รายละเอียดการแก้ไขสายตาสั้น ด้วยวิธี PRK , Lasik , Femto , Relex Smile


การแก้ไขสายตาสั้น เอียง ยาว มีหลากหลายวิธี บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่าแต่ละวิธีแตกต่างในการทำอย่างไร  วันนี้เจนนำมาฝากให้อ่านกัน อธิบายให้ทราบอย่างคร่าวๆ  แต่ทั้งนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สายตาเราเหมาะสมกับการทำแบบไหน ต้องผ่านการตรวจสภาพตาอย่างละเอียดก่อนและคุณหมอท่านจะเป็นผู้แนะนำและพิจารณาตามความเหมาะสมให้ค่ะ



1. PRK 





2. Lasik





3. Femto





4. Relex Smile 





Create Date : 16 มีนาคม 2560
Last Update : 16 มีนาคม 2560 14:24:14 น.
Counter : 3330 Pageviews.

0 comment
ข้อแตกต่าง Femtosecond Laser กับ Microkeratome

ข้อแตกต่างระหว่าง Femtosecond Laser กับ Microkeratome



Femtosecond Laser   คือ การแยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์ป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้แยกชั้นกระจกตาได้อย่างสมบูรณ์แบบ เลเซอร์สามารถ Focus ลงไปใต้ผิวกระจกตาด้วยความแม่นยำสูงมีการสัมผัสกับผิวของกระจกตาเวลาเปิดได้อย่างนุ่มนวลและช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการแยกชั้นกระจกตาสามารถเปิดชั้นกระจกได้เรียบเนียน ทำให้คุณภาพการมองเห็นหลังการรักษากลับมาเต็มประสิทธิภาพเร็ว


Microkeratome คือ การแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีด ซึ่งเป็นวิธีที่ทำกันมาแต่แรกเริ่มในปัจจุบันก็ยังคงนิยมใช้กันอยู่ การเปิดชั้นกระจกด้วยใบมีนั้นจะกินเนื้อกระจกตามากกว่า แต่ปัจจุบันใบมีดก็มีการพัฒนาขึ้นมากที่เรียกว่า SBK คือสามารถเปิดชั้นกระจกตาได้บางพอๆ กับ Femtosecond   การเปิดด้วยใบมีนั้นโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนการแยกชั้นกระจกตาได้มากกว่า แต่ก็เหมาะกับผู้ที่มีความหนากระจกตาเพียงพอกับการแก้ไขสายตาด้วยวิธีนี้ ซึ่งก็ยังเป็นวิธีการที่ดี




Create Date : 28 พฤษภาคม 2557
Last Update : 28 พฤษภาคม 2557 14:04:12 น.
Counter : 2992 Pageviews.

1 comment
Femtosecond lasers
Femtosecond laser

เครื่อง Femtosecond laser เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแยกชั้นกระจกตาด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งมีความแม่นยำสู

 


หลักการของการทำผ่าตัด Femtosecond จะเหมือนกับการทำผ่าตัดเลสิคทั่วไป แต่แทนที่จะใช้เครื่องมือแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีด (Mechanical Microkeratome) ก็จะใช้ Femtosecond Laser มาช่วยในการแยกชั้นกระจกตาแทน หลังจากนั้นจะใช้  Laser มาปรับแต่งความโค้งของผิวกระจกตา แล้วจึงปิดชั้นกระจกตากลับเข้าที่ตามเดิม ซึ่งผิวกระจกตาจะสามารถติดกลับเข้าไปได้เองโดยไม่ต้องทำการเย็บ เมื่อทำเสร็จแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย

สำหรับการใช้เทคโนโลยีของ Femtosecond laser มาช่วยในการแยกชั้นกระจกตานี้ เรียกได้ว่าเป็นการใช้แสงเลเซอร์ล้วนๆ มาช่วยในการรักษาสายตาผิดปกติโดยไม่มีการใช้ใบมีดเลย จะทำให้แผลมีความเรียบและมีความแม่นยำมากกว่า สามารถทำในผู้ที่มีกระจกตาบางได้ปลอดภัยมากขึ้น

หลังการรักษาด้วยวิธี Femtosecond  จะมีอาการระคายเคืองตาเล็กน้อย และแผลค่อนข้างจะหายเร็วกว่าใบมีด การมองเห็นจะกลับมาประมาณ 80-90% ภายใน 24-48 ชั่วโมง แต่การมองเห็นยังไม่นิ่งได้บ้างเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์แรกๆ






Create Date : 24 สิงหาคม 2555
Last Update : 24 สิงหาคม 2555 12:42:44 น.
Counter : 1010 Pageviews.

0 comment
การใส่เลนส์เสริม (Phakic Intraocular Lens หรือ Phakic IOL)

การใส่เลนส์เสริม (Phakic Intraocular Lens หรือ Phakic IOL) 

ICLเป็นวิธีการผ่าตัดเพื่อฝังเลนส์ชนิดหนึ่งที่ทำจากวัศดุที่เรียกว่าCollamer  เข้าไปวางไว้หน้าต่อเลนส์ตาธรรมชาติ

เพื่อหวังผลคล้ายแปะคอนแทคเลนส์ถาวรไว้แต่วางไว้ที่หน้าเลนส์ของเรา

      ข้อดีของICL คือหลังผ่าตัดแล้วไม่ต้องใส่แว่น และไม่ต้องคอยถอดคอนแทคเลนส์เข้า ถอดคอนแทกเลนส์ออก ส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้รักษาคนไข้กลุ่มที่ไม่สามารถทำเลสิก(LASIK)ได้อันเนื่อง มากจากสายตาสั้นเยอะมากๆหรือ กระจกตาไม่หนาพอเมื่อเทียบกับค่าสายตาของคนๆนั้น

        เนื่องจากค่าสายตาของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน การคำนวณว่าจะฝังเลนส์เบอร์ใดเข้าในตาคนไข้จึงมีความสำคัญพอๆกับการวางแผน ค่าสายตาตอนทำเลสิกเลยค่ะ  ICLนั้นให้การรักษาได้ในค่าสายตาเยอะๆและเอียงมากๆได้ค่อนข้างกว้าง และตอบคำถามสำหรับสายตาเอียงด้วย มีแบบtailor madeตามค่าสายตาในค่าสายตาแปลกๆขั้นเทพทั้งหลาย



ลักษณะของเลนส์ ICL



ลักษณะการวางเลนส์ ICL





การมองเห็นหลังจากผ่าตัดค่ะ





Create Date : 19 กรกฎาคม 2555
Last Update : 19 กรกฎาคม 2555 14:58:53 น.
Counter : 2387 Pageviews.

7 comment
ความรู้เรื่อง Technology for lasik
มาดูวิวัฒนาการของ Laser ที่ใช้ในการทำเลสิคกันนะคะ
1st Generation : ลำแสงมีขนาดใหญ่มาก แถมยังมีปัญหาเรื่องความสม่ำเสมอของของพลังงานในเนื้อแสงด้วย
2nd Generation : มีลำแสงที่เล็กลง แต่ก็ยังไม่ละเอียดพอ
3rd Generation : ลำแสงมีขนาดเล็กลง ความสมำเสมอของเนื้อพลังงานในเนื้อแสงมีมากขึ้น
4th Generation : คือ 3rd Generation ร่วมกับระบบ Wavefront แก้ลำแสงบิดเบี้ยวภายในตา และเริ่มมีระบบ จับลายม่านตา เพื่อการรักษาที่แม่นยำขึ้น


และในปัจจุบันเลเซอร์ในการทำ LASIK มีถึงรุ่นที่ 5 กันแล้ว  i35
5th Generation : ก็คือเลเซอร์ที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมมาจาก 4th Generation โดยสามารถเชื่อมต่อผล
                              จากเครื่องตรวจสภาพตาเฉพาะบุคคลมายังเครื่องเลเซอร์เพื่อทำการรักษา คือระบบ
                                     Topo-Link แก้ไขปัญหาตรงจุดเฉพาะบุคคล และคุณภาพใกล้เคียงปกติมากที่สุด

ส่วนเครื่องทำเลสิค ก็ต้องยกให้ MEL-80 ของ Carl Zeiss จากประเทศเยอรมัน
ซึ่งเป็นผู้นำด้านการผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตามากว่า 20 ปีเลยทีเดียว
i34
ที่นี้มาดู MEL-80 5th Generation Laser กันนะคะ
MEL-80 5th Generation Laser : มีความแม่นยำ มีความเร็วในการยิงลำแสงถึง 250 Hz ลำแสงเลเซอร์มีขนาดเล็กมากแค่ 0.7 มม. รวมทั้งมีระบบจับการกลอกตาความเร็วสูง เรียกว่า Eye-tracking มีระบบ Oculign จับลายม่านตาทำให้องศาการยิงถูกต้อง ทำให้มีความแม่นยำ และที่สำคัญ รูปแบบเลเซอร์ในการยิงเป็นแบบ Aspheric ช่วยประหยัดเนื้อเยื่อกระจกตา และลดภาวะแสงกระจายที่มักพบในเครื่องเลเซอร์รุ่นแรกๆ สุดท้าย คือระบบ Advanced PrecisePulse technology ทำให้พื้นผิวหลังการยิงเลเซอร์เรียบมาก โดยเครื่องเลเซอร์
MEL-80 ได้รับการรับรองจาก FDA ล่าสุดเมื่อปี ค.ศ.2006
i47
หากเปรียบเทียบกับเครื่องหรือเลเซอร์รุ่นก่อน MEL-80 5th Generation Laser
ถือว่าเป็นเลเซอร์แก้ไขปัญหาสายตาที่ดีมากในปัจจุบันกันเลยทีเดียว




Free TextEditor



Create Date : 22 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2554 11:31:06 น.
Counter : 1069 Pageviews.

1 comment
1  2  3  

jw.jane
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



สวัสดีค่ะ เจ้าของบล๊อคนี้ชื่อ "เจน" นะคะ บล๊อคนี้ทำขึ้นมาเพื่ออยากที่จะแบ่งปัน ข้อมูล ความรู้ เกี่ยวกับเลสิก ใครที่อยากทราบข้อมูลอะไรที่เกี่ยวข้อง หรือมีปัญหาอยากสอบถาม เจนจะช่วยตอบข้อข้องใจให้ อาจจะไม่เก่งหรือมีความรู้ที่แน่นมาก แต่จะพยายามหาคำตอบมาให้แน่นอนค่ะ

Care 4 ur eyes ^^
New Comments