ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสยามในช่วงศตวรรษที่๑๕-๑๘


ด้านการทูต


สยามและจีนมีความสัมพันธ์ด้านการทูตกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
คือในสมัยของพ่อขุนรามคำแหง และราชวงค์หยวนของจีนภายใต้การนำของกุบไลข่าน
โดยเป็นความสัมพันธ์แบบการทูตระบบบรรณาการ
ซึ่งหมายถึงระบบที่กำหนดขึ้นเพื่อติดต่อกับอาณาจักรต่างๆมาตั้งแต่สมัยโบราณ ประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่
มีประชากรและทรัพยากรมาก จีนไม่จำเป็นต้องพึ่งพาใคร ด้วยเหตุนี้จีนจึงมองเห็นถึงความสำคัญของตนในฐานะเป็นศูนย์กลางของโลก
มีอารยธรรมเหนือกว่าชาติอื่น ชาติทั้งหลายต้องแสดงความอ่อนน้อมต่อจีนด้วยการนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายแด่จักรพรรดิจีน ดังนั้นในส่วนของสุโขทัยเองก็ตระหนักดีว่า
ในช่วงสมัยของกุบไลข่าน จีนมีอำนาจที่เข้มแข็งและสามารถขยายอาณาเขตไปได้กว้างไกล
จึงยอมอ่อนน้อมโดยส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแด่จักรพรรดิจีน
และมีการส่งทูตไปจีนเรื่อยมา



จักรพรรดิกุบไลข่าน 


ต่อมาในสมัยอยุธยา
ตรงกับสมัยที่ราชวงค์หมิงของจีนปกครอง
ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอยุธยาและราชวงค์หมิงเป็นไปด้วยดีตลอด ๔๑๗
ปี
แม้จะมีติดขัดบ้างในช่วงที่เกิดความวุ่นวายทางการเมืองในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ตลอดระยะเวลา๔๑๗ปี
กษัตริย์อยุธยาได้ส่งของมีค่าและเป็นสินค้าที่หายากให้แก่จักรพรรดิจีนเป็นจำนวนมาก
เช่น พริกไทยดำหนึ่งหมื่นชั่ง ไม้ฝางหนึ่งหมื่นชั่ง เป็นต้น
เราะพริกไทยและไม้ฝางเป็นสินค้าราคาแพงและเป็นที่ต้องการของตลาดมาก


ในสมัยของสมเด็จพระอินทรราชา (ค.ศ.๑๔๐๙-๑๔๒๔)
เป็นช่วงเวลาที่การทูตระหว่างสยามและจีนแน่นแฟ้นมาก เนื่องจากสมัยที่พระองค์ยังดำรงตำแหน่งเป็นรัชทายาทเป็นผู้นำคณะทูตเสด็จไปยังจีนได้สร้างพระราชไมตรีอันดีต่อกัน
เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์จึงได้สานต่อความสัมพันธ์นั้น มีการส่งทูตไปจีนเป็นจำนวนทั้งสิ้น๑๐ครั้ง
ตลอดระยะเวลา๑๕ปีในรัชสมัยของพระองค์ โดยเฉลี่ยปีละครั้งหรือสองครั้ง และในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่แม่ทัพนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ของจีนนามว่าเจิ้งเหอ
เดินทางมายังอยุธยา


ในสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สยามและขยายพระราชอาณาเขตไปกว้างไกล
ทรงยึดล้านนา ล้านช้าง เขมร และพม่าบางส่วน
ทรงตะหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับจีน
นอกจากจะส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีแล้วยังมีสัมพันธไมตรีด้านการทหารอีกด้วย
เมื่อเกาหลีขอความช่วยเหลือไปยังจีนเพื่อขอความช่วยเหลือจากการถูกญี่ปุ่นรุกราน
(ค.ศ.๑๕๙๒-๑๕๙๗) ทรงส่งทูตไปจีนและเสนอให้ความช่วยเหลือแก่จีน


แต่จีนเห็นว่าสยามอยู่ไกลและเสียเวลาในการเดินทางจึงได้ปฏิเสธไปแต่ก็แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีกับจีน
แต่ต่อมาจีนก็ได้รับความช่วยเหลือทาการทหารจากสยามเมื่อจีนถูกพม่ารุกรานเขตชายแดนยูนนาน
สยามได้ให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่จีนจนพม่าต้องแตกพ่ายไป
นับว่าเป็นความสัมพันธ์ทางการทหาร ครั้งที่สองระหว่างสยามกับจีน


ในสมัยพระเอกาทศรศจนถึงสมเด็จพระนารายณ์
ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับจีนเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น แม้จะส่งทูตไปจีนไม่บ่อยเท่าในสมัยแรกๆ
แต่การเจริญสัมพันธ์ทางการทูตของสยาม ก็ได้ส่งผลต่อการค้าระหว่างสยามกับจีนมาก
โดยในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรศเป็นสมัยที่ชาติตะวันตกได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาและสินค้าจากจีนเป็นที่ต้องการของพ่อค้าชาวตะวันตกอย่างมาก
ส่งผลให้ต้องเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนเพื่อส่งเสริมทางด้านการค้า
ในสมัยพระนารายณ์นั้นแม้พระองค์จะทรงมีสัมพันธไมตรีแก่ชาวต่างชาติทุกๆชาติที่เข้ามาติดต่อ
แต่พระองค์ก็ยังคงให้ความสำคัญกับจีนเพราะการติดต่อทางการค้ากับจีนเป็นผลประโยชน์อย่างมากกับสยาม
มีการส่งทูตไปจีนเป็นจำนวนมากถึง๑๒ชุด ในอัตราเฉลี่ย๑ชุดทุกๆ๓ปี


แต่ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา
การเมืองในสยามเกิดเป็นความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นทำให้ความสัมพันธ์ทางทูตระหว่างจีน
หรือแม้แต่ชาติอื่นๆจะต้องชะงักลง จนกระมั่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
ไปจนถึงก่อนเสียกรุงให้พม่า ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับจีนก็เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งนึง


ด้านการค้า


ด้วยความสัมพันธ์อันดีด้านการทูตระหว่างสยามกับจีนส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางการค้าเป็นไปด้วยดีมาตลอดตั้งแต่สมัยสุโขทัย
โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าหย่งเล่อ ในสมัยราชวงค์หมิงซึ่งมีการส่งเสริมการค้าทางทะเล
ทำให้กิจการการค้าทางทะเลระหว่างสยามและอยุธยาเป็นไปด้วยดีมาโดยตลอด
แม้ในช่วงปลายจักรพรรดิหย่งเล่อพ่อค้าชาวจีนจะถูกรุกรานโดยโจรสลัดญี่ปุ่นจนทำให้ต้องเข้มงวดในนโยบายการเดินทางออกทะเล
แต่ก็ไม่เป็นผลที่ทำให้การค้าระหว่างสยามกับจีนหยุดชะงัก


โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่๑๘
(ค.ศ.๑๗๒๑-๑๗๙๔)
เป็นช่วงที่ประชากรของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดสภาวะการขาดแคลนข้าว
ทางการจีนในสมัยจักรพรรดิคังซีจึงต้องนำเข้าข้าวจากสยามซึ่งเป็นข้าวคุณภาพดี ทำให้การค้าข้าวกับจีนเฟื่องฟูมาก
โดยเฉพาะในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ซึ่งอยู่ในปลายสมัยอยุธยามีความก้าวหน้ามากที่สุด
เพราะพรองค์ทรงลดอัตราภาษีข้าวไทยที่ส่งไปขายยังจีนลงครึ่งหนึ่งต่อข้าวทุกๆหมื่นหาบหรือสามในสิบ
ต่อปริมาณข้าวทุกๆห้าพันหาบ และเมื่อพระองค์ทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาเมื่อค.ศ.๑๗๕๑
พระราชทานกระดุมขุนนางแก่พ่อค้าที่สั่งซื้อข้าวจากไทยมากกว่าสองพันหาบ
ทำให้ปริมาณการค้าข้าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก


ส่วนการค้าในส่วนเอกชนนั้น
พ่อค้าชาวจีนได้เข้ามาตั้งรกรานอยู่ในสยามตั้งแต่สมัยสุโขทัย พ่อค้าชาวจีนมีบทบาทสำคัญต่อการค้าของราชสำนักอย่างมาก
เพราะมีการจ้างนักเดินเรือชาวจีนเพื่อคุมเรือหลวงไปทำการค้าขายกับต่างประเทศ
ทำให้ปริมาณชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรานอยู่ในสยามเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีนโยบายห้ามชาวจีนออกนอกประเทศก็ตาม
บทบาทชาวจีนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในสมัยพระเจ้าปราสาททองที่มีการขับไล่ชาวญี่ปุ่นออกจากราชอาณาจักรทำให้บทบาทชาวจีนมีบทบาทกับพระราชสำนักมากขึ้นแทนในส่วนของพ่อค้าชาวญี่ปุ่น






 เรือสำเภาจีนที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา


ชาวจีนที่มาค้าขายในอยุธยามักทำการค้าเกี่ยวกับเครื่องสำเภา
ไหม แพ ทองเหลือง ถ้วยโถ ชาม เนื้อหมู และปลาสด
อยู่ในตลาดสมัยนั้นเรียกว่าย่านนานก่าย
นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวจีนที่ประกอบอาชีพตีเหล็ก ทำขวาน หัวเหล็ก หัวป้าน
และขวานปลูขายในบริเวณที่เรียกว่า บ้านวัดน้ำวน ซึ่งอยู่ในตัวเมืองกรุงศรีอยุธยา



ในสมัยปลายอยุธยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
เรื่อยไปจนถึงสมัยเสียกรุงแก่พม่า
พ่อค้าชาวจีนยังคงมีบทบาทต่อการค้าระหว่างประเทศของสยาม
โดยเฉพาะการค้าระหว่างมณฑลฝูเจี้ยน เมืองปัตตานีและเมืองสงขลา
ซึ่งมีความรุ่งเรืองอย่างมาก ในขณะที่บทบาทพ่อค้าชาวยุโรปลดลงไป ส่งผลให้การค้าระหว่างสยามกับจีนเข้มแข็งมากขึ้น
โดยเฉพาะข้าวที่เป็นสินค้าสำคัญระหว่างประเทศทั้งสอง







Create Date : 18 ธันวาคม 2553
Last Update : 18 ธันวาคม 2553 16:59:27 น. 1 comments
Counter : 1144 Pageviews.

 
ช่วยทํารายงานเยอะเลยล่ะ


โดย: เเพร...ครุคริๆ IP: 171.101.225.30 วันที่: 9 กันยายน 2555 เวลา:10:26:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

biyuchan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add biyuchan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.