The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
ไม่มีใครสอน

นี่เป็นเรื่องที่คิดช่วงนี้

(หมายเหตุ: ที่เขียนนี่ไม่ได้หมายถึงข้อยคนเดียว แต่เป็นการพูด generalize)

คือเรื่องบางเรื่องนั้น ไม่มีใครสอนจริงๆ ไม่ว่าตอนเด็กหรือตอนไหน ดังนั้นพอโตขึ้นมาก็เลยทำไม่เป็น

แต่บางทีก็ไม่ใช่ความผิดของพ่อกับแม่ เพราะบางทีพ่อแม่ก็ทำไม่เป็นเหมือนกัน ซึ่งหมายความว่าคนเราไม่ว่าคนไหน ล้วนอยู่ในสังคมโดยที่ skillful บางเรื่อง และไม่ skillful บางเรื่อง

เมื่อพ่อแม่ไม่มีสกีลนี้ ย่อมสืบทอดต่อให้ลูกไม่ได้ ลูกก็อาจจะเรียนรู้เองได้จากสังคม หรือไม่รู้เลยไปจนกระทั่งตาย 

ถ้าหากมันเป็นสกีลที่ critical เช่นมารยาทสังคม ก็จะก่อเกิดปัญหาชีวิตมากในภายหลัง หรือแม้ไม่ก่อเกิดปัญหาที่ตัวเอง ก็จะไปสร้างปัญหาให้คนอื่น (ซึ่งพอสร้างปัญหาให้คนอื่นมากๆ ตัวเองก็จะมีปัญหาอยู่ดี)

อย่างไรก็ตาม ข้อยก็คิดว่า มารยาทสังคมนี่เป็นสิ่งที่ "มีปัญหา" เอามากๆ เพราะในความเป็นจริง แต่ละบ้านมอง "มารยาทสังคม" ไม่เหมือนกันหรอกนะ

เราคิดว่าสิ่งที่เราทำมีมารยาทดีแล้ว แต่สำหรับคนอื่น มันอาจจะโคตรไร้มารยาทก็ได้ เช่นการพูดเรื่องศพ ความตาย บนโต๊ะอาหาร บางบ้านอาจจะถือมาก แต่บางบ้านไม่ถือเลย  ถ้าเด็กจากบ้านที่ไม่ถือ มาเจอบ้านที่ถือ ก็จะถูกหาว่า "ไม่มีมารยาท"

ในกรณีนี้ มันทำให้คนที่คิดมากและอ่อนไหว เกิดความกังวลได้ไง เพราะทำให้รู้สึกว่า เออเมิงทำไรก็ผิดไปหมด 

ในขณะที่คนที่มั่นใจในตัวเองมาก หรือมีความรู้สึกอ่อนไหวต่ำ มองข้ามไปเลย คือไม่สนใจว่าตัวเองทำผิดมารยาทไหม ก็ตูเป็นอย่างนี้

ถามว่าคนไหนถูก คนไหนผิด ก็ตอบไม่ได้ เช่นคนแรกนั้นเพราะอ่อนไหวมาก จึงให้พื้นที่กับคนอื่นมากเกินไป ก็เบียดบังตัวเอง แต่คนที่ไม่อ่อนไหว ก็ให้พื้นที่กับคนอื่นน้อยเกินไป เอาแต่ตัวเองเป็นใหญ่ คนอื่นที่ถูกเบียดบังก็จะไม่พอใจ

อันที่จริง นอกจากเรื่องมารยาทสังคม ก็ยังมีเรื่องอื่นๆ เยอะมากที่เรานึกว่าเป็น common sense แต่ที่จริงมันคอมม่อนสำหรับเรา แต่อาจจะไม่คอมม่อนสำหรับคนอื่นก็ได้ เราคิดว่าเราถูกแล้ว ความคิดที่เราถืออยู่เป็น absolute แต่ที่จริงมันอาจจะไม่ absolute อย่างที่คิด

เราคิดว่าบ้านไหนๆ ก็ต้องสอนอย่างนี้ แต่จริงๆ อาจจะมีแต่บ้านเราที่สอนอย่างนี้

ดังนั้นพอออกจากบ้าน เราจึงเจอคนที่เราเข้าใจเขา และคนที่เราไม่เข้าใจ กระทบกระทั่งกับคน เรียนรู้เพิ่ม เปลี่ยนตัวเองใหม่ (หรือบางทีก็อาจจะไม่เรียนรู้อะไรเลย เพราะตกไปอยู่ในสภาพที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่นทำให้รู้สึกกลัว/ไม่สบายใจ/อันตราย มากเกินไป)

นี่ก็เป็นเรื่องที่คิดอยู่ และคิดว่ามนุษย์นี่มันซับซ้อนดีเนอะ นอกจากนั้นก็สงสัยว่าบาลานซ์อยู่ที่ไหน

แต่เคยมีคนบอกว่าบาลานซ์ไม่มีจริงหรอก คือคนเราก็จะเสียศูนย์ สลับกับบาลานซ์ไปเรื่อยๆ ชั่วชีวิต เพราะว่าคอนดิชั่นของเรามักจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา ในระหว่างทั้งสองอย่างนี้ ก็คือเวลาที่เราสะสมสกีลขึ้นมา



Create Date : 13 สิงหาคม 2558
Last Update : 13 สิงหาคม 2558 15:58:46 น. 0 comments
Counter : 1168 Pageviews.

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.