การศึกษาคืออนาคตของชาติ
Group Blog
 
All Blogs
 

ใครเอาเนยแข็งของฉันไป

เรื่อง: ใครเอาเนยแข็งของฉันไป
ที่มา: นายแพทย์สเปนเซอร์ จอห์นสัน ได้เขียนหนังสือชื่อ WHO MOVED MY CHEESE?

มีเรื่องย่อว่า

มีตัวละครขนาดจิ๋วอยู่ 4 ตัว
วิ่งวนอยู่ในเขาวงกต ซึ่งสลับซับซ้อนแห่งหนึ่ง
เพื่อเสาะหาเนยแข็งอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต
ในนี้มีสองชีวิตเป็นหนู ตัวหนึ่งชื่อ 'สนิฟฟ์' กับ'สเคอร์รี่'
ส่วนมนุษย์แคระอีกสองคนชื่อ 'เฮ็ม'กับ 'ฮอว์'
ทั้งสี่ชีวิตใช้เวลาในแต่ละวันในการวิ่งหาเนยแข็งในเขาวงกตนั้น


เจ้าหนู สนิฟฟ์ และ สเคอร์รี่ ใช้วิธีลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ โดยใช้จมูกเป็นเครื่องนำทาง
พวกมันจะจำทางที่ไม่มีเนยแข็งไว้ แล้ววิ่งไปทางอื่นจนถูกทาง ส่วนคนแคระ
เฮ็ม กับ ฮอว์ ก็ใช้ความรู้และประสบการณ์ในอดีตเข้าช่วย
ในที่สุดทั้ง 4 ชีวิต ได้พบกับคลังเนยแข็งขนาดให­่
ที่ดูเหมือนมีเนยเพียงพอที่ให้กินไปได้ตลอดชีวิต
พวกเขาได้พบแหล่งอาหารอันวิเศษที่แสนสะดวกสบาย
และไม่ต้องวิ่งตระเวนหาอีกต่อไป


เวลาผ่านไปจนมาถึงเช้าวันหนึ่ง ทั้ง 4 ชีวิต
ได้พบว่าเนยแข็งกำลังจะหมดไป เจ้า สนิฟฟ์
เห็นเช่นนั้นก็ไม่เสียเวลาวิเคราะห์ มันออกวิ่งค้นหาเนยแข็งก้อนใหม่ทันที
ส่วนเจ้า สเคอร์รี่ เห็นเช่นนั้นก็วิ่งตามโดยไม่รอช้า สนิฟฟ์ ไปถึงไหน
สเคอร์รี่ ก็ไปที่นั่น


คนแคระ เฮ็ม กับ ฮอว์
ไม่คาดมาก่อนว่าเนยแข็งจะหมดไป เฮ็ม
ถึงกับตีโพยตีพายกล่าวโทษเทวดาฟ้าดินว่า ไม่ยุติธรรมกับเขา
แล้ววิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ว่าเนยแข็งควรจะกลับมาหาเขาอีก


แต่ ฮอว์ ดูจะยอมรับความจริงได้มากกว่า
เขาเริ่มคิดว่า เขาควรทำการเปลี่ยนแปลง เขาจึงชวน เฮ็ม
ให้ออกไปหาเนยแข็งใหม่แบบที่หนูสองตัวกำลังทำอยู่ ปรากฏว่า เฮ็ม
ไม่ยอมรับฟัง ฮอว์ จึงไปสู่เขาวงกตตามลำพัง


และแล้วเจ้าหนูทั้งสองก็ได้พบคลังเนยแข็งแห่งใหม่ที่ดีและใหญ่กว่าเดิม

ฮอว์นั้นแม้จะออกมาช้ากว่าเจ้าหนูทั้งสอง
แต่ในที่สุดเขาก็ได้พบคลังเนยแข็งใหม่ เช่นกัน เขาจึงกลับไปชวน เฮ็ม
ให้ออกมาจากสถานการณ์ที่ไม่มีเนยแข็งเหลืออยู่ แต่ เฮ็ม กลับปฏิเสธ
ทั้งยังไม่ยอมรับเนยแข็งที่ ฮอว์ อุตส่าห์เอาไปฝาก ฮอว์
จึงจำใจต้องปล่อยเพื่อนไว้เช่นนั้น


ระหว่างที่ ฮอว์ ออกมาเผชิญโชคครั้งใหม่ ความคิดของเขาเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทีละน้อย
เขาสรุปสัจธรรมแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยเขียนไว้บนกำแพงเป็นระยะๆ
'ถ้าคุณไม่เปลี่ยนแปลง คุณอาจจะสู­ญพันธุ์'


ฮอว์ สุขสบายอยู่ในคลังเนยแข็งใหม่
แต่ก็ยังคิดและหวังว่า เฮ็มเพื่อนรักจะตามมาตามลายแทง
และข้อคิดที่เขาบอกทางไว้ให้ แล้ววันหนึ่ง ฮอว์
ก็ได้ยินเสียงกุกกักดังมาจากทางเดินข้างนอก นั่นอาจจะเป็น เฮ็ม ก็ได้ใครจะรู้

4 ชีวิตเป็นตัวแทนแห่งสัญชาตญาณและความคิดในการตอบโต้ต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

สนิฟฟ์ เป็นผู้ดมกลิ่นการเปลี่ยนแปลงได้ก่อนใคร จึงนำออกไปก่อน

สเคอร์รี่ ไม่คิดอะไรเลย วิ่งตามกระแสอย่างเดียว

เฮ็ม เป็นผู้ปฏิเสธและต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
โดยคิดว่าการเปลี่ยนแปลงจะปรากฏโฉมในทางเลวร้ายกว่าเดิม

ส่วน ฮอว์ เป็นคนเรียนรู้และปรับตัวตามยุคสมัย
เมื่อเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า


ในโลกแห่งธุรกิจ และโลกแห่งการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย นิทานเรื่องนี้อาจให้แง่คิดที่เตือนให้ผู้คนมองเห็น การเปลี่ยนแปลง และเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างชาญฉลาด




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2551    
Last Update : 27 มิถุนายน 2551 17:31:22 น.
Counter : 553 Pageviews.  

ผู้ว่า 3 ม.

บทวิจารณ์หนังสือ “เรื่อง ผู้ว่า 3 ม.”
ผู้แต่ง ดร.วิญญู อังคณารักษ์
อดีตปลัดกระรวงมหาดไทย
สำนักพิมพ์บอกเล่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาในชีวิต ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการทำงาน ลักษณะการเขียนเล่าเรื่องสนุก อ่านเพลิน ประกอบได้แง่คิดดีๆ หลายเรื่อง สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้ โดยสามารถจำแนกเนื้อหาของหนังสือได้ดังนี้
เรื่องสภาพสังคมในอดีตมติชน ธันวาคม 2544
จำนวน 597 หน้า
1. หนังสือเรื่อง “ผู้ว่า 3 ม.” เป็นหนังสือที่ท่าน ดร.วิญญู อังคณารักษ์ แต่งขึ้นเพื่อ
ผู้เขียนได้บอกเล่าชีวิตในวัยเด็ก สะท้อนภาพของวิถีชีวิตสังคมไทย และมุมมองของการทำงานสายข้าราชการ และยังชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดโอกาสสำหรับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนและเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคมได้ อันถือเป็นลักษณะเด่นของสังคมไทย และเอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต
สภาพความเป็นอยู่ของสังคม ในสมัยหลังยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และระหว่างช่วงที่ประเทศไทยเราพัฒนาประเทศผ่านองค์ความรู้ของตะวันตก ชี้ให้เห็นถึงนโยบายการคัดเลือกนักเรียนทุนไปศึกษาวิทยาการจากต่างประเทศ เป็นโครงการระยะยาว ที่ส่งผลถึงปัจจุบัน อันจะเห็นได้จากในปัจจุบันนี้ บุคคลเหล่านั้นได้มีบทบาทในสังคมในทุกๆ ส่วน และเป็นผู้กำหนดนโยบายการบริหารประเทศแทบทั้งสิ้น
ผู้เขียนอยู่ในมุมของนักปกครอง ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับส่วนราชการอื่นๆ และประชาชน สามารถชี้ภาพรวมของการพัฒนาสังคม ปัญหาและผลกระทบได้เป็นอย่างดี ซึ่งแง่คิดในฐานะนักปกครอง สามารถนำมาศึกษาเกี่ยวกับการจัดวางระบบการปกครองท้องถิ่นในปัจจุบันได้ เหมือนลักษณะของโครงการผู้ว่า CEO “เราจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจในอดีตของเราเสียก่อน เราจึงจะสามารถกำหนดอนาคตที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเราได้”
2. การพัฒนาตัวเองด้านการศึกษา
ผู้เขียนเป็นคนฉลาด แม้ผู้เขียนจะไม่ได้เล่าละเอียดถึงความพากเพียรในการศึกษาหาความรู้เท่าไร แต่ก็พอจะนึกออกว่าการเรียนในอดีตต้องขยัน อดทน มากเพียงไร ผู้เขียนประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ก็ด้วยคุณลักษณะนี้ และเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนในยุคปัจจุบันได้ดียิ่ง
3. ความคิดริเริ่ม
คุณลักษณะนี้ของผู้เขียน เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ผู้เขียนเป็นผู้มีความโดดเด่นเรื่องความคิดริเริ่ม กล้าคิด กล้าทำ เป็นลักษณะเด่นที่หายากในขณะนั้น (แม้ปัจจุบันก็ยังหายากอยู่) เป็นคุณลักษณะที่สมควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นกับคนไทยให้มาก ความคิดริเริ่มหลายๆ อย่างของผู้เขียน เช่น การทำนาฬิกาดอกไม้ การทำโครงการ 3 ม. การเริ่มการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ของผู้เขียนต่อผู้บังคับบัญชา
4. การประสานงานการทำงานร่วมกับผู้อื่น และลักษณะผู้นำ
ผู้เขียนได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งถือว่าเป็นผู้ปกครอง มีอำนาจมาก แต่ผู้เขียนไม่ได้ใช้หรือแสดงอำนาจบาดใหญ่ การใช้กลยุทธในการทำงานหลายๆ เรื่อง เช่นการเล่นกีฬากับข้าราชการและพ่อค้า ในเวลาเลิกงานถือเป็นกลยุทธอย่างหนึ่งจนสามารถเชื่อมความสัมพันธ์กับหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ได้ดี ผู้เขียนแสดงให้เห็นถึงการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา และการพระเดชและพระคุณ การทำตัวให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา การแสวงหาคนดีมีความรู้ความสามารถมาทำงาน และการส่งเสริมคนดี การลงไปปฏิบัติงานกับผู้ใต้บังคับบัญชา มากกว่าที่จะเป็นผู้สั่งการเพียงอย่างเดียว สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นคุณลักษณะที่ดีในการเป็นผู้นำ และในปัจจุบันก็สามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ดีด้วย
5. แง่คิดและคำคมที่ได้จากหนังสือ
- “โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก” อ้าน ติสสมหาเถร หน้า 63
- “The secret of success is to do common things uncommonly well” “เคล็ดลับของความสำเร็จอยู่ที่ว่า ความสามารถในการทำเรื่องธรรมดาให้ดีกว่าธรรมดา” หน้า 298
- “คุณลักษณะสำคัญ 4 ประการในการทำดี คือ
ทำดีถูกที่
ทำดีถูกบุคคล
ทำดีถูกเวลา
ทำดีแล้วติดตามดี” หน้า 301
- “การจะทำอะไรจะต้องทำโดยมีหลักการ ซึ่งเรียกว่า PRINCIPLE ไม่ใช่ประเภท YES MAN” หน้า 318
- “ถือว่ามือมีสิบนิ้วไหว้เขาก่อน นิ้วเราก็ยังครบสิบนิ้วดังเดิม” หน้า 314




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2551    
Last Update : 27 มิถุนายน 2551 17:17:22 น.
Counter : 739 Pageviews.  

ลิงจอมโจก ไขความปริศนาธรรมในไซอิ๋ว

เรื่อง ลิงจอมโจก ไขความปริศนาธรรมในไซอิ๋ว
โดย เขมานันทะ
พิมพ์ครั้งที่ 4 มิ.ย. 47
ครั้งหนึ่งในวงสนทนา เพื่อนคนหนึ่งแนะนำว่าวรรณกรรมตะวันออกที่ยิ่งใหญ่เล่มหนึ่งคือ ไซอิ๋ว ผมก็แปลกใจเหมือนกันว่า ไซอิ๋ว นิยายกำลังภายในจะน่าสนใจตรงไหน นอกจากความสนุก และจินตนาการ จนกระทั่งได้พบหนังสือเล่นนี้ชื่อ เรื่อง ลิงจอมโจก ไขความปริศนาธรรมในไซอิ๋ว

ความตอนหนึ่งในหนังสือกล่าวว่า ไซอิ๋ว คือการเดินทางลงในความล้ำลึกของชีวิต ในคำสนทนาหรืออิริยาบท หรือการทะเลาะและหัวเราะของเห้งเจีย โป้ยก่าย ซัวเจ๋ง ทั้งเสียงโห่ร้องเยาะเย้ยของปีศาจ (กิเลส) และการเอาชนะปลดปล่อยพระถัง (ขันติ) ให้มุ่งสู่ไซที (นิพพาน) ด้วยการสู้รบของเห้งเจีย(ปัญญา) โป้ยก่าย (ศิล) และซัวเจ๋ง (สมาธิ)
สมัยใดที่ขันติถูกผีโมหะครอบงำ สมัยใดที่วางใจศิลที่ไกลหาแต่การหยุดพักและบริโภค สมัยใดที่พระถังติดอยู่ในถ้ำปีศาจเพราะหลงเชื่อโป้ยก่าย และคร่ำครวญถึงเห้งเจีย เพื่อให้มาช่วย สมัยนั้นหาใช่เหตุการณ์บนเส้นทางระหว่างประเทศจีนสู่อินเดีย เมื่อ 1,000 กว่าปีไม่ กลับเป็นเส้นทางแห่งชีวิตของทุกคน ที่กวีแต่งไซอิ๋ว ได้โปรยเพชรพลอยแห่งปัญญาไว้ให้คนรุ่นหลัง
อ่านบทนำเพียงเท่านี้ผมก็อดใจไม่ไหวที่จะได้อ่านหนังสือทั้งเล่มนี้ เมื่อได้อ่าน ก็มีบทหนึ่งที่จะขอนำเสนอให้เพื่อนๆ ซักหน่อยนะครับ บทที่ 49 มลทินของผู้ทรงปิฎก และสิ่งที่หาไม่ได้ในพระไตยปิฎก สรุปความว่า
เมื่อพระถังได้รับพระคัมภีร์จากพระยูไลแล้ว ก็เดินทางกลับ ระหว่างทางต้องข้ามแม่น้ำ แต่พระถังต้องประสพเคราะห์ครั้งสุดท้าย จึงตกลงไปในแม่น้ำ ระหว่างนั้นมีเต่าขาวตัวที่เคยช่วยพาพระถังข้ามแม่น้ำในขามา เมื่อถึงกลางแม่น้ำ เต่าขาวก็เอ่ยถามพระถังว่า ที่ฝากไปถามพระยูไลว่า "เมื่อไรหนอเต่านี้จะได้เป็นมนุษย์" พระถังมัวแต่จดจ่ออยู่กับพระไตรปิฎก จนลืมคำฝากถามของเต่าขาว เมื่อเต่าขาวรู้ว่าพระถังไม่เอื้อเฟื้อ จึงดำวูบลงในแม่น้ำ ทำให้ทั้งพระถังและศิษย์ พร้อมพระคัมภีร์ ต่างเปียกปอน ครั้งรุ่งเช้า จึงได้ช่วยกันพึ่งพระคัมภีร์ เมื่อแห้งสนิทแล้วกลับพบว่าเนื้อความพระคัมภีร์ปุนเห้งเกงสองสามเล่ม แห้งติดกับหินอยู่ "อักขระที่สำคัญจึงได้ขาดหายไป"
ผู้เขียนไขความปริศนาธรรมตอนนี้ไว้ว่า
คำถามของเต่าขาวที่ว่า "เมื่อไรหนอเต่านี้จะได้เป็นมนุษย์"
หมายความว่า เมื่อไหร่นะ คนในโลกจึงจะยอมรับว่าคุณธรรมอย่างเต่านั้นคือ มนุษย์ธรรมแท้
คุณธรรมอย่างเต่า ก็คือ
ซื่อสัตย์ ไร้เดียงสา
ไร้มายา ไร้ปลิ้นปล้อน
สงบใจ ไม่เร่าร้อน
นอนแช่น้ำ ฉ่ำชีวี
เป็นอันว่า ซื่อ บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา ไร้มายาสาไถย คือมนุษยธรรมแท้ ที่คนฉลาดเฉไถ ในโลกหาว่าเป็นความโง่เง่า ไม่ยอมรับ แล้วยังหมิ่นเหยียดหยามนานา ดังนั้นธรรมแท้ที่เป็นส่วน คุณธรรมของเต่า ซื่อ บริสุทธิ์ ไร้เดียงสานั้นมักจะหาไม่พบในผู้รู้เทศน์ รู้ท่อง รู้เรียน พระไตยปิฎก เพราะคุณธรรมชนิดนี้ถูกลบ อักขระออกจากพระคัมภีร์ ยิ่งเรียนมาก ค้นคว้ามากก็หาไม่พบ พบแต่ตัวตน ในทางแตกฉาน จนยกหางข่มผู้อื่น ยิ่งไม่เป็นเต่า กลับเป็นสัตว์ มีหู มีหางกระดก หดไม่ลง จมไม่ลง ....................




 

Create Date : 12 กรกฎาคม 2550    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2550 14:12:23 น.
Counter : 2154 Pageviews.  

หนังสือเล่มแรกในชีวิต

หนังสือเล่มแรกในชีวิต

ยอดชายนาลา

ผู้แต่ง: ปิยตา วนนันทน์
สำนักพิมพ์/จัดจำหน่าย : ชมรมเด็ก
จำนวนหน้า: 176
ISBN :

สรุป

ในสังคมปัจจุบัน ฉลาดอย่างเดียวอยู่ไม่ได้ ฉลาดแล้วต้องขยันจึงจะประสบผลสำเร็จ พระเอกในเรื่องได้รับพรจากนางฟ้า แต่เขาไม่รู้จะใช้ประโยชน์จากพรข้อนี้ยังไงดี นางเอกยากจนแต่ฉลาด เมื่อได้เข้าคู่กันทั้งสองจึงใช้ความขยันบวกความฉลาด สร้างฐานะชื่อเสียงให้กับพวกเขา.............

...หนังสือเรื่องนี้ผมได้อ่านครั้งแรกเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว สมัยที่เรียนอยู่ชั้นประถม ในชนบทโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่ง จำได้ว่ามีโครงการที่ส่งหนังสือมือสองให้กับน้องๆ ในชนบทอ่าน เมื่อผมได้อ่านก็ประทับใจมาก ประมาณเดือนที่ผ่านมานี้เองที่ผมค้นหาหนังสือเล่มนี้เจอ ที่ร้านหนังสือมือสองทางอินเตอร์เน็ต จึงได้สั่งซื้อไว้ครอบครอง ว่างๆ หยิบมาอ่าน คิดถึงบรรยากาศเก่าๆ รู้สึกดีเหมือนกันนะครับ...(พอๆ กับคิดถึงรักครั้งแรกเลยครับ) ถามว่าผมได้อะไรจากหนังสือเล่มนี้ ผมคงตอบได้เพียงว่าผมได้นิสัยรักการอ่านมาเต็มๆ

เพื่อนๆ คนไหนมีหนังสือเล่มแรกในชีวิตก็แนะนำกันได้นะครับ ....แลกเปลี่ยนประสบการณ์....






 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2550    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2550 2:40:49 น.
Counter : 394 Pageviews.  

วัฒนธรรมรักการอ่าน

บทความนี้เป็นบทความแรก ก่อนที่จะมีการแนะนำหนังสือที่ผมได้เคยอ่านแล้วประทับใจ เป็นบทความมาจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อให้เห็นความสำคัญของการอ่าน และพัฒนาวัฒนธรรมรักการอ่านแก่ตัวเราและคนรอบข้างด้วย และนี้คือบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมรักการอ่าน ที่ผมนำมาจากเว็ปของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนครับ
.............
วัฒนธรรมการอ่าน บริษัทผลิตสื่อระหว่างประเทศแห่งหนึ่ง จ้างให้สำรวจสิ่งที่เด็กและวัยรุ่น ในเอเซียชอบหรือไม่ชอบในนครใหญ่ 29 นครใน 14 ประเทศของเอเชีย-แปซิฟิกพบว่าวัยรุ่นของ กรุงเทพฯ นั้นมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสื่อทีเดียว ชอบเล่นอินเตอร์เน็ต, ชอบมีมือถือ, ชอบดูทีวี, ชอบฟัง วิทยุ, ชอบดูกีฬา, ชอบอ่านการ์ตูน, ชอบเล่นเกมทางจอ, ชอบงานศิลปะ ส่วนใหญ่ชอบใช้เวลาอยู่คน เดียวมากกว่าสุงสิงกับใคร

เมื่อถามว่าอะไรคือสิ่งสำคัญในชีวิต วัยรุ่นกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการศึกษา และคะแนน สอบคือสิ่งสำคัญสูงสุดในชีวิตแต่เขากลับอ่านหนังสือน้อยมาก แม้แต่หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ก็อ่านน้อยมาก



ข้อนี้ตรงกับการสำรวจของยูเนสโกซึ่งพบว่า คนไทยบริโภคกระดาษเพียง 13.1 ตันต่อปีต่อ 1,000 คนเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับคนสิงคโปร์หรือฮ่องกงแล้ว พวกนั้นว่าเข้าไปถึง 98 ตันต่อปีต่อ 1,000 คนก็รู้ๆ กันอยู่นะครับว่า เมื่อเปรียบเทียบคนในสังคมอื่นๆ อีกหลายสังคม (โดยเฉพาะ นอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) คนไทยอ่านหนังสือน้อย แม้แต่ในหมู่วัยรุ่นที่ให้ความสำคัญแก่ การศึกษาไว้สูงสุดก็ตาม อย่างไรก็ตาม เราอาจเถียงว่า ไม่ควรติดอยู่แค่รูปแบบของสื่อที่ส่งสารถึง ผู้รับ วัยรุ่นไทยอาจไม่ได้อ่านหนังสือมาก แต่เขาก็รับสารจากแหล่งอื่นๆ เช่น อินเตอร์เน็ต, การ์ตูน, หนัง, ทีวี และการสนทนากันในร้านไก่ทอดก็ได้

ก็จริงหรอกครับที่สื่อในรูปแบบอะไรก็สามารถส่งสารได้ทั้งนั้น แต่สื่อแต่ละชนิดนั้นมีข้อจำกัด หรือไวยากรณ์ในตัวของมันเอง มันจึงสามารถสื่อสารบางชนิดได้ดี และบางชนิดได้ไม่ดีหรือ ไม่ได้เอาเลย

ผมขอยกตัวอย่างสุดโต่งของสื่อสองอย่างคือ ระหว่างข้อเขียนกับคำสนทนาเวลาเราคุยกัน มีการสื่อความหมายที่ไม่ใช้คำพูดมากมาย อาจจะเกินครึ่งของสารที่สื่อกันก็ได้ เช่น "สบายดีหรือ" ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย แต่ความหมายที่แท้จริงที่ไม่ได้เปล่งออกมาเป็นคำพูด ก็คือ "ความสัมพันธ์ระหว่างเรายังปกติราบรื่นดีนะ ไม่ห่างขึ้นและไม่ชิดขึ้นทั้งสองอย่าง ฉันจึง ใคร่แสดงระดับความสัมพันธ์เดิมระหว่างเราไว้ให้ปรากฏแก่เธอ"

นอกจากนี้ เพราะต่างรู้จักกันจึงเว้นสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างรู้อยู่แล้วเอาไว้โดยไม่ต้องอ้างถึงเป็น คำพูดได้อีกมากมาย ไม่รู้เรื่องก็ซักถามเพิ่มเติมได้ ฯลฯ เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ใช้ไม่ได้เลยในข้อเขียน ซึ่งส่งสารไปโดยไม่รู้ว่าอ้ายหมอไหนที่จะเป็นคนรับสาร จะต้องคิดเรียงลำดับความให้เข้าใจได้ เพราะหมอนั่นถามผู้เขียนเพิ่มเติมไม่ได้ ถ้าอยาก สร้างอารมณ์ก็ตีหน้าบูดเบี้ยวไม่ได้ต้องเลือกใช้คำและความอย่างไรให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วม จะต้องแสดงเหตุผลหรือลำดับความคิดที่ผู้อ่านติดตามได้ และเห็นคล้อยตามได้ ฯลฯ สารที่จะ ส่งผ่านข้อเขียนกับที่จะส่งผ่านการคุยกันจึงต่างกันอย่างมาก เพราะตัวสื่อบังคับให้ต่าง

ตัวอย่างที่ผมยกนี้สุดโต่งเกินไปนะครับ เพราะในชีวิตจริงเรามีข้อเขียนที่มีลักษณะเป็นการ สนทนาอยู่มากมาย เช่น จดหมายส่วนตัว เป็นต้น แต่ผมคิดว่าสื่อข้อเขียน ถ้าใช้มันไปจนสุด ความสามารถของมันแล้ว มันนำสารที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่าง ซึ่งสื่อชนิดอื่นไม่สามารถ ส่งผ่านได้ เช่น สื่อข้อเขียนย่อมแสดงตรรกะได้ชัดเจนที่สุด และซับซ้อนที่สุด เหตุดังนั้น สื่อข้อเขียนจึงสามารถนำไปสู่ความคิดทางนามธรรมซับซ้อนได้มาก เช่น เป็นความคิดที่ ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล, ไม่เกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้รับสาร และไม่เกี่ยวกับกรณีเฉพาะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ การรับสารจากสื่อข้อเขียนจึงต้องใช้จินตนาการให้กว้าง ขึ้น เดี๋ยวต้องลองนึกจากมุมนี้ เดี๋ยวก็ต้องลองนึกจากมุมโน้น ไม่หยุดนิ่งอยู่ที่บุคคลใดหรือ มุมใดมุมหนึ่งเพียงจุดเดียว

เขาเรียกการรับสารอย่างนี้ว่าการอ่านครับ อ่านในภาษาไทยนั้นแปลว่าถอดรหัสที่เป็นตัวยึกยือ ออกมาเป็นภาษาก็ได้ และแปลว่าตีความจนเข้าถึงแก่นของความหมายก็ได้ (เช่น อ่านเกมออก) สารที่ได้มาจากการอ่าน และสารที่ได้จากการฟังจึงไม่เหมือนกันครับ

ในแง่นี้แหละครับที่ผมออกจะสงสัยว่า การอ่านนั้นไม่ได้มีอยู่ในวัฒนธรรมไทยมาแต่เดิมแล้ว ผมไม่ได้หมายความถึงการถอดรหัสยึกยือซึ่งว่ากันว่าพ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นนะครับ อันนั้นคนไทยอ่านออกมานมนานเต็มทีแล้ว แต่ผมหมายถึงการอ่านแบบตีความจนเข้าถึง แก่นของความหมาย หรือการพัฒนาสื่อตัวหนังสือไปจนถึงสุดแดนความสามารถของมัน ก็อาจยังไม่ได้ทำในวัฒนธรรมไทย

ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่า แต่เราก็มีงานเขียนมาเก่าแก่แล้วจะอ่านหนังสือไม่แตกได้อย่างไร ขอให้สังเกตเถิดครับว่า งานเขียนโบราณของเราจำนวนมากนั้นมีไว้อ่านดังๆ เช่น ใช้ขับ หรือใช้สวดหรือใช้ประกอบบทนาฏศิลป์ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีไว้ฟังครับ ไม่ได้มีไว้อ่าน เนื้อความจึงมีลักษณะเป็นการ "เล่า" ไม่ใช่การวิเคราะห์หรือการเสนอความคิดนามธรรมที่ สลับซับซ้อน

ในวรรณกรรมโบราณของไทยนั้น ถ้าไม่ "เล่า" ก็จะเล่นเสียงสัมผัสสระสัมผัสอักษรกันนัวเนีย ซึ่งจะได้รสชาติก็ต้อง "ฟัง" ไม่ใช่ "อ่าน" แม้แต่ภาษาความเรียงรุ่นแรกๆ ก็ยังเป็นการ "เล่า" มากกว่าฟังอยู่นั่นเอง เช่น ที่เราอาจพบในพระราชพงศาวดาร, ตำนานและสามก๊ก เป็นต้น ล้วน "เล่า" ทั้งนั้น(จนถึงทุกวันนี้ หนังสือไทยที่ขายดีๆ ก็ยังพยายามลอกเลียนสื่อประเภทฟัง เช่น ทำข้อเขียนให้เหมือนมีคนมานั่งคุยกับผู้อ่าน เป็นต้น)

ข้อนี้ ไม่ใช่จุดด้อยในวรรณกรรมไทยหรอกนะครับ วรรณกรรมชาติอื่นๆ รวมทั้งฝรั่ง ก็เคยเป็นอย่างนี้มาก่อน จนเข้ามาถึงยุคใหม่แล้ว วรรณกรรมตัวเขียนจึงสร้างกันขึ้น เพื่ออ่านมากกว่าฟัง ผมคิดว่า เป็นไปได้ที่ส่วนใหญ่ของคนไทยก็ยังอยู่ในวัฒนธรรม การฟังมากกว่าการอ่าน และที่คนไทยอ่าน หนังสือน้อยก็เพราะเราไม่คุ้นกับการรับสารผ่าน สื่อประเภทนี้นั่นเอง

ตามการสำรวจเขาบอกว่า แม้แต่อินเตอร์เน็ตที่วัยรุ่นไทยชอบท่องเล่นนั้น ก็นิยมเข้าไป ในห้องสนทนาเพื่อคุยกับสมาชิกที่ไม่เคยเห็นหน้าในห้องนั้นมากกว่าอย่างอื่น... ตกเป็นอันรับสื่อผ่านการพูดคุยหรือ "ฟัง" นั่นเอง

สังคมในเอเชียที่มีสถิติการอ่านสูง ล้วนเป็นสังคมที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมจีนทั้งนั้น เพราะ จีนเป็นวัฒนธรรมที่มีประเพณีการอ่านมาแข็งแกร่งยาวนานที่สุดผมไม่ต้องการให้เข้าใจว่า การรับข้อมูลจากการอ่านนี้เหนือกว่ารับผ่านสื่ออื่นๆ สื่อทุกอย่างย่อมมีข้อดีข้อเสียในตัวเอง ตลาดซึ่งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลที่สำคัญในสมัยหนึ่งนั้นทำให้คนได้ข่าวสารข้อมูล กว้างขวางมาก รวมทั้งได้ท่าทีและความเห็นที่พึงมีต่อข่าวมาพร้อมเสร็จสรรพ

เหมือนหนังสือพิมพ์ไทยทุกวันนี้เป๊ะเลย แต่ข่าวและความเห็นนั้นก็มีมาหลายกระแส บางเรื่อง ก็ต้องซุบซิบเล่ากันซึ่งยิ่งทำให้น่าเชื่อถือ คนแต่ก่อนจึงอาจมีความเป็นอิสระในการเลือกรับข่าว ดีกว่าคนปัจจุบันที่ได้ดูแต่ทีวีช่องรัฐบาลก็เป็นได้

ข่าวสารข้อมูลที่ได้จากการฟังก็ไม่เสียหายอะไรหรอกครับ เพียงแต่เมื่อเป็นสื่อประเภทเดียว ก็ทำให้จำกัดประเภทของข่าวสารไปด้วยในตัวอย่างที่บอกแล้ว ฉะนั้น ข่าวสารที่ได้จาก การอ่านจึงมีความสำคัญและมีประโยชน์แน่ๆ แต่จะให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น เพียงยั่วยุกันให้ เข้มข้นขึ้นคงไม่สำเร็จ เพราะคนไม่อ่านหนังสือก็เพราะไม่มีวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็งมาก่อน จะทำให้คนไทยรักการอ่านมากขึ้นจึงต้องคิดไปถึงการเปลี่ยนกระบวนการรับข่าวสารในวัฒนธรรมไทยด้วย

เช่น เปลี่ยนจากคำอธิบายบนกระดานดำเป็นบทต่างๆ ในหนังสือแทน เป็นต้น หนังสือไม่ใช่ อ่านประกอบ แต่กระดานดำต่างหากที่เป็นตัวประกอบ




 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2550    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2550 11:53:23 น.
Counter : 483 Pageviews.  


kreang52
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แล้วสิ่งนี้ก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน
Friends' blogs
[Add kreang52's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.