ฉัฐรัช พัสตราภรณ์ เยี่ยมชมแฟชั่นสตรีสยามจากภาพถ่ายเก่า






ฉัฐรัช พัสตราภรณ์


เยี่ยมชมแฟชั่นสตรีสยามจากภาพถ่ายเก่า



เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ไม่เพียงเป็นปัจจัยสำคัญของมนุษย์ แต่เมื่ออารยธรรมของมนุษย์เริ่มงอกงาม เกิดแบบแผนในการดำเนินชีวิตมากมาย เสื้อผ้าก็กลายเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้านตัวตน เอกลักษณ์ของคนแต่ละชนชาติ และถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงฐานะทางสังคมไปในตัวด้วย 

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2559 ผมมีโอกาสได้ไปชมนิทรรศการ “ฉัฐรัช พัสตราภรณ์ : ย้อนมองอาภรณ์สตรีสยาม แลตามแฟชั่นโลก” ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ ภายในงานเป็นนิทรรศการภาพถ่ายเก่า ที่เน้นนำเสนอแฟชั่นเสื้อผ้าของสตรีสยามในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งก็ตรงตามชื่อนิทรรศการ เพราะคำว่า “ฉัฐรัช” หมายถึง รัชกาลที่ 6 หรือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว






บรรยากาศของนิทรรศการ ภายในหอวชิราวุธานุสรณ์


เป็นที่รู้กันดีว่า ชาวสยามเริ่มนิยมแต่งตัวแบบชาวตะวันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และนิยมมากจนเกิดเป็นแบบแผนการแต่งตัวยุคใหม่ของชาวสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่น ให้ผู้ชายสวมชุดราชปะแตน หรือแต่เดิมเรียก “ราชแปตแตน” เพี้ยนมาจากคำว่า Raj Pattern - ราชแพตเทิร์น (Royal Pattern) หมายถึง “แบบหลวง” ใช้เป็นชุดข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย เสื้อสูทสีขาวคอตั้งสูง มีกระดุมห้าเม็ด นุ่งโจงกระเบน สวมถุงเท้ายาว และรองเท้าหุ้มส้น เป็นรูปแบบชุดที่คิดว่าหลายคนคงคุ้นตากันดี นอกจากนี้ ผู้ชายยังหันมาสวมชุดสูทสากลนิยมแบบตะวันตกกันด้วย 

สำหรับเครื่องแต่งกายสตรี คนสมัยก่อนเขาก็เข้าใจ Mix and Match ความเป็นไทยกับตะวันตกได้อย่างลงตัวเช่นกัน คือ เลือกสวมเสื้อผ้าลายลูกไม้ เสื้อแขนหมูแฮม นุ่งโจงกระเบน มีสายสะพายพาดเฉียงบ่า และสวมใส่เครื่องเพชร สร้อยไข่มุก นับเป็นแฟชั่นของไฮโซโบราณที่เฟื่องฟูมากตลอดสมัยรัชกาลที่ 5



สตรีสยามสมัยต้นรัชกาลที่ 6

สวมเสื้อลูกไม้บางผสมผ้าไหมชีฟองแบบพอง คอสูง แขนเสื้อยาวเลยศอก

ส่วนบุรุษสวมชุดราชปะแตน


แม้กระทั่งผ่านมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ในช่วงต้นรัชสมัย อิทธิพลหรือความนิยมในการแต่งตัวของสตรีตามแบบสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ยังคงนิยมสืบเนื่องกันมา โดยเฉพาะการนุ่งโจงกระเบน ซึ่งสตรีสยามนุ่งกันมานานจนเป็นแบบแผนประเพณี กระทั่งถึงช่วงกลางรัชสมัย การแต่งตัวของสตรีสยามจึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนและก้าวหน้ามากขึ้น โดยรับเอาแฟชั่นตะวันตกที่เฟื่องฟูมากในช่วงเวลานั้น มาประยุกต์เข้ากับความเป็นไทยสยาม เปลี่ยนจากการนุ่งโจงกระเบน มานุ่งซิ่นแทน รวมถึงการเปลี่ยนทรงผมจากทรงดอกกระทุ่ม มาเป็นผมยาว ผมยาวเกล้ามวย และผมบอบสั้น เรียกได้ว่า “เกิดแฟชั่นในการแต่งกายที่หลากหลายมากขึ้น” เหมือนดังข้อความในเรื่อง “สี่แผ่นดิน” ที่หลายคนคงเคยได้ยิน หรือผ่านตากันมาบ้าง



สตรีสยามสมัยรัชกาลที่ 6 นิยมสวมเสื้อผ้าลูกไม้ สวมเครื่องประดับ 


...วันหนึ่งคุณเปรมพูดขึ้นว่า “แม่พลอย ฉันเห็นว่าต่อไปนี้แม่พลอยเลิกนุ่งผ้าเสียทีก็จะดี”

“แล้วกันคุณเปรม!” พลอยร้องเสียงหลง “ทำไมพูดอย่างนั้นละ อยู่ดีๆ จะให้ฉันเลิกนุ่งผ้าเสียแล้ว!”

คุณเปรมหัวเราะชอบใจพูดว่า “แม่พลอยนี่คงเห็นฉันเป็นบ้าพิลึก! เปล่าหรอก ฉันไม่ได้หมายความว่าจะให้แม่พลอยเลิกนุ่งผ้าเสียเลย แต่ฉันอยากให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน”

“ตายจริง! นี่คุณเปรมเห็นฉันเป็นลาวมาตั้งแต่เมื่อไร ?”

พลอยถามเพราะไม่เข้าใจความหมายของคุณเปรมเลยแม้แต่น้อย

“ในหลวงท่านโปรด” คุณเปรมตอบสั้นๆ แต่ก็เป็นการอธิบายที่มีความหมายลึกซึ้ง...


จะเห็นว่า พอคุณเปรมบอกให้แม่พลอยนุ่งซิ่น แม่พลอยถึงกับออกปากบอกว่า “คุณเปรมเห็นฉันเป็นลาว” ก็เพราะแต่เดิมนั้น วัฒนธรรมการนุ่งผ้าซิ่นเป็นของคนลาวและยวน ซึ่งสมัยก่อนคนสยามมักเรียกคนภาคเหนือ (ล้านนา) ว่าเป็น “คนลาว” เช่นกัน ส่วนสตรีสยามชนชั้นสูงแต่ดั้งเดิม นิยมนุ่งผ้าไหมแบบจีบหน้านาง ก่อนจะเปลี่ยนมานุ่งโจงกระเบนกันจนเป็นแบบแผนในสมัยรัชกาลที่ 4 นี่เอง



คุณหญิงบุญปั่น สิงหลกะ ภริยาพระยาราชมนตรี (สง่า สิงหลกะ)

แต่งกายตามจารีตนิยมของเจ้านายฝ่ายเหนือ 

สวมเสื้อลูกไม้ นุ่งซิ่นตีนจกแบบไทยวน ผมเกล้าพองแบบสตรีตะวันตก 

และเป็นทรงผมที่นิยมในสตรีชนชั้นสูงของญี่ปุ่น



แฟชั่นสตรีตะวันตกยุคเอ็ดวอร์เดียน (ค.ศ.1901-1910)


ภายในนิทรรศการจะแบ่งภาพถ่ายออกเป็น 3 ช่วงเวลา ตลอด 15 ปี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ

ช่วงต้นรัชกาล (ค.ศ.1910-1915) ตรงกับแฟชั่นโลกสมัยเอ็ดวอร์เดียนตอนปลาย (Late Edwardian) ต่อแฟชั่นสมัยทีนส์ตอนต้น (Early Teens – ค.ศ.1911-1915) ระยะนี้สตรีสยามมักสวมเสื้อผ้าลูกไม้โปร่งบาง และยังนิยมการนุ่งโจงกระเบนตามแบบสมัยรัชกาลที่ 5



สตรีสยามสมัยต้นรัชกาลที่ 6

สวมเสื้อลูกไม้ ทิ้งชายเสื้อยาว นุ่งโจงกระเบน 

เกล้าผมโปร่งตามแฟชั่นทรงผมสมัยเอ็ดวอร์เดียนตอนปลาย


คุณใหญ่ (บุนนาค) สิงหเสนี

สวมเสื้อลูกไม้คอกว้าง แขนเสื้อยาวเสมอศอก

ไว้ผมยาวเกล้าโปร่ง ประดับผ้าริบบิ้น


ช่วงกลางรัชกาล (ค.ศ.1915-1920) ตรงกับแฟชั่นโลกสมัยทีนส์ตอนปลาย ระยะนี้เกิดกระแสพระราชนิยมในการแต่งกายสตรีขึ้น คือ เจ้านายฝ่ายในเริ่มหันมานุ่งซิ่นยาว มีทั้งซิ่นไหม และซิ่นผ้าผ้ายแบบทางเหนือ สวมเสื้อแพร เสื้อลูกไม้ หรือเสื้อทรงหลวมชายยาวถึงเข่า



สตรีสยามสมัยกลางรัชกาลที่ 6

แต่งกายตามแบบกระแสพระราชนิยม 

สวมผ้าแพรชีฟองตัวยาว แขนเสื้อยาวถึงข้อศอก นุ่งซิ่นยาวแทนโจงกระเบน

ไว้ผมยาวดัดลอน ประดับศิราภรณ์


ท่านผู้หญิงตลับ ยมราช ยังคงแต่งกายแบบจารีตนิยมสมัยรัชกาลที่ 5

ส่วนธิดา (ล่างขวา) น.ส.ประจวบ สุขุม แต่งกายแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 6

สวมเสื้อแพรคอกว้าง นุ่งซิ่นยาว สวมรองเท้าส้นสูง และไว้ผมยาว


สตรีสยามวัยสาวในสมัยรัชกาลที่ 6 นิยมแต่งตัวตามกระแสพระราชนิยม

สวมเสื้อคอกว้าง นุ่งซิ่น สวมรองเท้าส้นสูง และไว้ผมยาวแทนทรงดอกกระทุ่ม


ท่านผู้หญิงกิมไล้ สุธรรมมนตรี

แต่งกายตามกระแสพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 6

สวมเสื้อทิ้งชายยาวถึงหัวเข่า กับกระโปรงผ้าไหม ไว้ผมสั้นดัดลอน


ช่วงปลายรัชกาล (ค.ศ.1920-1925) ตรงกับแฟชั่นโลกช่วงแฟลปเปอร์ (Flappers) หรืออาร์ตเดคโคตอนต้น (Art Deco) ระยะนี้สตรีสยามนิยมสวมเสื้อผ้าทรงตรงดิ่ง ไม่รัดรูป เอวเลื่อนลงมาช่วงสะโพกและต้นขา แขนเสื้อสูงถึงข้อศอก หรือแขนสั้นถึงหัวไหล่ นุ่งผ้าซิ่นสูงขึ้นถึงระดับน่องและต้นขา นิยมสวมถุงน่องและรองเท้า ไว้ผมบอบสั้นกันมากขึ้น



พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (พ.ศ.2467)

ทรงฉลองพระองค์แบบค็อกเทลสายเดี่ยวสไตล์อาร์ตเดคโค (Art Deco)


สตรีสยามสมัยปลายรัชกาลที่ 6

แต่งกายตามแฟชั่นตะวันตกช่วงอาร์ตเดคโค

สวมเสื้อแพรยาวถึงเข่า แขนกุดสั้นถึงหัวไหล่ นุ่งกระโปรงสั้นถึงหน้าแข่ง 

นิยมสวมถุงน่อง สวมรองเท้าส้นสูง


สตรีสยามสมัยปลายรัชกาลที่ 6

นิยมไว้ผมสั้นดัดลอน


สตรีสยามสมัยปลายรัชกาลที่ 6

นุ่งเสื้อตัวหลวม แขนเสื้อสูง ไว้ผมบอบสั้น


นอกจากนี้ ภายในนิทรรศการยังมีบอร์ดให้ความรู้เรื่องการถ่ายภาพฟิล์มกระจกแบบโบราณเอาไว้ด้วย ใครสนใจไปชมนิทรรศการคงต้องรีบกันหน่อยแล้ว เพราะตามกำหนดเดิม นิทรรศการจะสิ้นสุดในวันที่ 10 ตุลาคม 2559 แต่เจ้าหน้าที่ในงานบอกกับผมว่า ตอนนี้กำลังมีความคิดจะขยายนิทรรศการออกไปจนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2559 ปลายเดือนนี้เลย ใครสนใจความรู้เรื่องแฟชั่นสตรีสยาม แวะเข้าไปชมกันได้นะครับ

ก่อนกลับบ้าน อย่าลืมแวะถ่ายภาพเป็นที่ระลึก เพราะเจ้าหน้าที่เขาจัดฉากถ่ายภาพแบบโบราณไว้ให้ชักภาพกันด้วย เป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่สนุก และน่าประทับใจมากครับ เดิมชมได้ไม่เบื่อเลย



ฉากถ่ายภาพเป็นที่ระลึก


Jim-793009

09 : 10 : 2016




Create Date : 09 ตุลาคม 2559
Last Update : 16 กรกฎาคม 2560 9:50:23 น.
Counter : 28468 Pageviews.

4 comments
  
สวัสดีจ้าา มาทักทายจ้า sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ Cover Paint สักไรผม 3D Eyebrow ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: สมาชิกหมายเลข 4507140 วันที่: 6 พฤษภาคม 2561 เวลา:14:06:42 น.
  
คุณ สมาชิกหมายเลข 4507140 --- ขอบคุณครับ ที่แวะมาทักทายกัน
โดย: Jim-793009 วันที่: 1 สิงหาคม 2561 เวลา:10:43:14 น.
  
ภาพพวกนี้เราเป็นคนรีทัชเองทั้งหมดค่ะ
โดย: I am Bird IP: 110.171.25.250 วันที่: 14 มิถุนายน 2562 เวลา:12:33:13 น.
  
คุณ I am Bird --- ดีจังครับที่คนดูแลภาพแวะเข้ามาทักทายกันใน Blog ของผม ขอบคุณที่รีทัชภาพสวย ๆ มาให้ชมนะครับ
โดย: Jim-793009 วันที่: 11 มีนาคม 2563 เวลา:13:30:56 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Jim-793009
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]



"เขียน" ถ้าสิ่งนั้นคือความสุขอย่างแรกที่เรามองเห็นและนึกถึง ^_^

วรรณกรรมจึงงามกว่าเพชร คมกว่าดาบ เป็นโอสถอันประเสริฐยิ่งของชาวโลก
- กฤษณา อโศกสิน

"หนังสือบางเล่มผมไม่ได้อ่านเพราะชอบหรือไม่ชอบ เมื่อเป็นนิยายรักยอดนิยม ถ้าไม่อ่านก็เสียโอกาสทำความเข้าใจคนอื่น...ดีสำหรับผม ไม่ได้หมายความว่าคุณอ่านแล้วจะเข้าใจ หรือชอบในระดับเดียวกัน"
- ประชาคม ลุนาชัย [ร้านหนังสือที่มีแต่นิยายรัก]

"...สำหรับนักอ่าน หนึ่งในการค้นพบที่น่าตื่นเต้นที่สุดในชีวิต คือการพบว่าตัวเองเป็นนักอ่าน ไม่ใช่แค่อ่านออก แต่ตกหลุมรักมัน ตกหลุมรักอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ตกหลุมรักหัวปักหัวปำ หนังสือเล่มแรกที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้นจะไม่มีวันถูกลืม..."
- Finders Keepers, Stephen King
New Comments