นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เชื้อรามากับฝน คนจะทำอย่างไร?

ได้รับฟังข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่าฝนกำลังจะลดปริมาณลงเหลือเพียง40 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายถึงปริมาณน้ำฝนที่กังวลกันว่าจะมากมายจนทำให้กรุงเทพฯหรือจังหวัดใกล้เคียงจะท่วมเหมือนกับปีที่แล้วเสียอีกซึ่งก็ธรรมดาสำหรับคนที่เคยโดนเคยผ่านเหตุการณ์ที่สร้างความเดือดร้อนความยากลำบากให้แก่การดำรงชีวิตในสถานการณ์น้ำท่วมได้ยินได้ฟังจังหวัดสุโขทัย ปราจีนบุรี สระแก้วที่ปีนี้มีน้ำท่วมอยู่บ้างแต่ก็กินเวลาไม่นานนักแถมยังมีการเบี่ยงเบนเปลี่ยนวนสลับกับมาท่วมทางฟากตะวันออกบ้างตอนแรกนึกว่าจะท่วมไล่ไหลลงมาเรื่อยๆจากเหนือจนถึงบางขุนเทียน, แม่กลองซึ่งเหมือนกับปีที่แล้วแต่ก็ถือว่าโชคดีที่มวลน้ำมหึมาปีนี้ยังไม่มีวี่แววแว่วลงมาให้หัวใจระทึก เพราะขืนมากอีกคราชาวประชาฯและบริษัทอุตสาหกรรมหลายเจ้าหลายรายคงแทบสิ้นเนื้อประดาตัวกันไปอีกแน่แท้

เมื่ออยู่ในภาวะที่มีทั้งฝนทั้งน้ำจึงย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องมีเกษตรกรประสบปัญหาเรื่องเชื้อราโรคพืช,จึงมีเกษตรกรหลายรายที่สอบถามเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องเชื้อราโรคพืชโดยส่วนใหญ่จะถามในเรื่องตำแหน่งถิ่นที่อยู่อาศัย อยากรู้ว่าอยู่อย่างไร จะอยู่ข้างล่างหรืออยู่ข้างบน อยู่ใต้ดิน อยู่ลำต้นหรือจะอยู่ที่ใบเพียงอย่างเดียวและมีกี่ชนิดอะไรบ้าง? บางคนอยากรู้สายพันธุ์แหล่งที่มาไม่ว่าจะเป็นเชื้อฟัยท็อพทอร่า phytophthora spp., พิธเทียม pythium spp., ไรซอคทอเนีย rhizogtoniaspp. และ สเคอโรเที่ยม Sclerotiumspp.ฯลฯ จนลืมปัญหาที่อยู่ตรงหน้าว่าพืชที่ปลูกนั้นกำลังเจอกับอะไรอยู่ เป็นโรคอะไร...ซึ่งความจริงไม่อยากจะให้ซีเรียสเคร่งเครียดกับเรื่องที่ห่างไกลตัวเกินไปนัก ควรจะรู้กันพอหอมปากหอมคอเพื่อจะได้หาวิธีการป้องกันดูแลแก้ไขได้อย่างถูกต้องแต่สิ่งที่จะต้องรู้ให้นิ่งจริงแท้คือเรื่องของลักษณะพันธ์พืชที่เกษตรกรนำมาปลูกว่ามีลักษณะนิสัยในแต่ละสายพันธุ์เป็นอย่างไรมากกว่า

สรุปว่าปัญหาที่มักจะมากับฝนและน้ำนั้นส่วนใหญ่ก็จะหนีไม่พ้นเรื่องเชื้อราและหนอนโดยเฉพาะเชื้อรานั้นสามารถที่จะพบการระบาดได้ทั้งภาคส่วนของพืช ให้ใช้วิธีการหมั่นสั่งเกตุ(ทุกวันได้ก็จะยิ่งดี) ทั้งชาวนา ชาวไร่ชาวสวน จะต้องหมั่นเดินสำรวจแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะช่วงที่เอื้อต่อการให้เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาด และไม่ต้องกลุ้มกังวลใจว่าจะมาจากทางไหน(เพราะเขาสามารถมาได้ทุกทิศทาง) ให้สังเกตดูตามความเป็นจริงนะครับ ว่ามีสิ่งผิดสังเกตไปจากเดิมที่ใดบ้าง ถ้าพบเห็นที่ใบก็ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทำการฉีดพ่นรักษาไปที่ตรงบริเวณนั้นพบทางดินก็ใช้ใส่หรือราดรดทางดิน พบทางใบก็ฉีดพ่นหรือราดรดทางใบนี่คือเกษตรกรรมไม่สามารถทำให้ได้เร็วหรือเนรมิตได้อย่างงานวิศวกรรมอื่นๆที่เม็ดเงินเพียงอย่างเดียวใส่ลงไป ก็จะได้ในผลลัพธ์ที่ต้องการ เพียงคนคุมงาน ช่างจับกัง ไม่โกงไม่ตุกติกก็ต้องได้อย่างแน่นอน ส่วนเกษตรกรรมนั้นต้องใช้ใจในการทำงานต้องหมั่นดูแล ตั้งหมั่นสังเกต และค่อยๆ แก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการปรับกรดด่างของดินการฉีดพ่นรักษาล้วนต้องอาศัยกลไกและสิ่งเกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์ทั้งสิ้นจึงจะสำฤทธิ์ผลได้

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 24 กันยายน 2555
Last Update : 24 กันยายน 2555 17:09:53 น. 0 comments
Counter : 1674 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]