Group Blog
 
All blogs
 

ฝึกหายใจให้ถูกซักนิด พิชิตโรคความดันโลหิตได้


จากสภาวะในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันและความเครียสหรือปัจหาเศรษฐกิจอันรุมเร้าและลักษณะการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบเป็นผลทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บกันได้ง่ายขึ้น โดยที่ความดันโลหิตสูงก็ยังเป็นโรคหนึ่งที่ฮิดอยู่ในสังคมเมื่องทุกวันนี้ และถ้าหากขาดการควบคุมที่ดีก็อาจเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมามากมายคะ

มาดูปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะความดันสูงกัน
ความดันโลหิตหรือความดันในหลอดเลือดแดง จะมีแรงดันมากหรือน้อยนั้นมากจากแรงบีบของหัวใจ ความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด แรงต้านหรือความดันย้อนกลับที่จะเกิดขึ้น เช่นมีของเหลวมาก หรือมีน้ำหนักตัวมาก แรงบีบของกล้ามเนี้อที่บีบลงบนเส้นเลือดขนาดเล็ก ความข้นของเลือด การทำงานของไตและตับ และประสิทธิภาพการทำงานของระบบกล้ามเนี้อและระบบหายใจของร่างกาย
สาเหตุที่ทำให้ความดันสูงมากจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยทางกาย และปัจจัยทางอารมณ์ ซึ่งปัจจัยทางอารมณ์ก็ได้แก่ความเครียส ความโกรธ ความเศร้า ส่วนปัจจัยทางร่างการก็ได้แก่การออกกำลังกายไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล เช่นบริโภคไขมันสูง สูบบุหรีจัดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ

ปัจจัยทางอารมณ์
ที่นี้ก็มาเริ่มเข้าใจถึงปัจจัยทางอารมณ์ คือเมื่อเกิดอาการเครียส มีความโกรธ ร่างการเราจะหลังฮอร์โมนอะดีนาลีนออกมา ทำให้ผนังเส้นเลือดหดตัวเพื่อส่งเลือดที่มีออกซิเจนมากไปที่กล้ามเนื้อและสมองอย่างรวดเร็ว เพราะเหตุนี้หากคุณเครียสหรือเกิดอารมณ์เสียเป็นประจำ มีโอกาสทำให้ร่างกายเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้

การขาดการออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย เนื่องจากระบบการไหลเวียนเลือดต้องอาศัยการบีบและคลายของกล้ามเนื้อทั้งตัวร่วมกับการทำงานของหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณทรวงอก ช่องท้อง และกะบังลม

และจะลดความดันโลหิตสูงลงได้อย่างไร
กล่าวคือถ้าอยู่ในสภาวะการหายใจปกติ การสูดอากาศที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและส่งคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จะทำให้เกิดแรงดันในทรวงอกและช่องท้อง ซึ่งมีผลต่อการบีบคลายของหัวใจในการส่งเลือด ฉะนันหากเราหายใจและเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทั่วร่างกายอย่างถูกต้อง ระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือดจะทำงานได้ราบรื่นขึ้น แต่ผู้ที่ไม่ค่อยขยับเขยื่อนร่างกายหรือนั่งอยู่กับที่นานๆ ระบบการหายใจจะไม่ได้ทำงานเต็มที่เหมือนขณะออกกำลังกาย กล้ามเนื้อทั่วร่างกายไม่ค่อยได้ทำงาน นานวันเข้าความดันก็อาจสูงได้
หายใจถูกวิธีช่วยปรับระดับความดันได้ค่ะ
การออกกำลังกายช้าๆ ที่ต้องอาศัยการฝึกการหายใจ เช่น โยคะ พีลาทีส ชี่กง ไทเก๊ก หรือมวยจีน เหล่านี้ให้ประโยชน์ถึง 2 เด้ง คือช่วยการบีบตัวของกล้ามเนื้อและกะบังลม และช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้เลือดซึ่งสำคัญมากเพราะเลือดมีบทบาทเป็นตัวนำออกซิเจนซึ่งมีผลต่อความดันโลหิตมาก หากเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะทำงานไม่เต็มที่ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นความดันโลหิตจึงต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วยและหากเกิดในผู้ที่เส้นเลือดอุดตันเป็นบางส่วนอยู่แล้วก็จะยิ่งเป็นอันตรายเพราะอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตก กลายเป็นอัมพาต หรือหัวใจล้มเหลวได้เหมือนกัน

การออกกำลังการควบคู่ไปกับการกำหนดลมหายใจจึงช่วยปรับความดันโลหิต เพราะช่วยลดความเครียสและควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ช่วยลดแรงดันในทรวงอกและช่องท้อง ทำให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนักเกินควร เพราะไม่มีแรงดันกลับจากภายในนั่นเองคะ

การกำหนดหายใจให้ถูกวิธีทำได้ไม่ยาก
เมื่อออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาโดยทั่วไปแล้วการหายใจก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ หากแต่กีฬาบางประเภทเช่นที่กล่าวมาแล้วนั้นผู้เล่นจะรับรู้ถึงการหายใจของตนตลอดจนถึงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน ซึ่งมีหลักสำคัญที่ปฏิบัติได้ไม่ยากดังนี้คะ

ให้หายใจเข้าขณะที่ร่างกายหรือกล้ามเนื้อยืดออกเต็มที่ และหายใจออกขณะที่กล้ามเนื้อหกตัวเข้า โดยเทคนิกนี้จะสัมพันธ์กันระหว่างกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนเลือด นั่นคือขณะที่หายใจเข้าจะรับออกซิเจนเข้าปอดอย่างเต็มที่และส่งต่อไปยังเส้นเลือด ฉะนั้นกล้ามเนื้อที่ยื่ดออกจะทำให้เลือดไหลเวียนและส่งออกซิเจนให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้อย่างเต็มที่คะ ในขณะเดียวกันก็รับคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลเพื่อนำกลับออกมาขับออกจากร่างกายผ่านทางปอดพอดีกับที่ร่างกายขยับหกกล้ามเนื้อ

ถึงกระนั้นก็ตามการควบคุมระดับความดันดลหิตก็ต้องทำควบคู่ไปกับอาหารการกิน การผักผ่อน และสภาวะอารมณ์ของแต่ละท่านด้วยนะคะจึงจะบังเกิดผลดีตามมาคะ ด้วยร้กและปรารถนาดี และหวังว่าทุกท่านจะมีสุขภาพดีค่ะ







 

Create Date : 03 เมษายน 2551    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2551 15:46:04 น.
Counter : 1071 Pageviews.  

1  2  

Doungchampa
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




หนึ่งฤทัย
Comment
--
Friends' blogs
[Add Doungchampa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.