Group Blog
 
All Blogs
 

กะเรกะร่อน

กะเรกะร่อน

เป็นกล้วยไม้สกุลแคมบิดอิอุม หรือคิมบิเดียม หรือซิมบิเดียม
(Cymbidium =Kim-bid-ee-um) ที่นิยมปลูกกันแพร่หลาย และเป็นสกุลใหญ่ มีประมาณ 44 ชนิด พบในประเทศไทย 19 ชนิด บางชนิดขึ้นตามพื้นดินบางชนิดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีหัวสั้นหรือยาว ใบเป็นแถบยาวค่อนข้างแข็งหรือเป็นแผ่นรูปรี โคนใบซ้อนถี่หุ้มหัวไว้ ช่อดอกมักจะยาว ในบางชนิดตั้งหรือโค้ง บางชนิดห้อยลงดอกค่อนข้างโตกลีบเลี้ยงและกลีบดอกคู่ข้างคล้ายกัน กลีบปากมีหูปากตั้งและชิดกับเส้าเกสร กลางกลีบมีเยื่อนูนเป็นสันตามยาว 2 แนว เส้าเกสรยาวและโค้งเล็กน้อย บางชนิดมีกลุ่มเรณู 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มเว้าลึก บางชนิดมีกลุ่มเรณู 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มยึดติดกับแผ่นเยื่อ กว้างและสั้น ส่วนใหญ่ดอกของกล้วยไม้ชนิดนี้บานนท และดอกในช่อทยอยบานเป็นเวลานาน


ข้อมูลจาก..กล้วยไม้เมืองไทย ของ รศ. ดร. อบฉันท์ ไทยทอง หน้าที่ 358


กะเรกะร่อนปากแดง Cymbidium dayanum Rchb .f ( กะเรกะร่อนเขา)


พบครั้งแรกในแคว้นอัสสัมทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย จากการสำรวจของ Heinrich Gustav Reichenbach ต่อมาในปีคศ.1869 ท่านได้ตั้งชื่อพฤกษาศาสตร์ว่า C. dayanum แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าชื่อระบุชนิดอ้างถึงสิ่งใด

ลักษณะ ลำต้อนเป็นหัวขนาดเล็ก ขึ้นชิดกันเป็นกอ ใบรูปแถบขนาด 2x40 ซม. ปลายแหลม ใบมีอายุหลายฤดูก่อนหลุดร่วง ช่อดอกมีเพียงช่อเดียวและห้อยย้อยลง ก้านช่อสั้นกว่าแกนช่อ ดอกขนาด 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกทั้งห้ากลีบรูปแถบ สีขาวกลาง กลีบมีแถบสีแดง ปลายแหลม กลีบปากรูปปรี สีม่วงแดง กลางกลีบสีเหลือง มีหูปากรูปสามเหลี่ยมตั้งชัน ปลายกลีบมน เมื่อบานเต็มที่จะม้วนลงทางด้านล่างเส้าเกษรสีม่วงแดง เรียวยาว กลุ่มเรณุรูปทรงกลมสีเหลือง

เขตกระจายพันธุ์ พื้นที่กว้างในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศไทยพบที่ เชียงใหม่ เลย เพชรบูรณื นครราชสีมา จันทบุรี

ถิ่นอาศัย กล้วยไม้อิงอาศัยที่พบในป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ตามที่ร่มแสงแดดรำไร ถึงค่อนข้างมืดครึ้ม บางครั้นเจริญบนขอนไม้ผุริมน้ำตก หรือตามโขดหินข้างลำธาร ที่ความสูง 800-1200 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ฤดุออกดอก เดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม ช่วงออกดอกไม่ทิ้งใบ

สถานภาพ พบปลูกเลี้ยงตามบ้านเรือน กลุ่มผุ้นิยมเลี้ยงกล้วยไม้พันธ์แท้ และในสวนพฤกษศาสตร์ ในธรรมชาติมีประชากรค่อนข้างมาก พบในบางพื้นที่ แต่มีจำนวนลดลง

ข้อมูลจาก..กล้วยป่าไม้เมืองไทย ของ สลิล สิทธิสัจจธรรม หน้า 182


















กะเรกะร่อนปากเป็ด
(Cymbidium finlaysoniasnum Lindl.)

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นกอแน่น พบมากตามต้นตาลในท้องนา ภาคกลางและภาคใต้ ต้นสั้นมีใบหุ้ม ใบเป็นแถบยาวหนาและแข็ง ขนาด 25-50X2-3 ซม.โคนใบซ้อนแน่น มีรากจำนวนมากเป็นกระจุก ช่อดอกยาว 20-60ซม.ห้อยลง ดอกในช่อดกค่อนข้างโปร่ง ขนาดดอกประมาณ 3ซม.กลีบปากขอบขาว ช่วงปลายกลีบมีแถมสีม่วงแดง รูปคล้ายเกือกม้า กล้วยไม้พวกกะเรกะร่อนมีหลายชนิด ลักษณะทั่วไปคล้ายกันมาก ต้องสักเกตุลักษณะรายละเอียดของดอก โดยเฉพาะกลีบบปากถึงจะ
ทราบความแตกต่างระหว่างชนิด

ฤดูออกดอก มีนาคม- พฤษภาคม

แหล่งที่พบในประเทศไทย ภาคกลางแลพภาคใต้

เขตการขยายพันธ์ อินโดจีนและภูมิภาคมาเลเซีย

ข้อมูลจาก..กล้วยไม้เมืองไทย ของ รศ. ดร. อบฉันท์ ไทยทอง หน้าที่ 359




















กะเรกะร่อน ด้ามข้าว (Cymbidium aloifolium(L.) SW.

เอื้องด้ามข้าว เอื้องหางไหล กล้วยหางไหล



























 

Create Date : 03 ตุลาคม 2552    
Last Update : 4 ตุลาคม 2552 8:33:55 น.
Counter : 7372 Pageviews.  

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ Chiloschista parishii Seidenf



ลักษณะ ลำต้นเล็กจิ๋ว รากใหญ่จำนวนมาก สีเทาแกมเขียว ใบรูปแถบแกมรูปใบหอก ขนาด 0.6x3ซม. ปลายแหลม ก้านช่อสั้นแกนช่อ ดอกขนาด 0.8 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปรีกว้างจนเกือบกลม ปลายมนทั้งห้ากลีบสีเหลืองอมน้ำตาลและมีจุดสีน้ำตาล จนถึงสีน้ำตาลแดงทั่วกลีบ ด้านหลังของลีบมขนปกคลุม กลีบปากสีเหลืองอมน้ำตาล ภายในมีเนื้อเยื่อนูนสีขาว เส้าเกสรเล็กและสั้น ฝาครอบกลุ่มเรณูมีรยางค์คล้ายเส้นด้าย

เขตกระจายพันธ์ เนปาล ภูฏาน อินเดีย จีน พม่า ไทย ประเทศไทยพบที่ จังหวัดตาก ลำปาง แพร่ เชียงใหม่ ชัยภูมิเลย นครราชสีมา นครนายก อุทัยธานี เพชรบุรี ประจวบฯ กาญจนบุรี กระบี่ สตูล

ถิ่นอาศัย กล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ตามที่โล่งแจงแสงแดดจัด ที่ความสูง 150 -500 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ฤดูออกดอก เดือน มีนาคม- พฤษภาคม ใบปรากฎในช่วงเวลาสั้นๆ ราวต้นฤดูฝนหลังจากนั้นจะทิ้งใบ ในธรรมชาติมีประชากรน้อย และมีจำนวนลดลง

จาก หนังสือกล้วยไม้ป่า เมืองไทย ของ สลิล สิทธิสัจจธรรม


ภาพชุดนี้ ป้าฟ้า ถ่ายเมื่อเดือเมษายน 2551 เพิ่งสบโอกาสเอามาลงบล๊อคก็ตอนนี้( เกือบปีเลยนะนี่ ) เผื่อว่าใครอยากเห็นว่าหน้าเป็นไง ก็จะได้เห็นจากภาพชุดนี้ค่ะ









































</a> <br>                <br><br><img src=//www.bloggang.com/emo/emo6.gif><br><br><br><br><br><a href=




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2551    
Last Update : 31 ธันวาคม 2551 23:27:47 น.
Counter : 770 Pageviews.  

ตากาฉ่อ

ตากาฉ่อ
Kingidium deliciosum (Rchb.f.) sweet


เป็นไม้สกุลสกุลคิงกิดิอุม หรือคิงกิเดียม(Kingidium=king-gi-di-um)
คือ ลักษณะทั่วไปคล้ายกล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซิล แต่กลีบปากมีเดือย และกลุ่มเรณูรูปคล้ายฝากลมขนาดไม่เท่ากัน2ฝาประกบกัน มี2คู่ ยึดติดที่ปลายแผ่นเยื่อใสรูปคล้ายลิ่ม ในธรรมชาติชอบขึ้นตามป่าดิบชื่น ในที่ร่ม ดอกในช่อทยอยบานเป็นเวลานานจัดเป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบ2ชนิด


ตากาฉ่อ ต้นเล็กและอวบน้ำ รากใหญ่แบนและยาว เกาะแนวเปลือกไม้ ใบเป็นแผ่นแบนรูปขอบขนานแกมรูปรี ขนาด 5-15x2-5ซม. มี3-5ใบต่อต้น เรียงตัวเวียนรอบต้นแต่มักจะบิดตัวมาอยู่ในระนาบเดียวกัน ใบสีเขียวเข้มและผิวมัน ช่อดอกทอดเอนหรือห้อยลงเล็กน้อย ยาว8-15ซม. บางครั้งแยกแขนง ดอกในช่อโปร่ง ทยอยบานนานเป็นเดือนขนาดดอกประมาณ1.2ซม. เป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กที่สวยงามและปลูกเลี้ยงได้ค่อนข้างง่าย


ฤดูออกดอก สิงหาคม-มีนาคม

แหล่งที่พบในประเทศไทย พบทั่วทุกภาค

เขตกระจายพันธุ์ ภูมิภาคเอเชียในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทางตอนใต้

(จากกล้วยไม้เมืองไทย รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง)


ดอกเขาเล็กมาก แล้วเราก็ไม่มีเลนนส์มาโครด้วย ชุดนี้เก็บภาพด้วยเลนส์ 50 mm. ค่ะ























 

Create Date : 17 สิงหาคม 2550    
Last Update : 12 ธันวาคม 2551 20:14:47 น.
Counter : 1360 Pageviews.  


ป้าฟ้าใส
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





สวัสดีค่ะ สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม..แล้วอย่าลืมแวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆนะคะ

อ้อ เกือบลืมบอกไปว่า..ใครอยากพักฟังเพลงที่นี่ก็ได้นะคะ ป้าฟ้าลงไว้ 6 เพลงค่ะ ลองฟังดูนะคะ :-)

ถ้าอยากรู้จักป้าฟ้ามากกว่านี้ หลังไมค์ไปคุยกันได้นะคะ..:-)
ฝากข้อความหลังไมค์ถึงป้าฟ้าใสที่กดที่นี่a>
New Comments
Friends' blogs
[Add ป้าฟ้าใส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.