แหล่งรวบรววมวิธีเล่นหุ้น
 
Money Game : พลังขับเคลื่อนราคาหุ้น

Money Game : พลังขับเคลื่อนราคาหุ้น

ผมมีโอกาสเร็วๆ นี้ เป็นวิทยากรในเรื่อง Value creation through valuation ให้กับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ซึ่งเป็นหัวข้อเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าหุ้นได้อย่างไร


เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่า ส่วนใหญ่ของราคาหุ้นถูกขับเคลื่อนด้วยผลประกอบการหรือกำไรของบริษัทนั้นว่า สามารถส่งกับผู้ถือหุ้นเท่าไร แต่อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณีเลยทีเดียวที่บริษัทจดทะเบียนมีกำไรแต่เป็นกำไรเทียม และบริษัทนั้นกลับขาดสภาพคล่อง ต้องเพิ่มทุนอยู่สม่ำเสมอ

ในวงการนักวิเคราะห์จะมีเครื่องมือวัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนได้ดีกว่ากำไรต่อหุ้น (Earnings per share) ซึ่งเครื่องมือนั้นก็คือ ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Returns on capital employed)

หมายความว่า การลงทุนในหุ้นนั้นจะเพิ่มมูลค่าการลงทุนให้กับผู้ถือหุ้น หรือเป็น Enhancing shareholders value เมื่อบริษัทสามารถลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนทางการเงิน ซึ่งเป็นผลเฉลี่ยของต้นทุนหนี้และต้นทุนของเงินลงทุน (Weighted overage cost of capital)

ในทางสูตรทางการเงินผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสามารถเขียนเป็นสูตรได้คือ กำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit) หารด้วยทุนดั้งเดิม บวกด้วย หนี้สินสุทธิ

ถ้าตัวเลขที่คำนวณได้มากกว่า 15% ขึ้นไป ผมถือว่าบริษัทให้ผลตอบแทนในการลงทุนได้ดีเลยทีเดียว ยิ่งถ้าตัวเลขถึง 20%-30% หุ้นตัวนั้นต้องซื้อเลยทันที เพราะโดยปกติต้นทุนทางการเงินของผู้ถือหุ้นจะอยู่ในช่วง 10-14% หุ้นที่มีผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Return on capital employed) สูงจะต้องมี 2 ปัจจัยเป็นตัวขับเคลื่อน

ปัจจัยแรก คือ การหมุนของสินทรัพย์ถาวร หรือ Asset Turnover ประกอบด้วย ยอดขาย (Sales revenues) หารด้วยสินทรัพย์ถาวร (Fixed assets) ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่มีขนาดเล็ก ถ้าสามารถหมุนทรัพย์สินถาวรของตนเองให้เร็วเท่าไร กระแสเงินสดจะเกิดขึ้นเท่านั้น

กรณีศึกษานี้สามารถดูได้จากหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งที่เปลี่ยนธุรกิจจากการขายวัสดุก่อสร้างมาเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ติดอันดับหนึ่งในห้าของบริษัทจดทะเบียนหลักทรัพย์เลยทีเดียว

โดยบริษัทแห่งนี้เริ่มจากมีที่ดินเล็กๆ ผืนหนึ่ง แล้วได้พัฒนาทาวน์เฮ้าส์ขึ้นมา จากนั้นเอาเงินที่ได้จากการขายทาวน์เฮ้าส์มาพัฒนาที่ดินต่อ และปีหนึ่งทำ 4-5 โครงการ โดยอาศัยการขายและการหมุนของสินทรัพย์ที่เร็ว และเป็นลักษณะเงินต่อเงิน ในที่สุด Market capitalization ของบริษัทนี้ได้เพิ่มขึ้นจากไม่กี่ร้อยล้านบาท มาอยู่ที่ 5-6 พันล้านบาท เลยทีเดียว สุดท้ายความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นก็เพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่สอง กำไรจากการดำเนินงานสุทธิ (Operating profit margin)

จากสองปัจจัยดังกล่าว ถ้าเรายกตัวอย่างเช่น บริษัทต้องการมีเป้าหมายที่มีผลตอบแทนต่อการลงทุนที่ 30% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงพอดู บริษัทสามารถทำได้ดังนี้ คือ

กรณีที่หนึ่ง กำไรจากดำเนินงานสุทธิ 10% และมีการหมุนของสินทรัพย์ 3 ครั้งต่อปี หรือ

กรณีที่สอง กำไรจากดำเนินงานสุทธิ 5% และมีการหมุนเวียนของสินทรัพย์ 6 ครั้งต่อปี หรือ

กรณีที่สาม กำไรจากดำเนินงานสุทธิ 2% แต่ต้องมีการหมุนเวียนของสินทรัพย์ 15 ครั้งต่อปี

ในกรณีต่างๆ เหล่านี้ เราสามารถสรุปได้ว่า ถ้าเราพบหุ้นตัวไหนที่มีกำไรจากดำเนินงานสูง และมีการหมุนสินทรัพย์ถาวรที่สูง หุ้นตัวนั้นมีความน่าสนใจในการลงทุนมากเลยทีเดียว



Create Date : 20 เมษายน 2549
Last Update : 20 เมษายน 2549 20:03:17 น. 0 comments
Counter : 653 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

hoon_vi
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




เป็นนักลงทุนมือใหม่ กำลังหาวิธีการเหมาะสำหรับตัวเอง ชอบการถ่ายรูป ท่องเที่ยว เขียนบทความ
[Add hoon_vi's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com