แหล่งรวบรววมวิธีเล่นหุ้น
 
 

ศรีวิชัย อีกหนึ่งพันธุ์ไก่ดี ที่เมืองคอน

ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ




ไก่ พื้นเมือง นับเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน เป็นสัตว์พื้นเมืองที่มีคุณลักษณะเด่นมากมาย ไม่ว่า การมีเนื้อคุณภาพดี รสชาติอร่อย ไก่ตัวเมียมีความสามารถในการฟักไข่ ปรับตัวได้ในสภาพขาดแคลนอาหารในหมู่บ้าน บินหนีศัตรูได้ และต่อสู้ป้องกันตัวได้เป็นอย่างดี ฯลฯ

ซึ่งคุณลักษณะดีเด่นเหล่านี้ เป็นคุณลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้

ด้วย ความสำคัญของสัตว์พื้นเมืองชนิดดังกล่าว กรมปศุสัตว์ ฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาวงการปศุสัตว์ของประเทศไทย จึงได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองมาอย่างต่อเนื่อง

โดยล่าสุด เมื่อเร็วๆ นี้ กรมปศุสัตว์ได้จัดให้มีการแถลงข่าว การขึ้นทะเบียนพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยของกรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์ และสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)



กรมปศุสัตว์ ขึ้นทะเบียน 4 สายพันธุ์

คุณ ปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่าการขึ้นทะเบียนพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยของกรมปศุสัตว์ เป็นการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าผลงานวิจัย "การสร้างฝูงไก่พื้นเมือง 4 พันธุ์" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์และสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้บันทึกความเข้าใจ เมื่อวันที่ 4ั้มีนาคม 2545

"ผลการ ดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน ทำให้ได้ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ที่ผ่านการพัฒนาพันธุ์มาแล้ว 9-10 ชั่วอายุ (generation) มีลักษณะภายนอกที่สำคัญคือ รูปร่าง สีขน สีปาก และสีแข้งั้มีความสม่ำเสมอมากกว่า 90% มีลักษณะทางเศรษฐกิจประจำพันธุ์และยังคงมีคุณสมบัติที่ดีของไก่พื้นเมือง ได้แก่ ความเป็นแม่ที่ดีและความสามารถในการอยู่รอดในชนบทสำหรับเกษตรกรรายย่อย รวมทั้งคุณภาพเนื้อที่นุ่มแน่น รสชาติอร่อย และคอเลสเตอรอลต่ำ ซึ่งเป็นจุดขายในเชิงพาณิชย์"

ทั้งนี้ สำหรับไก่พื้นเมืองที่กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการนั้น ประกอบด้วยจำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่

1.ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่

2.ไก่เหลืองหางขาวกบินทร์

3. ไก่ชีท่าพระ

4. ไก่แดงสุราษฎร์

โดย สายพันธุ์ไก่พื้นเมืองทั้งหมด ดำรงฝูงอยู่ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ของกรมปศุสัตว์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ปราจีนบุรีขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ



เผยผลิตลูกไก่ ปีละ1.5 ล้านตัว

อธิบดี กรมปศุสัตว์ กล่าวอีกว่า ตลอดระยะเวลาดำเนินงาน กรมปศุสัตว์ได้ใช้ไก่ทั้ง 4 ฝูงั้เป็นต้นพันธุ์เพื่อผลิตลูกไก่พื้นเมืองและลูกผสมพื้นเมืองให้กับฟาร์ม ของกรมปศุสัตว์ เกษตรกร และภาคเอกชนปีละกว่า 1,500,000 ตัว

"นอกจาก นี้ สกว. ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำพันธุ์ไก่บางส่วนไปพัฒนาเป็นสายพ่อพันธุ์สำหรับผลิตไก่ลูกพื้นเมือง เชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับอุตสาหกรรมและสร้างอาชีพสำหรับชุมชน เช่น พัฒนาไก่ประดู่หางดำและชีให้เป็นฝูงปู่ย่าพันธุ์ชั้นเลิศ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์พัฒนาไก่เหลืองหางขาวเป็นสายพ่อพันธุ์เพื่อผลิต "ไก่เนื้อตาก" และ "ไก่เนื้อโคราช" โดยร่วมมือกับกรมปศุสัตว์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีตามลำดับ"

อธิบดี กรมปศุสัตว์ กล่าวต่อไปว่าการขึ้นทะเบียนพันธุ์ไก่พื้นเมืองจึงเป็นกระบวนการเริ่มต้นที่ สำคัญ เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์พื้นเมืองให้กับประเทศั้เป็นการประกาศให้ทราบเพื่อ แสดงการเป็นกรรมสิทธิ์ในพันธุ์ไก่ของรัฐที่จะทำให้ประชาชนไทยทุกคนสามารถ เข้าถึงการใช้ประโยชน์ได้ทั่วกันั้และเป็นการนำไปสู่การรับรองพันธุ์ไก่พื้น เมืองไทยในอนาคตั้รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าตัวสินค้าที่มีศักยภาพเพื่อ การแข่งขันที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้



มารู้จักไก่ศรีวิชัยอีกหนึ่งพันธุ์ดี

สำหรับ ผลงานการวิจัยเกี่ยวกับสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองที่กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการ อยู่ในปัจจุบัน นอกเหนือจากไก่พื้นเมืองทั้ง 4 สายพันธุ์ คือ ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ไก่เหลืองหางขาวกบินทร์ ไก่ชีท่าพระ และไก่แดงสุราษฎร์ แล้ว ในหน่วยงานต่างๆ ของกรมปศุสัตว์ยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองที่น่าสนใจ อีกหลายพันธุ์ อาทิ ไก่พันธุ์ศรีวิชัย

ไก่พันธุ์ศรีวิชัยเป็นผลงาน ที่ดำเนินการโดยสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2540

โดยได้ ดำเนินการคัดเลือกผสมพันธุ์และสร้างพันธุ์ไก่พื้นเมืองั้โดยใช้พันธุ์ไก่ใน ท้องถิ่นั้เช่น ไก่คอล่อนั้ไก่แดง ไก่ชีและไก่สายพันธุ์ต่างประเทศ รวมทั้งไก่ลูกผสมเพื่อการค้า จนได้สายพันธุ์ไก่ศรีวิชัยในปัจจุบัน

ซึ่งทั้งหมดนี้ดำเนินการอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้พันธุ์

- ไก่พื้นเมืองที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม

- สามารถเลี้ยงแบบธรรมชาติ โดยเฉพาะในรูปแบบการเลี้ยงปศุสัตว์อินทรีย์

- ให้ผลผลิตสูงกว่าไก่พื้นเมืองโดยทั่วไป ทั้งการให้ไข่ การเจริญเติบโตั้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้น ฯลฯ

- เพื่อผลิตสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองที่ยั่งยืน ลดการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์จากต่างประเทศ

จาก ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราช สามารถคัดเลือกผสมและปรับปรุงพันธุ์ไก่ได้ 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

1. ไก่พันธุ์ศรีวิชัยดำคัดเลือกผสมพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์จากไก่คอล่อนั้และไก่พื้นเมืองภาคใต้

2. ไก่พันธุ์ศรีวิชัยแดงคัดเลือกผสมพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์จากไก่คอล่อนั้ไก่พื้นเมือง (ไก่แดง)และไก่โร้ดไอร์แลนด์เรด

3. ไก่ศรีวิชัยขาวคัดเลือกผสมพันธุ์และปรับปรุงจากไก่พื้นเมืองคอล่อนไก่พื้นเมือง (ไก่ชี)และไก่ไข่ลูกผสมทางการค้า

สำหรับลักษณะทางเศรษฐกิจของไก่ศรีวิชัย มีดังนี้

1. ไก่พันธุ์ศรีวิชัยดำ น้ำหนักแรกเกิด 34 กรัม น้ำหนักที่ 1 สัปดาห์ 69 กรัม น้ำหนักที่ 20 สัปดาห์ 2,610 กรัม อายุเมื่อไข่ฟองแรก 22 สัปดาห์ จำนวนไข่เฉลี่ยต่อปี 100-120 ฟอง และน้ำหนักไข่ฟองแรกเฉลี่ย 42 กรัม

2. ไก่พันธุ์ศรีวิชัยแดง น้ำหนักแรกเกิด 35 กรัม น้ำหนักที่ 1 สัปดาห์ 69 กรัม น้ำหนักที่ 20 สัปดาห์ 2,620 กรัม อายุเมื่อไข่ฟองแรก 21 สัปดาห์ จำนวนไข่เฉลี่ยต่อปี 130-180 ฟอง และน้ำหนักไข่ฟองแรกเฉลี่ย 42 กรัม

3. ไก่พันธุ์ศรีวิชัยดำ น้ำหนักแรกเกิด 32 กรัม น้ำหนักที่ 1 สัปดาห์ 55 กรัม น้ำหนักที่ 20 สัปดาห์ 2,200 กรัม อายุเมื่อไข่ฟองแรก 21 สัปดาห์ จำนวนไข่เฉลี่ยต่อปี 140-200 ฟอง และน้ำหนักไข่ฟองแรกเฉลี่ย 35 กรัม

ไก่ ศรีวิชัย จึงเป็นอีกหนึ่งของผลงานการวิจัยเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองของ ประเทศไทย ที่จะมีประโยชน์ต่อเกษตรกรต่อไป ซึ่งผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราช หมู่ที่ 7 ตำบลควนชุม อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร.(075) 348-487



เร่งแก้ปัญหาต้นทุนอาหารสัตว์พุ่งสูง

ใช้มาตรการจัดระบบปลูกข้าว เพิ่มพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์

คุณ ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ในงานการสัมมนา เรื่อง "แนวโน้มสินค้าปศุสัตว์ของไทย ปี 2554" ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าปัจจุบันสินค้าปศุสัตว์ของไทยมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นตามความ ต้องบริโภคสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าอัตราการผลิตในสาขาปศุสัตว์ของประเทศไทย ในปี 2553 จะเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง ร้อยละ 2.5-3.5 เมื่อเทียบกับปี 2552 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

"โดยเฉพาะอุตสาหกรรม ไก่เนื้อที่ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเปิดตลาดส่งออกเนื้อไก่สดแช่แข็งไป ยังประเทศรัสเซีย แอฟริกาใต้ มาเลเซีย และบาห์เรน ในขณะเดียวกัน ประเทศญี่ปุ่นกำลังพิจารณาอนุมัติให้ประเทศไทยส่งออกเนื้อไก่สดแช่แข็ง ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกไก่เนื้อสดแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้น"

"และ ไม่เพียงแต่สินค้าปศุสัตว์ในกลุ่มของไก่เท่านั้นที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่ม สูงขึ้น แต่ยังรวมถึงสินค้าปศุสัตว์ประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น สุกร โคเนื้อ และโคนม ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรชี้ว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในภาพรวมจะสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา"

คุณธีระ กล่าวต่อไปว่า แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะมีอัตราแนวโน้มที่สูงขึ้น แต่สิ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อเสถียรภาพของสินค้าเกษตรในปัจจุบัน โดยเฉพาะภาคปศุสัตว์คือ ในเรื่องของต้นทุนการผลิตในด้านอาหารสัตว์ที่ประเทศยังต้องพึ่งพาการนำเข้า ถึงกว่าปีละ 3-4 พันล้านบาท

"ซึ่งในเรื่องดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯ ได้มีนโยบายในการส่งเสริมการลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นโครงการจัดระบบการปลูกข้าว เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่การปลูกพืชหลังนา ซึ่งจะเป็นกลุ่มพืชอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลัง ก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ไทยลดการนำเข้าอาหารสัตว์จากต่างประเทศได้มาก ขึ้น และทำให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ของเกษตรกรลดลง"

คุณธีระ ยังกล่าวว่า ทั้งนี้ จะรวมถึงโครงการลดต้นทุนการผลิตโดยนำร่องใน 3 พืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง โดยใช้งบประมาณดำเนินการจากงบฯ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ

"สำหรับอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ อาจส่งผลกระทบต่อการแข่งขันสินค้าปศุสัตว์ของไทยคือ ในเรื่องของโรคระบาดสัตว์ และข้อกีดกันทางการค้าที่หลายๆ ประเทศนำเรื่องของก๊าซมีเทนที่เกิดจากภาคปศุสัตว์ที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะโลก ร้อนเป็นข้อกำหนดในการนำเข้า ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาวิจัยข้อมูลดังกล่าวให้เกิดความชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเจรจาทางการค้าต่อไปในอนาคต" คุณธีระ กล่าวในที่สุด

อนึ่ง สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ในปี 2554 คุณอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า คาดว่าจะขยายตัวในช่วง ร้อยละ 1.4-2.4 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งผลผลิตและราคา โดยเฉพาะสาขาการผลิตหลักที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี

โดยสาขาพืชคาดว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วง ร้อยละ 1.6-2.6 เนื่องจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการขยายการเพาะปลูกตามแรงจูงใจของราคาสินค้า ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากโครงการประกันรายได้ของรัฐในสินค้าเศรษฐกิจสำคัญ

"ใน ขณะที่สาขาปศุสัตว์ คาดว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วง ร้อยละ 0.8-1.8 เนื่องจากราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้ผู้ผลิตขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งการส่งออกคาดว่าจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับสาขาประมง คาดว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วง ร้อยละ 1.5-2.5 เนื่องจากผลผลิตกุ้งเพาะเลี้ยงและประมงทะเลขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนสัตว์น้ำจืดเพาะเลี้ยงยังคงได้รับการส่งเสริมจากกรมประมงอย่างต่อ เนื่อง" คุณอภิชาต กล่าวในที่สุด




 

Create Date : 29 มกราคม 2554   
Last Update : 29 มกราคม 2554 8:59:01 น.   
Counter : 2165 Pageviews.  


สตรอเบอรี่-ลิลลี่-ทิวลิป ปลูกได้ ที่บ้านไร่ อุทัยธานี


ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง



อุทัยธานี เป็นจังหวัดในภาคกลาง ที่ไม่ค่อยได้ไปทำข่าวสักเท่าไหร่ เรียกว่าเป็นทางผ่านเสียมากกว่า แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีโอกาสได้ไปยังอำเภอบ้านไร่ โดยมี คุณสุรชัย ศรีพลอย ผอ.ททท. อุทัยธานี เป็นคนอำนวยความสะดวกพาไปแหล่งท่องเที่ยวและจุดเด่นๆ ของเมืองนี้ ซึ่งในช่วงหน้าหนาวตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป ทางจังหวัดอุทัยธานีภูมิใจนำเสนอโครงการไม้เมืองหนาว ที่ศูนย์พัฒนาสังคมที่ 73 บ้านอีมาดอีทราย ตำบลแก่นมะกรูด อันเป็นเนินเขาและภูเขาน้อยใหญ่เรียงรายกันอยู่ โดยแปลงทดลองปลูกไม้เมืองหนาวนั้น มีทั้งดอกทิวลิป ดอกลิลลี่ กะหล่ำปลี และสตรอเบอรี่ ฯลฯ ปีนี้ปลูกเป็นปีที่ 4 แล้ว

ช่วงที่ผ่านมามี นักท่องเที่ยวแวะเวียนไปชมโครงการไม้เมืองหนาวและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกจำนวน มาก โดยเฉพาะในวันหยุดเทศกาลและวันเสาร์-อาทิตย์ และหลายคนต่างประหลาดใจ ไม่คิดว่าที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี จะสามารถปลูกไม้เมืองหนาวได้เช่นเดียวกับบนดอยในภาคเหนือ อย่างที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย

โชคดีวันที่ไปแม้จะเป็นวันหยุด สุดสัปดาห์ แต่ คุณวิโรจน์ เหล่าเกษตรวิทย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ ผู้รับผิดชอบโครงการไม้เมืองหนาว ยังอยู่ในแปลงทดลอง เลยได้สนทนาเกี่ยวกับโครงการนี้อย่างละเอียด

คุณวิโรจน์ บอกว่า จุดที่ปลูกแปลงทดลองไม้เมืองหนาว อยู่สูงจากน้ำระดับทะเล 700 เมตร ส่วนยอดเขาสูงที่เห็นอยู่ไกลๆ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร เรียกว่า เขาพะอุย อากาศจะเย็นมาก ในอนาคตคิดว่าจะนำสตรอเบอรี่ไปขยายพันธุ์เพาะกล้าบนยอดเขาที่ว่า เพราะการปลูกกล้าต้นสตรอเบอรี่ต้องอยู่บนยอดเขาสูงประมาณ 1,000 กว่าเมตรขึ้นไป ทุกวันนี้ใช้วิธีสั่งซื้อต้นกล้าจากอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งระยะทางขนส่งไกลและต้องระมัดระวังมาก

หลายคน อาจสงสัยว่า อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ทำไม สามารถปลูกไม้เมืองหนาวได้ ประเด็นนี้คุณวิโรจน์แจกแจงว่า สาเหตุที่อำเภอบ้านไร่ในพื้นที่บ้านอีมาดอีทราย ตำบลแก่นมะกรูด ปลูกไม้เมืองหนาวได้ เพราะสภาพอากาศให้ คืออุณหภูมิช่วงกลางวันกับกลางคืนไม่แตกต่างกันมาก โดยตอนกลางวันช่วงฤดูหนาวแตกต่างกันไม่ถึง 10 องศาเซลเซียส กลางวันอุณหภูมิอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส กลางคืนประมาณ 15-18 องศาเซลเซียส เหมาะกับการปลูกพืชผักเมืองหนาว

ครั้งแรกนั้นคุณวิโรจน์และทีมงานไม่ ได้ปลูกดอกไม้เมืองหนาวและสตรอเบอรี่ แต่เริ่มจากผักเมืองหนาวก่อน อาทิ กะหล่ำปลี บร็อกโคลี่ ฟักทองญี่ปุ่น โดยของบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ มาดำเนินการ พร้อมกับรวมกลุ่มชาวบ้าน ประมาณ 15 คน นำพืชผักที่ว่ามาทดลองปลูก ตอนหลังนำสตรอเบอรี่จากสะเมิงมาปลูก ประมาณ 10 ต้น ปรากฏว่าได้ผลดี ต่อมาก็ส่งเสริมปลูกเพิ่มอีกประมาณ 2,000 ต้น ล่าสุด ปี 2553 ก็ได้งบประมาณมาปลูกอีก ประมาณ 15,000 ต้น

ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่คุณวิโรจน์ต้องการส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่นี้ปลูกไม้ เมืองหนาว เพราะอยากให้ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงเลิกทำไร่ข้าวโพด เลื่อนลอย อันเป็นการทำลายป่าและแหล่งต้นน้ำลำธารที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และเขื่อนศรีนครินทร์ ทั้งยังเกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในแหล่งน้ำอีกด้วย

"พวก ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง เด็กอายุประมาณ 14-15 ปี จะแต่งงานแล้ว เมื่อแต่งงานต้องแยกที่ทำกิน เขาก็จะบุกป่าเข้าไปเรื่อยๆ เรื่องสารเคมีก็มีปัญหาเข้ามามาก ในช่วงฤดูฝนถ้าน้ำไหลบ่าเข้ามา ต้นข้าวโพดจะหักล้มเสียหาย ต้องใช้งบประมาณราชการเข้ามาช่วยเหลือปีละหลายล้านบาท อย่างปีนี้ใช้เกือบ 2 ล้านบาท แต่ถ้าเขาปลูกผักจะใช้พื้นที่น้อย เช่น ปลูกสตรอเบอรี่ ปลูกผักหรือไม้ผล หรือยางพารา ก็ใช้พื้นที่น้อยเช่นกัน แต่มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น กะหล่ำปลี หรือสตรอเบอรี่ ไร่หนึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับทำข้าวโพดก็ประมาณ 40-50 ไร่ แต่ในจำนวน 1 ไร่ ทำสตรอเบอรี่จะมีรายได้ถึง 400,000 บาท ทำไร่ข้าวโพดต้องใช้ 40-50 ไร่ จึงจะมีรายได้ 400,000-500,000 บาท ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการทำลายป่าแล้ว ยังสามารถแก้ปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้อีกด้วย" คุณวิโรจน์ บอก

ด้วย รายได้ที่มากถึงหลักแสนในการใช้เวลาปลูกไม่กี่เดือน ทำให้ชาวบ้านโดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งคุณวิโรจน์เคยพาไปศึกษาดูงานการปลูกไม้เมืองหนาวที่ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ต่างตอบรับและให้ความสนใจปลูกกันมาก ประกอบกับระยะหลังทางจังหวัดเห็นความสำคัญ ให้งบประมาณมาเพิ่มขึ้นอีกหลายล้านบาท ทำให้โครงการปลูกไม้เมืองหนาวของที่นี่มีแนวโน้มสดใสและถือเป็นสิ่งเชิดหน้า ชูตาของเมือง

"การปลูกสตรอเบอรี่ ชาวบ้านสนใจเยอะครับ แต่ยังขาดงบประมาณเข้าไปส่งเสริม เพราะต้นพันธุ์ที่ซื้อจากอำเภอสะเมิงแม้จะไม่แพง แต่การขนส่งเข้ามาถึงที่นี่ลำบากมาก ต้นพันธุ์ ต้นละ 2.50 บาท แต่ต้องเสียค่าขนส่งที่ต้องไปนำมาจากยอดดอยบนสะเมิงที่ยอดเขาสูงระดับ 1,300 เมตร ดังนั้น ผมอยากได้ลาหรือม้าแล้วขนขึ้นไปบนยอดดอยแล้วเราไปเพาะพันธุ์ข้างบนนั้นเอง จะทำให้ต้นทุนต่ำลง" คุณวิโรจน์ เล่า

วันที่ไปแปลงทดลอง ในเนื้อที่ 1 ไร่ นั้น มีลูกสตรอเบอรี่ออกไม่มากนัก เพราะเพิ่งเก็บชุดแรกไป เลยได้ชิมไม่กี่ลูก แต่บอกได้ว่ารสชาติไม่แตกต่างจากสตรอเบอรี่ที่จังหวัดเชียงใหม่หรือเชียงราย เลย ซึ่งคุณวิโรจน์เองก็ย้ำว่า คุณภาพสตรอเบอรี่ที่นี่ไม่แพ้ที่ไหน ซ้ำยังมีจุดเด่นอีกต่างหาก

"ถ้าเปรียบเทียบสตรอเบอรี่ที่นี่กับของ เชียงใหม่ คุณภาพไม่แตกต่างกัน มั่นใจได้ว่าของเราในแปลงทดลองกับที่ชาวบ้านปลูกควบคุมโดยใช้จุลินทรีย์ ไม่มีสารเคมีแน่นอน ถ้าเทียบกับเชียงใหม่แล้วเชียงใหม่น่ากลัวกว่า ปีที่แล้วมีปัญหาเรื่องของโรคมาก แต่ของเราใช้จุลินทรีย์เข้ามาควบคุม ปัญหาจะน้อย แต่ถ้าใช้สารเคมีมันจะดื้อยา" คุณวิโรจน์ บอก

นอกจากคุณภาพและรสชาติจะไม่แตกต่างจากสเตรอเบอรี่ภาคเหนือแล้ว ผลผลิตต่อไร่และราคาขายก็อยู่ในระดับเดียวกัน

"ที่ นี่ถ้าเปรียบเทียบต่อไร่แล้ว ผลผลิตจะอยู่ที่ ประมาณ 1-1.2 ตัน ขายได้กิโลละ 200 บาท ฤดูการปลูกเริ่มตั้งแต่กันยายน พอถึงพฤศจิกายนแสงจะสั้น จะเข้าหน้าหนาวก็จะออกดอก จะติดลูกชุดแรก ประมาณ 15 พฤศจิกายน จะเก็บได้ไปจนถึงเดือนเมษายน ช่วงวันสั้นยังอยู่ ปลายมีนาคมพอเข้าช่วงวันแสงยาว สตรอเบอรี่จะไม่ออกดอกแล้ว แต่ต้นยังคงอยู่ได้ตลอด ขนาดลูกชุดแรกๆ จะเล็กหน่อย รุ่นหลังๆ อยู่ที่ 25-30 ลูก ต่อกิโลกรัม ถ้าเทียบกับทางเชียงใหม่ก็ลูกใหญ่ไม่แพ้กัน แต่ทางเชียงใหม่จะปลูกได้ไร่ละ 1.5 ตัน รายได้ 300,000-400,000 บาท ต่อไร่ ส่วนของเราได้ไร่ละ 200,000 บาท" คุณวิโรจน์ ยืนยัน

ถามว่า ช่วงไหนของการปลูกที่ต้องระมัดระวังหรือดูแลเป็นพิเศษ

คุณ วิโรจน์ ตอบว่า "ช่วงที่ขนส่งจากสะเมิงมาบนดอยที่นี่เป็นระยะทางไกลมาก ต้นมันช้ำ ช่วงแรกต้องดูแลอย่างดี มาถึงต้องรีบปลูกให้เสร็จ โดยจะปรับปรุงดินไว้รอ ใช้พวกแกลบ วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยคอก โดโลไมท์ คลุกเคล้าดินให้เข้ากันแล้วก็รีบปลูกให้เสร็จภายใน 3 วัน หลังจากนำสตรอเบอรี่มาจากเชียงใหม่

ส่วนการดูแลรักษาก็ไม่มีอะไรมาก เพราะที่นี่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเพลี้ย เรื่องโรค เรื่องแมลง เรื่องโรคอย่างที่ปลูกมาประมาณ 2 เดือน ก็ฉีดสารเคมีกำจัดเชื้อราไป 2 ครั้ง ฉีดที่ใบ เพราะฝนตกหนัก หน้าฝนจะมีปัญหาหน่อย ก็ใช้สารเคมีบ้าง แต่จริงๆ แล้ว ถ้าไม่มีฝนตกหนัก ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีเลย อย่างปีที่แล้วแทบจะไม่ใช้สารเคมีเลย จะมีช่วงทำให้ลูกมีความหวานก็ใช้ปุ๋ยเร่งความหวานหน่อย แต่เมื่อทำออกมาแล้วหวานจัด กินแล้วเลี่ยนคนไม่ชอบ ขณะที่ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติอยู่กับดินรสชาติจะดีกว่า แล้วมีกลิ่นหอมไม่แพ้ทางอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งที่อ่างขางเนื้อสตรอเบอรี่ยังเละ ส่วนที่นี่เนื้อไม่เละเพราะคุมน้ำอยู่ คือช่วงออกผลผลิตช่วงลูกใกล้สุก จะหยุดให้น้ำเลย จะทำให้เนื้อแข็ง แล้วก็รสชาติดี"

อย่างที่บอก วันที่ไปอันเป็นช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมานั้น สตรอเบอรี่ส่วนใหญ่เพิ่งออกลูกยังเล็กและเป็นสีเขียว แต่ถ้าไปตอนช่วงกลางเดือนธันวาคมลูกจะสุกแดงเต็มที่ ซึ่งนับตั้งแต่ปลูกสตรอเบอรี่มา คุณวิโรจน์ บอกว่า มีออเดอร์ตลอด ประมาณว่าออกไม่ทันขายเลยทีเดียว และตอนนี้มีชาวกะเหรี่ยงปลูกสตรอเบอรี่ 5 ราย แต่ละรายปลูกในเนื้อที่ 1 งาน อย่างไรก็ตาม ในปี 2554 จะมีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกสตรอเบอรี่อีก 20 ราย นอกจากนี้ ยังมีปลูกต้นอะโวกาโดอีกด้วย โดยในปีนี้ต้นหนึ่งขายได้ต้นละ 3,000 กว่าบาท ถ้าใครมี 2 ต้น ก็ถือว่ามีรายได้พอประมาณ

การที่พื้นที่ในตำบล แก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ ปลูกไม้เมืองหนาว โดยเฉพาะสตรอเบอรี่ได้นั้น ทำเอาพ่อค้าแม่ขายชอบอกชอบใจกันใหญ่ และอยากให้ทางเกษตรส่งเสริมเต็มที่ เพราะพ่อค้าสามารถจะรับซื้อได้ทั้งหมด แม้จะปลูก 100-1,000 ไร่ ก็ตาม เพราะสะดวกต่อการขนส่งไปกรุงเทพฯ ที่จะใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงครึ่ง ผลผลิตก็จะไม่ช้ำ อย่างไม้ดอกลิลลี่ ถ้าใช้เวลาขนส่ง 2 ชั่วโมงกว่าๆ ถือว่ายังสดอยู่

ในวันที่ไปนั้นทางเจ้าหน้าที่แจงว่า ดอกลิลลี่โรยไปบ้าง เพราะปลูกและออกดอกมาสักพักแล้ว แต่ก็มีบางส่วนดอกยังบานสะพรั่งให้ได้ถ่ายรูปกันเป็นที่ระลึก ซึ่งทางคุณวิโรจน์บอกว่า เช็คดูแล้วคุณภาพไม่แพ้ทางเชียงราย ทั้งในเรื่องความหนาของดอก ความใหญ่ของดอก ลักษณะก้าน และลักษณะต้น เพราะภูมิอากาศเหมาะสม

ทั้งนี้ สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านไร่ กับสำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี และทางจังหวัด ยังมีโครงการส่งเสริมชาวบ้านปลูกชา กาแฟ และไม้ผลเมืองหนาว ไม่ว่าจะเป็นสาลี่ อะโวกาโด บ๊วย และมะคาเดเมียนัท เพราะพื้นที่นี้ทดลองแล้วสามารถปลูกได้ อย่างสาลี่ก็ออกดอก มะคาเดเมียนัทก็มีลูก ผลไม้อีกชนิดที่อยู่ในช่วงทดลองปลูกอยู่คือ ต้นพลับ และในปีหน้าจะมีการอบรม ผู้สนใจปลูกไม้เมืองหนาวหมู่บ้านละ 10 คน โดยที่นี่มี 4 หมู่ ที่ล้วนเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อยู่ในตำบลแก่นมะกรูด

สำหรับ การปลูกไม้ดอกเมืองหนาวอย่างลิลลี่ และทิวลิปนั้น คุณวิโรจน์ ระบุว่า เป็นการปลูกเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชื่นชมเสียมากกว่า ที่ผ่านมาไม่ได้มุ่งหวังการขายแต่อย่างใด เป็นการเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกในปี 2554 โดยคนรุ่นหนุ่มสาวสนใจดอกลิลลี่มาก นับเป็นครั้งแรกของจังหวัดอุทัยธานีที่นำไม้เมืองหนาวชนิดนี้มาปลูก

คุณ วิโรจน์ บอกอีกว่า นักท่องเที่ยวที่มาส่วนใหญ่จะถามว่า นำสายพันธุ์ดอกลิลลี่มาจากไหน ใช้อะไรปลูก ปลูกใช้ระยะเวลากี่วัน ปลูกแล้วดอกจะบานอยู่กี่วัน อย่างพวกดอกมีกลิ่นหอมจะปลูกยากไหม ซึ่งเจ้าหน้าที่จะอธิบายไปว่า ใช้เวลาปลูกแค่ 40 วัน ถึงจะออกดอก

สนใจ อยากจะไปเที่ยวชมความงามของดอกทิวลิป และลิลลี่ หรืออยากจะชิมสตรอเบอรี่ปลอดสารของตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โทร.ไปสอบถาม คุณวิโรจน์ ได้ ที่ (083) 036-0943, (085) 731-765 หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านไร่ โทร. (056) 539-117




 

Create Date : 29 มกราคม 2554   
Last Update : 29 มกราคม 2554 8:41:42 น.   
Counter : 3482 Pageviews.  


ทานตะวัน น้ำมันคุณภาพสูง ไม่น้อยกว่าน้ำมันมะกอก เกษตรกรปลูก 75,000 ไร่ ญี่ปุ่นรับซื้อไม่อั้น



ทานตะวัน มีปลูกกันมากที่ลพบุรีและสระบุรี โดยทั่วไปเกษตรกรจะปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวพืชหลักไปแล้ว เช่น ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เก็บเกี่ยวเดือนกันยายน จากนั้นจึงปลูกทานตะวัน เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถึงแม้กำไรสุทธิต่อไร่ไม่สูงนัก แต่เกษตรกรก็มีความพึงพอใจ

ผู้ที่ริเริ่มงานทานตะวันเป็นครั้ง แรกคือ คุณสุพจน์ แสงประทุม ปัจจุบันคือผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี

?ผมเริ่มตั้งแต่ ปี 2527 ทานตะวันเข้ามาในโครงการลดพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ราคามันสำปะหลังตกต่ำ ผมรับผิดชอบตัวนี้อยู่ เริ่มปลูกกันที่อำเภอพัฒนานิคม ปีแรก 250 ไร่ เอกชนที่เข้าร่วมคือ บริษัท แปซิฟิคฯ ทานตะวันมาบูมจริงๆ ปี 2553-2536? คุณสุพจน์ กล่าว

ถึงแม้จะย้ายไปหลายที่หลายแห่ง แต่ในโอกาสที่มีการพูดคุยเกี่ยวกับทานตะวัน คุณสุพจน์เสียสละเวลา เดินทางจากราชบุรี มาเข้าร่วมงานที่จังหวัดลพบุรี เมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้หลายๆ ฝ่ายได้เห็นตัวตนคนที่เริ่มงานทานตะวันอย่างแท้จริง

งาน ปลูกทานตะวันมีมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2527 พื้นที่ปลูกบางปีอาจจะมากถึง 300,000 ไร่ แต่บางปีอาจจะลดลง คนทั่วไปรู้จักทานตะวันเพราะมีการท่องเที่ยว ดูดอกสวยๆ แต่บางคนอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่า เขานำทานตะวันไปทำอะไร

มีการนำน้ำมันทานตะวันไปเป็นส่วนประกอบของอาหาร

ที่ ผ่านมา พื้นที่การปลูกทานตะวัน 200,000-300,000 ไร่ ปลูกทานตะวันสายพันธุ์ทั่วไป แต่เมื่อ 2-3 ปีมานี้ มีการปลูกทานตะวันสายพันธุ์ที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง

กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง มีผลดีต่อร่างกาย

ทานตะวันโดยทั่วไป มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 20-30 เปอร์เซ็นต์

ส่วน ทานตะวันพันธุ์พิเศษ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 70-80 เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านมา เกษตรกรผู้ปลูกพันธุ์พิเศษ ขายได้ราคาดีกว่าพันธุ์ทั่วไป กิโลกรัมละ 2 บาท

กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

หากร่างกายคนเรา ได้รับกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง จำนวนมากๆ โอกาสที่จะมีคอเลสเตอรอลหรือเส้นเลือดตีบตันมีน้อย



พื้นที่ปลูกทั่วไปกว่า 200,000 ไร่

แต่ปลูกพันธุ์น้ำมันคุณภาพสูง 75,000 ไร่



เมื่อ เร็วๆ นี้ มี ?พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง โครงการส่งเสริมการปลูกทานตะวันครบวงจร ปี 2553/2554? ที่ห้องเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ โรงแรมลพบุรีอินน์ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

คุณปรีชา พวงน้อย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาลพบุรี กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมพิธีลงนาม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส.จังหวัดลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์, ผู้บริหาร สกต., ผู้แทน บริษัท ไทยธุรกิจเกษตร จำกัด, บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด, บริษัท อีโตชูแมนเนจเมนท์ (ไทยแลนด์) จำกัด และ บริษัท ทรัพย์พูนผลอุตสาหกรรมไซโล จำกัด

คุณพาโชค พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันทานตะวันเพื่อบริโภค ประมาณ 100,000 ตัน ต่อปี เพื่อนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม และการบริโภค ทาง บริษัท แปซิฟิคฯ จึงได้ร่วมมือกับภาครัฐดำเนินการส่งเสริมการปลูกทานตะวันในเมืองไทยอย่างต่อ เนื่อง ตั้งแต่ ปี 2528 จนปัจจุบันมีพื้นที่ปลูก 300,000-400,000 ไร่ ต่อปี แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการใช้ในประเทศ

?การปลูกทานตะวันในปัจจุบัน เกษตรกรนิยมปลูกเป็นพืชรุ่นที่ 2 ในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ ลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ เป็นพืชทางเลือกและเสริมรายได้ เหมาะแก่การปลูกเป็นพืชรุ่นที่ 2 เนื่องจากทานตะวันเป็นพืชทนแล้ง และวิธีการดูแลรักษาที่ง่ายกว่าพืชรุ่นที่ 2 อื่นๆ นอกจากนี้ น้ำมันทานตะวันก็เป็นน้ำมันพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในขณะเดียวกันบริษัทก็ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพสูง กว่าสายพันธุ์ทั่วๆ ไป หรือที่เรียกว่า...ไฮ โอลีอิค แอซิด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ? คุณพาโชค กล่าว

คุณพาโชค กล่าวว่า เนื่องจากญี่ปุ่นต้องการน้ำมันคุณภาพสูงจำนวนมาก ทาง บริษัท แปซิฟิคฯ จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท อีโตซูฯ ในการส่งเสริมการปลูกทานตะวันน้ำมันที่มีคุณภาพสูงในเมืองไทย โดยร่วมเสนอโครงการแก่ ธ.ก.ส. และ สกต. ในการดำเนินการส่งเสริมปลูกทานตะวันครบวงจร ปี 2553/2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างหลักประกันทางการตลาด และเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร มีพื้นที่เป้าหมาย 75,000 ไร่ ใน 4 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ซึ่งทาง บริษัท แปซิฟิคฯ เป็นผู้จัดการหาเมล็ดพันธุ์ ที่ให้น้ำมันคุณภาพสูง 2 สายพันธุ์ คือ โอลิซัน 2 และโอลิซัน 3 ส่วนบริษัท อีโตซูฯ เป็นผู้ประกันราคารับซื้อขั้นต่ำ และให้ราคาส่วนเพิ่ม เมื่อตรวจสอบคุณภาพได้ตามมาตรฐาน ซึ่งทางบริษัท อีโตซูฯ ได้จัดตัวแทนรับซื้อเพื่อสะดวกแก่การขนส่ง ที่ บริษัท ทรัพย์พูนผลอุตสาหกรรมไซโล จำกัด อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

คุณ พาโชค กล่าวว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 2,000 ราย ผู้ร่วมดำเนินการมี 6 ฝ่าย ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. บริษัท อีโตซูฯ บริษัท แปซิฟิคฯ บริษัท ทรัพย์พูนผลฯ และ บริษัท ไทยธุรกิจเกษตร จำกัด

คุณชัยวัฒน์ ปกป้อง รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการ สาขา 5 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กล่าวในฐานะประธานในพิธีเปิดงานว่า โครงการปลูกทานตะวันแบบครบวงจร ปี 2553/2554 เป็นโครงการที่น่าสนใจมาก เพราะมีหลักประกันทางการตลาดที่แน่นอน โดยมีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เกษตรกรสามารถคาดการณ์รายได้ค่อนข้างชัดเจนภายใต้ข้อตกลงและเงื่อนไขร่วมกัน ส่วนเรื่องที่ต้องการฝากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และพี่น้องเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้ให้ความสำคัญเป็นประการต้นๆ คือ เนื่องจากเป็นโครงการนำร่อง ดำเนินการมาเป็นปีที่ 3 ซึ่งในการดำเนินการใน 2 ปีที่ผ่านมา ประสบผลสำเร็จอย่างดี ดังนั้น ควรช่วยกันควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานข้อตกลงของโครงการ ซึ่งจะเป็นผลงานและสามารถขยายโครงการในปีต่อๆ ไปอย่างมั่นคง



น้ำมันคุณภาพดี

ไม่น้อยไปกว่าน้ำมันมะกอก

คุณ ชัยยุทธ รื่นจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดลพบุรี กล่าวว่า การดูแลเกษตรกรที่ปลูก จะแบ่งเป็นกลุ่ม โดยให้เกษตรกรที่มีความรู้ความสามารถ 1 คน ดูแลลูกกลุ่ม 20 คน พร้อมทั้งมีคู่มือให้ว่าปลูกเมื่อไหร่ ดูแล และเก็บผลผลิตอย่างไร ผู้ที่ปลูกทานตะวันที่ให้น้ำมันคุณภาพสูง จะขายได้ราคาดีกว่าพันธุ์ทั่วไป ซึ่งปีที่แล้ว มีผลทำให้ราคาซื้อขาย เมล็ดทานตะวันทั่วไปสูงขึ้น

?ฤดู ผลิตใหม่นี้ คาดว่าราคาผลผลิตจะดี เพราะประเทศอื่นมีความเสียหายทางด้านการเกษตรจำนวนมาก อยากให้บอกข่าว เราทำกันมาปีที่ 3 แล้ว ทำอย่างไร จะทำผลผลิตให้มั่นคง เมื่อทำได้โพรดักส์ต่างๆ จะตามมา? คุณชัยยุทธ กล่าว

คุณชัยวัฒน์ ปกป้อง รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการ สาขา 5 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กล่าวว่า การดูแลเกษตรกร หากดูแลเป็นตัวบุคคลดูแลยาก ต้องดูแลผ่านกลุ่ม ให้ผู้นำกลุ่มช่วยเผยแพร่ความรู้ เกษตรกรบางคนเก่งเรื่องปุ๋ย ก็แนะนำกัน ทางญี่ปุ่นบอกว่า ซื้อผลผลิตได้จำนวนมาก การจำหน่ายผลผลิตหากจำหน่ายราคาแพงเกินไป เขานำไปทำกำไรไม่ได้ อาจจะไปซื้อจากประเทศอื่น อย่างอาร์เจนตินา

คุณพาโชค พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด กล่าวว่า เกษตรกรที่อยู่นอกเหนือโครงการ 75,000 ไร่ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นสมาชิก ธ.ก.ส. ก็ได้ หรือไม่เป็นสมาชิกก็ได้ ผู้ที่เป็นสมาชิกก็มีการดูแล ส่วนผู้ที่ไม่เป็นสมาชิก ทางบริษัทให้คำแนะนำอยู่แล้ว อีกอย่างเกษตรกรที่ปลูกทานตะวัน อยู่ในพื้นที่ 4 จังหวัด เป็นรายเก่า ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นจะคุ้นเคย ทางบริษัทได้พยายามถ่ายทอดแนวคิด การเพิ่มผลผลิต พยายามให้ปลูกก่อนหมดฝน อย่างไรก็ตาม หากทานตะวันต้นสูงขนาดเข่า หากหมดฝนสามารถให้ผลผลิตได้

คุณ พาโชค กล่าวอีกว่า น้ำมันคุณภาพดีที่ได้จากทานตะวันพันธุ์พิเศษ คุณภาพไม่ด้อยไปกว่าน้ำมันที่ได้จากมะกอกหรือโอลีฟ ดังนั้น เป็นโอกาสของผู้ที่สนใจทำธุรกิจด้านนี้ เพราะต้นทุนการผลิตน้ำมันคุณภาพจากทานตะวันพันธุ์พิเศษ ต่ำกว่าการผลิตจากมะกอก ดังนั้น สามารถทำกำไรได้มากกว่า

ผลผลิตทานตะวัน จากพื้นที่การปลูก 75,000 ไร่ ญี่ปุ่นรับซื้อไปแปรรูปทั้งหมด

เนื่อง จากการปลูกทานตะวันมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล กระจายอยู่ใน 4 จังหวัด ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์ทั่วไป ดังนั้น การซื้อขายพันธุ์พิเศษ อย่างโอลิซัน 2 และโอลิซัน 3 จึงต้องมีการตรวจสอบ เพื่อป้องกันการปลอมปน ซึ่งการตรวจสอบทำได้ภายในไม่กี่นาที

เหตุที่ต้องมีการตรวจสอบ ก็ดังที่ได้บอกไปแล้วว่า พันธุ์พิเศษ ขายได้ราคาสูงกว่าพันธุ์ทั่วไป กิโลกรัมละ 2 บาท

อย่าง ไรก็ตาม ถ้ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง หากพื้นที่ปลูกในไทยทั้งประเทศ ปลูกพันธุ์พิเศษทั้งหมด ญี่ปุ่นสามารถรับซื้อได้ แต่ไม่ใช่ระยะเวลาอันใกล้นี้

ผู้สนใจงาน ปลูกทานตะวัน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 ถนนพหลโยธิน ตำบลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120 โทร. (036) 266-316-9, (036) 267-877-8 หรือ //www.pacthai.co.th



คำแนะนำการปลูก

ฤดูการปลูก เดือนสิงหาคม-ตุลาคม

อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ จำนวนเมล็ดพันธุ์ที่แนะนำให้ใช้ 1.0-1.5 กิโลกรัม/ไร่

การเตรียมดิน ไถดะด้วยผาล 3 ตากดินไว้ประมาณ 7 วัน แล้วไถแปรด้วยผาล 7

วิธีการปลูก หยอดหลุมละ 1-2 เมล็ด ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น

ระยะปลูก ระหว่างต้น 35-45 เซนติเมตร ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร



การเพิ่มผลผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น แนะนำให้ใส่ปุ๋ยทางใบ 2-3 ครั้ง ก่อนออกดอก เมื่อทานตะวันอายุประมาณ 40-45 วัน

การให้น้ำ ควรให้น้ำเมื่อต้นทานตะวันแสดงอาการเหี่ยว โดยเฉพาะในระยะทานตะวันกำลังแตกตาดอก และดอกบาน จะทำให้ได้ผลผลิตสูง

การเก็บเกี่ยว เมื่อจานดอกมีสีน้ำตาลเข้ม หรือเมื่ออายุ 100-110 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศขณะเก็บเกี่ยว



โครงการส่งเสริมการปลูกทานตะวันครบวงจร ปี 2553-2554

ดำเนินโครงการโดย

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์

- สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์

- บริษัท อีโตชูแมนเนจเมนท์ (ไทยแลนด์) จำกัด

- บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด

- เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และ สกต.ในจังหวัดลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์

วัตถุประสงค์ ส่งเสริมการผลิตเมล็ดทานตะวันที่ให้น้ำมันคุณภาพสูงโดยเฉพาะและสกัดน้ำมันเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ

พื้นที่เป้าหมาย จำนวน 100,000 ไร่ ในเขตจังหวัดลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์

เมล็ดพันธุ์ในโครงการ ใช้เฉพาะเมล็ดพันธุ์แปซิฟิค โอลิซัน 2 และ โอลิซัน 3 เท่านั้น

ช่วงเวลาการปลูก เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2553

เงื่อนไขการซื้อ

1. ให้ราคาเพิ่มอีก 2 บาท/กิโลกรัม จากราคาท้องตลาด ณ วันรับซื้อเมื่อตรวจสอบทานตะวันแล้วว่า ไม่มีพันธุ์อื่นปะปน

2. เกษตรกรผู้ที่นำเมล็ดทานตะวันส่งไซโลด้วยตนเอง รับค่าขนส่งเพิ่ม กิโลกรัมละ 0.50 บาท

3. ราคาหน้าไซโลจะเปลี่ยนแปลงตามราคาท้องตลาด โดยอ้างอิงราคาจากบริษัทน้ำมันพืช

4. การรับซื้อผลผลิตจะยึดตามมาตรฐานการรับซื้อเมล็ดทานตะวันของอุตสาหกรรมน้ำมันพืช

5. มีนักวิชาการร่วมติดตามและให้ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ทำโครงการ

6. ราคาการรับซื้อทานตะวันขั้นต่ำ 12.50 บาท/กิโลกรัม (ราคาประกันรวมราคาเพิ่มเติมและค่าขนส่ง)

7. ทางโครงการสงวนสิทธิที่จะไม่รับซื้อเมล็ดทานตะวันที่มีสายพันธุ์อื่นๆ ปลอมปน




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2553   
Last Update : 14 ตุลาคม 2553 0:12:15 น.   
Counter : 3052 Pageviews.  


บ้านแม่ขนิลเหนือ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งปลูกอะโวกาโดคุณภาพดีที่สุด อะ โวกาโด เป็นไม้ผลที


บ้านแม่ขนิลเหนือ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งปลูกอะโวกาโดคุณภาพดีที่สุด

อะ โวกาโด เป็นไม้ผลที่มีคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ แต่ในประเทศไทยไม่เป็นที่นิยมบริโภคมากนักเนื่องจากประเทศไทยนั้นมีผลไม้ อยู่หลากหลายชนิด จึงมีทางเลือกการบริโภคผลไม้ ทั้งนี้คนไทยนิยมบริโภคผลไม้ที่มีรสหวาน กลิ่นหอมนุ่มนวล ซึ่งรสชาติเมื่อนำมาวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารและเปรียบเทียบกับผลไม้อื่นพบ ว่า อะโวคาโดมีคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าผลไม้ชนิดอื่น จึงถือว่าเป็น "อาหารเพื่อสุขภาพ" เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ทำให้คนไทยหันมารับประทานกันมากขึ้น ส่วนพื้นที่ปลูกอะโวกาโดต้องปลูกให้สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป ซึ่งบ้านแม่ขนิลเหนือ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากระดับน้ำทะเลที่เหมาะสมในการปลูกอะโวกาโดที่มี คุณภาพและได้ผลผลิตเป็นจำนวนมากที่สุด

คุณพนิต เจริญบูรณ์ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า "อะโวกาโดเข้ามาปลูกในเชียงใหม่นานกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นผลไม้ที่เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว สำหรับพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมเป็นพื้นที่สูงที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูก เพื่อเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกหลายแห่ง แต่ที่ตำบลแม่ขนิลเหนือ มีพื้นที่ปลูกอะโวกาโดมากที่สุด และปลูกมานานแล้ว ซึ่งการปลูกอะโวกาโดเป็นแนวทางการนำพืชมาปลูกเพื่อทดแทนพื้นที่ปลูกพืชที่ ได้ราคาต่ำ โดยในอนาคตมีแนวโน้มขยายพื้นที่การปลูกอะโวกาโดให้มากขึ้น เพื่อทดแทนพืชเศรษฐกิจตัวอื่นที่ราคาตกต่ำ ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น"

คุณพิเชษฐ์ ภาโสพระ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม้ผล โครงการหลวงทุ่งเริง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า "โครงการหลวงทุ่งเริง ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกพืชผัก ผลไม้ หลายชนิด และอะโวกาโดเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่ทางโครงการหลวงได้ส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกอะโวกาโด พันธุ์ที่ปลูกมีพันธุ์ Hass พันธุ์ปักคาเนีย พันธุ์ปิโดสัน ซึ่งอะโวกาโดเป็นผลไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีความสูงจากน้ำทะเลถึง 650 เมตร ทำให้ผลผลิตอะโวกาโดที่ได้มีคุณภาพ เนื้อมัน ไม่มีเส้นใย รสชาติดี เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกอะโวกาโด โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 71 คน มีจำนวนทั้งหมดประมาณ 135 ไร่ ผลผลิตที่ได้ในปี 2552 จำนวน 45 ตัน และในปี 2553 คาดว่ามีผลผลิตถึง 50 ตัน"

คุณเมือง ไชยลวน ผู้ใหญ่บ้านแม่ขนิลเหนือ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า "ตนเองได้เริ่มปลูกอะโวกาโดมานานแล้ว โดยปลูกพืชผัก มาปลูกอะโวกาโดในแปลงพืชผักอินทรีย์ ในพื้นที่ 2 ไร่ จำนวน 50 ต้น แต่พอต้นอะโวกาโดโต จึงได้ย้ายพืชผักอินทรีย์ไปปลูกแปลงใหม่ ส่วนพันธุ์ที่ปลูกมี พันธุ์ Hass พันธุ์ปิโดสัน และปักคาเนีย การดูแลอะโวกาโดไม่ยุ่งยาก อะโวกาโดจะให้ผลผลิตในเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน การเก็บผลผลิตอะโวกาโด เลือกเก็บลูกที่ผลสุกก่อน จึงทำให้ผลผลิตจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลาดของโครงการหลวงรับซื้อผลผลิตอะโวกาโดเกือบทั้งหมด มีบางส่วนเท่านั้นที่พ่อค้าทั่วไปเข้ามารับซื้อซึ่งมีจำนวนไม่มาก ราคาประมาณกิโลกรัมละ 20-25 บาท โดยผลผลิตที่ได้ต่อต้นต่อปี ประมาณ 300-500 กิโลกรัม"

ผู้สนใจเกี่ยวกับอะโวกาโดสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ คุณพิเชษฐ์ ภาโสพระ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม้ผลโครงการหลวงทุ่งเริง ตำบลบ้างปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (089) 261-4532




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2553   
Last Update : 14 ตุลาคม 2553 0:09:28 น.   
Counter : 3898 Pageviews.  


หนุ่มเมืองหนองหารหลวง สกลนคร ปั้นดินให้เป็นเงิน (เตา) สร้างรายได้ปีละแสน เตา อั้งโล่ หรือเรียกกันว่

หนุ่มเมืองหนองหารหลวง สกลนคร ปั้นดินให้เป็นเงิน (เตา) สร้างรายได้ปีละแสน

เตา อั้งโล่ หรือเรียกกันว่า เตาประสิทธิภาพสูง ที่ชาวบ้านในชนบทและในเมืองยังมีความจำเป็นต้องใช้อยู่ แม้ว่าพัฒนาการจะก้าวหน้าถึงขั้นใช้ไฟฟ้า ใช้ก๊าซมาหุงต้มแทน แต่การใช้เตาประสิทธิภาพสูงหรือเตาอั้งโล่นั้นก็ยังมีความจำเป็นอยู่เช่น เดียวกัน และดูเหมือนว่า ทุกครัวเรือนในชนบทมีไว้ใช้ทุกหลังคาเรือน ใช้ง่าย และคุณภาพสูง

คุณทู สกุลโชคบุญมา วัย 45 ปี เจ้าของโรงงานปั้นเตา บ้านดอนต้นม่วง ตำบลพอกน้อย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เล่าว่า ได้ยึดอาชีพปั้นเตามาตั้งแต่เกิดก็ว่าได้ เพราะเดิมแล้วเป็นคนหมู่บ้านดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันหมู่บ้านดังกล่าวเป็นเทศบาลตำบลไปแล้ว และเป็นแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มาจากดิน คือ เตาประสิทธิภาพสูง หรือชาวบ้านเรียกว่า "เตาอั้งโล่" เป็นแหล่งเดียวในจังหวัดสกลนครที่ส่งออกจำหน่ายในภูมิภาคแถบนี้มากที่สุดและ มีชื่อเสียง



ก่อนมาเป็นคนปั้นเตา

คุณทู เล่าว่า เมื่ออายุ 10 ปี ก็ได้เข้าไปสมัครงานเป็นคนงานในโรงงานปั้นเตาที่หมู่บ้านดงมะไฟ โดยทำหน้าที่ทั้งขนดิน นวดดิน ตามแต่ช่างปั้นเตาเขาจะสั่ง เพราะเป็นลูกมือ ได้ค่าแรงวันละ 10 บาท โดยโรงงานนี้เจ้าของเป็นคนเชื้อสายจีนทางภาคเหนือได้ย้ายมาอยู่ที่นี่ และตั้งโรงงานปั้นเตาขึ้น

พออายุ 13 ปี ก็ออกจากโรงเรียนภาคบังคับ คือจบ ป. 4 ก็ปรับเปลี่ยนขึ้นชั้นมาเป็นช่างปั้นเตา โดยได้ค่าแรงเปลี่ยนจากลูกมือมาเหมาเอง จากการเหมาลูกละ 1.50 บาท (หกสลึง) แทนวันละ 10 บาท และสามารถปั้นเตาได้วันละ 150 ลูก เฉลี่ยแล้วมีรายได้เดือนละกว่า 3,000 บาท ซึ่งนับว่ามากพอสมควรเมื่อนึกถึงค่าของเงินในสมัยนั้น

หลังจากที่ เก็บหอมรอมริบ เป็นช่างปั้นเตาและเรียนรู้เทคนิคต่างๆ จากเจ้าของโรงงานแล้ว เมื่ออายุ 21 ปี จึงได้แต่งงานกับคุณกลิ่นแก้ว สาวสวยจากบ้านดอนต้นม่วง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร หลังจากแต่งงานก็ยังยึดอาชีพปั้นเตามาตลอด จนได้ 1 ปี คุณกลิ่นแก้ว ภรรยา บอกว่า งานปั้นเตาเป็นงานที่หนักพอสมควร และอยากจะทดลองเปลี่ยนไปค้าขายอย่างอื่นบ้าง เพราะมีบุตรแล้ว 1 คน เมื่อตกลงที่จะหันเหชีวิต จึงไปทำมาค้าขายทำโรงปลาทู ขายส่ง และส่งไข่สด ทำมาค้าขายอยู่ได้ 7 ปี จนมีลูก 3 คน ชาย 1 หญิง 2 คน ไม่ประสบผลสำเร็จ ลุ่มๆ ดอนๆ พออยู่ได้ จึงได้ปรึกษาหารือกับภรรยาว่า น่าจะกลับไปปั้นเตาส่งขายอย่างเดิม เพราะเป็นงานที่ถนัดและต้นทุนก็ไม่สูงนัก

ตัดสินใจลงทุนใหม่ ตั้งโรงงานเตา หลังจากนั้นก็กลับมาอยู่ที่บ้านดอนต้นม่วง อำเภอพรรณานิคม ลงทุนสร้างเพิงเป็นแบบโรงงาน (มุงเทิบ หรือเพิงหมาแหงน) เพื่อป้องกันฟ้าฝน ตั้งใจปั้นเตา จนทำให้โรงงานแทบไม่ทัน



เดินทางไปทำงานต่างประเทศ

ใน ช่วงนั้นได้มีคนในหมู่บ้านหลายคนไปทำงานต่างประเทศมาพูดคุยให้ฟัง ประกอบกับมีญาติทางคุณกลิ่นแก้วมาบอกว่ามีงานทำเงินเดือนสูงที่ประเทศ ไต้หวัน สนใจหรือไม่ เงินเดือนหลัก 20,000 บาท ขึ้นไป จึงตัดสินใจเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยให้คุณกลิ่นแก้วกับลูกปั้นเตาแทน แต่ทำในปริมาณเท่าที่ทำได้ ทำงานอยู่ได้ 3 ปี ก็เดินทางกลับบ้าน และตัดสินใจเด็ดขาดไม่กลับไปทำงานอีก เพราะเงินเดือนแค่ 17,000 บาท เท่านั้น เมื่อมาอยู่บ้านได้เดือนเศษๆ เพื่อนที่อยู่กรุงเทพฯ ก็มาเยี่ยมและชักชวนไปทำงานอีก โดยบอกว่า ได้วันละ 500 บาท เป็นโชว์เฟอร์ขับรถทัวร์ สายบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ซึ่งเงินก็ได้ตามที่ต้องการ ทำอยู่ได้เดือนเดียวก็เลิก เพราะลูกๆ อยากให้เลิก เป็นอาชีพที่เสี่ยงเกินไป ประกอบกับไม่เหมาะกับบุคลิกตนเอง จึงตัดสินใจเลิก กลับมาอยู่บ้าน



ปี 2546 หันกลับมาทำโรงงานปั้นเตา

เมื่อ กลับมาอยู่บ้านและมีเจ้าของโรงงานที่รับซื้อเตา มาติดต่อว่าขอให้ปั้นเตาให้ โดยแบบออเดอร์ไม่อั้น มีเท่าไหร่รับหมด และเป็นเงินสดทันที จึงตัดสินใจฟื้นฟูทำโรงงานเตาอย่างจริงจังตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยปรับปรุงพื้นที่ และก็ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มมาก เนื่องจากเป็นโรงงานเดิมอยู่แล้ว จึงได้สั่งดินเหนียวมาไว้จำนวนมาก เพื่อเร่งผลิตเตาให้กับโรงงาน

คุณทู บอกว่า สำหรับดินที่ปั้นเตาจะต้องเป็นดินเหนียวมันปู หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ดินดาก" โดยจะมีบ่อดินที่บ้านดงมะไฟ

ปัจจุบัน ดินดังกล่าวจะมีผู้ขุดมาขายให้ ราคา (รถสิบล้อ 1 คัน) 1,000 บาท ต่อคันรถ โดยเตาที่ปั้นจะเป็นแบบที่เรียกกันภาษาของคนขายเตาว่า เตาเบอร์ 1 และ เตาเบอร์ 3 รถดินสิบล้อ 1 คัน จะปั้นเตาเบอร์ 3 ได้ประมาณ 2,000 ลูก ราคาขายส่ง ลูกละ 7 บาท (โดยมีทุน+ค่าแรง = 50 สตางค์ ต่อลูก) เตาเบอร์ 3 เป็นเตาที่ชาวบ้านใช้ทั่วไปแทบทุกครัวเรือน-เตาเบอร์ 1 จะได้ 1.500 ลูก ราคาขายส่ง ลูกละ 15 บาท (โดยมีทุน+ค่าแรง = 70 สตางค์ ต่อลูก) เตาเบอร์ 1 เป็นเตาแบบร้านอาหาร หรือโรงเรียนใช้

คุณทู บอกอีกว่า เตาทุกลูกมีการรับประกันว่า หากแตก คืนหรือเปลี่ยนให้ฟรี ทุกวันนี้ทำงานคนเดียว โดยมีภรรยาคอยช่วยเหลือ จะปั้นเตาได้เพียงเดือนละ 2,000 ลูก เฉลี่ยรายได้ประมาณ 15,000 บาท ถึง 20,000 บาท ต่อเดือน เป็นงานที่ทำอยู่กับบ้าน ส่วนสินค้าโรงงานก็มารับเองถึงบ้าน

วัสดุ/ส่วน ประกอบการปั้นเตา แกลบดำ (ที่เหลือจากการเผาหรือต้มเกลือ โดยซื้อคันรถละ 2,000 บาท ใช้ได้ตลอดปี ดินเหนียว (ดินมันปูหรือดินดาก)



การคัดเลือกดินเหนียว

คุณ ทู บอกอีกว่า การหาแหล่งดิน (Clay source) มีความสำคัญต่อการผลิตเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงมาก (อั้งโล่) หากคัดเอาดินทั่วๆ ไป ที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมมาผลิตเตา จะทำให้เกิดปัญหา เช่น ปั้นขึ้นรูปได้ยาก เกิดการแตกร้าว ไม่คงทนเมื่อเผาเสร็จแล้ว จากการทดลองและประสบการณ์ของช่างทำเตาตั้งแต่อดีต พบว่าดินเหนียวที่เกิดจากการตะกอนในที่ราบต่ำ หรือตามลำน้ำ เป็นวัตถุดิบที่ดีมากสำหรับปั้นเตา ดินเหนียวที่ขุดจากท้องนา (ควรขุดลึกกว่า 0.5 เมตร ลงไป) ก็สามารถใช้ได้ดี ดินเหนียวจะมีสีแตกต่างกัน เช่น สีเทาอ่อน สีเทาแก่ น้ำตาลเข้ม แล้วแต่แหล่งที่มา แต่เมื่อเผาแล้วส่วนมากจะมีสีเหลืองหม่น หรือสีเทา ส่วนมากมักจะนำดินเหนียวมาผสมกับขี้เถ้าแกลบดำ หรือดินเชื้อเพื่อให้เกิดความเหนียว ปั้นขึ้นรูปได้ง่ายและแข็งแรง เมื่อเผาแล้ว ดินเหนียว (Clay) โดยทั่วไปนิยมใช้ดินเหนียวสีเทาเข้มในการปั้นเตา เนื้อดินควรมีส่วนประกอบของอะลูมินาและเหล็กออกไซด์สูง เพื่อสามารถหลอมละลายได้ที่อุณหภูมิไม่สูงนัก และควรมีซิลิกาเป็นส่วนประกอบอีกด้วย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงแก่ชิ้นงานหลังการเผา นอกจากนั้น ในดินเหนียว ยังประกอบด้วยสารอินทรีย์ต่างๆ ทำให้เกิดรูพรุนในเนื้อเตา เพิ่มความเป็นฉนวน อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบต่างๆ ควรอยู่ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ขนาดของเม็ดดินเหนียวก็ควรจะมีขนาดที่พอเหมาะ หากมีเม็ดขนาดใหญ่เป็นส่วนมาก ก็มีโอกาสเกิดการแตกร้าวได้ง่าย ดังนั้น ดินเหนียวที่มาจากแหล่งที่แตกต่างกัน ก็อาจจะต้องมีการเตรียมดินที่แตกต่างกันไปด้วย



ขั้นตอน/วิธีการ/การเตรียมดิน

การ หมักดินเหนียว ดินเหนียวที่จะนำมาใช้ต้องสะอาด ไม่มีเศษไม้ เศษหิน มีแต่ดินเหนียวล้วนๆ ถ้าเป็นก้อนใหญ่ ก็ควรทุบให้ย่อยเป็นก้อนเล็กๆ ก่อนหมักควรตากไว้ให้แห้ง อย่างน้อย 1 วัน แล้วนำลงบ่อหมัก แช่ไว้ในน้ำ นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จนดินอิ่มน้ำอย่างทั่วถึง แล้วนำมาเตรียมไว้ผสม



การนวดและผสมดิน

นำ ดินที่หมักแล้วมานวดผสมกับแกลบดำ นวดจนเข้ากัน (ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องนวดดิน เพื่อความสะดวกและการผสมที่ดีกว่า) โดยทั่วไปจะใช้ดินเหนียว 2 ส่วน ต่อขี้เถ้าแกลบดำ 1 ส่วน ซึ่งอัตราส่วนผสมนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดินแต่ละแห่งด้วย ขณะนวดผสมดินจะพรมน้ำตามไปด้วย เพื่อให้นวดได้ง่ายขึ้น ส่วนผสมที่เข้ากันดีแล้ว ให้นำมากองเก็บไว้ อาจจะแบ่งเป็นก้อนๆ ขนาดพอเหมาะที่จะทำเตา หรือแบ่งทีหลังก็ได้ แล้วปิดด้วยพลาสติกหากยังไม่ใช้ทันที เพื่อไม่ให้ดินผสมแห้งเกินไป



การปั้นขึ้นรูป และปรับแต่งเตา

นำ ดินที่หมักแล้วใส่ลงในแม่พิมพ์ภายนอกซึ่งวางอยู่บนแท่น แล้วใช้มือตบปั้นขึ้นรูปเป็นทรงของเตา โดยให้มีความหนาและขนาด ภายในเป็นไปตามกำหนด แล้วตกแต่งผิวด้านในเตา ได้แก่ ห้องใต้รังผึ้ง ห้องเผาไหม้ ให้เรียบร้อย แล้วอัดทับด้วยแม่พิมพ์ภายใน เพื่อขึ้นรูป ปากเตา และเส้าเตา

เมื่อได้ที่แล้ว ถอดแบบ นำเตาไปตากแดด ผึ่งลมให้แห้งหมาดๆ ประมาณ 2-3 วัน แล้วนำเตามาปาดตกแต่ง ปากเตา เส้าเตา และเจาะช่องลม แล้วนำไปตากแดด ผึ่งลม จนแห้งสนิท ใช้เวลาประมาณ 2- 4 วัน จะได้เตาที่พร้อมจะนำไปเผา และส่งโรงงานเพื่อนำไปสวมแบบ (ถังสังกะสี) และจำหน่าย

นักปั้นเตาจากเมืองสกลนครบอกถึงเทคนิคของการผสมดินว่า อยู่ที่การผสมแกลบดำกับดินในช่วงของการนวด หากอยู่ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เตาไม่คงทน แตกร้าวง่าย ที่นี่จึงกล้ารับประกันคุณภาพให้ แต่อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้คนหรือผู้สนใจมาฝึกเรียนไว้ เพราะงานปั้นเตาผมถือว่าเป็นศิลปะอีกแบบหนึ่ง และสามารถสร้างงานและทำเงิน จึงอยากถ่ายทอด เอาไว้

"ผมแปลกใจมากว่า ทำไม คนจึงไม่อยากเรียนอยากฝึก ทั้งที่เป็นงานที่ขยันทำมาก ก็ได้เงินมาก ตลาดก็ไม่มีปัญหาอะไร ผมยินดีสอนให้และถ่ายทอดสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้ทันที" คุณทู บอก

สนใจที่อยากศึกษาหรือดูงาน ขอข้อมูลเพิ่มเติ่มได้ที่ คุณทู สกุลโชคบุญมา โรงงานปั้นเตาบ้านดอนต้นม่วง ตำบลพอกน้อย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โทร. (089) 576-8993 ทุกวัน




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2553   
Last Update : 14 ตุลาคม 2553 0:08:45 น.   
Counter : 4073 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  

hoon_vi
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




เป็นนักลงทุนมือใหม่ กำลังหาวิธีการเหมาะสำหรับตัวเอง ชอบการถ่ายรูป ท่องเที่ยว เขียนบทความ
[Add hoon_vi's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com