<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

แพงแม่ แม่แพง

เมื่ออายุย่าง ๒๐ ปี ผมก็ย้ายจากอีสานบ้านเฮามาเรียนหนังสือทางภาคเหนือ ผมเรียนจบแล้วได้กลับไปทำงานที่อีสานอยู่ปีเดียวก็ย้ายกลับมาหางานทำที่เชียงใหม่และสร้างครอบครัวของตนเอง ณ เมืองอันเคยเป็นนครใหญ่มาตั้งแต่สมัยโบราณแห่งนี้

อายุผมก็ขึ้นเลขห้ามาปีกว่า ๆ แล้ว บนถนนของการดำรงอยู่ ผมค้นหา “อู่กำเนิด” ของรากเหง้าวัฒนธรรมแห่งตนเองตลอดมา ผมล้วงลึกลงไปในความเป็น ล้านนา ล้านช้าง และลาวอีสาน ด้วยแรงขับเบื้องลึกของพื้นเพทางการศึกษา การงาน และที่สำคัญคือความคิดถึงบ้านเกิด
…ผมคึดฮอดอีสานครับ


‘อีสาน’…จินตนภาพแรกสุดที่ผมคิดถึงก็คือ ‘แม่’
ผมคิดว่าที่ ‘แม่’ เป็นจินตนภาพแรก
ก็เพราะว่าผมกำพร้าแม่ไปตั้งแต่อายุได้เก้าขวบ


แม่ผม ชื่อ ‘แพง’
‘แม่แพง’ เป็น คนลาวพวน หรือ คนไทพวน ก็ว่า
เมื่อผมเป็นเด็ก จำได้ว่าพวกเด็ก ๆ ญาติฝ่ายข้างแม่ ที่บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เรียกแม่ผมว่า ‘ป้าแพง’ เพราะแม่เป็นพี่สาวของพ่อหรือแม่ของพวกเขาเหล่านั้น พวกน้า ๆ น้อง ๆ ของแม่ เรียกท่านว่า ‘เอื้อยแพง’
ขณะที่ป้าพูนพี่สาวตนเดียวของแม่เรียกแม่ว่า ‘แพง’ คำเดียว


ส่วนยายและตาของผม หรือเรียกตามศัพท์เครือญาติคำคนพวนว่าพ่อตู๊ แม่ตู๊ (หมายถึงพ่อสายน้ำนมแม่สายน้ำนมของเราละมัง เพราะ ตู๊หรือตู้ ในภาษาพวนหมายถึง นม เต้านม) พวกท่านเรียกแม่ผมว่า ‘อีแพง’

ตามความเข้าใจพื้น ๆ ของคนใช้ภาษาไทยภาคกลาง ‘แพง’ หมายถึงว่า (สิ่งนั้น)มีราคามาก เราจึงพูดว่า ของแพงหรือราคาแพง เป็นต้น ซึ่งนั้นก็เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว หากขยับชั้นขึ้นวรรณคดีไทยหลายคนคงจะนึกถึงนางเอกคู่แฝดในเรื่อง ลิลิตพระลอ
คือ พระเพื่อน พระแพง

‘พระแพง’ เป็นชื่อฝาแฝดผู้น้อง คำว่า ‘แพง’ ในที่นี้ยังหมายถึงของอันเป็นที่รัก หวง และสงวน ได้อีกด้วย แล้วนางเอกชื่อ ‘แพง’ นางนี้ก็เป็นคนพื้นถิ่นล้านนา อยู่ในเมืองดินแดนทางเหนือที่ผมอาศัยอยู่เสียอีกด้วย


เมื่อผมอ่านเรื่องสั้นร่วมสมัยของนักเขียนลาวท่านหนึ่ง ชื่อเรื่องว่า ‘แพงแม่’ ทำให้ได้ขยายความรู้ออกไปอีกว่า ‘แพงแม่’ หมายถึงหญิงมีครรภ์หรือผู้หญิงที่ตั้งท้อง ตามขนบคิดของคนพื้นบ้านลาวนั้น แพงแม่และลูกในท้องของแพงแม่นั้นย่อมเป็นสมบัติร่วมกันของชุมชนหรือของมนุษยชาติก็ว่าได้ ดังนั้นเมื่อเราพบเห็น ‘แพงแม่’ ที่ใด แม้ว่าตัวเราจะรู้จักนางผู้เป็นแพงแม่ผู้นั้นหรือไม่ก็ตาม เราจะต้องแสดงออกถึงเมตตา กรุณา และมุทิตาจิตต่อแพงแม่อย่างแรงกล้าเสมอ คือนอกจากทักทายถามข่าวคราวด้วยความห่วงใยเอ็นดูกันแล้ว หากมีของกินของใช้ติดไม้ติดมือมา เรานั้นจะต้องแบ่งปันให้ ‘แพงแม่’ ได้นำไปกินไปใช้เพื่อบำรุงรักษาทะนุถนอมตัวแม่แพงและลูกแพงในท้องของนางด้วย ดังนี้เป็นต้น


Maternity and Newborn Created by Damon Photography



คนเมืองเหนือออกเสียงตัว พ. เป็นตัว ป. เมื่ออักษรล้านนาเขียนว่า ‘แพง’ เสียงคำปากจึงอู้จาว่า ‘แปง’ ดังนั้นเมื่อได้ยินว่าทางเมืองเหนือมีงานประเพณียี่เป็ง ขอให้นึกถึงภาษาเขียนว่า ยี่เพ็งหรือยี่เพง อันหมายถึงเพ็ญเดือนยี่ ตรงกับ วันเพ็ญเดือนสิบสองของทางภาคกลาง
ก็คือประเพณีวันลอยกระทง นั้นเอง หรือ คนชื่อ คำแปง ก็คือ คำแพง นั้นแล้ว

หากใครเคยไปเชียงใหม่ ผ่านไปทางตีนดอยสุเทพ จากวัดอุโมงเถรจันทร์ล่องไปทางใต้สักสอง-สามกิโลเมตร จะมีสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งนามว่า ‘วัดร่ำเปิง’ ซื่อนี้เขียนกันตามเสียงของคนพื้นถิ่นพื้นบ้าน หากเขียนให้ถูกอักขระต้องเขียนว่า ‘วัดร่ำเพิง’ แปลเป็นคำไทยว่า ‘วัดรำพึง’ ในทำนองเดียวกันเมื่อได้ยินคนเมืองเหนืออู้จาว่า
เปิงใจ นั้นเขาหมายถึง ‘เพิงใจ’ คือ ‘พึงใจ’ นั้นเอง

คำว่า ‘เพิง’ ในภาษาล้านนา ตรงกับคำว่า ‘พึง’ ในภาษาไทยเมืองใต้หรือไทยภาคกลาง กินความถึงเรื่องความเหมาะ ความควร ความน่าพอใจ อีกนัยยะหนึ่ง ‘เพิง’ หมายถึง ความเจริญ ความรุ่งเรือง ความใหญ่โตและกว้างขวางก็ได้ เมื่อคนเมืองเหนือเห็นอะไรว่าดีว่าเหมาะสมจะอู้จาว่า
‘เปิงแต้ ๆ’ หมายถึง ‘เพิงแท้ ๆ’ ในภาษาเขียนนั้นเอง


คำว่า ‘เพิง’ พบแต่ในวรรณคดีโบราณของลาว อย่างเรื่อง ‘นางผมหอม’ นิทานเรื่องนี่จัดเป็นวรรณคดีโบราณของอีสานด้วย เพราะรู้จักกันแพร่หลายในวงการหมอลำสองฝากฝั่งโขง นางเอกตัวพี่สาวพี่เอื้อยชื่อ ผมหอม นั้นมีฝาแฝดผู้น้องสาวชื่อ ‘เพิงแพง’ ตรงกับ ‘พึงแพง’ นั้นเอง
แต่ปัจจุบันนี้คำ ‘เพิง’ ไม่ใช้กันในภาษาลาวอีสานและเมืองลาวอีกแล้ว



Maternite Created by Alexandre "le petit"

สำหรับผมแล้ว หาก ‘แพง’ หมายถึง สิ่งที่มีค่ามาก มีราคาสูง เป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักที่หวงแหนแล้วละก็ ‘เพิงแพง’ จึงหมายถึง สิ่งอันเหมาะสม สิ่งอันน่าพึงใจ สิ่งอันควรค่าแก่การเป็นที่รักที่หวงแหนควรทะนุถนอม และสิ่งนั้นย่อมนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตเรา


ก็อย่างที่บอกกันไว้แล้วแต่ต้นนั้นแหละครับ
หาก ‘พึงแพง’ เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง
นางคนแรกที่ผมคึดฮอด ก็คือ ‘แม่’ ของผมครับ

‘แม่แพง’






พ่อ แม่ พี่ น้อง สร้างสรรค์โดย เด็กหญิงแพงพิม สมใจ

posted by A_Somjai on 19 January 2006 @ 09.49 Am
CC: Home is where your heart is. & แพงแม่




 

Create Date : 19 มกราคม 2549    
Last Update : 19 มกราคม 2549 12:14:47 น.
Counter : 991 Pageviews.  

วรรณกรรมบนอินเทอร์เน็ตที่มีคนอ่านมากกว่า 100 ล้านคน

posted by a_somjai | ๋January 13, 2005 @ 8: 19 Am | Chinese Writers นักเขียน ชาวจีน | Internet literature | วรรณกรรม | วรรณกรรมออนไลน์ |


Marco Polo Bridge (Set) by davidklasen's photostream

เป็นที่รู้กันมาว่างานเขียนวรรณกรรมบนอินเทอร์เน็ต (Internet literature) ได้พัฒนาตัวเองขึ้นยืนอยู่ได้ในเมืองจีนแล้ว แต่เมื่อประเมินระดับขั้นของฝีมือและคุณค่าทางวรรรคดีครอบคลุมเนื้องานทั้งหมดแล้ว ยังกล่าวไม่ได้ว่าวรรณกรรมออนไลน์มีดีกว่าวรรณกรรมประเพณีนิยม(ที่เขียนเผยแพร่กันอยู่แบบเดิม) แม้ว่างานเขียนวรรณกรรมบนเวปไชต์จะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวงการวรรณกรรมและสังคมคนเมืองจีนแล้วก็ตาม ไม่มีใครคาดคิดได้ว่าในงานเขียนวรรณกรรมบนอินเทอร์เน็ตที่ถูกเขียนขึ้นมาอย่างเร่งรีบ มีปริมาณมากมาย และเกิดการผสมผสานทิศทาง(ของรูปแบบและเนื้อหา)อย่างสับสนอลเวงนั้น จะมีงานเขียนจำนวนน้อย(หลาย)ชิ้นได้รับการยอมรับว่าเป็นงานวรรณกรรมคุณภาพชั้นหนึ่งไปรีบร้อยแล้ว (have the quality of first-class literature)

ต่อไปนี้คือตัวอย่างงานวรรณกรรมคุณภาพชั้นหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต ของนักเขียนบนเน็ตผู้สร้างงานวรรณกรรมจนหนังสือ "The Past Is Not Like Smoke" ของเธอได้รับรางวัลชนะเลิศ the Freedom of Writing Award จาก the Independent Chinese PEN ประจำปี 2004 ชื่อของเธอคือ Zhang Yihuo

นาง Zhang เป็นนักวิจัยในด้านการร้องเพลงคลาสสิคโอเปร่า และเธอมีส่วนเกี่ยวข้องกับสายงานวรรณกรรมร่วมสมัยน้อยมาก เมื่อเธอเขียนเล่าเรื่องราวบรรพบุรุษของเธอ -- นักนิยมประชาธิปไตยกลุ่มหนึ่ง (a group of "democrats" = พวกประชาธิปัตย์) ผู้มั่นคงในแนวความคิดเสรีนิยมแม้ในสถานการณ์บีบคั้นระหว่างพวกชาตินิยมและพวกคอมมิวนิสต์ -- พวกเขาเป็นผู้ผ่านประสพการณ์ปวดร้าวและโศกนาฎกรรมแห่งชีวิตภายใต้อำนาจการปกครองยุคเหมาเซตุง (under the Mao Zedong regime) แต่แล้วสุดท้ายพวกลูกหลานอย่างเธอก็ทำเป็นว่า เหตุการณ์ที่ผ่านมานั้นมันเป็นเพียง ความทรงจำที่ถูกลืม (the "forgotten memories") ทั้ง ๆ ที่อดีตเหล่านั้นมันควรจะถูกแสดงออกมาเป็นความเคียดแค้นชิงชังเสียมากกว่า เมื่อเธอเล่าเรื่องผ่านงานเขียนออกมานั้น นาง Zhang ไม่เคยคิดเลยว่าถ้อยคำของเธอจะเปี่ยมไปด้วยคุณค่าและส่งผลกระทบต่อสิ่งใดตามมาในภายหลัง


ทว่าเมื่อเพื่อนบางคนของเธอได้อ่านบทประพันธ์เรื่องนี้แล้ว เขาได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับบางส่วนของงานเขียนของ Zhang เพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวรรณกรรมประวัติศาสตร์หลายฉบับ แต่ก็ไม่มีใครสนใจ ต่อมาเพื่อนหลายคนของ Zhang ได้ posted the essays onto the Internet เและแล้วการเดินทางของงานเขียน "อดีตมิใช่เพียงไอควัน - The Past Is Not Like Smoke -" ก็แผ่กระจายออกไปสู่สังคมออนไลน์โดยรอบในวงกว้าง จาก(ผู้อ่านบนอินเทอร์เน็ท)คนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ดังนั้นถ้อยคำในงานเขียนของ Zhang จึงได้กลายเป็น "ประเด็นร้อนที่สุดบนอินเทอร์เน็ต" ในช่วงเวลานั้น จนกระทั่งต่อมางานเขียนชิ้นนี้ของเธอก็เข้าตาบรรณาธิการผู้จัดพิมพ์เข้าจนได้ ที่สุดก็ผ่านการตกลงจัดพิมพ์งานเขียนชิ้นนี้ออกมาเป็นหนังสือเล่ม ภายหลังจากเสียภาษี(อากร)บางส่วนเข้ารัฐแล้ว


เพียงช่วงไม่กี่เดือน หนังสือเล่มนี้ก็ถูกพิมพ์ออกมาเป็นล้านเล่ม หากจะว่าไปแล้วยอดพิมพ์ที่แท้จริงของหนังสือเล่มนี้(ด้วยวิธีการใต้ดิน ก็อีหรอบเดียวกับเทปผี/ซีดีเถื่อนนั้นแหละ) เป็นไปได้ว่าจะแตะสอง-สามล้านเล่มเลยทีเดียว เหตุดังนี้ เมื่อปี ค.ศ. 2004 "อดีตมิใช่เพียงไอควัน" ได้กลายเป็นหนังสือวรรณกรรมที่มีการไหลเวียนในหมู่คนอ่านชาวจีนกว้างใหญ่ที่สุดในเมืองจีน จนกระทั่งต่อมา Zhang Yihuo ก็ได้รับรางวัล the Freedom of Writing Award จาก the Independent Chinese PEN

ก็และอีกตามเคย...ด้วยคำสั่งจากระดับสูงสุดของรัฐบาล "The Past Is Not Like Smoke" ก็ถูกสั่งห้ามเผยแพร่แก่สาธารณชน อย่างไรก็ดีความเป็นจริงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อันไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นได้เช่นนี้ เป็นสิ่งแสดงแจ่มแจ้งว่า อินเทอร์เน็ต (the Internet) มีผลกระทบต่อแบบธรรมเนียมของช่องทางการสื่อสาร และ มีผลกระทบต่อแบบธรรมเนียมของการเชื่อมต่ออย่างใกล้ชิดระหว่างคนต่อคนด้วยกัน โดยใครก็มิอาจปฏิเสธได้

และนิทานเรื่อง การเดินทางของ "อดีตมิใช่เพียงไอควัน - The Past Is Not Like Smoke -" บนโลกออนไลน์นี้ สอนให้กระทรวงโฆษณาการชวนเชื่อกลาง(ของรัฐบาลจีน) - the Central Propaganda Department - ได้รู้ว่า "ของที่ประชาชนเขากินเข้าไปแล้วก็ปกติสบายดีนั้น อาจเป็นของแสลงต่อสุขภาพรัฐบาลก็ได้ เพราะเมื่อรัฐบาลบริโภคเข้าไปแล้วจะเกิดอาหารเป็นพิษ อย่างที่ชาวบ้านพูดว่ากินผิด-กินแพ้-กินเบื่อ-กินเมา เป็นเหตุให้เจ็บป่วยไข้ได้ นั้นแล" (คำศัทพ์ว่า "allergy")


ปล. จะฝากนิทานเรื่องนี้ ไว้เป็นอุทาหรณ์แก่รัฐบาลบ้านเราด้วยก็ได้นะ...จะบอกให้






CC: The Past Is Not Like Smoke
อ่านเรื่องต่อเนื่อง:
โลกอินเทอร์เน็ต เมืองจีน,
จากพู่กันจีนถึงคีย์บอร์ด,
เวปไขต์นักเขียนวิชาการเมืองจีน,
นักเขียนความเห็นทางการเมือง เมืองจีน,
เลือดข้นกว่าน้ำ ถ้อยคำด่ำลึกกว่าสายเลือด




 

Create Date : 13 มกราคม 2549    
Last Update : 13 มกราคม 2549 9:00:37 น.
Counter : 730 Pageviews.  

อิสรภาพอีเลคทรอนิคส์ (e-freedom)

Posted by A_Somjai | January 12, 2006 @ 02: 29 AM | freedom of speech | e-freedom| Internet censorship | American "Internet sector companies" | China | blog, blogger |


ก็อย่างที่เขียนไว้ในหัวข้อที่กำกับดัวย (006) ต่าง ๆ เกี่ยวกับบรรยากาศการเล่นอินเทอร์เน็ตเมืองจีนนั้น คงไม่เป็นเรื่องน่าแปลกใจอะไรหากว่าจะมีการกลั่นกรองควบคุมการเล่นเน็ตของชาวจีนโดยร้ฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ สำหรับชาวบล็อกเกอร์แล้วก็เป็นที่รู้กันว่ารัฐบาลจีนมักจะเซนเซอร์บล็อกเกอร์ คือกันคนเล่นโพสต์บนบล็อกที่รัฐไม่พึงปรารถนาออกไปจากโลกออนไลน์ที่ต้องผ่านอินเตอร์เน็ตภายใต้อำนาจควบคุมของตน หรือกีดกันกำจัด URLs ที่จะเข้าถึง blog sites เหล่านั้นเสียแต่ต้นทาง

แต่เชื่อไหม? ว่าธุรกิจเอกชนจากประเทศเสรีนิยม-ทุนนิยมการตลาด บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ อย่างเช่น "Microsoft" ก็กระโดดเข้าร่วมการเซนเซอร์หรือ block การเข้าถึง blog บางแห่งหรือของชาวบล็อกบางคน เพื่อสนองนโยบายร้ฐบาลจีนหรือว่าเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจที่ตนจะได้ร้บโอกาสจากรัฐบาลจีนก็ไม่ทราบ เรื่องนี้กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ในระดับโลกทีเดียวเชียว

Photoshop of the Day

//rconversation.blogs.com/rconversation/freedom_of_speech/index.html

การเซนเชอร์ของบริษัทเทคโนโลยีอเมริกันต่อ blog ภาษาจีน และ bloggers ชาวจีน ที่เขาทำกันอยู่ มีตัวอย่างเช่น กรณีของหนึ่งในบล็อกเกอร์นักหนังสือพิมพ์ชาวจีน ที่เขียนบล็อกในแนวการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องประเทศจีนค่อนข้างรุนแรง ผู้ใช้นามแฝงในโลกออนไลน์ว่า Anti (ความเป็นมาอ่าน "Good And Bad Things Happened To Mr. Anti" และ บทสัมภาษณ์อ่านที่นี่) พวกคนเหล่านี้จึงตกอยู่ในแบล็กลิสต์ของรัฐบาลจีน ตัว Anti เอง ถูกบีบให้ต้องย้ายที่เล่นบล็อก ที่เคยเล่นในเวปไซต์ของเมืองจีน ไปใช้พื้นที่บล็อกของบริษัทธุรกิจเทคโนโลยีอเมริกัน ด้วยเห็นว่าอยู่นอกอำนาจควบคุมของทางการจีน แต่แล้วก็กลับกลายเป็นว่า Michael Anti คิดผิด เหมือนหนีเสือไปปะแม่งูกินหาง แม่งูก็เลยพาไปกินน้ำบ่อโศก ก็โยกไปโยกมา กับยังต้องหวานอมขมกลืนกินน้ำบ่อทราย ก็เลยต้องย้ายไปย้ายมา เสียอีกด้วย เพราะถูกทางเวปไซต์ของชาวโลกเสรีมีทุนธุรกิจการตลาดเป็นเป้าหมายหลัก ทำการ Block หรือ เซนเซอร์ ไม่ให้คนเข้าถึงบล็อกของเขาได้ ลองเข้าไปบล็อกของ Anti ที่ //mranti.blogneo.com/ ดูก็แล้วกัน ฉันลองหลายหนแล้ว แต่ยังเข้าไม่ได้เลย

การกระทำของเวปไซต์บริษัทเทคโนโลยีชาติตะวันตกเช่นนี้ สงสัยกันว่าเป็นการยอมตามแนวทางขอรัฐบาลจีน เพื่อแลกกับผลประโยชน์อันบริษัทเหล่านี้พึงหวังว่าตนจะได้โกบโกยเอาจากประชากรจำนวนพันล้านคนในเมืองจีนได้สะดวก โดยปราศจากการขัดขวางจากรัฐบาลจีนนั้นเอง

เมื่อ Michael Anti และเพื่อน ๆ ช่วยกันส่งอีเมลบอกเนื้อความคับแค้นใจที่ตนประสพอยู่นี้ป่าวขยายออกไปทั่วโลก เรื่องที่ดูเหมือนไม่เป็นเรื่อง ก็จึงเป็นเรื่องขึ้นมา มีปฏิกิริยาต่อต้านจากชาวบล็อกอย่างกว้างขวางทั่วโลก แม้แต่ชาวบล็อกเกอร์บางคนที่เป็นลูกจ้างของ MSN อย่าง Robert Scoble ได้ส่งข้อความไปยังพวกดูแล MSN space ว่า "Guys over at MSN: sorry, I don’t agree with your being used as a state-run thug." และ Robert Scoble ได้ลงข้อความให้บล็อกเกอร์ชาวจีนผู้อาภัพรายนี้ มาเป็นแขกรับเชิญใช้พื้นที่บล็อกของเขา โพสต์ข้อความเห็นต่าง ๆ ลงได้ หากสนใจตามเข้าไปอ่านได้ที่ Scobleizer จะพบเนื้อหาที่ Robert Scoble และลูกจ้างคนอื่น ๆ ของ MSN ได้แสดงความไม่พอใจตอบโต้ผู้บริหารเวปไซต์ในกรณีนี้ ได้เจ็บแสบอย่างต่อเนื่อง (พวกเราเองก็ลองคิดดู เอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าเราโดนมั้งละก็...คงคับแค้นใจ น่าดูเหมือนกัน)

เรื่องอย่างนี้ คิดว่าคนเล่นบล็อกเมืองไทยก็ควรจะสนใจไว้บ้าง เพราะว่าจะได้เก็บไว้เตือนตน เตรียมตัวไว้ให้พร้อมเพื่อการต่อสู้ ปกป้องสิทธิการคิด การอ่าน การเขียน บนอินเทอร์เน็ตของเรา หากว่าวันหนึ่งรัฐ เอกชน หรือใครก็ตาม มาทำกับพวกเราเช่นนี้บ้าง

ดังที่ Rebecca McKinnon, ผู้ก่อตั้งเวปไซต์ Global Voices Online ทิ้งคำถามไว้ให้ได้คิดกันในทำนองว่า ก็หากว่าบริษัทเทคโนโลยีอเมริกันทำอย่างนี้กับคนจีนได้ ด้วยอ้างเหตุผลว่าเป็นกรณีประนีประนอมทางศีลธรรมให้โอนอ่อนผ่อนตามความต้องการ(ในกฎหมายเฉพาะถิ่น)ของรัฐบาลจีน แล้วละก็ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าพวกเขาจะไม่ทำอย่างเดียวกันนี้ กับพวกเราประชาชนในประเทศอื่น ๆ อีก? หรือว่า เขาทำกับเราไปแล้ว ก็ไม่รู้?

"If these American technology companies have so few moral qualms about giving in to Chinese government demands to hand over Chinese user data or censor Chinese people's content, can we be sure they won't do the same thing in response to potentially illegal demands by an over-zealous government agency in our own country? Can we trust that they're not already doing so?"


หากท่านใดสนใจว่า "ชาวโลกเขามีปฏิกิริยาตอบสนองเรื่องนี้อย่างไร? อยู่ในกระแสเวลานี้" ก็เข้าไปอ่านศูนย์กลางของกระแสได้ที่งานเขียนของ Rebecca McKinnon, ผู้ก่อตั้งเวปไซต์ Global Voices Online, ที่ RConversation //rconversation.blogs.com/ มีข่าวสารต่อเนื่องกว้างขวางไปสู่ประเด็นอิสรภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะอิสรภาพอีเล็คทรอนิคส์ (e-freedom) มาตรฐานจริยธรรมของบริษัทอินเทอร์เน็ต และปฏิกิริยาจากผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางครอบคลุม เช่น บล็อกเกอร์ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ และบล็อกเกอร์ชาวจีนในฮ่องกง

ตัวอย่างความก้าวหน้าต่อเนื่องของหัวข้อเรื่อง ได้แก่


1. Microsoft takes down Chinese blogger (January 03, 2006)
2. Why Microsoft censorship in China matters to everybody (January 05, 2006)
3. Freedom of speech (January 06, 2006)
4. Ethical Standards for Internet Companies (January 07, 2006)
5. Les Blogs: technology and democracy (December 07, 2005)

และ (Update) =>>>>>>>>>>>>>>
6. Chinese reactions to MSN Censorship (January 05, 2006), Chinese anti-MSN protest (January 06, 2006), Ethical Standards for Internet Companies (January 07, 2006), Microsoft obeyed Chinese law? Or was it just a political request? Should the difference matter? (January 10, 2006), Legislating e-freedom?? (January 11, 2006), Congressional hearings to be held on Net Censorship (January 12, 2006)

ฯลฯ


ในงานเขียนของ Rebecca McKinnon จะโค๊ตข้อความของผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นไว้อย่างค่อนข้างทั่วถ้วน และยังทำลิงค์ไปถึงคนอื่น ๆ ที่พูดถึงเกี่ยวข้องก้ับประเด็นร้อน ๆ นี้ อย่างละเอียดยิบ รวมทั้งฝ่ายบริษัทเทคโนโลยีคู่กรณีด้วย

ก่อนหน้านี้ ยังมีบทความน่าสนใจ ในไซต์ Ethical Corporation ได้โค๊ตความเห็นของ John Palfey, director of Harvard Law School’s Berkman Center for the internet and Society ที่ตั้งคำถามไว้เกี่ยวกับเรื่อง ความถูกต้องของบริษัทเทคโนโลยี่ต่าง ๆ ของชาติตะวันตก อย่าง Microsoft, Google, Yahoo และ Cisco ที่กำลังเข้าไปยุ่งเกี่ยว(ในทางที่ผิด)กับการใช้ความรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์การแสดงออกผ่านโลกออนไลน์ของประชากร (ประเทศต่าง ๆ ) นอกจากนี้ยังมีความเห็นของนักคิดที่เฝ้าจับตามองโลกของอินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ ที่ออกมาถามหาความรับผิดชอบของบริษัทเหล่านั้น ต่อหน้าที่การเผยแผ่ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนแก่สังคมมนุษยชาติอีกด้วย ลิงค์ไปอ่าน //www.ethicalcorp.com/content.asp?ContentID=4040

และ เวปไซต์ Reporters Without Borders’ proposals เรื่อง Do Internet companies need to be regulated to ensure they respect free expression ? (6 January 2006)

อนึ่งเรื่องการเซนเซอร์นักเขียนบนอินเทอร์เน็ตชาวจีนนั้น ในบล็อกของฉันเคยเขียนไว้ใน เลือดข้นกว่าน้ำ ถ้อยคำด่ำลึกกว่าสายเลือด (006/06) เป็นต้น ในนั้นมีเรื่องของชาวจีน"ชื่อ Shi Tao เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจยิ่ง: Shi Tao เป็นนักวารสารศาสตร์ (นักหนังสือพิมพ์ journalist ) และเป็นกวี เขาถูกคำพิพากษาจำคุก ๑๐ ปี โทษฐานเผยแพร่ข่าวสารไปยังเวปไชต์โพ้นทะเล (disclosing news to overseas websites) เพราะว่าข่าวที่ Shi Tao เผยแพร่ออกไปก่อนถึงวันวาระครบรอบสิบห้าปีเหตุการณ์ล้อมปราบสังหารประชาชนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม" (ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์บล็อกตัวเอง ต้อนรับปีใหม่ 2006 เพื่อน ๆ คงไม่ว่ากัน)




เรื่องนี้คงยาว ต้องติดตามกันต่อไป.


CC: ประเด็นร้อน: ไมโครซอฟต์ช่วยรัฐบาลจีนเซนเซอร์บล็อกของชาวจีน?

[อ่านเรื่องเกี่ยวข้องใน: ชีวิตในโลกออนไลน์]




 

Create Date : 12 มกราคม 2549    
Last Update : 13 มกราคม 2549 10:03:58 น.
Counter : 584 Pageviews.  

ล่องหน

ล่องหน
เจ็ดวัน


A_Somjai




 

Create Date : 11 มกราคม 2549    
Last Update : 11 มกราคม 2549 3:58:33 น.
Counter : 612 Pageviews.  

อดีตดีดี บางทีก็ทำให้เศร้า

หมู่นี้เขียนเล่าเรื่องอดีตถี่มาก อย่างในชุด "เพื่อนเก่าในกระปุก"
ทำให้ได้ทบทวนเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในชีวิตหลายแง่มุม

กับเพื่อนเก่า ๆ นั้นก็มีทั้งสุข ทุกข์ ร่วมกัน
มี รัก ชอบ ชัง กันตามประสาชาวโลก
บางเรื่องกับบางคน ก็จดจำขึ้นใจไม่รู้ลืม
แต่บางเรื่องบางครั้งกับบางคน ก็เลอะเลือนไปหมดแล้ว


เหมือนเพลงของวงประสานเสียงหญิง คณะอะไรหว่า...
เอ่อ...จำได้แล้ว พริกไทย... The Hot Peppers
เขาดังมาก เมื่อประมาณ...เราจบออกมาทำงานใหม่ ๆ ก็คงช่วงปี ๒๕๒๒ เป็นต้นมา
มี “ปราจีน ทรงเผ่า”(2489-2548) เป็นโพรดิวเซอร์
ซื่อเพลง "อยากลืมกลับจำ"
จำเนื้อร้องได้กระท่อนกระแท่นว่า..

"...บางสิ่งที่ผ่านไปเรากลับลืม...บางสิ่งที่อยากลืมเรากลับจำ
...คนเรานี้ คิดให้ดี ก็น่าขำ อยากจำกลับลืม อยากลืมเรากลับจำ"


เอ...วันนี้คิดถึงเพื่อนเก่า หรือว่า คิดถึงแฟนเก่า กันละเนี่ยะ....อิอิ
เขียนทิ้งไว้แค่นี้แหละ (เดี๋ยว เมียมาแอบอ่านเจอเข้า...เดี๋ยวเราจะยุ่ง)
ใครอยากให้เล่าเรื่อง "คนรักเก่า" ก็ยกมือขึ้น...สูง ๆ คร้บ...สองมือเลย
(อ้าว...อย่ายกเท้าด้วยซีครับ...คุณ..เฉลียงหน้าบ้าน เสียด้วยน่ะ...สองเท้าเลยรึ..อิอิ)



ไปฟังเพลงลูกทุ่งเพลงนี้กันดีกว่านะครับ เราชอบมาก
ถ้าคนเขียนเนื้อร้องเพลงนี้ อยู่ใกล้ ๆ ละก็ ...ขอกราบงาม ๆ สักเตื่อก็ยังได้
ลองคลิกลิ้งค์ไปฟัง...ก็แถว ๆ บ้านบล็อกแก๊งของเรานี่แหละครับท่าน
(เพราะทำแบบ ยกเครื่องเสียงมาไว้ในบล็อกกับเขาไม่เป็น
เห็นใครทำ ๆ กันง่าย ๆ อยู่ ก็เอ็นดู มาสอนกันบ้างเด้อ)

ดี เจ เสียงหล่อลงหริ่ง จัดให้
(คุณหน้าเขียวนะยะ กับ
แม่น้องธัย
คนเมืองเหนือ ช่วยอธิบายด้วยนะครับว่า
"หล่อลงหริ่ง" น่ะ มันดิ่งม๊อกใดเจ้า)



"ถึงแม้ไม่แคร์แล้ว"


อดีตดีดี บางทีก็ลืมไม่ได้
เพราะใจบางใคร มีไว้สำหรับรักเดียว
ถูกทิ้งตั้งนาน บอกว่าจบกันหลายเที่ยว
ใจก็ยังเทียว...คิดถึง จนต้องรบกวน

เธออาจลืมไป ว่าเคยทิ้งใครไว้บ้าง
รักในรายทาง มีล้น จนเหนื่อยทบทวน
บอกรักบอกลา หลายคน จนนับไม่ถ้วน
เมื่อฉันรบกวน บางครั้งอาจมองว่า...ใคร


ขอเข้าไปทัก ได้ไหมว้นใดพบหน้า
ยามเหงาเข้าตา ขอสิทธิ์โทรมาถามไถ่
ไม่รั้งไม่รอ เพียงขอ ต่อลมหายใจ
ช่วยคนที่ลืมไม่ได้ รอดตายจาก...ความคิดถึง


อดีตดีดี บางทีก็ทำให้เศร้า
รอยหวานวันเก่า ป่วนใจไม่หยุดคะนึง
ถ้าเห็นแวะมา วานว่าอย่าทำหน้าบึ้ง
ทักทายน้อยหนึ่ง .....ถึงแม้ไม่แคร์..กัน...แล้ว





ที่มา: Pantip Music Station
เพลง: ถึงแม้ไม่แคร์แล้ว
อัลบั๊ม: ค่อย ๆ ปล่อยมือ
ศิลปิน: ฝน ธนสุนทร
คำร้อง/ทำนอง: ไม่ระบุ (น่าจะลงชื่อ ให้เครดิตผู้แต่ง)





posted by a_somjai on January 10, 2006 @ 05.49 am




 

Create Date : 10 มกราคม 2549    
Last Update : 10 มกราคม 2549 8:43:19 น.
Counter : 757 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.