โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม รักษาได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม


โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

         เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไอที เช่น แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน เป็นเวลานานโดยไม่ได้พักสายตา ทำให้กล้ามเนื้อตาล้า แม้แต่การอ่านหนังสือหรือการนั่งอยู่ในท่วงท่าอิริยาบถหนึ่งนานๆ โดยไม่ขยับเขยื้อน และอีกหลายสาเหตุที่ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการของโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมได้ เช่น ทิศทางการเป่าของแอร์ ความสว่างของหน้าจอ ระยะการมอง ท่าทางการนั่ง ตำแหน่งการวางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

อาการต่อมา ที่มักจะควบคู่กันคือ อาการตาแห้ง เป็นอาการที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา แสบตา และอาจจะมีการแพ้แสงร่วมด้วยได้ เราสามารถปรับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเพื่อลดอาการได้ เช่น ปรับทิศทางการเป่าของแอร์หรือพัดลม โดยไม่ให้เป่าโดนตา หรือตรวจสอบว่าความชื้นในห้องเป็นอย่างไร ถ้าเราปรับสิ่งเหล่านี้แล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องให้การรักษาโดยการใช้น้ำตาเทียม

5 วิธีง่ายๆผ่อนคลาย ช่วยลดการเกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

  1. กระพริบตา การกระพริบตาช่วยกระตุ้นต่อมน้ำตาไหลออกมาให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา
  2. พักสายตาตามกฎ 20-20-20  คือทุก 20 นาทีละสายตาไปมองวัตถุอื่นที่ห่างออกไปอย่างน้อย  20 ฟุต เป็นเวลาอย่างน้อย  20 วินาที
  3. หน้าจอที่เหมาะสำหรับการใช้งานใช่เพียงแต่ไม่สะท้อนเท่านั้น ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แสงเหมาะสมกับการใช้งานด้วย แสงที่ดีควรส่องสว่างจากด้านหลังหรือด้านข้างของจอไม่ควรส่องสว่างเข้าทางหน้าจอโดยตรง เพื่อช่วยลดปัญหาการสะท้อนของแสง
  4. เมื่อมองวัตถุต่างๆ ควรห่างอย่างน้อย 20 นิ้วจากดวงตา จุดกึ่งกลางของการมองควรอยู่ต่ำลงไป 4- 6 นิ้วจากกึ่งกลางของดวงตา
  5. ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพจากจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเป็นประจำทุกปี

ข้อมูลจาก Computer vision syndrome




Create Date : 02 เมษายน 2559
Last Update : 3 มิถุนายน 2559 14:54:08 น.
Counter : 749 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

salinta
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



หมีชอบกินปลาแซลม่อนที่ว่ายทวนน้ำ...
All Blog