คำถามในใจ (อาสา)


ลายปีที่ผ่านมา เรากำลังทำอะไรอยู่ ?

ทำไปทำไม ?

เมื่อไรจะถึงเป้าหมาย ?

จากคนแกที่จมอยู่แต่ในบ้าน ร่างกายที่ถดถอย และกำลังใจที่หดหาย เหลือแต่ความห่อเหี่ยว กับการมีชีวิตอยู่ไปวันๆ

เมื่อเกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 54 ได้ออกไปช่วยเพื่อนบ้าน กั้นคันป้องกันน้ำ แจกอาหาร น้ำดื่ม และยาที่มีติดบ้านยามเพื่อนโทรมาขอ

ด้วยคอมพิวเตอร์คู่ใจ และกล้องถ่ายรูปเล็กๆ ตระเวนเก็บภาพเหตุการณ์ ถ่ายทอดลงในเว็บไซต์ที่สร้างขึ้น เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ  ให้พอคลายเหงา จนกลายเป็นเว็บสื่อกลางของเพื่อนร่วมทุกข์ในยามลำบาก

หลังน้ำท่วมผ่านไป ต้นปี 55 ทุกอย่างค่อยๆ เข้าที่เข้าทาง แต่ความสุขใจเล็กๆ ที่ได้จากกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดความคิดที่จะสานต่อ “ใจอาสา”  ให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆ กับชุมชนที่รอการพัฒนา

เริ่มต้นเดินออกกำลังกายในตอนเช้า พร้อมๆ กับเพื่อนๆ สูงวัย และชวนกันทำสวนครัวตอนกลางวัน แล้วประชาสัมพันธ์กิจกรรมลงในเว็บไซต์ตอนกลางคืน ยิ่งทำยิ่งชอบ เพราะได้ออกกำลังกาย ได้มิตรภาพ ได้เห็นรอยยิ้มจากทุกคนในชุมชน

ได้พบว่า ทุกอย่างเริ่มจากตัวเรา ออกไปสู่เพื่อน และขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ กลายเป็นกิจกรรมกลุ่ม “สูงวัยใจอาสา” ตามมาด้วยกลุ่ม “เยาวชนบ้านคนดี” ของจิตอาสาต่างวัย

อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ เมื่อการให้ใจ กับทุกคนที่เข้ามาร่วมกิจกรรม … จนวันนึง ไทยพีบีเอส ขอเข้ามาถ่ายทอดกิจกรรม “สองวัยใจอาสา “ผ่านตัวละคร คนแก่ที่คิดว่าตัวเองเป็นอัลไซเมอร์  ไม่อยากให้อะไรๆ ผ่านไปตามกาลเวลา คือที่มาของเรียลลิตี ลุยไม่รู้โรย “ไม่จำ …. ไม่ลืม”

จากสวนครัวชุมชน กับเยาวชนคนดี และการเรียนรู้ของกลุ่มอาชีพเพื่อชุมชน เรื่อยมาจนถึงวันนี้ กับคำถามคาใจ … ทำไปทำไม ?

อาจเป็นเพราะความสำเร็จเล็กๆ ของงานที่ชอบ และสิ่งที่ใช่ ใน “ศิลปะไม้ไอติม” ที่ทำให้ยอดผู้เข้าชมผ่านเว็บไซต์ใจอาสา ถึงปีละล้านครั้ง มากกว่าล้านเพจวิว เป็นใบเบิกทางให้สื่อต่างๆ ติดต่อกลุ่มงานประดิษฐ์ผู้สูงวัยให้ร่วมงาน ออกรายการทีวี ?

หรือแรงผลักดันที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้และทักษะ “ใจอาสา” ให้มากขึ้น ?

เมื่อมีโอกาส ได้เข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงวัย ในโรงเรียนผู้สูงอายุ ของจังหวัดปทุมธานี จึงพบคำตอบ … ทำไปทำไม?


กับคำถามสุดท้าย … เมื่อไหร่จะถึงเป้าหมาย ?

เป็นที่มาในการร่วมตัวกันของ “สูงวัยใจอาสา 2558” เครือข่ายแกนนำกลุ่มอำเภอทั้ง 7 ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อสานต่อ “ใจอาสา” กับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุต้นแบบ ร่วมกับโครงการมหาวิชชาลัยชุมชน และชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี

โครงการที่จะรวบรวม เก็บบันทึก และจัดทำเป็นคู่มือเพื่อถ่ายทอดต่อให้ผู้ที่สนใจ ได้เข้ามาเรียนรู้ และรับการถ่ายทอด นำไปปรับปรุง ต่อยอด สร้างงานสร้างรายได้ให้กับตัวเอง และครอบครัว

เพราะการให้  ไม่สิ้นสุด … จึงไม่มีคำตอบ เมื่อไหร่จะถึงเป้าหมาย


พิสุทธิ์ สมประสงค์

กลุ่มสูงวัยใจอาสา
7 กันยายน 2558




Create Date : 25 มิถุนายน 2560
Last Update : 25 มิถุนายน 2560 12:24:33 น.
Counter : 139 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

idea4thai
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]



ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชนและชุมชมไทย

All Blog