เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

“เอื้องโมกพรุ”...กล้วยไม้สุดหายาก การค้นพบครั้งสำคัญของไทยที่ชุมพร/ปิ่น บุตรี

ดอกเอื้องโมกพรุ กล้วยไม้หายาก ที่หายสาบสูญไปจากเมืองไทยเป็นเวลานาน ก่อนถูกค้นพบอีกครั้งเมื่อไม่กี่ปีมานี้
       เด็กสมัยนี้มีมือถือใช้กันเป็นจำนวนมาก

       นั่นจึงทำให้เด็กคนหนึ่งในชุมพร หลังเที่ยวเล่นกับเพื่อนๆเข้าไปดงป่าพรุแห่งหนึ่ง พบเจอกับดงกล้วยไม้สีสันสวยงาม เขาจึงถ่ายรูปดอกกล้วยไม้นำกลับมาอวดเพื่อนๆและคนใกล้ตัว

       ความสวยงามของกล้วยไม้ชนิดนี้ทำให้ภาพถูกนำไปเผยแพร่ต่อจนทราบไปถึงกูรูกล้วยไม้คนหนึ่ง หลังจากพิจารณาดูกล้วยไม้ชนิดนี้แล้ว พบว่ามันคือกล้วยไม้หายากนาม “เอื้องโมกพรุ” ที่เคยหายสาบสูญไปจากประเทศไทยเป็นเวลานาน

       การค้นพบโดยไม่รู้ตัวของเด็กคนนั้นไม่มีสิ่งใดมายืนยัน เป็นเพียงคำบอกเล่าของชาวบ้านในพื้นที่ ที่เล่าให้ผมฟังในระหว่างที่พวกเรากำลังเดินทางไปพิสูจน์ความน่าทึ่งของกล้วยไม้ชนิดนี้ แต่ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ค้นพบกล้วยไม้ชนิดนี้ นี่นับเป็นการค้นพบครั้งสำคัญในแวดวงพืชพันธุ์ไม้อีกครั้งหนึ่งในเมืองไทย

รู้จักเอื้องโมกพรุ

เอื้องโมกพรุ (Papilionanthe hookeriana) อยู่ในสกุลเอื้องโมก Papilionanthe (Papilio หมายถึง ผีเสื้อ ส่วน nanthe หมายถึง ดูคล้าย) กล้วยไม้สกุลจึงหมายถึงกล้วยไม้ที่มีลักษณะดอกคล้ายผีเสื้อ

       เอื้องโมกพรุ มีรายงานการค้นพบครั้งแรกที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อกว่า 157 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเป็นกล้วยไม้ที่หายาก(มาก) เนื่องจากมีประชากรน้อย เป็นกล้วยไม้ทีมีการเจริญเติบโตเฉพาะถิ่น สามารถพบได้ในพื้นที่ป่าพรุ ตามที่โล่งแจ้งมีแสงแดดจัด หรือในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล มีเขตกระจายพันธุ์ในประเทศจีน เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยเคยมีการพบในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี

       เอื้องโมกพรุตามธรรมชาติ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จนมีลำต้นที่สูงมาก กล้วยไม้ชนิดนี้ออกดอกไม่เป็นฤดู สามารถออกดอกเมื่อไหร่ก็ได้ทั้งปี ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น
       จุดเด่นที่สำคัญของเอื้องโมกพรุคือเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกสีสันสวยงาม กลีบดอกช่วงบนมีสีม่วงหรือชมพูอ่อน ส่วนกลีบดอกช่วงล่าง(กลีบปาก)มีสีม่วงอมชมพูเข้ม มีลวดลายกระจายไปทั่วกลีบ

       เอื้องโมกพรุถือเป็นต้นตระกูลของ “แวนด้ามิสโจคิม”(V.Miss Joaquim) กล้วยไม้ประจำชาติสิงคโปร์ที่เป็นกล้วยไม้ลูกผสม เกิดจากต้นแม่เอื้องโมกพรุผสมกับต้นพ่อคือเอื้องโมก

       ความสวยงามของดอกเอื้องโมกพรุทำให้มีผู้ต้องการมันเป็นจำนวนไม่น้อย แต่ด้วยปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ 100% (อยู่ในขั้นตอนการวิจัย) อีกทั้งเอื้องโมกพรุได้(เคย)หายสาบสูญไปเป็นเวลานาน ชนิดที่นักวิชาการหลายคนคิดว่ามันอาจสูญพันธุ์ไปแล้ว จนกระทั่งเกิดการค้นพบเอื้องโมกพรุตามธรรมชาติเป็นจำนวนพอสมควรเมื่อไม่กี่ปีมานี้ที่ชุมพร ซึ่งนับเป็นการค้นพบที่สำคัญไม่น้อย

ร่วมด้วยช่วยกัน

       “ชาวบ้านที่นี่เรียกมันว่ากล้วยไม้น้ำ มันอยู่คู่กับชุมชนเรามาตั้งนาน แต่ไม่รู้ว่ามีความสำคัญอะไร จนนักวิชาการมาบอก ถึงรู้ แต่ที่ผ่านมาชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ช่วยกันดูรักษาให้มันอยู่ ไม่ไปเก็บ ไปนำมันออกมา” ผู้นำชุมชนที่มีการค้นพบเอื้องโมกพรุเล่าให้ผมฟัง

       อย่างไรก็ดีหลังการค้นพบ รู้ถึงความสำคัญของกล้วยไม้ชนิดนี้ก็เริ่มมีคนสนใจ บางคนอ้างเป็นนักวิชาการพยายามเข้ามาเลียบๆเคียงๆขอกล้วยไม้ไปจากพื้นที่ บางคนก็ใช้ความมียศมีตำแหน่ง ให้ชาวบ้านไปเก็บมาให้(บ้างนำไปอวด บางคนก็เพื่อไปประดับบารมี) ทำให้ชุมชนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตามากขึ้น ซึ่งผู้นำชุมชนคนนั้นบอกว่า

       “ปัจจุบันไม่สามารถป้องกันการลักลอบนำกล้วยไม้ได้ 100 % แต่ชาวชุมชนก็ช่วยกันเป็นหูเป็นตา ส่วนที่อยากขอวอนก็คือพวกผู้ใหญ่ทั้งหลาย ว่าขอให้เก็บกล้วยไม้ไว้คู่กับธรรมชาติของมันอย่ามาสั่งเอากล้วยไม้ ให้พวกเราต้องลำบากใจเลย”

       แม้ชุมชนจะพยายามช่วยกันดูแล แต่ถ้าเกิดมีออร์เดอร์ในราคาดีก็อาจทำให้ชาวชุมชนบางคนลักลอบนำกล้วยไม้ออกไปขายได้ เพราะคิดว่า นำไปไม่มาก แค่ 10-20 ต้น ไม่เห็นจะเป็นอะไร แต่หากเอื้องโมกพรุถูกนำออกจากป่าไปเรื่อยๆ มันก็สุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หายสาบสูญไปจากเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง

       ด้วยเหตุนี้จึงเกิดมีโครงการวิจัยและอนุรักษ์เอื้องโมกพรุขึ้นในพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ซึ่งนักวิชาการที่เป็นผู้ดูแลโครงการเล่าให้ผมฟังว่า

       จากการสำรวจพบปัจจัยสำคัญที่ทำให้เอื้องโมกพรุเจริญเติบโตและออกดอกได้ดีในพื้นที่แห่งนี้ คือ แสงแดด พืชอิงอาศัย อุณหภูมิ และสภาพน้ำที่ต้องเป็นน้ำป่าพรุที่พื้นล่างมีความอุดมสมบูรณ์มาก

       สำหรับโครงการวิจัยเอื้องโมกพรุนั้น หลักๆก็เพื่อนำกล้วยไม้จากธรรมชาติมาเพาะเลี้ยงให้ได้ เพื่อสร้างเป็นพืชเศรษฐกิจให้ชุมชน เมื่อสามารถขยายพันธุ์ด้วยมนุษย์ได้ สามารถปลูกเชิงการค้าได้ ก็จะลดความความต้องการกล้วยไม้ชนิดนี้ตามธรรมชาติลงไปได้มาก ดังนั้นการลักลอบน้ำกล้วยไม้ตามธรรมชาติออกไปจากนอกพื้นที่ก็จะลดปริมาณลงไปเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน(เมื่อสามารถขยายพันธุ์ด้วยมนุษย์ได้ ทางโครงการวิจัยอยากให้การลักลอบนำกล้วยไม้ออกเป็น 0%)

       และเมื่อวิจัยได้ถึงขนาดขยายพันธุ์เองได้ สามารถเก็บรักษาเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อได้ ก็จะทำให้บ้านเราสามารถรักษาพันธุกรรมของเอื้องโมกพรุไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากเมืองไทยได้

       นักวิชาการท่านนี้ยังบอกกับผมถึงอีกจุดประสงค์สำคัญในการทำโครงการวิจัยและอนุรักษ์นี้ว่า เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับชุมชน เพราะชุมชนเป็นด่านแรกของการนำกล้วยไม้ออกไป เมื่อชุมชนรู้คุณค่า เห็นถึงคุณค่า เกิดความรักหวงแหนต่อทรัพยากรก็จะช่วยกันดูแลไม่ให้คนภายนอกหรือแม้กระทั่งคนในชุมชนบางคนมาทำลาย มาลักลอบนำกล้วยไม้ออกไป

       ปัจจุบันทางโครงการวิจัยได้ถ่ายทอดให้ชุมชนเรียนรู้ และทำการทดลองขยายพันธุ์เอื้องโมกพรุ โดยให้เด็กนักเรียนทดลองขยายพันธุ์ในโรงเรียน มีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ทรัพยากรในชุมชน ซึ่งผลการทดลองขยายพันธุ์ที่ออกมาในตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 20-30 % ขณะที่การทดลองขยายพันธุ์ในแล็บอยู่ที่ประมาณ 80 %

       อย่างไรก็ดีในขณะที่คนส่วนหนึ่งในชุมชนตื่นตัวกับเรื่องนี้ แต่ก็มีบางคนรู้ได้เคยพยายามจะเข้ามาปรับพื้นที่ป่าพรุแห่งนี้เพื่อใช้ประโยชน์(อาจจะเป็นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่รู้ในคุณค่าอันควรเมืองของเอื้องโมกพรุเหล่านี้) แต่โชคดีที่ถูกยับยั้งไว้ มิฉะนั้นเอื้องโมกพรุอาจสูญพันธุ์ไปจากบ้านเราแบบไม่หวนคืนก็เป็นได้

เดินหน้าสู่แหล่งเรียนรู้อย่างยั่งยืน

       นอกจากโครงการวิจัยกล้วยไม้ในทางวิชาการที่เข้มข้นแล้ว ทางผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีการผลักดันให้เกิดโครงการพัฒนาป่าพรุแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างยั่งยืน เพราะป่าพรุแห่งนี้นอกจากจะอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมไม่น้อยเลย

       สำหรับวัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ ก็เพื่ออนุรักษ์ผืนป่าแห่งนี้ให้อยู่คู่เมืองไทยไปอีกนานเท่านาน เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนทั้งชุมชน ท้องถิ่น ภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ป่าพรุแห่งนี้ได้รับการพัฒนาเป็นมรดกทางธรรมชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยว แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ

       อย่างไรก็ดีปัจจุบัน โครงการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นกำหนดยุทธศาสตร์ โดยวางแผนว่าจะเริ่มเดินหน้าโครงการอย่างจริงจังในปีหน้า(2557) ซึ่งถ้าทุกคนที่เกี่ยวข้องจริงใจ ร่วมแรง ร่วมมือร่วมใจกัน นำพาโครงการไปสู่จุดหมายปลายทาง อนาคตผืนป่าแห่งนี้อาจจะกลายเป็นมรดกธรรมชาติแหล่งเรียนรู้อันทรงคุณค่าของประเทศ เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวชั้นนำของภาคใต้ ที่นอกจากมาเที่ยวชมกล้วยไม้เองโมกพรุตามธรรมชาติแล้ว ถ้าผลการทดลองสำเร็จกล้วยไม้สามารถขยายพันธุ์ด้วยมนุษย์ได้ ในอนาคตอาจจะมีเอื้องโมกพรุขายเป็นของฝากให้กับนักท่องเที่ยว และเป็นผลผลิตชุมชนส่งขายไปตามความต้องการของตลาด อันถือเป็นรายได้เสริมสำคัญของชุมชน

       แต่นั่นเป็นเรื่องราวความคาดหวังในอนาคต เพราะในความเป็นจริงโลกหาได้สวยงามไม่ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องหาทางป้องกันและวางแผนบริหารจัดการให้ดี ต้องสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ให้กับชุมชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สร้างภูมิคุ้มกันอันเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย อย่าชะล่าใจปล่อยให้เกิดกรณีวัวหายแล้วล้อมคอก

เพราะบางทีมันอาจจะสายจนเกินเยียวยาไปแล้วก็ได้

//www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000037263



Create Date : 29 มีนาคม 2556
Last Update : 29 มีนาคม 2556 8:32:38 น. 2 comments
Counter : 4615 Pageviews.  

 
แวะมาทักทายและเข้ามาชมครับ


โดย: กัปตันลูกชุบ วันที่: 29 มีนาคม 2556 เวลา:10:40:34 น.  

 


โดย: Kavanich96 วันที่: 30 มีนาคม 2556 เวลา:9:00:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]