สอบเข้าคณะนิติศาสตร์ คลิ๊ก ... http://tutorlawgroup.blogspot.com/
Group Blog
 
All blogs
 
มาตรการควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้

สิ่งที่ปรารถนาสูงสุดของผู้เป็นเจ้าหนี้คือการได้รับชำระหนี้ กฎหมายกำหนดช่องทางเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้สมดังสิทธิที่เจ้าหนี้มี
ช่องทางที่สำคัญมีดังนี้

** การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้**

1. ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ เว้นแต่ในข้อที่เป็นการของลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้
2. วิธีการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้น คือ เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้มาในคดีนั้นด้วย
3. ผลของการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ก็คือ หากมีการได้รับทรัพย์สินมาตามคำพิพากษาทรัพย์สินนั้นก็ตกเป็นของลูกหนี้เดิม

วิธีการและผลของการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
ข. เป็นหนี้กู้ยืม ก. อยู่ 500,000 บาท ก. ฟ้องเรียกเงินกู้ดังกล่าวต่อศาลแพ่ง ศาลพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องของ ก. ให้ ก. แพ้คดี ก. อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากยืน ก. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินกู้จำนวนนี้ และไม่ประสงค์จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เพราะเห็นว่าแพ้คดีมาแล้วถึง 2 ศาลแล้ว ค. จึงเป็นเจ้าหนี้ ก. ค้างจ้างทำของ เป็นเงิน 400,000 บาท จะใช้สิทธิของ ก. เพื่อฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในนามของตนเองแทน ก. ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ค. สามารถฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้ เพราะเป็นกรณีที่ ก. เพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้ ค. เจ้าหนี้เสียประโยชน์ ค. ฎีกาฯ เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้ที่ตนเป็นหนี้อยู่ และการฎีกาหาใช่เป็นการที่ ก. ลูกหนี้จักต้องกระทำเป็นการส่วนตัวโดยแท้

** การเพิกถอนการฉ้อฉล**

1. เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้ บังคับถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อเท็จจริง อันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำโดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวนั้นก็พอแล้วที่จะเพิกถอนได้ แต่กรณีดังกล่าวมานี้มิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน
2. ผลของการเพิกถอนการฉ้อฉลนั้นย่อมได้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้หมดทุกคน แต่การเพิกถอนไม่กระทบกระทั่งสิทธิของบุคคลภายนอกอันใดโดยสุจริตก่อนเริ่มคดีขอเพิกถอน



Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:05:18 น. 0 comments
Counter : 4104 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

hanayo_boyz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




NEWS UPDATED!! ** hanayolaw@gmail.com **

อ่านความรู้เกี่ยวกับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

คลิ๊ก .. http://tutorlawgroup.blogspot.com ครับ

ขอบคุณสำหรับ
การติดตามและกำลังใจมากมายของทุกๆท่านครับ


หากมีข้อสงสัยหรือปัญหากฎหมาย

** อีเมลติดต่อผมได้โดยตรงครับ **

** hanayolaw@gmail.com **
หรือ
** hanayo_dona@hotmail.com **



** อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามได้นะครับ

** ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดครับ...
Friends' blogs
[Add hanayo_boyz's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.