คำที่เติมรักในครอบครัว
คำที่เติมรักในครอบครัว

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

อุษา ลิ่มซิ้ว/กรมสุขภาพจิต



เราเคยนึกย้อนสะท้อนไหมว่าบางครั้งเราลืมคำหลายคำที่เราพูดเอ่ยได้อย่างง่ายดายกับคนนอกที่เรารู้จักแต่กับคนใกล้ชิดในครอบครัวเรากลับลืมคำๆ นั้นเสียสนิท ซึ่งคำว่าขอบคุณ ขอโทษนั้นเป็นคำที่คนในครอบครัวก็อยากได้ยินเสมอและเป็นคำที่มีความหมายดี คนที่ได้ยินรู้สึกดีๆ ไปด้วย

การมองว่าคนในครอบครัวคือคนกันเองก็ลืมขอบคุณลืมขอโทษ เมื่อไม่กล่าวพูดนานๆ เข้าก็จะเป็นความเคอะเขินไม่กล้าพูด จนทำให้คนในครอบครัวเกิดการน้อยเนื้อต่ำใจได้ แต่ถ้าเราพูดบ่อยๆ ความเคยชินก็จะทำให้เราไม่เขินอายต่อการพูด การบอกกล่าว

คำขอบคุณหรือคำอื่นๆ มีความหมายที่ดี ลองนึกดีๆ ว่ามีคำใดบ้างที่เรามักเพิกเฉยไม่พูดกับคนในครอบครัว แต่เรากลับใช้คำนี้กับผู้อื่นได้และเป็นคำที่มีความหมายดีๆ คนที่ได้รับรู้สึกซาบซึ้ง หากเราได้ยินเราก็ยังรู้สึกดีๆ กับคำเหล่านั้น เราจึงควรใช้คำพูดนั้นกับคนในครอบครัวด้วย อย่ามองข้ามว่าเป็นกันเองจะมาซาบซึ้งอะไรกันอีก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะคนในครอบครัวควรอย่างยิ่งที่จะได้ยินคำพูดที่แสดงความห่วงใยใส่ใจต่อกันเพื่อการเติมความสุขทางจิตใจให้กันเสมอ ไม่ต้องเป็นการลงทุนให้ด้วยสิ่งของที่มีมูลค่ามากมายอย่างใดเลย แค่คำพูดก็มีค่ามหาศาลโดยเฉพาะคนในครอบครัว คำพูดดีๆ ที่มีความหมายลึกซึ้งเช่นนี้นี่แหละจะช่วยแต่งเติมให้ชีวิตรักมีสีสันตลอดไป แม้กาลเวลาแห่งการครองรักกันผ่านไปนานเพียงใด แต่คำพูดก็จะทำให้คนรับฟังรู้สึกว่ายังรักและเป็นคู่รักข้าวใหม่ปลามันเพราะมีคำหวานไว้ซาบซึ้งตรึงใจตลอดเวลา

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREEzTURZMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdOaTB3Tnc9PQ==



Create Date : 07 มิถุนายน 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:31:36 น.
Counter : 456 Pageviews.

0 comment
พัฒนาคุณค่าให้ลูกรัก
พัฒนาคุณค่าให้ลูกรัก

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



พ่อแม่ที่มีลูกในวัยรุ่นมักมีเรื่องกังวลใจมากมาย ยิ่งข่าวคราวในปัจจุบันเรามักเห็นว่าวัยรุ่นที่มีปัญหามักแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม

ส่วนหนึ่งเนื่องจากการขาดความรักความนับถือในคุณค่าของ ตนเอง ดังนั้นพ่อแม่จึงควรเสริมสร้างให้ลูกรู้จักคุณค่าในตนเองเพราะ การเห็นคุณค่าในตนเอง ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง รักตัวเอง สำหรับแนวทางการเลี้ยงลูกให้รู้คุณค่าของตนเองสามารถทำได้โดย

- เลี้ยงลูกด้วยความรักความเข้าใจ เพราะความรักความเข้าใจจากพ่อแม่ช่วยให้เกิดความผูกพันในครอบครัว เด็กที่เติบโตภายใต้ความรัก ความอบอุ่นและความเข้าใจ ย่อมรับรู้และสัมผัสได้ถึงคุณค่าของความรัก ซึ่งจะก่อให้เกิดความรักในตนเอง

- พ่อแม่ควรรู้ศักยภาพและความสามารถของลูก ว่าลูกมีความสามารถด้านไหน ชอบหรือถนัดอะไร เพื่อให้ลูกได้พัฒนาตนเองอย่างเหมาะสม

- ให้ลูกวางเป้าหมายของชีวิต โดยดูจากศักยภาพและความสามารถของตนเอง การกำหนดเป้าหมายในอนาคต จะช่วยให้เกิดพลังใจในการก้าวไปให้ถึงฝัน และควรสนับสนุนให้ลูกมีความมุมานะเพียรพยายามเพื่อเป็นพลังในการมุ่งสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

แนวทางเหล่านี้จะช่วยให้ลูกเห็นคุณค่าในตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เขารักตนเอง รู้จักคิด ไม่ทำร้ายตนเองและรู้จักการแก้ปัญหาในหนทางที่เหมาะสม

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREEyTURZMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdOaTB3Tmc9PQ==



Create Date : 06 มิถุนายน 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:31:29 น.
Counter : 469 Pageviews.

0 comment
เปิดเทอมใหญ่
เปิดเทอมใหญ่

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

อุษา ลิ่มซิ้ว/กรมสุขภาพจิต



พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนที่ต้องรับภาระดูแลลูกในช่วงปิดเทอม ก็เริ่มมีรอยยิ้มและโล่งอกขึ้นเมื่อโรงเรียนต่างเปิดเทอมใหญ่ ในครั้งนี้ซึ่งเป็นปีการศึกษาใหม่ที่คงอีกนานกว่าจะมีการปิดเทอมกัน อีกครั้ง

เด็กๆ ก็ต่างตื่นเต้นดีใจได้ไปโรงเรียนเจอเพื่อนๆ เสียทีเพราะหลายคนคงมีเรื่องจะอวดจะบอกเล่าพูดคุยให้เพื่อนฟังในสิ่งที่ตนเองได้ทำในช่วงปิดเทอม ส่วนคนที่เป็นนักเรียนใหม่หรือเด็กบางคนเริ่มเข้าโรง เรียนต่างก็ต้องปรับตัว แรกๆ พ่อแม่ก็อาจต้องรับภาระในการปลอบประโลมโน้มน้าวลูกน้อยให้ไปโรงเรียนกว่าจะเคยชินปรับตัวได้ก็อีกสักระยะหนึ่ง สำหรับเด็กบางคนก็อาศัยเวลาไม่นานก็ปรับตัวเข้าได้ง่าย แต่เด็กบางคนพ่อแม่ต้องอาศัยไม้ตายทางเทคนิคต่างๆ ให้ลูกไม่งอแง ยอมไปโรงเรียนให้ได้

เปิดเทอมแรกของปีการศึกษานี้จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบางครอบครัวที่มีลูกเล็กเริ่มไปโรงเรียน ไม่เพียงการรับภาระหาทางโน้มน้าวลูกเพื่อให้เด็กได้ปรับตัวในระยะเริ่มแรกแต่พ่อแม่เองก็คงต้องจัดสรรเวลาในการดูแลรับ-ส่งลูก การจัดสรรเวลาทำงานของตนเอง ซึ่งต้องมีการเตรียมพร้อมกันตั้งแต่เริ่มต้นและกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยทั้งตัวพ่อแม่เองที่ต้องปรับบทบาทและลูกน้อยที่ปรับตัวก็คงอีกสักพัก ช่วงเปิดเทอมแรกๆ อาจรู้สึกว่าวุ่นวาย ยังไม่ลงตัวสักเท่าไรแต่เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างก็จะสู่ภาวะปกติ พ่อแม่ก็มีบทบาทหน้าที่ของตนเอง ส่วนลูกๆ ก็จะปรับตัวได้และมีความสุขกับการไปโรงเรียนต่อไปเปิดเทอมใหญ่ทีไรก็ตื่นเต้นดีใจที่จะได้เจอเพื่อนๆ เสียที

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREk1TURVMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdOUzB5T1E9PQ==



Create Date : 29 พฤษภาคม 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:31:22 น.
Counter : 855 Pageviews.

0 comment
เด็กสวมแว่นตาดูฉลาด
เด็กสวมแว่นตาดูฉลาด




"ไม่ใส่ ไม่เอา" เด็กหลายคนไม่อยากสวมแว่นตาเป็นครั้งแรก เพราะมีความคิดว่าสวมแล้วจะทำให้หน้าตาน่าเกลียด แต่พ่อแม่สามารถปะเหลาะลูกๆ ให้ยอมสวมแว่นได้ ด้วยการให้เหตุผลว่า "สวมแว่นแล้วจะทำให้ดูเป็นคนฉลาดเฉลียวนะ"

สิ่งที่คุณบอกกับลูกนี้ไม่ใช่เป็นการโกหก เพราะจากการศึกษาของนายเจฟฟรีย์ วอลลีน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สเตต ในการสำรวจความคิดเห็นของเด็กหญิง 42 คน เด็กชาย 38 คน อายุระหว่าง 6-10 ขวบ ที่ดูภาพเด็กสวมและไม่สวมแว่นตาจำนวน 48 ภาพ โดยเป็นเด็กทุกช่วงอายุและหลายเชื้อชาติ เมื่อดูเสร็จแล้วให้ตอบคำถามว่า "เด็กคนไหนน่าเล่นด้วย" "เด็กคนไหนดูฉลาดกว่าคนไหน" "ใครหน้าตาดีกว่ากัน" "ใครดูขี้อายกว่ากัน" "ใครดูซื่อสัตย์จริงใจกว่ากัน" "เด็กที่สวมแว่นตาขณะเล่นกีฬากับเด็กที่ไม่ได้สวมแว่นตาขณะเล่นกีฬาอย่างไหนดูดีกว่ากัน" พบว่า 2 ใน 3 ของเด็กมีความเห็นว่า เด็กที่สวมแว่นดูแล้วฉลาดขึ้น 57% เห็นว่า เด็กที่สวมแว่นดูเป็นคนที่ซื่อสัตย์จริงใจ

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdOREkyTURVMU1RPT0=§ionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBd09DMHdOUzB5Tmc9PQ==



Create Date : 26 พฤษภาคม 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:31:12 น.
Counter : 472 Pageviews.

0 comment
ความพร้อมในการพูดคุย
ความพร้อมในการพูดคุย

สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



พ่อแม่หลายคนคงเคยประสบปัญหาทะเลาะกับลูก พูดจากันไม่ค่อยเข้าใจ ลูกเกิดอาการต่อต้านไม่ยอมรับฟังพ่อแม่ อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการพูดจาสื่อสารกันในสภาพอารมณ์ที่ไม่พร้อม หรือสื่อสารในภาวะที่อีกฝ่ายกำลังอารมณ์ไม่ดีนั่นเอง

การสื่อสารพูดคุยกันในขณะที่ไม่พร้อมหรือมีอารมณ์ไม่ดี เป็นสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อความขัดแย้ง และก่อให้เกิดอารมณ์ที่รุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นแนวทางในการสื่อสารกับลูกในขณะที่ลูกอารมณ์ไม่ดีพ่อแม่ควรที่จะ

- พ่อแม่ต้องควบคุมอารมณ์ของตนเองก่อน พยายามทำใจเย็น ไม่ตอบโต้ หรือพยายามเซ้าซี้พูดคุยในขณะที่พ่อแม่เองก็กำลังอารมณ์ไม่ดี เพราะยิ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งและส่งผลให้ลูกต่อต้านมากขึ้น

- พ่อแม่ควรเป็นผู้ฟังที่ดี ให้โอกาสลูกได้พูดถึงความรู้สึก และความคิดของเขา ด้วยท่าทีพร้อมที่จะรับฟัง นอกจากนี้พ่อแม่อาจเปิดประเด็นให้ลูกได้พูดถึงความรู้สึกของเขาในขณะนั้น ด้วยอารมณ์ที่สงบเปิดใจรับฟังไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือตำหนิในสิ่งที่ลูกพูด แต่ใช้วิธีการสื่อสารให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่เข้าใจลูก

- แต่หากดูท่าทีว่าลูกยังไม่เลิกหงุดหงิด หรืออารมณ์เสีย ควรปล่อยให้ลูกสงบสติอารมณ์คนเดียวเงียบๆ สักพักหนึ่ง เมื่อเห็นว่าเริ่มผ่อนคลาย จึงค่อยพูดคุยกันใหม่

การสื่อสารกันในขณะที่ไม่พร้อมมักเป็นชนวนแห่งความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ การต่อต้านไม่ยอมรับฟังกันระหว่างพ่อแม่กับลูก ดังนั้น ควรใช้ความสงบในการจัดการกับปัญหาให้เวลาลูกได้ปรับอารมณ์ให้มีความพร้อม เพื่อให้สามารถพูดคุยกันด้วยความเข้าใจ

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNakkyTURVMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdOUzB5Tmc9PQ==



Create Date : 26 พฤษภาคม 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:31:04 น.
Counter : 495 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend