเมินสถานการณ์อย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขสถานการณ์ความรุนแรง และหวังจะนำความสงบกลับคืนสู่ท้องที่ภายในเวลาอันรวดเร็ว และพยายามปฏิบัติการด้วยควารมสุขุม รอบคอบเป็นหลัก ดังวิสัยทัศน์ที่ว่า “กองพลทหารราบที่ 15 จะเป็นองค์กรที่มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพบก ตอบสนองยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้นำในการพัฒนาประชาชนให้การยอมรับ เชื่อมั่น และศรัทธา ทั้งยังเป็นผู้ที่เชิดชูและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการตามโครงการพระราชดำริอย่างมีประสิทธิภาพ”




Create Date : 24 กรกฎาคม 2558
Last Update : 24 กรกฎาคม 2558 15:18:00 น.
Counter : 2779 Pageviews.

0 comment
รวมพลัง Bike For Mom ปั่นเพื่อแม่ เฉลิมพระเกียรติฯ

ได้ยินข่าวกิจกรรม Bike for Mom “ปั่นเพื่อแม่” ซึ่งเป็นกิจกรรมตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงแสดงความกตัญญูกตเวที แด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 12 สิงหาคม 2558 ซึ่งถือว่ากิจกรรมนี้มีความน่าสนใจมาก และเชื่อว่านักปั่นทั้งมือฉมัง มือสมัครเล่น และประชาชนทั่วไป ก็ควรยิ่งแก่การเข้าร่วมกิจกรรม

พระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
11 Banner Picture 3x4m-02
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย ทรงสนพระทัยเรื่องของการขี่จักรยานด้วย ได้รับสั่งมากับรัฐบาลและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเสมอว่า ทรงห่วงใยผู้ใช้จักรยานในประเทศไทยมาโดยตลอด เพราะการสนับสนุนให้ใช้จักรยานจะต้องทำให้ประชาชนมีความปลอดภัย

ซึ่งในการปั่นจักรยานครั้งนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ จะทรงร่วมกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบและทรงรับสั่งให้ดูแลความปลอดภัยผู้เข้าร่วมงาน ที่สำคัญต้องทำให้ประชาชนมีความสุข

งานครั้งนี้พระองค์ทรงทำเพื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงอยากให้คนไทยให้ความสำคัญกับครอบครัวของตัวเอง อีกทั้งหากต้องการให้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมประวัติศาสตร์ ที่พสกนิกรชาวไทยจะได้ร่วมปั่น

Bike for Mom กิจกรรมที่ได้ผลลัพธ์มหาศาล

Bike for Mom “ปั่นเพื่อแม่” เป็นกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 12 สิงหาคม 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พสกนิกร ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้มีโอกาสร่วมกิจกรรม และได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อีกทั้งยังเป็นการร่วมแสดงออกของประชาชน ถึงความรักที่มีต่อแม่ และแม่ของแผ่นดิน
01 Banner Picture 3x4m-02 (1)
นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมยังมุ่งหวังให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่า ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติอย่างทั่วถึง และยังเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติ ที่จะร่วมกันจัดกิจกรรมถวายพระพรแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ไม่เพียงแค่นั้น การปั่นจักรยานยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการร่วมออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยกระตุ้นและปลูกฝังให้ประชาชนรักการออกกำลังกาย และเสริมสร้างความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา สามารถนำกิจกรรมดังกล่าวไปต่อยอดขยายผลต่อไปได้อีกด้วย


การเตรียมการสำหรับการปั่น ใน 76 ภูมิภาค

bike map

ถือเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนชาวไทยที่อยู่ต่างจังหวัด ที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ เพราะนอกจากการจัดกิจกรรมในกรุงเทพมหานครแล้ว ในแต่ละจังหวัดเอง ทางผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ ก็ได้เตรียมการกิจกรรมปั่นเพื่อแม่ ไว้ตามกรอบที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น การกำหนดเส้นทางจักรยาน ซึ่งแต่ละจังหวัดจะพิจารณาพื้นที่ตามความเหมาะสม พร้อมกำหนดมาตรการในการอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนที่มาร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ ในกิจกรรมอื่นๆ แต่ละพื้นที่จะเป็นผู้กำหนดซึ่งจะเน้นกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมในเชิงวัฒนธรรม ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกันอย่างเต็มที่ และทั่วถึง


การรับสมัคร และกำหนดการกิจกรรม

กิจกรรมปั่นเพื่อแม่จะมีขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558 เวลา 15.00 น. พร้อมกันทั่วประเทศ
bike for mom

โดยเส้นทางส่วนกลาง จะเริ่มจากพระลานพระราชวังดุสิต ไปกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กลับมาสิ้นสุดที่พระลานพระราชวังดุสิต รวมเป็นระยะทาง 43 กิโลเมตร ซึ่งในการนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะทรงจักรยานนำทีม ข้าราชการ เอกชน และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วย

สำหรับเส้นทางส่วนภูมิภาค จะเริ่มต้นที่ศาลากลางจังหวัด ไปตามเส้นทางที่แต่ละจังหวัดกำหนดและเริ่มในเวลาเดียวกัน โอกาสนี้ รัฐบาลขอเชิญชวนประชาชนทุกหมู่เหล่า สวมใส่เสื้อสีฟ้าเข้าร่วมกิจกรรม

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียด และเปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ //www.bikeformom2015.com ได้ตั้งแต่วันที่ 1-24 กรกฎาคม 2558

จากนั้นนำเลขลงทะเบียนไปรับเสื้อ และเข็มกลัด ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ดำเนินการมอบให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 9 หมื่นตัว น้ำดื่ม 5 แสนขวด เข็ดกลัดพระราชทาน 1 แสนอัน โดยกรุงเทพมหานคร เปิดให้รับได้ในวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2558 ที่สนามกีฬากองทัพบก ถนนวิภาวดีฯ ส่วนในต่างจังหวัดรับได้ที่ศาลากลางจังหวัดในวันที่ 12 สิงหาคม 2558 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น




Create Date : 24 มิถุนายน 2558
Last Update : 24 มิถุนายน 2558 17:14:54 น.
Counter : 3653 Pageviews.

0 comment
1  2  3  

Nuu_LittleAnt
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog