Group Blog
 
All blogs
 
กรมอุตุฯเตือนภาวะลานีญา...ชาวสวนรับมืออย่างไร?



จากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาหลายๆ ฉบับตั้งแต่ปีที่แล้วจะเห็นว่ามีสถานการณ์เตือนภัยให้คนไทยรวมทั้งเกษตรกรทราบและเตรียมรับมือเป็นระยะๆ นั่นคือ ปรากฏการเอลนีโญ-ลานีญา ปรากฏการณ์ทั้ง 2 นี้เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบริเวณผิวน้ำทะเล โดยปรากฏการณ์เอลนีโญเกิดจากการอุ่นของกระแสน้ำทะเล ส่วนลานีญา เป็นปรากฎการณ์ตรงข้ามกับเอลนีโญโดยอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าต่ำกว่าปกติ เนื่องจากลมค้า(trade wind) ตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงมากกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นได้ทุก 2 – 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 – 12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี
ผลกระทบของลานีญา
ปรากฏการณ์ลานีญาเป็นสภาวะตรงข้ามของเอลนีโญ ดังนั้นผลกระทบจึงตรงข้ามกับเอลนีโญ กล่าวคือ ผลจากการที่อากาศลอยขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝนบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเขตร้อนทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง นอกจากพื้นที่ในบริเวณเขตร้อนจะได้รับผลกระทบแล้วปรากฏว่าลานีญายังมีอิทธิพลไปยังพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปด้วย โดยพบว่าแอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากกว่าปกติและมีความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น
ผลกระทบของลานีญาทำให้อุณหภูมิผิวพื้นบริเวณเขตร้อนโดยเฉลี่ยลดลงและมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติ ในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรรวมถึงพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องถึงตอนใต้ของแคนาดามีอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ อีกทั้งจากผลงานวิจัยของ ดร. วิลเลียม เกรย์ แห่งมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโด พบว่า ลานีญามีผลกระทบต่อพายุหมุนเขตร้อน โดยพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกและอ่าวเม็กซิโกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสหรัฐอเมริกาและหมู่เกาะแคริบเบียนมีโอกาสประสบกับพายุเฮอริเคนมากขึ้น
ผลกระทบของลานีญาต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย
จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยโดยดูข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือน ในช่วงเวลา 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 - 2543 พบว่าในปีลานีญาปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น ในขณะที่ช่วงกลางและปลายฤดูฝนลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน แต่ลานีญามีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝนโดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดูและพบว่าลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น
ปรากฎการณ์ลานีญาทำให้มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติจนอาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วม ซึ่งแน่นอนไม่ว่าการเกิดเอลนีโนขาดน้ำหรือลานีญาน้ำท่วมเกษตรกรชาวสวนก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ชาวสวนก็สามารถเตรียมตัวรับมือกับภาวะดังกล่าวได้ โดยเฉพาะปรากฎการณ์ลานีญาที่กำลังเฝ้าระวังกันอยู่โดยการเตรียมจัดการระบายน้ำในสวนเพราะถ้าน้ำท่วมจนระบายไม่ทันจะทำให้รากพืชขาดอากาศจนต้นตายได้ การเตรียมการระบายน้ำในที่นี่หมายรวมถึงการลอกคูคลองเพื่อให้การไหลของน้ำคล่องขึ้น หรือจะเตรียมแหล่งกักน้ำไว้รองรับน้ำไว้ใช้บ้างก็ได้ พืชต้นไหนที่มีภาวะโรคเข้าทำลายโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าต้องจัดการทำลายก่อน และชาวสวนต้องจัดการให้ต้นพืชแข็งแรงเข้าไว้เพราะถ้าต้นพืชมีสุขอนามัยที่ดีการเข้าทำลายของโรคที่จะมากับน้ำรวมทั้งความเสียหายต่างๆ จะลดลงได้ ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 0-2399-4568-74 หรือ Email : climate@tmd.go.th หรือ //www.tmd.go.th



Create Date : 18 พฤษภาคม 2549
Last Update : 18 พฤษภาคม 2549 14:07:19 น. 0 comments
Counter : 1577 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

โจ-หลังสวน
Location :
ชุมพร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




โดนัท...อัศวินตัวน้อย ของพ่อโจ วันๆ
เอาแต่แปลงร่าง อยากเป็นยอดมนุษย์
มากกว่าจะชอบเข้าสวนช่วยงานพ่อ ดัง
เช่นเมื่อวันก่อน...


Friends' blogs
[Add โจ-หลังสวน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.