วัดภาษี 8/2555

บางช่วงของชีวิตที่เคยเจอปัญหารุมเร้า สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีสติได้ นอกจากครอบครัว ก็คือการสวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ จนในที่สุดก็ผ่านมันมาได้ ฉันเชื่อว่าหลายๆคนก็เช่นกัน เราจะคิดถึงวัด ธรรมะก็ต่อเมื่อเราทุกข์ใจ มีเรื่องไม่สบายใจ เท่านั้น แต่ความจริงแล้วถึงแม้ช่วงเวลานั้นเราจะมีความสุขมากแค่ไหนก็ตาม หากเราได้เริ่มตั้งสติ หรือทำบุญก็จะยิ่งทำให้เรามีความสุขมากยิ่งขึ้น และสะสมบุญไว้ในภายภาคหน้า จึงได้ตั้งใจไว้ว่าจะทำบุญทุกครั้งที่มีโอกาส อย่างน้อยเดือนละครั้ง ไปจนกว่าชีวิตจะไม่สามารถทำได้อีก

....ครั้งนี้ได้เพื่อนสมัยเรียนที่ไม่เจอกันมา 4-5 ปีมาเป็นเพื่อนร่วมทำบุญ เราตกลงกันว่าเราจะเปลี่ยนวิธีการพบปะสังสรรค์กันตามร้านอาหาร ห้าง ที่ท่องเที่ยว มาเป็นวัด ไหว้พระ มาร่วมทำบุญร่วมกัน เพื่อน 1 คนในกลุ่มของเราแนะนำวัดที่อยู่ในกทม. ใครหลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อ แต่ยังไม่เคยไปสักที

"วัดภาษี" อยู่ซอยภาษี 1 ถนนเอกมัย ถนนสุขุมวิท 63 เรานัดเจอกันที่รัชดาและนั่ง TAXI ไปกัน ซื้อของสังฆทานแยกชิ้น เพราะคิดว่าน่าจะได้คุณภาพมากกว่าที่ซื้อเป็นชุดสังฆทาน ที่ขายตามท้องตลาด

มาถึงแล้ว มองเห็นตึก SIEMEN อยู่ด้านหลัง

 

 

 

ลองมาอ่านประวัติกัน 

"บุญเพ็ง หีบเหล็ก" เป็นที่เรื่องลือถึง "วัดภาษี" เป็นสถานที่ซึ่งเคยเป็นแดน "ประหารชีวิตนักโทษ" ในสมัยอดีตโดยการบั่นหัวตัดคอ หรือกุดหัว ซึ่งก็คือการตัดศรีษะ โดยเพชรฆาตรนั่นเอง ที่นี่มีนักโทษที่ถูกประหารมากต่อมาก การประหารนักโทษครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น ด่านเก็บภาษี 
          หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ช่วงนั้นได้มีการประหารนักโทษสำคัญท่านหนึ่ง ซึ่งที่รู้จักกันดีในสมัยนั้นว่า "บุญเพ็ง" ซึ่งก่อคดีฆ่าคน ตายหลายชีวิต และศพที่ "บุญเพ็ง" ฆ่านั้นก็ได้นำมาใส่หีบเหล็ก แล้วโยนทิ้งน้ำทุกครั้ง จนชาวบ้านขนานนามว่า "บุญเพ็งหีบเหล็ก" ซึ่งนับว่า "บุญเพ็ง" เป็นนักโทษประหารคนสุดท้าย ของกรุงรัตนโกสินทร์ บุญเพ็งเดิมเป็นชายหนุ่มรูปงามนักเป็นที่เลื่องลือ และกล่าวขาน เขากำพร้าพ่อแม่แต่เล็ก อยู่กับตายาย ชื่อตาสุก และยายเพียร ซึ่งเฝ้าเลี้ยงดูอย่างทนุถนอมมา แต่ หนุ่มบุญเพ็ง ไม่เอาไหน งานการไม่อยากทำ โดยปล่อยให้ตายาย ไปทำนาตามประสา ส่วนตัวเองกลับสนใจวิชาทางด้านไสยศาตร์เวทมนต์และ ได้ไปขอเรียนวิชาอาคม กับ ตาไปล่ สัปเหร่อวัดไผ่เคาะ ผู้มีวิชาดี ทาง กำจัดภูติผี ปีศาจ และทำเสน่ห์ยาแฝด และหมอดู บุญเพ็งเรียนจบครบหลักสูตรวิชาไสยศาตร์ประเภทมนต์ดำฝังรูปฝังรอย พร้อมวิชาหมอดู
       นอกจากเขาจะมีรูปร่างอ้อนแอ้น เขายังมีกิริยานอบน้อม เจรจาพาทีไพเราะ จนสาว ๆ ทั้งหลายทอดสายตาให้ วิชาที่บุญเพ็งเรียนมา เป็นวิชาที่ไม่ให้คุณใคร และตาสุก ยายเพียรตระหนักดี แกคอยห้ามปราม ต่าง ๆ นานา แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากบุญเพ็งเท่าที่ควร ต่อมาเขาได้เติบโตเป็นหนุ่ม ถูกตายายดุด่า ห้ามปรามไม่ให้เล่นวิชาไสยศาสตร์ เขาจึงทนไม่ไหว และมุ่งหน้าเข้าสู่บางลำภู ที่บางกอก (กรุงเทพฯ) มาตั้งสำนักหมอผี อยู่ในสวน ใกล้คลองบางลำภู เปิดสำนักดูหมอสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาชีวิต รับทำเมตตามหานิยม เสน่ห์ยาแฝด และไสยศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นมีคนมาหาแวะเวียนมากมาย บุญเพ็งมีคนรักชอบพอมากมายเนื่องจากเป็นคนรูปร่างดี พูดจาไพเราะอ่อนหวาน กับอีกด้าน ก็มีคนไม่ชอบอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ศัตรูก็ไม่น้อย ที่สำนักของเขามีหีบเหล็กโบราณ อยู่ถึง 7 ใบ ช่วงนั้นผู้หญิงได้ไปติดพัน ไปหาตอนกลางคืน และนั่งคุยจนดึกดื่น ก็ต่างตกเป็นทาสสวาทของเขาทั้งสิ้น นานวันเข้าผู้หญิงคนนั้นก็หายไปอย่างลึกลับ ไร้ร่องรอย พร้อมกับหีบเหล็กที่หายไปทีละ 1 ใบ พฤติกรรมของเขา ที่เล่นบทรักกับผู้หญิงอย่างซาดิสม์ ทารุณ จนขาดใจตาย แล้วเขาจะใช้มีดสับศพเป็นท่อน ๆ ยัดใส่หีบเหล็ก นำไปทิ้งลงคลองย่านบางลำภูเพื่อทำลายหลักฐานซึ่งนับว่าเป็นการกระทำที่สุดเหี้ยมโหดในสมัยนั้น 
 

      หีบเหล็ก ก็มีผู้หญิงคนแล้วคนเล่าที่ต้อง มาสังเวยชีวิตให้กับบุญเพ็ง คนสุดท้ายเป็นคุณนาย ที่สามีทอดทิ้ง รูปร่างดี แต่งกายทองเต็มตัว บุญเพ็งก็เสพสมแล้ว กลายเป็นขาประจำ จนกระทั่งวันหนึ่ง หญิงคนนั้นก็เกิดตั้งท้อง ยื่นคำขาดให้บุญเพ็งรับผิดชอบเป็นเมียอย่างออกหน้าออกตา ซึ่งบุญเพ็งจะบ่ายเบี่ยงตลอดเวลา ดังนั้นเขาจึงต้อง ฆ่าหญิงคนนั้นเสีย แล้วนำศพหั่นเป็นท่อน ๆ ยัดลงหีบนำไปทิ้งลงคลองอีกเช่นเคย "และเป็นหีบใบสุดท้ายที่มี" ซึ่งหลังจากนั้นเริ่มระแคะระคาย บุญเพ็งจึงลี้ภัยที่รู้ว่าจะมาหาตัว หนีไปบวชเป็นพระที่วัดแถวอยุธยา หลังจากนั้นซึ่งไม่รู้ว่าเป็น กรรมเวรอะไร ทำให้บุญเพ็งต้องสึกออกมาเพื่อแต่งงานกับผู้หญิงที่หมายปอง และคืนนั้นเองที่ ยังไม่ทันจะได้ถึงสวรรค์ ก็มีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาล้อมจับไว้อย่างละม่อมในข้อหา ฆ่าคนตายอย่างเหี้ยมโหด เรื่องราวทั้งหมดสืบเนื่องมาจากได้มีชาวบ้านไปทอดแห แล้วเจอหีบทั้ง 7 ใบ ในนั้นมีซากศพเป็นท่อน ๆ อยู่ในหีบทุกใบ จึงต้องโทษ และถูกตัดสิน โดยการประหารชีวิต เป็นการลงโทษที่หนักที่สุด ซึ่งในช่วงประหารชีวิตนั้นได้มีผู้คนมากมายมาดูการประหารชีวิต แต่ว่าไม่มีญาติของบุญเพ็งเลยสักคน แม้กระทั่งเจ้าสาวซึ่งยังไม่ทัน จะส่งตัวเข้าห้องหอ ก็ไม่มา ในช่วงประหารชีวิตนั้นเอง เพชรฆาตร รำดาบอยู่ครู่หนึ่ง แล้วได้ลงดาบอันคบกริบลงบนคอ แทนที่คอจะ ขาดเลือดพุ่งกระฉูด กลับกลายเป็นว่า คมดาบนั้นไม่ได้ระคายเคืองผิวเลย จนเพชรฆาตรพูดว่า "เอ็งมีอะไรดี ให้เอาออกเสียเถอะ" หลังจากนั้นเพชรฆาตร ก็เอาพระขว้างทิ้งไปในกอไผ่ คราวนี้รำดาบใหม่ ดาบหน้ารำจนบุญเพ็งเคลิ้มเผลอ ทันใดนั้นดาบหลังฟันดัง ฉับ คราวนี้ คอขาด หัวกระเด็น จนเลือดพุ่งกระฉูด ผู้คนที่มาดูต่างร้องวีดว้ายระงม ศพของบุญเพ็ง หีบเหล็ก ถูกนำไปฝังไว้ในป่าช้านั้นเอง จนภายหลังญาติมาจัดการเผาศพตามพิธี และกล่าวกันว่า รอยสักช่วงแผ่นหลังของเขา เผาไฟไม่ไหม้ ญาติเก็บกระดูกใส่เจดีย์ไว้ข้างอุโบสถ์วัด จนช่วงหลังเจดีย์ถูกรื้อออก ทางวัดภาษี จึงได้ให้ช่างปั้นรูปปั้นจำลอง ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ เมื่อ พ.ศ.2537 ตั้งไว้ในศาลเล็ก ๆ ติดกับวิหาร ซึ่งเป็นอนุสรณ์ว่า เขาเป็นนักโทษประหารคนสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2474 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ศาลลุงบุญเพ็ง หีบเหล็ก ได้มีคนไปกราบไหว้บูชา เสี่ยงโชคลาง และเข้าใจว่าวิญญาณของเขายังไม่ได้ไปผุดไปเกิด จนถึงปัจจุบัน

ที่มา (//www.siam2.com/story/ghost/boonpeng.php3)

 

อ่านแล้วน่าขนลุกเหมือนกันนะเนี่ย.....

 

       หลังจากทำสังฆทานที่วัดภาษีเรียบร้อยแล้ว เพื่อนอีกคนก็แนะนำอีกที่คือ เกาะเกร็ด ได้ยินชื่อมานานแล้วแต่ยังไม่ได้ไป ก็ไปดูละกัน นั่งแท๊กซี่ลงที่วัดสนามเหนือ แล้วข้ามไปเกาะเกร็ด ค่าเรือคนละ 2 บาท กว่าเราจะมาถึงที่นี่ก็เกือบ 4 โมงแล้ว ร้านที่เปิดขายของเริ่มเหลือของน้อยกันล่ะ

เกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2265 เรียกว่า “คลองลัดเกร็ดน้อย” ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้ว่าวัดวาอารามต่างๆบนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยาได้ แต่หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญที่เข้ารีตมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้นมีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 การคมนาคมบนเกาะจะใช้จักรยานเพื่อให้เหมาะกับขนาดของเกาะ

 

ทุกคนเข้าไปไหว้พระที่โบสถ์ วัดปรมัยยิกาวาส (วัดปากอ่าว) จากนั้นก็ซื้อตั๋วนั่งเรือเที่ยวรอบเกาะคนละ 60 บาท 

วัดสนามเหนือถ้ามองจากเกาะเกร็ด  

มัสยิดของพี่น้องอิสลาม อยู่ตรงข้ามกับเกาะเกร็ด 

 

วัดใหญ่สว่างอารมณ์ 

ร้านขนมหวาน ในคลองขนมหวาน 

 

เรือลำนี้ไปอยู่ในโพรงหญ้าได้ไงเนี่ย

 

บ้านเก่าริมน้ำยังมีรอยน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้วอยู่ 

 

บ้านริมน้ำ รอยน้ำท่วมสูงจริง 

 

วันนี้ตั้งใจมาทำบุญอย่างเดียว เลยได้ภาพมาน้อย จริงๆที่เกาะเกร็ดก็มีมุมสวยๆเหมือนกันนะ ถ้าใครมีโอกาสเดินเล่นรอบเกาะ น่าจะได้ภาพประทับใจของชาวไทยเชื้อสายมอญที่นี่ไปบ้าง สำหรับเราคราวหน้าละกันนะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก www.MooHin.com > นนทบุรี >เกาะเกร็ด




Create Date : 29 สิงหาคม 2555
Last Update : 14 กันยายน 2555 8:51:38 น.
Counter : 3995 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

janesun
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



"ถ้าเราทำดี พูดดี คิดดีแล้ว คนอื่นเขาว่าเราทำไม่ดี ก็ไม่เป็นไร
เมื่อเราทำดีแล้ว คนอื่นว่าไม่ดีมันเป็นเรื่องของเขา
เราอย่าไปทิ้งความดีของเรา ความดีมันอยู่ที่ตัวเรา ไม่ใช่คนอื่นมอง
อย่าลืมว่ากรรมใคร ก็เป็นของคนนั้น
อย่ายึดมั่นถือมั่น และอย่าจับตาดูผู้ื่อื่น"
...หลวงปู่ชา สุภัทโท..
^__^