ชีวิตในฟินแลนด์ อยู่ให้เป็น ไปต่อให้มีความสุขกับการใช้ชีวิตในฟินแลนด์ ...
Group Blog
 
All Blogs
 
ค่าครองชีพในฟินแลนด์(เฮลซิงกิ) เรื่องเล่าทั่วไป



ประเทศฟินแลนด์ ดินแดนแห่งสแกนดิเนเวียแห่งนี้ ถ้าดูตามแผนที่(จากกูเกิ้ล) จะเห็นว่า ติดกับหลายประเทศ
และทริปท็อบฮิตที่ใครมาถึงฟินแลนด์แล้วมักจะนั่งเรือต่อไปยัง สต็อคโฮมที่สวีเดน หรือ นั่งเรือไปเมืองตาลลินที่ประเทศเอสโตเนีย หรือจะถ้าอยากนั่งเรือไกลกว่านั้นก็จะเป็นเมือง ริก้า ที่ประเทศลัทเวีย.. หรือเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กที่รัสเซียก็ดี

ก็จะเป็นทริปที่ทำได้สะดวกและถูก ถ้านั่งเครื่องก็จะหาตั๋วถูกได้ตลอดปีเช่นกัน ถ้าไปประเทศเพื่อนบ้านเช่นเมืองริก้า หรือไปบาเซโลน่าหรืออื่นๆ แถวๆนี้ ตั๋วเครื่องบินก็จะเริ่มที่ประมาณหนึ่งร้อยยูโร (เรียกว่าถูกมาก ที่เหลือก็เป็นค่าโรงแรมและเรื่องกิน)

ค่าครองชีพที่เฮลซิงกิ ก็ถือว่าค่อนข้างแพงติดอันดับท็อปพอสมควร เช่น เบียร์หนึ่งแก้วในบาร์ที่เฮลซิงกิ ก็ประมาณ 7 ยูโร

แต่ถ้าเบียร์กระป๋องในซุปเปอร์มาร์เก็ตก็ราวๆ หนึ่งยูโรขึ้นไป... หมูบดผสมกับเนื้อ60/40 เปอร์เซนต์ น้ำหนัก 400กรัม ราคาก็ประมาณ 5 ยูโร ปลาซามอลก็จะ ไม่เกิน 20 ยูโรต่อหนึ่งกิโลกรัม ผักกระหล่ำปลี กิโลกรัมละ หนึ่งยูโรกว่าๆ

ถ้าเป็นอาหารในร้านเอเชีย เช่นข้าวหอมมะลิ เมล็ดหัก 5% สามสิบ กิโลกรัม ราคาก็จะประมาณ สี่สิบยูโร

มาม่าต้มยำหนึ่งห่อ ราคา 0.70 ยูโร แต่ไวน์ที่นี่ถูกนะคะ ยี่ห้อไม่ดังก็สตาร์ทกันที่ 7 ยูโร (ที่ประเทศอื่นถูกกว่านี้)แต่รสชาติส่วนใหญ่จะอร่อยค่ะ อร่อยมากกว่าไวน์ขวดละสองพันที่เมืองไทย (ถ้าใครที่ดื่มไวน์ในเมืองไทยราคาขวดละห้าพันขึ้นไป รสชาติก็จะเทียบเท่ากับ ขวดละ 7 ยูโรของที่นี่....ในความคิดเห็นของป้าลีนะ)

ส่วนอาหารนอกบ้านเช่น ร้านพิซซ่าในห้าง พิซซ่าบาบีคิวหนึ่งถาดพร้อมโค๊กแก้วใหญ่ ราคาก็จะประมาณ สิบห้ายูโร(หกร้อยกว่าบาท)

ส่วนถ้าเป็นอาหารแบบบุฟเฟเช่นร้าน ไชน่า ราคาก็จะประมาณ สิบกว่าๆ ยูโร

ถ้าเป็นอาหารดินเนอร์แบบที่ไม่ถึงกับเริ่ดมากมายที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า เช่น สเต็กปลา ราคาก็จะประมาณ 30 ยูโร

ส่วนตามร้านที่หรูขึ้นมาหน่อย ก็จะประมาณ 50ยูโร ไม่รวมเครื่องดื่ม (เบียร์ประมาณ 7 ยูโร)

และถ้าเป็นร้านแบบภัตาคารหรือที่เราไปดินเนอร์กรณีพิเศษ เช่น วันเกิด ครบรอบแต่งงาน หรือ อะไรก็ดี ราคาก็จะแพงขึ้นมาหน่อย เช่น ในหนึ่งเซ็ต มีซุปเห็ด ตามด้วย สเต็ก แล้วตามด้วย ของหวาน เช่น ไอสครีม แล้วส่วนประกอบก็จะมี ขนมปังหั่นชิ้น ชีส ชา กาแฟ มีช็อคโกแล็ตร่วมนิดหน่อย ราคาเซ็ตนี้ก็จะประมาณ เกือบๆ ร้อยยูโร (คือ ถ้าเมนูอื่นก็บวกลบบ้างนิดหน่อย ตามประเภทอาหาร)

และบุฟเฟอาหารไทย ก็จะประมาณ สิบกว่ายูโรขึ้นไป ส่วนเมนูส้มตำ ก็จะอยู่ที่ 15 ยูโร(หกร้อยบาท) โดยประมาณ รวมไปถึงเมนูอื่นๆ ซึ่งถ้าเราสั่ง สองเมนู ก็จะอยู่ราวๆ ห้าสิบ หรือ เจ็ดสิบยูโร สำหรับทานคนเดียวและไม่รวมเครื่องดื่ม...

ถ้าเป็นเกี่ยวกับกีฬาเช่น กอล์ฟ จะแพงพอๆกับบ้านเรา(แสดงว่าบ้านเราแพงมากกกกกกก) เช่น สนามที่ถูกที่สุดจะมีค่ากรีนฟี 30 ยูโรต่อ 18 หลุม ไม่มีแคตดี้ ถ้าจะเอารถก็25 ยูโรต่อ สิบแปดหลุม (สนามหรูก็จะแพงกว่านี้อีก) ถ้าเป็สนามไดร์ฟกอล์ฟ ก็สองยูโรต่อ 30 ลูก

แล้วถ้าเป็นฟิตเนส ว่ายน้ำ(สถานที่สำหรับเยาวชนไม่ใช่ในโรงแรมหรือพวกสปาไฮโซ) ราคาสมาชิกก็ตกประมาณ สิบยูโรต่อครั้ง... (ป้าลีจ่ายราคานักศึกษาก็ หกยูโรต่อครั้ง)

ราคาค่ารถเมล์ในเฮลซิงกิ ก็ประมาณ สองยูโรต่อเที่ยว(ถ้าไม่มีบัตรหรือขึ้นแบบครั้งคราวก็ 2.5 ยูโรถ้าป้าลีจำไม่ผิด)

ถ้าเป็นรถเมล์ต่างจังหวัดจะแพงกว่าในเฮลซิงกิ สตาร์ทที่ 2.5 ยูโร หรือ เดือนละ หกสิบยูโรในราคานักศึกษา



ส่วนราคาที่พัก เช่น อพาร์ทเม้นท์ในเฮลซิงกิ 50 ตรม.นอกเมืองนิดหน่อย ที่มีซาวน่าในตัว ราคาเช่าก็จะอยู่ระดับ 800 ยูโรขึ้นไป ต่อเดือน(อันนี้ถือว่าถูกแล้ว) แต่ถ้าเป็นโซนในเมืองก็จะหนึ่งพันยูโรอัพ.... ตามสภาพ ขนาดห้อง และแอเรียอีกทีนะคะ

แต่ถ้าพูดถึงราคาบ้านและที่ดิน... (อันนี้ป้าลีถนัด) ถ้าเป็นโซนนอกนอกเฮลซิงกิ เช่นที่เรียกว่า วานต้า เอสโป ฯลฯ หรือที่เรียกว่าเป็นเมืองปริมณฑล อพาร์ทเม้น ห้าสิบตรม.ขึ้นไป มีซาวน่า มีระเบียง ราคาจะเริ่มสตาร์ทกันที่ 150,000 ยูโร (แค่สตาร์ทนะคะ) ส่วนในเฮลซิงกิก็จะแพงขึ้นอีก คือสตาร์ทที่ประมาณ 180,000 ยูโร


เช่น หลังนี้ เจ็ดสิบ ตรม. ราคาไม่เกิน 200,000 ยูโร


แต่ถ้าเป็นบ้าน ประมาณ หกสิบ ตรม. (บ้านทาวเฮาส์) โซนปริมณฑล ราคาก็จะสตาร์ทกันประมาณ 175,000 โดยประมาณ (ประเภทที่เป็นเจ้าของที่ดินได้ เพราะจะมีอีกประเภทที่เช่าที่ดินระยะยาวและเป็นเจ้าของไม่ได้อีกแบบด้วย) แต่ถ้าแปดสิบหรือเก้าสิบ ตรม.ขึ้นไป และสภาพดูสวยหน่อย ก็จะประมาณ 250,000 ขึ้นไปเลยทีเดียว

ในเมืองเฮลซิงกิเลยก็จะแพงขึ้นอีกจากราคาปริมณฑล...

ส่วนเรื่องดอกเบี้ย ณ ปีนี้ 2013 ก็จะประมาณ 1.3-1.7 % แล้วแต่แบงค์แหละเงื่อนไข (เช่นดาวน์กี่เปอร์เซ็นต์และความเสี่ยงของผู้กู้ ประมาณนั้น) ส่วนค่าใช้จ่าย ที่น่าสนใจที่แตกต่างจากบ้านเราเลยคือ ผู้ซื้อเป็นคนเสียภาษี (4% จากราคาซื้อขายกัน) และถ้ากู้เกิน 90% ของราคาซื้อขาย แบงค์จะมีรายการพิเศษคือ ค่าการันตี จะอยู่ประมาณ 2,000ยูโร ต่อหนี้ 100,000ยูโร แต่ถ้าหาของการันตีได้น่าเชื่อถือหน่อย เช่นบ้านสภาพไม่เกินสิบปี หรือที่ดินกว้างขึ้น หรือหาที่ดินแปลงใหม่ เข้ามาการันตี ก็อาจจะเสียค่าการันตีน้อยลงไป.. (ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธนาคาร แต่ก็ยังต้องเสียค่าการันตีอยู่ดี) รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินของธนาคาร ก็จะอยู่ราวๆ สองพันยูโรต่อรายการกู้ (ก็เรียกว่าแพงมากเลยแหละ)

แต่ดอกเบี้ยถูกกว่าบ้านเราเน๊อะ ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ อยากกู้จากที่นี่ไปซื้อที่เมืองไทยนะคะ ว่ามั๊ยคะ?

ส่วนใครที่อยู่ที่นี่มีข้อมูลดีๆ ก็เอามาแชร์กันนะคะ หรือใครอยู่ประเทศอื่นถ้ามีเวลาก็แชร์กันบ้างนะคะ เช่น ของกิน เผื่อว่าเพื่อนๆ เดินทางไปเที่ยวในที่นั้นๆ จะได้รู้ราคาอาหารการกิน...



Create Date : 17 ตุลาคม 2556
Last Update : 17 ตุลาคม 2556 19:35:43 น. 1 comments
Counter : 11254 Pageviews.

 
แต่ละอย่าง คำนวณเป็นเงินไทยแล้ว แพงมากนะครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ


โดย: bayesian วันที่: 21 ตุลาคม 2556 เวลา:18:50:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Lee Jay
Location :
Nurmijärvi,Vantaa,Helsinki Finland

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 143 คน [?]




ชื่อ ลี ค่ะ เป็นป้ารุ่น เกือบ เลขที่ 5 เข้าทีมวัยรุ่น
ไม่ได้อัดบล็อกเกือบ 3ปี

pub-3852458659373246
New Comments
Friends' blogs
[Add Lee Jay's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.