Group Blog
 
All Blogs
 
จ่ายบัตรขั้นต่ำ สบายหรือแย่มากกว่ากัน





สวัสดีค่ะ

หากพูดถึงการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ 10% ของยอดใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หลายคนมองว่าเป็นทางออกหนึ่งของปัญหาที่เมื่อถึงกำหนดชำระบัตรเครดิตแล้ว เราไม่มีเงินไปจ่ายเต็มจำนวน ในขณะที่บางคนมองว่าการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำนั้นไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ก็แค่ทยอยจ่ายไปเรื่อยๆ ชิลๆ สบายๆ ไม่กี่เดือน เดี๋ยวก็หมดแล้ว รู้หรือไม่ว่า การทำแบบนี้มีผลเสียยังไง และสาเหตุที่แท้จริงของการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำนั้นคืออะไรกันแน่ K-Expert มีคำตอบในเรื่องนี้มาฝากค่ะ

สาเหตุของการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ

ไม่วางแผนการใช้บัตรเครดิต คือไม่ได้ตั้งงบประมาณในการใช้จ่ายผ่านบัตรในแต่ละเดือนไว้ พอเห็นอะไรถูกใจ อยากได้ก็รูดซื้อเลยทันที ซึ่งจะเป็นของใช้ฟุ่มเฟือยและมีราคาสูงซะส่วนใหญ่ โดยไม่ได้คิดถึงความสามารถในการจ่าย และเมื่อถึงกำหนดชำระก็ไม่มีเงินไปจ่ายแบบเต็มจำนวน ทำให้จ่ายได้แค่เพียงขั้นต่ำเท่านั้น

ไม่มีวินัยในการใช้บัตรเครดิต แม้ว่าบางคนได้วางแผนการใช้บัตรเครดิต หรือตั้งงบประมาณในการใช้จ่ายผ่านบัตรในแต่ละเดือนไว้แล้ว แต่หากไม่มีวินัยในการใช้บัตรเครดิต คือเมื่อรูดซื้อของไปแล้ว ไม่ได้เตรียมเงินหรือกันเงินออกมาเท่ากับยอดใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โดยนำเงินไปใช้จ่ายเรื่องอื่นหมด พอถึงกำหนดชำระก็มีเงินไม่พอจ่ายแบบเต็มจำนวน และสุดท้ายก็ลงเอยด้วยการจ่ายเท่ากับขั้นต่ำนั่นเองค่ะ 

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

- มีโอกาสถูกคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุด 20% ต่อปีทันที เรื่องนี้บางคนไม่รู้ว่า การที่เราจ่ายบัตรขั้นต่ำนั้นต้องเสียดอกเบี้ยด้วย นึกว่าสามารถผ่อนจ่ายไปได้เรื่อยๆ โดยไม่มีดอกเบี้ย จริงๆ แล้ว การจ่ายบัตรขั้นต่ำจะถูกคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 20% ต่อปีทันทีตั้งแต่วันที่เราซื้อของ หรือวันที่สถาบันผู้ออกบัตรจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการแทนเจ้าของบัตรไปก่อน ไม่ใช่วันครบกำหนดชำระอย่างที่หลายคนเข้าใจ โดยดอกเบี้ยจะคิดเป็นรายวันจนกว่าเราจะจ่ายหนี้หมด ซึ่งการคิดดอกเบี้ยจะแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน 

ส่วนแรก ดอกเบี้ยจะคิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดในรอบบัญชีที่แล้ว โดยจำนวนวันจะนับจากวันที่ใช้จ่าย จนถึงวันก่อนที่ธนาคารจะได้รับชำระเงิน 

ส่วนที่สอง ดอกเบี้ยจะคิดจากยอดเงินต้นคงเหลือ โดยจำนวนวันจะนับจากวันที่ชำระเงินบางส่วน จนถึงวันสรุปยอดรายการในเดือนถัดไป

  สูตรการคำนวณดอกเบี้ย = (จำนวนเงินค่าสินค้าหรือบริการ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวัน) / 365

สมมติว่า เรารูดบัตรเครดิตซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดไป มียอดใช้จ่ายเกิดขึ้น 30,000 บาท และเมื่อถึงวันครบกำหนดชำระ ก็ไม่มีเงินไปจ่ายเต็มจำนวน โดยเลือกที่จะจ่ายขั้นต่ำ 10% หรือเท่ากับ 3,000 บาทไปเรื่อยๆ ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 1 ปี กว่าจะจ่ายหนี้หมด เมื่อคิดรวมดอกเบี้ยทั้งหมดที่เกิดขึ้น เราจะเสียดอกเบี้ยสูงถึง 3,200 บาทเลยทีเดียว หรือเท่ากับว่า สมาร์ทโฟนเครื่องนี้เราซื้อมาในราคาที่สูงกว่าปกติถึง 3,200 บาทเลยล่ะค่ะ

ถูกยกเลิกระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยในรอบบัญชีต่อไป หลายคนไม่รู้มาก่อนเลยว่า เมื่อมีการจ่ายขั้นต่ำแล้ว บัตรเครดิตส่วนใหญ่จะยกเลิกระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยในรอบบัญชีต่อไปสำหรับผู้ถือบัตรคนนั้นทันที ซึ่งหากเรายังคงใช้บัตรใบนี้ไปรูดซื้อของอีกไม่ว่าวันไหนก็ตาม ก็จะถูกคิดดอกเบี้ยทันทีตั้งแต่วันที่ซื้อของเลย ทำให้ดอกเบี้ยพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ การจ่ายขั้นต่ำก็เหมือนเป็นการจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ที่ดูเหมือนจะไม่มีวันจัดการได้หมดสักที ดังนั้น หากมีการจ่ายขั้นต่ำแล้วก็ให้หยุดใช้บัตรใบนั้นไปรูดซื้อของอีกจนกว่าเราจะชำระหนี้หมดค่ะ

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีชำระบัตรเครดิต น่าจะช่วยให้คนที่คิดจะจ่ายบัตรขั้นต่ำได้พิจารณากันให้รอบคอบอีกครั้งนะคะ ว่าเราอยากใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไม่มีภาระหนี้สินใดๆ ให้ปวดหัว หรืออยากมีหนี้ มีภาระผูกพัน ต้องหาเงินมาจ่ายบัตรเครดิตทุกเดือน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด เราสามารถเลือกได้ ทางที่ดี ควรวางแผนการใช้บัตรเครดิตในแต่ละเดือน มีวินัยในการใช้บัตร และเตรียมเงินไปจ่ายคืนแบบเต็มจำนวนและตรงเวลาทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาหนี้บัตรเครดิตนั่นเองค่ะ

------------------------------------------------------

Recommended! บทความที่เกี่ยวข้องกับบล็อกวันนี้





Create Date : 04 ตุลาคม 2559
Last Update : 4 ตุลาคม 2559 14:20:05 น. 0 comments
Counter : 1119 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

K-Expert
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




ข้อมูลดี ฟรี มีประโยชน์ เพื่อชีวิตดีๆ ที่มีได้ทุกคน
Friends' blogs
[Add K-Expert's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.