นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ความสัมพันธ์ของเพลี้ยจักจั่นกับเมล็ดพันธุ์ข้าวในแปลงนา

ในห้วงช่วงสี่ถึงห้าปีที่ผ่านมาเราอาจจะเคยได้ยินแต่เรื่องการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไปทั่วทั้งภูมิภาคโดยจะมีการระบาดมากที่สุดก็คือภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางเกือบทั้งหมด และระหว่างหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมานี้ก็เริ่มมีข่าวลุกลามไปทางฝั่งภาคตะวันออกแถบจังหวัดนครนายกฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรีก่อให้เกิดกระแสการรณรงค์ต่อต้านโดยมีงบส่วนกลางจากรัฐบาลส่งตรงไปยังหน่วยงาน อบต.เทศบาลต่างๆให้ไปช่วยเหลือจัดการพี่น้องประชาชนชาวไร่ชาวนาที่ประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติจากศัตรูพืชเหล่านี้

ความจริงแล้วศัตรูของต้นข้าวยังมีอีกชนิดหนึ่งที่น่าสะพรึงกลัวไม่แพ้กันนั่นก็คือเพลี้ยจักจั่น ที่พบเห็นในแปลงนาข้าวบ่อยๆ ก็มีอยู่สองชนิดคือเพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก สำหรับข้อมูลตัวแรกคือ เพลี้ยจักจั่นสีเขียว(green rice leafhopper) เพลี้ยจักจั่นสีเขียวเป็นแมลงจำพวกปากดูดที่พบทำลายข้าวในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ Nephotettix virescens(Distant) (ชี่อวิทยาศาสตร์) และ Nephotettix nigropictus(Stal) (ชื่อวิทยาศาสตร์) ตัวเต็มวัยของแมลงทั้ง 2 ชนิดมีสีเขียวอ่อนและอาจมีแต้มดำบนหัวหรือปีกขนาดลำตัวยาวไม่แตกต่างกัน ต่างกันตรงที่ N. nigropictus (Stal) มีขีดดำพาดตามความยาวของขอบหน้าผากระหว่างตาทั้ง2 ข้าง แต่ N. virescens (Distant) ไม่มีตัวเต็มวัยไม่มีชนิดปีกสั้น เคลื่อนย้ายรวดเร็วเมื่อถูกรบกวน สามารถบินได้เป็นระยะทางไกลหลายกิโลเมตร ชอบบินมาเล่นไฟตอนกลางคืนโดยเฉพาะช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม เพศเมียวางไข่ในกาบใบข้าววางไข่เป็นกลุ่ม 8-16 ฟอง ไข่วางใหม่ๆมีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลและมีจุดสีแดง ระยะไข่นาน 5-8 วัน ตัวอ่อนมีสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อน ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อนนาน 14-15 วันระยะตัวเต็มวัยประมาณ 10 วัน

และสำหรับตัวที่สองคือ เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก(zigzag leafhopper) เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก (ชื่อวิทยาศาสตร์ Reciliadorsalis (Motsuchulsky)) ตัวเต็มวัยลักษณะคล้ายเพลี้ยจักจั่นสีเขียวแต่ขนาดเล็กกว่า ลำตัวยาวประมาณ 2มิลลิเมตร สีขาว ปีกสองข้างมีลายหยักสีน้ำตาลเป็นทางเพศเมียวางไข่บริเวณเส้นกลางใบ ประมาณ100-200 ฟองในระยะตัวเต็มวัยนาน 10- 14 วัน วางไข่เดี่ยวๆระยะไข่นาน 4-5 วัน ตัวอ่อนมีสีขาว ในขณะที่เพลี้ยจักจั่นมีสีเขียวอ่อน ตัวอ่อนมี 5 ระยะ (ข้อมูลกรมการข้าว)

เพลี้ยจักจั่นนี้สามารถเข้าทำลายต้นข้าวได้ตั้งแต่ระยะเตรียมกล้าทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจนใบพืชซีดเหลือง ถ้ามีปริมาณมากๆ ก็จะทำให้ข้าวต้นและใบแห้งไหม้ตัวของเพลี้ยจักจั่นสามารถที่จะเป็นพาหะนำโรคใบสีส้ม คือมีอาการสีแสดจากปลายใบที่ใบล่างและจะเป็นสีแสดทั่วทั้งใบยกเว้นเส้นกลางใบใบที่เป็นโรคทั้งใบจะม้วนจากขอบใบทั้งสองช้างเข้ามาหาเส้นกลางใบทำให้ใบแห้งในที่สุดและโรคหูด ซึ่งมีอาการต้นเตี้ย แคระแกร็น ใบมีสีเขียวเข้ม และสั้นกว่าปกติจะมีอาการคล้ายโรคจู๋อยู่มาก ที่บริเวณหลังและกาบใบจะปรากฏปุ่มปมขนาดเล็กสีเขียวซีดหรือขาวใส ลักษณะคล้ายเม็ดหูดเม็ดหูดนี้ก็คือเส้นใบที่บวมปูดออกมานั่นเอง เมื่อเกิดโรคทั้งสองชนิดนี้ขึ้นกับข้าวจะทำให้การแตกกอช้า ใบเหลืองซีดสังเคราะห์แสงได้น้อย ต้นเตี้ยแคระแกร็น ส่งผลให้รวงไม่สมบูรณ์ผลผลิตลดน้อยถอยลง

เป็นที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่า เพลี้ยจักจั่นจะเข้าระบาดมากที่สุดในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวหนาแน่นและต้นข้าวอวบอ้วนเขียวมากเกินปรกติซึ่งจะตรงกับลักษณะหรือพฤติกรรมของเกษตรกรที่ชอบใช้เมล็ดข้าวมากกว่า 1ถังครึ่งและชอบใช้ปุ๋ยยูเรียมากเกินไปและไม่มีการผสมกับหินแร่ภูเขาไฟ (VocanicRock) ซึ่งช่วยทำให้เป็นปุ๋ยละลายช้าโดยที่บางครั้งยังไม่ถูกช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมมักใส่ในระยะที่ข้าวยังไม่สู่กระบวนการแตกกอทำให้เนื้อปุ๋ยมีความเข้มข้นและมากเกินไปเมล็ดข้าวเม็ดเดียวที่ยังไม่แตกกอจึงดูดกินเข้าไปมาจนเฝือใบ และสังเกตได้ชัดเจนว่าจะมีการระบาดของเพลี้ยเหล่านี้น้อยในพืขที่มีการสะสมซิลิก้า(H4Sio4) (1. พัชนี ชัยวัฒน์ 2544,ผลของซิลิก้าในต้นข้าวต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2. Effect of SiliconApplication on Corn Plants Upon the Biological Development of the FallArmywormSpodoptera frugiperda (J.E. Smith) (Lepidoptera: Noctuidae)ที่ผิวใบมากเพียงพอจนทำให้การดูดกินน้ำเลี้ยงของเพลี้ยเหล่านี้ทำได้ยาก

มนตรี บุญจัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 26 สิงหาคม 2556
Last Update : 26 สิงหาคม 2556 12:23:38 น. 0 comments
Counter : 459 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]