ชีวิตในฟินแลนด์ อยู่ให้เป็น ไปต่อให้มีความสุขกับการใช้ชีวิตในฟินแลนด์ ...
Group Blog
 
All Blogs
 

การสมัครเรียนระดับ ปริญญาตรี (ขึ้นไป) ในมหาวิทยาลัยฟินแลนด์

ใครที่กำลังอยากทราบเรื่องการจะเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของฟินแลนด์ หลักสูตร ปริญญาตรี ขึ้นไป อ่านทางนี้นะคะ 
จะเล่า 2 ทาง เพราะเคยสอบมาแล้ว ทั้งคู่ คือ 

1.การเข้าเรียนมหาลัยฯ ของฟินแลนด์ในระบบ ภาษาฟินน์
2. เข้าในระบบ ภาษาอังกฤษ 

ซึ่ง ทั้ง 2 ระบบ จะต้องใช้ วุฒิ ในการสมัครเข้าเรียน ขั้นต่ำตามที่มหาลัยกำหนดค่ะ 

เช่น ถ้าเรายังไม่ได้เรียนจบ ม.6 หรือ จบวิชาชีพ ของระบบฟินน์มาเลย เราจะกระโดด ข้ามไปเรียนระดับปริญญาตรี เลยไม่ได้นะคะ ขอเน้น 

เว้นแต่ 

เราจะเข้าไปเรียนในระบบภาษาอังกฤษ ซึ่ง ตรงนี้เราจะ ใช้วุฒิ จากเมืองไทยได้ เช่น ม.6 เป็นต้นไป ( บางหลักสูตร ใช้ประสบการณ์ การทำงานเกิน 3 ปี ไรงี้) 

และถ้าเราจะเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษนี้ เราจะต้อง สอบวัดระดับภาษาอังกฤษก่อน เช่นไอเอล 6.5 (อันนี้ก็ยากขั้นเทพ และค่าสอบ ครั้งละ 250€) 
ถึงจะเข้าไปขอสมัครสอบได้ แค่ขอสมัครสอบ เองนะคะ 

แล้วยังมีเรื่องของการเทียบวุฒิ อีกค่ะ เพราะวุฒิ ม. 6 ของเรา หรือ ป.ตรี ป. โท อันนั้นไม่ได้จบในประเทศยุโรป ซึ่ง แต่ละมหาลัย จะกำหนดไว้ในลิตส์ของมหาลัยแล้ว ว่าใครจบจากประเทศใหน ในลิสต์ ต้องเอาวุฒิไปเทียบ ไม่เช่นนั้น จะสมัครสอบไม่ได้ หรือได้ ก็จะถูกตัดสิทธิ์เรื่องเอกสารไม่ครบ ตอนรายงานตัวน่ะค่ะ 

กลัวเสียเวลานะคะ เผื่อเตรียมตัวสอบตั้งนาน เผลอๆ สอบผ่าน แต่ไม่มีสิทธิเรียนอีก 

ส่วนสวัสดิการ ของการเรียนระดับ ป.ตรี จะแตกต่าง จากเงินสวัสดีการของ สนง.แรงงาน หรือที่เรียกว่า เตเอ นะคะ อันนี้ขอเน้น ให้ทุกคนเข้าใจ 

เพราะเตเอ ไม่ได้ให้เงินซัพพอร์ต กรณีที่เราเรียนระดับปริญญาตรีค่ะ 
แต่หน่วยงาน ที่เรียกว่าเกล่า เป็นคนรับผิดชอบค่ะ จำนวนเงิน ต่างกันมากมายค่ะ 

(อันนี้บอกแม่บ้านคนไทยในฟินแลนด์ ให้เข้าใจ ว่าตอนไปคุยกับเตเอ ขอให้ถามเค้าให้ชัวร์ ว่าได้เงินซัพพอร์ตเท่าไหร่ ไม่ใช่ว่าถามแค่ได้หรือไม่ได้ เพราะคำตอบคือได้ แต่มันจะได้ในเรทฯ ของเกล่าไงคะ ซึ่งมันต่างกันเยอะ)




 

Create Date : 26 ตุลาคม 2562    
Last Update : 26 ตุลาคม 2562 23:28:27 น.
Counter : 1220 Pageviews.  

บรรยากาศการเรียน ช่าง ในเวิร์คชอบ ฟินแลนด์

เวิร์คช็อบนี้ เป็นโรงเรียนใน บริษัท TTS นะคะ ไม่ใช่ในโรงเรียนช่างวิชาชีพ ทั่วไป  แต่ในโรงเรียนวิชาชีพ ที่ป้าลีจบ ก่อสร้างมา ห้องเวิร์คช็อบ ก็ใหญ่มากกว่านี้อีกค่ะ  เอาไว้หาคลิปได้ จะมาลงให้ดูอีกทีนะคะ




 

Create Date : 14 เมษายน 2562    
Last Update : 14 เมษายน 2562 15:12:39 น.
Counter : 587 Pageviews.  

เรียนช่าง ติดตั้งระบบห้องน้ำฟินแลนด์(หลักสูตรเฉพาะทาง)

สัปดาห์นี้ เปิดคลาสเรียน ผู้ติดตั้งด้านระบบห้องน้ำ เป็นหลักสูตรภาษาฟินน์ 7 เดือนค่ะ ของ บริษัท TTS (เอ็นจิเนียร์)

ต้องเล่าก่อนค่ะ ว่า ระบบห้องน้ำของคนฟินแลนด์ คือ เราจะมีห้องซาวน่าด้านใน และประเทศนี้เป็นเมืองหนาว ดังนั้น ด้วยระบบต่างๆ อาจไม่เหมือนกับเมืองไทย ซึ่งจะค่อยๆนำเสนอต่อไปในเพจนี้

ภาพแรกเรียนช่างก่อสร้างค่ะ ภาพสอง ช่างไม้ สุดท้ายก็ช่างติดตั้งระบบห้องน้ำนี่อ่ะค่ะ

ป้าลีเอง เรียนจบ สาขาก่อสร้าง ในระบบภาษาฟินน์ เป็นหลักสูตร 3 ปีนะคะ นั่นแปลว่า ต้องพูดและใช้ภาษาฟินน์ได้ดีแล้ว เพราะหลักสูตรนี้เรียกว่า วิชาชีพที่มีใบอนุญาติเฉพาะทาง (เวลารับเงินเดือนก็รับ บวกๆ จากใบอนุญาติต่างๆ ที่ผ่านการเรียนหรืออบรมมาแล้วน่ะค่ะ สายช่างจะไม่เหมือนสายอื่นนะคะ เห็นมีหลายคนเข้ามา ยืนยันนั่งยัน เรื่องค่าแรง เช่น บอกว่า หัวหน้างานเป็นกุ๊ก มา สิบปี รายได้ แค่ 15 ยูโรต่อ ชม. คือ ด้วยใบอนุญาติกุ๊ก กับก่อสร้าง มันก็ทำงานต่างกันอยุ่แล้ว และค่าแรงงาน ตามกฏหมายเค้าก็กำหนดไว้ชัดเจนมากๆ อยู่แล้วค่ะ)

แต่ป้าลี พูดภาษาฟินน์ไม่ได้ค่ะ ได้น้อยมาก แค่สื่อสารพื้นๆ แต่ถนัดคำนวณค่ะ จบมาได้ก็ถูไถมากๆ ดังนั้น ออกตัวก่อนเลยว่า ไม่เก่งอะไรเลย เพราะคนเก่งก็คงเรียนสาขาอื่นกันน่ะค่ะ (คริๆ)

จบก่อสร้างแล้ว ป้าลีก็เข้าเรียน ช่างไม้ค่ะ ตอนนี้ ดร็อบเรียน เพราะเข้าไปขอจดทะเบียนผู้ประกอบการ(เคยเขียนเล่าแล้ว)

อีกด้าน ณ ตอนนี้ ป้าลีก็ ต้องเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเข้าต่อด้านอื่นเช่นกัน ทำให้สมองน้อยๆ ไม่ค่อยมีพื่้นที่จัดเก็บอะไรมากมายขนาดนั้นจ่ะ

ทีนี้ หลักสูตรแบบนี้ เราจะเรียนตั้งแต่ ระบบระบายความชื้น ที่ฟินแลนด์เราให้ความสำคัญหนักมาก เพราะเมืองหนาว อากาศเราเป็นน้ำแข็งในช่วงหน้าหนาว แทบไม่เห็นแดด

ระบบความดันอากาศ เช่น จะสังเกตุว่า ทำใม เมืองหนาว เราต้องมี หน้าต่างประตู 2 ชั้น (ใช่ป่ะ) เพราะบางที ด้านนอก เรา -30 แต่ด้านในเราจะปรับ +18 หรือ + 20 ก็แล้วแต่บ้านนะคะ เห็นความต่างเลยเน๊อะ เรื่องอุณหภูมิ

ระบบซาวน่า ระบบปูกระเบื้องที่นอกเหนือจากกันซึม แล้วเราทำไรบ้าง ด้วยมาตรฐานยุโรป เราต่างกับเมืองไทยอย่างไร และตัวผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องมีใบอนุญาติอะไรบ้าง เช่น จบก่อสร้าง จะปูกระเบื้องเองได้มั๊ย ทำซาวน่า หรือ ต่อท่อ ได้มั๊ย ตอบว่าไม่ได้นะคะ ถึงต้องมีหลักสูตร ผู้ชำนาญการแบบนี้ต่ออีก จากที่จบ ก่อสร้างแล้ว

ส่วนใครที่จะตอบ ก็เห็นบางคนทำเองนะ

1.เค้าอาจมีใบอนุญาติแล้ว เช่นป้าลี ทำบ้านตัวเองเตรียมขายไง ขายเสร็จก็ซื้อใหม่ ทำอีก ขายอีก นั่นล่ะค่ะ งานหลักงานหนึ่งของป้าลี (หลังไมล์มาถามหนักมากว่า ทำงานอะไร ถึงเดินทางเที่ยวต่างประเทศอยู่นั่นแหละ เห็นมีแต่นั่งเรียนไม่ทำงานทำการอะไร คงจะอยากถามว่า เอาอัลไล แหลก ใช่มะ ฮาาา)

2.ยืนยัน ณ ตรงนี้นะคะว่า ใครที่ไม่มีใบอนุญาติ จะซ่อมไรในบ้านตัวเอง คือ ผิดกฏหมาย แน่นอนค่ะ ตอนนี้ อาจไม่มีใครตรวจสอบได้ เพราะทำเองอยู่เอง ขายเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นล่ะค่ะ สัญญารายละเอียด เค้าบังคับเขียน ชัดเจนมาก และกฏหมายการซื้อขายบ้านที่นี่ คนซื้อถูกคุ้มครองหลายปีมากๆ นับจากตอนซื้อ ตรงนี้ ต้องเข้าใจนะคะ ไม่ใช่โอนเสร็จตัวใครตัวมันเหมือนบ้านเราเด้อ

และ ตอนเรียน ประเทศนี้ จ่ายค่าเรียนนะคะ อันนี้ ทราบกันแล้วเน๊อะ แต่ขอเล่าต่างนิดนะคะ หลักสูตรแบบนี้ สำนักงานแรงงานเค้าจ่ายค่าแรง ขึ้นอยู่กับว่า ผู้เรียนมีรายได้ก่อนหน้านี้ เท่าไหร่ด้วยนะคะ ไม่ใช่แค่รับเงินเรียน เดือนละ 800 ยูโร เหมือนปกติทั่วไปนะคะ

เอาล่ะ ไปเชคกันเองต่อนะคะ ว่า หลักสูตรแบบนี้ ใครสนใจสาขาใหน อาจไปติดต่อ ขอเรียนเพิ่มได้ค่ะ ไม่ใช่มีแค่สาขานี้ค่ะ เช่น ป้าลี รอ เรียน อีกสาขา คือ ธุรกิจระหว่างประเทศ (ฟินแลนด์ - จีน) เรียน 6-7 เดือนเช่นกัน แต่เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ
ซึ่ง มีเปอร์เซ้นต์ได้ 2 % เท่านั้นเอง ดังนั้น ขอมีความหวังใน 2% นั้นค่ะ สู้ๆ
(พอดีอยาก นำเซรั่มผลไม้ป่าพวกเบอรี่ สายพันธ์ต่างๆ ของฟินแลนด์ ส่งไปเอเชีย และ อยากนำรังไหมไทย เข้ามาส่งผู้ผลิตที่เค้าแปรรูปด้านความงาม ในยุโรป)
ก็เลยอยากได้อบรมหลักสูตรนี้ค่ะ เข้าทางกับที่กำลังสอบเข้าทำวิจัย ด้านการตลาดพอดี

มีเพจเฟซบุ๊ค เขียนเรื่อง เรียนที่ฟินแลนด์ นะคะ ถ้าหายจากที่นี่นาน ก็ไปตามกันบ้างนะคะ

https://www.facebook.com/liifinland/




 

Create Date : 12 เมษายน 2562    
Last Update : 12 เมษายน 2562 2:26:48 น.
Counter : 693 Pageviews.  

เรื่องการ สมัครมหาวิทยาลัย สาขา วิศวกรรม ใน ฟินแลนด์










 วุฒิที่สมัคร เขียนว่า Insinööri(AMK) แปลว่า วิศวกร นะคะ เรียน 4 ปี รับ 105 คน



การสมัครเพื่อเรียนต่อ ระดับ มหาวิทยาลัย ในฟินแลนด์นั้น ทำได้ หลายเงื่อนไขนะคะ

1.จบ ม.6 ในฟินแลนด์
2.จบ วิชาชีพ ในฟินแลนด์
3.จบ ม.6 จาก ประเทศไทย หรือประเทศอื่น นะคะ

ของป้าลี ใช้เงื่อนไข ทั้ง ข้อ 2 และ ข้อ 3 ค่ะ (สมัครมา 3 รอบแล้วค่ะ ณ วันนี้ คือรอบที่ 4)

ใน เงื่อนไข ข้อ 1 คือ นักศึกษาที่เรียน เกรด 12 ของที่นี่ จะมีการเตรียมตัวสอบในภาคสุดท้ายของการศึกษา คือ ไม่มีการเรียนการสอน ให้เตรียมตัวอ่านหนังสือเองที่บ้าน

ส่วน 2+3 ที่ป้าลีสมัครนั้น เป็น Metropolia ammattikorkea https://www.metropolia.fi/
 เป็นภาคภาษาฟินน์

 และ  Hamk สาขาที่สมัครสอบ คือ วิศวกรรม นะคะ สอบครั้งแรก เป็นภาษาฟินน์เช่นกันค่ะ
สมัครครั้งที่สอง เป็นหลักสูตร ภาษาอังกฤษ(ใช้ SAT+Ielts)

https://www.hamk.fi/Sivut/default.aspx 


 การใช้วุฒิ ม.6 จากเมืองไทย สมารถสมัครเรียนได้ โดย นำวุฒิที่จบ ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ
แล้วส่งให้ทางมหาวิทยาลัย หลังจาก กรอกใบสมัคร ทางหน้าเว็บ เรียบร้อยแล้วค่ะ
 (เค้าจะส่งเป็นข้อความมาบอกว่า ให้เราส่ง เอกสารให้เค้า ภายในวันที่เท่าไหร่)

จากนั้นเค้าจะส่งเอกสารให้เราไปสอบ ตามวัน เวลา และสถานที่ นั้นๆ ค่ะ


การใช้วุฒิวิชาชีพ ที่ป้าลี เรียนจบ จาก Stadin ammattiopisto จากเฮลซิงกิ ก็สมัครในเว็บ เช่นเดียวกันค่ะ

ของภาคภาษาฟินน์ นั้น ข้อสอบ ทั้งของ Metropolia และ Hamk นั้น สอบ ในหัวข้อ(ป้าลีสอบมาแล้วทั้ง 2 ที่ค่ะ)

1.ความสามารถทางภาษาฟินน์
2.คณิตศาสตร์และความสามารถทางการแก้ไขปัญหาเชิงคณิตศาสตร์
3.ฟิสิกส์ และ เคมี

การสอบของ Metropolia นั้น ในสายเทคนิค ทุกสาขา(ช่างต่างๆ) จะมาสอบรวมกัน  ณ วันที่ป้าสอบ มีหลายห้อง และ ห้องที่ป้าลีเข้าไปนั่งสอบนั้น ประมาณ 500 คน (แปลว่า ผุ้เข้าสอบ ต้องหลายพันคน)

มาถึงสถานที่สอบ ก่อนเวลามากๆ เพราะห้องสอบหายาก(ณ ตอนนั้นนะคะ) ไปรอเค้าเรียกชื่อ เดินเข้าที่สอบ ทีละ คนค่ะ นั่ง เว้น ที่  ใช้ได้แค่ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด ยากลบ ไม่ให้ใช้เครื่องคิดเลขใดๆ

ข้อสอบ ประมาณ คณิตฯ ม.ปลายค่ะ แต่การแก้ไขปัญหาทางคณิตฯ นั้น ค่อนข้างแปลกๆ

เช่น โจทย์ บอกว่า มีเด็กเล่นในสวนหย่อม  เด็กผมบลอนด์ บอกว่า ชั้นเป็นเด็กผู้ชาย  เด็กผมดำ บอกว่า ชั้นเป็นผู้หญิง   คำถาม...  ถ้าเวลาผ่านไปแล้ว คนผมบลอนด์คือ ญ หรือ ชาย คนผมดำคือ ญ หรือ ช  ให้วิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ (ในภาษาฟินน์นะคะ)

เอ่อ... มันให้ตรูคำนวณ ตอนใหนฟวะ  

คำตอบ ป้าก็ใส่เป็น สมการ ลูกศร (คิดเอง ขณะนั้น เริ่ดเน๊อะ) ตอบถูกอีก ฮาาาา

ฟิสิกส์ ก็ให้คำนวณ เส้น 3 เส้น ที่วิ่งพันกัน ให้คำนวณ ความเร็ว ของมัน  (เอาไว้ หาข้อสอบเก่ามาให้นะคะ)


ส่วน ฟิสิกส์ของ Hamk ก็ประมาณว่า

แม่น้ำสายหนึ่ง ยาว 50 เมตร ลึก 12 เมตร มีน้ำไหลผ่าน  ความเร็ว....(จำตัวเลขไม่ได้ละ) /วินาที
คำถาม ให้คำนวณ กำลังการไหลของน้ำสายนี้ ในแบบ VATIO ชิหาย... ละ อ่านมาและสรุปเข้าใจหมด ไม่เข้าใจคำเดียว คือ วาติโอ... อัลไลลลล ว้าาาาาา   ก็เขียนไปไรก็ไม่รู้ เดาๆเอา ในเรื่องของการเคลื่อนไหวของน้ำ ที่ไม่รู้เลยว่า Vatio คือไร....

ส่วนคณิตฯ ไม่ยากเลยค่ะ  ง่ายกว่าเราสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เมืองไทยเยอะ(มั่กๆ) เช่น 3x+9 = 80  แล้วให้หา x (ป้าสมมุติโจทย์มานะคะ อย่าตกใจ แต่ก็ประมาณนี้ คือ หมูๆ ว่างั้น)
ส่วนที่ไม่หมู คือให้โจทย์เชิงวิเคราะห์ ในภาษาฟินน์มา แล้วเราต้องวิเคราะห์ในการหาผลคำนวณ อันนี้ก็ยาก แม้ว่า ลักษณะโจทย์จะไม่ยากก็ตาม แต่ยากตรงที่ต้องวิเคราะห์ภาษาฟินน์นั่นแหละ....

สอบไม่ผ่านค่ะ...   ไม่เซอไพรส์แน่นอน... รู้อยู่แล้ว เพราะมันยาก

การสอบความสามารถทางภาษาฟินน์ ของทั้งสองที่

Metropolia  จะให้บทความมาทางเว็บไซด์ของมหาลัย ให้ล่วงหน้ามา 2 อาทิตย์ ประมาณ 15 หน้า ให้อ่านแล้วจำไปไว้ เพื่อไปตอบคำถาม ในห้องสอบ (อันนี้ก็ไปงงกับ โจทย์ที่ถามอีก ว่าให้ตอบผิดหรือถูก คือจำเรื่องราวได้ แต่โจทย์ที่ให้มาน่ะ เจือกงง ว่ามันถามอะไร คือ ใช้คำยาก ว่างั้น)

วิธีการ....  ลอกคนข้างๆ กับคนข้างหน้า... เด็กสาวมาจาก ญี่ปุ่นคนข้างๆ ให้ลอก เค้าเห็นป้า ตอบผิดเยอะ

ส่วนของ Hamk  ไม่ต้องลอกใครได้ เค้าถามว่า
1.มาสมัครครั้งนี้ได้อย่างไร ทราบจากใหน สมัครสาขาอะไร
2. คิดว่า ถ้ามาเรียนแล้ว คิดว่า จะได้อะไรจากสถาบัน
3.เมื่อเข้าเรียนไปแล้ว คิดว่า จะให้อะไรกับ สถาบัน..

แป่ว...   คือตอบเป็นภาษาอังกฤษไปค่ะ  เพราะตรูเขียนเรียงความ ภาษาฟินน์ตกแกรมม่า  (ก็ตอบภาษา ประมาณ 3 บรรทัดแรก ทั้ง 3 คำถาม แล้วอธิบายเป็นอังกฤษ

ก็ ตก เหมือนเดิม...





ตอนนี้ ทาง มหาลัยกำลังเปิดรับสมัคร ซึ่ง ป้าลีกับลูกชายก็สมัครของ Mtropolia   ลูกชายก็จบ อัมมัตติ เทอมนี้ พอดีค่ะ  มาอยู่ฟินแลนด์ได้ 3 ปีเต็ม (ทำใมเรียนเร็วจัง เพราะว่า นางเรียนภาษาฟินน์ แค่ 10 เดือน แล้วแม่บังคับไปสอบ อัมมัตติเลย บอกนางให้ไปนั่งหูตึงเป็นใบ้ สักหนึ่งเทอม ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะไงเค้าจับไปเรียนภาษาฟินน์อยู่ค่ะ เรียนอังกฤษ หรือ สวีดิช ด้วย)

ตอนนี้ นางก็พูดได้ทั้ง ภาษาฟินน์ และ ภาษาอังกฤษ ตลอด 2 ปีที่ผ่านมานี้ คือ เป็นใบ้ในช่วงแรก ตามที่แม่บอกเด๊ะๆ  หลังๆมามันก็ปรับตัวได้ของมันเองแหละ  สมองอย่าใบ้ก็เป็นพอ

ตอนนี้ ป้าลียกธงขาวแล้วค่ะ วันนี้สมัครไปสอบเป็นเพื่อนลูกเฉยๆ  แต่ตั้งใจไปเรียนต่อภาคภาษาอังกฤษแล้วค่ะ ใน Ph.D  พร้อมๆ กับ ทำบริษัทไปด้วยในตัว ที่เล่าไปแล้วก่อนหน้าว่า อยู่ระหว่างดำเนินการ

คือ ทุกอย่างไม่มีไรง่าย คุณต้องเข้าใจ แต่ขอให้ทุกคนสู้ และหาทางเดินให้ตัวเองให้ได้ อย่านั่งอยู่แต่บ้าน ไม่มีใครสร้างเส้นทางมาหน้าบ้านคุณแน่นอน  การใช้ชีวิตเมืองนอกยากมาก

แต่ที่นี่ฟินแลนด์ ถือว่า สะดวกสบายสุดแล้ว ถ้าเทียบกับการที่เด็กไทยตต้องดิ้นรนไปเรียนเมืองนอกเมืองนา เพราะว่าที่นี่ ไม่ต้องเสียค่าเทอมไงคะ ตลอดทุกหลักสูตรที่กล่าวมา มีแต่จะให้เงินและให้สวัสดิการต่างๆ ตามที่เล่าเอาไว้ ก่อนหน้านี้นะคะ




 

Create Date : 25 มีนาคม 2561    
Last Update : 25 มีนาคม 2561 17:57:02 น.
Counter : 790 Pageviews.  

เด็กคนนี้กำลังไปเรียน กีต้าร์ ในเฮลซิงกิ



วันนี้อยากพูดถึง การดำเนินชีวิตในเฮลซิงกิ ในส่วนที่เราต้องเดินทางไปทำกิจกรรมต่างๆ  คือ เด็กๆ ที่นี่ หลายคนจะมีกิจกรรมนอกเหนือจากการไปแค่โรงเรียน 

 เพราะกิจกรรมทำให้เด็กๆมีประสบการณ์และมีบุคลิกภาพมั่นใจที่จะโชว์ความเป็นตัวตนของตัวเองออกมาในสังคมของเค้าที่เป็นอยู่

 มีมี่ อายุ 11 ใช้ชีวิตที่นี่ตั้งแต่ 8 ขวบ และเรียนโรงเรียน The English School of Helsinki ซึ่งเป็น   https://www.engs.fi/   ซึ่งเป็นโรงเรียน กึ่งนานาชาติ และเป็นโรงเรียนต้นแบบของ มหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ จากประเทศ อังกฤษ นั่นเอง Cambridge International Examinations 

วันจันทร์ จะ ไปเรียนกีต้าร์  จาก 17:00-20:00  แปลว่า วันนี้ นางก็ออกจากบ้านตั้งกะ 8 โมงเช้า  เรียนกันยาวๆ ไปถึง สองทุ่ม ค่าเรียนทั้งเทอม คือ 120 ยูโร โดยประมาณ ก็เรียนเมโลดี้ เรียนพื้นฐานมิวสิคทั่วไป ที่ไม่ใช่แค่กีต้าร์ แหละนะ

วัน อังคาร จะเรียน แดนซ์ จาก 18:00-19:00  เป็นการเรียนปีที่ 4 แล้วกับโรงเรียนที่ปี แต่เทอมนี้ เรียน Street Dance เป็นคลาสแรก ก่อนหน้านี้ เรียนบัลเล่ต์   ค่าเรียนทั้งเทอม (ม.ค. - ต้น มิ.ย.)  180 ยูโร

ส่วนวันอื่น นางจะมีเรียนพวกภาษาเพิ่มเติม เพราะคุณครูบอกว่า ในส่วนของฟินแลนด์ นางจะด้อยสุด เพราะเป็นคนเดียวในทั้งหมดของเด็ก เกรด 5 ที่ไม่ได้เกิดที่นี่ (มีเด็กคนอื่นที่เกิดอังกฤษ แล้วย้ายมาอยู่ฟินแลนด์แต่แม่เป็นคนฟินแลนด์ เด็กคนนั้นก็มีภาษาแม่เป็นภาษาฟินน์)

   ภาษาอื่นที่เรียนก็ มี เยอรมัน อังกฤษ และภาษาไทย อีก 3 ภาษาที่เหลือ ไม่เป็นปัญหาสำหรับนาง 

 ส่วนตัวป้าลีไม่เน้นว่า จะต้องเก่งภาษาให้หลายๆภาษาหรอกนะคะ ป้าลีเน้นด้านคณิตศาสตร์  หลายคนอาจจะพูดว่า ชีวิตดีๆ ไม่จำเป็นต้องเก่งคณิตฯ ก็ได้นะ  แม่บางคนก็ภูมิใจที่ลูกไม่ต้องเรียนคณิตฯ ด้วยซ้ำ เพราะลูกจะไม่เครียด  (คือในฟินแลนด์ เด็กเล็กๆ จะไม่เน้นเรื่องคณิตฯ เลยค่ะ 8-9 ขวบ ได้แค่ บวกกับลบเลข 2 หลัก ไม่มีคูณหรือหาร ก็ไม่ใช่ปมด้อยแต่อย่างใด)

 แต่สำหรับบ้านเรา เน้นแน่นอน และมีมี่ก็เป็นเด็กที่ถนัดด้านคณิตฯ และการคำนวณ เพราะความใฝ่ฝันของเค้าคือ ต้องการเป็นนักวิทยาศาสตร์  ซึ่งความสนใจด้านนี้ มันไม่ใช่แค่คณิตฯ แล้วสิ 

มันต้องมีฟิสิกส์ ต้องมี เคมี อีกล่ะ  ดังนั้น ถ้าไม่เก่งคณิตฯ แปลว่า ฟิสิกส์ก็ต้องมีปัญหาตามมาแน่นอน.... แต่บังเอิญ แม่เดินมาถูกทาง เพราะปูพื้นฐานให้ลูกด้านคณิตฯ ให้เข้าใจและคำนวณล่วงหน้าในบทเรียนที่จะต้องเรียนในคลาสเสมอ เพื่อที่เค้าจะเข้าใจและคำนวณคล่อง ก่อนที่ครูจะสอนในบทนั้นๆ  นี่ก็คือส่วนหนึ่งที่ลูกจะมั่นใจทุกวันก่อนออกจากบ้านไปทำกิจกรรมต่างๆ 



วีดิโอนี้ส่วนหนึ่ง ทำขึ้นเพื่อให้ครอบครัวที่เมืองไทย ได้เห็นชีวิตของหลาน ในฟินแลนด์ และอยากแชร์ในเรื่องการเรียนในด้านต่างๆ  ของเด็กที่ดำเนินชีวิตที่นี่ค่ะ 





 

Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2561    
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2561 14:18:05 น.
Counter : 647 Pageviews.  

1  2  3  

Lee Jay
Location :
Nurmijärvi,Vantaa,Helsinki Finland

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 143 คน [?]




ชื่อ ลี ค่ะ เป็นป้ารุ่น เกือบ เลขที่ 5 เข้าทีมวัยรุ่น
ไม่ได้อัดบล็อกเกือบ 3ปี

pub-3852458659373246
New Comments
Friends' blogs
[Add Lee Jay's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.