แหล่งรวบรววมวิธีเล่นหุ้น
 
Margins of Safety

Margins of Safety

วิศิษฐ์ องค์ พิพัฒนกุล
ในภาวะที่ตลาดผันผวน นักลงทุนอาจจะยึดหลักการของ Margins of Safety เป็นหลักการในการลงทุน สำหรับนักลงทุนที่เป็น Value Investors ต้องคุ้นชื่อกับการลงทุนที่มี Margins of Safety ซึ่งหมายถึง มีการลงทุนที่มีช่องว่างระหว่างราคาที่ซื้อกับมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของบริษัท


Concept ของ Margins of Safety นี้เป็นหลักการที่ปรมาจารย์ทาง Value Investing ซึ่งได้แก่ Graham and Dodd ได้คิดค้นมานานแล้ว จากนั้นนักลงทุนชื่อก้องอย่าง Warren Buffet ได้ปรับนำมาใช้ ปกติ Margins of Safety จะต้องไม่ต่ำกว่า 15%

หมายความว่า ราคาหุ้นจะต้องต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้นอย่างน้อย 15% จึงจะเป็นหุ้นที่น่าสนใจในการเข้าซื้อ ในทางกลับถ้าราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงประมาณ 15% ขึ้นไป หุ้นตัวนั้นอาจจะถูกขายหรือทำกำไร ถึงแม้ว่าการใช้หลัก Margins of Safety จะไม่ guarantee หรือมีการรับประกันว่าจะไม่ขาดทุน แต่จะเป็นวิธีลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้ดีวิธีหนึ่งเลยทีเดียว เนื่องจากเป็น Concept ของ “Buying a dollar for a fifty cents”

การลงทุนสไตล์ Value investing ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถือหุ้นตัวนั้นตลอดไปตราบใดที่มี Margins of Safety อยู่

แต่การลงทุนที่ Graham และ Dodd ได้แนะนำไว้ คือ นักลงทุนจะต้องมองหาโอกาสลงทุนในหุ้นที่มี Margins of Safety สูงสุด นั้นคือหุ้นที่มี Margins of Safety ในระดับรองๆ ลงมาจะไม่ถูกคัดเลือก ผมมีโอกาสพบนักลงทุนประเภทเน้นมูลค่า (Value Investor) บ่อยครั้ง สิ่งที่นักลงทุนประเภท value Investor มีเหมือนกันคือ จะไม่ลงทุนในธุรกิจที่ไม่เข้าใจหรือเข้าใจยาก เช่น หุ้นกลุ่มธนาคาร หรือกลุ่มเทคโนโลยี ที่มีสินทรัพย์ที่ยากจะวิเคราะห์ ในขณะที่กลุ่มธนาคารนั้น การตั้งสำรองหนี้เสียต่างๆ ค่อนข้างขึ้นอยู่กับความเห็น (Judgments) ของผู้บริหาร และตัวเลขทางบัญชี

หลักสำคัญของ Margins of Safety คือ เราจะประเมินมูลค่าหุ้นนั้นให้เหมาะสมกับราคาอย่างไร และราคานั้นจะต้องคุ้มค่าและให้ผลตอบแทนที่สูงในแง่ Reward to risk ratio ซึ่งการประเมินมูลค่าหุ้นเป็นศิลปะที่สำคัญ ซึ่งสามารถหาได้จากหลายวิธี เช่น ส่วนลดกระแสเงินสด (Discounted cash flow) หรืออาจจะเป็นมูลค่าเลิกกิจการ (Liquidation Value) หรืออาจจะเป็น P/E ทั่วๆ ไป

สิ่งที่ผมค้นพบคือ หุ้นตัวไหนที่ซื้อขาย "ต่ำกว่า" มูลค่าเลิกกิจการ (Liquidation Value) มากๆ จะให้ผลตอบแทน (Upside) สูงมากในแง่ของ Rewards risk ratio หรือในแง่ของผลตอบแทนเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยง

ตัวอย่างการลงทุนที่มี Margin of Safety สูง ได้แก่ บริษัทที่ผลิตพัดลมแห่งหนึ่ง สมมติว่าชื่อบริษัท C ได้สูงเสียลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่ง ซึ่งประกอบส่วนใหญ่ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท หมายความว่า ยอดขายและรายได้ของบริษัทอาจเหลือไม่ถึง 10-20% ของยอดขายในอดีต ราคาหุ้นของบริษัท C ได้ตกอย่าง Free fall จาก 10 บาทเศษ มาที่ 1 บาทเศษๆ ในขณะที่บริษัทมีมูลค่าเลิกกิจการอยู่ที่ 3-4 บาทต่อหุ้น และไม่มีหนี้เลย หมายความว่า ถ้าบริษัทสามารถหาลูกค้าใหม่แทนที่ลูกค้ารายเดิม หุ้นจะ Rebound ขึ้นอย่างรวดเร็ว และในที่สุดหุ้นนั้นก็สามารถฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดได้เกือบ 2-3 เท่าตัวเลยทีเดียว

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง บริษัทที่ผลิตสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกชื่อว่า K ประสบการขาดทุนอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การขาดทุนอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาหลายปีทำให้ราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงจาก 100 บาทเศษๆ เหลือแค่ 2 บาทเศษ ในขณะที่มูลค่าเลิกกิจการ หรือมูลค่าชำแหละจะอยู่ที่ 3 บาท ในขณะที่บริษัทไม่มีหนี้เลย ในที่สุดเมื่อบริษัทสามารถที่จะเริ่มจับกระแสเทคโนโลยีได้และเริ่มผลิต หุ้นตัวนั้นก็เกิด Rebound ในที่สุด

ตัวอย่างต่างๆ เหล่านี้ ถ้าบริษัทไม่มีหนี้ ถึงแม้จะขาดทุนเท่าใดก็ตาม ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและเทคโนโลยี หุ้นตัวนั้นจะ Rebound ในที่สุด...



Create Date : 20 เมษายน 2549
Last Update : 20 เมษายน 2549 19:18:30 น. 0 comments
Counter : 559 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

hoon_vi
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




เป็นนักลงทุนมือใหม่ กำลังหาวิธีการเหมาะสำหรับตัวเอง ชอบการถ่ายรูป ท่องเที่ยว เขียนบทความ
[Add hoon_vi's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com