ปมปัญหาจากพ่อแม่
ปมปัญหาจากพ่อแม่

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์ - กรมสุขภาพจิต



การ เลี้ยงลูกสักคนให้เติบโตขึ้นมามิใช่แค่กินอิ่มนอนหลับหรือมีร่างกายที่เติบ ใหญ่เท่านั้น แต่การเลี้ยงดูให้เติบโตอย่างมีคุณภาพนั้น ลูกต้องมีความเข้มแข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจ

พ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยง ดูลูก ให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี เพื่อให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคม แต่ในบางครั้งพ่อแม่อาจเป็นผู้สร้างปัญหาสุขภาพจิตให้กับลูกได้โดยไม่ได้ ตั้งใจ เช่น ทอดทิ้งให้ลูกอยู่ตามลำพัง ลงโทษลูกอย่างรุนแรง หรือแม้แต่การทะเลาะกันเองของพ่อแม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างปมปัญหาให้เกิดขึ้นในจิตใจของลูกได้ทั้งสิ้น

- การที่ลูกถูกทอดทิ้งไม่สนใจใส่ใจดูแล จะทำให้ลูกรู้สึกขาดความปลอดภัย จิตใจไม่มั่นคง ขาดโอกาสในการสร้างความผูกพันกับพ่อแม่และจะเป็นเหตุฝังใจลูกไปจนโต

- การลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรงจะทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รัก และซึมซับการใช้ความรุนแรงโดยไม่คำนึงถึงถูกผิด จงจำไว้ว่าการตีลูกส่วนมากไม่ให้ประโยชน์อะไรนอกจากอันตรายและความเจ็บตัว ที่ลูกจะได้รับ

- การตำหนิหรือการดุด่าว่ากล่าวลูกอย่างรุนแรงซ้ำๆ เช่น ด่าว่าลูกโง่ ไม่ฉลาด สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลร้ายทางจิตใจสำหรับเด็ก ลูกจะเกิดความรู้สึกไม่ดีต่อตนเอง และเชื่อว่าตัวเองเป็นเช่นนั้นจริงๆ จึงไม่คิดที่จะปรับปรุงตัวและหลีกหนีจากสังคม

ความรุนแรงที่เกิดกับ ลูกแม้จะเกิดจากความไม่ตั้งใจของพ่อแม่ แต่อาจทำให้ลูกกลายเป็นคนขาดความมั่นใจ รู้สึกมีปมด้อย คิดว่าตนเองเป็นคนไม่ดี ไม่เป็นที่ยอมรับ ไม่มีคุณค่า ทำให้เกิดความเครียดและความกังวลขึ้นในจิตใจและอาจก่อให้เกิดปัญหารุนแรง ขึ้นได้

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREkwTURRMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB5TkE9PQ==



Create Date : 24 เมษายน 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:50:05 น.
Counter : 559 Pageviews.

0 comment
ปฏิเสธลูกอย่างไรดี
ปฏิเสธลูกอย่างไรดี

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



พ่อแม่หลายคนอาจมีปัญหาหนักใจเวลาลูกมาขออนุญาตในสิ่งที่พ่อแม่ไม่มั่นใจ หรือเป็นห่วงในความปลอดภัยของลูกว่าจะปฏิเสธอย่างไรจึงจะไม่ก่อให้เกิดความ ขัดแย้งหรือมีปัญหากับลูกวัยต่อต้าน

การที่พ่อแม่จะปฏิเสธคำขอของลูกอย่างนุ่มนวลและลดความขัดแย้งได้นั้น พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการปฏิเสธตรงๆ ด้วยคำว่า "ไม่" ซึ่งดูเหมือนใช้อำนาจบังคับให้ลูกทำ ซึ่งจะทำให้ลูกต่อต้านและไม่พอใจ แต่พ่อแม่ควรใช้คำพูดที่ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุผล เช่นหากลูกขอไปเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนพ่อแม่อาจขอคิดดูก่อนว่า สถานที่ไปปลอดภัยไหม" หรือ หากจะปฏิเสธ ก็ไม่ควรใช้คำพูดที่ดูเหมือนไม่ไว้ใจลูกแต่ควรใช้คำพูดที่นุ่มนวลแสดงความ ห่วงใย เช่น ไม่ใช่ว่าพ่อแม่ไม่เชื่อมั่นในตัวลูก แต่พ่อแม่ไม่ไว้ใจในสถานการณ์ที่ลูกจะไปเจอ พร้อมทั้งอาจพูดคุยถึงสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นพร้อมทั้งให้ลูกคิดหาทางออก ของปัญหาด้วยตัวเขาเอง เป็นต้น

การปฏิเสธลูกวัยต่อต้านนั้นพ่อแม่ไม่ควรบังคับแต่ควรให้คำแนะนำพูดคุยให้ลูกได้คิดได้เข้าใจถึงการปฏิเสธของพ่อแม่ด้วยตัวเขาเอง

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREl6TURRMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB5TXc9PQ==



Create Date : 23 เมษายน 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:49:56 น.
Counter : 528 Pageviews.

0 comment
สัมผัสโลกของวัยรุ่น
สัมผัสโลกของวัยรุ่น

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



พ่อ แม่ที่มีลูกวัยรุ่นหลายคนอาจมีปัญหาว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าใจความคิด และการกระทำของลูกในวัยรุ่นเพื่อจะได้เข้ากับลูกได้ดี และลดความขัดแย้งของพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น

การที่พ่อแม่จะเข้าไปในโลกของวัยรุ่นได้นั้น พ่อแม่ควรลองสัมผัสโลกของลูกวัยรุ่น โดยลองร่วมทำกิจกรรมกับลูก เช่นฟังเพลงหรือดูคอนเสิร์ตแบบที่ลูกชอบ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่ลูกโปรด เข้าไปท่องเว็บไซต์ที่ลูกดู

เพราะหากพ่อแม่เข้าใจและสามารถพูดคุยในเรื่องเดียวกับลูกได้ ก็จะทำให้ลูกอยากพูดคุยและใกล้ชิดกับพ่อแม่มากขึ้น นั้นเพราะพ่อแม่ได้สัมผัสเรียนรู้และเข้าใจในสังคมที่ลูกอยู่ และลูกวัยรุ่นก็รู้สึกว่าเหมือนมีพ่อแม่เป็นเพื่อนที่เข้าใจโลกของเขา พ่อแม่และลูกจึงมีความเข้าใจและลดความขัดแย้งลงได้เป็นอย่างดี

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREl5TURRMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB5TWc9PQ==



Create Date : 22 เมษายน 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:49:48 น.
Counter : 412 Pageviews.

0 comment
ลูกไม่ทำการบ้าน
ลูกไม่ทำการบ้าน

เก็บเรื่องมาเล่า

ชนา ชลาศัย




คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่มีลูกวัยอนุบาล คงจะเคยพบปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน จะทำอย่างไรดี?

ดร.อุไรรัตน์ สำเริงวงศ์ อาจารย์พิเศษคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และครูใหญ่ โรงเรียนอนุบาลปาลินา ให้คำแนะนำดังนี้ในนิตยสาร "Kids and School" ว่า สิ่งแรกที่ต้องทำคือหาสาเหตุที่ลูกไม่ยอมทำการบ้าน อาจจะเป็นเพราะเนื้อหายากเกินวัย ลูกอยากทำกิจกรรมอื่น หรือถูกสมาชิกในบ้านรบกวน

เทคนิคที่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกทำการบ้านหรือทบทวนหนังสือมีดังนี้

-จัดสถานที่สำหรับทำการบ้านในที่เงียบ ไม่มีเสียงรบกวน เพราะเด็กเล็กเป็นวัยที่ไวต่อสิ่งเร้า ดังนั้น การจัดให้ลูกทำการบ้านในห้องนั่งเล่นที่มีโทรทัศน์เปิดอยู่อาจไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่อาจจัดที่ทำการบ้านเป็นมุมเล็กๆ ให้ โดยอาจจัดใกล้มุมอ่านหนังสือของคุณพ่อคุณแม่

-จัดเวลาที่เหมาะสมในการทำการบ้าน การให้ลูกทำการบ้านทันทีเมื่อกลับถึงบ้านอาจเพิ่มความเครียดให้กับลูก เพราะลูกทำกิจกรรมมาทั้งวัน จึงต้องการเวลาในการผ่อนคลาย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกได้เลือกทำกิจกรรมที่ลูกต้องการเสียก่อนแล้วจึงกำหนด เวลาให้ทำการบ้าน

-ทำข้อตกลงกับลูกเกี่ยวกับการทำการบ้าน เช่น ลูกจะได้ดูโทรทัศน์ เล่มเกม หรืออ่านหนังสือที่ลูกชอบเมื่อลูกทำการบ้านเสร็จ เป็นต้น และเมื่อลูกทำการบ้านเสร็จคุณพ่อคุณแม่ควรกล่าวชม และชี้ให้ลูกเห็นว่าลูกมีความรับผิดชอบซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและน่าชื่นชม

-คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่เคียงข้างลูกในขณะที่ลูกทำการบ้าน ทั้งนี้ เพื่อช่วยชี้แนะแนวทางในการทำการบ้านให้ลูก หรือหากลูกทำการบ้านได้เองคุณพ่อคุณแม่ก็ควรเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องร่วม กันกับลูก ถึงแม้ว่าจะเป็นการช่วยเหลือให้เด็กทำการบ้านเสร็จเร็ว แต่การทำเช่นนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของลูกในอนาคต

นอกจากเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้น ควรหาโอกาสพูดคุยกับครูประจำชั้นของลูก เพื่อสอบถามหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของลูก ให้มั่นใจว่าการบ้านที่ลูกได้รับมาเหมาะสมกับวัยของลูกทั้งในแง่ของเนื้อหา และปริมาณแล้ว

คำแนะนำนี้คงจะทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่สบายใจขึ้นเยอะ

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hOekl4TURRMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB5TVE9PQ==



Create Date : 21 เมษายน 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:49:41 น.
Counter : 661 Pageviews.

2 comment
ช่วยลูกวัยเริ่มเรียน
ช่วยลูกวัยเริ่มเรียน

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



พ่อ แม่ที่มีลูกกำลังจะเข้าเรียนเป็นครั้งแรก หรือเริ่มเข้าอนุบาลหลายคนคงกังวลว่าลูกจะร้องงอแงไม่ยอมไปโรงเรียน ยิ่งในเด็กที่เลี้ยงอยู่กับบ้านมาตลอด มักมีพฤติกรรมร้องไห้งอแงไม่ยอมไปโรงเรียน เนื่องจากมีความกลัวที่จะต้องแยกจากแม่

การช่วยให้ลูกสบายใจ ลดความกลัว และอาการร้องไห้งอ แงเมื่อต้องไปโรงเรียน พ่อแม่สามารถทำได้โดย

- เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม คุณแม่ต้องเตรียมใจให้มั่นคงไม่หวั่นไหวไปกับอาการของลูก เพราะหากคุณแม่หวั่นไหวยิ่งทำให้ลูกกังวลและร้องงอแงมากขึ้น พยายามให้ลูกไปโรงเรียนทุกวัน ให้ความมั่นใจปลอบโยนลูกว่าแม่ไม่ได้ทอดทิ้ง ที่สำคัญเมื่อเลิกเรียนคุณแม่ต้องมารับเขาให้ตรงเวลา

- ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง หัดให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเอง หรือทำอะไรตามลำพัง สนับสนุนให้ลูกทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น โดยการฝึกต้องจูงใจให้ลูกทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เขามีความเชื่อมั่นว่าเขาสามารถช่วยตัวเองได้ เมื่อเขาต้องไปอยู่กับคนอื่นที่ไม่คุ้นเคย

พฤติกรรมกลัวหรือกังวล เมื่อต้องแยกหรือห่างจากแม่ มักพบเกิดกับเด็กช่วงอนุบาลที่เริ่มไปโรงเรียนเป็นครั้งแรก คุณแม่ต้องมีจิตใจที่มั่นคง สร้างความเชื่อมั่น ให้กำลังใจลูก เพื่อให้ลูกสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเขาเอง

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREUyTURRMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB4Tmc9PQ==



Create Date : 16 เมษายน 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:49:33 น.
Counter : 462 Pageviews.

2 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend