Group Blog
 
All blogs
 
บุญของคนไทยที่มีในหลวง

king

  นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถ

วัลราชสมบัติในปีพุทธศักราช 2489 จนกระทั่งถึงปัจจุบันนับได้เป็นระยะเวลา 60ปีกาลเวลาได้พิสูจน์ให้มหาชนได้ตระหนักว่าพระองค์ทรงเป็นประมุขที่เลิศล้ำทั้งยังพร้อมด้วยทศพิธราชธรรม เปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพนานัปการไม่ว่าจะเป็นในด้านการปกครองการพัฒนา การเกษตร ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี การกีฬา และภาษาไทยทรงพระปรีชาชาญอันลึกซึ้งสุขุมคัมภีร์ภาพประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่อันหลากหลายเพื่อการพัฒนาแผ่นดินไทยให้อุดมสมบูรณ์เป็นปึกแผ่นทรงช่วยแก้ไขปัญหายุ่งยากของบ้านเมืองและปัญหาความทุกข์ยากของพสกนิกรอย่างแท้จริง พระองค์ได้ปฏิบัติพระราชภารกิจครบถ้วนทุกประการ      ตามพระปฐมบรมราชโองการ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหา ชนชาวสยาม”



 ศาสตราจารย์ธานินทร์  กรัยวิเชียร  องคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรีได้แสดงปาฐกถาพิเศษ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยมีข้อที่น่าใคร่ครวญของเราเหล่าพสกนิกรทั้งหลายก็คือ เราได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างจากพระอัจฉริยภาพจากพระราชจริยาวัตร จากพระบรมราโชวาท และแนวพระราชดำริอันล้ำค่าทั้งหมด   เพื่อนำ ไปใช้ในการปรับปรุงตนเองทั้งในด้านหน้าที่การงานและในการดำรงชีวิตของพวกเรา ขอกำหนดหัวข้อที่จะกล่าวถึงสามารถเข้าใจได้โดยง่ายเป็น  7  หัวข้อด้วยกัน


 1.  ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพสกนิกร
 2. ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
 3. ทรงเป็นผู้ให้ในเรื่องที่ผู้รับประสงค์
 4. ทรงเป็นตัวอย่างดั่งที่ทรงเสนอแนะไว้
 5. ทรงยึดมั่นในความยุติธรรม
 6. ทรงแก้วิกฤติการณ์ด้วยสันติวิธีและภายในกรอบของความชอบธรรม
 7. ทรงยึดถือเอาความถูกต้องชอบธรรมเป็นคติธรรม



1 ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพสกนิกร

            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงประทับอยู่กับพสกนิกรในพระองค์เสมอมา ไม่ว่าจะเป็นในยามสงบหรือในยามสงคราม ทรงมีน้ำพระทัยอันเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด และทรงต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับเหล่าพสกนิกร เสด็จเยี่ยมทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและอาสาสมัครในสมรภูมิทรงเสี่ยงภัยในการนำผู้บาดเจ็บในที่ที่ปะทะกัน กับข้าศึกกลับมารักษาพยาบาลในแนวหลังด้วยพระองค์เองทาง  เฮลิคอปเตอร์ทั้งสองพระองค์ได้พระราชทานขวัญและกำลังใจให้คนไทยทั้งชาติลุกขึ้นต่อสู้เพื่อความเป็นไทยและเพื่อแผ่นดินไทย ด้วยเพลงพระราชนิพนธ์ “เราสู้” ซึ่งมีเนื้อร้องท่อนหนึ่งว่า “สู้ที่นี่ สู้ตรงนี้ สู้จนตาย ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู” และบทเพลง “ความฝันอันสูงสุด”  ที่มีเนื้อร้องท่อนหนึ่งว่า “คงยืนหยัดสู้ไป ใฝ่ประจัญ ยอมอาสัญ ก็เพราะปองเถิดผองไทย”

 เสียงเพลงทั้งสองเพลงนี้ ดังกึกก้องกังวานไปทั่วแผ่นดินไทย ทุกเช้าสาย บ่ายเย็นและค่ำคืน ปลุกเร้าให้คนไทยทุกคนลุกขึ้นต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับพระองค์ หากไม่มีล้นเกล้าฯ ทั้งสอง พระองค์นี้แล้ว ที่จะอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขร่วมสมรภูมิกับเหล่าพสกนิกรแล้ว ชาติไทยเราคงไม่อาจรอดพ้นจากปากเหยี่ยว ปากกาของอริราชศัตรูเป็นแน่แท้ แม้ว่าเราจะต้องกรำศึกในการรบ นอกแบบที่ยืดเยื้อเรื้อรังติดพันต่อมาอีกนานปีก็ตาม หาไม่แล้วแผ่นดินไทยก็คงจะร้อนระอุไปทุกหย่อมหญ้า ประดุจแดนนรก     ดังที่ประเทศใกล้บ้านเรือนเคียงประสบอยู่  และเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกจนถึงทุกวันนี้
 “พระมหากษัตริย์” หมายถึง นักรบผู้ยิ่งใหญ่ หรือ จอมทัพในอดีตกาลพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพนำกองทัพเข้าต่อสู้กับภัยคุกคามประเทศไทยของเรา หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
สิ้นสุดลงประเทศไทยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องเผชิญภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์แทนลัทธิล่าอาณานิคม ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายภายในประเทศ   และจากกองกำลังของต่างประเทศจากนอกประเทศ
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ร่วมกับ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ พลเรือน และอาสาสมัคร ต่อสู้กับอริราชศัตรูด้วยพระองค์เองได้พระราชทาน “ยุทธศาสตร์พัฒนา” ยังผลให้คลี่คลายสถาน การณ์  ลดความรุนแรงลงได้ จนสามารถดึงมวลชนผู้หลงผิดกลับสู่ความเป็นคนไทยดังเดิม

 ขณะเดียวกันก็มีพระบรมราโชวาทความว่า “...ความสามัคคีเป็นปึกแผ่นนี้คือกำลังอันแข็งกล้าที่สุดในแผ่นดินซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะบันดาลให้คนในชาติมีสมานฉันท์มุ่งมั่นที่จะร่วมกำลังกันสร้างสรรค์ความเจริญมั่นคงของบ้านเมืองให้สมบูรณ์บริบูรณ์ขึ้นทุกสถาน...”


king

2 ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก

             ในด้านพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสถาบันหลักที่สำคัญของชาวพุทธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพุทธมามกะ ผู้ทรงปฏิบัติธรรม บำเพ็ญพระราชกุศล ทรงทำนุบำรุงพระศาสนา ในทุกด้าน ทั้งศาสนพิธีและสังคหวัตถุ ทรงอุปถัมภ์และคุ้มครอง ทุกศาสนา ทรงเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  นับถือศาสนาใด ๆ ก็ได้   ตามแต่แนวคิดและศรัทธา ดังมีพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ความว่า
 “ในเมืองไทยนี้  ใครจะถือปฎิบัติตามศาสนาใดก็ได้ทั้งนั้น เคยชี้แจงอยู่เสมอว่าเมืองไทยที่นี่อยู่ได้ เพราะไม่มีการกีดกันว่าคนโน้น ศาสนาโน้น คนนี้ ศาสนานี้   แต่ว่าเป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกคนปฏิบัติศาสนกิจของตนด้วยความมุ่งหวังดี ตั้งใจที่จะให้เกิดประโยชน์แก่ตนและประโยชน์ส่วนรวม”

             พสกนิกรในพระองค์ที่เคารพ ศรัทธา เชื่อถือในศาสนาที่แตก ต่างกัน สามารถยึดถือพระราช ดำรัสดังกล่าวนี้ เป็นแนวทางตามรอยพระยุคลบาทได้เป็นอย่างดี โดยปรับทัศนคติของตนให้ยอมรับศาสนิกชนในทุกศาสนา โดยไม่ถือเขาถือเรา เพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีด้วย ความจริงใจ และเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อความผาสุกร่วมกัน ดังมีพระราชดำรัสอีกตอนหนึ่งว่า
 “ข้าพเจ้าเชื่อว่าความเป็นมิตร ความมีเมตตาปรารถนาดี ต่อกัน ความเอื้ออารีและเกื้อกูลกันอย่างจริงใจ สำหรับศาสนิกชน ทั้งมวลนั้น จะเป็นปัจจัยอันมีกำลังศักดิ์สิทธิ์ที่จะยังสันติสุขกับ ทั้งอิสรภาพเสรีภาพและความเสมอภาคให้บังเกิดแก่มวลมนุษย์ได้โดยแท้”


3 ทรงเป็นผู้ให้ในเรื่องที่ผู้รับประสงค์

            สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาตินั้น พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราช ทานพระราชดำรัสต่างๆ โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งฝ่ายเอกชน ตำรวจและทหาร และชาวไทยโดยทั่วไปทั้งประเทศ ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการพัฒนาประเทศ ทรงมีหลักการที่สำคัญว่า “ต้องเป็นไปตามภูมิประเทศ และตาม ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้นเอง”
 ครั้งหนึ่งมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “นิสัยใจคอคนเรา จะไปบังคับให้คิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เราต้องเข้าไปดูว่า เขาต้องการอะไรจริง ๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจ หลักการของการเข้าไปพัฒนา ก็จะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไป ยังท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยไม่ได้ทรงคำนึงถึงความเหนื่อยยาก เพื่อที่จะทอดพระเนตรสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา ปัญหาต่างๆ ที่ทรงทราบถึงพระเนตรพระกรรณ จะได้รับการคลี่คลายบรรเทา ความเดือดร้อนของประชาชน ดังที่เป็นโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริต่างๆ มากมาย
 โครงการตามพระราชดำริที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมและดำเนินการมาเป็นผลสำเร็จจนถึงทุกวัน นี้นั้นมีทั้งหมด 3,799 โครงการ การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทในเรื่องการเป็นผู้ให้ในสิ่งที่ผู้รับประสงค์นี้  
 โครงการระยะเริ่มแรกใหม่ๆ ก็คือ อย่างเช่น
 * โครงการช่วยเหลือชาวเขาให้เลิกปลูกฝิ่น โดยทรงแนะ นำให้หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทน ด้วยการค่อยๆ ให้ความรู้ ความเข้าใจ  มิใช่แต่เพียงใช้การปราบปรามหรือยกเลิกอย่างรุนแรง อันจะเป็นการหักด้ามพร้าด้วยเข่า ผลสำเร็จที่ได้รับจากการปลูกพืช เศรษฐกิจทดแทน ทำให้ชาวเขาทั้งหลายได้รับ ประโยชน์เพิ่มขึ้นในทุกทาง มีรายได้ที่สูงขึ้น คุณภาพชีวิตก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากผลสำเร็จนี้เององค์การสหประชาชาติก็ได้นำโครงการตามพระราชดำรินี้ ไปเป็นต้นแบบของการพัฒนาในประเทศอื่น ๆ  ที่ผลิตฝิ่นกันเป็นอย่างจริงจัง
             นอกจากนี้ยังทรงเห็นว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ทางการเกษตรกรรม ปัจจัยการผลิตและการตลาด  ด้านการเกษตร เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ทั้งในเรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องที่ดินทำกินทรงวินิจฉัยทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายในการแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ
 ในเรื่องของแหล่งน้ำ ทรงทำน้ำเสียให้เป็นน้ำดี
 จากตัวอย่างในโครงการลุ่มน้ำปากพนัง นครศรีธรรมราช และโครงการบึงมักกะสัน
 - ส่วนที่เป็นที่แห้งแล้งกันดารก็ ทรงทำฝนหลวง เป็น โครงการฝนหลวงพิเศษและในที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมขังที่ทรงสร้างเขื่อนหรือ อ่างเก็บกักน้ำไว้ให้

            ในเรื่องทรัพยากรป่าไม้
 - เมื่อป่ามีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมก็ทรงทำให้ป่านั้นสมบูรณ์ อีกครั้งหนึ่ง เป็นโครงการปลูกป่าคืนสีเขียวให้กับธรรมชาติ
 ในเรื่องที่ดิน
 - ทรงทำดินเสียให้เป็นดินดี โดยแก้ไขปัญหาเรื่องดินเปรี้ยวให้เป็นดินดี โดยทำที่ดิน เป็นการเพิ่มที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมอีกเป็นจำนวนมากในพื้นที่ที่เป็นพรุ อย่างเช่นที่จังหวัด นราธิวาส ตัวอย่างการพัฒนาที่ได้หยิบยกขึ้นมานี้ เป็นบทเรียน ที่เป็นรูปธรรมที่เห็นได้อย่างชัดเจน ในอันที่จะการยึดถือเป็นแนวปฏิบัติตามที่ประชาชนในท้องถิ่นเองนั้นมีความต้องการ
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่ในการเสริมสร้างรากฐานเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนหลากหลายโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริที่เกิดขึ้นจำนวนถึง 3,799 โครงการจึงยังผลให้สู่การพัฒนาในทุกด้านอาทิเช่น
            - โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช
   เนื่องจากปัญหาซึ่งเกิดจากน้ำทะเลไหลเข้าสู่ลำน้ำปากพนังเป็นเวลาติดต่อกันยายนานจน
ทำให้ขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการเกษตรและบริโภค
         - โครงการฝนหลวง ในพื้นที่แห้งแล้ว ขาดน้ำในการเกษตร ทรงใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดฝนตกได้ โดยสามารถกำหนดทิศทางและปริมาณน้ำฝน
            - โครงการระบายน้ำ  สำหรับแก้ไขวิกฤติการณ์ยามที่เกิดอุทกภัยน้ำหลากและน้ำทะเลหนุนเพื่อช่วยระบายน้ำจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังมาลงสู่คลองก่อนไหลลงสู่ทะเลต่อไป
            - การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งแหล่งน้ำและป่าไม้รวมทั้งปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ
            - โครงการพัฒนาพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส   ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมา
จากพระราชดำริเนื่องจากสภาพดินที่มีปัญหาและใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้ดินมีลักษณะเปรี้ยวจัด ทรงศึกษาค้นคว้า วิจัยเพื่อปรับให้เป็นดินดีใช้ในการเกษตรได้เพียงตัวอย่างส่วนหนึ่ง จากแนวพระราชดำริหลากหลายโครงการ ที่ได้พระราชทานในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยหลักการ “ทำให้ง่าย” สามารถนำไปประยุกต์ให้ เป็นแบบอย่างได้ ในทุกด้านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม



4  ทรงเป็นตัวอย่างดั่งที่ทรงเสนอแนะ

คราวนี้ก็มาถึงเรื่องสำคัญที่สุดอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นเรื่องที่พระราช ทานให้ประชาชนนำไปใช้ในชีวิตของตน

 “เศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า Self-sufficiency คือ Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเองที่อื่นเขาแปลจากภาษาฝรั่งกันว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง  ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจมีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข” 
 พระราชดำรัสที่ได้อัญเชิญมานี้ เป็นแนวพระราชดำริที่ ทรงคุณค่า ไม่เป็นเพียงปรัชญาชี้แนวทางการดำรงชีวิตที่ยึดความพอควรแต่เป็นแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึด
ถือเป็นหลักปฏิบัติในพระราชจริยวัตรของพระองค์เองโดยตลอด   นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ โดยทรงประหยัดไม่ฟุ่มเฟือยและทรงดำรงพระองค์ด้วยสายกลาง ตามหลักพระพุทธ ศาสนา
              การเรียนรู้ด้วยการใช้หลักการ “พึ่งพาตนเอง” ประชาชนสามารถรับปฏิบัติในการดำรง ชีวิตได้อย่าง พออยู่ พอกิน ตามควรแก่อัตภาพของตน เศรษฐกิจพอเพียงนี้มีวิธีการดำเนินชีวิตซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันตัวเอง ยามที่เกิดวิกฤตการณ์ใดๆ ก็จะสามารถที่จะเอาตัวรอดได้ เสมอเพราะว่าพึ่งพาตนเองได้ แตกต่างกับระบบวิธีอื่นๆ ที่ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ ในการแก้ปัญหาและไม่สามารถดำเนิน การด้วยตนเองได้ จากแนวทางดังกล่าวในเศรษฐกิจพอเพียงนี้ทำให้องค์การสหประชาชาติตระหนักถึงคุณค่าของปรัชญานี้จึงได้น้อมเกล้าฯ ถวายเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ด้วยการทูลเกล้าฯถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดในด้านพัฒนามนุษย์” (The UNDP Human Development Lifetime Achievement Award)   ซึ่งเป็นรางวัลชิ้นแรกของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ  (UNDP) ได้จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองพระเกียรติในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี นายโคฟีอันนันเลขาธิการสหประชาชาติ  ได้กล่าวสดุดีในการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้ว่า
           ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จักทำให้วิถีชีวิตของคน ไทยดีขึ้นเป็นที่แจ้งประจักษ์แก่สายตาของชาวโลก จึงพากันกล่าวขาน พระนามพระองค์ว่า เป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา และเรียกร้องให้นานาประเทศหันมาตื่นตัวเรียนรู้ปรัชญานี้ เพื่อนำไปปรับปรุงการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศของตนต่อไป
 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้มิใช่เป็นแต่เพียง ปรัชญาที่พระราชทานให้ผู้อื่นปฏิบัติเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่พระองค์เองทรงปฏิบัติเสมอมาบทเรียนบทนี้น่าจะเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับข้าราชการและนักบริหารว่า ในการเสนอแนะให้ผู้ใดทำสิ่งใดนั้นผู้เสนอแนะเองต้องทำเองด้วยการเสนอ แนะนั้น จึงจะมีผลสำเร็จทุกประการ



5  ทรงยึดมั่นในความยุติธรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระ ราชทานแนวความคิดว่า ความยุติธรรมนั้นที่มีความสำคัญเป็นที่สุดเรื่องหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม

 “ความยุติธรรมนี้คือการปฏิบัติอะไรที่ถูกต้องตามธรรมะ คือยุติธรรม ถ้าฟังดูก็ยุติในธรรม ยุติในความดีความชอบผู้พิพากษา โดยเฉพาะผู้พิพากษาที่เป็นผู้มีความยุติธรรมสูงสุด จะต้องรักษาความยุติธรรมนี้ รักษาความยุติธรรมนี้ด้วยอะไร ก็ด้วยความดี ความถูกต้อง ฉะนั้นถ้าท่านรักษาความยุติธรรมตามที่ท่านได้ปฏิญาณตนนี้ ก็เชื่อว่า ความสุขความสงบก็จะเกิดขึ้นถ้าผู้พิพากษาไม่รักษาความยุติธรรมเมื่อใดประเทศชาตินี่คงวุ่นวาย”
ความยุติธรรมก็ คือ สิ่งที่บุคคลที่มีเหตุ มีผลและมีความรับผิดชอบในสังคม เห็นว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรม ทรงชี้แนะว่า “ในกรณีที่กฎหมายขัดแย้งกับความยุติธรรมนั้น” ความยุติธรรมต้องมาก่อน
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าโดยที่กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือในการรักษาความยุติธรรมจึงไม่ควรจะถือว่ามีความสำคัญยิ่งไปกว่าความยุติธรรม  แต่หากควรจะถือว่าความยุติธรรมนั้นมาก่อนกฎหมาย และอยู่เหนือกฎหมาย

             เรื่องนี้เป็นบทเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้แก่ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมพึงตระหนักว่า ความยุติธรรมนั้นเป็น สารัตถะ และเป็นหลักชัยของกระบวนการยุติธรรม ส่วนกฎหมายนั้นเป็นแต่เพียงวิถีทางหรือปัจจัยที่จะนำไปสู่ความยุติธรรมเท่านั้นหลักนี้สอดคล้องกับสามัญสำนึกและปรัชญาของหลักกฎหมายธรรมชาติซึ่งนานาประเทศใช้ปฏิบัติอยู่ เช่น สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นต้น


6  ทรงแก้ไขวิกฤติการณ์ด้วยสันติวิธีและในกรอบของความชอบธรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในสถานการณ์ของบ้านเมืองอยู่ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีวิกฤตการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้น จนปวงประชาราษฎรต้องหันไปพึ่งพระบารมี  ก็จะทรงช่วยปัดเป่าแก้ไขปัญหาให้สถานการณ์กลับคืนสู่สภาวะปกติได้โดยสันติวิธีตลอดมา

 วิกฤตการณ์การเมืองที่ผ่านมา  ไม่มีบทบัญญัติ ที่ครอบคลุมถึงปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง โดยที่ไม่มีผู้ใดหรือใครคาดคิดมาก่อน ทำให้องค์กรอิสระต่างๆ ที่กำหนดไว้เพื่อขับเคลื่อนและตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย  ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อีกทั้งการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการก็เกิดการขัดข้องขึ้นด้วยเหตุนี้  ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระประมุขผู้ทรงใช้อำนาจอธิปไตยในทางรัฐสภาทางคณะรัฐมนตรีและศาลตามรัฐธรรมนูญนี้พระองค์จึงทรงมอบหน้าที่ให้ศาลเข้ามาแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ผ่านมาซึ่งสอดคล้องกับการที่ผู้พิพากษาและตุลาการทุกคน  ต้อง ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระองค์ตามรัฐธรรมนูญว่า “จะรักษาไว้และ ปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามกฎหมายทุกประการ”


การที่ทรงมอบหน้าที่ให้ศาลเข้ามาแก้วิกฤตการณ์ในการเมืองซึ่งไม่เคยมีผู้ใดคาดคิดมาก่อนว่า จะเป็นแนวทางที่สามารถจะแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ แต่พระองค์ก็ทรงทำให้วิกฤตการณ์ทางการเมืองนั้นได้สามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีได้

 ถ้าจะสังเกตการแก้วิกฤตการณ์ของบ้านเมืองของพระองค์ในครั้งก่อนๆ อย่างเช่นในปี พ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ. 2535 ท่านก็ทรงใช้หลักการแก้ไขวิกฤตการณ์อย่างเดียวกันนี้คือ ทรงใช้สันติวิธีในกรอบของความชอบธรรม ซึ่งเรื่องนี้ควรจะเป็นบทเรียนสำหรับพวกเราในการแก้ไขปัญหาในภายภาคหน้าได้เป็นอย่างดี



7  ทรงถือความถูกต้องชอบธรรมเป็นคติธรรม

ขออัญเชิญพระบรมราโชวาท ซึ่งพระราชทานแก่ผู้ สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิต ในสมัยหนึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า

 “ข้าพเจ้าปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นท่านทั้งหลายฝึก หัดตนให้เป็นคนกล้า คือกล้าที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปด้วย ความถูกต้อง ทั้งตามกฎหมายและศีลธรรม โดยไม่หวั่นไหวต่อ อิทธิพลหรืออคติใดๆ ทั้งหมด ให้เป็นคนที่มั่นคงในสัตย์สุจริต และความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่ปล่อยให้ความสุจริต ยุติธรรม ถูกข่มยีให้มัวหมองได้”
 พึงสังเกตว่าความกล้าที่จะยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมนี้ เป็นอุดมการณ์ที่ปรากฏอย่างเด่นชัด ผ่องแผ้วอยู่ในบรรดาพระบรมราโชวาทพระราชจริยวัตร และพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ของพระองค์มาโดยตลอด และเป็นอุดมการณ์ตามทศพิธราชธรรมประการที่ 10  คือ “อวิโรธนัง” ซึ่งแปลว่า “ความไม่คลาดธรรม” หรือ “การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม”

             การปฏิบัติตามกฎหมายยังไม่เพียงพอที่จะนับได้ว่า เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เนื่องจากกฎหมายไม่อาจจะบัญญัติให้ครอบคลุมถึงทุกกรณีได้อย่างชัดแจ้ง ตัวบทกฎหมายจึงอาจมีช่องโหว่หรือมีความคลุมเครืออยู่เสมอ ผู้ที่ไม่มีคุณธรรมหรือจริยธรรม ก็ย่อมจะพยายามหาช่องโหว่หรือตีความกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียว ทั้งยังอาจจะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการทุจริตประพฤติมิชอบ หรือเพื่อข่มเหงและทำร้ายผู้อื่นอีกด้วย
แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าหากถือเอาความถูกต้องชอบธรรมเป็น สำคัญแล้ว ผู้นั้นก็จะไม่คิดหรือพยายามที่จะใช้ช่องโหว่ ช่องว่างหรือตีความกฎหมายไปเพื่อประโยชน์ของตน แต่จะใช้กฎ หมายให้เกิดความเสมอภาค เกิดความเป็นธรรมเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวมไม่เอารัดเอาเปรียบประเทศชาติหรือบุคคลอื่นๆ


จะเห็นได้ว่าการยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญและมีมาตรฐานนี้สูงกว่าการปฏิบัติตามกฎหมาย และพระบรมราโชวาทดังกล่าวก็น่าจะเป็นข้อเตือนใจให้เราประชาชน ทุกคน ยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดสมควรที่จะยึดถือความถูกต้องชอบธรรมและปฏิบัติ
หน้าที่โดยมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นสำคัญและต้องกล้าที่จะทักท้วงสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่ชอบธรรมทั้งหลายโดยไม่เกรงกลัวต่อภัยใด ๆ ทั้งสิ้น


เมื่อกระแสแห่งพระเมตตาได้ประทานจากฟากฟ้านำพาให้เดินตามรอยพระยุคลบาทในทิศทางเดียวกัน บทเรียนอันทรงค่าที่สายตาชาวโลกต้องจารึกแห่งประวัติศาสตร์การปกครองในระบอบสถาบันพระมหากษัตริย์  ถึงห้วงเวลาแห่งการแสดงความจงรักภักดีองค์ภูมินทร์ด้วยพลังเป็นหนึ่งเดียวของพสกนิกรนับแสนล้านคนที่ไม่เคยมีพระมหากษัตริย์จากประเทศใดได้รับมาก่อนหยาดน้ำตาที่รินไหลขณะเสียงโห่ร้องกึกก้องด้วยคำเดียวกัน“ทรงพระเจริญ” “ทรงพระเจริญ”  เสียงสะท้อนก้องกังวานจากวันที่เสด็จออกมหาสมาคม   ต่อเนื่องจนถึงเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเข้ารับการรักษาอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราช


นายแพทย์ริด เดรามาร์เตอร์ หนึ่งในคณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาชาวสหรัฐอเมริกาได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศว่า“เป็นความสัมพันธ์ที่ผูกพันลึกซึ้งยิ่งที่คนไทยจากทั่วทุกสารทิศพร้อมใจกันใส่เสื้อเหลือง แห่แหนเข้าเฝ้าถวายคำอธิษฐานให้ทรงหายประชวร พร้อมลงนามถวายพระพร นายแพทย์ผู้รักษาย้ำด้วยว่าคนไทยโชคดีมากที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอัจฉริยะภาพล้ำเลิศ เพียบพร้อมด้วยพระเมตตากรุณาและทรงบริสุทธิ์เที่ยงธรรม”

ข้าราชการทั้งหลาย นี่ก็คือบุญของคนไทยที่มีในหลวง ขอสรุปว่า ถ้าจะมองในภาพรวม จากพระราชกรณียกิจต่างๆ ทั้งปวง อันบังเกิดจากพระราชหฤทัยของพระองค์ ที่ทรงมุ่งมั่นพัฒนาชาติบ้านเมืองและแก้ไขความทุกข์ยากของพสกนิกร ทรงสละพระราชทรัพย์และความสุขส่วนพระองค์ทรงให้ทุกสิ่งที่พระองค์จะทรงให้ได้เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของอาณาประชาราษฎร ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตา เราได้รับบทเรียนและการปลุกจิตสำนึกอันล้ำค่าที่หลากหลาย เพื่อการดำรงชีวิตและเพื่อช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้รุ่งเรืองและมั่นคงในทุกทางเราท่านย่อมจะสนองพระมหากรุณาธิคุณได้ทางหนึ่ง   ด้วยการเดินตามรอยพระยุคลบาทอย่างแท้จริงและต่อเนื่อง

ปล.ได้ทำการเปลี่ยนรูปในข้อมูลบางข้อมูล

//www.fact.or.th/fact/index.php/2008-12-15-07-26-59/174-2009-10-29-03-32-29.html?showall=1





Create Date : 05 ธันวาคม 2556
Last Update : 5 ธันวาคม 2556 22:51:39 น. 0 comments
Counter : 523 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jureeporn
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




src='http://roomsite.freeserverhost.com/blogproject/toolbar.js'>
FC Barcelona


Google
จำนวนผู้ชมบล็อกทั้งหมด คน




















[Add jureeporn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.