<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

2007-04-08: คำสั่งจากกระทรวง ICT ให้มีการปิดห้องราชดำเนินเป็นการชั่วคราว








ANNOUNCE ขอความร่วมมือทุกท่าน หากทราบ link ของคลิปตัดต่อหมิ่นในหลวง ซึ่งอาจจะมีเพิ่มขึ้น กรุณาหลีกเลี่ยงการโพสบอกในกระทู้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะขยายวงกว้างขึ้น แต่ให้แจ้ง link ดังกล่าวกับกระทรวง ICT ที่ //ict.cyberclean.org แทนนะคะ ขอบคุณค่ะ
PANTIP PICKS ร่วมกันประณาม google ที่ไม่ยอมลบคลิปตัดต่อหมิ่นในหลวงออกจากเว็บ Youtube

ANNOUNCE
สวัสดีท่านสมาชิก

ด้วยมีคำสั่งจากกระทรวง ICT ให้มีการปิดห้องราชดำเนินเป็นการชั่วคราว เนื่องจากมีกระทู้ที่กระทบต่อความมั่นคงปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก ทางทีมงานจึงของดให้บริการห้องราชดำเนินตามคำสั่งดังกล่าว และร้องขอสมาชิกราชดำเนิน กรุณาอย่าเลี่ยงโดยการไปโพสในห้องอื่น เพราะมิฉะนั้นก็จะกลายเป็นต้องปิดเวปพันทิปทั้งเว็บ ซึ่งท่านสมาชิกคงไม่ต้องการให้เหตุการนั้นเกิดขึ้น ... ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

PANTIP.COM






posted by a_somjai on Sunday, April 8, 2007 @ 4:30 AM.
KEYWORDS: block, blocked, censor, censoring,Thai, Thailand, politic, critic, Website, เซ็นเซอร์, เว็บไซต์, การเมือง, ไทย, พันทิบ, ห้องราชดำเนิน



updated: 08:36 AM.

มีผู้แสดงความเห็นไว้ที่เว็บไซต์ (ข่าว) ประชาไท: ไอซีทีสั่งปิด ‘ห้องราชดำเนิน’ ใน pantip.com !
//www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=7656&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

ว่า....

"ที่ปิดเพราะ มีการเผยแพร่เอกสารลับ 12 ล้าน ของคมช หรือเปล่า?"

เอกสารที่ว่านี้ (บนเว็บ) This file is available for download ขื่อ คมช.zip (347 KB)
อยู่ที่ link -> //www.yousendit.com/transfer.php?action=download&ufid=4658E05E68E41D85


*บอกกล่าวเพื่อนชาวเน็ต/บล็อกเกอร์
หากเข้าเว็บลิงค์บน Microsoft Internet Explorer มีปัญหา Error
<-> ให้แก้ไขโดย ใช้ Browser (A program used to view HTML documents) ของ Mozilla Firefox ซึ่งจะใช้ได้ดีกับเว็บไซต์ที่ถูกบล็อค
ขอแนะนำให้...ทดลอง download มาแขวนไว้หน้า desktop เผื่อสำรองในการใช้งานยามฉุกเฉิน
---ลองดูนะครับ
a_somjai ก๊อบปี้ลิงค์ที่มีปัญหา ไปใช้บนไฟร์ฟ๊อก ทำแล้วได้ผลดีมากในการเข้าเว็บเกือบทุกกรณี (กรุณาอย่ามีเมตตาในทางผิด โดยเอาแท็คติคนี้ไปบอกสอนเด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 18 ปี นำไปใช้ในทางที่เสียว ๆ ก็แล้วกัน--อิอิ--บาปนะเอ้า)*




Updated 2007-04-09
@ 3:18 AM.




ประชาไท /
รมว.ไอซีทีเตือนประชาไทเข้มเว็บบอร์ด

ประชาไท - 8 เม.ย. 2550 นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้จัดการประชาไทได้เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้(7 เม.ย.) เวลา 15.35 ได้รับโทรศัพท์จากชายผู้หนึ่งโดยผู้โทรแจ้งว่าโทรมาจากกระทรวงไอซีทีและสอบถามว่าท่านรัฐมนตรีอยากจะคุยด้วย สะดวกจะให้โทรติดต่อที่หมายเลขไหน ซึ่งนางสาวจีรนุชก็ได้ตอบไปว่าสามารถโทรมาได้ที่เบอร์มือถือที่กำลังคุยอยู่ได้ปรากฏว่าหนึ่งนาทีต่อมาชายคนเดิมก็โทรกลับมาและแจ้งเบอร์โทรศัพท์มือถือที่อยากให้นางสาวจีรนุชโทรไปคุยกับท่านรัฐมนตรี ซึ่งผู้จัดการประชาไทได้โทรไปคุยในทันที โดย ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่าได้รับโทรศัพท์จากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ว่าตรวจสอบพบข้อความที่หมิ่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างน้อย 2 ข้อความในเว็บบอร์ดประชาไท และกำชับให้ลบข้อความดังกล่าวใน 5 นาที มิฉะนั้นจะต้องออกคำสั่งไปยัง ISP นอกจากนี้ ดร.สิทธิชัย ยังได้กล่าวเสริมว่า แม้ว่ากฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ยังต้องรอ สนช.ร่างให้เสร็จ แต่ด้วยคำสั่ง คปค. ฉบับที่ 5 มีผลทางกฎหมายที่จะให้อำนาจดำเนินการได้ อยากให้ลองไปอ่านศึกษาดู ทั้งนี้นางสาวจีรนุช ได้กล่าวกับ ดร.สิทธิชัยด้วยว่า ทางประชาไทเองขณะนี้ดำเนินการดูแลข้อความเหล่านี้โดยเข้มงวดมาก จนกระทั่งผู้ใช้เว็บบอร์ดเองก็บ่นร้องเรียนกันมากเช่นกัน ซึ่ง ดร.สิทธิชัย ก็ได้สำทับกลับมาว่า อยากให้เข้มงวดต่อไป เพราะขณะนี้สถานการณ์ยังไม่ปกติ มีผู้ที่พยายามจะใช้ช่องทางเหล่านี้ในการยั่วยุให้เกิดความแตกแยก

คำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 5/2549

เรื่อง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ


ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้วนั้น จึงให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการควบคุม ยับยั้ง สกัดกั้น และทำลายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศ ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารทั้งปวง ที่มีบทความ ข้อความ คำพูด หรืออื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศในเบื้องต้นแล้ว




สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549

พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน

หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข








เนชั่นทันข่าว / ประจำวันที่ 9 เมษายน 2550
ไอซีทีปัดสั่งปิดราชดำเนิน


13:21 น. นายสิทธิไชย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ปฏิเสธไม่ได้เป็นคนสั่งปิดห้องสนทนา ราชดำเนินในเว็บไซต์พันธุ์ทิพย์ แต่ทางผู้ดูแลเวบไซด์ ระบุว่า ไม่สามารถคัดเลือกและตรวจสอบผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ จึงขอปิดตัวเองและอ้างคำสั่งของกระทรวงไอซีที ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ตนมีคำสั่งให้ตรวจสอบเวบไซด์ต่างๆที่อาจหมิ่นเหม่ต่อการพหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจากกรณีการหมิ่นประมาทประธานองคมนตรี หรือมีการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุภาพต่อบุคคลที่ 3 ซึ่งมีแต่ความสะใจแต่ไม่มีประโยชน์ทางการเมือง เพราะไม่ได้เปลี่ยนความคิดของคนที่เข้ามาอ่าน ไม่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติเลย ยิ่งสถานการณ์แบบนี้ จึงไม่เหมาะที่จะให้เวบไซด์ลงข้อความเหล่านี้ต่อไป ซึ่งอาจสร้างความไม่สงบให้เกิดขึ้นในชาติโดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบันมีความวุ่นวายมาก จึงโทรศัพท์ไปขอความร่วมมือเวบไซด์ต่างๆ ทั้งนี้ต้องมีการปรับเทคโนโลยี โดยอาจให้มีการดีเลย์เวลาแสดงความเห็นลงบนห้องสนทนา


*****************************
เรื่องต่อเนื่องในกระแส: 2007-04-10: Protect Free Speech Online! V.S. ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ V.S. ความมั่นคงของผู้กุมอำนาจรัฐ, กรณีศึกษา Censoring online: ในกระแส "คลื่นใต้น้ำ" กระทู้การเมือง ห้องราชดำเนิน pantip.com , 2006-09-21 Internet Filtering in Thailand 2006?: กรณีศึกษาที่ ๑

เรื่องเก่า:
มลภาวะที่บั่นทอนเสรีภาพสิทธิส่วนบุคคลของพลเมือง, Protect Free Speech Online!, ปกป้องอิสระใน "การพูด" ออนไลน์ ! : ห้ามเข้าเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนแล้ว, ขอเรียกร้อง "อำนาจรัฐ" ให้เปิดเวปไซต์ "ม. เที่ยงคืน", Links for Protect Free Speech Online!, จดหมายเปิดผนึกถึง 'นายกฯ สุรยุทธ์' เรื่อง "การข่มขืนใจต่อเสรีภาพของสื่อ"





UPDEATED 2007-04-11 @ 4:29 AM.





ANNOUNCE



เรียนท่านสมาชิก

หลังจากทางพันทิปรับทราบและทำความเข้าใจแนวทาง จาก ICT โดยละเอียดอีกครั้งในวันนี้ ซึ่งได้รับการยืนยันหลักการ ของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ในการวิภาษณ์ วิจารณ์ การทำงานของทั้งรัฐบาลและ ค.ม.ช. ในกรอบที่ให้เป็นไปเพื่อการ ติชมโดยสุจริต และมีเหตุผล ซึ่งพิจารณาแล้วว่าอยู่ในวิสัยที่เราสามารถดูแลได้ จึงตัดสินใจเปิดห้องราชดำเนินขึ้นให้บริการอีกครั้ง ทั้งนี้ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นจากการเข้าใจผิดที่ เกิดก่อนหน้ามา ณ ที่นี้

PANTIP.COM




เรียนตอบท่าน จขกท P5307966 ซึ่งถามว่า "ตกลง ict ห้ามวิจารณ์ใครบ้าง ช่วยชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย"
ตอบ : ทาง ICT ได้ขอไว้ได้แก่ 1.ข้อความที่หมื่นเหม่เบื้องสูง และ 2.หมิ่นเหม่ในเรื่องส่วนตัวขององคมนตรี เพราะเกี่ยวพันกับเบื้องสูง
เพียงเท่านี้ครับ ขอความกรุณาทุกท่านด้วย .... นอกจากนี้ทางเราได้เอาโปรแกรมไฟเขียวไฟแดง(โหวตเพื่อลบกระทู้)กลับมาใส่ในห้องราชดำเนินแล้ว เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลต่อไป



กระทู้เปิดเมื่อประมาณหัวค่ำ (หลัง 18.00 น.) 2007-04-10




 

Create Date : 08 เมษายน 2550    
Last Update : 11 เมษายน 2550 4:55:16 น.
Counter : 856 Pageviews.  

รัฐประหารซ้ำซาก (9): แบบฝึกหัดวาทกรรมซ้ำซาก “เทพ, มาร & Untouchable”

ข้อมูล:

  • ผู้จัดการออนไลน์, หมายเหตุผู้จัดการ: ทำไมจึงโจมตีพลเอกเปรม? 19 มีนาคม 2550 17:20 น,


    การวิเคราะห์:
    a_somjai on Tuesday, March 20, 2007



    ---BEGIN ---

    ข้อมูล: 01
    เราขอบอกให้พี่น้องร่วมชาติทั้งประเทศได้ทราบว่าแกนนำผู้จัดชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 17 และ 18 มีนาคม 2550 นี้เพื่อโจมตีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีนั้น เป็นเครือข่ายของพรรคไทยรักไทยทั้งสิ้น

    การวิเคราะห์: 01
    เทพ: เรา(ผู้เขียนบทความและพวก) , พี่น้องร่วมชาติ, ทั้งประเทศ
    มาร: แกนนำผู้จัดชุมชุม, เครือข่ายของพรรคไทยรักไทย [คือ มาร ในการวิเคราะห์ 08]
    Untouchable: พลเอก เปรม ติณสูลานนท์, ประธานองคมนตรี





    ข้อมูล: 02
    กลุ่มนายวีระ มุสิกพงศ์ ที่แปลงโฉมมาในนามของพีทีวีก็ไม่ใช่ใครที่ไหน หากเป็นแกนนำของพรรคไทยรักไทย ที่ทำหน้าที่สื่อเทียมเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับอำนาจเก่า และเพื่อโจมตีรัฐบาลและ คมช. ตลอดจนแกนนำอำนาจรัฐใหม่ คนผู้นี้คือคนที่เคยถูกศาลพิพากษาจำคุกฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาแล้ว

    การวิเคราะห์: 02
    เทพ:
    มาร: กลุ่ม/นายวีระ มุสิกพงศ์ , พีทีวี/PTY, แกนนำพรรคไทยรักไทย , สื่อเทียม/กระบอกเสียง, อำนาจเก่า, ผู้เคยถูกศาลพิพากษาจำคุกฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
    Untouchable: ผู้ถูกหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, รัฐบาล(ปัจจุบัน), คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ), แกนนำอำนาจรัฐใหม่




    ข้อมูล: 03
    ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานอภัยโทษให้ จึงออกจากคุกมาทำการอยู่ได้ในวันนี้

    การวิเคราะห์: 03
    เทพ: ผู้ถูกหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
    มาร: ผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานอภัยโทษ, ผู้ได้ออกจากคุกมาทำการ(มาร 02)
    Untouchable: ผู้ถูกหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ




    ข้อมูล: 04
    ส่วนกลุ่มหมอสันต์ หมอเหวง และนางประทีป ซึ่งเคยเป็นนักสู้เพื่อประชาธิปไตยในยุคหนึ่ง ก็ได้เปลี่ยนสีแปรธาตุไปแล้วตั้งแต่ยุคทักษิณครองเมือง

    การวิเคราะห์: 04
    เทพ: (ผู้เคยเป็น)นักสู้เพื่อประชาธิปไตย
    มาร: กลุ่ม/หมอสันต์, หมอเหวง, นางประทีป , ผู้เปลี่ยนข้าง(เป็นไม่สู้เพื่อประชาธิปไตย), (อดีตนายกรัฐมนตรี) ทักษิณ (ชินวัตร)
    Untouchable:




    ข้อมูล: 05
    คนกลุ่มนี้ทำเป็นหูหนวกตาบอด ไม่เห็นไม่ได้ยินการโกงบ้านกินเมือง และการย่ำยีบ้านเมือง ตลอดจนความมุ่งมั่นที่จะทำลายสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เออออห่อหมกไปกับระบอบทักษิณ

    การวิเคราะห์: 05
    เทพ:
    มาร: คนกลุ่มนี้ (ได้แก่ มาร 04), ผู้หูหนวกตาบอด, ผู้ไม่ได้ยินการโกงบ้านกินเมือง และการย่ำยีบ้านเมือง(ของรัฐบาล นำโดย มาร 04), ผู้ทำลายสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, ผู้เห็นด้วยกับ ระบอบทักษิณ/(มาร 04)
    Untouchable: สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์





    ข้อมูล: 06
    ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมือง คนกลุ่มนี้ก็จำแลงแปลงรูปใช้เสื้อคลุมประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง ออกมาเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลและ คมช. โดยที่ไม่เคยตำหนิติเตียนการโกงชาติกินเมืองแม้แต่คำเดียว

    การวิเคราะห์: 06
    เทพ: รัฐบาล(ปัจจุบัน), คมช.
    มาร: คนกลุ่มนี้(มาร 04), ผู้จำแลงรูปใช้เสื้อคลุมประชาธิปไตย(ทำมาแล้วหลายครั้ง), ผู้ออกมาเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลและคมช., ผู้ไม่เคยตำหนิติเตียนการโกงชาติกินเมือง
    Untouchable: รัฐบาล(ปัจจุบัน), คมช.




    ข้อมูล: 07
    นอกจากนั้นก็มีกลุ่มลิ่วล้ออีก 2-3 กลุ่มที่รับท่อน้ำเลี้ยงจากอำนาจรัฐเก่า เป็นเจ้าเก่าที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อต้านรัฐบาลและ คมช.

    การวิเคราะห์: 07
    เทพ: กลุ่มที่สนับสนุนเทพ/รัฐบาลใหม่(ปัจจุบัน), คมช.
    มาร: กลุ่มลูกน้องของมาร 04 2-3 กลุ่ม, กลุ่มที่รับการช่วยเหลือ/อุดหนุนจากรัฐเก่า, รัฐบาลเก่า/รัฐบาลมาร 04, กลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาล(ปัจจุบัน)และคมช.
    Untouchable: รัฐบาลใหม่(ปัจจุบัน), คมช.




    ข้อมูล: 08
    คนสามกลุ่มสามพวกนี้คือแกนนำในการเคลื่อนไหวต่อต้าน รัฐบาลและ คมช. และเปิดฉากโจมตีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อย่างเปิดเผยต่อเวทีสาธารณะ

    การวิเคราะห์: 08
    เทพ: รัฐบาล(ปัจจุบัน), คมช. และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
    มาร: คนสามกลุ่มสามพวก (ได้แก่ผู้เป็นและมีคุณสมบัติ มาร 01, มาร 02, มาร 04, มาร 05, มาร 06, มาร 07), ผู้ต่อต้านเทพ 08 และโจมตี Untouchable 08
    Untouchable: พลเอกเปรม ติณสูลานนท์




    ข้อมูล: 09
    แม้ไม่ต้องบอกก็ขอให้รู้ว่าเครือข่ายของพวกนี้คือพวกที่ทำแผ่นซีดีและใบปลิวตลอดจนกระจายข่าวคราวทางอินเทอร์เน็ตใส่ร้ายป้ายสี สถาบันพระมหากษัตริย์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และพลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร

    การวิเคราะห์: 09
    เทพ: พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์, พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร,
    มาร: เครือข่ายของมาร, ผู้ทำแผ่นซีดี-ทำใบบลิว-กระจายข่าวทางอินเทอร์เน็ตใส่ร้ายป้ายสีเทพและ Untouchable
    Untouchable: สถาบันพระมหากษัตริย์, พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์, พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร




    ข้อมูล: 10
    การเคลื่อนไหวทั้งหมดของคนกลุ่มนี้ขัดแย้งกันกับคำพูดคำจาของนายนพดล ปัทมะ ที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร วางมือทางการเมืองแล้ว

    การวิเคราะห์: 10
    เทพ:
    มาร: คนกลุ่มนี้(มาร 08), นายนพดล ปัทมะ, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
    Untouchable:




    ข้อมูล: 11
    เพราะเป็นการเคลื่อนไหวที่มุ่งหมายให้มีการฟื้นคืนอำนาจของระบอบทักษิณขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และมุ่งหมายทำลาย แกนนำอำนาจรัฐใหม่ ทั้งในรัฐบาลและใน คมช. ให้อ่อนแรงลงไป เพื่อเปิดโอกาสให้กับการฟื้นคืนอำนาจรัฐเก่า

    การวิเคราะห์: 11
    เทพ: แกนนำอำนาจรัฐใหม่, คมช, รัฐบาล(ปัจจุบัน)
    มาร: ระบอบทักษิณ, อำนาจรัฐเก่า
    Untouchable:






    *************ต่อไปนี้เป็นแบบฝึกหัด สำหรับท่านที่เข้ามาอ่าน
    โปรด….กรอกข้อความเอาเองครับ******




    ข้อมูล: 12
    คำถามอยู่ตรงที่ทำไมถึงต้องโจมตีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษอย่างสาดเสียเทเสีย พวกเขามุ่งหมายให้เกิดความเสียหายเฉพาะแก่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เพียงเท่านั้นหรือ? หรือยังมุ่งหมายที่สูงไปกว่านั้น หรือว่านี่คือการตีวัวกระทบคราด

    การวิเคราะห์: 12
    เทพ:
    มาร:
    Untouchable:




    ข้อมูล: 13
    พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุคคลสำคัญของชาติ เป็นหลักชัยของชาติบ้านเมือง มีคุณูปการใหญ่หลวงต่อชาติบ้านเมือง และปัจจุบันก็ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโส

    การวิเคราะห์: 13
    เทพ:
    มาร:
    Untouchable:




    ข้อมูล: 14
    บารมีของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้มีส่วนช่วยเหลือบ้านเมืองให้พ้นจากวิกฤตและอันตรายหลายครั้งหลายหน ตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเรื่อยมา จนกระทั่งวิกฤตที่สุดในโลกที่เกิดจากระบอบทักษิณ

    ข้อมูล: 15
    ความพยายามที่จะเชิดชูคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม เชิดชูคุณงามความดี ต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้กระทบต่ออำนาจรัฐเก่าอย่างรุนแรงหลายครั้งหลายหน


    ข้อมูล: 16
    ดังนั้นในยุคอำนาจเก่าจึงมีบางครั้งบางคราวที่มีการกระทบกระแทกแดกดันถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ด้วยความไม่พอใจ

    ข้อมูล: 17
    แต่ถึงกระนั้นก็ไม่กล้าออกนอกหน้า ไม่กล้าพูดชัด ๆ พูดอ้อมไปอ้อมมา วกไปวนมา เฉียดไปเฉี่ยวมา เพราะรู้ดีว่าเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ และเป็นสิ่งที่คนไทยไม่มีทางที่จะเห็นด้วย

    ข้อมูล: 18
    เพราะหากกระทำแล้วย่อมกระทบไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ย่อมกระทบไปถึงจิตใจของทหารและพลเรือน ตลอดจนประชาชนทั้งประเทศ

    ข้อมูล: 19
    ดังนั้นตลอดยุคสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถึงจะมีความไม่พอใจแต่ก็ไม่กล้าเผชิญหน้าหรือโจมตีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ออกนอกหน้าแต่ประการใด

    ข้อมูล: 20
    แล้วทำไมคนสามกลุ่มสามพวกซึ่งก็คือพวกเครือข่ายของพรรคไทยรักไทยจึงกล้าหาญชาญชัยเปิดฉากโจมตีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อย่างซึ่งหน้า อย่างเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชนในยามนี้เล่า?

    ข้อมูล: 21
    และมันเกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยวไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวอื่นใดกระนั้นหรือ? ไม่ใช่เลย

    ข้อมูล: 22
    มันสอดคล้องกับข้อความในเว็บไซต์ Hi Thaksin ที่ได้ออกคำประกาศผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวว่ากลุ่มศักดินาล้าหลังจะพังทลายลงอย่างรวดเร็ว

    ข้อมูล: 23
    นี่คือการกล่าวคำอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะคำที่ว่ากลุ่มศักดินาล้าหลังดังกล่าวนี้มีความหมายเฉพาะถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังที่ลิ่วล้อของอำนาจรัฐเก่าเคยรณรงค์ในขณะที่ยังมีอำนาจว่า “ทุนนิยมที่ชั่วช้า ยังดีกว่าศักดินาที่ล้าหลัง”

    ข้อมูล: 24
    ซึ่งหมายความว่าระบอบทุนนิยมสามานย์ที่ปล้นบ้านผลาญเมือง ยังก้าวหน้าและดีกว่าสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นหลักชัยของประเทศไทย


    ข้อมูล: 25
    เว็บไซต์ Hi Thaksin จึงสานต่อความคิดและความพยายามเก่า ประกาศอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อีกครั้งหนึ่งในยุคสมานฉันท์ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์


    ข้อมูล: 26
    การจัดชุมนุมเดินขบวนและการโจมตีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว และที่พยายามจะดำเนินการกันต่อไปนั้น แม้รูปการณ์ภายนอกจะเป็นเพียงการใส่ร้ายป้ายสีและโจมตีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์


    ข้อมูล: 27
    แต่มันไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดดเดี่ยว หากเกี่ยวเนื่องกับความพยายามโค่นล้มสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยตรง


    ข้อมูล: 28
    โจมตีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เพื่อดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง เป็นการละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างร้ายแรง





    ข้อมูล: 29
    โจมตีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เพื่อให้กระทบกระแทกแดกดันขึ้นไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นเล่ห์กลที่มุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดแจ้ง

    การวิเคราะห์: 29
    เทพ:
    มาร:
    Untouchable:



    ข้อมูล: 30
    เป็นการกระทำอย่างมีแผนการ อย่างเป็นขบวนการ และอย่างมีจังหวะก้าว


    ข้อมูล: 31
    เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในประเทศไทยของเรา แต่มันกลับเกิดขึ้นในยุคสมานฉันท์ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์




    ข้อมูล: 32
    เราเคยเตือนหลายครั้งหลายหนแล้วว่าพระกับโจรสมานฉันท์กันไม่ได้ ความดีกับความชั่วสมานฉันท์กันไม่ได้ ผู้ปราบปรามยาเสพติดกับผู้ค้ายาเสพติดสมานฉันท์กันไม่ได้ การปราบปรามการโกงชาติกับคนโกงชาติสมานฉันท์กันไม่ได้

    การวิเคราะห์: 32
    เทพ:
    มาร:
    Untouchable:




    ข้อมูล: 33
    และแล้วก็มาถึงพวกที่คิดล้มล้างสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กับคนไทยที่จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็ไม่มีทางที่จะสมานฉันท์กันได้

    การวิเคราะห์: 33
    เทพ:
    มาร:
    Untouchable:




    ข้อมูล: 34
    ลัทธิสมานฉันท์ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ แบบที่ว่ามานี้กำลังทำให้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ตกอยู่ในความเสี่ยงและตกอยู่ในอันตรายอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน

    การวิเคราะห์: 34
    เทพ:
    มาร:
    Untouchable:




    ข้อมูล: 35
    เรามาจับตาดูกันว่าพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะยังสมานฉันท์กับคนที่คิดล้มล้างชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ต่อไปอีกหรือไม่.

    การวิเคราะห์: 35
    เทพ: เรา, (และ/หรือ) เรา, (และ/หรือ) พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์<ถ้า=บวก>
    มาร: คนที่คิดล้มล้างชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, (และ/หรือ) พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ <ถ้า=ลบ>
    Untouchable: ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์




    --THE END—





    หวังว่า…บทเรียนตามแบบฝึกนี้
    จะถูกนำไปใช้ได้จริงกับ...
    ”ทุกวาทกรรม จากทุกฝ่าย ทุกค่าย ทุกสำนวน และทุกเมื่อ”

    เพื่อ..."การรู้เท่าทันอิทธิพลของเรื่องเล่า การเล่าเรื่อง และผู้เล่าเรื่อง ...โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลอันจะตามมาต่อ(ประชาชน)ผู้ฟังเรื่องเล่าในสังคม"

    คำเตือน:โปรดใช้เมตตาธรรมในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อ...สมานฉันท์ และสันติสุข ของพลโลกท้งมวล

    ด้วยความปรารถนาดี
    a_somjai

    posted by on Tuesday, March 20, 2007 @ 11:39 AM.



    Source: Masturbate for Peace .com




     

    Create Date : 20 มีนาคม 2550    
    Last Update : 27 มีนาคม 2550 2:46:57 น.
    Counter : 792 Pageviews.  
  • รัฐประหารซ้ำซาก (8): ขาดองค์ความรู้เรื่องการเมือง หรือ สร้างการเมืองของความรู้เพื่อรับใช้อำนาจ?



    i LINKS f 2007-02-05

    ประชาไท: บทสัมภาษณ์ ‘ประจักษ์ ก้องกีรติ’ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชิ้นนี้ ‘ประชาไท’ นำมาจากเวบไซต์ สถาบันข่าวอิศราฯ โดย ‘ประชาไท’ นำมาแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกว่าด้วย ‘สังคมไทยแบบไหนที่เราต้องการ’ และตอนที่สอง ว่าด้วยประชาสังคม เพื่อต้องการเน้นย้ำ และด้วยความแน่นและยาวของเนื้อหาจนยากตัดทอน จึงขออนุญาตไม่ตัด แต่ทำไฮไลต์ช่วยอ่าน สำหรับท่านที่มีเวลาไม่มากพอ หรืออีกนัยหนึ่งเพื่อที่จะเย้ายวนชวนให้ท่านได้ให้เวลาลองอ่านเต็ม ๆ

    โดย เบญจมาศ บุญฤทธิ์
    สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย


    รัฐประหาร 19 กันยา ในยุคที่เสรีนิยมใหม่ย่างกรายไปทั่วทุกแห่งหน ทำให้บางคนมีคำถามต่อวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้น (ซ้ำแล้วซ้ำเล่า) ในบ้านเราว่า ฤาประเทศไทยไร้แล้วซึ่งหนทางในก้าวเดินต่อไป? กระทั่งวันนี้ แม้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการเมืองจะกำลังดำเนินไป แต่เราล้วนรับรู้ได้ถึงม่านหมอกที่ยังคงบดบังเส้นทางสายอนาคต...เรากำลังเดินไปสู่สังคมการเมืองแบบไหน? นี่คือคำถามที่อยู่ในใจใครหลายคน

    หากคำถามจาก “ประจักษ์ ก้องกีรติ” นั้นต่างออกไป นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชาการเมืองเปรียบเทียบ จากมหาวิทยาลัยวิซคอนซิล สหรัฐอเมริกา ผู้นี้ ได้พินิจประวัติศาสตร์และพิเคราะห์ถึงสิ่งที่เห็นและเป็นไปในสังคมไทยปัจจุบัน เขาตั้งถามว่า “สังคมการเมืองแบบไหนที่เราต้องการจะอยู่ร่วมกัน?”

    พร้อมกับการตั้งคำถามสู่อนาคตไกล ประจักษ์ วิพากษ์การเมืองไทยในอดีตอันใกล้ว่า ความอ่อนแอของสังคมและประชาชนเป็นเหตุนำพาประเทศมาสู่วิกฤต หาใช่คนชื่อ “ทักษิณ” เพียงคนเดียวไม่ ซ้ำร้าย นักวิชาการไทยก็ไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้สังคม เขาไม่เชื่อในหนทางปฏิรูปที่กำลังดำเนินอยู่ในวันนี้ ไม่เชื่อในสิ่งที่เรียกว่า “การสมานฉันท์” ที่กลายเป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองไทย อย่างไรก็ดี เขายังมีความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้เพื่อเติบโตไปด้วยกัน

    ทัศนะวิพากษ์ต่อสังคมการเมืองไทยและภาคประชาสังคมในหลายๆ ประเด็นของนักวิชาการรุ่นใหม่ผู้นี้ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่นำเรากลับไปสู่อดีตเพื่อค้นหาบทเรียนจากสังคมการเมืองไทยร่วมกัน ก่อนที่ห้วงเวลาแห่งการปฏิรูปอันแท้จริงจะมาถึง...

  • สัมภาษณ์ ‘ประจักษ์ ก้องกีรติ’ : ‘สังคมไทยแบบไหนที่เราต้องการ’ คำถามก่อนปฏิรูปการเมือง


  • "วิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในตอนนี้ มันบอกว่าองค์ความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการนำประเทศชาติข้ามพ้นไปจากสภาพที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นในยุคนี้แล้วหรือเปล่า

    ผมคิดว่าเราพอมีองค์ความรู้อยู่ จะพูดว่าไม่มีเลยคงไม่ได้ แต่จากปรากฏการณ์ทางการเมืองช่วงขับไล่รัฐบาลทักษิณจนมาถึงการเมืองหลังรัฐประหาร มันมากกว่าแค่ปัญหาขององค์ความรู้ แต่เป็นปัญหาของวิธีคิดหรือมากกว่านั้นคือ ปัญหาเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง

    ถ้าจะตอบคำถามที่ถามมา ผมขอตอบเฉพาะในส่วนขององค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ ซึ่งพอจะรู้อยู่บ้าง เท่าที่ติดตามดูจากการถกเถียงทางความคิดในช่วงตั้งแต่มีการขับไล่รัฐบาลทักษิณเป็นต้นมา หรืออาจจะย้อนไปก่อนหน้านั้น คือตั้งแต่รัฐบาลทักษิณขึ้นมามีอำนาจ ผมพอพูดได้ว่าวงวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ได้เผชิญกับการท้าทายครั้งใหญ่ และปัจจุบันอยู่ในจุดที่วิกฤตพอสมควร ทั้งในแง่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับปรัชญาการเมือง สถาบันทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมือง

    นับตั้งแต่เกิดวิกฤต ผมคิดว่ามีการถกเถียงทางปรัชญาทางการเมืองค่อนข้างมาก นับได้ว่าคึกคักที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาไทย ชื่อของอริสโตเติ้ล จอห์น ลอค รุสโซ แมคเคียวาลี ฯลฯ ปรากฏตัวในที่สาธารณะอยู่บ่อยครั้ง แต่ผมคิดว่าที่น่าเสียใจคือ มีการนำเอางานของนักปรัชญาการเมืองเหล่านี้มาใช้ในลักษณะที่ไม่เคร่งครัดรัดกุมและเที่ยงตรงเท่าไรนัก โดยเฉพาะการนำมันไปใช้ให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหารอย่างไม่ระมัดระวัง ซึ่งผมคิดว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

    เช่นการอธิบายว่ามีสิ่งที่เรียกว่าสิทธิในการทำรัฐประหารโดยอ้างอิงแนวคิดเรื่องการละเมิดสัญญาประชาคม ผมคิดว่าตรงนี้นักวิชาการต้องระวังพอสมควรนะครับ การยึดอำนาจด้วยกำลังอาวุธของกองทัพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลไกรัฐนั้น มีความแตกต่างอย่างสำคัญในทางคุณภาพจากการลุกฮือโค่นล้มรัฐบาลทรราชด้วยพลังประชาชน (ดังที่เคยเกิดขึ้นตอน 14 ตุลาฯ ในไทย หรือการเดินขบวนขับไล่ประธานาธิบดีมาร์กอสในฟิลิปปินส์) การรัฐประหารของผู้นำบางส่วนในกองทัพ (ภายใต้การสนับสนุนของพลังจารีตนิยมทางการเมือง) ไม่ควรถูกยกระดับให้มีค่าเท่ากับการแสดงเจตจำนงรวมหมู่ของประชาชนในทางการเมือง

    ในครั้งนี้มีประชาชนตั้งมากมายที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร เพียงแต่ว่าเขาไม่ได้เปล่งเสียงออกมา (ส่วนหนึ่งเพราะมันเปล่งไม่ได้) จะเอาเขาไปไว้ตรงไหนครับ หรือว่าพวกเขาไม่ใช่ประชาชนเสียแล้ว คนเหล่านี้ รวมทั้งตัวผมเอง ไม่เคยมอบอาณัติให้กองทัพไปยึดอำนาจเลยนะครับ แล้วจะมาอ้างว่าการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงทางการเมืองของประชาชนได้อย่างไร การไปเทียบให้สองสิ่งนี้กลายเป็นสิ่งเดียวกันโดยไม่จำแนกแยกแยะและตั้งคำถาม เท่ากับสร้างบรรทัดฐานที่อันตรายเอาไว้สำหรับอนาคตว่า การรัฐประหารของกองทัพโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นทำได้และชอบธรรมในฐานะที่เป็นตัวแทนเจตจำนงของประชาชน

    การที่นักวิชาการบางคนอ้างตัวเลขโพลว่ามีประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วยกับการรัฐประหารมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนโดยไม่ตั้งคำถามกับความเที่ยงตรงและบริบทของการทำโพลนี่ก็เป็นปัญหาใหญ่ทางวิชาการ ทำให้ผมคิดว่าปัญหาครั้งนี้มันมากกว่าเรื่ององค์ความรู้ แต่เป็นเรื่องของการตะแบง การบิดและตีความความรู้ตามใจชอบเพื่อมารองรับวาระทางการหรืออุมดมการณ์ทางการเมืองของตน

    ถามว่านักวิชาการปัญญาชนเหล่านั้นไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับงานปรัชญาการเมืองหรือครับ ไม่ใช่แน่นอน แต่ละท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งนั้น ทำไมท่านจะไม่รู้ว่าจอห์น ลอคเองได้กล่าวเตือนเรื่องการนำเอาข้ออ้างว่ารัฐบาลละเมิดสัญญาประชาคมมาเป็นข้ออ้างทางการเมืองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลอย่างพร่ำเพรื่อ เพราะมันทำให้ความคิดเรื่องเจตจำนงของประชาชนเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ มิหนำซ้ำยังอาจถูกพวกนักฉวยโอกาสหรือชนชั้นนำกลุ่มตรงกันข้ามสวมรอยเพื่อเอาไปใช้โค่นล้มศัตรูทางการเมืองของตนได้เสมอ ปัญหามันเลยไม่ใช่แค่เรื่ององค์ความรู้ แต่เป็นเรื่องการเมืองของความรู้ ที่ความรู้บางชุดถูกผู้ “เชี่ยวชาญ” ผลิตขึ้นในยามวิกฤตเพื่อรับใช้อำนาจ

    อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าในส่วนขององค์ความรู้เกี่ยวกับสถาบันการเมือง พฤติกรรมและวัฒนธรรมทางการเมืองเป็นส่วนที่อาจกล่าวได้ว่ายังมีไม่พอ ซึ่งทำให้การออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมายังมีปัญหาบกพร่องอยู่มาก เราไม่อาจคาดหวังให้องค์ความรู้เหล่านี้มีอยู่ในนักวิชาการคนใดเพียงลำพัง เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่มีใครคนเดียวจะรู้ไปทั้งหมด โจทก์คือเราต้องหาทางสร้างองค์ความรู้เหล่านี้ในระดับสถาบันเพื่อผลิตให้มันเป็นสมบัติสาธารณะที่จะไปขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองต่อไป

    เอาง่ายๆ ผมคิดว่า ในเมืองไทย ยังมีคนศึกษาวิจัยเรื่องสถาบันทางการเมืองกันน้อย งานของอาจารย์รังสรรค์ (ธนะพรพันธุ์) เรื่องเศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในไม่กี่ชิ้น ทั้งๆ ที่ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิชาการในเรื่องนี้ในโลกตะวันตกได้พัฒนาไปอย่างมาก เวลาพูดถึงสถาบันการเมืองนั้นกินความกว้างมากนะครับ ไล่ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ สถาบันกษัตริย์ องคมนตรี กองทัพ รัฐสภา พรรคการเมือง ระบบราชการ การเลือกตั้ง ระบบหัวคะแนนและการซื้อเสียงเองก็เป็นสถาบันการเมืองแบบหนึ่งด้วย คำถามใหญ่คือสถาบันการเมืองทำงานอย่างไร ทำไมในบางที่จึงประสบความสำเร็จ บางที่ล้มเหลว จะออกแบบและปรับปรุงสถาบันการเมืองอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ ต้องมีการวิจัยและตั้งคำถามกันอย่างจริงจังมากกว่านี้

    ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญ 2540 มีความผิดพลาดที่สำคัญคือ สับสนระหว่างสิ่งที่เรียกว่าเสถียรภาพของระบอบการเมืองกับเสถียรภาพของตัวผู้นำการเมือง สองสิ่งนี้เป็นคนละเรื่องกันนะครับ การสร้างเสถียรภาพที่เกินพอดีให้กับสิ่งหลังอาจนำไปสู่การไม่มีสิ่งแรก กล่าวคือ เสถียรภาพของผู้นำถูกสร้างให้มีมากจนยากแก่การตรวจสอบ (ที่ชัดเจนคือการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ถูกกำหนดให้ทำได้ยากกว่าการอภิปรายรัฐมนตรีคนอื่นๆ ซึ่งไม่ถูกต้องในแง่ระบอบรัฐสภา กลายเป็นการไปสร้างให้นายกฯ อยู่ในสภาวะที่เป็นผู้นำเดี่ยวแบบระบอบประธานาธิบดี ทั้งนี้ยังมีมาตราอื่นๆ อีกหลายมาตราที่ไปสร้างให้นายกฯ มีอำนาจมากจนเกินพอดี) จนนำไปสู่ทางตันในระบบการเมือง และความไร้เสถียรภาพของระบอบการเมืองในที่สุด เพราะผู้คนวิ่งหาทางออกอย่างอื่นที่นอกกติกา สิ่งที่เราต้องสร้าง ไม่ใช่ความมั่นคงของผู้นำรัฐบาล แต่คือเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยที่จะมีการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างมีประสิทธิภาพที่สามารถถอดถอนผู้นำที่ฉ้อฉลออกจากตำแหน่งได้ด้วยกลไกในระบบ

    เรื่องพฤติกรรมและวัฒนธรรมทางการเมืองก็เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าเรายังมีองค์ความรู้ไม่เพียงพอ ผมคิดว่าคนไทยทั้งในเมืองและชนบทเปลี่ยนไปมากแล้วนะครับในรอบ 10-20 ปีมานี้ แต่องค์ความรู้ที่จะทำให้เราเข้าใจความเปลี่ยนแปลงนี้ยังมีไม่เพียงพอ ถามว่าปัจจุบันเราเข้าใจพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนไทยมากน้อยแค่ไหน ผมว่าเราเข้าใจน้อยมากนะครับ ที่พูดๆ วิจารณ์กันอยู่ตลอดเวลานี่พูดจากสามัญสำนึกและองค์ความรู้เก่าๆ ทั้งนั้น ตรงนี้แหละที่ผมคิดว่าเป็นอันตราย เป็นวิกฤตของวงวิชาการโดยเฉพาะทางด้านรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน คือลงมือศึกษาวิจัยจริงจังกันน้อย แต่ให้ความเห็นกันมาก ปัญหาจึงไม่ใช่ว่านักวิชาการไทยเป็นปัญญาชนหอคอยงาช้างไม่ลงมือปฏิบัติ สำหรับผม เรายังปีนหอคอยขึ้นไปไม่สูงพอที่จะผลิตองค์ความรู้ที่มีความหนักแน่นทางวิชาการให้กับสาธารณะ

    ถามว่าที่เราวิพากษ์พฤติกรรมการเลือกตั้งของคนชนบทในเรื่องการซื้อขายเสียงและขาดความรู้ความเข้าใจทางการเมืองนั้น มีใครลงไปศึกษาวิจัยความคิดและพฤติกรรมทางการเมืองของชาวบ้านจริงมากน้อยแค่ไหน ว่าพวกเขามีความคิดทางการเมืองเป็นเช่นไร คิดและเข้าใจการเมืองอย่างไร ต่อรองกับนักการเมืองที่ไปหาเสียงกับพวกเขาอย่างไร ความสัมพันธ์กับหัวคะแนนและพรรคการเมืองเป็นอย่างไร ปัจจัยอะไรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการเมืองของพวกเขา ทำไมคนชนบทบางส่วนสนับสนุนคุณทักษิณและนโยบายของพรรคไทยรักไทย ในขณะที่บางส่วนไม่เอา ตัวเลข 16 ล้านเสียงที่ยังเลือกพรรคไทยรักไทยในระบบบัญชีรายชื่อในห้วงจังหวะที่คุณทักษิณถูกประท้วงขับไล่อย่างหนักนั้นน่าสนใจมากนะครับ จะอธิบายอย่างไร อย่ามัวแต่พูดว่าคนชนบทเสพย์ติดประชานิยมของคุณทักษิณ ผมว่ามันไม่พอ ในส่วนภาคใต้ยิ่งน่าสนใจใหญ่ นี่รวมถึงพฤติกรรมของชนชั้นกลางทั้งในกรุงเทพฯ และตามจังหวัดต่างๆ ด้วยนะครับที่น่าจะศึกษากัน ผมอยากรู้เหมือนกันว่าใครคือกลุ่มคนที่ไปร่วมม็อบคุณสนธิ และกลุ่มคนที่ไม่ไปร่วม ไม่ไปเพราะอะไร และคิดอย่างไรกับการชุมนุมที่เกิดขึ้น

    ปราศจากการวิจัยเชิงประจักษ์เหล่านี้ เราก็ได้แต่ผลิตซ้ำคำอธิบายเดิมๆ ที่ผลิตขึ้นตั้งแต่เมื่อ 20-30 ที่แล้วว่าคนชนบทโง่และไม่เข้าใจประชาธิปไตย ในขณะที่คนชั้นกลางมีค่านิยมเรื่องประชาธิปไตยมากกว่าและไปเลือกตั้งโดยไม่มีอิทธิพลใดๆ มาครอบงำ คำอธิบายแบบนี้ผมได้ยินตั้งแต่ยังไม่เข้ามหาวิทยาลัยเลยนะครับ จริงหรือเปล่า ผมยังไม่ต้องการเถียงในตอนนี้ เพราะคิดว่าต้องมีการศึกษาวิจัยกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มจากการตั้งคำถามกับคำอธิบายแบบเดิมๆ ที่ดำรงอยู่ว่าจริงหรือไม่

    เรื่องวัฒนธรรมการเมืองยิ่งเป็นเรื่องใหญ่ ตอนนี้เริ่มมีการพูดถึงกันมากว่าจะปฏิรูปการเมืองอย่างไรโดยไม่ให้ล้มเหลว มีการพูดกันว่าต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านวัฒนธรรมการเมืองหรือรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม ผมเห็นด้วยอย่างไม่มีปัญหาเลยนะครับว่าความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมนั้นสำคัญอย่างยิ่ง แต่เราก็แทบไม่มีงานศึกษาในประเด็นนี้อยู่เลย เวลาคนพูดก็ยังต้องอ้างงานของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ถามว่าตอนนี้วัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยนั้นเปลี่ยนรูปแปลงร่างไปแล้วมากน้อยแค่ไหน ยังเป็นแบบที่อาจารย์นิธิว่าไม่หรือไม่ ควรจะมีคนทำอย่างยิ่ง

    อย่างไรก็ตาม สุดท้ายก็ต้องกลับมาที่คำถามใหญ่ที่ต้องตอบก่อน ก็คือว่า เราอยากจะอยู่กันในสังคมการเมืองแบบไหน ถ้าคิดไปในอนาคตข้างหน้ายาวๆ ก็คือว่า หน้าตาของสังคมการเมืองแบบไหนที่เราอยากสร้างให้ลูกหลานเรามีชีวิตอยู่ต่อไป ผมคิดว่าเราต้องพยายามคิดจากโจทย์ใหญ่ตรงนี้ก่อนและมองการณ์ไกลไปถึงอนาคตด้วย แล้วเราค่อยมาคุยกันว่าเราเราขาดองค์ความรู้แบบไหน

    เช่นสมมติว่าคนจำนวนมากบอกว่าเราไม่แคร์ประชาธิปไตย เราไม่ได้ต้องการมีประชาธิปไตยที่ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเสมอภาคกัน แต่เราต้องการประชาธิปไตยแบบไทยๆ แบบที่ให้คนดีมีจริยธรรมมีการศึกษาสูงๆ ได้ปกครองบ้านเมือง โดยที่คนเหล่านี้ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งก็ได้ และอนุญาตให้กองทัพเข้ามาแทรกแซงการเมืองได้เป็นระยะๆ ในยามที่รัฐบาลมีปัญหา ถ้าสังคมไทยจริงใจกับตัวเองว่าต้องการสร้างสังคมการเมืองแบบนี้ ผมว่าก็ไม่ต้องพูดเรื่ององค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปการเมืองอะไรให้เสียเวลา เพราะองค์ความรู้เรื่องประชาธิปไตยแบบไทยนั้นถูกผลิตขึ้นมาโดยปัญญาชนและนักคิดในกองทัพตั้งแต่สมัยรัฐบาลสฤษดิ์แล้ว ที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐประหารพูดๆ กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้มีอะไรก้าวหน้าหรือลึกซึ้งไปกว่าบทกระจายเสียงวิทยุเรื่องประชาธิปไตยแบบไทยของรัฐบาลสฤษดิ์-ถนอมเมื่อ 50 ปีที่แล้วเลย

    กลับมาสู่จุดตั้งต้น ถ้าถามถึงเรื่ององค์ความรู้ เราต้องตอบโจทย์ใหญ่ก่อนว่า สังคมการเมืองแบบไหนที่เราอยากจะอยู่ร่วมกัน

    หมายความว่าตลอด 70 กว่าปีที่ผ่านมา มันไม่ชัดเจนว่าสังคมการเมืองแบบไหนที่เราต้องการ?

    นั่นคือปัญหาใหญ่ ทำไมเราตั้งหลักกันไม่ได้เสียที ถ้าเราไม่ตั้งหลักอย่างใดอย่างหนึ่ง เราก็ล้มลุกคลุกคลานกันอยู่ตลอดเวลา เราต้องมีหลักการบางอย่าง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ยอมรับร่วมกัน แล้วเราต่อสู้กันในกติกานั้น ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ควรจะมาแลกเปลี่ยนและคุยกันอย่างจริงจัง เพราะถ้าเราไม่มีภาพใหญ่ เราก็ไปเถียงกันจุดเล็กจุดน้อย ในเชิงเทคนิคหรือกลไกเฉพาะส่วน

    สำหรับผม สังคมการเมืองที่ผมต้องการจะอยู่ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยอำนาจอาวุธไม่ควรเป็นวิธีการที่ยอมรับได้ ไม่ควรเป็นวิธีการที่มีความชอบธรรม การเลือกตั้งควรเป็นวิถีทางในการขึ้นสู่อำนาจ สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น รวมกลุ่ม และตรวจสอบผู้มีอำนาจต้องได้รับความเคารพ และประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกันในฐานะพลเมือง ผมเริ่มจากจุดตรงนี้

    ที่ผมพูดว่าควรจะมานั่งแลกเปลี่ยนถกเถียงกันนี่ผมพูดถึงในแวดวงปัญญาชน นักกิจกรรม สื่อมวลชนและคนที่ห่วงใยปัญหาบ้านเมืองนะครับ เพราะแน่นอนว่าในบ้านนี้เมืองนี้มีกลุ่มอำนาจทางการเมืองที่เขาชัดเจนของเขาว่าเขาต้องการสร้างสังคมการเมืองแบบอภิชน และไม่คิดว่าคนทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกัน ซึ่งผมไม่เอาด้วยกับสังคมการเมืองแบบนี้

    ...<<<อ่านต่อเต็ม ๆ >>>..."

    >>และ>>>
  • สัมภาษณ์ ประจักษ์ ก้องกีรติ (2) : “ภาคประชาสังคมนี่แหละฐานอำนาจฮิตเลอร์และนาซี”





  • posted by a_somjai on Monday, February 5, 2007




     

    Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2550    
    Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2550 13:09:26 น.
    Counter : 589 Pageviews.  

    รัฐประหารซ้ำซาก (7): คอร์รับชั่นซ้ำซาก 'นักธุรกิจการเมืองไทย'

    Link for 2007-02-02

  • เปิดโปงการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิผ่านงานวิจัย : ปิดบัญชี 'นักธุรกิจการเมืองไทย' ประชาไท: 2/2/2550

    งานวิจัยเรื่อง การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจในประเทศ โดย ธานี ชัยวัฒน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร ได้ศึกษารูปแบบค่าเช่า วิธีการแสวงหาและผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองไทยในช่วง พ.ศ.2544-2546 เนื่องจากเป็นการเข้าสู่การเมืองทางตรงของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และได้รับเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยภายหลังการเข้าสู่การเมือง มูลค่าค่าเช่าของนักธุรกิจดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นถึงเกือบ 1 เท่าตัวจากหลากหลายปัจจัย โดยมีรากฐานค่าเช่าที่สำคัญคือ สัมปทาน ขณะที่การแสวงหาค่าเช่าที่เกิดขึ้นซึ่งมีทั้งการคงสภาพ สร้างขึ้นใหม่และถ่ายโอนค่าเช่า โดยผลลัพธ์ต่อสังคมที่เกิดขึ้นอาจส่งผลลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว นอกจากนี้ความพยายามลดต้นทุนการแสวงหาค่าเช่าทำให้กลไกการกำกับดูแลและกลไกการให้ข้อมูลข่าวสารมีประสิทธิภาพน้อยลง และยังมีความพยายามรวมศูนย์อำนาจ ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจส่งผลลบต่อการพัฒนาทางการเมืองในระยะยาวด้วย

    งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า กรณีของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2544-2549 ซึ่งคณะรัฐมนตรีล้วนแล้วแต่เป็นนักธุรกิจหรือโยงกับครอบครัวธุรกิจ การหากำไรเกินควรที่พบเห็นมากที่สุดคือการทำธุรกิจผูกขาด (ทำให้เกิดการค้ากำไรเกินควร) หรือการพยายามเข้าถึงอำนาจอื่น ๆ โดยเฉพาะอำนาจรัฐ เพื่อทำให้ธุรกิจได้รับจากรัฐบาลซึ่งเงินอุดหนุน การได้รับสิทธิพิเศษ เช่น การยกเว้นภาษี การได้เข้าถึงทรัพยากรมีค่าแบบไม่ต้องลงทุน เช่น ใช้อำนาจการเป็น ส.ส. หรือการมีอิทธิพลแบบเจ้าพ่อท้องถิ่นครอบครองที่สาธารณะ เพื่อหารายได้แล้วเอาไปลงทุน ผู้ที่เข้าถึงอำนาจรัฐจึงมักได้เปรียบผู้ที่อยู่วงนอก การแสวงหาค่าเช่าดังกล่าวจะทำให้การทำงานของตลาดเบี่ยงเบนไปจากที่ควรจะเป็น เช่น การผูกขาดทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อของราคาแพง การใช้อำนาจรัฐเข้าครอบครองที่ดินสาธารณะส่งผลเสียกับประชาชนคนอื่น นั่นคือ การหากำไรเกินระดับปกติ การแสวงหาค่าเช่าของนักธุรกิจ ซึ่งจะเกิดขึ้นในบรรดานักการเมืองที่ทำธุรกิจด้วย จึงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    การแสวงหาค่าเช่าจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากอย่างน้อยสองกลุ่ม คือ กลุ่มการเมืองซึ่งเข้าถึงอำนาจรัฐบาล และกลุ่มธุรกิจที่มีอำนาจทุนในระดับหนึ่งมารองรับ โดยแม้จะมีกลุ่มนักวิชาการหรือกลุ่มข้าราชการมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย แต่การแสวงหาผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมักจะมาจากสองกลุ่มนี้เป็นหลัก โดยการจัดสรรผลประโยชน์จากคอร์รัปชั่นและค่าเช่าที่เหมาะสมให้กับกลุ่มการเมืองและกลุ่มธุรกิจนั้น หากเป็นการคอร์รัปชั่นทางงบประมาณแนวโน้มจะเป็นของกลุ่มการเมืองและหากเป็นค่าเช่าแนวโน้มจะเป็นของกลุ่มธุรกิจ การจัดสรรผลประโยชน์จำเป็นต้องอยู่ในกระบวนการจัดองค์กรเพื่อการดำรงอยู่ขององค์กร โดยกลุ่มการเมืองจะทำหน้าที่รักษาฐานะคะแนนเสียงในการเลือกตั้งและกลุ่มธุรกิจจะทำหน้าที่เป็นฐานทางการเงิน

    การศึกษาแสดงให้เห็นระดับการคอร์รัปชั่นที่สูงของครอบครัวนายกรัฐมนตรี และกลุ่มธุรกิจสำคัญที่โยงกับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลทักษิณ ส่งผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ระบบพรรคพวก (Cronyism) ทำให้นักธุรกิจที่อยู่นอกศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองถูกกีดกันออกไป อำนาจเหนือตลาดของนักธุรกิจวงในจึงส่งผลเสียกับนักธุรกิจวงนอก ก่อเป็นความขัดแย้งและน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของกระบวนการเข้าสู่ “ขาลง”ของทักษิณ ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 จนจบลงที่การยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอกประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549.


    <<<อ่านรายงานข่าวนี้ >>>



    Link for 2007-02-06
  • รายงาน สกว. : ก่อสร้างการเมือง-การเมืองก่อสร้าง สู่ ‘หายนะ’ สุวรรณภูมิ
  • ประชาไท | 6/2/2550

    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
    `โครงการวิจัยเรื่อง ‘ก่อสร้างการเมือง-การเมืองก่อสร้าง’ ภายใต้โครงการวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. โดย นายนพนันท์ วรรณเทพสกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ

    "......
    จากการศึกษาเรื่อง ‘การเมืองก่อสร้าง ก่อสร้างการเมือง’ ภายใต้โครงการวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ซึ่งศึกษาย้อนหลังไปถึงเส้นทางการเข้าสู่การเมืองของกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งมีมายาวนานและเห็นได้ชัดในช่วง ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา กระทั่งวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ธุรกิจก่อสร้างปรับตัวเรื่อยมาจนถึงยุครัฐบาลทักษิณ การเข้าสู่เส้นสายทางการเมืองมีรูปธรรมอย่างชัดเจนและขยายสู่เครือญาติผู้รับเหมาเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา ( ส.ว.) นักการเมืองหลายคนจากเดิมที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียงก็กลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ของจังหวัด โดยที่รัฐบาลทักษิณมีข้อพิเศษคือ มีการรวมกลุ่มกันได้ระหว่างนักการเมืองที่เคยเป็นฝ่ายตรงข้าม หรือเป็นนักการเมืองต่างพรรค ย้ายรวมเข้ามาอยู่พรรคเดียวกัน จึงตกลงกันได้ แบ่งผลประโยชน์กันลงตัว เกิดการกินเงียบ แต่ผลประโยชน์ที่ตกแก่ประชาชนนั้นน้อยลง

    อ.นพนันท์ กล่าวว่า กลุ่มตระกูลที่เรียกว่า ‘นักธุรกิจก่อสร้าง’ ที่เข้ามาสู่การเมืองมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ พวกแรกเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างก่อนเข้าสู่การเมือง อีกพวกที่เป็นนักธุรกิจก่อสร้างโดยอ้อม โดยเรียนรู้ช่องทางนี้หลังเข้าสู่การเมืองหรือหาผลประโยชน์ตามน้ำ จากเดิมตัวเองไม่ได้มีธุรกิจก่อสร้างแต่พอเข้ามามีตำแหน่งก็เลยเข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องผลประโยชน์ในงานก่อสร้างของทางราชการ ซึ่งมีผลประโยชน์เยอะ ใช้วิธีให้ตัวแทนเป็นคนดำเนินการ หรือทำหน้าที่เป็นนายหน้า หักค่าหัวคิว คนกลุ่มนี้มีเยอะ และทำกันจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น แต่ความจริงเป็นเรื่องไม่ปกติมาก เพราะเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤตไม่เป็นขนาดนี้ แต่หลังจากเจอผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองที่เอื้อให้เกิดผลประโยชน์ของธุรกิจก่อสร้างโดยอาศัยช่องทางการเมืองเป็นตัวนำ

    แม้ว่าบรรดานักการเมืองหลายตระกูลจะมีลักษณะการเอาเครือญาติเข้ามาเล่นการเมืองเพื่อหาผลประโยชน์แก่วงศ์ตระกูลในรูปแบบอื่นด้วย แต่การเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากงานก่อสร้างในวงราชการ มีมากเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะงานก่อสร้างในวงราชการซึ่งเป็นแหล่งผลประโยชน์ขนาดใหญ่ และธุรกิจก่อสร้างได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายการประกอบกิจการของคนต่างด้าว ทำให้ทุนข้ามชาติไม่สามารถเข้ามาเกี่ยวข้องได้โดยตรง นักธุรกิจการเมืองในวงก่อสร้างจึงกลายเป็นทุนผูกขาดขนาดใหญ่
    ไม่เหมือนธุรกิจค้าปลีก หรืออุตสาหกรรมรถยนต์และอื่นๆ ที่ถูกทุนข้ามขาติเข้ามาเป็นเจ้าของไปเกือบหมด

    ..........................

    จากการสำรวจรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีและเลขานุการรัฐมนตรีใน ครม.ทักษิณ 1 (พ.ศ.2544-2547) เพื่อดูว่ามีใครบ้างที่นามสกุลเดียวกันกับผู้เป็นเจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในปัจจุบัน โดยเทียบกับรายชื่อผู้รับเหมาก่อสร้างที่เป็นสมาชิกในสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย
    ปี พ.ศ.2544-2546 และผู้รับเหมาก่อสร้างที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ปี 2546
    พบรายชื่อที่น่าสนใจในแต่ละพรรคการเมืองนับรวมได้ 75 ตระกูล โดยแยกเป็นในส่วนพรรคไทยรักไทย 36 ตระกูล พรรคชาติไทย 13 ตระกูล พรรคชาติพัฒนา (ขณะนั้น) 6 ตระกูล พรรคความหวังใหม่ก่อนรวมกับไทยรักไทยมีอยู่ 5 ตระกูล พรรคเสรีธรรมก่อนรวมกับไทยรักไทย มี 3 ตระกูล พรรคประชาธิปัตย์ มี 13 ตระกูล และหลังจากปี 2543 เป็นต้นมา ทุนก่อสร้างหน้าใหม่ก็ขยับขยายเคลื่อนเข้าสู่สภาผู้แทนฯเรื่อยมา
    ดังปรากฎว่าในการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. นับจากนั้น มีคนในครอบครัวหรือเครือญาติเข้ามาสู่การเมืองมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้างกับการเมืองอีกลักษณะคือ การทำธุรกิจร่วมกัน เช่น
    กลุ่มสี่แสงการโยธาของตระกูลวงศ์สิโรจน์กุลซึ่งเคยทำธุรกิจร่วมกับตระกูลศิลปอาชา กลุ่มวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้างของตระกูลชวนะนันท์มีการร่วมลงทุนกับตระกูลลิปตพัลลภ กลุ่มวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้างมีธุรกิจร่วมกับตระกูลสะสมทรัพย์ เป็นต้น

    ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา เมื่อพรรคไทยรักไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีการรวมพรรคการเมืองอื่นๆ หลายพรรคเข้ามาเป็นพรรคเดียวกัน โครงการก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ช่วงปี พ.ศ.2544-2546 เห็นได้ชัดว่าตกอยู่ในมือกลุ่มทุนก่อสร้างบางกลุ่มเป็นพิเศษ เช่น ...........

    ......<<<รายงานข่าวนี้>>> ....."







    posted by a_somjai on 2007-02-02.




     

    Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2550    
    Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2550 10:47:22 น.
    Counter : 474 Pageviews.  

    รัฐประหารซ้ำซาก จากพ่อของพ่อ ถึงลูกของลูก (6): ระบอบทหาร หรือ Militarism กับ การเมืองไทย

    สิ่งที่น่าสนใจ สำหรับการทำความเข้าใจ "รัฐประหารซ้ำซาก ในประเทศสยาม/ประเทศไทย" ที่สำคัญมาก ก็คือ เรื่องราวของ "สถาบันทหาร", "ระบอบทหาร", "ชนชั้นนำ/ปัญญาชนทหาร" และหรือ "วิธีคิดและการจัดการบ้านเมืองแบบทหาร"

    ต่อไปนี้เป็นลิงค์ที่ควรอ่าน จากความคิดของนักคิดไทยที่เป็นผู้ติดตามศึกษาเรื่องของทหารและการเมืองไทย


    LINK for 2007-01-17:

  • ประชาไท: ทหารกับการเมืองในอุษาคเนย์ ตอนที่ 1 ทหารกับการเมืองไทย 16/1/2550, (รายงาน)การเสวนา จัดโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (เมื่อ 14 มกราคม 2550)



  • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ:
    => ทีนี้หันมาดูบริบทของสังคมไทยว่าอยู่ในบริบทสากลของ Militarism นี้อย่างไร ในฐานะของประเทศเอกราช สยามหรือไทยก็เข้าสู่ระบอบทหารก่อนหน้าหลายๆ ประเทศในเอเชียและแอฟริกา สยามหรือไทยสามารถสร้างการทหารสมัยใหม่ที่รวมทั้งกองทัพประจำ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ซื้อหรือได้รับบริจาคมา สร้างโรงเรียนทหาร อาชีพทหารและสถาบันทหารมาได้กว่า 100 ปี

    => ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2430 สถาปนาสิ่งที่เรียกว่า Cadet School ซึ่งต่อมาจะวิวัฒนาการเปลี่ยนชื่อเรื่อยมาเป็นโรงเรียนทหารสราญรมย์ เป็นรงเรียนนายร้อยทหารบก และเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าในที่สุด และก็มีกองทัพที่จะกลายมาเป็นกองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ใน พ.ศ. 2448 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ก็มีพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารครั้งแรก มีกองทัพประจำอย่างประเทศของโลกสมัยใหม่

    => ทหารสัญญาบัตรหรือทหารอาชีพ ที่ถูกฝึกฝนให้เล่าเรียนเป็นอาชีพเฉพาะได้พัฒนากลายเป็นระบอบใหม่หรือสถาบันใหม่อย่างรวดเร็ว และภายในระยะเวลาเพียง 24 ปี หรือ 1 ชั่วอายุคน ก็เข้ามาเกี่ยวพัน แทรกแซงทางการเมือง กลายเป็นคู่แข่งของระบอบเก่าหรือสถาบันกษัตริย์ ดังจะเห็นได้จากกรณีที่เราเรียกว่า กบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งเป็นความพยายามของนายทหารรุ่นหนุ่ม หนุ่มรุนใหม่ที่วางแผนยึดอำนาจจากราชสำนักของรัชกาลที่ 6

    => และในการรัฐประหาร 2490 ก็นำมาซึ่งระบอบทหารอย่างแท้จริงและยาวนานโดยฝังรากลึกในแผ่นดินไทย สิ้นสุดยุคคณะราษฎร และส่งต่อไปยังยุคอันยาวนานของระบอบทหารของคณะปฏิวัติ

    => ช่วง 2490-2500 และช่วง2501-2516 ภาพลักษณ์ของการเมืองไทยกลายเป็นสิ่งที่นักวิชาการเรียกว่า เป็นวัฏจักรแห่งความชั่วร้าย Vicious Circle แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือว่า ระบอบทหารนั้นดูจะมีความเป็นชั่วคราว โดยลักษณะและธรรมชาติของตัวเอง ไม่มีการยึดอำนาจครั้งใดของทหารที่จะบอกว่าจะอยู่ตลอดไป และจะสถาปนาตนให้เป็นระบบหรือระบอบทางการเมืองอย่างถาวร ไม่เหมือนระบอบกษัตริย์ ระบอบรัฐธรรมนูญ ระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบสังคมนิยม แต่ความเป็นชั่วคราวนี้ดูเหมือนจะถาวรไปอย่างน่าพิศวง และนี่คือการที่ต้องสร้างวาทกรรมหรือการอธิบายที่อาจจะเป็นข้ออ้าง แรงจูงใจ หรือการประชาสัมพันธ์ ที่ด้านหนึ่งหนึ่งเสมือนว่า ทหารนำมาซึ่งความทันสมัย Military = Modernization โดยมากข้อเสนอนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นของนักวิชาการส่วนใหญ่ กับการที่บอกว่าทหารเป็นเครื่องประกันเสถียรภาพและความมั่นคง และ Law and Orderโดยมากข้อเสนอนี้จะเป็นของทหารเอง เราจะเห็นคำอธิบายแบบนี้ในงานเขียนของนักวิชาการทั้งไทยและเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษ 1960 1970 นักวิชาการเหล่านี้ยังอยู่กับเราให้เห็นหน้าแต่ผมขาวแล้ว

    => ในอีกประเด็นหนึ่งก็จะมีการอธิบายว่าระบอบทหารเหมาะกับสังคมไทยเพราะคู่เคียงกับสังคมไทยมาเป็นเวลายาวนานกับสังคมไทยตั้งแต่สุโขทัย และอยุธยา เพราะพระมหากษัตริย์ก็เป็นทหาร ขุนนาง ไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินชายทุกคนก็เป็นทหารดังที่กล่าวมาแล้ว และก็ยังเข้ากับระบบอุปถัมภ์ของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี

    => ในอีกด้านหนึ่ง ก็อธิบายว่าระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบรัฐธรรมนูญก็เป็นเทศ ที่ผ่านมานั้น ใจร้อนหรือชิงสุกก่อนห่าม ถ้าจะต้องเอาประชาธิปไตยหรือระบอบรัฐธรรมนูญก็จะต้องทำให้เป็นประชาธิปไตยไทยเสียก่อน ซึ่งก็แปลว่าจะต้องใช้เวลา 1 ปีหรือ 12 ปีหรือไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนก็ตาม และนี่เป็นภารกิจของทหาร

    => ทหารจะต้องมีผู้ร่วมมือร่วมคิด ซึ่งน่าสนใจว่าส่วนใหญ่จะเป็นนักนิติศาสตร์ เป็นนักกฎหมาย
    [***แทรก**เพิ่มเติมโดย a_somjai ----> <<อ่านบทความ/ทรรศนะเกี่ยวข้องด้าน "กฏหมายกับการรัฐประหาร" >>>>>>
  • ◊ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ตอนที่ 2: ประชาชนต้องต่อต้านรัฐประหาร ไม่ใช่ทำตัวเป็นขอทานจากระบอบเผด็จการ สัมภาษณ์โดย พิณผกา งามสม Posted by prachatai on October 13th, 2006

  • คุณมีชัย นิติรัฐ และนิติธรรมจำยอม
  • โดย - ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ – October 21, 2006 ที่ไซต์ Onopen.com]


    => ข้อสังเกตประเด็นสุดท้ายก็คือ ระบอบทหารเท่ากับระบอบเผด็จการเสมอไปหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ใช่ แต่ว่าโดยปกติแล้วระบอบทหารจะถูกเอามาใช้สำหรับระบอบเผด็จการ หรือไม่ก็ถูกนำมาใช้ในการรักษาสถานะเดิม

    => ในปัจจุบัน ทหารไทยอาจจะมิได้อ้าง หรือมีความบันดาลใจอย่างรุ่น ร.ศ. 130 หรือ ปฏิวัติ 2475 อีกต่อไป และปรากฏการณ์ใหม่ของการสถาปนาพระราชอำนาจนำขึ้นในรัชกาลปัจจุบันในช่วงทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา และที่สำคัญที่สุดก็คือหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รวมทั้งวาทกรรมการถวายพระราชอำนาจคืนและการเสนอใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ 2540 อันเป็นผลพวงของปรากฏการณ์ สนธิ-สนธิ ก็ทำให้ระบอบและสถาบันทหารต้องอ้างและอิงกับสถาบันกษัตริย์เป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากการยึดอำนาจเรื่อยมานับตั้งแต่การรัฐประหาร 2490 ตลอดจนการยึดอำนาจที่ประสบความสำเร็จในการรัฐประหาร 2500 การปฏิวัติ 2501 การปฏิวัติ 2514 การปฏิรูป 2519 และการปฏิวัติ 2534 และท้ายที่สุดการปฏิรูป 2549

    => ในทางกลับกัน ทหารที่ไม่สามารถอ้างและอิงสถาบันกษัตริย์ได้ ไม่สามารถจะสร้างวาทกรรมว่าเป็นของชาติและเป็นของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจ ดังในกรณีของความพยายามในการก่อกบฏ 2520 กบฏ 1 เม.ย. 2524 การกบฏ 2528 และ นี่ก็คือมิติใหม่ของการเมืองไทยที่จะอยู่กับเราไปอีกนานแสนนาน



    สุรชาติ บำรุงสุข:
    => คำถามที่น่าสนใจคือชนชั้นกลางไทยจะเอาประชาธิปไตยหรือเอาเผด็จการ เราไม่ได้ตอบเลย

    => ประเด็นเรื่องทหารกับการเมืองไทยไปไกลมากแล้ว แซมมวล ฮันติงตัน นักรัฐศาสตร์อเมริกันเคยพูดว่า ถ้าสังคมจะเป็นประชาธิปไตย เศรษฐกิจต้องเป็นทุนนิยม แต่ทุนนิยมไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตย ผมคิดว่าโมเดลไทยนั้นตอบฮันติงตัน เพราะว่าในความเป็นประชาธิปไตยไทยเราเห็นพัฒนาการเศรษฐกิจไทยที่เข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมือง

    => เมื่อย้อนกลับไปปี 2535 ชัดมากถึงบทบาทชนชั้นกลางที่ไม่เอาทหาร เราสามารถตั้งเป็นสมมติฐานใหญ่ๆ ว่าโลกยุคโลกาภิวัตน์มันสวนกระแสปฏิวัติ สวนกระแสของทหารที่เข้ามาอยู่ในการเมืองแต่พอถึง 2549 ถ้ามองอย่างนี้เราพายเรือในอ่าง

    => การยึดอำนาจชุดแรก การยึดอำนาจของสฤษดิ์ 2500-2501

    การยึดอำนาจชุดที่ 2 รับประหาร 2514 ยึดอำนาจรัฐบาลตัวเอง ต่อด้วย 25162519 และ 2520 และจบด้วยรัฐประหารเกรียงศักดิ์ 2520

    การยุดอำนาจชุดที่ 3 ปี 2534 จบลงในปี 2535

    ชุดที่ 4 ปี 2549 ไม่รู้จะจบเมือไหร่

    ไม่รู้ว่าวงรอบอีก 14 ปีข้างหน้า ถ้าหวนกลับมาอย่างนี้ ก็คือชีวิตพลเรือนมีแค่ 14 ปี ก็ต้องดูว่าอีก 14 ปีข้างหน้าหวนกลับมาที่วงรอบเดิมหรือไม่ ถ้าหากหวนกลับมาอย่างนี้ก็แสดงว่า วงรอบของประชาธิปไตยของพลเรือนไทยมีอยู่เพียงแค่ 14 ปี เพราฉะนั้นนโยบายการลงทุนในก็จำกัดรอบไว้แค่ 14 ปี ไม่ต้องไปคิดมาก และไม่ต้องนับปีนี้ที่ทุนหนีไปเวียดนามหมดแล้ว


    => ตกลงสังคมไทยจะวางพิมพ์เขียวของตัวเองอย่างไรในการจัดความสัมพันธ์กันระหว่างรัฐบาลพลเรือนกับกองทัพ เราไม่เคยตอบเรื่องนี้ และเราไม่คิดถึงขนาดที่จะออกแบบโครงสร้างการเมืองของตัวเอง เราพูดกันแต่กลไกรัฐธรรมนูญ

    เราไม่สนใจกลไกรัฐธรรมนูญว่าจะเอื้อต่อการจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลพลเรือนกับกองทัพได้หรือไม่ ปัญหาระหว่างทหารกับการเมืองจึงเป็นปัญหาที่ตกค้างแต่ไม่เคยตกผลึก

    หลังปี 2535 เราปล่อยประเด็นนี้ค้างไว้ สุดท้ายเมื่อเราไม่ออกแบบโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับพลเรือน ผมคิดว่ามันสะท้อน 3 ส่วนของสังคมไทย ก็คือ

    1. สะท้อนความอ่อนแอของประชาสังคมไทยที่ทั้งไม่เข้าใจและไม่ใส่ใจกับความสัมพันธ์กับกองทัพ

    2. สะท้อนความไม่ตระหนักของฝ่ายการเมืองเมื่อได้อำนาจ คือมองว่ากองทัพไม่มีอะไรแล้ว หลังพ.ค. 2535 ทุกคนก็พูดเหมือนกัน ว่าการรัฐประหารครั้งนั้นจะเป็นครั้งสุดท้าย

    3. ยังมีผู้คนในสังคมไทยมากพอสมควรที่มีความคิดความเชื่อทางการเมืองว่าเมื่อเกิดปัญหาการเมืองต้องให้ทหารมาจัดการ พูดง่ายๆ ก็คือเมื่อการเมืองตัน ต้องให้ทหารล้างท่อ ทหารกลายเป็นเทศบาลการเมือง

    ผมไม่รู้ว่าอนาคต วงรอบ 14 ปี จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ถ้าเราไม่ออกแบบโครงสร้าง ไม่คิดถึงการสร้างพิมพ์เขียว ผมคิดว่าปัญหานี้หวนกลับมาเกิดอีกแน่ๆ


    => ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบอบประชาธิปไตยนั้นนักรัฐศาสตร์เอาเกณฑ์ว่าคนในสังคมถือเอาประชาธิปไตยเป็นหลักเดียวและผมคิดว่าเราก้าวไปสู่จุดนั้นแล้วนะ แต่วันนี้เรากลับถอยกลับไป

    => การปฏิรูปการเมืองต้องทำพร้อมๆ ไปกับการปฏิรูปกองทัพ ถ้าเราเชื่อว่าจะปฏิรูปการเมืองโดยให้ทหารยึดอำนาจผมคิดว่าคณะรัฐศาสตร์ทั้งจุฬาและธรมศาสตร์ต้องยุบทิ้ง และผมไม่แน่ใจว่าบรรดาผู้อาวุโสทั้งหลายคิดอย่างไรเรื่องการปฏิรูปที่พูดกันมาตั้งหลายปี

    => ถ้าเราไม่ปฏิรูปการเมืองโดยมองเรื่องการปฏิรูปกองทัพ ก็จะกลายเป็นปัญหาที่ตกค้าง และไม่ตกผลึก ประชาธิปไตยจะดีหรือไม่ดีผมคิดว่ามันคือการสร้างและการพัฒนา ถ้าเราหวังว่าประชาธิปไตยคือทุกอย่าง เราคงหวังอย่างนั้นไม่ได้ และสุดท้ายการเมืองมันหนีการเลือกตั้งไม่ได้

    => >>>>>> อ่านรายงานนี้ฉบับเต็ม -- Read More ที่ประชาไท <<<<<<


    posted by a_somjai on 2007-01-17






     

    Create Date : 17 มกราคม 2550    
    Last Update : 22 มกราคม 2550 3:08:20 น.
    Counter : 686 Pageviews.  

    1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.