เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

เริ่มแล้วทำบัตรประชาชนเด็ก! ร.ร.วัดสุวรรณบำรุงฯ นำร่อง





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


โรงเรียนวัดสุวรรณบำรุงฯ จ.ปทุมธานี นำนักเรียน อายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป จำนวน 74 คน นำร่องทำบัตรประชาชนเด็กแล้ว ขณะเด็ก ๆ ต่างดีใจ บอกรู้สึกจะได้โตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว และจะนำพกติดตัวตลอดเวลา ขณะที่่กทม. พร้อมทำบัตรประชาชนเด็ก 7 ขวบ เริ่มทำอย่างเป็นทางการ 11 ก.ค. นี้ ส่วนเชียงใหม่ พร้อมวันที่่ 16 ก.ค.นี้

วันนี้ (10 กรกฏาคม) ที่โรงเรียนวัดสุวรรณ ม.11 ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ได้เป็นโรงเรียนนำร่องทำบัตรประชาชนนักเรียน ของโรงเรียนนี้เป็นแห่งแรก ของจังหวัดปทุมธานี และเป็นหนึ่งในสองโรงเรียนที่ทางกรมการปกครองได้ทดลองทำให้จริงกับเด็กนักเรียน

นายจักรี ชื่ออุระ ผู้อำนวยการสำนักบริการทะเบียน และ นายบรรจง กนะกาศัย ผู้อำนวยการส่วนบัตรประชาชน ได้นำเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องทำบัตรประชาชน มาทดลองเครื่อง ซึ่งจะพบปัญหาการตั้งค่าของเครื่องที่มีบางสิ่งบางอย่าง ไม่ยอมรับข้อมูลที่ป้อนให้เครื่อง จึงต้องทำการแก้ไขกันอย่างเร่งด่วน หลังจากที่แก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้นำนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 27 คนและชั้นมัธยมศึกษา ม.1 และ ม.2 จำนวน 47 คน มาทำบัตรในวันนี้ ประมาณ 100 คน ส่วนในวันพรุ่งนี้ ก็จะเริ่มทำจริง โดยให้นักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป ได้ทำบัตรให้ก่อน ส่วนเด็ก ๆ ต่างดีใจว่าเมื่อทำบัตรประชาชนแล้ว จะได้โตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว และจะนำพกติดตัวตลอดเวลา

ส่วนในกรุงเทพมหานครนั้น นายยศศักดิ์ คงมาก ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียน (สปท.) สำนักปลัด กทม. เผยว่า ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะเริ่มเปิดให้บริการทำบัตรประชาชน สำหรับเด็ก ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฏาคม นี้ เป็นต้นไป ที่ทุกสำนักงานเขต ซึ่งตามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป ประมาณ 600,000 คน แต่การทำบัตรประชาชน แม้ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตกรุงเทพฯ ก็สามารถทำบัตรได้ที่สำนักงานเขต ทั้ง 50 เขตได้เช่นกัน

โดยขณะนี้ทางกรุงเทพฯ ได้เพิ่มเวลาให้บริการทำบัตรประชาชน ในวันทำการปกติตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 18.00 น. และให้บริการในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00 น.- 16.00 น. ไปจนถึงเดือนกันยายนนี้ ซึ่งผู้ปกครองที่ไม่สะดวก ในเวลาทำงานก็สามารถมารับบริการในช่วงเวลาอื่นได้ สำหรับข้อกังวลเรื่องบัตรสมาร์ทการ์ด จะเพียงพอหรือไม่นั้น ไม่เป็นปัญหา เพราะทางกระทรวงมหาดไทย จะจัดสรรมาให้เพียงพอ โดยในวันที่ 11 กรกฏาคม นี้ กรุงเทพฯ จะจัดรถโมบายเคลื่อนที่ ไปให้บริการทำบัตรประชาชนที่โรงเรียนวัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน และมีแผนจะหมุนเวียนไปให้บริการในโรงเรียนต่างๆ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเด็กและผู้ปกครองอีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการทำบัตรประชาชนเด็ก ที่สำนักงานเขตดินแดง ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ที่กำหนดให้เด็กไทย สัญชาติไทย ที่อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นไปด้วยความเงียบเหงา มีผู้ปกครองพาบุตรหลานมาบางตา สาเหตุเนื่องจากทางกระทรวงมหาดไทย มีการประชาสัมพันธ์น้อย ทำให้ประชาชนไม่ทราบว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว

ทางด้านจังหวัดเชียงใหม่ นายอดิสรณ์ กำเนิดศิริ นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า จ.เชียงใหม่ จะเริ่มทำบัตรประชาชนให้กับเด็กวัย 7 ขวบ ในวันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคมนี้

โดยในขณะนี้ทางศูนย์ทะเบียนภาค 5 กำลังจัดเตรียมอุปกรณ์นำไปติดตั้งในแต่ละอำเภอและเทศบาลทุกแห่งในวันพรุ่งนี้ (11 กรกฎาคม) ซึ่งทางโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ทั้งในเขตเมืองและรอบนอก จะได้รับแจ้งให้เข้าทำบัตรประจำตัวประชาชนแก่เด็ก ๆ วันแรกคือวันที่ 16 กรกฎาคม แต่คงจะเป็นการค่อย ๆ ทยอยทำ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด โดยอยู่ระหว่างการสำรวจรายละเอียดของเด็ก ๆ




ดีเดย์ 11 ก.ค. ทำบัตรประชาชนเด็ก จัดรถบริการถึงโรงเรียน







[9 กรกฎาคม] ดีเดย์ 10 ก.ค. ทำบัตรประชาชนเด็ก จัดรถบริการถึงโรงเรียน


อธิบดีกรมการปกครอง เตรียมจัดรถบริการทำบัตรประชาชนเด็ก 10 ก.ค.นี้ แนะผู้ปกครองเตรียมเอกสารให้พร้อม บอกไม่ต้องรีบ ไม่ใช่เรื่องด่วน
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2554 นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า ในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ที่สำนักงานเขต และที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ ได้มีการเตรียมความพร้อมอำนวยความสะดวก สำหรับการทำบัตรประชาชนเด็กแล้ว โดยตนจะเป็นประธานจัดทำบัตรประชาชนให้เด็กที่โรงเรียนราชบพิธ เขตพระนคร ในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ นอกจากนี้ เบื้องต้นจะมีการจัดรถบริการเคลื่อนที่ไปทำบัตรประชาชนเด็กที่โรงเรียนวัดสุวรรณบำรุงราชวราม อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี, โรงเรียนวัดกู้ ( นันทาภิวัฒน์ ) อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และโรงเรียนสันติวิทยา อ.เมือง จ.เชียงราย

อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวต่อว่า หากโรงเรียนไหนต้องการให้จัดรถบริการทำบัตรประชาชนเด็ก สามารถติดต่อไปยังสำนักงานทะเบียนในเขตพื้นที่ที่สังกัด โดยทางกระทรวงมหาดไทย จะมีรถบริการทั้ง 77 จังหวัด แต่ในบางพื้นที่ที่รถอาจเข้าไปไม่ถึง ทางสำนักงานทะเบียนจะนัดแนะวันที่เข้าไปทำบัตรที่โรงเรียนเอง ซึ่งอาจเป็นวันหยุดราชการเพื่อไม่กระทบการเรียน หรือสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน 1548

ทั้งนี้ ยอมรับว่า มีความกังวลเรื่องปัญหาความวุ่นวายและอุปสรรคอยู่บ้าง เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่ จึงได้ประสานไปที่ทำการเขตให้ทำการประชาสัมพันธ์ไปถึงประชาชนแล้วว่า ไม่ต้องรีบทำบัตรประชาชนเด็ก เพราะไม่ใช่เรื่องรีบด่วน และแม้จะทำในระยะเวลาเกิน 60 วัน ก็จะมีช่องทางในการแก้ไขปัญหาให้ไม่ต้องเสียค่าปรับ 100 บาท และยืนยันว่าเด็ก ๆ จะไม่เสียสิทธิ์การทำบัตรประชาชนแน่นอน

มาดูที่ความเห็นของเด็ก ๆ กันบ้าง อย่างเช่น น้องโปลิส ด.ช.เอกสิทธิ์ สงศรีอินทร์ อายุ 7 ปี นักเรียนชั้น ป.2 โรงเรียนผ่องสุวรรณวิทยา บอกว่า ตอนนี้มีแต่บัตรนักเรียน ก็อยากมีบัตรประชาชนบ้างจะได้เหมือนผู้ใหญ่ ถ้ามีจริง ๆ ก็ต้องฝากแม่ไว้ เพราะกลัวจะทำบัตรหาย เคยทำกระเป๋าตังค์หายแล้ว แต่ถ้าจำเป็นต้องเอาบัตรประชาชนติดตัวไปด้วยก็ต้องเก็บไว้ให้ดี ๆ

ขณะที่คุณแม่น้องโปลิส พรทิพย์ สงศรีอินทร์ แสดงความเห็นต่อการทำบัตรประจำตัวประชาชนของเด็กที่อายุครบ 7 ปีขึ้นไปว่า จะเป็นประโยชน์สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองถ้าลูกหลานมีบัตรประชาชน สะดวกเวลาแสดงสิทธิรับบริการต่าง ๆ ของเด็ก ไม่ต้องถือสูติบัตรมาให้ยุ่งยาก เวลาพาน้องขึ้นเครื่องบินก็ใช้บัตรนี้แสดงตัว หรือกรณีเด็กพลัดหลง ถ้ามีบัตรติดตัวอยู่จะช่วยให้ส่งคืนพ่อแม่ได้เร็วขึ้น เพราะมีชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ก็ตั้งใจจะพาน้องโปลิสลูกชายไปทำบัตรในวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคมนี้ ที่โรงเรียนวัดสุวรรณบำรุงราชวราราม อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เพราะทราบว่าจะมีหน่วยบริการจัดทำบัตรเคลื่อนที่มาให้บริการทำบัตร

ด้านน้องบิ๊ว ด.ญ.นันทิกานต์ บุญนาด อายุ 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการลำลูกกา บอกว่า ดีใจที่จะได้ทำบัตรประชาชนเป็นครั้งแรก แล้วจะมีรูปตัวเองอยู่บนบัตรด้วย คิดว่าบัตรนี้เด็กจะใช้ประโยชน์ได้ เป็นบัตรแสดงเวลาไปติดต่อราชการ แต่ถ้ามีบัตรแล้วคงฝากผู้ปกครองดูแล ส่วนใหญ่เด็กจะมีแต่บัตรนักเรียนที่โรงเรียนออกให้

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัตรประชาชนเด็ก

1.ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดอายุของบุคคลสัญชาติไทยที่จะต้องมีบัตร คือ ให้ผู้มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์จะต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน (กรณีผู้มีอายุระหว่าง 7 ปีบริบูรณ์จนถึงก่อนครบ 15 ปีบริบูรณ์ ให้ยื่นขอมีบัตรภายใน 1 ปี นับจากวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 หรือหากมีความจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะขอขยายเวลาออกไปได้)

2.บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งรับดูแลผู้ที่อายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ จะต้องเป็นผู้ยื่นคำขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรให้ผู้ที่อายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ตัดสิทธิบุคคลที่จะยื่นคำขอด้วยตนเอง

3.ในการกำหนดโทษ หากไม่ยื่นขอบัตรภายใน 60 วัน กรณีขอมีบัตรครั้งแรก ต่ออายุบัตร บัตรหาย ชำรุด หรือเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล จะมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

4.บัตรดังกล่าวมีอายุ 8 ปี สามารถใช้ประโยชน์ในการแสดงสิทธิได้หลายประการ เช่น แสดงสิทธิ์การขอรับแท็บเลตกับทางรัฐบาล ที่บอกว่าจะแจกฟรีให้เด็ก รวมถึงการป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์จากเด็กต่างด้าว

5.กรณีผู้ถือบัตรไม่มีบัตรแสดงเมื่อพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ผู้ถือบัตรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท รวมทั้งกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม

6. กรณีทำบัตรใหม่ไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่หากทำบัตรหาย ชำรุด แก้ไขชื่อตัว-ชื่อสกุล เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท, ออกใบแทน 10 บาท และขอตรวจคัดสำเนา 10 บาท

สามารถทำบัตรประชาชนเด็กได้ที่ไหน

กรมการปกครองได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อรองรับกลุ่มบุคคลที่ต้องมีบัตรตามกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ ด้วยการให้บริการเชิงรุกโดยสำนักบริหารการทะเบียน ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค 9 แห่ง และศูนย์บริหารการทะเบียนภาค สาขาจังหวัด 77 ศูนย์ จัดหน่วยบริการจัดทำบัตรเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ออกไปให้บริการจัดทำบัตรให้กับนักเรียน นักศึกษา ตามสถานศึกษาต่าง ๆ เดือนละ 3 ครั้ง เริ่มดำเนินการทั่วประเทศ รวมทั้งยังได้จัดวันและเวลาที่เหมาะสมในช่วงวันเสาร์ เชิญโรงเรียนเข้ามาทำบัตรประชาชนที่เขตหรืออำเภอด้วย โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.2554 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 ก.ค.2555

สำหรับในวันที่ 10-11 กรกฎาคม จะเริ่มประเดิมการทำบัตรประชาชนให้แก่เด็ก ๆ ในสถานศึกษา 4 แห่ง คือ

1.โรงเรียนราชบพิธ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
2.โรงเรียนวัดสุวรรณบำรุงราชวราราม ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
3.โรงเรียนวัดกู้ (นันทาภิวัฒน์) ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
4.โรงเรียนสันติวิทยา อ.เมืองฯ จ.เชียงราย



Create Date : 10 กรกฎาคม 2554
Last Update : 10 กรกฎาคม 2554 20:37:48 น. 1 comments
Counter : 1644 Pageviews.  

 
โธ่ สงสารเด็ก งั้นเด็กที่มีบัตรประชาชนก้อต้องมีสิทธิ์ มีเสียงตามกฏหมายแบบพี่ๆผู้ใหญ่ และถือว่าบรรลุนิติภาวะด้วยล่ะสิคะ งั้นเวลาทำผิดตามกฎหมายก้อไม่ต้องแยกเด็กสิคะ งั้นก้อต้องโดนพิจารณาหรือลงโทษตามกฎหมายสิคะ
ั้นก้อทำใบขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ได้สิคะ งั้น ก้อ เยาวชนก้อคือ เด็กที่อายุต่ำกว่า เจ็ด ขวบ สิคะ งั้นคนเจ็ดปีขึ้น เรียกว่าประชาชนอ่ะสิคะ อืม จะดีรึไม่ดีอ่ะคะ .. ยังงัย เพราะจะเอาตรงไหนมาเป็นมาตรฐานอ่ะคะ ว่าเยาวชนหรือเด็กหรือประชาชน ในขณะที่อายุเจ็ดขวบมีบัตรประจำตัวประชาชน ย้ำค่ะ บัตรประจำตัวประชาชน เด็กเจ็ดขวบต้องมีเป๋าเล็กๆๆเพื่อพกบัตรประจำตัวประชาชน 555 บัตรคงหายบ่อยน่าดู เพราะขนมในมือตัวเองยังดูแลไม่ได้เลยยังหายเลย นับประสาไรกะบัตรเล็กๆๆ เชื่อเหลือเกินว่ารัฐต้องเสียงบค่าทำบัตรประชาชนอย่างฟุ่มเฟือยแน่นอน สู้เอางบฯส่วนนี้ไปพัฒนาอย่างอื่นดีกว่ามั๊ยคะ เรื่องเล็กๆเด็กๆบางอย่างก้อไม่ต้องคิดหั้ยลึกซึ้งขนาดนี้ก้อได้มั๊งคะ คิดออกมาบางทีก้ออายคนเค้า โธ่..ปัญหามีตั้งเยอะไม่แก้ แต่เอาแต่ปัญหาใหม่ๆๆขึ้นมาซะงั้นล่ะ


โดย: OffSide IP: 182.53.120.163 วันที่: 11 กรกฎาคม 2554 เวลา:11:04:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]