"Rule No.1 is never lose money. Rule No.2 is never forget rule number one.", Warren Buffett
Group Blog
 
All Blogs
 

เราเป็นอะไร นักลงทุน(VI)หรือนักเก็งกำไร(Speculation)

วันนี้นั่งอ่าน กะทู้จาก THAIVI แล้วมานั่งคิดว่าเราเป็นนักเล่นหุ้นจำพวกไหน
พออ่านเสร็จก็เข้าใจเลยว่าเราเป็น Speculation Type ซะมากกว่า
ผมเล่นตามข่าว เล่นสั้น บางวันDayTrade ก็มี ทั้งนี้ทั้งนั้นผมว่า
การเข้าใจ style การลงทุนขอตัวเองจะช่วยให้เรา ปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนให้
เหมาะกับการลงทุนเราได้ครับ ....

--------------------------------------------------------------

จากการตำราการลงทุนทั้งหมด นิยาม ของ Benjamin Graham ในบทที่1 ของหนังสือ Intelligent Investor นั้นให้ นิยาม คำว่า "Investment" และ "Speculation" ได้ดีเยี่ยมที่สุด อีกทั้ง ได้ ผ่าน Time test ยืนยาวมามากว่า 38-50 ปีแล้ว ว่า นิยาม ของท่าน ปรมาจารย์ Benjamin Graham นั้นเป็นเลิศเพียงใด จึงขอQuoteบันทึกไว้ ที่นี้ ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ ค้นคว้าและศึกษากันสืบเนื่องต่อๆไป แต่แน่นอนนักศึกษาการลงทุนที่ชาญฉลาดควรต้องขวนขวายอ่านเพิ่มเติมจากต้นฉบับเพื่อได้อรรถรสหรืออรรถความลึกซึ้งที่แท้จริงที่ผู้เขียนบรรยายไว้ในที่นี้เป็นเพียงประหนึ่งแผนที่นำทางหรือ review ตำราเล่มยักษ์นี้.

Quote:
“An investment operation is one which, upon thorough analysis promises
safety of principal and an adequate return. Operations not meeting these requirements are speculative.”

และท่านปรมาจารย์ได้ให้ตัวอย่างของ
Specutation การเก็งกำไร ไว้ดังนี้

1. Quote: "an inexperienced member of the public, who does not even own what
he is selling, and has some largely emotional conviction that he
will be able to buy them back at a much lower price."
ซึ่งได้แก่ใน ปัจจุบัน กลุ่มนักค้าหุ้น ที่ทำการ Short Sell ทั้งหลาย

2. นอกจากนี้ ท่านปรมาจารย์ได้ให้ตัวอย่าง ของ Unintelligent Speculation ซึ่งได้แ่ก่
Quote:"But there are many ways in which speculation may be unintelligent.
Of these the foremost are:
(1)speculating when you think you are investing;
(2) speculating seriously instead of as a pastime, when you lack proper knowledge and skill for it;
and (3) risking more money in speculation than you can afford to lose." (อันสุดท้ายนี้คือพวกใช้Marginซื้อหุ้น)

3. ปรมาจารย์ท่านให้ comment speculation ที่น่า สนใจ เกี่ยวกับ "Hot Stock"
Quote:"And everyone who buys a so-called “hot” common-stock issue, or makes a purchase in any way similar thereto, is either speculating or gambling."

ซึ่ง hot company นี้ ท่านปรมาจารย์ได้ย้ำอีกครั้งตอนท้าย
Quote:"We shall repeat here without apology—for the warning cannot
be given too often—that the investor cannot hope for better than
average results by buying new offerings, or “hot” issues of any
sort, meaning thereby those recommended for a quick profit.

The contrary is almost certain to be true in the long run. The defensive
investor must confine himself to the shares of important companies
with a long record of profitable operations and in strong financial
condition."

4. ในบทComment ของบทที่หนึ่งเรื่อง Investment Versus Speculator ได้มีประโยคบรรยาย
เปรียบ เทียบที่สำคัญ ของลักษณะของการลงทุน และการเก็งกำไร เช่นการต้องดูราคาหุ้นทุกวัน เทียบกับตลาดปิดไป 5ปี ก็ไม่เป็นไรเพราะซื้อบริษัท wonderful at after Christmas 60% discount.
Quote:"An investor calculates what a stock is worth, based on the value of
its businesses. A speculator gambles that a stock will go up in price
because somebody else will pay even more for it."

...investors judge “the market price by established standards of
value,” while speculators “base [their] standards of value upon the
market price.”

For a speculator, the incessant stream of stock quotes
is like oxygen; cut it off and he dies.

For an investor, what Graham
called “quotational” values matter much less. Graham urges you to
invest only if you would be comfortable owning a stock even if you had
no way of knowing its daily share price.

5. พูดถึงอันตรายของ Speculate ที่คล้าย ทฤษฎี แข่งโยนหัวก้อย ของคน 200ล้านคน ในหนังสือ ของ Robert G. Hagstrom ที่ ว่ายิ่งโยนเหรียญหรือtradeมากครั้งเท่าไหร่ โอกาสออกหัหรือก้อย กับโอกาสที่หุ้นจะขึ้นหรือลงนั้น จะเข้าใกล้ 50:50 ทำให้ต่อให้คุณชนะมากี่ครั้ง แต่ครั้งสุดท้าย เจ้ามือหรือตลาดก็จะชนะคุณหมดกอง เพราะกองใหญ่ขึ้นเรื่อยแต่โอกาสสำเร็จกับแพ้นั้นเท่ากัน ยิ่งโยนมากหรือTradeมากถี่ขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งแพ้

ตรงนี้ ในComment Ch1 "Intelligent Investor" เขียนว่า
Quote: Like casino gambling or betting on the horses, speculating in the
market can be exciting or even rewarding (if you happen to get lucky).
But it’s the worst imaginable way to build your wealth. That’s because
Wall Street, like Las Vegas or the racetrack, has calibrated the odds
so that the house always prevails, in the end, against everyone who
tries to beat the house at its own speculative game.

On the other hand, investing is a unique kind of casino—one where
you cannot lose in the end, so long as you play only by the rules that
put the odds squarely in your favor.

People who invest make money for themselves;
people who speculate make money for their brokers.
And that, in turn, is why Wall Street perennially downplays the durable
virtues of investing and hypes the gaudy appeal of speculation.


*****
Quote: p.37 from Intelligent Investor

But the intelligent investor has no interest in being temporarily right.
To reach your long-term financial goals,
you must be sustainably and reliably right.


As Graham never stops reminding us, stocks do well or poorly in the future
because the businesses behind them do well or poorly—nothing
more, and nothing less


All this reinforces Graham’s warning that you must treat speculation
as veteran gamblers treat their trips to the casino.

~~~~~~

ที่มา: imerlot@ThaiVI

//www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=43938




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2553    
Last Update : 14 ตุลาคม 2553 1:19:01 น.
Counter : 1343 Pageviews.  

วิธีดูหุ้นเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ

วิธีการและแนวทางการลงทุน ที่ผสมข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณเป็นเกณฑ์ในการเลือก หุ้นลงทุน แนวคิดที่สำคัญในการลงทุนคือ “มองหาหุ้นที่โตเร็วที่มีศักยภาพในการที่ราคาจะพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง” นั้นคือ ซื้อหุ้นเมื่อบริษัทแข็งแกร่ง ขายออกเมื่อบริษัทอ่อนแอลงเขาแนะนำนักลงทุนให้ใช้แนวทาง 7 ประการในการลงทุน โดยมีตัวย่อ C-A-N-S-L-I-M

C = ผลกำไรไตรมาสก่อน (Current quarterly earnings)
มองหาบริษัทมีเพิ่งประกาศผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 40 – 500%

A = กำไรต่อปีเพิ่มขึ้น (Annual earnings increases)
มอง หาบริษัทที่มีความเติบโตติดต่อกันห้าปี โดยมีอัตราเติบโตที่ไม่ต่ำกว่า 25%ต่อปี ถ้าหุ้นมีลักษณะอย่างนี้เราไม่จำเป็นต้องสนใจ PE Ratio ซึ่งช่วงของ PE อาจจะอยู่ที่ 20 ขึ้นไป

N = สินค้าใหม่ ทีมบริหารใหม่ จุดสูงสุดใหม่ (New products, new management, new highs)
หุ้น ที่ดีมักจะมีเรื่องราวใหม่ๆอยู่เบื้องหลังมัน เช่น สินค้าใหม่ที่น่าสนใจ หรือ ผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดจุดสูงสุดใหม่

S = อุปสงค์ และ อุปทาน (Supply and demand)
หากหุ้นที่มีขนาดเล็กมีปริมาณการซื้อขายสูงๆ จะทำให้โอกาสที่ราคาหุ้นจะถูกขับเคลื่อนสูงขึ้นได้

L = ผู้นำ และ ผู้ตาม (Leaders and laggards)
เลือก ลงทุนในหุ้นที่มีความเข้มแข็งในอันดับต้นของหมวดนั้นๆซัก 2 -3 บริษัท หุ้นเหล่านี้มักจะปรับตัวดีกว่าหุ้นอื่นๆในหมวดเดียวกันในอัตรา 80 – 90% ภายใน 12 เดือน อยู่ให้ห่างหุ้นที่ปรับตัวแย่ลงในระยะ 7 เดือน

I = ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบัน (Institutional sponsorship)
หา ให้ได้ว่าหุ้นตัวใดที่นักลงทุนสถาบันนิยมซื้อ หากเป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนดีและนักลงทุนสถาบันยังมีอยู่น้อย เราอาจจะนำมาเป็นหุ้นที่เราจะเข้าซื้อ

M = ทิศทางของตลาด (Market direction)
ตรวจสอบตลาดทุกวันเพื่อหาสัญณาณของการปรับตัวลง และให้ระวังการเข้าซื้อในขณะนั้น

ตัดขาดทุน เขาแนะนำให้ทำการขายหุ้นออกเมื่อหุ้นนั้นตกลงต่ำกว่า 7-8% จากราคาที่ซื้อมาโดยไม่ต้องมีคำถาม

ขายหุ้นที่ขึ้นไม่ถึง 20%ภายใน13 สัปดาห์ ให้ถือหุ้นที่ขึ้นเกิน 20% ภายใน 4 – 5 สัปดาห์ หุ้นพวกนี้มักจะเป็นหุ้นที่ทำกำไรมากที่สุด

ใน กรณีที่หุ้นที่คุณซื้อมาและมีการปรับตัวขึ้น 25%อย่างรวดเร็วภายใน 1-2สัปดาห์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าอาจจะมีข่าวดีทำให้นักลงทุนในตลาดแห่กันเข้าเก็บ หุ้นอย่างเร่งร้อน เราควรรีบทำกำไรในช่วงนี้

ที่มา: Nevercry.boy@ThaiVI.com
//www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=43876
------------------------------------------------------

Investopedia explains CAN SLIM
The seven-part criteria is as follows:

C - Current quarterly earnings per share has increased sharply from the same quarters' earnings reported in the prior year. (Beware of items in financial statements that can cause earnings distortions.)

A - Annual earnings increases over the last five years.

N - New products, management, and other new events. In addition, the company's stock has reached new highs.

S - Small supply and large demand for a stock creates excess demand, and an environment in which stock prices can soar. Companies acquiring their own stock reduces market supply and can indicate their expectation of future profitability. Look for low debt-equity ratios.

L - Choose leaders over laggard stocks within the same industry. Use the relative strength index as a guide.

I - Pick stocks who have institutional sponsorship by a few institutions with recent above average performance. Be cautious of stocks that are over owned by institutions.

M - Determining market direction by reviewing market averages daily.




 

Create Date : 13 ตุลาคม 2553    
Last Update : 13 ตุลาคม 2553 14:19:08 น.
Counter : 683 Pageviews.  

รู้จุดขายก่อนคุณซื้อ จะได้ไม่ซื่อบื้อ เวลาซื้อแล้วขายไม่ลง

รู้จุดขายก่อนคุณซื้อ จะได้ไม่ซื่อบื้อ เวลาซื้อแล้วขายไม่ลง “Know When to Sell Before You Buy” (One Night Stand Discussion #25)

เคยบ้างมั๊ย ตอนที่คุณเข้าซื้อหุ้นที่คุณมั่นใจว่ากำไรแน่ๆอย่างน้อย 10-20% แต่คุณดัน “ขายหมู” ไปตั้งแต่กำไรได้ 1-3% แล้วหุ้นตัวนั้นก็วิ่งทะลุปล้องบวก 10-20% ได้จริงๆ

เคยบ้างมั๊ย เวลาที่หุ้นที่คุณซื้อ ได้ทะยานขึ้นไป 5% แล้วคุณไม่ขาย เพราะคุณโลภ แต่พอมันร่วงดิ่งลงมาจนขาดทุนย่อยยับ คุณกลับขายมันซะอย่างงั้น

และเคยบ้างมั๊ยครับ ที่คุณซื้อหุ้นโดยที่คุณไม่รู้เลยว่าราคาขายทำกำไรที่เหมาะสมนั้นคือราคาใด
และอีกหลายๆเหตุการณ์ที่ทำให้คุณต้องนั่งเซ็งเป็ด เซ็งจิต และเซ็งกับสิ่งที่คุณได้พลาดไป

เชื่อแน่ครับว่านักลงทุนทุกคน ต้องเคยประสบพบกับเหตุการณ์เช่นนี้กันถ้วนหน้า ผมเองก็เป็นอยู่บ่อยครั้ง (ตอนนี้พยายามแก้ไขอยู่ หุหุ)

ถามว่า..แล้วต้องทำอย่างไร เราถึงจะไม่ “ขายหมู” หรือ “ขาดทุนอ่วม” จากการเข้าซื้อหุ้นในแต่ละครั้ง?

ง่ายๆเลยครับ!! นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ย่อมต้องมี “ยุทธศาสตร์การขาย” ที่ดี (อันนี้ไม่ใช่กลยุทธ์ทางการตลาดน่ะครับ) แต่มันคือ “หลักเกณฑ์การขายหุ้น” ของนักลงทุนครับ

แล้ว...หลักเกณฑ์การขายหุ้นที่ดีนั้นเป็นอย่างไร? มันจำเป็นต้องมีสูตรหรือหลักการที่ตายตัวหรือไม่?

คำตอบคือ..ไม่ครับ!! เกณฑ์การขายหุ้นที่ดีนั้น ควรจะปรับให้เข้ากับลักษณะนิสัยของนักลงทุนหรือเทรดเดอร์จะดีที่สุดครับ

เช่น สุดยอดนักลงทุนของโลกอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ นั้นได้เชื่อว่าเป็นนักลงทุนที่แทบจะไม่ขายหุ้นที่มีเลย แต่ก็มียกเว้นกับบางกรณีที่หุ้นที่เค้ามีอยู่นั้น ไปตรงตามเกณฑ์การขายของเค้า เช่นหุ้นของบริษัท Disney เจ้าของ Disney Land และ Walt Disney อันระบือโลกนั่นเอง

หรือแม้กระทั่ง จอร์จ โซรอส เข้าพ่อเทรดเดอร์ทุกสถาบัน ที่ไม่ลังเลที่จะขายทิ้งพอร์ทลงทุนของเค้าทั้งหมดในตลาด S&P 500 futures ระหว่างวิกฤติเศรษฐกิจปี 1987 ถึงแม้จะต้องขาดทุนพอสมควร แต่เค้าก็ไม่ลังเลใจที่จะขายทิ้งทั้งหมด เนื่องจากเค้ารู้ว่า สิ่งที่เค้าได้ลงทุนไปนั้น อยู่ผิดทางและตรงกับเกณฑ์การขายที่เค้าได้ตั้งเอาไว้ตั้งแต่แรก

ทีนี้เรามาดูหลักเกณฑ์ในการขายหุ้นง่ายๆของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ 6 วิธีกันครับ

1.) เมื่อหุ้นที่ถือดันแหกกฎที่คุณวางไว้ เช่นเดียวกับกรณีที่ จอร์จ โซรอซ และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ทำการขายหุ้นอย่างไม่ลังเล เมื่อหุ้นที่มีดันไปโดนเกณฑ์การขายเข้า

2.) เมื่อเกิดเหตุการณ์ตรงกันข้ามกับที่คุณคิดไว้ กรณีนี้อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่นเกิดข่าวลือรุนแรง แรงขายกระหน่ำจนผิดสังเกตุ อันนี้ก็ช่วยไม่ได้ที่ต้องโกยเถอะโยมครับ แต่ถ้าจะให้ดี ยังไงก็ควรจะขายได้ในช่วงแรกๆน่ะครับ ไม่ใช่ไปขายตอนตลาดร่วงไป 7-8% แล้วเพิ่งมาขาย ไม่ดีๆ

3.) เมื่อได้ราคาตามเป้าหมายที่วางไว้ อันนี้เข้าใจง่ายที่สุดแล้วครับ ไม่ว่าคุณจะวางเป้าหมายกำไรไว้ที่เท่าไหร่ก็ตาม เมื่อถึงเป้าหมาย คุณขาย!! แค่นี้แหล่ะครับ ไม่ใช่โลภถือต่อไปเพราะเห็นว่าจะได้กำไรอีก (บางกรณีอาจจะได้ครับ) ยังไงซะก็ให้คิดเสมอว่า กำไรคือกำไร ถ้าได้ทำตามเป้าหมายแล้ว นั้นแหล่ะคือสุดยอดของนักลงทุนแล้วครับ

4.)เมื่อระบบการเทรดส่งสัญญาณขาย อันนี้แนะนำอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนและเทรดเดอร์ที่เชื่อมั่นใน Technical Analysis หรือกราฟเทคนิค กราพช่างกล กราฟเทคโนทั้งหลายนั้นแหล่ะครับ เมื่อเกิดสัญญาณขายขึ้น ไม่ว่าตอนนั้นหุ้นจะดีเพียงใด จะไปต่อหรือไม่ ถ้าเครื่องมือส่งสัญญาณขาย คุณก็ต้องขาย!!

5.) เมื่อราคาหุ้นมาแตะจุดขาดทุนที่คุณจะรับได้ (จุด Cut Loss) อันนี้ก็เป็นวินัยในการ Cut Loss หรือการตัดเนื้อร้ายนั้นเองครับ เช่นคุณวางจุด Stop Loss ไว้ที่ 10% จากราคาซื้อขาย ถ้าหุ้นร่วงมาแตะ 10% เมื่อไหร่ คุณก็ต้องทำตามวินัย ก็คือการขายตัดเนื้อร้ายทิ้งทันที อยากให้รู้ว่าการที่มีจุด Stop Loss ทุกครั้งนั้น จะทำให้เราการันตีได้ว่า การลงทุนในแต่ละครั้ง เราจะขาดทุนไม่เกินจำนวนเปอร์เซนต์ที่วางไว้ มันก็เท่ากับปิดประตูแพ้ครับ ที่เหลือก็ค่อยไปดูความสามารถในการทำกำไรหรือการ Let Profit Runs นั้นเอง

6.) เมื่อนักลงทุนรู้ตัวว่ากำลังอยู่ผิดที่ผิดทาง หรือเรียกว่า “รู้ตัวว่าผิด” นั้นเองครับ ข้อนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดกับนักลงทุนที่มีประสบการณ์พอสมควรครับ อาจจะเกิดโดย “สัญชาตญาณ” หรือ “สิ่งที่เคยพบเจอในอดีต” จึงทำให้นักลงทุนเหล่านี้ รู้ว่าต้องขายทำกำไรหรือขายทิ้งเอาตัวรอดครับ
หากนักลงทุนทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าทำได้ตามเกณฑ์ที่ตนเองได้วางไว้อย่างเคร่งครัดแล้วหล่ะก็ คุณย่อมจะประสบความสำเร็จในเส้นทางการลงทุนในตลาดหุ้นหรือตลาดทางการเงินใดๆก็ตามอย่างแน่นอนครับ

เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ
ถือหุ้นไปเรื่อยๆ จะขายทำกำไร เมื่อถึงเกณฑ์การขายที่ตั้งไว้
จึงมักจะทำกำไร “รอบใหญ่” ได้อยู่เรื่อยๆ

เทรดเดอร์ที่ประสบความล้มเหลว
ไม่มีเกณฑ์การขายเป็นของตัวเอง กังวลว่ากำไรที่ได้เล็กๆน้อยๆ จะกลายเป็นขาดทุน จึงมักจะ “ขายหมู” อยู่ร่ำไป

สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับนักลงทุนและเทรดเดอร์ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนแนวไหน ไม่ใช่อยู่ที่การ “ซื้อ” ครับ แต่เป็นการ “ขาย” ต่างหากที่ยากยิ่งนัก แต่มันจะง่ายทันทีถ้านักลงทุนวางกฏเกณฑ์ในการขายหุ้นอย่างเป็นระบบ อย่างถูกวิธีและปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดครับ

ที่มา: Wizard Kid @ S2M




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2553    
Last Update : 10 ตุลาคม 2553 23:03:40 น.
Counter : 772 Pageviews.  

หุ้น วัฏจักร

จริงรึเปล่าเล่นหุ้นเมืองไทยให้รวยต้องหุ้น........ตอนที่ 2

1 หุ้น commodity cyclical หุ้นประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์หรือ commodity ซึ่งสินค้าจะหน้าตาเหมือนกัน ทำให้ผู้ผลิตเกือบทุกรายจะต้องขายสินค้าหรือบริการที่ราคาเดียวกัน ได้แก่ เหล็ก ปิโตรฯ น้ำมัน ถ่านหิน เรือ แร่ธาตุ ฯลฯ หุ้นประเภทนี้จะมี cycle ขึ้นลงตาม demand supply ของอุตสาหกรรม ซึ่งมีปัจจัยด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเข้ามาเกี่ยวข้องในด้าน demand และมีปัจจัยด้านการเพิ่มหรือลดการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ของโลกซึ่งเป็นตัวกำหนด supply ดังนั้นผู้ศึกษา cycle ของธุรกิจจะต้องวิเคราะห์ให้ถูกทั้งด้าน demand และ supply ถูกด้านเดียวไม่พอครับ

2 หุ้น economic cyclical หุ้นประเภทนี้แม้จะไม่ได้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ แต่สินค้าหรือบริการนั้นมีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจสูง เพราะอาจจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตนักหรือพอจะชะลอการซื้อได้ หรือ/และ สินค้าของผู้ผลิตเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็น commodity ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนักและลูกค้าพร้อมจะ switching จากยี่ห้อหนึ่งไปอีกยี่ห้อ ทำให้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจึงมีการตัดราคากัน หรือเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนคงที่สูงมากทำให้การลดลงของรายได้ใกล้เคียงกับกำไรที่จะลดลง หุ้นกลุ่มนี้ เช่น รถยนต์ อสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง อิเลคทรอนิกส์ รวมไปถึงหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน คือ ธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์

การวิเคราะห์หุ้น economic cyclical นั้น ต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคสูงครับ เพราะยอดขายของหุ้นกลุ่มดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับนักลงทุนอย่างเราที่จะไปทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศ ที่ปัจจุบันมีตัวแปรในอนาคตที่คาดการณ์ยากจำนวนมาก เช่น การเมือง ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจประเทศสำคัญๆ เช่น สหรัฐ จีน

หุ้น cyclical ทั้งสองประเภทนั้น ดู p/e เป็นหลักไม่ได้ครับ โดยเฉพาะหุ้น commodity cyclical หุ้นเหล่านี้ แม้ p/e ต่ำมาก ก็จะใช่ว่าถูกเสมอไป หรือช่วงที่ p/e สูงก็ไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป เช่น หากธุรกิจกำลังอยู่ช่วง peak หุ้นประเภท cyclical มักจะมีกำไรที่สูงมากทำให้ p/e ต่ำ แต่เมื่อธุรกิจเข้าสู่ขาลงกำไรจะลดลงแรงมากหรือถึงขั้นขาดทุน
ตอบพร้

แม้แต่ปีเตอร์ ลินช์เอง เขาก็ชอบหุ้นวัฏจักรมากและก็ทำกำไรให้เขาได้ไม่ใช่น้อยๆเลย

ปรัชญาในการเล่นหุ้นวัฏจักร

คนที่เล่นหุ้นวัฏจักรมักจะมีความเชื่อในเรื่องอนิจจัง ทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยง และหมุนเวียนเป็นวงจร(วัฏจักร)อยู่เสมอ ที่เคยโตๆได้มากมายก็มักจะเดาว่าถึงวันหนึ่งมันก็จะไม่โต วันหนึ่งมันก็ยุบลง

ถามว่าปรัชญาข้อนี้ฝืนธรรมชาติไหม

คำตอบ คือ ไม่เลย และสอดคล้องกับคำสอนหลักของศาสนาพุทธเสียด้วยซ้ำ เรื่องวัฏฏะสงสาร เป็นสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์มานานแล้วว่าเป็นเรื่องจริง เพียงแต่ระยะเวลาของวัฏจักรอาจจะช้าหรือเร็วต่างกันเท่านั้น

แล้วหุ้นเติบโตของบัฟเฟตต์หละ หุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร คำตอบ ผมก็คิดว่าหุ้นบัฟเฟตต์เป็นหุ้นวัฏจักรเหมือนกันถ้ายืดระยะเวลาไปยาวนานพอ ไม่มีอะไรหลุดพ้นไปจากวัฏสงสารได้เลย

และสาเหตุที่หุ้นบัฟเฟตต์ได้สิทธิพิเศษในการยืดระยะเวลาออกไปเป็นยี่สิบปีหรือห้าสิบปีหรือร้อยปีทั้งที่หุ้นอื่นๆไม่ได้รับสิทธินั้น ก็เป็นเพราะความได้เปรียบเชิงแข่งขันเป็นปัจจัยหนึ่ง หรืออาจจะมีความสามารถในการปรับตัวจากงานวิจัยตามแนวคิดของฟิลิป ฟิสเชอร์เป็นปัจจัยร่วม

หุ้นแบบไหนที่เป็นหุ้นวัฏจักร

1 commodity cyclical
2 Economic cyclical

ตามที่น้อง IH บอกไว้แล้ว หรือถ้าจะแยกเป็นตัวธุรกิจตามที่ผมเคยค้นไว้ก็เช่น

1.กระดาษ
2.ปิโตรเคมี เช่น น้ำมัน วงจร 18 ปี แก๊ส ถ่านหิน แต่ระยะเวลาของวงจรในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไป เนื่องจากน้ำมันใกล้จะหมดโลกแล้ว ส่วนปิโตรเคมี บางท่านก็บอกไว้ว่าประมาณ 7-9 ปี

3.ปูนซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง
4.ยานพาหนะ

5.กลุ่มเดินเรือ วงจรประมาณ 25ปี
6.หลักทรัพย์ แล้วแต่ภาวะเศรษฐกิจ ตลาดหมีหรือกระทิง

7.แร่เหล็ก
8.แร่สังกะสี วงจร 15 ปี
9. อื่นๆ

ตอนเริ่มเล่นหุ้นใหม่ๆ ผมก็ screen เจอหุ้น tta psl นะครับ แต่ตอนนั้นยังไม่รู้เรื่องเลยว่าอะไรเป็นหุ้นวัฏจักรหรือหุ้นเติบโต ผมเจอเพราะผมนั่งหาทุกไตรมาสทุกบริษัทว่ามีหุ้นอะไรที่กำไรก้าวกระโดดมากๆจากไตรมาสที่แล้วบ้าง

แล้วก็ไปเจอสองตัวนี้แหละครับ ตอนนั้นราคาอยู่แถวๆยี่สิบบาทกว่าๆเท่านั้นเอง(ราคาก่อนแตกพาร์) แต่ผมไม่ได้ซื้อ (ที่จริงคือ ไม่กล้าซื้อ) ผมเลยพลาดโอกาสทองครั้งยิ่งใหญ่ เพราะต่อมาราคาขึ้นมาถึงยี่สิบห้าเด้งหรือห้าร้อยบาท(ถ้าไม่แตกพาร์)

สาเหตุที่ผมพลาดเป็นเพราะว่า พอผมไปดูงบการเงินแล้ว ปรากฏว่าทั้งสองบริษัทนี้มีหนี้อยู่เยอะมาก มีสินทรัพย์ประมาณห้าพันล้านแต่มีหนี้สินสี่พันกว่าล้านบาทเลยทีเดียว

ตอนนั้นยังมือใหม่มากเลยครับ อ่านตำราวีไอเล่มไหนๆก็บอกให้หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีหนี้สูงๆทั้งนั้น

ผมก็หลีกเลี่ยงสิครับ ใครจะไปกล้า !!!!

ปัจจุบันนี้ผมได้ข้อคิดว่า ถ้าเป็นหุ้นเติบโต หนี้เยอะๆแบบนี้ก็น่ากลัวอยู่หรอก เพราะมันบ่งบอกว่าคุณไม่ค่อยทำกำไรเท่าไหร่ ถ้าดีจริงต้องได้กำไรเรื่อยๆและใช้กำไรไปขยายกิจการได้เรื่อยๆ และเมื่อทำบ่อยๆหลายปีเข้า บริษัทที่ดีก็จะมีหนี้น้อยลงเรื่อยๆ

แต่หลักการนี้ ใช้ไม่ได้กับหุ้นวัฏจักร เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทแค่ประคองตัวไม่ให้เจ๊งในช่วงที่เลวร้ายของวัฏจักรก็ถือว่าดีแล้ว และเมื่อรอบขาขึ้นมาถึง บริษัทเหล่านี้จะทำกำไรได้จนคุ้มค่าที่รอคอยเลยทีเดียว

ปีเตอร์ ลินช์เองก็บอกว่า บริษัทที่มีมาร์จิ้นต่ำๆ เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้กำไรเติบโตมากๆ บริษัทเหล่านี้จะยิ่งน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะฐานเดิมทำไว้ต่ำ

นี่แหละคือความหมายของคำว่า ขนาดรถสิบล้อหรือบ้านทั้งหลังยังขึ้นได้ และนอกจากจะหมายถึงหนี้เยอะ มาร์จิ้นเดิมต่ำๆ ยังรวมถึงปัจจัยอื่นๆทุกปัจจัยที่ทำให้บริษัทดูแย่ แต่ต้องยกเว้นเรื่องความซื่อสัตย์ของผู้บริหาร

ธรรมชาติของหุ้นวัฏจักร จึงมีรุ่งเรืองตกต่ำสลับกันไป

โดยช่วงที่ตกต่ำจะยาวนานกว่าและรุนแรง จนทำให้บริษัทที่อ่อนแอเริ่มล้มหายตายจากไปเรื่อยๆ ทำให้อุปทานลดลงเรื่อยๆ ระยะเวลาของช่วงตกต่ำจะยาวนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความอดทนของบริษัทที่อ่อนแอ ถ้าทนได้นานโดยมีอุปทานที่ระดับสูงระยะเวลาก็จะยาวนานขึ้น แต่เมื่อกลุ่มนี้ทนไม่ไหวต้องเลิกกิจการลง วงจรขาขึ้นก็จะกลับมา

วงจรขาขึ้นนี้โดยมากจะกินระยะเวลาประมาณ 20 % ของทั้งหมด เมื่อวงจรขาขึ้นกลับมา ก็จะสร้างกำไรให้มหาศาลแต่ก็จะดึงดูดให้ผู้เล่นหน้าใหม่ๆและหน้าเก่าๆกลับมาด้วย วงจรนี้จะยาวนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการสร้างธุรกิจนี้ขึ้นใหม่ใช้เวลานานแค่ไหน และเมื่อใครๆก็เข้ามา วงจรขาลงก็จะกลับมาเยือนซึ่งจะกินเวลาอีกประมาณ 80% เป็นอันครบหนึ่งรอบ

น้อง 007s เคยถามคำถามที่ดีมากว่า เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วทำไมเจ้าของบริษัทจึงไม่เรียนรู้ที่จะปรับตัว เช่น ถ้าใกล้ๆจะถึงขาขึ้นก็ให้อดทนไว้หรือกลั้นใจไว้อย่าเพิ่งรีบเลิกกิจการ เพราะอีกเดี๋ยววงจรขาขึ้นก็มา และช่วงที่วงจรขึ้นเต็มที่แล้วก็อย่าไปลงทุนเพิ่มเพราะเดี๋ยวขาลงก็จะมา........

ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น แต่เท่าที่ดูๆมันก็จะเป็นอย่างนั้นบ่อยๆทำนองประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ก็เลยลองหาเหตุผลมาสนับสนุนได้ความว่า

ถ้าคุณอดทนได้และกลั้นใจได้จริงไม่ว่าจะด้วยวิธีอะไร วงจรขาขึ้นก็จะยังไม่มา

ทำไมล่ะ?????

ก็เพราะถ้าพวกคุณยังอยู่กันเยอะ supply ก็ไม่ลดนะสิครับ

supply ไม่ลด ราคาก็ไม่ขึ้น เป็นธรรมดาใช่ไหมครับ (เพื่อนๆหลายคนคงหาเหตุผลอธิบายไม่ได้เหมือนกันในบางเรื่องใช่ไหมครับ ว่าหุ้นที่เราถืออยู่ตั้งนานราคาไม่ยอมไปไหน แต่พอเราขายหมดมันก็เริ่มวิ่งขึ้น มันทำเราด้ายยยยยย)

และอีกอย่างในเรื่องการลงทุนเพิ่มในช่วงขาขึ้นนั้น การหาเงินลงทุนจะง่ายกว่า กู้ธนาคารก็ง่ายกว่า หาหุ้นส่วนก็ง่ายกว่า ที่สำคัญกลุ่มหน้าใหม่ๆที่ไม่เคยเจ็บตัวจากขาลงที่ยาวนานก็ไม่ค่อยรู้สึกอะไร เข้าทำนองหมูไม่กลัวน้ำร้อน ขาเก่าอาจจะเข็ดเขี้ยวกันบ้าง อนาคตพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปก็ได้

วิธีค้นหาหุ้นวัฏจักร

เมื่อก่อนผมใช้วิธีอ่านหนังสือพิมพ์ไปเรื่อยๆ เคยเจอข่าว "ค่าระวางเรือสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์" ข่าวแบบนี้ก็จะช่วยให้เราสะดุดตาและเริ่มให้ความสนใจ

ผมยังเคยเจอข่าว "วัสดุก่อสร้างขาดตลาดอย่างหนัก ผู้รับเหมาร้องขอเลื่อนส่งงาน" ข่าวแบบนี้ก็จะทำให้เราเริ่มสนใจวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

แต่ปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าการใช้วิธีเดิมๆจะค่อนข้างช้า หมายความว่าเรารู้ตอนที่ใครๆก็รู้ และรู้กันทั้งประเทศแล้ว และราคาหุ้นมักจะปรับตัวกันไปบ้างแล้วแม้บางตัวอาจจะแพงไป บางตัวอาจจะยังถูก แต่ก็ถือว่าช้าอยู่ดี ปัจจุบันนี้เราจึงต้องดักหน้าก่อน พยายามมองให้ออกก่อน เราถึงจะได้เปรียบแบบมากๆหน่อย

จากการศึกษา วิธีที่จะดักหน้ากลุ่มนี้เราควรจะรู้เสียก่อนว่ากลุ่มนี้ทั้งหมดนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เท่าที่ดูๆผมจะแบ่งกลุ่มเพื่อให้สังเกตุง่ายๆพร้อมคุณสมบัติและโทษสมบัติแต่ละกลุ่มดู

วิธีเลือกจังหวะซื้อขาย

ปีเตอร์ ลินช์ เคยบอกว่าให้ซื้อตอน p/e สูงๆ และขายตอน p/e ต่ำๆ หลักการอันนี้ดูจะกลับตาลปัตรกับหุ้นเติบโตหรือแม้แต่หุ้นทั่วๆไป แต่เป็นเรื่องจริงครับ

แต่ถ้าเรายึดตามตัวอักษรเป๊ะๆ เราอาจจะไปซื้อตอนช่วงกลางๆของวัฏจักรก็ได้ เพราะช่วงนั้น p/e ก็สูงเช่นเดียวกัน และถ้าวัฏจักรเต็มๆมีระยะเวลา 20 ปี เราก็ต้องรอตั้งสิบปีกว่าจะถึงขาขึ้น รอกันจนหน้าเหี่ยวพอดีและก็เสียโอกาสในการทำเงินไม่ใช่น้อยๆเรย......จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมเสียหน่อย

ผลการศึกษา พบว่า

1. เราใช้วิธีดักหน้าไว้ก่อนเลย เช่นเรารู้วงจรของธุรกิจว่าใช้เวลากี่ปีๆ เราก็คำนวณไปล่วงหน้าว่าอีกกี่ปีจึงจะถึงรอบขาขึ้น แล้วเราก็จ้องตลอดว่ามัน “ใช่ ” หรือยัง

2. สัญญาณที่บอกว่า “ใช่ ” ก็เช่น บริษัทเริ่มได้กำไรมากขึ้น และมากขึ้นอย่างชัดเจนด้วยนะ

3. เช็คข่าวว่าบริษัทอื่นที่ทำธุรกิจคล้ายๆกัน ได้กำไรมากขึ้นเหมือนกันหรือเปล่า (ถ้าเป็นกลุ่มสากลมักจะได้กำไรไปด้วยกัน แต่ถ้าเป็นกลุ่มท้องถิ่นจะยากหน่อย อาจจะค่อยๆทยอยกันมาก็ได้)

4. เช็คยอดขาย อันนี้จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ร่วมกับสต็อคสินค้าเริ่มลดลง

5. เช็คบทวิเคราะห์ทั่วโลก(กลุ่มท้องถิ่นจะทำแบบนี้ไม่ได้ แต่กลุ่มสากลจะทำได้ง่าย และงานนี้จะไม่มีใครเป็น inside ตัวจริง ทุกคนจะพอๆกันเป็นการลดความเสียเปรียบ)

6. บทวิเคราะห์ที่ว่าอาจจะมีความคลาดเคลื่อน เพราะนักวิเคราะห์เองก็อาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน(ระแวงไว้หน่อยก็ดีครับ) เขาอาจจะใช้ความเห็นมากกว่าข้อเท็จจริงก็ได้ หรืออาจจะใช้ข้อเท็จจริงแต่นำเสนอข้อเท็จจริงไม่หมด หรือจริงๆแล้วเจตนาบริสุทธิ์แต่รู้ไม่หมด ไม่รอบด้านพอ จึงต้องเช็คงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาด้วยจะเชื่อถือได้มากกว่า

หลักการตรงนี้ ผมมีประสบการณ์กับกลุ่มสถาบันการเงินคือ ธนาคารพาณิชย์ ช่วงลดค่าเงินบาทและปิดสถาบันการเงิน ถ้าธนาคารพาณิชย์ที่สามารถอยู่รอดโดยไม่ถูกปิดไปในช่วงนั้น และประคองสถานการณ์มาได้

กลับไปดูย้อนหลังได้ BBL KBANK SCB BAY นับจากวันตกต่ำจนถึงวันนี้ ก็หลายเด้งเอาการครับ บางตัวเคยมีราคาต่ำกว่า PAR และ Book Value มากโข แต่นักลงทุนในช่วงนั้น หนีตายเลยครับ เพราะ เผชิญกับภาวะ การตกงานของ White Collar จำนวนมาก ไม่มีใครกล้าเข้าไปลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ถ้าใครกล้าจนถึงวันนี้ก็รับทรัพย์ไปมากโขครับ

หรืออย่าง KK นั้น ขนาดเกือบถูกปิด และเป็น 2 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ทางการยอมให้เปิดต่อ ตอนนั้นใครจะไปคิดว่า ราคาเคยตกต่ำเหลือ 2-3 บาท แต่พอหลุดวิกฤตตรงนั้น กำไรก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนราคาปัจจุบันขึ้นไปกว่า 10 เด้ง คือ 30 กว่าบาทมาแล้ว
ตรงประคองไม่ให้เจ๊งนี่หละครับ ทำเอานักลงทุนในช่วงนั้น 2 จิต 2 ใจ เพราะก็เห็น ๆ อยู่ว่า หลายธนาคารถูกปิดในช่วงนั้น ผสมโรงกับ Finance เกือบ 60 แห่งที่ถูกปิดตัวในช่วงเวลาดังกล่าว

ถามว่า ถ้าย้อนกลับไปช่วงเวลาดังกล่าวจริง ๆ ช่วงเวลานั้น ต้องบอกว่า Risk สูง ผลตอบแทนสูงจริง ๆ ครับ

ดักหน้าหมายถึงใช้วิธีจ้องไว้ก่อนอ่ะครับ ไม่ถึงกับซื้อดัก เพราะถ้าซื้อแล้วปรากฏว่ายังไม่ใช่ของจริงเราอาจจะขาดทุนก็ได้ (เพราะระยะเวลาของวงจรเหล่านี้ไม่ถึงกับเป็นตัวเลขเดิมเป๊ะๆ สามารถคลาดเคลื่อนได้พอสมควรครับ)

พองบออกครั้งที่ 1. ถ้าปรากฏว่าเป็นไปตามคาด เราสามารถเริ่มกระบวนการข้อ 2-6 ได้เลย อาจจะไม่ต้องรองบqที่ 2 ,3

โดยส่วนใหญ่ช่วงนี้ราคาหุ้นมักจะยังไม่ขึ้นมากครับ

ถ้าเป็นปีเตอร์ ลินช์ เขาอาจจะรอให้ราคาขึ้นไปหนึ่งเด้งเสียก่อนเพื่อความชัวร์แล้วค่อยไล่ซื้อครับ
เริ่มที่ประเภทท้องถิ่นนะครับ อย่างในกลุ่มอสังหานั้น รอบอาจจะสั้นกว่า บางทีประมาณ 4-5 ปีก็อาจจะกลับมาอีกแล้ว ปัจจัยที่มีผลก็เช่น ดอกเบี้ยปัจจุบันคงไม่ขึ้นไปอีก อาจจะคงตัวหรืออาจจะลดลงก็ได้(ฟังข่าวเมื่อวานนี้ครับ)

แต่ด้วยความที่เป็นท้องถิ่น เราจึงควรรู้ทำเลที่ตั้ง การจราจร เพราะเรื่องเหล่านี้มีผลกับยอดขายสูง ถ้าเราไม่รู้ก็จะเป็นการเสี่ยง (ซึ่งตัวผมไม่รู้) แต่ถ้าใครรู้ก็จะน่าสนใจ และที่ผ่านมา 2-3 ปี อสังหาเจ็บหนัก(จากเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ดอกเบี้ยขาขึ้น วัตถุดิบแพง) ราคาจึงค่อนข้างถูก แต่ก็ต้องลงละเอียดเป็นตัวๆ เช่น prin เป็นต้น ส่วนกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ยานยนต์ หลักทรัพย์ โรงพยาบาล ก็แตกต่างกันในรายละเอียดและระยะเวลาเหมือนกันครับ

ส่วนประเภทสากลซึ่งรอบยาวๆและใหญ่ๆนั้น ผมยังหาหุ้นไม่เจอ เท่าที่เห็นแม้กลุ่มเหล็กจะราคาถูกมากๆ ต่อให้ q3 นี้กำไรออกมาสวยงามสุดๆก็ยังไม่ค่อยน่าสนใจนักเพราะโอกาสเป็นขาลงของรอบใหญ่มีมากกว่า เว้นเสียแต่จะซื้อตัวที่ถูกมากๆในฐานะหุ้นก้นบุหรี่ เช่น gsteel (ถ้างบสวยนะครับ ถ้าไม่สวยก็ผ่านไป) เป็นต้น

ตัววัดสัญญานขาขึ้น-ลงของสินค้าโภคภัณฑ์ที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือ
การขยายการผลิต
เพราะผมสังเกตุว่า มักจะเริ่มมีการขยายการผลิตมากๆ เมื่อใกล้จุดสูงสุดของวัฎจักร
ส่วนหนึ่งเพราะการนำผลกำไรที่ได้จากวัฏจักรขาขึ้นมาลงทุนต่อ นอกจากนี้ราคาสินค้าก็ดึงดูดให้ผู้เล่นทั้งรายเก่ารายใหม่เข้ามาลงทุน

ซึ่งหลังจากการขยายการลิตเสร็จสมบูรณ์ ก็จะเป็นเริ่มวัฎจักรขาลงของธุรกิจ เพราะมี Supply สินค้าเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กันปริมาณมาก แต่ Demand ยังโตในอัตราเดิม ทำให้เกิด Oversupply และสงครามราคาก็ตามมา

ขณะที่หากผู้ผลิตวัตถุดิบ(Suppler ของธุรกิจ) ไม่มีการขยายกำลังการผลิตล่วงหน้าให้เพียงพอกับความต้องการวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ก็อาจทำให้ราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น เท่านี้กำไรก็หายแบบ 2 เด้งไปเลย

ส่วนปัจจัยการเลือกหุ้นที่สำคัญอย่างหนึ่งของผมในหุ้นหุ้นกลุ่มนี้น่าจะเป็น ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน(ต้นทุนการผลิตต่ำสุด) และปริมาณเงินสดในมือ
เพราะในช่วงขาลงอัตรากำไรของสินค้าน่าจะลดลงเรื่อยๆ จนว่าผู้ผลิตทนไม่ไหวต้องลดกำลังการผลิตเพื่อรักษาอัตรากำไร หรือเจ้าที่ขาดทุนอาจปิดตัวเองหนีไปเลย คนที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ก็จะเป็นคนสุดท้ายที่ขายของขาดทุนซึ่งเป็นไปได้ยาก
ส่วนเงินสดในมือ นอกจากทำให้กิจการสามารถทนการขาดทุนได้นานกว่า (อึดกว่า) ยังสามารถใช้เงินที่มีกักตุนวัตถุดิบที่มีราคาต่ำในช่วงวัฏจักรขาขึ้นรอบต่อไป

ที่มา: ABVI@stock2morrow.com




 

Create Date : 02 ตุลาคม 2553    
Last Update : 28 มกราคม 2554 0:04:47 น.
Counter : 787 Pageviews.  

Pick Stocks Like Peter Lynch

เลือกหุ้นสไตล์ ปีเตอร์ ลินซ์

นับจากต้นปี 1980 ผู้จัดการกองทุนหนุ่ม ปีเตอร์ ลินซ์ ได้กลายเป็นนักลงทุนที่มีชื่อเสียงของโลก จากการเริ่มงานจัดการกองทุน Fidelity Fund ในเดือน may 1977 กองทุนมีขนาดเพียง 20 ล้านเหรียญ ได้กลายเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถเอาชนะตลาดได้เฉลี่ย 13.4% ต่อปี

Lynch ทำได้สำเร็จโดยการใช้หลักการเบื้องต้นพื้นๆ ซึ่งเขายินดีที่จะแชร์ให้กับทุกคน ลินซ์เชื่อมั่นว่านักลงทุนรายย่อยมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าสถาบันใหญ่ๆ เนื่องจากกองทุนขนาดใหญ่ไม่สามารถจะลงทุนได้อย่างเต็มที่ในบริษัทที่มีขนาดเล็ก (ข้อจำกัดเรื่องเปอร์เซ็นต์การถือหุ้น) ซึ่งภายหลังผลประกอบการเข้าตานักวิเคราะห์ กลายเป็นหุ้นบลูชิพ แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนระยะยาวหรือจะลงทุนเพื่อเพิ่มพูนรายได้ ก็สามารถศึกษากลยุทธ์ของลินซ์

ปรัชญาของลินซ์
ลินซ์ได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนไว้หลายเล่ม แก่นของหลักการลงทุนสรุปได้ 3 ข้อหลักๆ


1. Only Buy What You Understand

เครื่องมือที่ลินซ์ใช้ในการค้นหาหุ้นก็คือ ตา หู และสามัญสำนึก ลินซ์ภาคภูมิใจอย่างมากที่หุ้นห่านทองคำหลายตัวของเขาถูกค้นพบในที่ที่เขาเดินไปตามร้านขายของชำ พูดคุยกับเพื่อนฝูงและกับครอบครัว

เราก็เช่นกันสามารถจะวิเคราะห์หุ้นในเบื้องต้นจากการดูทีวี, อ่านหนังสือพิมพ์, หรือฟังวิทยุ เมื่อเราขับรถไปตามถนนหรือท่องเทียวในวันหยุด ไอเดียการลงทุนใหม่ๆ ก็จะผุดขึ้นมา กล่าวได้ว่าหุ้นทั้งหมดในตลาดเป็นธุรกิจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการพวกเราที่เป็นผู้บริโภครายย่อย ถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งประทับใจเราในฐานะที่เป็นผู้บริโภค ก็ย่อมจะตรึงใจเราในฐานะของนักลงทุนเช่นกัน


2. Always Do Your Homework

การสังเกตและรวบรวมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับหุ้นเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ความคิดที่เลิศหรูทั้งหมดจำเป็นต้องตามมาด้วยการค้นคว้าอย่างชาญฉลาด แต่อย่าทึกทักเอาว่าวิธีค้นหาห่านของลินซ์ช่างง่ายเสียจริง เมื่อมาถึงขั้นตอนการวิเคราะห์จะต้องละเอียดและแม่นยำ ซึ่งนี่ก็คือกุญแจความสำเร็จของลินซ์ เมื่อไอเดียดีๆ ผุดขึ้นมาในใจแล้ว ลินซ์จะมองหามูลค่าพื้นฐานหลายๆ ตัวเลข ซึ่งเป็นคุณลักษณะของหุ้นที่มีคุณค่าต่อการซื้อ

- เปอร์เซ็นต์ยอดขาย ถ้าหากมีสินค้าตัวใดเตะตาคุณ ต้องแน่ใจว่าเปอร์เซ็นต์ยอดขายนั้นสูงมากพอ ถ้าสินค้าดีแต่มียอดขายเพียง 5% ก็จะไม่ส่งผลต่อยอดกำไรสุทธิของบริษัท

- PEG Ratio ค่าอัตราส่วนนี้เป็นการประเมินอัตราการเติบโตของผลกำไร เพื่อการให้น้ำหนักความคาดหวังกับหุ้นตัวนี้มากน้อยเท่าไร บริษัทที่เรามองหาย่อมจะต้องมีการเติบโตที่แข็งแกร่งและราคาเหมาะสม หุ้นแข็งแกร่งที่เติบโตมากกว่าจะมี PEG Ratio เท่ากับ 2 หรือมากกว่า แสดงว่าผลกำไรได้สะท้อนไปในราคาหุ้นแล้ว เหลือช่องว่างให้ผิดพลาดได้เพียงเล็กน้อย (ค่า PEG Ratio ต่ำแสดงว่าราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่า)

- สนใจบริษัทที่มีกระแสเงินสดแข็งแกร่ง และสัดส่วนของหนี้ต่อทรัพย์สินน้อย การบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างชาญฉลาดและมีกระแสเงินสดมาก จะช่วยให้บริษัทสามารถยืนหยัดอยู่ในตลาดได้ทุกสภาวะ


3. Invest for the Long Run

ลินซ์กล่าวไว้ว่า “ตลอดช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา หุ้นเป็นสิ่งที่เราสามารถจะคาดการณ์อนาคตได้ ถ้าอยากจะรู้ว่าหุ้นจะราคาสูงหรือต่ำในอีกสองหรือสามปีข้างหน้า ก็เพียงแค่โยนเหรียญหัวก้อยเท่านั้น” ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะได้ยินคำกล่าวเช่นนี้จากบุคคลที่เป็นตำนานของวอลล์สตรีท แต่นั่นยิ่งเน้นให้เห็นถึงปรัชญาการลงทุนของลินซ์ เขาเกาะติดมีความรู้เข้าใจในบริษัทที่เขาลงทุน และตราบเท่าที่เรื่องราวยังไม่เปลี่ยนแปลง เขาก็จะไม่ขายมัน ลินซ์ไม่พยายามที่จะกำหนดจังหวะของตลาด หรือคาดการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจ (ที่จริงแล้วเขาได้ศึกษาวิเคราะห์เรื่องทิศทางจังหวะของตลาดมาก่อนแล้ว) ลินซ์เห็นว่าเป็นการเสียเวลาที่จะพยายามคาดเดาทิศทางการผันผวนของตลาดในระยะสั้นๆ ถ้าบริษัทแข็งแกร่ง มันก็จะทำกำไรได้มากแล้วหุ้นก็จะมีราคาสูงตามไปด้วย ให้ง่ายๆ ก็คือ ลินซ์จะโฟกัสอยู่กับงานที่สำคัญที่สุด ก็คือ การค้นหาบริษัทที่ยิ่งใหญ่

ลินซ์ได้ประดิษฐ์ศัพท์ใหม่คือ “Tenbagger” คนหิ้วถุงมูลค่าสิบเท่า เพื่อจะอธิบายถึงหุ้นที่ราคาได้พุ่งขึ้นไปถึงสิบเท่า (1000%) หุ้นเหล่านี้เป็นเป้าหมายที่เขามองหาในขณะที่บริหารกองทุน Magellan Fund ตามกฎข้อที่ 1 “การค้นหาหุ้น Tenbagger จะต้องไม่ขายหุ้นเมื่อราคาขึ้นไปถึง 40% หรือแม้แต่ 100%” ผู้บริหารกองทุนอื่นในขณะนั้นมักจะขายหุ้นตัวดีๆ แล้วไปเอาหุ้นแย่ๆ เข้ามาในพอร์ท ตามความเห็นของลินซ์ก็คือ “pulling the flowers and watering the weeds” (ขายหมู ซื้อควาย อิ..อิ.. เราปล่อยภัทรไปได้ไงเนี๊ย)

บทสรุป
แม้ว่าลินซ์จะเผชิญกับความเสี่ยงที่พอร์ทกองทุนมีการกระจายของหุ้นมากเกินไป (เขาถือหุ้นมากกว่าพันตัว) แต่ผลงานและความสามารถในการเลือกหุ้นของเขาเป็นเครื่องประกันความสามารถ ด้วยการนำบทเรียนของลินซ์ผนวกกับประสบการณ์ของเรา จะทำให้การลงทุนของเรามีทั้งความเพลิดเพลินและผลกำไร

ที่มา: WindReturn@pantip.com/สินธร


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Pick Stocks Like Peter Lynch

In the early 1980s, a young portfolio manager named Peter Lynch was becoming one of the most famous investors in the world, and for a very understandable reason – when he took over the Fidelity Magellan mutual fund in May of 1977 (his first job as a portfolio manager), the assets of the fund were $20 million. He proceeded to turn it into the largest mutual fund in the world, outperforming the market by a mind-boggling 13.4% per year annualized!

Lynch accomplished this by using very basic principles, which he was happy to share with just about anyone. Peter Lynch firmly believed that individual investors had inherent advantages over large institutions because the large firms either wouldn't or couldn't invest insmaller-cap companies that have yet to receive big attention from analysts or mutual funds. Whether you're a registered representative looking to find solid long-term picks for your clients or an individual investor striving to improve your returns, we'll introduce you how you can implement Lynch's time-tested strategy.

The Lynch Philosophy
Once his stellar track record running the Magellan Fund gained the widespread attention that usually follows great performance, Peter wrote several books outlining his philosophy on investing. They are great reads, but his core thesis can be summed up with three main tenets: only buy what you understand, always do your homework and invest for the long run. (To see our review of one of Lynch's books, check out Ten Books Every Investor Should Read.)


1. Only Buy What You Understand

According to Lynch, our greatest stock research tools are our eyes, ears and common sense. Lynch was proud of the fact that many of his great stock ideas were discovered while walking through the grocery store or chatting casually with friends and family. We all have the ability to do first-hand analysis when we are watching TV, reading the newspaper, or listening to the radio. When we're driving down the street or traveling on vacation we can also be sniffing out new investment ideas. After all, consumers represent two-thirds of the gross domestic product of the United States. In other words, most of the stock market is in the business of serving you, the individual consumer - if something attracts you as a consumer, it should also pique your interest as an investment.


2. Always Do Your Homework

First-hand observations and anecdotal evidence are a great start, but all great ideas need to be followed up with smart research. Don't be confused by Peter Lynch's homespun simplicity when it comes to doing diligent research – rigorous research was a cornerstone of his success. When following up on the initial spark of a great idea, Lynch highlights several fundamental values that he expected to be met for any stock worth buying:

• Percentage of Sales: If there is a product or service that initially attracts you to the company, make sure that it comprises a high enough percentage of sales to be meaningful; a great product that only makes up 5% of sales isn't going to have more than a marginal impact on a company's bottom line.

• PEG Ratio: This ratio of valuation to earnings growth rate should be looked at to see how much expectation is built into the stock. You want to seek out companies with strong earnings growth and reasonable valuations - a strong grower with a PEG ratio of two or more has that earnings growth already built into the stock price, leaving little room for error. (To read more, see How The PEG Ratio Can Help Investors andMove Over P/E, Make Way For The PEG.)

• Favor companies with a strong cash position and below-average debt-to-equity ratios. Strong cash flows and prudent management of assets give the company options in all types of market environments. (For more on this, see The Essentials Of Cash Flow, Spotting Cash Cows and Evaluating A Company's Capital Structure.)


3. Invest for the Long Run

Lynch has said that "absent a lot of surprises, stocks are relatively predictable over 10-20 years. As to whether they're going to be higher or lower in two or three years, you might as well flip a coin to decide." It may seem surprising to hear such words from a Wall Streetlegend, but it serves to highlight how fully he believed in his philosophies. He kept up his knowledge of the companies he owned, and as long as the story hadn't changed, he didn't sell. Lynch did not try to market time or predict the direction of the overall economy.

In fact, Lynch once conducted a study to determine whether market timing was an effective strategy. According to the results of the study, if an investor had invested $1,000 a year on the absolute high day of the year for 30 years from 1965-1995, that investor would have earned a compounded return of 10.6% for the 30-year period. If another investor also invests $1,000 a year every year for the same period on the lowest day of the year, this investor would earn an 11.7% compounded return over the 30-year period.

Therefore, after 30 years of the worst possible market timing, the first investor only trailed in his returns by 1.1% per year! As a result, Lynch believes that trying to predict the short-term fluctuations of the market just isn't worth the effort. If the company is strong, it will earn more and the stock will appreciate in value. By keeping it simple, Lynch allowed his focus to go to the most important task – finding great companies. (To learn more about value investing, seeWarren Buffett: How He Does It and What Is Warren Buffett's Investing Style?)

Lynch coined the term "tenbagger" to describe a stock that goes up in value ten-fold, or 1000%. These are the stocks that he was looking for when running the Magellan fund. Rule No.1 to finding a tenbagger is not selling the stock when it has gone up 40% or even 100%. Many fund managers these days look to trim or sell their winning stocks while adding to their losing positions. Peter Lynch felt that this amounted to "pulling the flowers and watering the weeds". (For more information, read Achieving Better Returns In Your Portfolio.)


Conclusion

Even though he ran the risk of over-diversifying his fund (he owned thousands of stocks at certain times), Peter Lynch's performance and stock-picking ability stands for itself. He became a master at studying his environment and understanding the world both as it is and how it might be in the future. By applying his lessons and our own observations we can learn more about investing while interacting with our world, making the process of investing both more enjoyable and profitable.

ที่มา //www.investopedia.com/articles/stocks/06/PeterLynch.asp




 

Create Date : 02 ตุลาคม 2553    
Last Update : 2 ตุลาคม 2553 14:33:59 น.
Counter : 606 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

nat_v
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ถ้าชอบ blog นี้อย่าลืม Subscribe RSS Feed
ผมนะครับ จะพยายาม update ให้บ่อยมากที่สุด

เครื่องที่ใช้ Test: iPhone 3Gs / iTouch 2G
ไม่ Jail Break
Friends' blogs
[Add nat_v's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.