ขอให้ความสุนทรีย์และความสุขสงบจงมีแด่ท่านทั้งหลาย
Group Blog
 
All Blogs
 
พุทธธรรม ยุคโลกาภิวัฒน์ โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล 4

โดยทั่วไปแล้ว ความรับรู้ของวิทยาศาสตร์กระแสหลักหยุดอยู่แค่ตรงนี้ อย่างไรก็ดี วิลเบอร์ชี้ให้เห็นว่าสิ่่งที่วิทยาศาสตร์สำรวจมาทั้งหมด เป็นแค่พัฒนาการของจิตในระดับธรรมดา แท้จริงแล้ว มนุษย์สามารถเดินทางต่อไปได้ในเส้นทางเดียวกันนี้ เพราะว่าในกระบวนการเติบโตของจิตสำนึกตามขั้นตอนต่างๆ แบบแผนของมันมีอยู่ว่ามนุษย์จะอาศัยตัวตนในขั้นตอนใหม่ไปแก้ไขดัดแปลงตัวตนเก่า รวมทั้งผนวกตัวตนเก่าที่ดัดแปลงแล้วมาไว้ภายใต้การควบคุมของตัวตนใหม่ จนกระทั่งถึงจุดที่อัตตาเติบโตเต็มที่ จนสามารถมาอยู่ปากประตูของการข้ามพ้นอัตตา


ปัญหามีอยู่ว่าคนทั่วไปไม่เพียงหยุดอยู่ตรงนั้นเนื่องจากมีสิ่งฉุดรั้งต่างๆ หลายคนแม้ในระดับอีโก้ ก็ยังมาไม่ถึงอัตตาที่มีวุฒิภาวะเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้ การข้ามพ้นตัวตนจึงเป็นเพียงประสบการณ์ของคนจำนวนน้อย แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่เป็นไปได้ และไม่ขัดแย้งกับธรรมชาติ ตามข้อสรุปของวิลเบอร์ การข้ามพ้นจิตสำนึกของตัวตนไปสู่ระดับจิตที่ละเอียดขึ้น และจิตสำนึกที่ไร้ตัวตน เป็นหนึ่งเดียวกับโลกกับจักรวาลนั้น ก็อาศัยแบบแผนเช่นเดียวกับพัฒนาการของจิตสำนึก ตั้งแต่วัยทารกสู่วัยผู้ใหญ่นั่นเอง คืออาศัยจิตใหม่ไปแก้ไขสำนึกเก่า และบูรณาการมาไว้ภายใต้ภาวะสูงสุดที่เจ้าตัวมาถึง อย่างไรก็ดี การพัฒนาขั้นสูงสุดที่จิตสำนึกคนเข้าสูภาวะไร้ตัวตนนั้น วิลเบอร์ชี้ให้เห็นว่าไม่แตกต่างจากสภาพของตัวทารกแรกเกิดมากนัก ตรงที่ทารกแรกเกิดไม่รู้อะไรเลย จึงแยกภาวะของตัวเองไม่ออก ส่วนผู้บรรลุธรรมนั้นรู้ความจริงครบถ้วน จึงเกิดสำนึกเหนืออัตตา หรือสำนึกที่ไม่แยกตัวเองออกจากจักรวาล


ที่น่าสนใจคือ เคน วิลเบอร์ ได้ใช้จินตภาพทางพุทธศาสนามาชี้ให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ตะวันตก สาขาจิตวิทยานั้น หยุดอยู่แค่การทำความเข้าใจมนุษย์ในระดับ ‘นิรมาณกาย’ หรือ ‘กายเนื้อ’ เท่านั้นเอง ส่วนการดำรงอยู่ในระดับสัมโภคกายและธรรมกาย ซึ่งวิลเบอร์ถือว่ามีอยู่จริง วิทยาศาสตร์ยังไม่มีความรับรู้เพียงพอ พูดอีกแบบหนึ่งก็คือจิตวิทยาตะวันตกอาจจะเข้าใจขันธุ์ 5 - รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ทุกอย่าง แต่ก็ข้ามไม่พ้น เพราะคิดว่าการดำรงอยู่ของชีวิตคนมีอยู่แค่นั้น


แน่นอน วิลเบอร์ไม่ใช่แค่คนเดียวที่มีแนวคิดแบบบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ากับคำสอนทางศาสนา ‘ฟริตจอฟ คาปรา’ (Fritjof Capra) ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่สร้างงานแนวนี้ เพียงแต่งานของเคน วิลเบอร์ อาจจะเน้นเรื่องจิตสำนึกมากเป็นพิเศษ จริงๆ แล้ววิลเบอร์เรียนมาทางเคมีและชีววิทยา แต่เขาก็ฝึกภาวนา และมีศรัทธาในพุทธธรรมของสำนักมัชฌิมามิก ดังนั้น จึงอาจเป็นต้นแบบของคนรุ่นใหม่ได้พอสมควรในการเชื่อมร้อยความรู้ทางโลกเข้ากับทางธรรม


อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงนักคิดนักเขียนทางด้านจิตวิญญาณรุ่นใหม่ๆ ก็อาจกล่าวได้ว่า ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากทีเดียวที่ยกคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประกอบทัศนะของตนได้อย่างกลมกลืน ยกตัวอย่างเช่น ‘เอ็กฮาร์ท โทลเลอ’ (Eckhart Tolle) ผู้ประพันธ์หนังสือ The Power of Now อันโด่งดัง ‘ดีแพค โชปรา’ (Deepak Chopra) นายแพทย์ ครูทางจิตวิญญาณ ผู้เขียนเรื่อง Life after Death ซึ่งกำลังขายดีในขณะนี้


สรุปรวมได้ว่า พุทธธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ นั้น ได้ถูกบรรจุไว้ในหีบห่อที่สมสมัยอยู่พอสมควร เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น และสอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้คนในยุคตลาดเสรีอยู่ไม่ใช่น้อย ดังนั้น ผมถึงกล่าวว่าการเชิญพุทธธรรมมาเป็นที่พึ่งของคนในยุคนี้ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน หากเป็นไปได้อย่างยิ่ง แน่นอน โลกที่เป็นอยู่กับคำสอนของพุทธองค์ ดูเหมือนขัดแย้งเข้ากันไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วธรรมะไม่เคยขัดแย้งกับใคร ชีวิตทางโลกที่ทำให้มนุษย์เต็มไปด้วยริ้วรอยความรวดร้าว สามารถแปรเป็นเส้นทางไปสู่ประตูธรรมได้ เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับทำความเข้าใจความทุกข์ การดับทุกข์ เหมือนดังที่ท่านเชอเกียม ตรุงปะได้กล่าวไว้ว่า สังสารวัฎคือปากทาง สังสารวัฎคือยานพาหนะที่จะนำไปสู่นิพพาน


กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว พุทธธรรมสอนให้เราข้ามพ้นความขัดแย้งทุกอย่าง เพื่อบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนมนุษย์ ความเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล และเข้าสู่สุญญตาวิโมกข์ แต่เราจะข้ามพ้นความขัดแย้งได้อย่างไร หากไม่เคยขัดแย้งมาก่อน จะปล่อยวางทางโลกได้อย่างไร หากไม่เคยแบกโลกมาเลย พวกเราส่วนใหญ่คงไม่มีบารมีขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้ สำหรับคนทั่วไป การก้าวพ้นผิดถูกดีชั่ว จึงหนีไม่พ้นที่จะเข้าใจผิดถูกชั่วดี เช่นเดียวกับการก้าวข้ามพ้นตัวตน จะต้องรู้ก่อนว่าตัวตนของตัวเองเป็นใคร ในระดับปัจเจก บางทีเราอาจจะต้องเป็นอะไรหลายอย่าง ต้องผ่านอะไรหลายอย่าง ชนะ พ่ายแพ้ สำเร็จ ล้มเหลว ตกต่ำ รุ่งเรือง โดดเดี่ยว รุ่งโรจน์ ดีใจ เสียใจ ทั้งหมดนี้ไม่เป็นไร ถ้ามันทำให้รู้จักตัวเอง ค้นพบตัวเอง


คนเรามีแต่ต้องขึ้นสู่ยอดเขา จึงจะรู้ว่ายอดเขาไม่มีจริง ไม่เคยอยู่ที่ต่ำ ก็ไม่รู้จักที่สูง ไม่เคยขึ้นที่สูงก็ไม่รู้จักที่ต่ำ เมื่อผ่านแล้วทั้งต่ำสูง จึงรู้ว่าทั้งหมดไม่มีจริง ทั้งหมดเพียงอาศัยสิ่งอื่น-ผู้อื่นมาสร้างคำนิยาม มิตรสหายหลายคนเคยถามผมว่า แล้วชีวิตเราไม่หมดสิ้นความหมายไร้พลังหรอกหรือ ถ้าเป็นเช่นนี้ หากเป็นเช่นนั้นแล้วมนุษย์จะอยู่ได้อย่างไร โลกจะรกร้างเรื่องรังสรรค์ใช่หรือไม่ ต่อคำถามดังกล่าว ผมได้ตอบพวกเขาไปว่า จุดหมายและความหมายแบบสัมบูรณ์นั้น บางทีอาจจะไม่มีเลย เพราะว่าทั้งหมดเป็นภาระกดทับ เป็นสิ่งที่บางทีคนอื่นสมมติให้ บ่อยครั้งสมมติเองโดยความพอใจของตนเอง หรือบางทีก็สมมติไว้เพื่อทำร้ายตนเอง แต่พลังสร้างสรรค์นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต่างออกไป มันไม่เพียงลดน้อยถอยลง หากยังเพิ่มพูนไร้ขอบเขต เนื่องจากสิ่งฉุดรั้งจากเวทนาสัญญาต่างๆ หายไปแล้ว การปรุงแต่งสังขารจึงไม่เข้ามาแทรกวิถีแห่งพลัง


ดังนั้น ไม่ว่าภายนอกท่านจะรับบทบาทใด ขอเพียงภายในมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ว่าภายนอกท่านจะทำหน้าที่ไหน ขอเพียงภายในมีแต่กุศลเจตนา ไม่ว่าภายนอกจะเผชิญกับอะไร ขอเพียงภายในเป็นเวิ้งฟ้ากว้างสงัด ท่านจะสามารถแสดงพลังสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ ท่านเป็นทุกอย่างได้โดยไม่ต้องยึดถือว่าเป็นอะไร ท่านทำทุกอย่างได้โดยไม่ต้องยึดติดว่าทำไปแค่ไหน เพราะท่านใช้ ‘ใน’ กำหนด ‘นอก’ ใช้ ‘นอก’ รับใช้ ‘ใน’ ยามมีท่านให้ ยามยากไร้ท่านไม่บ่น ยามรุ่งท่านสงบ ยามสงบท่านพร้อมจาก ชีวิตเช่นนี้จะบอกว่าไร้พลังไ้ด้อย่างไร


กล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือ ท่านสามารถอยู่กับมารได้ แต่ต้องอยู่กับมันอย่างรู้เท่าทัน อาศัยมารเป็นคำท้า รู้จักพิชิตมารเพื่อสร้างบารมี เทียบไปแล้ว ลีลาชีวิตดังกล่าวคงไม่ต่างจากเพลงดาบของมิยาโมโตะ มุซาชิ นักดาบญี่ปุ่นผู้เลื่องชื่อในศตวรรษที่ 17 ซึ่งหยิบยืมพลังทั้งหมดมาจากจิตที่สงบ ทำให้สามารถเคลื่อนสติไหลเลื่อนไปทั่วร่าง ได้สำแดงท่วงท่าที่เฉียบขาดปราศจากสูตรสำเร็จ จนไม่มีผู้ใดเอาชนะได้ อีกทั้งคงไม่ต่างไปจากปลายพู่กันของจิตรกรที่อาศัยพลังจากการภาวนา ตวัดหมึกสีเดียวและใช้เส้นๆ เดียว เนรมิตโลกทั้งโลกขึ้นมา


บางครั้ง ผมชอบเรียกลีลาชีวิตเช่นนี้ว่า ‘เพลงดาบอนัตตา’ แน่นอน ทั้งหมดเป็นเพียงความพยายามของผมที่จะชี้ให้เห็นว่า การเชื่อมโยงโลกธรรมกับปรมัตสัจจะ เป็นทั้งสิ่งที่จำเป็นและเป็นไปได้ในยุคปัจจุบัน ส่วนการตัดขาดจากโลกียสุขอย่างเด็ดขาดสู่หนทางแห่งบรรพชิตนั้น ผมไม่มีคุณสมบัติพอจะออกความเห็น และคงไม่ใช่ประเด็นในวันนี้ รบกวนท่านทั้งหลายมามากแล้ว ขอขอบคุณที่กรุณารับฟัง”


0 0 0 0 0 0 0




ช่วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


เมื่อสิ้นสุดการปาฐกถา ช่วงต่อมาคือการเปิดให้เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล โดยผู้ร่วมงานเสวนาท่านหนึ่งได้ถามว่า เมื่อชาวตะวันตกเริ่มหันเข้าหาพุทธธรรมแล้ว แต่คนไทย 63 ล้านคน ซึ่งมีพุทธศาสนาเป็นหลัก ยังไม่มีความตื่นตัวเท่าที่ควร ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไรให้คนไทยทั้งหมดสามารถเข้าถึงพุทธธรรมและปรับตัวให้เท่าทันกับกระแสโลกาภิวัตน์ได้


ต่อคำถามดังกล่าว อาจารย์เสกสรรค์ตอบว่า ไม่ควรพูดหรือคิดแทนโดยอ้างฐานะ ‘เจ้าของประเทศ’ หรือ ‘คนไทย’ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้คน 63 ล้านคนเข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมพร้อมๆ กัน หรือไล่เลี่ยกัน ถ้าเลิกความคิดนี้จะดีกว่า เพราะถ้าไม่เลิกคิดจะทำให้เป็นทุกข์ นอกจากนี้ยังไม่ต้องไปเสียใจว่า บัดนี้ชาวะวันตกเอาจริงเอาจังเอาการเอางานในเรื่องการปฏิับัติธรรม แต่ควรจะดีใจกับเขา อนุโมทนาในสิ่งที่เขาทำ เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่ใครจะเสียอะไรเลย มีแต่ได้ อย่าไปตั้งความคิดว่า “ของของเราแท้ๆ แต่คนอื่นมาเอาไป” เพราะที่จริงแล้ว ไม่มีใครเป็นเจ้าของพุทธธรรม


คำถามต่อมา มีการอ้างถึงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้ถาม ซึ่งกล่าวว่าการนำพุทธธรรมมาใช้รับมือกับโลกาภิวัตน์ จริงๆ แล้วยังมีข้อจำกัด เพราะบางครั้งไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง


“ตรงนี้ผมเข้าใจ เพราะว่าพลังในสิ่งเย้ายวนมันสูงมาก คุณสามารถเปิดอินเทอร์เน็ต ดูรูปผู้หญิงแก้ผ้าได้ทั้งวัน คุณสามารถยกหูโทรศัพท์เล่นหุ้นได้ คุณสามารถที่จะเดินวันทั้งวันในศูนย์การค้าแล้วยังดูของไม่หมด พลังมันมหาศาล เป็นพลังที่...ถ้าคุณมีจิตใจที่ไม่เข้มแข็งพอ มันยากมากที่จะก้าวพ้น ไม่้ต้องพูดถึงการไปนิพพานนะ เอาแค่ว่า ก้าวพ้นจากชีวิตอย่างนั้น แล้วมาใช้ชีวิตทางโลกในด้านอื่นๆ ที่ดีกว่าบ้าง หรือว่าไม่สิ้นเปลืองบ้าง ก็แสนยาก ผมในฐานะที่เป็นบุคลากรในด้านการศึกษา ผมอยู่กับคนหนุ่มสาวทุกยุคทุกสมัยตลอดเวลา 20 กว่าปีมานี้ เห็นชัด นักศึกษาของผมเป็นเช่นไร” อาจารย์เสกสรรค์กล่าว


“มีหลายคนที่ไม่เข้าเรียนหนังสือ และเมื่อเขาเดินมา เหมือนศูนย์การค้าเคลื่อนที่ คือเสื้อผ้าหนึ่งยี่ห้อ กระเป๋าหนึ่งยี่ห้อ คือเขาต้องการอวดยี่ห้อด้วยนะครับว่ามันทันสมัยใหม่ล่าสุด เพราะฉะนั้นผมเข้าใจว่าพลังดึงดูดมันรุนแรง ถามว่าแล้วจะทำยังไง คือโดยวิถีทางธรรมที่ผมเข้าใจ คนอื่นทำแทนไม่ได้ ผู้ถูกกระทำต้องมีความตระหนักก่อนว่าตัวเองถูกกระทำ เข้าใจตรงนั้นแล้ว จะต้องมีความกล้าหาญที่จะไม่ยอมให้สิ่งเหล่านั้นมากระทำ”


“ทีนี้ถามว่า ถ้าทำไม่ได้จะทำยังไง ทำไม่ได้ก็คือทำไม่ได้ หมายความว่าคุณไม่สามารถที่จะเอาชนะมันได้ ก็อาจจะต้องตกเป็นเหยื่ออีกสักพักใหญ่ๆ ถ้าคุณโชคดีไม่ฆ่าตัวตายและฆ่าผู้อื่นไปก่อน วันหนึ่งคุณอาจจะสรุปได้ ตัวผมเองก็ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะมาเข้าใจสิ่งเหล่านี้ ผมผ่านร้อนผ่านหนาว ทำผิดทำถูกมายาวนานมาก ชีวิตผมทำบาปมามหาศาล...เพราะฉะนั้นบางทีคนหนุ่มสาวในยุคปัจจุบัน อาจจะต้องสะสมความเข้าใจ ความเจ็บปวด ซึ่งท่านเชอเกียม ตรุงปะบอกว่า ‘เป็นปุ๋ยอย่างดี’ สำหรับการหว่านเพาะประเด็นธรรม”


“ชีวิตทางโลกไม่ได้มีด้านมืดไปซะทั้งหมด วันหนึ่ง ถ้าเรานึกออก มันอยู่ในตัวเรา จริงๆ แทบไม่ต้องให้ใครมาสอน ที่ผมต้องค้นคว้ามากหน่อยก็เพื่อมาพูดกับท่าน เวลาพูดกับตัวเองมันไม่ต้องค้นคว้า มันจะค่อยๆ นึกออกทีละเรื่อง เพราะว่าจริงๆ ก็อย่างที่พระท่านสอนมา จิตเดิมของเรามันสะอาด มันบริสุทธิ์ มันไม่ทำร้ายตัวเองอย่างที่เรากำลังทำอยู่ อาจจะต้องทำใจนะครับ เราอาจจะต้องเห็นลูกหลานเยาวชนมีชีวิตที่พังทลายย่อยยับไปต่อหน้าไปอีกสักพักใหญ่ๆ กว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้”



นอกจากนี้ ได้มีการกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ‘เด็กแว้น-เด็กสก๊อย’ หรือเยาวชนชายหญิงกว่า 300 ที่ซิ่งมอเตอร์ไซค์บนถนนสาธารณะ ซึ่งอาจารย์เสกสรรค์แสดงความคิดเห็นว่า คงไม่มีใครอยากเห็นเยาวชนทั้งหลายเป็นเด็กมีปัญหา แต่ก็จำเป็นจะต้องวางอุเบกขา


“สถิติของเราในวันนี้ ตั้งครรภ์ในเวลาอันไม่สมควรสูงสุดในเอเชีย ฆ่าตัวตายโดยเฉลี่ยประสบความสำเร็จวันละ 2 คน เฉพาะวัยรุ่น แล้วก็ไม่ต้องพูดเรื่องสถิติยาเสพติด การหย่าร้าง สถิติอาชญากรรมอื่นๆ ก็ลองดูว่าคนเหล่




Create Date : 19 มีนาคม 2551
Last Update : 19 มีนาคม 2551 0:25:32 น. 0 comments
Counter : 498 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

LampOfGod
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add LampOfGod's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.