ทำไมหนังสือ ราคาแพง

ช่วง นี้เห็นมีประเด็นเรื่องราคาหนังสือแพง ยกเลิกภาษีและเรื่องค่าลิขสิทธิ์ต่างๆมากมาย และบางคนอาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนในหลายๆเรื่อง
ผมในฐานะเรียนสื่อสิ่ง พิมพ์และได้ทำงานในวงการงานเขียนมาระยะหนึ่ง จึงจะขอนำเสนอว่า ในวงการสิ่งตีพิมพ์ คิดราคาหนังสือที่ติดไว้บนปกอย่างไร
ทำไมถึงแพงกัน นัก แล้วทำไมหนังสือบางเล่มทั้งหนา ทั้งสี่สี(โดยเฉพาะหนังสือคอมพิวเตอร์) ถึงตั้งราคาขายได้ถูกเหลือเกินถ้าเทียบกับคุณภาพ ครับ

ราคาหนังสือ นั้น สามารถแยกปัจจัยหลักได้ 5 อย่าง ได้แก่

A. ต้นทุนการผลิต

ส่วนนี้คือต้น ทุนแปรผันต่อเล่มที่ใช้ในการพิมพ์ ซึ่งก็คือค่าพิมพ์จากโรงพิมพ์(สนพ.ส่วนใหญ่ไม่มีโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง)
ต้น ทุนส่วนนี้มาจากค่ากระดาษพิมพ์ หมึกพิมพ์ เพลต จะมากน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพการพิมพ์ว่าจะสอดสีกี่สี มีปกอาบมัน เคลือบพลาสติก(มีหลายเกรด)
ใช้กระดาษอะไร ขนาดไหนและที่สำคัญคือยอดพิมพ์มากหรือน้อย เพราะถ้ายอดพิมพ์สูงจะสามารถเฉลี่ยค่าทำเพลตพิมพ์ออฟเซ็ตซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย คงที่ต่อครั้งได้มาก
และถ้าได้พิมพ์ครั้งที่สองขึ้นไป สามารถใช้เพลตเดิมพิมพ์ได้ถ้าไม่มีการแก้ไขก็จะลดต้นทุนส่วนนี้ได้สูง ต้นทุนการผลิตนี้เองที่จะเป็นตัวแปรหลักของการตั้งราคาปกหนังสือ
และ เมื่อเราทราบต้นทุนการพิมพ์แล้วก็จะตกใจว่า หนังสือแพงๆนี้มีต้นทุนน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับราคาขายจริงที่อยู่หน้าปก

B. ค่าดำเนินการของสำนักพิมพ์

ส่วน นี้เป็นต้นทุนคงที่ต่อเดือนที่สำนักพิมพ์ต้องจ่าย ได้แก่ เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าสำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน ค่าไฟ ค่าน้ำ ฯลฯ
อาจจะรวมต้นทุนแปร ผัน เช่น ค่าจ้างพนักงานอิสระ(ฟรีแลนซ์)พิสูจน์อักษรหรือบรรณาธิกรณ์ และรวมไปถึงกำไรที่คาดหวังไว้ของนายทุนเจ้าของสำนักพิมพ์

C. ส่วนลดร้านหนังสือ

การขาย หนังสือตามร้านค้าปลีก สำนักพิมพ์ต้องเผื่อส่วนลดสำหรับร้านค้าปลีกตั้งแต่ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว สี่ปั๊ว ฯลฯ ไว้ด้วย
ส่วนใหญ่จะกันส่วนนี้ไว้ 20-30% จากราคาปก เราจึงเห็นว่าร้านหนังสือขายส่งใหญ่ๆ
หรือร้านหนังสือปลีกตามหัวเมือง สามารถลดราคาหนังสือได้มากจนน่าตกใจ เพราะพวกเขาเป็นต้นทางของการส่งหนังสือนั่นเอง

D. ต้นทุนสายส่ง

ส่วนนี้คือ ปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาหนังสือแพงขึ้นมากในปัจจุบัน เพราะหนังสือทุกเล่มที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์ออกไปสู่สายตาประชาชนและเราเลือก ซื้อได้ตามแผง
ต้องผ่านการขนส่งโดยสายส่งกระจายไปตามร้านค้าและแผง หนังสือต่างๆ หนังสือไม่ได้ลอยจากแท่นพิมพ์เข้ามาอยู่ในมือของเราทันทีที่พิมพ์เสร็จเสีย เมื่อไร
และสายส่งเป็นส่วนที่สามารถทำให้หนังสือดังหรือดับได้ง่ายๆ เพียงแค่การกระจายหนังสือให้ทั่วถึงหรือไม่ ปัจจุบันค่าสายส่งอยู่ที่ 40%-50% ของราคาปก!!!!
หมายความว่าครึ่งหนึ่งของราคาหนังสือเต็มที่เรา ซื้อ จะกลายไปเป็นค่าน้ำมันและกำไรรถขนส่งของสายส่งสิ่งพิมพ์ต่างๆเลยทีเดียว สายส่งมาตรฐานใหญ่ๆ
เช่น นายอินทร์ ซีเอ็ด คิดค่าสายส่งที่ 45% สำหรับสำนักพิมพ์ธรรมดา และอาจลดลงเหลือ 40% ให้แก่สำนักพิมพ์ใหญ่ๆที่ค้าขายกันมานาน
แต่สายส่งร้านหนังสือประเภทนี้ มักจะจำกัดชนิดและสภาพหนังสือ เช่น ไม่รับหนังสือที่สุ่มเสี่ยงต่อศีลธรรม มีภาพลามกอนาจาร หรือหนังสือจำนวนน้อย
ส่วนสายส่งที่กระจายหนังสือได้ กว้างไกลและไม่ติดเงื่อนไขอย่างสายส่งหนังสือ พิมพ์ไทยรัฐและเดลินิวส์ จะคิดค่าสายส่งแพงกว่าที่ 50% ยิ่งราคาน้ำมันแพงขึ้นเท่าไร
แนวโน้มค่า สายส่งยิ่งทะยานสูงขึ้นไปตามเท่านั้น อีกทั้งการขายผ่านสายส่งยังต้องรอเงินเครดิตจนกว่าจะเก็บขายได้ราว 3-6 เดือนอีกด้วย

E. ค่าลิขสิทธิ์ของนักเขียน/นักแปล

เป็นต้นทุนเริ่มต้นก่อนจะมี หนังสือออกมาได้ ต้นทุนส่วนนี้มักจะคิดเป็นร้อยละของราคาปกคูณด้วยยอดพิมพ์หรือยอดจำหน่าย แล้วแต่สัญญาจะตกลงไว้
โดยมาตรฐานค่าลิขสิทธิ์นักเขียนจะเริ่มต้น ตั้งแต่ 7%-15% ของราคาปก ซึ่งนักเขียนหน้าใหม่เริ่มต้นนั้นจะได้น้อยก่อน นักเขียนทั่วไปได้อยู่ที่ 10% เป็นมาตรฐาน
ส่วนนักเขียนรุ่นเก๋าติดตลาด ทำละครมามากมาย อย่าง ทมยันตี, แก้วเก้า, ประภัสสร เสวิกุล ฯลฯ นั้น นอกจากค่าลิขสิทธิ์ 15% ของราคาปกคูณยอดพิมพ์แล้ว
ยังจะมีเงินเพิ่มพิเศษ เฉพาะเรื่องหรือพรีเมียมให้ก่อนพิมพ์อีกด้วย ค่าลิขสิทธิ์ส่วนนี้อาจจะรวมค่ารูปประกอบในกรณีที่จ้างทำพิเศษนอกกอง บรรณาธิการ
ค่าจ้างแปลในกรณีหนังสือแปล โดยมากรวมๆกันแล้วสำนักพิมพ์จะควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ให้สูงเกินไปนัก ก่อนนำมาคำนวณ

ต่อไปเป็นส่วนของ การคิดคำนวณราคาหนังสือ

ต้นทุนการผลิตหนังสือเล่มหนึ่งขนาด พ็อคเก็ตบุ๊ค(A5) หนาประมาณ 150 หน้า พิมพ์กรีนรีดปกอาบมัน จำนวน 3,000 เล่ม
ราคาต่อรองกันแล้วโรงพิมพ์พิมพ์ได้ที่เล่มละ 18 บาท

ส่วนลด ร้านหนังสือ 30%
ค่าสายส่ง 40%
ค่าลิขสิทธิ์นักเขียน 10%

ให้ ราคาปกหนังสือที่จะเท่าทุนพอดีเมื่อขายหนังสือหมดเป็น X บาท
จะคิดได้ เป็น

x = 18 + 30x/100 + 40x/100 + 10x/100
x = 18 + 80x/100
x - 80x/100 = 18
20x/100 = 18
x = 90

(หากท่านอยู่เกินชั้น มัธยมต้นแล้วยังไม่เข้าใจ กรุณาปรึกษาอาจารย์คณิตศาสตร์ใกล้บ้านด่วน)

ดัง นั้นราคาปกที่ถ้าขายหมดแล้วเท่าทุน คือเล่มละ 90 บาท แต่มันไม่เป็นเช่นนั้น เพราะสำนักพิมพ์ต้องเผื่อกำไรและเผื่อกรณีขายหนังสือได้ไม่หมดด้วย
ไม่ มีหนังสือเรื่องไหนพิมพ์ออกมาโดยหวังว่าจะขายหมดเกลี้ยงทันทีที่พิมพ์แม้ แต่แฮร์รี่พ็อตเตอร์เอง และสำนักพิมพ์ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงส่วนนี้ไว้
รวม ถึงการต้องกันหนังสือบางส่วนไว้สำหรับอภินันทนาการนักเขียน ส่งไปยังสื่อมวลชนเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วย

สำนักพิมพ์ต่างๆจึง มักตั้งราคาส่วนเพิ่มไว้เผื่อการตีกลับขายไม่หมด กำหนดจุดคุ้มทุนไว้ที่ครึ่งหนึ่งของยอดพิมพ์
ดังนั้น หนังสือราคาต้นทุนผลิต 18 บาท ราคาขายหมดแล้วเท่าทุน 90 บาท จึงจะมีราคาปกที่แท้จริงที่ 180 บาท! ก็สิบเท่าของราคาทุนจากโรงพิมพ์พอดี

ถ้า จับพลัดจับผลูสำนักพิมพ์โชคดี หนังสือเกิดฮิตขึ้นมา ขายหมดเกลี้ยง สำนักพิมพ์ก็จะได้เงินทั้งหมดเป็นกำไรไปหมุนเวียนพิมพ์หนังสือเล่มต่อไป อย่างสบายใจ
ยิ่งถ้าได้พิมพ์ครั้งที่สอง ค่าเพลตก็จะลดลงเพราะใช้ของเดิมได้ กำไรก็จะเพิ่มขึ้นมาก แต่หนังสือมากกว่า 80% ที่ขายกันอยู่ตามแผงไม่เคยขายได้หมดถึงขั้นต้องพิมพ์ซ้ำหรอก
ส่วนมา ก็ต้องถูกตีกลับไปยังสำนักพิมพ์ให้หน้าเหี่ยวแห้งหัวโตกันทั้งนั้น สุดท้ายก็จะหลุดมาลงกระบะเลหลัง หรือร้านหนังสือเก่าตามระเบียบ
เพื่อดึง เอาทุนคืนสักส่วนหนึ่งก็ยังดี ดังนั้นร้านหนังสือเก่าๆหรือกระบะเลหลังจึงมีหนังสือราคาถูกจนไม่น่าเชื่อ วางขายได้นั่นเอง

ส่วนการซื้อที่สำนักพิมพ์หรืองานหนังสือ สำนักพิมพ์ก็จะให้ส่วนลดเพิ่มครับโดยหักจากค่าส่วนลดร้านปลีกกับค่าสายส่ง นี่เอง
งานหนังสือสมัยก่อนถึงได้ลดกระหน่ำกัน 40-70% แต่หลังๆมาสนพ.ถูกสายส่งและร้านค้าปลีกประท้วง
เลยลดราคาน้อยลง สนพ.ก็กินส่วนต่างฟรีๆ ถ้าเราซื้อตรงกับสนพ. ยกเว้นเวลาเลหลังที่เราจะได้ราคาถูกมากๆ

สนพ.ถึงอยากให้เราสมัคร สมาชิก, ซื้อตรงผ่านเว็บ, ซื้อตามงานหนังสือไงครับ
เพราะได้เงินสดทันที มาหมุน โดยไม่ต้องรอเครดิตสายส่ง และได้กำไรเต็มๆด้วย

หนังสือที่ ว่าๆแพงนั้น กลไกการตั้งราคาจริงๆก็มีคร่าวๆดังนี้ล่ะครับ ส่วนเรื่องกลเม็ดราคาลึกลับซับซ้อน
สงสัยตรงไหนก็ถามๆมาได้ ถ้าผมพอจะไขข้อสงสัยได้ก็จะตอบให้ครับ

ขอบคุณ อ. แก้วกาญจน์ จูเจริญ คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สอนเรื่องนี้
พี่ๆในกอง บรรณาธิการสนพ. อมรินทร์, แพรวสำนักพิมพ์, นานมีบุ๊คส์, ออนอาร์ทครีเอชั่น ในภาคปฏิบัติจริง.
คุณสุวดี และคุณคิม จงสถิตวัฒนา แห่งนานมีบุ๊คส์
คุณ ประภัสสร เสวิกุล, อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในส่วนของนักเขียน

ที่มา //terasphere.exteen.com/



Create Date : 20 มิถุนายน 2553
Last Update : 20 มิถุนายน 2553 15:01:44 น.
Counter : 1611 Pageviews.

1 comments
  
จะว่าไปกระบวนการคิดต้นทุนเหมือนจะมีปัญหาใหญ่อยู่ที่ระบบการขนส่ง กระจายไปตามพท.ต่างๆใช่ไหมคะ

ปัญหาหนังสือแพงก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง((รึเปล่า?))
โดย: -Ki- วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:19:02:14 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend