Group Blog
 
All Blogs
 

Romantic Science Series: Every thing that concerns you concerns me.


หัวข้อของบทความนี้ คือ ประโยคสำคัญประโยคหนึ่ง ที่ปรากฏในจดหมายของ เอมม่า ดาร์วิน ที่สะท้อนให้เห็นการรับรู้ ร่วมทุกข์ร่วมสุข ของเธอ ที่มีต่อชายผู้เป็นที่รัก-- นักธรรมชาติวิทยา ที่ชื่อ ชาร์ลส์ ดาร์วิน


เอมม่า ดาร์วิน เป็นผู้หญิงที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน อย่างมาก เธอเป็นแม่ของลูก สิบคน เป็นภรรยาที่อยู่เคียงข้างสามี จนถึงวันตายของเขา และเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณ ในวันเวลาที่ชายผู้หนึ่งต้องการมันอย่างที่สุด ไม่ว่าจะเป็นตอนที่ ทั้งสองสูญเสียบุตรสาว จากวัณโรค หรือ ในยามที่ชาร์ลส์ ดาร์วินต้องสูญเสียผู้เป็นพ่อ ผู้หญิงคนนี้คือ ผู้ที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน มอบจิตวิญญาณให้   มากยิ่งกว่าการโหยหาการปลอบประโลมใจจากพระเจ้า..

ในบันทึกหลาย ๆ ฉบับ ชาร์ลส์ ดาร์วินได้พัฒนา ความไม่ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าตามลำดับเวลา โดยเขาได้ตั้งข้อสงสัยในการมีอยู่จริงของพระองค์ ซึ่งเขาเรียกตัวเองว่า Agnostic หรือ ผู้ที่เชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของพระเจ้า

ความเชื่อนี้เป็นสิ่งที่บิดาของชาร์ลส์ ดาร์วิน -- ดอกเตอร์ โรเบิร์ต ดาร์วิน ผู้เป็นบิดา เคยเตือนเขาไว้ว่า อย่าให้สิ่งนี้กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างเขากับภรรยา

เอมม่า ดาร์วิน ในวัยสาว (ภาพ จาก //darwin-online.org.uk )

เอมม่า ดาร์วิน ก็เหมือนกับคนทั่วไปในยุคนั้น มีความศรัทธาด้านศาสนาอย่างเต็มเปี่ยม เป็นศาสนิกชนที่ดี และเชื่อมั่นในพระเจ้า ซึ่งแน่นอนว่า มันเป็นปมขัดแย้ง ระหว่างเธอ กับชาร์ลส์ ดาร์วิน

หลายคนสงสัยว่าผู้หญิงที่ชาร์ลส์ พึ่งพา และมอบความรักให้อย่างลึกซึ้งแน่นแฟ้นนี้  มีชีวิตและใช่ชีวิตอย่างไร กับผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งมีความเชื่อ ทัศนคติ ที่ทั้งกล้าหาญและอันตราย ซึ่งตรงข้ามกับเธอและคนเกือบทั้งโลก

หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดซึ่งถ่ายทอดให้เห็นความแตกต่างในความเชื่อเรื่องศาสนา ระหว่าง ชาร์ลส์ ดาร์วิน กับ ภรรยา  คือจดหมายฉบับหนึ่ง ที่เธอเขียนให้เขาหลังจากแต่งงานกันได้สามปี เป็นจดหมายที่เอมม่าไม่เพียงแสดงความเฉลียวฉลาดในการพูด แต่ยังสะท้อนความรู้สึกกังวลถึงความเชื่อของสามีและปลอบประโลมจิตใจตัวเอง ไป พร้อม ๆ กัน

"May not the habit in scientific pursuits of believing nothing till it is proved, influence your mind too much in other things which cannot be proved in the same way, & which if true are likely to be above our comprehension."

>> ต้นฉบับจดหมายและการถอดไฟล์เอกสาร  <<

เธอกลัวว่าจิตวิทยาศาสตร์ที่เชื่อเฉพาะในสิ่งที่พิสูจน์แล้ว จะทำให้เขาละเลยสิ่งที่เป็นจริงแต่อยู่เหนือความสามารถการรับรู้ของคนเรา ซึ่งเป็นคำกล่าวเชิงวิงวอน เพื่อให้ชาร์ลส์ ระมัดระวังในความคิดของตนเอง ด้วยเกรงว่าผู้เป็นที่รักของเธอ จะต้องถูกลงทัณฑ์ในชีวิตหลังความตาย หากเขาเป็นฝ่ายคิดผิดเรื่องพระเจ้า

ในยามที่เอมม่า สวดอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้านั้น ไม่มีใครรู้ว่าเธอจะกล่าวอ้อนวอน อย่างไรกลับพระองค์  อาจจะเป็นไปได้ว่า เธอจะขอให้พระองค์อภัยให้ชาร์ลส์ ดาร์วิน ด้วยว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นบาป เพราะเกิดจากความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง ที่จะเข้าใจและเรียนรู้ความจริงของธรรมชาติ และทำมันไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ หรือ เธออาจะจะสวดอ้อนวอนให้พระองค์ทรงยกโทษในความผิดที่เขาได้กระทำ

แต่ไม่ว่าอะไรก็ตาม สิ่งที่เอมม่า ได้เขียนเพื่อแสดงความกังวลใจที่มีต่อแนวคิดของดาร์วินนั้น ก็คือ การแสดงความรักที่ลึกซึ้ง ห่วงหาอาทร เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเขา ย่อมเกี่ยวข้องกับเธอด้วย เอมม่ากล่าวว่า อย่าคิดว่าเรื่องนี้จะไม่เกี่ยวกับเธอ เพราะแนวคิดอันตรายนี้ ทำให้เธอมีความเป็นทุกข์อย่างมาก หากทั้งสองไม่ได้เป็นของกันและกันชั่วนิรันดร์ ในชีวิตหลังความตาย

 

"Every thing that concerns you concerns me and I should be most unhappy if I thought we did not belong to each other forever."

 

แม้จะรักภรรยามากเพียงใด แต่ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ก็ไม่อาจจะทำตามที่ภรรยาของเขาวิงวอนได้ ด้วยว่าแนวคิดที่เขากำลังบ่มเพาะนั้น มันชัดเจนและทรงพลังเสียจนเขาไม่อาจละทิ้งมันไป  เขายังบ่มเพาะทฤษฎีวิวัฒนาการต่อไปตลอดยี่สิบปี ก่อนที่จะตีพิมพ์ "The Origin of Species" ซึ่งเนื้อหาและหลักการ มีสอนในหนังสือเรียนวิชาชีววิทยาทั้งในไทยและต่างประเทศ แม้ว่าจะยังเป็นประเด็นที่โต้เถียงกันจนทุกวันนี้

เขาเลือกที่จะแสดงความรักในรูปแบบอื่น โดยการเป็นพ่อที่ดีและทุ่มเทแก่ลูก ๆ ทั้ง 10 คน เป็นสามีอยู่เคียงข้างภรรยาจนถึงวันตาย 

สำหรับจดหมายฉบับนั้น ชาร์ลส์ ดาร์วิน รักษามันไว้อย่างดีและพกติดตัวอยู่เสมอ ถึงแม้เขาจะไม่สามารถทำตามที่ภรรยาร้องขอในจดหมายได้ แต่เขาก็แบกรับความทุกข์ทรมานใจไว้ตลอดเวลา เป็นความเจ็บปวดที่เกิดจาก การที่ไม่สามารถเยียวยาความทุกข์ของคนที่เป็นที่รักได้

ชาร์ลส์  ดาร์วิน ใช้หมึกบรรจงเขียนข้อความบนจดหมายฉบับนั้น

When I am dead, know
that many times,
I have kissed & cryed over this.

                     C. D.

"เมื่อผมได้ตายจากไป โปรดรู้ไว้ หลายครั้งเหลือเกิน ที่ผมจุมพิตและร่ำให้กับจดหมายฉบับนี้"

                                                                                                                   ช.ด.

อ้างอิง

1. Nora, B. 1958.  The Autobiography of Darwin Charles, 1809-1882. WW Norton & Company, New York.

2. //darwin-online.org.uk

3. Quammen, D.  The Reluctant Mr. Darwin: An Intimate Portrait of Charles Darwin and the Making of His Theory of Evolution. WW Norton & Company, New York.




 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2550 22:10:01 น.
Counter : 551 Pageviews.  

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์คืออะไร

ลิงค์เพิ่มเติม Nature of Science Questionnaire แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ //schamrat.com/Nature_of_Science_Questionnaire.aspx



การเรียนรู้วิทยาศาสตร์วันนี้ไม่ได้มีแค่ เนื้อหาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาหรือแม้แต่นักวิทยาศาสตร์เรียกร้องต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นคือ ความเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร แตกต่างจากความรู้สาขาอื่น ๆ อย่างไร เหตุใดวิทยาศาสตร์จึงมีผลกระทบมากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ วิทยาศาสตร์ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่สาขาวิชาที่มีไว้เพื่อเรียนเท่านั้น แต่มันคือ เครื่องมือในการหาความรู้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เป็นการใช้ความคิดขั้นสูงเพื่อให้คนเราสามารถดำรงชีวิตในโลกยุคนี้ได้ โลกที่ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลมานับไม่ถ้วน โลกที่เต็มไปด้วยความจริงและความเท็จ โลกที่มีทั้ง Science Non-science และ Pseudo-science โลกที่ต้องใช้การตัดใจแม้เรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่นการเลือกซื้อกระดาษชำระ จนถึงเรื่องใหญ่ ๆ เช่น การทำประชาพิจารณ์ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เราลองมาดูกันว่า เรามีความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์มากแค่ไหน โดยการเปรียบเทียบกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ 8 ข้อ ดังนี้
1. Empirical NOS: Scientific knowledge based on natural phenomena, evidence, data, information, and observation
วิทยาศาสตร์คือการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยใช้ข้อมูล หลักฐาน และการสังเกตเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
2. Tentative NOS: Scientific knowledge is subject to change and never absolute or certain;
ข้อ 2 ชัดเจนมาก เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้
3. Inferential NOS: The crucial distinction between scientific claims (e.g., inferences) and evidence on which such claims are based (e.g., observations);
ข้อนี้หมายความว่าเราต้องลงข้อสรุป จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พูดง่าย ๆ คือว่า ความรู้ที่ได้ต้องอาศัยทั้งการสังเกตโดยตรงและการอนุมานจากข้อมูลเหล่านั้น
4. Creative NOS: The generation of scientific knowledge involves human imagination and creativity;
ไอน์สไตน์เคยบอกไว้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ต้องใช้ทั้งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยทฤษฎีอะตอมและ การค้นพบโครงสร้าง DNA เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ Aspect ข้อนี้
5. Theory-laden NOS: Scientific knowledge and investigation are influenced by scientists’ theoretical and disciplinary commitments, beliefs, prior knowledge, training, experiences, and expectations;
อันนี้จะเกี่ยวข้องกับนักปรัชญา Carl Poper และ Thomas Kuhn กล่าวคือ การการทำงานของนักวิทยาศาสตร์จะขึ้นอยู่กับ กระบวนทัศน์ (Paradigm) ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความเชื่อ การฝึกฝน ความชำนาญ ดังนั้น วิทยาศาสตร์อาจจะไม่ได้เป็น ปรนัย (objective) เสมอไป
ข้อนี้อาจตอบคำถามหลาย ๆ คนว่าทำไมเวลาทำวิจัยต้องมีการ Review Literature ด้วย คำตอบก็คือ เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทางงานวิจัยภายใต้ Theoretical framework เพื่อให้เราโฟกัสได้ตรงจุดนั่นเอง
6. Social and cultural NOS: Science as a human enterprise is practiced within, affects, and is affected by, a lager social and cultural milieu;
วิทยาศาสตร์เกี่ยวพันกับสังคม วัฒนธรรม บรรทัดฐาน หรือแม้แต่การเมือง ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ การเมืองและสงครามเย็นส่งผลให้อเมริกาต้องเร่งพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเร่งด่วนมาแล้ว ในยุคต้นๆ ของ NASA
7. Myth of the “Scientific Method”: The lack of a universal step-wise method that guarantees the generation of valid knowledge
การค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้ไม่ได้มีใครมาเขียนข้อ 1 2 3 เหมือนคู่มือปฏิบัติการ เพราะโลกที่แท้จริง นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธี สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) มากมายหลายรูปแบบไม่ใช่แค่ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นเท่านั้น
8. Nature of scientific theories and law: Nature of, and distinction between scientific theories and laws. Scientific theories and laws are different kinds of knowledge (e.g., lack of a hierarchical relationship between theories and laws).
สมมติฐานไม่ได้กลายเป็นทฤษฎี และทฤษฎีก็ไม่ได้กลายเป็นกฎ ทั้งหมดเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างกัน เพราะมีที่มาต่างกัน
ลักษณะธรรมชาติวิทยาศาสตร์ 8 ข้อนี้ จะสอดคล้องกับเอกสารทางวิจัยหลาย ๆ ชิ้นที่นักวิจัยยอมรับ และสอดคล้องกลับเอกสารหลักสูตรของอเมริกาที่สำคัญ เช่น Science for All Americans, Benchmark for science literacy คราวหน้าเราจะมาพูดกันต่อถึง มาตรฐานที่กำหนดไว้เกี่ยวกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของไทย คือ สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทความ อ้างอิงจาก [url] //schamrat.com/nos1.aspx [/url]




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2549    
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2551 14:28:49 น.
Counter : 3045 Pageviews.  


Atomic_bomb
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Atomic_bomb's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.