การขึ้นครองราชย์ของพระเพทราชา

พระเพทราชาต้นราชวงค์บ้านพลูหลวง ที่หลายๆคนรู้ว่า ท่านช่วงชิงพระราชบัลลังก์มาจากพระนารายร์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง จากการทำวิจัยส่งเื่มื่อปลายเทอมที่ผ่านมา ทำให้ทราบถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกภายใน ที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ จนเกิดการเปลี่ยนราชวงศ์ครั้งนี้
ต่อไปนี้คือเนื้อหาการวิจัยของบิ๊วคะ



การเมืองในปลายรัชกาลพระนารายณ์



การเมืองสมัยพระนารายณ์นั้น
เป็นสมัยที่ขุนนางฝ่ายปกครองถูกริดรอนอำนาจเป็นอย่างมาก
โดยสืบเนื่องมาจากสมัยพระเจ้าปราสาททอง ต้นราชวงค์ปราสาททอง
พระราชบิดาของพระนารายณ์ ที่ขึ้นครองราชย์จากการสะสมอำนาจในตำแหน่งออกญากลาโหม
ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และทำการสะสมไพร่พละกำลัง
และอำนาจไต่เต้าจนสามารถ ขึ้นมาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์ปราสาททองได้
โดยหลังจากที่ครองราชย์สมบัติอยู่นั้น พระองค์ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทของขุนนาง
ทำให้บทบาทของขุนนางเปลี่ยนไปอย่างมากที่สุดตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร
โดยพระองค์ทรงลดบทบาทของขุนนางลง โดยการริบทรัพย์
และแทรกแซงการแบ่งมรดกอันจะสามารถเป็นการสะสมอำนาจของขุนนางได้
นอกจากนี้ยังทรงกำจัดขุนนางในตำแหน่งสูงๆมากมายหลายคน ไม่เว้นแม้กระทั่งขุนนางที่ประจำอยู่หัวเมืองต่างๆ
ทรงลดบทบาทของเจ้าเมืองลงให้เป็นแต่เพียงราชทินนาม โดยมีชื่อเป็นเจ้าเมืองแต่เพียงในนามเท่านั้น
บทบาทจริงๆคือรับใช้พระองค์อยู่ในราชอาณาจักรทั้งนี้เพื่อป้องกันการสะสมกำลังพลจากหัวเมือง
จากนโยบายทางการเมืองของพระเจ้าปราสาทนี้เองที่มีผลต่อการเมืองในสมัยพระนารายณ์อย่างมาก


หลังจากพระนารายณ์ขึ้นครองราชย์โดยการทำรัฐประหารกับพระศรีสุธรรมราชาผู้เป็นเสด็จอา
แล้วก็ดำเนินนโยบายแบบเดียวกับพระราชบิดา คือลดทอนอำนาจของบิดาให้น้อยลง
เพื่อป้องกันการก่อการกบฏ
แต่พระองค์ก็ต้องเผชิญกับการก่อกบฏโดยขุนนางฝ่ายปกครองอยู่หลายครั้ง
ครั้งที่สำคัญคือ กบฏไตรภูวนาทและพระองค์ทอง ซึ่งส่วนมากได้รับการสนับสนุนจากขุนนางฝ่ายปกครองที่ต้องการจะให้อนุชาต่างมารดากับพระนารายณ์ขึ้นครองราชย์
แต่ก็ถูกปราบปรามอย่างราบคาบและถูกจำจัดลงได้
นั่นก็เพราะพระองค์ได้รับความช่วยเหลือจากประชาคมชาวต่างชาติ พระองค์จึงเริ่มสนับสนุนให้ชาวต่างชาติมารับตำแหน่งในตำแหน่งขุนนางผู้ชำนาญการมากขึ้น
(ที่จริงการเข้ามารับราชการของขุนนางของชาวต่างชาตินี้มีมานานแล้ว ที่โดดเด่นคือ
ออกญาเสนาภิมุขหรือยามาดะ นางามาซะที่รับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม)
นอกจากนี้พระนารายณ์ยังให้ขุนนางเหล่านี้ มารับตำแหน่งในขุนนางฝ่ายปกครอง
เพื่อคานอำนาจกับขุนนางฝ่ายปกครองที่คิดจะวางแผนล้มพระองค์อยู่ตลอดเวลา
โดยขุนนางต่างชาติส่วนมากที่พระองค์ทรงไว้ใจและทรงให้มารับราชการได้แก่ โปรตุเกส
ฮอลันดา ฝรั่งเศส จีน และ แขกมัวร์
โดยเฉพาะแขกมัวร์ที่มีบทบาทอย่างมากในช่วงสมัยกลางรัชกาล ขุนนางชาวมัวร์ที่โดดเด่นได้แก่
อากอมูฮัมหมัด ที่เคยได้ รับตำแหน่งเป็นถึงเสนาบดีคลัง
ที่ดูแลประชาคมชาวต่างชาติและการค้าในมหาสมุทรอินเดีย
การผูกสัมพันธ์กับชาวต่างชาตินี้นอกจากพระองค์จะใช้ประโยชน์จากขุนนางเหล่านี้ในการคานอำนาจของขุนนางฝ่ายปกครองแล้ว
พระองค์ยังได้รับประโยชน์จากจากการค้าด้วยโดยเฉพาะการค้ากับพวกมัวร์
แต่พอหลังจากการเสียชีวิตของอากอมูฮัมหมัดแล้ว
ประชาคมชาวมัวร์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากนัก ผู้ที่มีบทบาทขึ้นมาแทนก็คือ
คอนสแตนตินฟอลคอน ฟอลคอนไต้เต้าขึ้นมาจากการที่เป็นกะลาสีเรือของเรืออังกฤษ
บทบาททางการเมืองของฟอลคอน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสาเหตุของการแย่งชิงพระราชบัลลังก์ในปลายรัชกาล
ฟอลคอนเป็นขุนนางที่ได้รับความไว้ใจจากพระนารายณ์
จากการที่
ได้รับความดีความชอบในการจับผิดพ่อค้าชาวอินเดียที่กล่าวหาว่าท้องพระคลังเป็นหนี้เขาอยู่
เมื่อลองตรวจสอบจริงๆพบว่าไม่ได้เป็นหนี้และพ่อค้ายังเป็นหนี้ท้องพระคลังอีกด้วย จากการที่ได้รับการไว้วางใจนี้ทำให้ฟอลคอนมีบทบาททางการเมืองหลายๆด้าน
ไม่ว่าจะเป็น
การแนะนำให้พระนารายณ์ผูกขาดการค้ากับชาวต่างชาติจนเป็นต้นเหตุที่ทำให้
การค้าของอยุธยาเสื่อมลงอย่างมากจนประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบ
ฟอลคอนได้สร้างความเกลียดชังให้กับประชาชนชาวสยามอย่างมาก
นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้พระนารายณ์ผูกสัมพันธ์กับฝรั่งเศส
เพื่อคานอำนาจขุนนางและชาวต่างชาติอื่นๆ


หลังจากประชาคมมัวร์ได้แตกร้าวขึ้น
ได้สร้างความปั่นป่วนให้พระองค์อย่างมาก ช่วง ๑๖๘๐
สถานะทางการเมืองของพระองค์จึงออกจะมีอันตรายอยู่มาก พระองค์จึงต้องหาสมาคมชาวต่างชาติใหม่เพื่อมาแทนอิหร่าน
ซึ่งก็คือ ฝรั่งเศส ทรงให้การสนับสนุนและต้อนรับฝรั่งเศสอย่างเปิดเผย
มีการส่งทูตไปยังปารีสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี
และรับชาวฝรั่งเศสมารับราชการมากมายทั้งแพทย์ วิศวกร
รวมถึงเปิดรับบาทหลวงจากฝรั่งเศสให้มาเผยแพร่ศาสนาอย่างเสรี
(ซึ่งก็เป็นสิ่งที่กระทำกับบาทหลวงต่างชาติอื่นๆด้วย)
แต่ที่แตกต่างกันคือพระปฏิสันถารและสิ่งที่พระองค์ได้พระราชทานให้แก่ฝรั่งเศสนั้นก็ดูแตกต่างจากประชาคมต่างชาติอื่นๆทั่วๆไป
นอกจากนี้พระองค์ยังเปิดรับให้ทหารฝรั่งเศสมาตั้งสร้างป้อมปราการที่บางกอก
ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญ
การเข้ามาของพวกฝรั่งเศสนี้หาได้สร้างความพอใจให้แก่ขุนนาง รวมถึงประชาชนต่างๆไม่
โดยเฉพาะพระสงฆ์ที่เคยมีเรื่องบาดหมางกับพระองค์มาก่อนแล้ว
การมีสัมพันธไมตรีกับบาทหลวงจากฝรั่งเศสอาจจะเป็นการท้าทายและดูหมื่นพระสงฆ์
นอกจากนี้ ประชาชนยังได้รับความเดือดร้อนจากการเข้ามาของทหารฝรั่งเศสในบางกอก ส่วนขุนนางนั้น
การถูกลิดรอนอำนาจมาเป็นเวลานานทำให้ขุนนางคอยจ้องที่จะแย่งชิงราชบัลลังก์อยู่ตลอดเวลา
แต่การจะทำรัฐประหารและหาบุคคลผู้เหมาะสมมารับตำแหน่งกษัตริย์หาได้ทำได้ง่ายไม่
แต่มีขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่งที่สามารถเตรียมการและวางแผนอย่างดีจนในที่สุดก็สามารถ
ชิงราชบัลลังก์ได้สำเร็จ ขุนนางผู้นั้นก็คือ สมเด็จพระเพทราชา นั่นเอง





บทบาทของขุนนางในสมัยพระนารายณ์



อย่างที่ทราบกันดีว่าขุนนางในสมัยพระนารายณ์นั้นถูกลิดรอนอำนาจเป็นอย่างมาก
สืบเนื่องตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททอง โดยระบบขุนนางนั้นได้แบ่งออกเป็นสองอย่างคือ
ขุนนางฝ่ายปกครอง และขุนนางฝ่ายชำนาญการ
ซึ่งขุนนางที่กุมอำนาจมากและส่วนมากเป็นคนสยามหรือคนพื้นเมืองที่มีรากฐานอำนาจในราชอาณาจักร
ก็คือขุนนางฝ่ายปกครอง ฉะนั้นขุนนางฝ่ายปกครองจึงถูกจับตามองด้วยความไม่ไว้ วางพระทัยและถูกลดอำนาจลง
ส่วนขุนนางฝ่ายชำนาญการนั้นส่วนมากจะเป็นชาวต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน
เช่นการรบ วิศวกร หรือแพทย์
ซึ่งการที่ขุนนางชาวต่างชาติจะสร้างฐานอำนาจในอาณาจักรนี้เป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลา
ทำให้พระองค์ไว้วางใจขุนนางต่างชาติมากกว่าประชาชนของพระองค์เอง


ขุนนางฝ่ายปกครองนั้น
ถูกลดอำนาจโดย ยึดทรัพย์
และการเข้าไปมีบทบาททางการค้ามากขึ้นของกษัตริย์ซึ่งเดิมเป็นแหล่งหาประโยชน์ของขุนนาง
ทำให้ขุนนางเสียผลประโยชน์ลงและไม่มีอำนาจพอที่จะสามารถสะสมกำลังต่อต้านพระองค์ได้
นอกจากนี้ตำแหน่งสำคัญๆ
ก็ทรงให้มีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตลอดทำให้ไม่มีขุนนางคนไหนที่จะสามารถมั่นใจในสถานะของตนได้
นอกจากนี้ตำแหน่งใหญ่ๆเช่นตำแหน่งจักรี ก็ทรงปล่อยให้ว่างเป็นเวลานาน ดังนั้นตำแหน่งของขุนนางฝ่ายปกครอง
จึงไม่สามารถมีอำนาจมากพอที่จะทำการกบฏกับพระองค์ได้ แม้กระนั้นขุนนางฝ่ายปกครองก็ทำการสนับสนุนการกบฏอยู่เรื่อยมาเช่นกบฏไตรภูวนาท
ในรัชสมัยของพระนารายณ์พระองค์จึงต้องเผชิญกับกบฏอยู่เรื่อยมา


ส่วนขุนนางฝ่ายชำนาญการ
ที่เป็นชาวต่างชาตินั้น ได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่งจากพระนารายณ์ ซึ่งพระองค์ให้ความไว้วางพระทัยมากกว่าขุนนางไทยอย่างมาก
เพราะนอกจากความชำนาญการพิเศษแล้ว
พวกประชาคมชาวต่างชาติยังเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือพระองค์ในการปราบกบฏต่างๆด้วย
ทรงให้ตำแหน่งสำคัญๆให้กับขุนนางเหล่านี้ได้แก่
ตำแหน่งเสนาบดีคลังซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไว้ดูแลประชาคมต่างชาติทั้งหมด
ซึ่งพระองค์ทรงพิถีพิถันในการเลือกเป็นอย่างมาก
โดยบุคคลชาวต่างชาติที่เคยรับตำแหน่งนี้ได้แก่ อากอมูฮัมหมัดขุนนางชาวเปอร์เซีย
ซึ่งในขณะนั้นพระองค์ทรงทำการค้ากับพวกแขกมัวร์
และทรงได้รับประโยชน์มากมายจากการค้า แต่พอหลังจากประชาคมแขกมัวร์ได้แตกร้าวขึ้น
ก็สร้างความปั่นป่วนให้กับพระองค์มาก
จึงต้องหาประชาคมต่างชาติที่ไว้ใจได้ขึ้นมาแทนก็คือ ฝรั่งเศส
โดยได้รับการสนับสนุนจากขุนนางกรีก อดีตกะลาสีเรือ คอนสแตนตินฟอลคอน
การเข้ามามีบทบาทของฝรั่งเศสก็ไม่ได้สร้างความปิติให้กับขุนนางผู้ใหญ่โดยเฉพาะออกพระเพทราชานัก
พระเพทราชาเป็นขุนนางที่ไม่ค่อยวางใจพวกยุโรปเท่าใดนักโดยเฉพาะคอนสแตนติน
ฟอลคอนที่ได้รับความไว้วางใจจากพระนารายณ์อยู่มากมาย
ออกพระเพทราชาเป็นขุนนางที่นับถือพุทธอย่างเคร่งครัดจึงไม่ค่อยพอใจกับนโยบายของพระนารายณ์ที่เปิดรับให้บาทหลวงเข้ามาเผยแพร่ศาสนาได้อย่างเสรี
เท่าใดนัก
จึงเริ่มแผนการณ์เพื่อช่วงชิงอำนาจราชบัลลังก์เพื่อที่หวังไม่ให้สยามตกอยู่ในเงื้อมมือชาวต่างชาติ




ความสัมพันธ์ของพระนารายณ์กับพระสงฆ์และประชาชน



พระสงฆ์เป็นประชาคมที่มีบทบาททางการเมืองอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะการเข้าไปมีบทบาทในการก่อกบฏต่างๆ
รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยพระนารายณ์ทำรัฐประหารแย่งชิงราชบัลลังก์จากพระศรีสุธรรม
ด้วย
แต่หลังจากที่พระนารายณ์ได้ขึ้นครองราชย์ความสัมพันธ์ของพระนารายณ์และพระสงฆ์ต่างเป็นไปในแง่ลบ
กล่าวคือพระสงฆ์มีบทบาทในการสนับสนุนขุนนางในการแย่งชิงอำนาจกับพระนารายณ์และถูกปราบปรามอย่างรุนแรง
ทำให้พระสงฆ์เกิดความไม่พอใจและประณามพระนารายณ์
ความสัมพันธ์เริ่มเลวร้ายลงเรื่อยๆ
เมื่อพระนารายณ์ทรงเปิดรับบาทหลวงให้มาเผยแพร่ศาสนา
และหลังจากที่มีข่าวลือว่าพระองค์สนใจ และอยากที่จะหันมาศรัทธาคริสต์ศาสนา
ทำให้พระสงฆ์เกิดความไม่พอใจอย่างยิ่ง


ส่วนประชาชนนั้น
แม้การเกิดกบฏหรือแย่งทำรัฐประหารนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับประชาชน
แต่จากการเกิดการก่อกบฏ และการทำสงครามอยู่บ่อยครั้ง
ทำให้ประชาชนต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปรบ โดยที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆเลย
ทำให้ประชาชนไม่ได้มีความนับถือหรือเชื่อใจในตัวพระนารายณ์ ประกอบกับตอนปลายรัชกาลที่พระองค์ได้รับการแนะนำจากฟอลคอนให้ผูกขาดการค้ากับชาวต่างชาติ
รัฐสามารถทำกำไรได้อย่างมาก
แต่ก็ทำให้พ่อค้าชาวต่างชาติไม่พอใจและรังเกียจการมาค้าขายกับอยุธยามากขึ้น
นอกจากนี้พ่อค้าต่างชาติในประเทศก็อพยพออกไปจากอยุธยามากขึ้น
ส่งผลให้เมืองท่าอย่างตะนาวศรีทรุดโทรมลง และส่งผลกระทบอย่างมากต่อการค้าภายใน
จึงทำให้ประชาชนเริ่มเดือดร้อนจากการเสื่อโทรมทางการค้านี้
ส่งผลให้ประชาชนไม่พอใจในตัวพระนารายณ์และฟอลคอนมากขึ้น


สังเกตได้ว่าความสัมพันธ์ของพระนารายณ์กับพระสงฆ์และประชาชน
ไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเท่าใดนัก ร่วมทั้งขุนนางฝ่ายปกครองด้วย
ทำให้พระองค์ทรงดำเนินนโยบายทางการเมืองอย่างโดดเดี่ยวโดยมีเพียงขุนนางชาวต่างชาติเท่านั้น
ที่ยังคงเป็นกำลังสำคัญให้กับพระองค์อยู่



การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเพทราชา



พระเพทราชาเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่สมัยสมเด็จพระนารายณ์
รับราชการในตำแหน่ง
สมุหพระคชบาลจางวางขวาในกรมพระคชบาลขวาทรงมีความความสัมพันธ์กับพระนารายณ์ด้วย
และเป็นพระสหายกันมาตั้งแต่เด็ก
ฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างพระเพทราชาและพระนารายณ์จึงต่างจากขุนนางฝ่ายปกครองอื่นๆที่ทรงไม่ไว้วางใจ
ทรงไว้วางใจพระเพทราชามาก
และพระเพทราชาทรงมีความสัมพันธ์กับประชาชนและพระสงฆ์อย่างแน่นแฟ้น กล่าวคือ
ทรงมีความสัมพันธ์สนิทกับสังฆราชและแห่งเมืองละโว้
และด้วยความที่เป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารีย์จึงเป็นที่รักของประชาชนทั่วไป


พระเพทราชาเป็นพุทธศาสนิกชนที่นับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด
ฉะนั้นการเข้ามาเผยแพร่ศาสนาของบาทหลวงชาวยุโรปจึงไม่เป็นที่พอใจของพระเพทราชานัก
โดยเฉพาะหลังจากที่พระนารายณ์ได้มีนโยบายนำทหารฝรั่งเศสเข้ามา
พระเพทราชาก็แสดงอาการไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
พระเพทราชาแสดงตนอย่างเปิดเผยว่าไม่ชอบฝรั่งเศส รวมถึงหลวงสรศักดิ์โอรสบุญธรรมด้วย
พระเพทราชาทรงแสดงให้ขุนนางทั้งหลายเห็นว่า
พระองค์มีเจตนาที่จะปลดปล่อยสยามให้รอดพ้นจากเงื้อมือของฝรั่งเศส
ทำให้มีขุนนางจำนวนมากสมัครพรรคพวกร่วมด้วยกับพระองค์
นอกจากนี้ยังใช้พระสงฆ์ยุยงให้เกิดการก่อจลาจลในหัวเมือง รวมทั้งยุยงให้ประชาชนเป็นแนวร่วมในการต่อต้านฝรั่งเศสด้วย
โดยใช้นโยบาย
ปกป้องพุทธศาสนาเพื่ออาณาจักรของเรา นอกจากนี้ยังให้พราหมณ์ทำนายว่าฝรั่งเศสจะถูกขับออกจากประเทศ
ซึ่งคำพยากรณ์นี้ทำให้คนเกิดการตึงเครียดและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ง่าย
อย่างไรก็ตามแม้พระเพทราชาจะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางแต่การที่จะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ก็ไม่อาจะทำได้โดยสะดวก
เพราะขุนนางส่วนมากนั้นยังคงให้การสนับสนุนพระอนุชาของพระนารายณ์


ก่อนที่พระนารายณ์จะสวรรคตสองเดือน
พระเพทราชาได้กระทำการยึดพระราชวังอย่างเฉียบพลัน โดยอาศัยประชาชนเป็นเครื่องมือโดยมีพระภิกษุเป็นพันธมิตรอย่างใกล้ชิด
หลังจากนั้นพระเพทราชาได้ออกอุบายกำจัดฟอลคอนและอนุชาทั้งสองของพระนารายณ์โดยส่งจดหมายล่อลวงมายังลพบุรีและทำการสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์
ส่วนการตายของฟอลคอนนั้นโหดร้อยทารุณยิ่งกว่า


การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเพทราชานั้นแม้เป็นการขึ้นครองราชย์โดยมีประชาชนเป็นเครื่องมือสำคัญ
แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงสถานะของประชาชนกับกษัตริย์เลยเพียงแต่อาศัยประชาชนเป็นเครื่องมือทางการเมืองของตนเท่านั้น
แต่พระองค์ทรงแตกต่างกับกษัตริย์องค์อื่นในการช่วงชิงอำนาจก็คือการใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือโดยการปลุกระดมของพระองค์
และหลังจากนี้ประชาคมชาวต่างชาติก็ไม่ได้มีบทบาทสำคัญมากทางการเมือง
และขุนนนางฝ่ายปกครองก็เริ่มสะสมอำนาจขึ้นเรื่อยๆในที่สุด



สรุป



การเมืองในปลายสมัยพระนารายณ์มีผลต่อการนำมาสู่การแย่งชิงพระราชบัลลังก์อย่างมาก
โดยเฉพาะนโยบายในการผูกสัมพันธ์กับฝรั่งเศส ซึ่งนำความไม่พอใจมาสู่ขุนนาง
พระสงฆ์และประชาชนทั่วไป


จากการที่ขุนนางถูกลิดรอนอำนาจเป็นเวลานานทำให้บทบาทในการช่วงชิงอำนาจไม่สามารถกระทำได้สำเร็จได้และล้มเหลวทุกครั้ง
แต่ก็ไม่ใช่แสดงว่าขุนนางจะย่อท้อและท้อถอย ยังคงมีการก่อการกบฏอยู่เรื่อยๆ
แต่เพราะนโยบายของกษัตริย์ที่ผูกอำนาจไว้กับประชาคมชาวต่างชาติทำ
ให้เป็นกำลังสำคัญในการกำจัดและคานอำนาจขุนนาง
แต่ปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ทรงไว้ใจขุนนางต่างชาติมากเกินไป
และนโยบายต่างประเทศของพระองค์ที่ต้องการผูกสัมพันธ์กับฝรั่งเศส
ก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจนักว่า พระประสงค์ที่แท้จริงของพระองค์ต้องการสิ่งใดกันแน่
จะเป็นเพียงเพื่อคานอำนาจฝ่ายขุนนางเท่านั้นหรือ
แต่ที่ยิ่งกว่านั้นคือการเข้ามามีบทบาทของฝรั่งเศสได้สร้างความไม่พอใจให้กับ
เหล่าขุนนาง พระสงฆ์และประชาชน แต่การที่จะกำจัดอำนาจเหล่านั้นให้หมดไป ต่างก็ต้องอาศัยผู้ที่มีความสามารถพอ
ซึ่งสามารถทัดทานอำนาจกษัตริย์ได้ ซึ่งสถานะของขุนนางในขณะนั้นไม่สามารถกระทำได้
หรือแม้ลองกระทำก็อาจจะล้มเหลวได้เหมือนครั้งที่ผ่านๆมา แต่มีผู้หนึ่งที่สามารถกระทำการนั้นได้สำเร็จนั่นก็คือพระเพทราชา


วิธีการดำเนินการทางการเมืองของพระเพทราชาต่างจากที่กษัตริย์อื่นๆเคยกระทำมา
นั่นก็คือการรวบรวมปลุกเร้าให้ประชาชนออกมาเป็นแนวร่วมกับพระองค์ด้วย
หรือการใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือนั่นเอง และอาศัยการเป็นพันธมิตรกับพระสงฆ์ รวมถึงขุนนางให้ร่วมมือกับพระองค์ด้วย
ซึ่งวิธีการนั่นก็ไม่ต่างอะไรกับปัจจุบันก็คือการใช้ประชาชนเป็นเครื่องทางการเมือง
ซึ่งพอประสบผลสำเร็จประชาชนก็ไม่ได้ขยับฐานะหรือมีสถานะที่แตกต่างจากเดิม
ยังคงเป็นความห่างเหินระหว่างผู้นำและประชาชน อยู่ตามเดิม



พระเพทราชาจะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางแต่การที่จะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ห้ขุนนางทั้งหลายเห็นว่า
เขามี







Create Date : 10 ตุลาคม 2552
Last Update : 10 ตุลาคม 2552 10:37:46 น. 4 comments
Counter : 9021 Pageviews.

 
ได้ความรู้ดีครับ ขอบคุณมาก


โดย: อาวุธ IP: 58.8.140.86 วันที่: 18 ตุลาคม 2552 เวลา:22:08:49 น.  

 
bonjour
สวัสดีค่ะทุกท่าน
แอบเลยมาจากบ้านน้องโปแป้งค่ะ ยังอ่านในบล็อคน้องglamorousbuildไม่หมดเลย แต่เก็บไว้ในฟาโวรี่แล้วค่ะ พี่มาแนะนำตัวนะคะ คาดว่าความสุขของนิ้วน้อยเป็นรุ่นพี่มหาวิทยาลัย แฮะๆแอบเข้าไปดูในโฟรไฟล์ค่ะ แล้วแวะมาเยี่ยมมั๊งนะคะ
au revoir


โดย: ตู่อยู่ไไไกล (ความสุขของนิ้วน้อย ) วันที่: 25 ตุลาคม 2552 เวลา:22:05:06 น.  

 
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him


โดย: DA IP: 124.122.247.144 วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:18:25:08 น.  

 
สมเด็จพระเพทราชาเป็นญาติทางการแต่งงานของสมเด็จพระนารายณ์เพราะน้องสาวชื่อแจ่มแต่งงานกับสมเด็จพระนารายณ์มีบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวศรีจุฬารักษ์พระสนมเอก พระเพทราชาก็เป็น พี่เขย ของพระนารายณ์ไงครับ



โดย: เชื้อเจ้าไม่มีเงินก็ไม่น่าเชื่อ IP: 61.90.23.243 วันที่: 15 มิถุนายน 2557 เวลา:15:13:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

biyuchan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add biyuchan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.