แหล่งรวบรววมวิธีเล่นหุ้น
 
Money Game : หามูลค่า 'หุ้นเก็งกำไร' (1)

Money Game : หามูลค่า 'หุ้นเก็งกำไร' (1)

ในช่วงนี้ เราเห็นหุ้นบางตัวถูกเก็งกำไรขึ้นมาจนราคาหุ้นได้ถึงจุดซิลลิ่ง หรือ 30% ในวันเดียว ถึงแม้ว่าหุ้นเหล่านี้ถูกมองเป็นหุ้นเก็งกำไร (Speculative stock) แต่นักลงทุนต้องไม่ลืมว่า หุ้นทุกตัวในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าหุ้นที่มี Market Capitalization ขนาดใหญ่หรือเล็ก หุ้นที่อยู่ในหมวดฟื้นฟูกิจการ (Rehabco) หรือหมวดไหนก็ตามจะมีมูลค่า (Value) ในตัวหุนนั้นอง

เพราะฉะนั้น ถ้านักลงทุนสามารถหามูลค่าหุ้นนั้นได้ถูกต้อง และเข้าลงทุนในจังหวะถูกต้อง (Market timing) นักลงทุนท่านนั้นจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว (Substantial capital gain)

โดยปกติหุ้นที่มีการเก็งกำไรจะมีสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้น (Catalysts) ถึงแม้ว่านักลงทุนรายใหญ่หรือเสี่ยทั้งหลายช่วยกันปั่นขึ้นมา โดยอาศัย Theme หรือ Story มาช่วยสร้างเรื่องราว ถ้าหุ้นตัวนั้นไม่มีราคาพื้นฐาน หรือ Value ที่เหมาะสม หุ้นตัวนั้นจะราคาหุ้นจะตกลงอย่างรวดเร็ว ส่วนที่นักลงทุนต้องศึกษาคือ การค้นหาตัวกระตุ้น (Catalysts) ในหุ้นแต่ละตัว ซึ่งตัว Catalysts จะแบ่งเป็น

Catalysts ที่หนึ่ง หุ้นที่มีโอกาส Take over หรือมีโอกาสถูกควบรวมกิจการ ซึ่งการหามูลค่าของการควบรวมกิจการสามารถศึกษาได้จากกรณีศึกษาดังต่อไปนี้

กรณีที่หนึ่ง หุ้นที่มีขาดทุนสะสมจำนวนมาก (Retained losses) ซึ่งถ้าบริษัทที่ขาดทุนสะสมเกิดจากการตั้งสำรอง (Impairment) หรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากค่าเงินบาทที่อ่อนลง หรือสำรองจากหนี้เสีย (ไม่รวมการตั้งสำรองของสถาบันการเงิน) จะมีความน่าสนใจมากกว่าบริษัทที่มีขาดทุนสะสมที่เกิดจากดำเนินงาน

เพราะฉะนั้น ถ้าบริษัทใดก็ตามที่ยังคงมีกำไรจากการดำเนินงานปกติอยู่ แต่ขาดทุนจากการตั้งสำรองต่างๆ ราคาหุ้นตัวนั้นจะปรับตัวขึ้นในที่สุด นอกจากนี้ขาดทุนสะสมในหุ้นตัวนั้นสามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดภาษีได้ (Loss carried foreword) ในบริษัทที่เข้ามาซื้อกิจการได้ เพราะฉะนั้นการหามูลค่าหุ้นของบริษัทที่มีขาดทุนสะสมเหล่านี้ ต้องมาจากสองส่วน คือ

ส่วนที่หนึ่ง ธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งสามารถหามาจากจำนวนเท่าของ EBITTDA (Multiple of EBITDA) และส่วนที่สอง จะมาจากมูลค่าของขาดทุนสะสมเหล่านั้น ซึ่งเท่ากับส่วนลด (Discount) ของอัตราภาษีคูณกับขาดทุนสะสม อัตราภาษีคูณกับขาดทุนสะสม ซึ่งการตัดส่วนลดนี้จะต้องใช้เวลาในการคิดส่วนลดประมาณ 1-5 ปี ขึ้นกับผลกำไรของบริษัทที่มาซื้อกิจการนั้น

กรณีที่สอง หุ้นที่สินทรัพย์ซ่อนเร้น (Hidden assets) เช่น บริษัทผลิตกระเบื้องแห่งหนึ่งขึ้นต้นด้วยตัว T ธุรกิจกระเบื้องขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้ราคาหุ้นทรุดตัวลงเหลือเพียง 1-2 บาท จนกระทั่งมูลค่ากิจการกำลังผลิตของกระเบื้องต่ำกว่ามูลค่าซากมาก (Enterprise value/capacity) และบริษัทมีที่ดินนิคมอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก จึงทำให้มีข่าวเรื่องการ Take over อย่างอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ราคาหุ้นหลังราคาปรับตัวลงไปมากก็ดีดกลับ หรือกรณีที่บริษัทผลิตพัดลมแห่งหนึ่ง ซึ่งในอดีตเคยมีกำลังผลิตอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก ได้สูญเสียลูกค้ารายใหญ่ไป ราคาหุ้นได้ทรุดเหลือไม่ถึงครึ่งหนึ่งของมูลค่าทางบัญชีที่ไม่มีหนี้อยู่เลย ซึ่งหมายความว่า ถ้าบริษัทหาลูกค้ารายใหม่ได้ ราคาหุ้นจะปรับขึ้นอย่างและรวดเร็ว

กรณีที่สาม หุ้นที่สินทรัพย์ที่ยังสามารถขยายตัวได้อย่างมาก (Assets under geared) กรณีศึกษานี้จะนำมาใช้กับการควบรวมกิจการของสถาบันการเงิน เช่น เร็วๆ นี้ มีธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งได้ทำการเสนอซื้อบริษัทเงินทุนประเภทเช่าซื้อแห่งหนึ่ง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์แห่งนั้นมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์ประมาณ 12% ซึ่งมากกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการที่ 4.25%

เพราะฉะนั้นธนาคารแห่งนี้จะมีเงินกองทุนเหลือมากพอที่จะจ่ายเป็นเงินปันผล และเหลือพอที่จะเข้าซื้อกิจการบริษัทอื่นโดยใช้เงินกองทุนส่วนเกินนี้ได้ เป้าหมายบริษัทที่จะเข้าซื้อนี้ถ้าเป็นบริษัทเช่าซื้อที่มีเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในอัตราที่สูง เพื่อให้บริษัทเช่าซื้อแห่งนี้สามารถขยายได้อย่างเต็มที่

บริษัทเช่าซื้อมีความน่าสนใจในการถูกเทคโอเวอร์มากเลยทีเดียว



Create Date : 20 เมษายน 2549
Last Update : 20 เมษายน 2549 19:55:37 น. 1 comments
Counter : 877 Pageviews.  
 
 
 
 
badboy
 
 

โดย: draft IP: 202.139.223.18 วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:17:13:59 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

hoon_vi
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




เป็นนักลงทุนมือใหม่ กำลังหาวิธีการเหมาะสำหรับตัวเอง ชอบการถ่ายรูป ท่องเที่ยว เขียนบทความ
[Add hoon_vi's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com