สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
All blogs
 
รีวิวเครื่องปรับอากาศ Daikin inverter รุ่น Ekira [Sponsor Review] (ตอนที่3)




มาต่อที่ส่วนของชุดคอยล์ร้อน (Condensing Unit)


ชุดคอยล์ร้อนที่บรรจุอยู่ในกล่องกระดาษ มีน้ำหนักรวมกว่า 37 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าค่อนข้างหนักอยู่ สำหรับแอร์ขนาด 12,000 BTU





บริเวณด้านข้างของกล่องกระดาษที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ มีซองพลาสติกใสที่บรรจุฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ติดมาให้ด้วย
ซึ่งฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่อยู่ในซองดังกล่าว เป็นสติ๊กเกอร์ที่พร้อมนำไปติดได้ทันที โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชิ้น จากเดิมที่เรามักจะเห็นฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ติดมากับชุดคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นของแอร์เครื่องใหม่ที่เพิ่งซื้อมา

แต่แอร์เครื่องนี้ได้มีการแยกฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ออกมาไว้ที่กล่องด้านนอกไม่ได้ติดมาให้แต่อย่างใด ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะนำไปติดหรือไม่ก็ได้

ตรงนี้ผมเองก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีอยู่ไม่น้อย เพราะเราสามารถเลื่อกได้ว่าเราจะเอาไปติดหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาแอร์ที่เราซื้อมาใช้งานนั้น เครื่องไหนที่ได้รับการรับรองฉลากประหยัดไฟเบอร์ ก็จะมีฉลากนี้ติดมาพร้อมที่ตัวแอร์ ซึ่งตรงนี้จะว่าไปแล้วก็เหมือนจะเป็นกฏข้อบังคับที่เกี่ยวกับการแสดงฉลากให้ผู้บริโภคได้เห็น
แต่ฉลากเบอร์ 5 ที่ติดมาให้บนแอร์นั้น ตัวฉลากเองถูกผลิตขึ้นโดยไม่ได้คิดถึงในระยะยาว เมื่อเรานำแอร์เครื่องนั้นไปติดตั้งใช้งานจริง เจอแดดเจอฝนได้ไม่นาน ฉลากประหยัดไฟเบอร์
5 ที่แปะอยู่ก็มักจะชำรุดไปก่อนเป็นอันดับแรก ทิ้งไว้แต่รอยด่างๆของคราบกาว หรือรอยดำที่ดูสกปรก ไม่สวยงามเอาเสียเลย ทางแก้ที่ดีสุดคือเก็บฉลากไว้แต่ไม่ต้องเอามันไปติดที่ตัวแอร์ จบ





สำหรับข้อมูลที่แสดงบน ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของแอร์เครื่องนี้ถือว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจไม่น้อยเลย

อย่างแรกเลย ค่าประสิทธิภาพที่แสดงบนฉลากดังกล่าว จะแสดงค่าแบบ SEER ซึ่งเดิมทีเราอาจจะคุ้นเคยกับค่า EER แต่ในแอร์เครื่องนี้มีการนำค่า SEER มาใช้
ซึ่ง SEER ก็คืออัตราส่วนประสิทธิภาพของพลังงานตามฤดูกาล เป็นค่าที่มีความแม่นยำกว่า EER 
โดยค่า SEER ที่แสดงบนตัวแอร์ก็จะหมายถึง ค่าความสามารถในการทำความเย็นที่ส่งออกมาในระหว่างฤดูกาลหนึ่งๆ หารด้วยพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ใส่เข้าไปในช่วงเวลาเดียวกัน โดยค่า SEER ยิ่งสูง ก็แสดงว่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานก็ยิ่งดีนั่นเอง

อีกอย่างที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ก็คือค่า SEER ของแอร์เครื่องนี้
เพราะว่าแอร์เครื่องที่นำมารีวิวนี้ มีค่า SEER อยู่ที่ 22.25 ซึ่งเป็นค่าที่ค่อนข้างสูงเลยที่เดียว นั่นจึงแสดงว่าแอร์เครื่องนี้ ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก





แกะกล่องออกมาดูก็จะเจอชุดคอยล์ร้อนที่ถูกห่อไว้ด้วยพลาสติก




ชุดคอยล์ร้อนดูแข็งแรงมั่นคงเพราะใช้วัสดุคุณภาพดีตามแบบฉบับของไดกิ้น
ขนาดของชุดคอยล์ร้อน สูง 55 เซนติเมตร กว้าง 76.5 เซนติเมตร ลึก 28.5 เซนติเมตรน้ำหนักของชุดคอยล์ร้อน(ไม่รวมกล่อง) อยู่ที่ราวๆ 34 กิโลกรัม
ขนาดโดยรวมถือว่ามีขนาดกำลังดี ไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไปถ้าเทียบกับแอร์ที่มีขนาดเดียวกันของยี่ห้ออื่นๆ 





ด้านข้างและด้านหลังของชุดคอยล์ร้อน






ด้านขวาของชุดคอยล์ร้อน จะมีฝาครอบที่ครอบปิดในส่วนของเซอร์วิสวาล์ว และเทอร์มินอลสำหรับเชื่อมต่อสายไฟฟ้า




ฝาครอบจุดเชื่อมต่อในระบบท่อน้ำยา และระบบไฟฟ้าจะถูกยึดไว้ด้วยเดือยล็อก ร่วมกับสกรูยึดเพียงตัวเดียว เปิดออกมาก็จะพบส่วนของเซอร์วิสวาล์วที่อยู่ด้านล่าง และด้านบนจะเป็นส่วนเชื่อมต่อทางวงจรไฟฟ้า



ที่วาล์วตัวล่างของชุดเซอร์วิสวาล์วจะเป็นวาล์วของท่อ Suction หรือท่อทางดูดวาล์วนี้จะต่อกับท่อที่มีขนาดใหญ่กว่า เป็นท่อที่น้ำยาแอร์ที่มีแรงดันต่ำกว่า เพราะเป็นท่อทางเดินของน้ำยาที่ถูกดูดกลับเข้ามาโดยคอมเพรสเซอร์เพื่อเริ่มกระบวนการอัดใหม่
โดยที่ด้านนี้จะมีการติดตั้งวาล์วลูกศร ซึ่งใช้เป็นจุดสำหรับต่อสายเกจวัดแรงดัน โดยการทำสุญญากาศระบบแอร์ หรือการเติมน้ำยาเข้าระบบ ก็จะใช้ช่องทางนี้เป็นหลักนั่นเอง

ในแอร์เครื่องนี้ ซึ่งใช้สารทำความเย็น R32 ผู้ผลิตได้กำหนดให้ขนาดของวาล์วลูกศรมีขนาดเดียวกับแอร์ที่ใช้สารทำความเย็น R410a ซึ่งทำให้สายเกจวัดแรงดันของ R410a สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ แต่สายเกจวัดแรงดันของ R22 ไม่สามารถนำมาต่อใช้งานได้โดยตรง เพราะมีขนาดที่เล็กกว่า ที่ต้องใช้วาล์วลูกศรขนาดต่างกัน ก็เพื่อที่จะป้องกันการนำมาใช้งานผิดนั่นเอง







มาเริ่มถอดดูการออกแบบด้านในชองชุดคอยล์ร้อน โดยเริ่มจากถอดฝาครอบด้านบนสุด
ส่วนของแผ่นเหล็กที่เป็นฝาครอบด้านบน ผู้ผลิตออกแบบให้ใช้สกรูยึดเพียงแค่ 3 ตัว แต่สามารถยึดชิ้นส่วนได้อย่างแน่นหนา ซึ่งการที่ใช้สกรูเพียงไม่กี่อันนี้เป็นข้อดีที่ช่วยในด้านการบำรุงรักษา เพราะทำให้ให้การถอดซ่อมบำรุงภายหลังจากที่ติดตั้งไปแล้วสามารถทำได้ง่าย







แผ่นโฟมยางสีเทา เป็นส่วนที่ช่วยปิดช่องว่างด้านบน มีส่วนช่วยกันไม่ให้จิ้งจกหรือหนู เข้ามาภายในส่วนที่เป็นบอร์ดวงจรไฟฟ้า เพราะสัตว์เหล่านี้มักจะเป็นเหมือนแขกไม่ได้รับเชิญที่อาจจะเข้ามาสร้างความเสียหาแก่วงจรไฟฟ้าได้



ในภาพด้านบนก็จะเห็นสองส่วนหลักๆ ซึ่งก็คือบอร์ดวงจรหลัก และขดลวดรีแอคเตอร์ โดยทั้งหมดนี้เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะแอร์อินเวอร์เตอร์จะทำงานไม่ได้ หากขาดหัวใจหลักซึ่งก็คือบอร์ดควบคุม ที่ทำให้แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์สารมารถปรับรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ได้นั้นเอง


โดยเรื่องประสิทธิภาพของระบบอินเวอร์เตอร์ในแอร์ ผมไม่ขอลงลึกในรายละเอียดมาก เพราะหลายๆท่านก็คงทราบกันดีว่าไดกิ้นเป็นเจ้าแรกๆเลย ที่ริเริ่มนำแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์เข้ามาทำตลาดในบ้านเรา นับตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำตลาดเมื่อหลายปีก่อน มาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ในเรื่องเทคโนโลยีระบบอินเวอร์เตอร์ของไดกิ้น ให้ได้เป็นที่ประจักษ์กันแล้ว 






ภาพรวมของชุดคอยล์ร้อนเมื่อนำฝาครอบด้านบน และฝาปิดด้านหน้าออก





ใบพัดของพัดลมระบายความร้อน ผลิตจากพลาสติกที่แข็งและมีความยืดหยุ่น ไม่แตกหักง่าย





มอเตอร์ที่ขับเคลื่อนใบพัดของพัดลมระบายความร้อน เป็นมอเตอร์แบบปิดสนิท ออกแบบให้สามารถทำงานได้ในความเร็วรอบที่หลากหลายเพื่อช่วยลดเสียงรบกวน




แผงควบแน่น (Condenser) ที่อยู่ในชุดคอยล์ร้อนของแอร์เครื่องนี้ทางผู้ผลิตยังคงเลือกใช้แผงควบแน่นแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นแผงแบบท่อและครีบ ที่ประกอบไปด้วยท่อทองแดงและครีบอลูมิเนียม
แม้ว่าในปัจจุบัน ผู้ผลิตแอร์หลายยี่ห้อเริ่มหาวิธีการลดต้นทุนบางส่วนโดยการหันมาใช้แผงควบแน่นแบบที่ทำมาจากอลูมิเนียมทั้งแผง แต่นั่นไม่ใช่กับไดกิ้น เพราะแอร์เครื่องนี้ยังคงใช้แผงแบบดั้งเดิม แม้ว่าราคาทองแดงในปัจจุบันจะสูงก็ตาม







ครีบอลูมิเนียมที่อยู่ในชุดคอยล์ร้อน ก็ได้รับการป้องกันการกัดกร่อนโดยมีการเคลือบสารป้องกันการกัดกร่อนสีเขียวเอาไว้ด้วย




ส่วนของคอมเพรสเซอร์ มีการห่อหุ้มด้วยผ้าห่มคอมเพรสเซอร์ถึงสองชั้น ซึ่งผ้าห้มคอมเพรสเซอร์ก็จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูดซับและป้องกันเสียงรบกวน ที่จะเล็ดลอดออกมาภายนอกตัวเครื่องในระหว่างที่เครื่องกำลังทำงาน





แอร์เครื่องนี้มีความสามารถในการทำความเย็นได้กว่า 12,000 BTU แต่ขนาดของคอมเพรสเซอร์ที่เป็นเหมือนขุมพลัง กลับมีขนาดที่เล็กกะทัดรัด เรียกว่าเล็กจนเห็นได้ถึงความต่าง


ซึ่งผมพยายามหาอะไรมาเปรียบเทียบขนาด เพื่อจะให้ได้เห็นขนาดที่ชัดๆท้ายที่สุดก็ไปยืมเอาขวดใส่ซีอิ้วขาวที่วางไว้ในครัวมาเทียบให้เห็น




เหตุผลหลักที่ทำให้คอมเพรสเซอร์ของไดกิ้นมีขนาดที่เล็กกว่าชาวบ้านอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็เป็นผลมาจากประสิทธิภาพที่มีนั่นเอง เพราะว่าที่ผ่านมาทางไดกิ้นได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของคอมเพรสเซอร์ที่ใช้กับแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์มาโดยตลอด และถือได้ว่าไดกิ้นเป็นเจ้าแรกๆที่บุกเบิกเทคโนโลยีระบบอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในแอร์เลยก็ว่าได้ 




อ่านรีวิวต่อ ตอนที่ 4 (ตอนจบ) >>>CLICK<<<

กลับไปอ่านรีวิว ตอนที่ 2 >>>CLICK<<<





Create Date : 01 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 5 เมษายน 2559 18:55:44 น. 0 comments
Counter : 6103 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.