<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

Teen bloggers & non-bloggers (003/03)

posted by a_somjai on 4 November 2005 @ 6:35 am. | Teen bloggers & non-bloggers | Teen content Creators and Consumers |

รายงานการวิจัยของ Pew Internet & American Life Project (PPF)
เรื่องTeen content Creators and Consumers โดยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ [11/2/2005 | Report | Amanda Lenhart, Mary Madden]
อ่านแล้วน่าสนใจ เพราะฉันคิดว่าเป็นการค้นพบที่อาจใช้เป็นเครื่องชี้ทางสำหรับการทำความเข้าใจ Blogoshere ของเมืองไทยเราได้ดีมากที่เดียว

Lenhart และ Madden โบรยหัวรายงานว่า More than half of online teens have created content for internet; and most teen dowloaders think that getting free music files is easy to do.

ต่อไปนี้เป็นผลจากการจับเนื้อใหญ่ใจความจากภาษาอังกฤษ งุ ๆ ปลา ๆ ของฉัน นำมาบันทึกไว้ดังนี้

  • ทุกวันนี้วัยรุ่นอเมริกันเป็นผุ้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างการสร้างสรรค์และแซร์สื่อที่พวกเขาสร้างขึ้นมากันแล้ว
ครึ่งหนึ่งของวัยรุ่นชาวเน็ตเท่ากับ57% ของวัยรุ่นที่ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นนักสร้างสรรค์เนื้อหา (Content Creators) พวกเขาได้สร้างสรรค์ blog หรือ webpage, posted original artwork, photography, stories or videos online หรือ remixed online content ไปสู่งานสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ของพวกเขาเอง

  • วัยรุ่นเหล่านี้เป็นผู้ตื่นเต็มด้วยความสนใจและบันดาลใจ ในฐานะนักเขียนและนักอ่าน blogs มากเสียยิ่งกว่าพวกผู้ใหญ่ที่เข้าไปออนไลน์เสียอีก จากรายงานว่าเป็นวัยรุ่นเพศหญิงเสียส่วนมาก โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำ(กลุ่มคนแถวหน้าที่เล่นเน็ต)ของ Teen bloggers นั้นเป็นพวกที่จัดตามกลุ่มอายุเป็น older girls
    เดี๋ยว ๆ เดี๋ยวก่อน กลุ่มเด็กผู้หญิงแก่กว่า...ตามรายงานการศึกษานี้หมายถึงใคร อายุเท่าไหรล่ะ ขอกั๊กไว้ก่อน (แต่ท่าจะจริงของเขาแฮะ เพราะบ้านเราก็คงเหมือนกันแหละ ใครว่าง ๆ ก็ลองสำรวจพวกบล็อกเกอร์กลุ่มแกนนำ สมาชิก Bloggang ให้หน่อยเดะ) ตอนนี้รู้เพียงว่า พวกหล่อน(เด็กอเมริกัน)เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่เป็นผู้มีและใช้เทคโนโลยี่(อย่างใช้บริการคอนเทนต์บนอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ กล้องดิจิตอล และมีคอมพิวเตอร์ใช้ออนไลน์ที่บ้านตนเอง ที่สำคัญเป็นผู้ใช้เน็ตมากที่สุดและเก่งที่ีสุดในบ้านอีกด้วย) คือเป็นคนพัฒนาตนเองให้อยู่ร่วมสมัยไม่มีตกรุ่น ก็แล้วกัน แล้วอีกอย่างพวกเธอเป็นนักเล่นเน็ดชนิดออกนอกหน้าหรือแสดงออกว่าตนเป็นชาวเน็ตชั้นแนวหน้าอยู่ในบุคลิกภาพเสมอทุกที่ทุกเวลา (ความจริงจะใช้ว่า พวกเวอร์เน็ต ก็ได้แต่กล้วคนอ่านจะชังน้ำหน้าเอา...อิอิ)

    ไปดูข้อมูลเนื้อ ๆ กันดีกว่า
    Summary of Findings

มากกว่าครึ่งของ online teens เป็นผู้สร้างคอนเทนต์สำหรับอินเตอร์เน็ต โดยจำนวนครึ่งหนึ่งของวัยรุ่นออนไลน์อายุระหว่าง 12-17 ปี หรือเท่ากับ (เยาวชนอเมริกัน 12 ล้านคนนั้นเอง หากใช้อัตราครึ่งหนึ่งนี้เป็นฐานคำนวนประชากรบ้านเราแล้วก็คงประมาณ...)
  • นักสร้างสรรค์เนื้อหาเหล่านี้ (Content Creators) รายงานว่า ตนได้ทำกิจกรรมหนึ่งอย่าง หรือ ได้ทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง ดังต่อไปนี้: สร้างสรรค์blog; สร้างสรรค์หรือทำงานบนเวปไชต์ส่วนบุคคล (personal webpage); สร้างสรรค์หรือทำงานบนหน้าเวปของโรงเรียน, ของเพื่อน, หรือของกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงาน; ร่วมใช้/แลกเปลี่ยนต้นฉบับเนื้อหา อย่างเช่น artwork, รูปภาพ, เรื่องราว, หรือ วิดีโอออนไลน์, หรือรีมิกซ์เนื้อหาที่พบบนออนไลน์ไปสู้การสร้างสรรค์ใหม่.

กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นที่นิยมทำกันมากที่สุดคือ sharing self-authored content และทำงานบนเวปเพจส์เพื่อคนอื่น ๆ
  • 33% ของวัยโจ๋ออนไลน์ share งานสร้างสรรค์ออนไลน์ของพวกตน อย่างเช่น artwork, photos, stories, or videos.
32% บอกว่า ตนได้สร้างสรรค์หรือทำงานบน webpages หรือ blogs เพื่อคนอื่น ๆ รวมทั้งสร้างสรรค์หรือทำงานเช่นนี้เพื่อกลุ่มที่ตนสังกัดอยู่อย่างเช่นงานที่กลุ่มเพื่อนและ/หรือโรงเรียนมอบหมายให้รับผิดชอบ
  • 22% รายงานว่า มีwebpageที่ยังดูแลอยุ่เป็นของตนเอง
    • 19% ได้สร้างสรรค์นิตยสารออนไลน์หรือบล็อกของตนเอง (Their own online journal or blog)
      • ประมาณ 1 ใน 5 ของวัยรุ่นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (19%) คุยว่าพวกเขา remix content ที่ตนพบเห็นบนออนไลน์ไปสู่กรสร้างสรรค์งานศิลป์ของตน (Their own artistic creations)

        อยากรู้เรื่องนี้ต่อไหม? ลองช่วยกัน comment และหรือ เล่าประสบการณ์ที่รู้เห็นเรื่องนี้ในหมู่ชาวบล็อก Thai bloggers เพื่อการ share ความรู้ออนไลน์กันบ้างนะครับ (เขียนเอง อ่านเอง บางทีมันก็เหงาเหมือนกันนะอะ)

        คราวหน้าจะมาบอกว่า "ในหมู่วัยโจ๋ออนไลน์ชาวอเมริกันนั้น 19% เป็นเจ้าของblogหรือเขียนบล็อกแน่ ๆ แต่อัตราวัยรุ่นออนไลน์ที่อ่านบล็อกมีถึง 38% ของพวกเขา" แล้วอีก 43%ของวัยรุ่นเล่นเน็ท เขาไปทำอะไรบนโลกออนไลน์? (ส่วนใหญ่ก็ติดเล่นเกมส์ออนไลน์เหมือนบ้านเราละซิท่่า)




         

        Create Date : 04 พฤศจิกายน 2548    
        Last Update : 4 พฤศจิกายน 2548 14:47:06 น.
        Counter : 612 Pageviews.  

Burma Blogs Blocked

วันนี้เ้ข้าไปอ่าน blog ของเว็ปไชต์ OpenNet Initiative (ONI)* พบเรื่องที่น่าสนในใจ เขาโพสต์ไว้เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ปี ๒๕๔๘ ว่าผลจากโครงการเฝ้าดูและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการควบคุม การจำกัดและกลั่นกรองการใช้ข้อมูลข่าวสารของสังคมภูมิภาคต่าง ๆ ในโลก ได้มีรายงานกรณีศึกษาออกมาฉบับหนึ่ง ชื่อ "Internet Filtering in Burma in 2005" ทำให้ได้ข้อคิดเปรียบเทียบกับ blogosphere ของชาวเน็ดคนไทยเรามากทีเดียว


NationMaster.com

เมื่อเข้าไปอ่านดูข้อสรุปจากรายงานฉบับเต็มของInternet Flitering in Burma in 2005: A Coutry Study ฉันก็ไม่แปลกใจอะไร เมื่อพบว่า พม่า เพื่อนบ้านด้านตะวันตกของไทยเรา หรือ เดี๋ยวนี้เรียกชื่อว่า เมียนม่าร์ (Burma = Myanmar) เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้เริ่มมีการจำกัดการใช้อินเทอร์เน็ตโดยการควบคุมดูแลการออนไลน์ของพลเมืองตนอย่างเข้มงวด ในระดับขั้นที่เรียกได้ว่าเป็น "สังคมเผด็จการออนไลน์" มากที่สุดในโลกทีเดียว

เพราะนอกจากรัฐบาลพม่า โดย The State Peace and Development Council [SPDC] คือกลุ่ม เผด็จการหหารที่ปกครองพม่าอยู่ต่อเนื่องกันมานานหลายสิบปีจนถึงขณะนี้ จะควบคุมสิ่งแวดล้อมด้านข่าวสารที่จะเกี่ยวข้องกับชีวิตของพลเมืองตนแล้ว ปัจจุบันนี้พวกผู้ปกครองยังสยายอำนาจไปถึงการควบคุม จำกัด กลั่นกรอง หรือถึงกับปิดกั้นช่องทาง ในการเข้าถึง websites, blogs, e-mail, and online discussion forums (การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นที่ชาวเน็ตสนใจ ในโลกออนไลน์ อย่างเช่น กิจกรรมในห้องกระทู้ต่าง ๆ ของ Pantip Online ของไทยเราเป็นต้น) ต่าง ๆ เหล่านี้ ชาวพม่าจึงเข้าถึงได้ยากกว่าชาวเน็ตอื่น ๆ ทั่วโลกที่เขาพากันเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้ในพริบตา เพียงแต่ถ่ายน้ำหนักแผ่วเบาลงที่ปลายนิ้วชี้ของตนเท่านั้นเอง


เวปไชต์ต้องห้ามเด็ดขาด หรือจะพูดว่าคนพม่าไม่มีโอกาสเข้าไปได้ (เพราะถูกระบบการกลั่นกรองทางเทคนิคของรัฐblocked - สกัดกั้นไว้) ก็คือ เวปไชต์ รวมทั้งบล็อก ของฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของ SPDC นั้นเอง นอกจากนี้แล้ว e-mail ของชาวเน็ตพม่า ยังถูกระบบการกลั่นกรองของรัฐทำการสกัดกั้นอย่างเข้มข้น อย่างเช่นถ้าชาวเน็ตคนพม่า่เขียนเมลส่งไปหาเพื่อน 100 หน้า รับรองได้ว่าอีเมลของเขาจะถูกระบบของทางการทดลองเพื่อการสกัดกั้นข่าวสารไว้ถึง 11 หน้า, ส่วน e-mail ที่ส่งเข้าออกผ่านผู้ให้บริการจะถูกกลั่นกรองในระดับสูงมีอัตราถึง 85% และe-mail จากไชต์ภาพโป๊ลามกจะถูกโยนทิ้งไปก่อนถึงมือผู้รับ 65% เป็นต้น

และ....ดังนั้นอัตราถึง 84% ของไซต์ที่ชาวเน็ตทั่วโลกท่องกันเป็นว่าเล่นนั้น มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย แม้แต่เพียงความฝัน...สำหรับชาวเน็ตในเขตควบคุมชุมชนออนไลน์ใต้อำนาจรัฐพม่า

บทสรุปเพื่อเป็นแง่คิดสำหรับวันนี้คือ "ไม่จริงหรอกที่เชื่อว่า...ชีวิตออนไลน์ไม่เกี่ยวก้บการเมือง?"



* ที่อยู่ของไซต์ OpenNet Initiative (ONI) คือ
//www.(dot)opennetinitiative.net/ ให้ลบ (dot) ทิ้งไป เพราะโปรแกรมจัดการไม่รับคำว่า opennet

posted by a_somjai 0n 2 November 2005 @ 5:35 pm.




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2548    
Last Update : 11 สิงหาคม 2549 6:58:29 น.
Counter : 766 Pageviews.  

Blog Quake Day


Today is Blog Quake Day. Do something. Give. Write. Post. Comment. Link. Give some more. Think. Do. Tag (“Blog Quake Day”). "I Asked for It: Blog Quake Day" [Spiamutiny.com] posted by anna on October 26, 2005 03:54 AM

ธรณีพิบัติ "สึนามิ" TSUNAMI
ภัยพิบัติจากเหตุพายุหลายลูกถล่มสหรัฐ ฯ
ภัยพิบัติจากเหตุแผ่นดินไหวในปากีสถานและอินเดีย
ทำให้มีการระดมความช่วยเหลือจากคนทั่วทุกมุมโลก ชาวบล็อกเกอร์ อินเตอร์เนท และ/หรือคนในสังคมออนไลน์ แสดงบทบาทต่อเรื่องนี้อย่างไร?

เรื่องที่บันทึกไว้วันนี้คือ ปรากฏการณ์ที่แสดงถึงพัฒนาการของ Blogosphere ที่เรียกว่า Weblog, blog, หรือ ชาว bloggers ทั่วโลกกำลังแสดงพลังออกมาให้เห็น และ ทำให้เชื่อได้ว่า การสื่อสารผ่านบล็อกออนไลน์จะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของชาวโลก ในระดับปัจเจกบุคคลต่อบุคคลให้เข้าถึงเครือข่ายซึ่งกันได้ โดยสะดวกรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัด เป็นการปฏิวัติการสื่อสารของมนุษย์ยกขึ้นไปสู่อีกระดับหนึ่ง

อ่านเครือข่ายชาวบล็อกที่บันทึกปรากฏการณ์นี้เพิ่มเติมได้ใน It’s Blog Quake Day! posted by Neha Viswanathan [Global Voices Online]


posted by A_Somjai on 28 October 2005 @ Am 4:15 / Blog Quake Day





 

Create Date : 28 ตุลาคม 2548    
Last Update : 31 ตุลาคม 2548 10:45:34 น.
Counter : 802 Pageviews.  

Blog พูดด้วยภาพ (004)

แนวโน้มของผู้คนออนไลน์ที่ติดต่อกันผ่านชุมชนออนไลน์ (Online Community) ไม่ว่าจะเฉพาะถิ่น เฉพาะภูมิภาค เฉพาะกล่ม เฉพาะการใช้ภาษาหรือไม่มีขอบเขตจำกัดจากทั่วทุกมุมโลก จะแบ่งแยกและดึงดูดกันเองไปตามเนื้อหาของชุมชนนั้น ๆ
กล่าวคือจะตั้งอยู่บนพื้นฐานแรงจูงใจด้าน "ความสนใจ ในเรื่องเดียวกัน เป็นหลัก"


ภาพและเสียงดนตรี เป็นสื่อและสาร ที่หลุดออกจากขอบเขตของข้อจำกัดด้าน "ภาษาพูดและเขียนของมนุษย์และสังคมมนุษย์" (เพราะถ้าเราไม่รู้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ก็ไม่อาจสื่อสาร กับกลุ่มคนในสังคมออนไลน์นั้นได้ หากจะทดทอบก็ลองเข้าไปในเวปไซต์ของสังคมต่างภาษาที่ตนเองไม่รู้ภาษาเขาดูก็ได้)

ต่อไปนี้คือ ตัวอย่าง สังคมออนไล หรือ Blog ที่สื่อสารกันได้ด้วยความสนใจร่วมกันของสมาชิก เป็นชุมชนคนรักถ่ายภาพที่มารวมกํนเป็น personal network พวกเขาสื่อวัฒนธรรมภาพที่มองเห็นได้ที่ใช้เป็นหลักเพื่อการสื่อสารกัน (นอกเหนือจากภาษาอังกฤษและภาษาเทคนิคการเล่นอินเตอร์เน็ตขั้นพื้นฐานแล้ว) จุดสนใจคือ "ภาพ..เฉพาะส่วน...ขาและเท้า"

ขอทดลองนำเสนอโดย เก็บมาจาก Flickr: Silk legs and feet ข้อมูลใน personal profile ของเจ้าของบล็อกนั้น ได้แนะนำตัวเองไว้ ดังนี้
metrovoyeur / Stork Derek
I try to capture the common street women in my photos. I analyze what they wear, what they are doing and how they feel. Some of my comments read like little stories dedicated to the natural beauty of the every day woman that goes to work, study, play, shop and eat.

Make sure you visit my 2 constantly updated illustrated weblogs here:
High Heels Illustrated Blog
and
Street Candid Women Illustraed Blog

I'm Male, 33 and Taken.

The Metropolitan Voyeur
San Jose, Costa Rica

ตัวอย่างผลงานที่สื่อด้วยภาพ...ของ metrovoyeur


ภาพถ่ายของคนคอเดียวกัน...ในชุมชนกล่มสนใจ Flickr: Silk legs and feet มีต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น





posted by a_somjai on 24 October 2005 @ 7:00 I ref-file: ฉันออนไลน์ 004 I




 

Create Date : 24 ตุลาคม 2548    
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2548 12:08:16 น.
Counter : 641 Pageviews.  

ฉันอ่าน ฉันเขียน ในหมู่บ้าน Weblog (003/02)

“Every reader is a writer, every writer is a reader." – JAY ROSEN '

"Most students, as with many people, are passive participants on the Internet. They read, but they don't write for the Web.” (Joe) kairosnews

จริงหรือไม่?
ในชุมชนออนไลน์ คนอ่านทุกคนเป็นผู้เขียน คนเขียนทุกคนเป็นคนอ่าน

จริงกว่าหรือไม่?
ผู้ใช้ Internet จำนวนมากหรือผู้เข้าร่วมในชุมชนออนไลน์ มักเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบเป็นฝ่ายรับสารมากกว่าเป็นผู้ผลิตสาร หรืออาจพูดว่าคนส่วนมากเข้าสู่ชุมชนออนไลน์เพื่อ “บริโภคสาร” เท่านั้น นั่นหมายถึงมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะ “ผลิตสาร” เพื่อสื่อสารกับคนอื่น ๆ คือมีคนอ่านมากกว่าคนเขียน มีคนเขียนน้อยกว่าคนอ่าน นั้นเอง

ถาม: แต่ในชุมชนออนไลน์ คนอ่านทุกคนเป็นผู้เขียน คนเขียนทุกคนเป็นคนอ่าน ไม่ใช่หรือ?
ตอบ: แม้คนอ่านจะมีการผลิตสารขึ้นมาบ้าง ก็เป็นเพียงการแสดงออกในกระบวนการตอบสนอง “สารที่ผู้อื่น คือ คนออนไลน์ฝ่ายข้างน้อย เป็นผู้ผลิตมันขึ้นมา” เท่านั้น

ขยายความ:
ในกรณีชุมชนออนไลน์ ของบ้านเรา/คนใช้ภาษาไทย เท่าที่ฉันผู้เขียนบทความนี้ที่เพิ่งเข้ามาออนไลน์ได้เพียงเดือนครึ่ง พอจะจับข้อสังเกตได้ พบว่า… ในกรอบคอมเมนต์ของบล็อกส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้
“ประโยคสื่อสารของคนออนไลน์ในกระบวนการตอบสนองสารของเจ้าบล็อกเจ้าบ้าน (blog/host)” มักจะเป็นว่า …ใช่ หรือ ไม่ใช่, เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย, ในรูปประโยคสั้น ๆ หรือสื่อด้วยภาพหรือด้วยเสียง ในลักษณะจัดวางชิ้นงานหนึ่ง ๆ หรือหลาย ๆ ชิ้นงานไว้ แต่ไม่ได้สื่อถึงฐานชี้บ่งความประสงค์ที่ชัดเจนของผู้ส่งสารออกมาอย่างมั่นคง ว่า “นี่คืองานผลิตภัณฑ์ของฉันตอบสนองหรือต่อยอดจากการเสพอ่านชิ้นงานของเธอ-เจ้าบล็อกเจ้าบ้าน”
ยกตัวอย่างออนไลน์บ้านเรา
การมีส่วนร่วมของฉันใด ๆ ในชุมชนออนไลน์(ของคนใช้ภาษาไทย) เมื่อฉันนั้น ๆ แสดงตนเป็น “ผู้บริโภคสารเท่านั้น” ที่ปรากฏเห็น comment ทั่วไปใน weblog ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ …
…’หวัดดี ..สวัสดี มาเยี่ยมแล้วนะ, อืมย์… เพิ่งตื่น… ต้องรีบไปทำงาน… มีเวลาจะกลับมาอ่าน …หายหน้าไปนาน กลับมาอัพบล็อกแล้วซิ…ไม่ได้อ่านเหมือนขาดอะไรไป … คงจะได้อ่านเสียที.. …หุหุ ตามมา ได้ความรู้ดี.. ก็ดี.. วิชาการจังเลย …เข้ามาฟังเพลง.. เพราะดี …มาดูรูป สวยมาก น่ารักจังเลย … คิดถึงจัง …ผ่านเข้ามา… ฯลฯ เป็นต้น หรือบางครั้งคอมเมนต์ของแขกผู้มาเยือน ก็เป็น “กล่องแห่งความเงียบ” คือว่างเปล่าปลอดตัวอักษร ภาพ เสียง หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ก็มีให้เห็นอยู่ไม่น้อย (การทิ้งร่องรอยไว้ให้เจ้าบล็อกเจ้าบ้านรู้ว่า คนเก่าที่ฉันรู้จัก หรือคนแปลกหน้า ได้เข้ามาเยี่ยม เช่นนี้ จะต่างจาก สายลมบาง ๆ ที่ผ่านเข้าออกบ้านเราอย่างไร้ร่องรอย ประการใดนั้น เป็นเรื่องที่น่าคิดต่อว่าเจ้าของบ้านเจ้าของบล็อกคิดยังไงได้เหมือนกัน)

คำถามที่ตามมาก็คือ
1. ปรากฏการณ์ดังว่านี้ และปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่พบเห็นจับต้องได้ สามารถบอกเราได้หรือไม่ว่า “ทำไม? ฉันและพวกฉันส่วนมาก ที่เข้ามาออนไลน์ในชุมชนนั้น ๆ จึงแสดงออกในการสื่อสารระหว่างกันเช่นนั้น
2. เป็นไปได้หรือไม่ หากได้คำตอบจากคำถามข้อ 1. แล้ว จะทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจตัวตนและวิถีวัฒนธรรมออนไลน์ของผู้คนเหล่านั้นได้?
3. เป็นไปได้หรือไม่ ที่คำตอบที่ได้จากข้อ 1. และข้อ 2. จะบอกถึงตัวตนและวิถีวัฒนธรรมสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงของผู้คนเหล่านั้น?
4. หากได้คำตอบจากการตั้งคำถามของข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3. จากการสำรวจศึกษา ชุมชนออนไลน์ ทุกแห่งหนหรือชุมชนออนไลน์กลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือก (เอาเฉพาะ ชุมชนweblog ของคนใช้ภาษาไทย) เราจะรู้จักคนไทยออนไลน์ กับ คนไทยในชีวิตจริง ได้หรือไม่? และอย่างไร?

ถาม: แล้วจะไปรู้เรื่องเข้าใจยาก และลงมือทำจริง ๆ ก็ยิ่งยากไปใหญ่ ดังว่ามานี้ ไปทำไมกันเล่า?ตอบ: เพราะอนาคตอันใกล้นี้ สังคมออนไลน์ของเมืองไทย จะเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไปพร้อม ๆ กับสังคมอื่นทั่วโลก ความรู้เรื่องนี้ก็คือความรู้ทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมของคนไทย ทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่ต่างประเทศ อันย่อมจะเป็นไปในอนาคต
ถาม: คิดอย่างนี้ มีหลักฐานอะไรอ้างอิง? ตอบ: ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงจำนวนผู้ใช้ Internet บนคอมพิวเตอร์ บนโทรศัพท์มือถือ หรือผู้เข้าสู่สังคมออนไลน์ ทุกรูปแบบในปัจจุบันนี้ก็ได้ เอาแค่ว่า… ลองนึกดู…ทุกวันนี้ หรืออนาคตอันใกล้นี้.. เด็กนักเรียนไทยทุกคนต้องใช้ Internet เป็น (เป็นแค่ไหน อย่างไร ก็อีกเรื่องหนึ่ง) เด็กเหล่านี้นับเป็น “ฉันในสังคมออนไลน์” ได้ตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียน(อนุบาล) จนถึงนักศึกษา …แล้วเมื่อเขาเหล่านี้จบจากระบบโรงเรียนออกมา บางคนอาจทำงานอยู่บ้าน ทำงานนอกบ้านทุกประเภททุกระดับชั้น… แม้แต่คนออกโรงเรียนไปทำนาทำไร่ (บางคนที่มีโอกาสใช้ หรือ ขวนขวายที่จะใช้ก็ต้องออนไลน์ เพราะเขาเคยใช้และยังใช้เป็นอีกด้วย อย่างคนทุกวันนี้ติดโทรศัพท์มือถือเป็นต้น) แล้วสังคมไทยในอนาคตก็คือสังคมของพวกเขา ไม่ใช่หรือ?

ถาม: แล้วเจ้าบ้านจะปิดบล็อกวันนี้ ยังไงดีล่ะ?
ตอบ:

... แม้คุณเพียง…สายลมที่พัดผ่าน
…ฉันยังคง…เบิกบาน…อ่าน..คิด..เขียน.


posted 01/10/2005

Ref-files : My Weblog : ฉันออนไลน์ (003)
*******
อ่านรายงานเพิ่มเติม


  1. Pew Internet Reports: The Internet and Daily Life: Many Americans use the Internet in everyday activities, but traditional offline habits still dominate
    8/11/2004 | Report | Deborah Fallows

    The vast majority of online Americans say the Internet plays a role in their daily routines and that the rhythm of their everyday lives would be affected if they could no longer go online. Yet, despite its great popularity and allure, the Internet still plays second fiddle to old-fashioned habits. Fully 88% of online Americans say the Internet plays a role in their daily routines. Of those, one-third say it plays a major role, and two-thirds say it plays a minor role. The activities they identified as most significant are communicating with family and friends and finding a wealth of information at their fingertips. And 64% of Internet users say their daily routines and activities would be affected if they could no longer use the Internet.

    Still, while nearly all Internet users go online to conduct some of their ordinary day-to-day activities online, most still default to the traditional offline ways of communicating, transacting affairs, getting information and entertaining themselves. For instance, they are more likely to do these things offline than online: get news, play games, pay bills, send cards, look up phone numbers and addresses, buy tickets, check sports scores, listen to music, schedule appointments, and communicate with friends.


Pew Internet Reports: The State of Blogging
1/2/2005 | Memo | Lee Rainie

By the end of 2004 blogs had established themselves as a key part of online culture. Two surveys by the Pew Internet & American Life Project in November established new contours for the blogosphere: 8 million American adults say they have created blogs; blog readership jumped 58% in 2004 and now stands at 27% of internet users; 5% of internet users say they use RSS aggregators or XML readers to get the news and other information delivered from blogs and content-rich Web sites as it is posted online; and 12% of internet users have posted comments or other material on blogs. Still, 62% of internet users do not know what a blog is.





 

Create Date : 01 ตุลาคม 2548    
Last Update : 14 ตุลาคม 2548 11:01:47 น.
Counter : 680 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.