ประวัติความเป็นมาของ "7-11"
ประวัติความเป็นมาของ7-11 ตั้งแต่แรกเริ่ม จนถึงปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

จุดกำเนิดของร้านค้าสะดวกซื้อชื่อดังต้องย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2470 บริษัทเซาท์แลนด์ ไอซ์ ซึ่งก่อตั้งโดยนายจอห์น เจฟเฟอร์สัน ได้เปิดร้านให้บริการน้ำแข็งตอบสนองความต้องการลูกค้าแทบจะตลอดวัน (ประมาณ 16 ชั่วโมง/วัน) ในช่วงฤดูร้อนและไม่มีวันหยุดเลย สร้างความพอใจให้กับลูกค้าและสร้างชื่อเสียงให้กับร้านมาก

ต่อมาเริ่มมีการขยายสินค้าไปสู่สินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ กลายเป็นลักษณะของร้านชำหรือร้านสะดวกซื้อ ใช้ชื่อร้านว่า โทเทม สโตร์ Tote"m Store และแนวคิดนี้กลายเป็นปรัชญาสำคัญของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในปัจจุบัน

จุดหักเหของธุรกิจจากร้านค้าปลีกเล็กๆ จนกลายเป็นธุรกิจใหญ่โตมีนายโจ ทอมป์สัน เป็นผู้คิดพัฒนารูปแบบร้านค้าสะดวกซื้อให้กลายเป็นธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์เต็มรูปแบบ เพียง 12 ปีหลังการก่อตั้ง ขยายร้านได้ถึง 60 สาขาทั่วดัลลัส รายได้และกำไรหลักๆ มาจากยอดขายสินค้าอื่นๆ และจำนวนร้านที่ขยายเพิ่มมากขึ้น

ปี พ.ศ.2488 บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น เซาธ์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น มาจนถึงปัจจุบัน ถัดมาอีกปี ได้เปลี่ยนชื่อร้านค้าปลีกเป็น Seven-Eleven เซเว่น-อีเลฟเว่น ภายใต้เครื่องหมายการค้า 7-11 เพื่อรองรับการขยายกิจการนี้ เนื่องจากต้องการสื่อถึงเวลาที่เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 07.00-23.00 น. ซึ่งก็คือ 07.00 am.-11.00 pm. นั่นเอง

ธุรกิจ 7-11 ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนราวปี 2493-2503 ได้รับความนิยมสูงสุดจากการสำรวจทางโทรทัศน์ กระทั่งปี 2517 เริ่มขยายกิจการสู่ประเทศญี่ปุ่น และประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน จากนั้นก็แพร่หลายไปทั่วโลก

7-11เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยที่สภาพสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจแบบสังคมเมือง ชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยความเร่งรีบแข่งกับเวลา ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี เห็นว่าธุรกิจนี้สอดคล้องกับสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนไปจึงได้เซ็นสัญญาซื้อสิทธิประกอบกิจการค้าปลีก (License) ภายใต้ชื่อ 7-Eleven มาจากบริษัทเซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 หลังจากใช้เวลาศึกษาธุรกิจมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม โดยเปิดร้านสาขาแรกในเมืองไทยตรงหัวมุมถนนพัฒน์พงษ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2532 จากนั้นก็เพิ่มสาขาเรื่อยมาจนปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ


จากวันแรกที่ 7-Eleven เปิดให้บริการที่ซอยพัฒนพงษ์เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ถึงวันนี้สังคมไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับร้านค้าแห่งนี้ที่ขยายสาขาครอบคลุมและแทรกตัวอยู่ตามชุมชนทั่วประเทศ และมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการถึงวันละกว่า 3 ล้านคน

วลีที่ว่า "รับขนมจีบ ซาละเปาเพิ่มไหมคะ" ที่แคชเชียร์ร้าน 7-Eleven จะเอ่ยถามลูกค้าทุกครั้งที่ชำระเงินนั้น เมื่อดูจากตัวเลขการขายโดยเฉลี่ยแล้วจะมีการกล่าวถึงวลีนี้ในแต่ละสาขาวันละกว่า 1,000 ครั้ง เมื่อคูณกับจำนวนสาขาที่มีอยู่กว่า 3,000 แห่งด้วยแล้วน่าจะทำให้คำกล่าวอันเป็นเอกลักษณ์ของร้าน 7-Eleven นี้กลายเป็นวลีที่มีการกล่าวมากที่สุดในประเทศไทยเลยก็เป็นได้

ถึงแม้จะไม่มีข้อมูลตัวเลขมายืนยันว่า ยอดขายขนมจีบและซาลาเปาภายในร้าน 7-Eleven จำนวนเท่าใดที่ได้มาจากการกล่าววลีที่ว่านี้ แต่อย่างน้อยก็มีส่วนช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์ 7-Eleven ในใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี เพราะแม้แต่ในภาพยนตร์โฆษณาก็ยังมีการนำเอาคำกล่าวนี้ไปใช้ด้วย

7-Eleven ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย แตกต่างจากเมื่อ 15 ปี ก่อนที่เพิ่งจะเปิดร้านสาขาแรกที่ซอยพัฒนพงษ์ ซึ่งในเวลานั้นร้านสะดวกซื้อ (convenient store) ยังเป็นสิ่งแปลกใหม่ในสังคมไทย การเกิดขึ้นของ 7-Eleven ในประเทศไทยเป็นผลจากการเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งของธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือ ซี.พี.ที่ได้พบเห็นร้านค้าเช่นนี้มีอยู่ทั่วไปในสังคมตะวันตก จึงเกิดความคิดว่าร้านค้าประเภทนี้น่าจะได้รับความนิยมใน ไทยเช่นกัน รวมทั้งยังเอื้อต่อธุรกิจโดยรวมของเครือ เพราะสามารถใช้เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าในเครือ ซี.พี.ได้อีกทางหนึ่ง

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นทำให้ 7-Eleven กลายเป็นธุรกิจหลักกลุ่มหนึ่งของเครือ ซี.พี.นอก เหนือจากเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) และทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ซึ่งล้วนจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งสิ้น โดยในปีที่ผ่านมา 7-Eleven มีรายได้รวมถึงกว่า 78,000 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิเกือบ 1,700 ล้านบาท หรือคิดง่ายๆ ว่าในแต่ละวัน 7-Eleven จะมีผลกำไรมากกว่า 4 ล้านบาทเลยทีเดียว

นอกจากนี้ร้านค้าที่มีกว่า 3,000 สาขาของ 7-Eleven ยังกลายเป็นเครือข่ายการค้าและบริการที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะถ้านับจำนวนร้าน 7-Eleven กับกิจการอื่นเปรียบเทียบกันแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเครือข่ายของ 7-Eleven มีเหนือกว่าทั้งในด้านจำนวนและการครอบคลุมพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นตู้ ATM ของธนาคารแต่ละแห่ง จำนวนสาขา ของแต่ละธนาคาร เครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์ หรือปั๊มน้ำมัน

ด้วยเหตุนี้เอง ร้าน 7-Eleven จึงเป็นเหมือนทำเลทองที่เป็นที่ หมายปองของผู้ผลิตสินค้าจำนวนมาก เพราะหากสามารถวางขายในร้าน 7-Eleven ได้เท่ากับมีเอาต์เล็ตจำหน่ายสินค้าทันที 3,000 แห่งทั่วประเทศ โอกาสที่จะแจ้งเกิดสินค้าได้สำเร็จก็ย่อมมีมากขึ้นตามลำดับ

ปัจจุบัน 7-11 มีนโยบายจะเพิ่มร้านแฟรนไซน์ให้มากขึ้นดังนั้นจึงเปิดให้พนักงานเลือกทำ Type B และให้บุคคลภายนอกเลือกสาขาเดิมทำ Type C

ถ้าอยากทำร้าน 7-11 จะทำอย่างไร?

1.เตรียมเงิน

7-11 แบบ B ที่ลงทุน 1,500,000 บาท
7-11 แบบ C ที่ลงทุน 1. 2,700,000 บาท

2.เตรียมตัวเรา(เป็น ผจก.ร้าน)และผู้ช่วยอีกคน ไปเข้าอบรม

ที่มา:




Create Date : 15 เมษายน 2555
Last Update : 15 เมษายน 2555 8:57:21 น.
Counter : 6018 Pageviews.

0 comment
"ขึ้นคาน" มาได้อย่างไร

"ขึ้นคาน" เป็นสำนวน หมายความถึงหญิงที่มีอายุเลยวัยสาวแล้วแต่ยังไม่ได้แต่งงาน เป็นคำที่มีนัยตำหนิ เพราะแต่โบราณมานิยมให้ผู้หญิงแต่งงานเพื่อให้มีผู้ดูแลและป้องกันภัย ไม่โดดเดี่ยว            

ครั้งอดีต วิถีไทยใกล้ชิดแม่น้ำลำคลอง บ้านเรือนส่วนใหญ่หันหน้าหาสายน้ำมีเรือเป็นพาหนะสำคัญพาสัญจรไปมา ครั้นเมื่อใช้นานเข้าเรือมีอันเกิดชำรุดเสียหายต้องซ่อม ยามจะซ่อมต้องยกขึ้นมาบนบกซึ่งทำที่รับเรือรอไว้แล้ว ที่รับเรือนั้นเรียกว่า "คาน"
 
อาศัยอรรถาธิบายจากขุนวิจิตรมาตรา ปราชญ์ภาษาไทย ท่านว่า สำนวน "ขึ้นคาน" มาจากเรียกเรือที่ยกขึ้นพาดไว้บนคานเพื่อซ่อมรอยรั่ว ยาชัน ทาน้ำมันใหม่ ในตอนนั้นเรือใช้ประโยชน์ไม่ได้ ค้างเติ่งอยู่บนคาน เรียกว่าขึ้นคาน
 
ต่อมาจึงนำคำว่า ขึ้นคาน เป็นสำนวนเรียกสตรีผู้ถึงวัยมีลูกมีผัวแล้วแต่ยังเล่นเนื้อเล่นตัว ไม่ยอมตกร่องปล่องชิ้นมีคู่เสียที จึงถูกนำไปเปรียบเทียบกับเรือ

ถ้าเรือรั่วหรือชำรุดเสียหาย เจ้าของนำขึ้นมาซ่อมบนบก ก็ต้องทำคานสำหรับรองเรือไว้ เรือที่ขึ้นคานจึงอยู่ห่างน้ำ เมื่อเรือห่างน้ำก็เหมือนเสือห่างป่าจะมีคุณค่าอันใดคนไทยแต่โบราณ จึงนำเอาคำว่าขึ้นคานมานิยามหญิงที่ยังไม่แต่งงานจนล่วงเลยวัยสาวไปแล้ว   

ที่มา //gotoknow.org/blog/789/130548




Create Date : 14 เมษายน 2555
Last Update : 14 เมษายน 2555 20:28:40 น.
Counter : 375 Pageviews.

0 comment
ที่มาของคำว่า "OK"

OK หรืออ่านว่า โอเค เป็นคำฮิตติดปากไม่ว่าจะเป็นไทยหรือเทศ ผู้ใหญ่ คนชรา หรือกระทั่งเด็กอนุบาล สรุปเอาเป็นว่าทุกคนต่างรู้จักคำนี้ดีว่า มีความหมายที่ใช้สื่อกันว่า หมายความว่าอะไร แต่คงมีแค่คนจำนวนไม่มากที่จะรู้ว่า OK เกิดขึ้นได้อย่างไร มาจากที่ไหน ทีนี้เราลองมาดูกันว่า โอเค ที่เราๆเข้าใจกันนั้น มีที่มาอย่างไรกันบ้าง

คำว่า OK หรือ โอเค ถูกใช้ครั้งแรกในการตีพิมพ์บนหนังสือพิมพ์ Boston ที่คิดคำย่อในการลดรูปจากคำเดิม และทำให้การเขียนดูน่าสนใจมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น I.D.N. (I don't know)

และเมื่อใช้มากๆ เข้าก็มีการแผลงคำ ทำให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นไปอีก เช่นมีการใช้ตัวย่อคำว่า O.W. แทนคำว่า All Right เพราะอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า Oll Wright และรวมถึงคำว่า O.K. แทนคำว่า All Correct เพราะอ่านออกเสียงคล้าย All Korrect ด้วย

อย่างไรก็ตามคำว่า O.K. อาจจะเสื่อมความนิยมไปตามคำอื่นๆ ถ้าหากอักษรนี้ไม่ถูกนำมาใช้เป็น Campaign ในการสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาของ Martin Van Buren ที่มีชมรม O.K. Club (ย่อมาจาก Old Kinderhook) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ Buren ให้การสนับสนุนเขาในการเลือกตั้งครั้งนั้น

ถึงแม้ว่าเขาจะพ่ายแพ้ในการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ก็ทำให้คำว่า OK กลายเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะแพร่กระจายไปทั่วโลก และสื่อความหมายเข้าใจกันในปัจจุบัน

ที่มา: //www.kingtranslations.com/ok.htm//www.kingtranslations.com/ok.htm

 




Create Date : 14 เมษายน 2555
Last Update : 14 เมษายน 2555 20:23:37 น.
Counter : 1161 Pageviews.

0 comment

iAblazel
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]