กระบวนการบำบัดรักษา ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation)
จุดประสงค์เพื่อ
..ฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม
..เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
..เพื่อแก้ไขความผิดปกติของจิตใจ สิ่งแวดล้อม ปัญหาต่างๆอันเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเลิกยาเสพติดได้โดยเด็ดขาด
..ประกอบด้วย กิจกรรมบำบัด ทักษะการดำเนินชีวิต ปรับกระบวนการคิด กลุ่มบำบัด และจิตบำบัดรายบุคคล

ที่ศูนย์บำบัดแบ่งระยะฟื้นฟูเป็น 3 ตึก
1.ตึกตะวันฉายและตึกทอแสง สำหรับผู้ป่วยชาย ยาบ้้า ผิ่น ผงขาว สาระเหย กัญชา
2.ตึกเอื้ออาทร สำหรับผู้ป่วยชาย โรคพิษสุราเรื้อรัง
3.ตึกรุ่งอรุณ สำหรับผู้ป่วยหญิง สารเสพติดทุกชนิด

รูปแบบการบำบัดในขั้นตอนนี้คือ
F: Family ครอบครัวมีส่วนร่วม
A: Alternative treatment กิจกรรมทางเลือก
S: Self help ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง
T: Therapeutic community ชุมชนบำบัด

ผู้ป่วยบางคนจะมีระยะฮันนีมูนเป็นระยะต่อเนื่องจากระยะขาดยา ในช่วงนี้ผู้เลิกยาจะรู้สึกมีกำลังเพิ่มขึ้น กระตือรือร้น มองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นมากจนหลายคนเข้าใจผิดว่าระยะนี้เป็นการสิ้นสุดกระบวนการรักษา ทั้งที่ในความเป็นจริง ยังมีความเสี่ยงต่อการกลับไปใช้ยารออยู่ จำเป็นที่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาขั้นต่อไป คือ ขั้นตอนฟื้นฟู

บางคนอาจเกิดความวิตกกังวลไม่อยากเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ปัญหาที่พบบ่อยในช่วงนี้ คือผู้ป่วยต่อรองขอกลับบ้าน ทั้งทีมพยาบาลและญาติจะถูกต่อรองมาก ซึ่งการตัดสินใจว่าจะรับการบำบัดต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ป่วยและญาติร่วมกัน สิ่งที่ทางศูนย์บำบัดทำได้คือ แนะนำประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ และภาวะเสี่ยงต่อการไปเสพซ้ำสูง เนื่องจากยังไม่ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนความคิดพฤติกรรม



Create Date : 22 กันยายน 2554
Last Update : 22 กันยายน 2554 15:46:50 น.
Counter : 1562 Pageviews.

0 comment
กระบวนการบำบัดรักษา ขั้นตอนการบำบัดด้วยยาหรือถอนพิษยา (Detoxification)

จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้


-- บำบัดอาการถอนพิษยา ทั้งทางกายและจิตใจ


-- ช่วยระงับความต้องการยา รักษาอาการขาดยา และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

ที่ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่ แบ่งตึกถอนพิษยาเป็น 3 ตึก
1.ตึกเอื้ออาทร   สำหรับผู้ป่วยชาย เสพติดสุรา
2.ตึกชีวิตใหม่    สำหรับผู้ป่วยชาย เสพติดยาบ้า ผงขาว ฝิ่น สารระเหย
3.ตึกรุ่งอรุณ     สำหรับผู้ป่วยหญิง เสพสารทุกชนิด

ขั้นตอนการบำบัดด้วยยาหรือถอนพิษยา แตกต่างตามชนิดของสารเสพติด จะกล่าวแบ่งแยก ดังนี้

การบำบัดรักษาภาวะเมาแอลกอฮอล์
--อาการ: พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม ก้าวร้าว อารมณ์เปลี่ยนแปลง การ ตัดสินใจไม่ดี เดินเซ โคม่า เป็นต้น
--รักษาแบบประคับประคอง
   ..ให้กลูโคส วิตามีนบี 1 และน้ำเกลือเข้าเส้นเลือด
   ..ป้องกันถาวะกดหายใจ และการสำลัก
   ..ถ้าก้าวร้าววุ่นวาย จำเป็นต้องผูกยึดเพื่อป้องกันอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น หรือให้ยาต้านโรคจิต Haloperidol แบบฉีดเข้ากล้ามขนาด 2.5-5 มิลลิกรัม สลับกับยา Diazepam เพื่อสงบอาการกระวนกระวายก้าวร้าว
   ..มีการเฝ้าระวัง ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด ในเรื่องของภาวะแทรกซ้อน
Smileyหมายเหตุ...ทางศูนย์บำบัดไม่สามารถรับผู้ป่วยเมาสุรา ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมเอะอะโวยวาย ก้าวร้าว และไม่สมัครใจนอนโรงพยาบาลได้
การบำบัดรักษาภาวะถอนแอลกอฮอล์
--อาการ: ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ  มือสั่น นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน กระสับกระส่าย  ประสาทหลอน เพ้อสับสน ชัก
--มีการประเมินภาวะฉุกเฉินทางกาย เช่น ความดันโลหิต การเต้นชีพจร ตับอักเสบเฉียบพลัน ตับอ่อนอักเสบ บาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นต้น
--มีการประเมินภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช เช่น เพ้อสับสน ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น อาการโรคจิต
--ประเมินความรุนแรงของอาการถอนแอลกอฮอล์
Smileyหมายเหตุ..ทางศูนย์บำบัดไม่สามารถรับผู้ป่วยที่มีอาการทางกายที่รุนแรงหรืออาการทางจิตกำเริบนอนโรงพยาบาลได้
1. สงบอาการ (Sedation)
2. สกัดทุกข์กาย (Symptomatic relief)
3. เสริมอาหารวิตามิน (Supplement)
4. สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นปลอดภัย (Supportive environment)


1. สงบอาการ (Sedation)


- ยากลุ่ม Benzodiazepine: Chlordiazepoxide, Diazepam, Lorazepam
- การถอนพิษแอลกอฮอล์มี 2 แนวทาง
  1. ให้ยาตามความรุนแรงของอาการ
  2. ให้ยาคงที่ตามกำหนด


      ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก ผู้ป่วยสุราเรื้อรังเปรียบสมองที่แช่เหล้ามานานหลายปี หากหยุดดื่มทันที สมองจะขาดเหล้าทำให้มีอาการหูแว่วระแวง มีอาการชัก เพ้อสับสนพูดจากไปเรื่อย ซึ่งมีอันตรายถึงกับชีวิตได้ ดังนั้นจะต้องให้ยาไปทดแทน หมอใช้คำพูดเปรียบว่า ใช้ยาถอนพิษเหล้า หากอาการถอนเหล้าทุเลาก็จะค่อยๆลดยาลง


      มีญาติเคยถามว่า ถ้าหยุดเหล้าแล้วอันตราย จะจัดหาเหล้ามาให้ผู้ป่วยได้ไหม คำตอบคือถ้าดื่มเหล้าตลอดก็ไม่มีอาการถอนจริง แต่ไม่คุ้มเลยเพราะตับ ไต ระบบหมุนเวียนเลือดก็ถูกทำลายไปด้วย การให้ผู้ป่วยดื่มไปเรื่อยๆเป็นการส่งเสริมให้ติดเหล้าไปเรื่อยๆ จริงๆแล้วหมอมียารักษาอาการถอนเหล้าซึ่งได้ผลดีกว่า ควบคุมปริมาณได้ ทางที่ดีคือ ญาติจูงใจโน้มน้าวให้ผู้ป่วยมารักษาดีที่สุด


2. สกัดทุกข์กายใจ (Symptomatic relief)


นอกจากอาการถอนสุราแล้ว ในผู้ป่วยบางคนจะมีอาการไม่สุขสบาย ด้วยภาวะร่างกายที่ทรุดโทรมจากการดื่มสุรามานานและโรคประจำตัวต่างๆ และภาวะทางจิตที่อาจมีความวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ


ทางทีมรักษามีการให้ยาบรรเทาตามอาการที่ผู้ป่วยแต่ละคนมี เช่น ปวด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นท้อง ถ่ายเหลว ยาลดความวิตกกังวล ยาช่วยให้หลับดี ยาต้านซึมเศร้า ยาต้านโรคจิต เป็นต้น ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย ม่วนกายม่วนใจ มากที่สุด


3. เสริมอาหารวิตามิน (Supplement)
..กลูโคส เสริมอาหาร และน้ำให้เพียงพอ
..วิตามินบี1 ป้องกันภาวะความจำเสื่อมจากสุรา (Wernicke-Kosarkoff Syndrome) โดยให้วิตามินบี1 100 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้าม 3-5 วัน ตามด้วย วิตามินบี1 100 มิลลิกรัม กินวันละ 3 ครั้ง


ผู้ป่วยโรคสุราเรื้อรังจำเป็นที่ต้องได้รับการเสริมวิตามิน เนื่องจากสุราไปขัดขวางการดูดซึมวิตามิน ร่วมกัีบพฤติกรรมไม่รับประทานอาหารหรือทานน้อยลงเมื่อดื่มสุรา หากไม่เสริมวิตามินกล้ามเนื้อจะอ่อนแรง ปลายประสาทฝ่อ เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม มีภาวะซีด


4. สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นปลอดภัย (Supportive environment)


..จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ปลอดภัย อากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างพอเพียง สิ่งรบกวนน้อย
..ให้ความเชื่อมั่น ใช้คำพูดง่ายๆ อธิบายสั้นๆ บอกซ้ำๆ โดยใช้น้ำเสียงนุ่มนวลและหนักแน่น
..ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย



การบำบัดรักษาภาวะถอนพิษสารอนุพันธ์ฝิ่น.


อนุพันธ์ฝิ่น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน(ผงขาว) ยาแก้ไอโคดิอีน ยาแก้ปวดอนุพันธ์ฝิ่น เมธาโดน


..เริ่มมีอาการหลังจากเสพสารครั้งสุดท้าย 6-8 ชั่วโมง
..อาการรุนแรงใน 2-3 วัน และทุเลาลงใน 7 วัน
..มีอาการดังนี้ อยากยารุนแรง กระสับกระส่าย หงุดหงิด น้ำมูกน้ำตาไหล หาวบ่อย เหงื่อแตก หนาวๆร้อนๆ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ขนลุก คลื่นไส้อาเจียน ไข้ ชีพจรและความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หรือเรียกทั่วไปว่า ลงแดง ซึ่งเป็นอาการที่ทุกข์ทรมานมากแต่ไม่ทำให้เสียชีวิต อาการถอนจะเป็นหนักในช่วงสัปดาห์แรก ผู้ป่วยต้องใช้ความอดทนและตั้งใจหยุดเสพอย่างมาก


..ทีมรักษาจะมียาแทนที่อนุพันธ์ฝิ่น เรียกว่า เมธาโดน จะให้ยาจนร่างกายคงที่แล้่วค่อยๆลดยาลง .


ระหว่างนี้จะมียารักษาตามอาการ เช่น อาการปวด อาการกระวนกระวาย อาการนอนไม่หลับ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายมากที่สุด



การดูแลภาวะเมาและถอนพิษสารอื่นๆ เช่น แอมเฟตามีน สารระเหย กัญชา
..รักษาแบบประคับประคองตามอาการ
..รักษาอาการทางจิตเวชที่พบในผู้ใช้สารเสพติด เช่น


      อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล ให้ยาต้านซึมเศร้า เช่น Fluoxetine
      นอนไม่หลับ ให้ยานอนหลับ เช่น Benzodiazepine Trazodone
      หวาดระแวง หูแว่ว อาการโรคจิต ให้ยาต้านโรคจิต เช่น Haloperidol
      แมเนีย ให้ยาควบคุมอารมณ์ เช่น Lithium Valproate
      หงุดหงิด ก้าวร้าว ให้ยาระงับอาการ เช่น ยาต้านโรคจิต ยาควบคุมอารมณ์ ยานอนหลับ Propanolol


ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วยอยู่มาก ไม่ว่าจะเกิดจากฤทธิ์ของสารเสพติด หรือแนวโน้มที่จะเป็นโรคอยู่แล้ว โรคทางจิตเวชจะต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องและประเมินเป็นระยะๆ หากไม่ได้รับการรักษาสมรรถภาพของผู้ป่วยจะด้อยลงไปเรื่อยๆ และไม่สามรถหยุดเสพสารเสพติดได้




เบอร์โทรติดต่อ 053-268037-41
//www.drugcare.net










Free TextEditor



Create Date : 22 กันยายน 2554
Last Update : 22 กันยายน 2554 15:15:04 น.
Counter : 5946 Pageviews.

4 comment
กระบวนการบำบัดรักษายาเสพติด ขั้นเตรียมการก่อนการบำบัด (Pre-Admission)
ขั้นเตรียมการก่อนการบำบัด (Pre-Admission)
ประกอบด้วย
- การลงทะเบียนประวัติที่แผนกเวชระเบียน
- สัมภาษณ์ประวัติผู้ติดยา
- จูงใจให้เห็นความสำคัญและจำเป็นในการเข้าบำบัดรักษา
- แนะนำและชี้แจงวิธีการบำบัดรักษาทางการแพทย์
- แนะนำและชักชวนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัด
- ตรวจสุขภาพและประเมินสภาพจิตของผู้ติดยาเสพติด

ข้อมูลที่สำคัญในการซักประวัติผู้ติดยา
-- สารเสพติดที่เคยใช้ทุกชนิดและที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ปริมาณและความถี่
-- แบบแผนการใช้
-- อายุที่เริ่มใช้
-- เหตุจูงใจให้ใช้
-- อาการเมาสาร อาการถอน
-- ระยะเวลาการใช้สารครั้งสุดท้าย
-- ผลกระทบจากการใช้สารในทุกๆด้าน
-- ปัญหาทางกฎหมาย
-- ประวัติการบำบัดรักษาก่อนหน้า
-- เหตุปัจจัยที่ทำให้หยุดสารได้
-- ปัจจัยกระตุ้นให้กลับไปเสพซ้ำ
-- โรคร่วมและอาการทางจิตเวช เช่น ซีมเศร้า วิตกกังวล โรคจิต แมเนีย
-- โรคแทรกซ้อนทางกาย
-- ประวัติสมาชิกในครอบครัวใช้สารเสพติด
-- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
-- การเรียนหรือการทำงาน
-- กลุ่มเพื่อน
-- พฤติกรรมเสพติดอื่นๆ

ที่ศูนย์บำบัดฯมีแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางและทีมพยาบาลที่มีประสบการณ์ ทำให้สามารถค้นหาโรคทางจิตเวชที่ซ่อนอยู่ ซึ่งมักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยหยุดเสพไม่ได้ แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษา นอกจากจะหยุดเสพได้แล้ว ปัญหาด้านพฤติกรรมอารมณ์ก็จะเป็นปกติ สามารถใช้ชีวิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทางทีมรักษาจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาได้มากขึ้น ซึ่งจะรักษาเป็นแบบผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ป่วยด้วย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. ตรวจเลือด เพื่อดูภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ มีโรคประจำตัว ภาวะติดสุราเรื้อรังซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก
2. ตรวจปัสสาวะ เพือดูภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ประเมินการทำงานของไตเบื้องต้น และตรวจหาสารเสพติดบางตัว ซึ่งสามารถบอกได้ทั้งชนิดของสารและปริมาณสารที่ขับออกมาได้
3.ตรวจเอกซเรย์ปอด

เพราะโรคติดสารเสพติดก็นำไปสู่โรคทางกายได้หลายอย่าง ดังนั้น ที่ศูนย์บำบัดฯจึงมีการดูแลให้ครอบคลุมทุกด้าน

เบอร์โทรติดต่อ 053-268037-41
//www.drugcare.net



Create Date : 22 กันยายน 2554
Last Update : 22 กันยายน 2554 15:16:04 น.
Counter : 1755 Pageviews.

0 comment
กระบวนการบำบัดรักษายาเสพติด ที่ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่
รูปแบบการรักษากลุ่มผู้ติดสารเสพติด
1. แบบผู้ป่วยนอก คือ รับยากลับบ้าน
2. แบบผู้ป่วยใน คือ นอนโรงพยาบาล เข้าโปรแกรมตามที่กำหนด
โดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัก นักจิตวิทยา

ระบบการรักษาผู้ติดยาเสพติด
- ระบบสมัครใจ
- ระบบบังคับบำบัดรักษา: ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เป็นระยะเวลา 120 วัน
- ระบบต้องโทษ: ถูกคุมขังในเรือนจำ
ทางศูนย์บำบัดฯ รับดูแลผู้ติดสารเสพติดใน 2 ระบบแรก

ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
1. ขั้นเตรียมการก่อนการบำบัด (Pre-Admission)
2. ขั้นตอนการบำบัดด้วยยาหรือถอนพิษยา (Detoxification)
3. ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation)
4. ขั้นตอนติดตามผล (After-Care)

จะเห็นได้ว่าการรักษาโรคติดสารเสพติดไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องใช้หลายขั้นตอนและใช้ระยะเวลากว่าผู้ป่วยจะหยุดเสพสารได้ ดังนั้นต้องใช้ความตั้งใจและความอดทนของผู้ป่วยอย่างสูง รวมถึงกำลังใจและความอดทนของญาติด้วย และที่สำคัญการมาติดตามการรักษาต่อเนื่องเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยทำให้หยุดเสพได้สำเร็จ

รายละเอียดแต่ละขั้นตอนอยู่ในหัวข้อถัดไป

เบอร์โทรติดต่อ 053-268037-41
//www.drugcare.net




Create Date : 22 กันยายน 2554
Last Update : 22 กันยายน 2554 15:16:39 น.
Counter : 1727 Pageviews.

0 comment
แบบเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติก่อนเข้ารับการบำบัดรักษาแบบนอนโรงพยาบาล
แบบเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติก่อนเข้ารับการบำบัดรักษา ณ  ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่

 ข้าพเจ้า………………....………………….…………อายุ………..…ปี เสพติด……………….…………มีความประสงค์จะเข้ารับการบำบัดรักษา ณ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่ ในวันที่................................................ได้รับการเตรียมความพร้อมและข้อมูลเบื้องต้นก่อนเข้ารับการบำบัดรักษา ดังนี้

๑.การสัมภาษณ์ ซักประวัติเกี่ยวกับการเสพยาและสารเสพติด  การแพ้ยา โรคประจำตัวและประวัติการได้รับการบำบัดรักษาทั้งด้านร่างกาย จิตใจและการติดยาและสารเสพติด โดยข้าพเจ้าได้ให้ข้อมูลตามความเป็นจริง

๒.ระยะเวลาที่ต้องรับการบำบัดรักษา…………เดือน ขั้นตอนการบำบัดรักษาโดยในสัปดาห์แรกจะได้รับการบำบัดด้วยยา ณ ตึกถอนพิษยา หลังจากนั้น หากผ่านการประเมิน จะต้องย้ายไปรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ณ ตึกฟื้นฟูสมรรถภาพต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดการบำบัดรักษา

๓.ค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษา  ข้าพเจ้าได้ชำระเงินล่วงหน้าไว้ ตามที่ทำเครื่องหมาย X ในช่อง   (กรณีที่ผัดผ่อน ญาติของข้าพเจ้าจะนำมาชำระตามกำหนดการผัดผ่อน) ดังรายการต่อไปนี้

เดือนที่ ๑
 ค่ายาและเวชภัณฑ์             จำนวน ………..…..  บาท  (ศูนย์ฯจะคิดราคาตามที่ใช้จริงในวันที่จำหน่ายกลับบ้าน)
 ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ     จำนวน  ………..…..  บาท ประกอบด้วย
            ค่าตรวจอิเลคโตรไลท์             จำนวน         ๑๖๐     บาท
            ค่ากระตุ้นไฟฟ้า                   จำนวน         ๔๒๐     บาท
            ค่าตรวจทางรังสี ( X-ray )      จำนวน         ๑๕๐     บาท
 ค่าอบสมุนไพร                 จำนวน        ๑๕๐     บาท
 ค่าชุดของใช้ ( ชุดธรรมดา )  จำนวน        ๑๒๐     บาท
  ( สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ขันน้ำ แก้วน้ำ ช้อน ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดหน้า รองเท้าแตะ )
 ค่าชุดของใช้ ( ชุดพิเศษ )     จำนวน        ๒๒๐    บาท
  (สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ขันน้ำ แก้วน้ำ ช้อน ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดหน้า รองเท้าแตะ ลูกกลิ้ง )
 ค่าใช้จ่ายที่ญาติฝากไว้ให้ผู้ป่วยใช้ขณะบำบัดรักษา   จำนวน…………………………บาท( ครั้งแรก )

รวมจ่ายเงินทั้งสิ้น .................................................... บาท 
วดป. ...............................................

เดือนที่ ๒ ขึ้นไป
 ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ       จำนวน       ๒๔๐    บาท
 ค่ายาและเวชภัณฑ์              จ่ายตามที่ใช้จริง
 ค่าอบสมุนไพร                จำนวน ๑๕๐    บาท
หมายเหตุ :  ราคาค่ารักษาอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากที่ได้ชำระไว้ล่างหน้า ขึ้นอยู่กับรายการที่ใช้จริง

๔.การใช้จ่ายเงินที่ญาติฝากไว้ให้  ผู้ป่วยจะไม่ได้ถือเงินสด จะใช้จ่ายผ่านสมุดบัญชี  และผู้ป่วยจะต้องเซ็นชื่อกำกับในสมุดบัญชีเมื่อมีการใช้จ่าย  และไม่ อนุญาตให้นำสิ่งของมีค่าเข้าไปขณะบำบัดรักษา

๕.ผู้ป่วยจะต้องผ่านการตรวจค้นร่างกายอย่างละเอียด  ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าจากเจ้าหน้าที่  และเปลี่ยนเป็นชุดผู้ป่วยของศูนย์ฯ ก่อนเข้ารับการบำบัดรักษา

๖. ผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ  ขณะรับการบำบัดรักษา ณ ตึกนั้นๆ หากฝ่าฝืนหรือกระทำผิดจะได้รับการช่วยเหลือตามระดับความรุนแรงของพฤติกรรม เช่นการว่ากล่าวตักเตือน การงดรับโทรศัพท์จากญาติ  การงดญาติเยี่ยม การทำงานบำเพ็ญประโยชน์ โดยระยะเวลาการช่วยเหลือขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย (ซึ่งเป็นหลักการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยในขณะบำบัดรักษา)

๗.การติดต่อญาติ สามารถติดต่อได้โดย
๗.๑ ทางจดหมาย ผู้ป่วยสามารถเขียนจดหมายถึงญาติได้ โดยจะต้องผ่านการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ก่อน
๗.๒ ทางโทรศัพท์ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่รับฟังอยู่ด้วยขณะพูดคุยกับญาติ (ใช้โทรศัพท์แบบ Speak phone)

๘. ญาติจะต้องมีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา โดยอาจได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่เพื่อเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมขณะที่ผู้ป่วยอยู่รับการบำบัดรักษา

๙. การติดต่อผู้ป่วยสามารถติดต่อได้โดย
     ๙.๑ การส่งจดหมายหรือสิ่งของให้ผู้ป่วย  โดยจะต้องผ่านการตรวจค้นจากเจ้าหน้าที่ก่อน (ส่งถึงผู้ป่วยได้ตามที่อยู่ ของศูนย์ฯ ซึ่งอยู่ในบัตรเยี่ยมที่ให้ญาติไว้)
     ๙.๒ ทางโทรศัพท์ สามารถติดต่อได้ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยพักหรือไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่รับฟังอยู่ด้วยขณะพูดคุยกับผู้ป่วย โดยใช้โทรศัพท์แบบSpeak phone(หมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์ฯอยู่ในบัตรเยี่ยมที่ให้ญาติไว้ )

๑๐.การเยี่ยมผู้ป่วย สามารถเยี่ยมได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ส่วนระเบียบเกี่ยวกับการเยี่ยมอยู่ในบัตรเยี่ยมที่ให้ญาติไว้แล้ว สิ่งของที่นำมาเยี่ยมจะต้องผ่านการตรวจค้นจากเจ้าหน้าที่ก่อน

๑๑.หลังจากบำบัดรักษาจนครบตามกำหนดการแล้วผู้ป่วยจะต้องมาตรวจตามนัด จำนวน ๗ ครั้งเป็นระยะเวลา ๑ ปี 

      เพื่อติดตามผลการบำบัดรักษา ดังนี้
      ครั้งที่ ๑  เมื่อครบ   ๒   สัปดาห์      
      ครั้งที่ ๒  เมื่อครบ   ๑   เดือน
      ครั้งที่ ๓  เมื่อครบ   ๒   เดือน   
      ครั้งที่ ๔  เมื่อครบ   ๓   เดือน
      ครั้งที่ ๕  เมื่อครบ   ๖   เดือน    
      ครั้งที่ ๖  เมื่อครบ   ๙   เดือน
      ครั้งที่ ๗  เมื่อครบ   ๑   ปี 
( โดยแต่ละครั้งจะนับจากวันที่ผู้ป่วยกลับบ้าน )
หากผู้ป่วยไม่มาตามนัด จะมีเจ้าหน้าที่โทรศัพท์สอบถามหรือส่งจดหมายติดตามไปตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่

         ข้าพเจ้าและญาติได้รับทราบแล้วและยินดีปฏิบัติตามทุกประการ  จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน



             ลงชื่อ........................................................................ผู้ป่วย
                    (....................................................................)

             ลงชื่อ........................................................................ญาติ/ผู้นำส่งผู้ป่วย
                   (....................................................................)

             ลงชื่อ.........................................................................เจ้าหน้าที่ผู้ให้ข้อมูล
                    (....................................................................)





Free TextEditor



Create Date : 22 กันยายน 2554
Last Update : 22 กันยายน 2554 13:28:49 น.
Counter : 847 Pageviews.

0 comment
1  2  3  

Sim Lim
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]