.....ภาษาตระกูลไท เป็นวัฒนธรรมของคนไท สมควรจะเผยแพร่ให้โลกรู้จักอย่างทั่วถึง มากกว่าจะเก็บไว้สอนกันอย่างเร้นลับ ในมหาวิทยาลัย แล้วก็ปล่อยให้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา.....
Group Blog
 
All Blogs
 
อ่านไทลื้อใหม่ 2 กำขับอักขระ

Blog ตอนนี้ ไม่ใช่ อักษรไทลื้อใหม่ โดยตรง แต่เป็นอักษรไทลื้อเก่า ที่ชาวไต สิบสองปันนา พยายามฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้คนไต รุ่นใหม่ที่ต้องใช้ภาษาจีนกลาง เป็นส่วนใหญ่ ในชีวิตประจำวัน สามารถใช้อักษรไทลื้อเก่าได้ สามารถรักษาอักขรวิธีของภาษาที่บรรพชนใช้กันมาหลายร้อยปีได้ และ คล้าย ๆ เป็น “อารยะขัดขืน” ไม่ยอมรับอักษรไทลื้อใหม่ ที่ทางการจีนจัดทำขึ้น

คลิปวิดิโอ เรื่องแรก 傣文字母歌 ความยาว ๓.๐๘ นาที เป็น บทเพลงเกี่ยวกับอักษรไทลื้อเก่า จาก เว็บไซต์ 56.com ของจีน URL คือ
//www.56.com/u64/v_MzQxNzgxMDk.html

หรือใน youtube ที่
https://www.youtube.com/watch?v=aEclbUvEgmw

คุณ ThaiEsan ผู้อ่านท่านหนึ่ง ได้ปรับปรุงคลิปเพลงนี้ใหม่ นอกจากเปลี่ยนภาพประกอบแล้ว ยังได้เปลี่ยนฟอนต์ไทลื้อเก่า ให้ตัวใหญ่และอ่านง่ายขึ้น และยินดีที่จะให้นำออกเผยแพร่ได้ ตามที่ปรากฏต่อไปนี้



ผมได้ถอดเสียง เป็นอักษรไทลื้อเก่า(ตัวสีน้ำเงิน), ให้เสียงอ่าน และ เขียนอักษรไทลื้อใหม่(ตัวสีแดง) ไว้เพื่อเปรียบเทียบกันด้วย แต่เนื่องจากเนื้อหากล่าวถึงเฉพาะอักษรไทลื้อเก่า ที่ใช้ในภาษาบาลี อักษรไทลื้อใหม่บางตัว ที่ไม่มีตรงกัน จึงต้องเว้นว่างไว้











สำหรับผู้ต้องการ อักษรไทลื้อเก่า สามารถดูได้ที่ Blog “ไทเขิน” เพราะไทลื้อไทเขิน มีภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน จึงใช้ตัวอักษร, อักขรวิธี และไวยากรณ์ เหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การจะแยกว่าเอกสารใดเป็นไทลื้อหรือไทเขิน จะต้องศึกษาเพิ่มเติมอย่างละเอียดโดยเฉพาะ

คลิปวิดิโอ เรื่องที่ ๒ ความยาว ๔.๒๔ นาที "อักขระภาสาโต๋ไต" อ้ายคำจั๋น ขับร้อง เนื้อหาส่วนใหญ่คล้ายกับคลิปแรก แต่มีเพิ่มในเรื่องตัวสระ

https://www.youtube.com/watch?v=_HW6jFV1ApY

ซึ่งคุณ ThaiEsan ได้ช่วยปรับปรุงภาพประกอบ และฟอนต์ไทลื้อเก่า ให้ด้วยเช่นเดียวกัน




คลิปวิดิโอ เรื่องที่ ๓ ความยาว ๐๑.๔๒ นาที “ภาษาโต๋ไต” 傣语视频教程 เป็น ส่วนหนึ่งของการสอนอักษรไทลื้อเก่า บรรยายเป็นภาษาจีนกลาง ตอนแรกนี้เกี่ยวกับ "วรรณยุกต์"





Create Date : 23 กันยายน 2551
Last Update : 4 เมษายน 2554 20:47:06 น. 25 comments
Counter : 12610 Pageviews.

 
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำแนะนำเรื่องอักษรไทลื้อเก่า และการอัพเดทข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ขนาดเรียนกับภาษาไทยยังไม่ค่อยเข้าใจ นี่โดนภาษาจีนเข้าไปอีก มีหวังเข็ดหลาบ หมดกำลังใจเรียนแน่ๆ https://www.bloggang.com/emo/emo32.gif


โดย: Khin naing naing IP: 203.170.251.78 วันที่: 26 กันยายน 2551 เวลา:9:23:03 น.  

 
เพลงอักขระไทลื้อดีมากค่ะ แต่ฟังได้ลำบากเพราะใช้เวลาโหลดนาน ยังฟังได้ไม่จบเพลง แต่อ่านเนื้อเพลงได้จากที่ถอดไว้ให้ ยอดเยี่ยมค่ะ


โดย: คุณครู IP: 202.28.248.166 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:28:28 น.  

 
ขอบคุณมากๆครับ
กำลังสนใจ อยากอ่านภาษาไทลื้อออกบ้าง
ชอบและรู้สึกผูกพันกับไทลื้ออย่างบอกไม่ถูก
โหลดเพลงจาก youtube ไปฟังตั้งหลายๆเพลง
เพราะๆทั้งนั้น

เมื่อเดือนก่อน เพิ่งไปลาวมา ลองหัดอ่านลอง
เรียนเองจากหนังสือลาวที่ซื้อมา ไม่ยากเลย
(ให้ไกด์ช่วยแนะนำด้วย)

จะลองไปพิมพ์อักษรลื้อของคุณออกมาหัดอ่านดู
ยังไงแล้ว จะเข้ามาบอกความคืบหน้าครับ

ในเมืองไทยเขามีกลุ่มหรือชมรมไทลื้อไหมครับ
ผมอยากเรียนรู้และทำความรู้จักใกล้ชิดความเป็น
ไทลื้อมากๆเลย

ขอบคุณครับ


โดย: ยองจรา IP: 124.120.75.107 วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:0:07:50 น.  

 
เว็บไซต์ของไทลื้อ เช่น

//www.tailue.org

แต่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว เท่าไร

//www.phayaofocus.com

เผยแพร่ วิดิโอกิจกรรมของไทลื้อ ใน พะเยา

ส่วนที่ //www.thaipbs.or.th/clip

ในรายการสารคดี พันแสงรุ้ง กับ พินิจนคร จะมีคลิปวิดิโอ เรื่องราวเกี่ยวกับไทลื้อให้ดู เช่น ผ้าทอ อาหาร หรือ การขับร้อง แต่ที่เกี่ยวกับ ภาษา ไม่ค่อยมี

ไทลื้อ ที่อยู่เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เช่นที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา, บ.หนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน , ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย และกระจายกันอยู่หลายแห่งในเชียงใหม่ สังเกตได้จากชื่อหมู่บ้าน ที่ตั้งชื่อตามหมู่บ้านเดิมในสิบสองปันนา แต่สำเนียงภาษาของคนรุ่นหลัง ๆ จะกลายไปทางคำเมือง มากขึ้น เพราะบรรพบุรุษถูกกวาดต้อนหรือ อพยพมาอยู่ในเขตล้านนานานแล้ว แม้ ส่วนใหญ่จะพูดลื้อ หรือคำเมืองได้ แต่ก็อ่านเขียน ตัวลื้อ หรือ ตัวเมือง ไม่ได้ ถ้าไม่ได้สนใจเรียนเป็นการส่วนตัว



โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 7 เมษายน 2553 เวลา:10:41:47 น.  

 
ขอบตุณครับ

เท่าที่พิมพ์อักษรไทลื้อมาดู
ผมว่าก็ไม่ง่ายนะครับที่จะเรียนด้วยตนเอง
ผมอยู่กรุงเทพ ไม่ทราบว่ามีที่ไหนเขาสอนหรืออาจเป็นกลุ่มศีกษา อะไรประมาณนี้บ้างไหม
อยากเรียนอยากอ่านภาษาลื้อ,เขินได้จังเลย

คุณนายช่างปลูกเรือนเคยไปสิบสองปันนาไหมครับ
บ้านเมืองและผู้คนเขาเป็นยังไงบ้าง

อีกอย่าง เมืองยองในสิบสองปันนาอยู่ตรงไหนหรือครับ
อยู่ใกล้ชายแดนไทยไหม

ขอบคุณครับ


โดย: ยองจรา IP: 124.120.76.212 วันที่: 1 พฤษภาคม 2553 เวลา:5:18:43 น.  

 
ลื้อ,เขิน รวมทั้ง ยวน (ล้านนา) พิมพ์ยากตรงที่มีตัวเชิง แป้นพิมพ์จึงไม่พอ ต้องอาศัย insert ช่วย หรือออกแบบให้ซับซ้อนหน่อย

ส่วนการสอนพิเศษ ในกรุงเทพ คงมีสอนเฉพาะในชั้นเรียนวิชาภาษาไทย ในมหาวิทยาลัย ไม่มีสอนทั่วไป เหมือนที่ เชียงใหม่

แม้ กลุ่มชาวเหนือในมหาวิทยาลัย พูดคำเมืองได้ (เสียงเริ่มเพี้ยนก็มี) แต่มักอ่านเขียนตัวเมืองไม่ได้ บางคนอาจพิมพ์ได้ แต่เขียนไม่ได้เพราะไม่เคยคัดลายมือ

ผมไป เชียงรุ่ง กับทัวร์ เผลอไปไม่เท่าไร ก็ ๗ ปีแล้ว เห็นแต่ชีวิตในเมืองที่เจริญขึ้น ถ้าอยากเห็นชีวิตไทลื้อจริง ๆ ต้องไปนอกเมือง ก็ไม่มีโอกาสได้ไป

จากแม่สาย /ท่าขี้เหล็ก ขึ้นเหนือไป ๘๑ กม. ถึงเมืองพยาก ถนนดี จะมีทางเลี้ยวขวาไป ๗๔ กม. ถนนลูกรัง ถึงเมืองยอง เป็นเมืองปิดไม่เปิดให้เข้าเหมือนเชียงตุง ต้องขออนุญาตเป็นราย ๆ เช่น ไปทำบุญทอดกฐิน เป็นต้น

ผมเคยไปนานมากแล้ว เกือบ ๒๐ ปี ตั้งแต่ ขุนส่า ยังมีอำนาจ ทหารพม่าหลบอยู่แต่ในเมือง SSA พาลัดเลาะไปอีกทาง ถึงเมืองยอง พาไปถึงชายแดนจีน เขตเมืองลวง


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:10:56:45 น.  

 
ฟังดู เมืองยองนี้อยู่ในเขตประเทศพม่าใช่ไหมครับ
เคยรู้จักคนไทยที่แม่สายคนหนึ่ง เขาว่าบรรพบุรุษเขามา
จากเมืองยอง ผมนึกว่าเมืองยองน่าจะอยู่ในเขตสิบสองปันนา,ยูนานซะอีก
หรือว่าเมืองยองจะมีทั้งในพม่าและสิบสองปันนา

แล้วเมืองยองที่คุณช่างปลูกเรือนเคยไป มีชนชาติไหนอยู่
มากครับ มีคนไทลื้ออยู่กันไหมครับ

เรื่องที่เรียนภาษาลื้อ,ล้านนาในกรุงเทพนั้น ฟังดูก็เสียดายจัง
เลยนึกไม่ออกเลยว่าจะไปหาเรียนยังไงดี
สงสัยต้องรอตอนแก่แล้วขึ้นไปอยู่เชียงใหม่ก่อนค่อยหาเรียน (แต่สงสัยอาจจะแก่เกินไปมั้ง)


โดย: ยองจรา IP: 124.120.73.43 วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:0:13:23 น.  

 
ปัจจุบันเมืองยอง อยู่ในเขตประเทศพม่า ห่างชายแดนจีนประมาณ ๕๐ กม.

ชาวเมืองยอง ถูกกวาดต้อนมาอยู่ล้านนา ครั้งสุดท้ายสมัยพระเจ้ากาวิละ ประมาณ ๒๐๐ ปีเศษแล้ว เพื่อมาเป็นพลเมืองของเชียงใหม่-ลำพูน เมืองยอง จึงกลายเป็นเมืองร้างไปพักหนึ่ง แต่ต่อมาก็มีคนที่อื่นเข้าไปอยู่แทน ส่วนใหญ่เป็นไทลื้อ ที่หนีมาจากสิบสองปันนา สมัยจีนคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจได้ หรือชาวเมืองยอง เก่า ที่หนีการกวาดต้อนครั้งนั้นไปได้ กลับมาอยู่ที่เดิม นอกนั้นเป็นชน เผ่าอื่น ๆ เช่น ไทเขิน ไทใหญ่ ว้า จีน พม่า อยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ

ส่วนลูกหลานของพวกที่ถูกกวาดต้อนมาล้านนา จะอพยพกลับไปเมืองยอง มากน้อยแค่ไหน ก็ไม่มีหลักฐานยืนยัน เพราะญาติพี่น้องทางโน้นคงไม่มีแล้ว และเมืองไทยโดยส่วนรวม สบายกว่ามาก ไม่รู้จะกลับไปทำไม


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:12:33 น.  

 
ขอบคุณครับ

ชอบเข้าไปฟังเพลงไตลื้อใน youtube บ่อยๆ
เจอชื่อของพี่ khurtai บ่อยๆ
(ขออนุญาติเรียกพี่นะครับ)
พี่ไปเอาเพลงไตลื้อมาจากไหนหรือ
ถ้าผมอยากได้บ้าง จะต้องไปหาหรือทำอย่างไรครับ
ทั้ง cd , mp3 หรือ vcd ก็ได้ทั้งนั้น

ฟังเพลงไตลื้อแล้วมีความสุขจัง
เหมือนได้กลับบ้าน (ไม่รู้เพราะอะไร)

ถ้าจะหัดอ่านอักษรไตลื้อกับล้านนา
พี่ว่าควรหัดอะไรก่อนดี

ขอให้พี่ อยู่ดีกินหวานครับ


โดย: ยองจรา IP: 124.120.80.183 วันที่: 20 พฤษภาคม 2553 เวลา:1:50:02 น.  

 
วีซีดี เพลงไทลื้อ ๑๒ ปันนา ผมซื้อจาก ร้านเสียงกลองไต ตลาดท่าขี้เหล็ก เมื่อ ๕ ปีก่อน ๒ ชุดเอง นอกนั้นได้มาจาก เว็บไซต์ ของจีน เช่น 56..com หรือ tudou.com เพลงเก่าบ้าง ใหม่บ้าง เพลงไหนที่ฟังแล้ว เนื้ิิอหาเข้าท่า่่หน่อย เสียงชัดเจน ภาพไม่มัว และยังไม่มีใน youtube ผมก็ ดาวน์โหลด มา แล้วแปลงไฟล์ใหม่อีกครั้ง อัพโหลด ส่งไป youtube โดยตั้งชื่อเพลงเป็นภาษาอังกฤษ ให้เป็นสากล อย่างที่เห็น

ถ้า “ยองจรา” อยากได้เป็นไฟล์วิดิโอ .flv , .3gp หรือ .mp4 ก็ใช้ //keepvid.com ดาวน์โหลดจาก youtube ได้สำเร็จรูปเลย ส่วนจะให้เป็น .mp3 ก็ต้องแปลงไฟล์ใหม่อีกครั้ง

การอ่านอักษร ผมว่า ล้านนา จะมีตำราให้อ้างอิงค้นคว้ามากกว่า การเขียนอักษรอาจมีหยักหรือลวดลายมากกว่าอักษรลื้อ แต่เอาไปอ่านอักษรลื้อได้ไม่ยาก เพราะคำเดิม ๆ ก็เขียนเหมือนกัน
ลื้ออาจออกเสียงต่างออกไป ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตหรือฟังเป็นหลัก


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 20 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:17:34 น.  

 
ถ้าได้ไปแม่สาย(ท่าขี้เหล็ก)อีก คงได้ไปหาเพลงลื้อกลับมาบ้าง
ใกล้เคียงสุดสักต้นเดือนหน้าน่าจะได้ไปธุระที่เชียงใหม่
สักสองสามวัน

ขอบคุณที่แนะนำครับ


โดย: ยองจรา IP: 124.122.84.102 วันที่: 25 พฤษภาคม 2553 เวลา:0:44:00 น.  

 
ถึงคุณ ยองจรา ผมรู้สึกภูมิใจ(ปืมใจ๋)และดีใจแทนบรรพบุรุษชาวไทยลื้อของผม ที่ได้รักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทลื้อมาจนถึงรุ่นผม และมีคนที่สนใจวัฒนธรรม(มะเก่า)เช่นคุณ ผมเป็นลูกหลานชาวไทยลื้อแต่กำเหนิด ครับ พูดภาษไทยลื้อได้ แต่เขียนอ่าน อาจจะไม่คล่อง เพราะไม่ค่อยได้ใช้ ผมจากบ้านเกิด ( อ.ปัว จ .น่าน ) มาทำงานที่ภาคกลางหลายปีแล้วครับ แต่ก็กลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่น้องในช่วงเทศกาลทุกปีครับ เพราะที่บ้านผมยังรักษาประเพณี ภาษาพูด ทุกอย่างเป็นแบบไทยลื้อครับ ถ้าหากคุณ ยองจรา สนใจไทลื้อ สิ่งแรก ที่คุณควร ทำก็คือ หัดพูดภาษษลื้อ(กวามลื่อ) ครับ เพราะ มันจะเป็นสะพานที่สามารถเชื่อเข้าไปสู่วัฒนธรรมไทลื้อ ด้านอื่น ๆ ได้ครับ ถ้าคุณยองจรา สนใจเรียนพูดภาษาไทลื้อ ผมสามารถสอนคุณได้ครับ เพราะผมพูดกับ พ่อแม่พี่น้อง ญาติ ทุกวันอยู่แล้ว และพูดมากว่า 30 ปีแล้วครับ ส่วนการเขียน(ลิกไต) หรือ อ่าน ภาษาไทยลื้อนั้น เอาไว้ทีหลังครับ ถ้าสนใจ ก็ โทรมาได้ที่ 083-161-3437 หรือ 089-193-8679 สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณแทน พี่น้องชาวลื้อ ที่ยังมีคนสนใจวัฒนธรรมของพวกเราครับ
ยู่ดีกิ๋นหวานเน่อ
ยองปันเจิง


โดย: ลูกหลานไทลื้อ IP: 118.173.227.134 วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:01:26 น.  

 
ปล. บรรพบุรุษของผม เป็นชาวไทลื้อ เมิงยองก๋องเข่าไหย่ (เมืองยองกองข้าวใหญ๋) แขวงเมิงโหลย(เมืองหลวย) เขตปกครองตนเอง สิ๊บส๋องปั่นน๊า (สิบสองปันนา) ครับ


โดย: ลูกหลานไทลื้อ IP: 118.173.227.134 วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:05:27 น.  

 
สวัสดีครับ พี่นายช่างปลูกเรือน
วันนี้มีกลอนเกี่ยวกับคนไทมาฝากครับ

พี่น้องไท เสียดาย อยู่ไกลห่าง
เมืองเคยสร้าง ทางเคยสู่ อยู่เนิ่นนาน
เลาะน้ำแดง เลียบน้ำโขง โยงน้ำน่าน
ล่องผ่านกก ปิง คง มาว พรหมบุตร

เคยพูดไท เว้าลาว อู้คำเมือง(ยวน,ล้านนา)
ฟังรู้เรื่อง ไทอาหม มาว ใต้คง
ไตคำตี่ ใหญ่ เขิน ลื้อ จ้วง นุง ต้ง
ไทยน้อย เสียม ทรงดำ ขาว พอรู้กัน

จวบบัดนี้ สาวอาหม ห่มส่าหรี
หนุ่มผาแก่ ที่อัสสัม นุ่งโสร่ง
จ้วง ผู้ต้ง คำฮ่อแทรก แยกเชื่อมโยง
พร่าเลือนเงา เค้าโครง ความทรงจำ



โดย: ยองจรา IP: 124.120.101.154 วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:23:23:17 น.  

 
ขออนุญาติพี่นายช่างปลูกเรือน โพสต์ตอบคุณลูกหลานไทลื้อหน่อยนะครับ


ขอบคุณครับคุณลูกหลานไทลื้อ
สำหรับความกรุณาที่จะช่วยสอนผมพูดภาษาลื้อ
ไว้ผมจะโทรไปคุยด้วยครับ
เห็นโพสไว้ตั้งสองเดือนแล้ว ขอโทษครับที่ไม่ได้เข้ามาดู

ยู่ดีกิ๋นหวาน


โดย: ยองจรา IP: 124.120.101.154 วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:23:38:35 น.  

 
ถึงวันนี้ ผมอ่านภาษาล้านนาออกแล้ว
ยกเว้นภาษาล้านนาที่เขียนบาลี ยังรู้สึกยากอยู่

ตอนนี้กำลังจะหัดอ่านภาษาไตลื้อครับ
จริงๆด้วยอย่างพี่นายช่างปลูกเรือนบอก
คือ อักษรล้านนากับไตลื้อคล้ายกันมาก
คงไม่ยากเน้อครับ

ต่อไปก็คงเป็นภาษาไทใหญ่
เพิ่งซื้อหนังสือภาษาไทใหญ่มาเมื่อเดือนที่แล้วเองครับ


โดย: ยองจรา IP: 124.122.169.120 วันที่: 6 มีนาคม 2554 เวลา:0:25:22 น.  

 

ยินดีด้วยครับ ทีก้าวหน้าขึ้นมาก

ล้านนา กับ ไตลื้อ แม้เขียนเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกัน
ถ้ามีเวลาก็เข้าไปอ่านดูใน tai12.com


ส่วนภาษาไทใหญ่ นั้น ถ้ามี พจน.ไทใหญ่-ไทย ของ ราชภัฏเชียงใหม่ ไว้ดูการออกเสียงและความหมาย ด้วย ก็จะดี


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 6 มีนาคม 2554 เวลา:10:50:51 น.  

 
ผมคนหนึ่งก็เป็นคนไทลื้อครับ

พูดได้ครับ แต่เขียนไม่เป็นครับ
ยากจิงจิง


โดย: สุดเขตต์ IP: 124.122.123.111 วันที่: 7 เมษายน 2554 เวลา:15:34:46 น.  

 

จะเรียนภาษา ต้องอดทนหน่อยครับ


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 7 เมษายน 2554 เวลา:20:47:05 น.  

 
ใหม่สุง(เหม่อสุง)

ขอบคุณที่แนะนำครับ
ปลายเดือนจะขึ้นไปเชียงใหม่ ว่าจะไปร้านสุริวงศ์ ไม่รู้จะมี
พจน.อย่างที่ว่าไหม
ถึงวันนี้ ผมพอสะกดอ่านภาษาไทใหญ่ได้บ้างแล้ว แต่ก็ยัง
ยากมากอยู่ครับ ยังดีที่ได้ไปเรียนที่วัดใหม่มาบ้าง
สำเนียงไตนี่ ค่อนข้างฟังยากอยู่ครับ ศัพท์หลายๆคำก็
ไม่ค่อยรู้ จะค่อยๆพยายามต่อไป
คนไตน่ารักดีครับทั้งจายทั้งหญิง



โดย: ยองจรา IP: 124.120.205.181 วันที่: 11 มิถุนายน 2554 เวลา:1:00:52 น.  

 
พจน.ไทใหญ่-ไทย ไม่ทราบว่าจะหมดหรือยัง
เพราะพิมพ์ครั้งแรก ๕๐๐ เล่ม/๒๕๕๒

ร้าน "ไท" กาดธานินทร์ชั้น ๒ ถ.ช้างเผือก ตรงข้าม ม.ราชภัฎเชียงใหม่ ก็มีหนังสือไท อยู่มาก

ไปเชียงใหม่ มีเวลาก็ไปเยือน วัดป่าเป้า และ วัดกู่เต้า บ้างก็จะดี

ฟังเพลงไทใหญ่ บ่อย ๆ จะช่วยการฟังเสียง ได้มาก
ใน youtube มีเป็นร้อย ๆ เพลง


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 13 มิถุนายน 2554 เวลา:12:23:08 น.  

 
ฟังแทบทุกวันเลยครับ
อัดมาลง CD ฟังในรถ ในออฟฟิคด้วย

คราวก่อนไปเชียงใหม่ก็ได้ซื้อมาห้าหกแผ่นจากกาดวโรรส

ขอบคุณครับ


โดย: ยองจรา IP: 124.120.138.132 วันที่: 13 มิถุนายน 2554 เวลา:17:02:08 น.  

 
นอกจากเพลงก็ฟังเสียงพูดธรรมดา จากวิทยุ cm77.com
จันทร์-ศุกร์ ๒๐๐๐-๒๑๐๐, เสาร์-อาทิตย์ ๑๒๐๐ - ๑๓๐๐

หรือ ข่าว RFA ภาคภาษาไทใหญ่ ประมาณวันอาทิตย์เข้าไปที่
//www.rfa.org/burmese/ethnic_programs

ขวามือ ๒ บรรทัด ล่างสุด จะมี ให้ ดาวน์โหลด ไฟล์ .mp3
ข่าวภาษาไทใหญ่ รายสัปดาห์ (ออกกระจายเสียง ค่ำวันศุกร์)


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 14 มิถุนายน 2554 เวลา:12:43:42 น.  

 
อยากขอตัวอย่างอักษรทั้งหมดนะครับ เพราะในเนื้อเพลงยังมีอักษรบางตัวไม่ได้แนะนำ แต่มีแทรกในเนื้อด้วยน่ะครับ
ผมขอทั้งไทลื้อและไทเขินเลยนะครับ


โดย: ภาคิน ทองมณีการ IP: 27.55.76.149 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2557 เวลา:18:51:45 น.  

 
อยากขอตัวอย่างอักษรทั้งหมดนะครับ เพราะในเนื้อเพลงยังมีอักษรบางตัวไม่ได้แนะนำ แต่มีแทรกในเนื้อด้วยน่ะครับ
ผมขอทั้งไทลื้อและไทเขินเลยนะครับ


โดย: ภาคิน ทองมณีการ IP: 27.55.76.149 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2557 เวลา:18:51:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นายช่างปลูกเรือน
Location :
กาญจนบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




ไม่สงวนลิขสิทธิ์

เพื่อเปิดกว้างการศึกษาและเผยแพร่ภาษาตระกูลไท

ข้อมูล "ในส่วนที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น"
ยินดีให้ ลอกเลียน, ทำซ้ำ, เพิ่มเติม, แก้ไขเปลี่ยนแปลง
หรือนำไปใช้

โดยไม่ต้องขออนุญาต หรืออ้างถึงใด ๆ ทั้งสิ้น


Copyleft
Friends' blogs
[Add นายช่างปลูกเรือน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.