<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

"เมื่อเล่นบล็อกต้องจ่ายสตางค์” คุณมีความเห็นว่าอย่างไร?




สองสามวันก่อนพูดเรื่อง การมีการใช้เครือข่ายบนอินเตอร์เน็ตโดยเสมอภาคกันในด้านความเร็ว (Speed) โดยไม่ถูกแทรกแทรงแบ่งแยกเลือกปฏิบัติให้บริการแบบพิเศษแก่บางเครือข่าย แต่กลับปล่อยให้บางเครือข่ายได้รับสิทธิแบบธรรมดา จากบริษัทให้บริการ broadband คือ กลุ่ม The telecommunications industry หรือ The cable and phone companies ได้แก่ บรรษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง AT&T ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

ขณะนี้การต่อสู้กันอยู่ระหว่างฝ่ายได้ประโยชน์และฝ่ายเสียประโยชน์ผ่านประเด็นทางกฎหมายอันจะส่งผลชี้ขาดอนาคตของผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตนั้น รู้จักกันในชื่อว่า "network neutrality" หรือ “Net neutrality” (เขียนไว้ ที่นี่ และ ที่นี่)

เรื่องที่จะนำมาคุยกันวันนี้ เป็นเรื่องการเลือกสนับสนุนแบบพิเศษแก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบางรายเหมือนกัน แต่ไม่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวข้างต้น เพราะไม่ใช่เรื่องการสนับสนุนให้เล่นด้วยความเร็วแบบพิเศษในการเข้าถึงเข้าใช้เครือข่ายหรือเวปไซต์

แต่เป็นเรื่องการให้บริการพิเศษบางประการแก่ “สมาชิกผู้ใช้ที่จ่ายเงินค่าบริการพิเศษแก่ทาง Server ที่ให้บริการเครือข่ายหรือไวปไซต์ในลักษณะชุมชนออนไลน์แบบต่าง ๆ” เช่น การเพิ่มขนาดช่องเก็บข้อมูล/จดหมายอีเลคโทรนิคของผู้ให้บริการอีเมลต่าง ๆ จากสมาชิกใช้ฟรีได้ 2 MB. เพิ่มขึ้นเป็น 10 MB. สำหรับสมาชิกที่จ่ายเงินค่าบริการ, และบริการพิเศษเพิ่มช่อง/หน่วยเก็บข้อมูลแก่สมาชิกที่ยอมจ่ายเงินให้เวปไซต์/เวปบล็อกสำหรับภาพถ่ายและเสียงดนตรี เป็นต้น นอกจากนี้ก็เป็นเรื่องการเพิ่มบริการพิเศษแบบ “ลูกเล่น” ในการใช้-การมี …..…ซึ่งผู้เขียน(เจ้าของ)บล็อกนี้รู้ว่ามีอยู่แต่ไม่ค่อยสันทัดเท่าใด ก็เลยจะขอข้ามไป …ส่วนท่านใดจะนำความรู้มาสนทนากันในส่วนของคอมเมนต์ก็คงเป็นสิ่งที่ดีมากเลยครับ

โดยส่วนตัวแล้ว…ที่พอจะนำมาเล่าสู่กันบ้างก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสำรวจบล็อก…การเล่นบล็อกในชุมชนอินเตอร์เน็ต(ภาษา)ไทยเรา ที่มีการเพิ่มสมาชิกพิเศษประเภทชำระเงิน …ขอยกตัวอย่างมาไว้ดังนี้

DiaryClub; สมาชิกแบบฟรีไดอารี่ จะมีพื้นที่เขียน 10 MB เมื่อพื้นที่เต็ม สมาขิกมี 2 ทางเลือกกระทำ คือ
  • สั่ง Order CD Diary เพื่อเก็บข้อมูลไดอารี่ไว้กับตัวเอง จากนั้นให้ทางเว็บลบข้อมูลออกจากเว็บ เพื่อเคลียร์พื้นที่
  • ชำระเงินเดือนละ 50 บาท เพื่อขอเพิ่มพื้นที่เป็น 40 MB


เขาแสดงข้อเปรียบเทียบการใช้งาน Function ระหว่าง Free Diary และ premium member (PM)ดังนี้

- พื้นที่ในการเขียนไดอารี่; Free Diary ·10 MB | PM ·40 MB
- จำนวนรูปที่ใส่ในไดอารี่ 1 หน้า; Free Diary ·3 รูป Resize | PM ·10 รูป Un resize
- กล่องข้อความหลังได; Free Diary ·รับข้อความได้อย่างเดียว | PM ·รับ / ส่ง ได้
- Lock Diary แบบใส่ Password; Free Diary ·X | PM ·/
- Theme Diary; Free Diary ·BasicTheme | PM ·ออกแบบ Theme เองได้ & Share Theme ได้
- ระบบ Comment; Free Diary ·เปิด / ปิด คอมเม้นท์ | PM ·ให้เฉพาะสมาชิกคอมเม้นท์ ·เปิด / ปิด คอมเม้นท์ ·ไม่แสดงคอมเม้นท์ในหน้าไดอารี่
- ลบคอมเม้นท์; Free Diary ·ทุก 1 เดือน | PM ·ไม่มีการลบคอมเม้นท์
- Icons; Free Diary ·2 Icons | PM ·4 Icons
- CD Diary; Free Diary · 250 บาท | PM ·ฟรี (หากจ่ายเงินล่วงหน้า 1 ปี)

ที่มา: //editor.diaryclub.com (ต้นฉบับแสดงเป็นตาราง...แต่จขบ.ไม่รู้วิธีคัดลอกมาแสดง)



สุดท้ายวันนี้ มีสิ่งที่อยากนำมาเสนอ แต่ก็ทำไม่ได้ คือ สารแสดงความในใจเรื่อง…สาเหตุของการขอเก็บเงินจากสมาชิกของ…เจ้าของ exteen.com ซึ่งจำได้ว่าเคยอ่านผ่านมาแล้วเมื่อสักเดือนสองเดือนมานี้ แต่ขณะเขียนบล็อกวันนี้ก็เข้าไปหยิบมาไม่ได้เพราะว่า ….ไซต์เขา…. "ขออภัยกำลังสำรองข้อมูล และปรับปรุงระบบ งดให้บริการชั่วคราวขออภัยในความไม่สะดวก”

หากใครสนใจ แล้วอยู่ว่าง ๆ ก็ลองเข้าไปหาอ่านดูละกันครับ …เพราะเป็นเรื่องน่าสนใจมาก สำหรับคนเล่นบล็อก คนทำไซต์บริการเล่นบล็อก น่าเห็นใจเขาเหมือนกัน.

อ้อ...เข้ามาเยี่ยมกันวันนี้แล้ว ก็ช่วยบอกกันมาหน่อยนะครับว่า…
“เมื่อเล่นบล็อกต้องจ่ายสตางค์” คุณมีความเห็นว่าอย่างไร?
ถ้าคิดไม่ออกก็สมมติว่า พันทิพ / บล็อกแก๊ง เขาจะเก็บเงินเราแล้ว ดูซิว่าเราคิดเห็นว่ายังไงกันบ้าง???????






Posted by a_somjai | June 15, 2006 |
Tags: Thai Website, : Thai Weblog, Thai blogs,


ของแถม: ใครที่เขียนบล็อกเป็นภาษาอังกฤษ หรือ ว่าเขียนสองภาษา ไทย-อังกฤษ สนใจส่งบล็อกตนเองหรือของคนอื่นเข้าประกวดในงาน Asia Blog Awards: Q1 2006- 2007 ก็ตามลิงค์ไปดูได้นะครับ หรือตรงไป Best Thai Blog ได้แลย




 

Create Date : 15 มิถุนายน 2549    
Last Update : 15 มิถุนายน 2549 10:52:15 น.
Counter : 535 Pageviews.  

อนาคตของสิทธิขั้นพื้นฐานในความเท่าเทียมกันบนอินเตอร์เน็ต?



updated 2008-04-17

Save the Internet!





เมื่อสองวันก่อนนี้ ได้คุยกันเรื่องว่าอีกไม่นาน
“ใครอยากเข้าเว็ปไซต์หรือเล่นบล็อกได้สะดวกรวดเร็ว ต้องเสียเงิน?”

ความจริงประเด็นสำคัญเป็นเรื่อง การรักษาสิทธิของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตให้ปลอดภัยจากการกอบโกยผลประโยชน์โดยพวกกุมอำนาจทุนในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ (The telecommunications industry ) เรื่องนี้เกิดที่สหรัฐอเมริกาประเทศผู้มีอิทธิพลสูงต่อวงการอินเตอร์เน็ตของโลก จนมีคนใช้อินเตอร์เน็ตชาวอเมริกันจำนวนมาก ต้องออกมาร่วมมือกันทำการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของการมีการใช้อินเตอร์เน็ต - Save the Internet ให้ได้สิทธิคงไว้ซึ่งการมีการใช้เครือข่ายบนอินเตอร์เน็ตอย่างเท่าเทียมกัน

วิธีการสำคัญก็คือต่อสู้เพื่อปิดช่องทางไม่ให้เกิดการสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการใช้งานเครือข่าย - network neutrality หรือ Net Neutrality เพราะหากว่าปล่อยให้เจ้าของผู้ให้บริการเทคโนโลยี broadband ที่แข่งขันกันอยู่ในตลาดสามารถแบ่งประเภทการให้บริการเวปไซต์ต่าง ๆ ออกเป็นหลายประเภทตามความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลตามอัตราความเร็วเป็น กลุ่มเวปไซต์ที่มีการใช้การส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูง ความเร็วกลาง และความเร็วต่ำ เป็นต้นแล้ว ความเท่าเทียมในการเล่นเวปไซต์ของประชากรผู้ใช้อินเตอร์เน็ตระดับรากหญ้าก็จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

การต่อสู้กันระหว่าง กลุ่มผู้ได้เสียจากการมีการใช้อินเตอร์เน็ตทุกฝ่าย กับ กลุ่มนายทุนบรรษัทโทรคมนาคม กำลังเป็นไปอย่างเข็มข้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน (ดูที่ไซต์ SavetheInternet.com ) กลุ่มกองกำลังผสมหรือพันธมิตรฝ่ายผู้ใช้อินเตอร์น็ทมีข้อตกลงร่วมกันในระดับรากหญ้าจากองค์กรต่าง ๆ, ประชากร, จากนักธุรกิจ, และจากชาวบล็อกเกอร์ bloggers

พวกเขาต่างลุกขึ้นมาร่วมมือกันเพื่อปกป้องอิสรภาพในการมีการใช้อินเตอร์เน็ต (to protect Internet freedom) …ล่าสุดกลุ่มผู้มีผู้ใช้ผู้เล่นเพลง-ดนตรีออนไลน์ก็ออกมาเคลื่อนไหวแล้ว (อ่านเรื่อง SavetheInternet Musicians Release Exclusive Song โพสต์เมื่อวาน - 13 มิถุนายน นี้เอง)

ผลกระทบต่ออิสรภาพในการมีการใช้อินเตอร์เน็ตต่อชาวโลกในกรณีของการเปิดให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมทำการแบ่งแยก กีดกัน การมี-ใช้-เข้าถึงข่าวสารข้อมูลในอินเตอร์เน็ดดังกล่าวนี้ อ่านได้จาก How does this threat to Internet freedom affect you?


พูดกันให้เข้าใจสั้น ๆ ง่าย ๆ (ไม่รู้ว่าจะง่ายหรือเปล่า) คือว่าเป็นการต่อสู้ทางกฎหมาย (บนเวทีการเมือง ผ่านรัฐสภา ….บ้านเขาเมื่อมีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์สาธารณะทุกฝ่ายจะเล่นกันในกติกาครับ) ระหว่างฝ่ายได้ประโยชน์และฝ่ายเสียประโยชน์

ในเวลานี้ …ข่าวรายงานว่าสภา Congress (สภาผู้แทนราษฎร/สภาล่าง)ได้พิจารณาชี้ชะตาอนาคตของอินเตอร์เน็ต โดยการ vote ไม่รับรอง... Net neutrality rules ไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ผ่านมานี้เรียบร้อยแล้ว …ผลก็คือการเปิดช่องเอื้อต่อกลุ่มทุนเทคโนโลยีฯ ผู้ให้บริการ broadband providers สามารถเก็บเงิน/ภาษีค่าบริการพิเศษจากเครือข่าย เช่น Netscape, Google, Amazon.com, และ eBay เป็นต้นได้นั้นเอง


อย่างไรก็ดี…ความหวังของฝ่ายผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจึงเหลืออยู่ที่การสนับสนุนจากทางสภาสูง – Senate เท่านั้น….

เมื่อเรื่องนี้สิ้นสุดลง... ผลสุดท้ายจะเป็นการตัดสินว่า … "อินเตอร์เน็ตจะยังคงสถานะต้นไม้ใหญ่ยืนต้นแห่งเทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าใหม่ ๆ, เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีไว้ใช้สำหรับการสื่อสารบนวิถีทางประชาธิปไตย มีอยู่เป็นอยู่คู่กับชาวโลกต่อไป,

"หรือว่า อินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นสมบัติของพวกบริษัทเคเบิ้ลและโทรศัพท์ (the property of cable and phone companies) ที่จะสามารถกำหนดกฏเกณฑ์เพื่อหยิบฉวยเอาประโยชย์จากช่องทางควบคุมการปิด-เปิดประตูเข้าออกสู่เส้นทางการส่งถ่ายข้อมูลที่เรียกว่า the information superhighway”

พูดสั้นที่สุดได้ว่า “เรื่องนี้เป็น…เรื่องนโยบายสาธารณะที่สำคัญมากต่อชาวโลก”

อธิบายสั้นที่สุดได้ว่า “หัวใจของการถกเถียงกันเพื่อหาข้อยุติในเรื่องนี้ ก็คือ คำว่า "network neutrality" หรือ Net neutrality อันหมายถึง การมีการใช้เนื้อหาทุกประเภทบนอินเตอร์เน็ดได้อย่างเท่าเทียมกันในการเคลื่อนย้ายระหว่างเครือข่ายด้วยอัตราความเร็วเหมือนกัน …ไม่มีการแบ่งแยก กีดกัน ควบคุม, ไม่มีการเลือกปฏิบัติด้านอำนวยความสะดวกแบบพิเศษแก่บางเครือข่าย แต่กลับปล่อยให้บางเครือข่ายได้รับสิทธิแบบธรรมดา” (โดยข้ออ้างของเงื่อนไขด้านการลงทุนสูง หรือ มีผลประโยชน์บางอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง)

เรื่องนี้ พวกเราชาวไทย และประชากรผู้เล่นเน็ตชาวไทย หลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว
สำหรับเราเอง…ขอบอกว่า… "เมื่ออิสรภาพในการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตถูกจำกัด ได้รับความขัดข้อง ถูกแบ่งแยก กีดกัน หรือถูกคุกคามจากกลุ่มผู้กุมอำนาจผ่านทุนเทคโนโลยีและความรู้ที่ก้าวหน้า ...ส่งผลมาถึงตัวเราเองเมื่อไรแล้ว....ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร…พวกเราย่อมต้องได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน”

และผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือคนด้อยโอกาสในสังคมนั้นเอง

เฮ้อ… ทุกวันนี้ผู้ด้อยโอกาส (ก็จะใครเสียอีกหละ…ก็พวกคนยากจน…และลูกหลานของพวกเขานั้นแหละ) ก็แทบจะไม่มีโอกาสเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อยู่แล้ว …ในวันข้างหน้าเมื่อโอกาสมาถึงมือบ้างแล้ว…พวกเขาและเครือข่ายของพวกเขาก็ยังต้องถูกแบ่งแยก กีดกันเสียอีก ….อย่างนี้แล้วความหวังที่ว่า “อินเตอร์เน็ตจะเป็นยานวิเศษนำมนุษย์/พลโลกทุกคนเข้าถึงอิสรภาพในการแสดงออกซึ่งการพูด การคิด การเขียน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร …ระหว่างกันอย่างไร้ขีดจำกัด ก็ไม่อาจเป็นความจริงขึ้นมาได้เสียแล้ว"

เรื่องนี้หนักนะ…พอแค่นี้ก่อนละกัน
วันหน้าจะกลับมาพูดถึงเรื่องที่คนเล่นเน็ตชาวไทยโดยเฉพาะกลุ่มเล่นเวป เล่นบล็อกเห็นว่าใกล้ตัว
ด้วยคำถามต่อ bloggers ว่า ......
“เมื่อเล่นบล็อกต้องจ่ายสตางค์” คุณมีความเห็นว่าอย่างไร?



Posted by a_somjai | June 14, 2006 |
Tags: Save the Internet, Net Neutrality




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2549    
Last Update : 17 เมษายน 2551 13:57:43 น.
Counter : 928 Pageviews.  

Net Neutrality : อีกไม่นาน… “ใครอยากเข้าเว็ปไซต์หรือเล่นบล็อกได้สะดวกรวดเร็ว ต้องเสียเงิน?”

12 มิถุนายน 2549
วันนี้วันจันทร์เบา ๆ ที่อยู่ในช่วงฉลองงานสำคัญของชาติเราคืองานสมโภชพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงครองราชครบ ๖๐ ปี กับอีกเป็นช่วงเทศกาลการแข่งขันกีฬาสำคัญของชาวโลกคือ FIFA WORLDCUP 2006

คนไทยจำนวนมากจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานทั้งสองนี้มาก จนมีเวลาให้กับกิจกรรมอื่น ๆ น้อยลง หรือต้องละจากงานการและการเล่นอื่น ๆ ไปก็มาก แม้ในชุมชน bloggang.com นี้ก็มีโพสต์เรื่องหนัก ๆ น้อย และมีคนเข้ามาโพสต์เรื่องราวลงบล็อกในแต่ละวันมีไม่มาก (คงเป็นเพราะว่าในช่วงวันจันทร์-อังคารที่ 11 – 12 นี้ ส่วนหนึ่งคือประชากรชาวเน็ตในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ที่เล่นคอมพ์ในที่ทำงานต้องหยุดเล่น ด้วยทางการกำหนดให้เป็นวันหยุดทำงาน เนื่องจากการจัดงานเฉลิมฉลอง ฯ และอีกอย่างพวกดูแข่งบอลโลกรอบแรกคืนละ 3 คู่คงมีอยู่เป็นจำนวนมากทั้งชายและหญิง ต้องอดตาหลับขับตานอนจึงไม่มีเรี่ยวแรงมาเขียนบล็อก)

ส่วนเรามีเรื่องอยากเล่าสู่กันฟังมาตังแต่ต้นปีแล้ว แต่ก็อะนะ… เรื่องมันค่อนข้างเกี่ยวข้องกับความซับซ้อนทางเทคโนโลยีดิจิตอล ความซับซ้อนทางกฎหมาย ความซับซ้อนทางการค้าธุรกิจของบรรษัทข้ามชาติ และก็แต่ว่ามันเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับพวกเรา—ประชากรผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

เรื่องมันจึงพูด(เล่า/เขียน)ยาก…กลัวตนเองเข้าใจผิด…หรือไม่รู้จริง ...ก็เลยชักเข้าชักออกมาหลายหนแล้ว

เอาเป็นว่า…วันนี้จะเขียนเล่าไว้ในกลุ่มย่อย ชีวิตในโลกออนไลน์ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอันใดที่สงสัยกันก็ตามลิงค์ไปอ่านกันเอาเองก็แล้วกันนะครับ




ในฐานะชาวเน็ตผู้เล่นบล็อกที่บล็อกแก๊งด๊อตคอม
ขอเริ่มอย่างนี้…

(1) หลายเดือนมานี้จำนวนสมาชิกชุมชนบล็อกแก๊งได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วมากกว่าเท่าตัว (สังเกตดูว่ากลางปีที่แล้ว มีสมาชิกเปิดบล็อก 1 หมื่น 2 พันราย มาถึงต้นเดือนมิถุนายน 2549 นี้ สมาชิกบล็อกแก๊งมีถึง 2 หมื่น ห้าพันรายขึ้นไปแล้ว)

สิ่งที่สมาชิกเก่าทุกคนประสบเข้ากับตนเองก็คือ …การเล่นเน็ต/บล็อกในลักษณะ..เข้าออกหน้าบล็อกของตนเองและเพื่อน ๆ ชาวบล็อกทำได้ช้าลง…อืด…ดาวน์โหลด…อัพโหลด…นานนาที…จนน่าเบื่อหน่าย ….โดยเฉพาะการจัดการสร้าง แก้ไข…การเขียนบล็อก (blogging) บางครั้งก็เข้าไม่ได้ หรือต้องรอคิวแล้วพยายามเข้าใหม่หลายครั้ง (ที่เห็นชัดเจนคือวันทำงานที่มีคนเล่นมากในช่วงหลังเที่ยงไปจนถึงห้าโมงเย็นเป็นต้น)

นั้นคือโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การเข้าใช้บล็อกใด ๆ นั้น ก็ย่อมมีปัญหาอย่างเดียวกันนั้นเหมือน ๆ กันหมด

แต่ที่ไม่เท่ากันคือ…บล็อกของเราหรือบล็อกของเพื่อน ๆ ที่มีลูกเล่นมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น…ปริมาณภาพและเสียงที่โพสต์ข้อมูลใส่เข้าไปไว้ในบล็อก ยิ่งมีมากและซับซ้อนเพียงใด …เวลาเข้าไปใช้งาน/จัดการบล็อกหรือเพียงเปิดเข้าไปอ่านและ/หรือว่าเขียนคอมเมนต์เท่านั้น ก็จะเกิดเรื่องที่มีปัญหาการเข้าถึงบล็อกมากยิ่งขึ้น (นอกจากการเข้าดูเข้าใช้แล้ว ถ้าหากคอมพ์ของเราสมรรถนะต่ำ และ/หรือว่าเล่นเน็ตผ่านระบบถ่ายโอนข้อมูลความเร็วต่ำ ก็ยิ่งแย่…ถึงขนาดระบบปฏิบัติการ/วินโดว์ล้มไปเลย…ก็มีขึ้นออกบ่อย)

2. พักข้อแรกไว้…แล้วกลับไปดูที่บริการ “ฟังเพลงออนไลน์ Pantip Music Station” ของพันทิพบ้าง สองสามเดือนมานี้มีประกาศแปะไว้ว่า “เนื่องด้วยทางบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ประสงค์จะเปลี่ยนนโยบายการอนุญาตเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงผ่านสื่อเว็บไซต์ โดยจากเดิมที่อนุญาตให้เว็บไซต์พันธมิตรต่างๆ ให้บริการฟังหรือชม เพลง Music Video และ/หรือ Karaokae ได้ฟรี แบบเต็มเพลง จะเปลี่ยนให้การฟังเพลงได้ฟรีมีความยาวไม่เกินเพลงละ 60 วินาทีจากเริ่มต้นเพลง หรือเปลี่ยนระบบเป็นการให้บริการฟังเพลงออนไลน์แบบเก็บเงิน User รายเดือน ซึ่งจะมีผลการให้อนุญาตตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2549”

สรุปก็คือ …หากคุณคนเล่นบริการบันเทิงออนไลน์ (ก็บนโลกดิจิตอล หรือ ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์…อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือด้วยนั้นแหละ)… คุณประสงค์จะใช้บริการ “เพลงของเรา...ออนไลน์” ได้เต็ม ๆ ดี ๆ …สะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ…. คุณต้องจ่ายเงินให้เราเจ้าของลิขสิทธิหรือผู้ให้บริการเพลงออนไลน์เสียก่อน.... ใช่เปล่า?…

แล้ง งะ?

3. แล้วกลับไปที่ข้อ 1. ใหม่… สมมติว่า…ในอนาคต

ข้อย้ำว่า…สมมติว่า…ในอนาคต… (หมายถึงสิ่งที่จะกล่าวถึงนี้ ยังไม่เกิดขึ้นจริง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นจริงก็ได้ในอนาคต…อันใกล้…หรือ อันไกลโพ้น….ไม่มีใครรู้)

เรื่องสมมติดังจะกล่าวถึงนี้….มันว่าอย่างนี้ครับ….. ทางเจ้าของผู้ให้บริการเวปไซต์เพื่อการเล่นบล็อก…หรือชุมชนเวปบล็อกใด ๆ (ดังตัวอย่างที่ยกมาในข้อ 1. อันเป็นปัญหาจริงในการใช้งาน…การเข้าถึงบล็อกได้ช้าและมีอุปสรรค ก็คือชุมชนบล็อกแก๊งของชาวเรา)

(3.1) มีนโยบาย …ทำนองเดียวกับเรื่องบริการใช้/เข้าถึงเพลงออนในข้อ 2. …คือให้ทุกคนใช้/เข้าถึงบล็อกได้ฟรีอย่างเก่าอยู่แหละ …

(3.2) แต่หากว่าใครสมัครใจจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้ทางเจ้าของเวปไซต์ผู้ให้บริการเล่นบล็อกแล้วละก็ …ท่านก็จะได้รับบริการพิเศษคือให้เจ้าของบล็อกและรวมทั้ง visitors ผู้เข้าเยี่ยมชม มาใช้ มาอ่าน มาแสดงความคิดเห็นในบล็อกของคุณ….แอ่นแอน…ได้ใช้เวปบล็อกของคุณเจ้าของบล็อกซึ่งจะถูกเรียกว่าสมาชิกประเภทเสียเงินค่าบำรุง/การใช้บริการ…ได้สะดวกเร็วกว่า…มีอุปสรรคการใช้/การเข้าถึงบล็อกของคุณสมาชิกพิเศษเหล่านั้นได้รวดเร็วทันใจและมีคุณภาพมากกว่าบล็อกของสมาชิกประเภทเล่นฟรีแบบเดิม ๆ

จบเรื่องสมมติ ….(ท่านใดได้อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะคิดอะไรต่อไปหรือไม่คิดอะไรต่อ… ก็คงไม่แปลกแตกต่างกันดอกครับ… แต่ท่านที่ไม่อยากคิดอะไรต่อไปให้ปวดกบาล ก็หยุดอ่านเสียแต่ตรงนี้ก็ได้ครับ)




4. ต่อไปนี้เป็นเรื่องจริง… ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในประเทศที่มีอิทธิพลมากและสูงที่สุดต่อโลกอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะต่อผู้ใช้ ผู้ให้บริการ ผู้ผลิตงาน และบรรษัทเทคโนโลยีโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของโลก…. ในประเทศสหรัฐอเมริกา

นั้นคือ ความพยายาม(ของนายทุนเทคโนโลยี)ผลักดันกฎหมาย เพื่อเก็บเงินจากการใช้อินเตอร์เน็ต แบ่งตามประเภทของการมี-การใช้- การเข้าถึงเนื้อหา – Content เช่น เพลง ดนตรี ภาพถ่าย ภาพยนตร์ ……ข่าว ….ฯลฯ .และบล็อก

สรุปสั้น ๆ ก็คือ หากกฎหมายนี้ผ่านออกมาได้ … (ข่าวล่าว่า เมื่อ วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2549 กฎหมายนี้ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ..สภาล่าง – House ของประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วเสียด้วย) (แก้ไขเป็น ข่าวรายงานว่าสภา Congress (สภาผู้แทนราษฎร/สภาล่าง)ได้พิจารณาชี้ชะตาอนาคตของอินเตอร์เน็ต โดยการ vote ไม่รับรอง... Net neutrality rules ไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ผ่านมานี้เรียบร้อยแล้ว) …บรรษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง AT&T เป็นต้นก็จะเก็บเงินสำหรับเจ้าของเวปไซต์ที่ต้องการให้บริการเวปไซต์ของตนเองด้วยเทคโนโลยีถ่ายโอนข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง …ได้นั้นเอง

ผลกระทบต่อพวกเราผู้ใช้อินเตอร์เน็ต หรือคนเล่นเวป เล่นบล็อกนะเหรอ…. จะบอกให้.....
ชาวเน็ตก็จะไม่อาจเข้าไซต์ได้ทุกไซต์ได้ด้วยคุณภาพที่เท่าเทียมกันได้ดังที่เป็นกันอยู่นี้ได้อีกต่อไป …กล่าวคือบางไซต์ก็เข้าได้สะดวกรวดเร็ว…บางไซต์ก็เข้าได้ด้วยความเร็วธรรมดา

แล้วไง?

ก็…เวลาเข้าเวปโป๊ลามกเราก็เข้าถึงเข้าใช้ได้เร็วมาก …พอ ๆ กับเวลาเข้าเวปธุรกิจขายเพลง…ดนตรี…หนัง…ก็ทำได้สะดวก่รวดเร็วเช่นกัน เป็นต้น

แต่ว่า…ชาวเน็ทจะเข้าไปค้นเอกสารในห้องสมุดออนไลน์ หรือแม้แต่เว็ปไซต์ของร้านหนังสือเล็ก ๆ ก็จะเข้าถึงได้ด้วยความเร็วต่ำ ๆ ...อืด เฉื่อย ช้า...และเข้าถึงเข้าหาเข้าใช้ได้ยากกว่าเวปไซต์ที่จ่ายเงินซื้อบริการพิเศษ …หรือว่าหากเมื่อชาวเน็ตจะเข้าเวปไซต์ของคนธรรมดา ๆ สามัญก็ดีและเวปไซต์ที่ให้บริการ Content ด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคม ศาสนา และความรู้ท้องถิ่นก็ดี ท่านก็จะต้องประสบกับปัญหาเดิม ๆ

...คือทำได้ช้ากว่าเว็ปไซต์ทางด้านธุรกิจ หรือ เวปไซต์ทีมีเนื้อหาหวังผลกำไร....

เว้นแต่เจ้าของเวปไซต์ที่ไม่หวังผลกำไรบางราย …จะยอมจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการใช้เวปไซต์แบบส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงแก่บริษัทเจ้าพ่อ/เจ้าของบริการไฮเทคโนโลยีเล่านั้นเสียก่อน

เฮ้อ…แล้วเวปไซต์ที่ต้องเสียเงินค่าบริการเพื่ออำนวยการให้เกิดการมีการใช้เวปไซต์ของตนเองได้สะดวกรวดเร็ว อันพึงมีพึงได้จากความสะดวกจากเทคโนฯ บนอินเตอร์เน็ตเหล่านั้น ก็ย่อมจะต้องตามไปไล่เก็บเงินจาก “พวกเรา – ลูกค้า ผู้ใช้เว็ปไซต์” อยู่ดี ใช่เปล่า?

คาดกันได้ล่วงหน้าว่า....เขาย่อมเก็บเงินจากผู้ใช้ไวปไซต์….ไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม อย่างแน่นอน (ทางตรงก็เช่นเก็บค่าเป็นสมาชิกเวปไซต์ …ส่วนทางอ้อมก็เช่น บวกเพิ่มไปในราคาสินค้าบริการตรง ๆ หรือ บวกเข้าไปในการเพิ่มค่าโฆษณาสินค้าบนเวป เป็นต้น)

พวกเราคนเล่นเน็ต….ก็ต้องโดนล้วงกระเป๋าทั้งขึ้นทั้งล่องอยู่ดี

เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ ไม่แต่เป็นเรื่องใหญ่ด้านกฏหมายเท่านั้นนะ….ยังมีรายละเอียดที่ลึก ๆ อีกเยอะ เก็บเอาไว้เล่าต่อคราวหน้าละกัน

…หากใครสนใจจริง ๆ ก็ตามไปอ่านกระแสข่าวความเป็นมาและกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ ล่วงหน้าได้ก่อนที่เวปไซต์ SavetheInternet.com


Posted by a_somjai | June 12, 2006 |
Tag: Save the Internet, Net Neutrality




 

Create Date : 12 มิถุนายน 2549    
Last Update : 20 ตุลาคม 2549 10:44:53 น.
Counter : 934 Pageviews.  

การตื่นตัวของชาวบล็อกเกอร์ในอินโดนีเชีย

มีข่าวความเคลื่อนไหวของชาวบล็อกเกอร์ประเทศเพื่อนบ้านของเรา คือ อินโดนีเชีย จากเวปไซต์ Global Vices เรื่อง Indonesia is discussing about blog โพสต์โดย Enda Nasutionเมื่อ Monday, January 30th, 2006 @ 0:32 EST อ่านแล้วเห็นว่าน่าสนใจ จึงนำมาขยายต่อเผื่อวงการบล็อกเกอร์บ้านเราอาจได้แง่คิดตื่นตัวลุกขึ้นรณรงค์ให้มีการเล่นบล็อกขยายตัวออกไปสู่ประชาชนทุกระดับชั้นในบ้านเรา เพราะเวปบล็อกเป็นช่องทางของการแสดงออกในการสื่อสารความคิด ความรู้ ความเห็น ของปัจเจกพลเมืองได้อย่างอิสระ

แล้วการที่ bloggers ได้มาพบปะอภิปรายกันในสิ่งที่ทุกคนมีและที่รักชอบร่วมกันคือ การได้เล่น blogging ย่อมเป็นสิ่งที่ดี


Photos by Hericz

การประชุมอภิปรายกันของชาวบล็อกเกอร์อินโดนีเชียครั้งนี้ จัดขึ้นค่อนข้างเป็นทางการ โดยการชักนำและอุปถัมภ์รายการโดย Detikinet.com ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Detik.com ชุมชนข่าวออนไลน์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศนี้ นับถือกันว่าเป็นองค์กรที่มีความเชียวชาญพิเศษในด้าน technology, IT และ Internet news.

บล็อกเกอร์ที่ได้รับการคัดสรรและรับเชิญเข้าร่วมงานมีจำนวน 20 คน จากชาวบล็อกอินโดฯ ตามเวปต่าง ๆ ที่ประมาณว่ามีรวมกันทั่วประเทศ 10,000 คน ตัวแทนบล็อกเกอร์เหล่านี้มาจากชุมชนชาวบล็อกต่าง ๆ ได้แก่ Blogfam, Blogbugs, Loenpia, ID-Gmail, Merdeka และ Blog Indosiar

หัวข้อประเด็นหลักที่เขาคุยกันมีสอง main topics.
1. ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มจำนวนคนแล่นบล็อก อันจะนำไปสู่ …
2. การทำอย่างไรเราจึงจะได้เห็นบล็อกที่มีมาตรฐานสูงขึ้นในการโพสต์ และในแง่การแข่งขันกับสื่อกระแสหลัก (mainstream media)

จากนั้นความคิดต่าง ๆ ของผู้เข้าร่วมอภิปรายก็ถูกโยนเข้าไปบนโต๊ะประชุม หากสนใจก็ตามลิงค์เข้าไปอ่านดูได้นะครับ ที่จะหยิบเอาหัวเรื่องมาหยอดทิ้งท้ายไว้ให้นี้ก็ได้แก่แนวคิดการแนะนำ blogs ไปสู่กลุ่มคนในส่วนต่าง ๆ ที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยสัมผัสบล็อก การแนะนำให้คนเริ่มต้นเล่นบล็อก ผ่านช่องทางสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และสถานศึกษาระดับต่าง ๆ เป็นต้น

ใครมีความคิดเห็นยังไง สำหรับการรณรงค์การเล่นบล็อกในบ้านเรา ก็ลองออกความเห็นเพิ่มเติมมาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ





posted by a_somjai | January 31, 2006 at 08.49 am. | blog, blogs, blogger, blogers, blogoshere, Indonesian |




 

Create Date : 31 มกราคม 2549    
Last Update : 31 มกราคม 2549 10:21:55 น.
Counter : 676 Pageviews.  

ประเด็นร้อน: ไมโครซอฟต์ช่วยรัฐบาลจีนเซนเซอร์บล็อกของชาวจีน? (006/11)

Posted by A_Somjai | January 6, 2006 @ 02: 49 AM | Internet, censorship, media | China | Microsoft | blog, blogger | อินเทอร์เน็ต, เซนเซอร์, ควบคุม, สื่อ, สื่อมวลชน, จีน,


ก็อย่างที่เขียนไว้ในหัวข้อที่กำกับดัวย (006) ต่าง ๆ เกี่ยวกับบรรยากาศการเล่นอินเทอร์เน็ตเมืองจีนนั้น คงไม่เป็นเรื่องน่าแปลกใจอะไรหากว่าจะมีการกลั่นกรองควบคุมการเล่นเน็ตของชาวจีนโดยร้ฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ สำหรับชาวบล็อกเกอร์แล้วก็เป็นที่รู้กันว่ารัฐบาลจีนมักจะเซนเซอร์บล็อกเกอร์ คือกันคนเล่นโพสต์บนบล็อกที่รัฐไม่พึงปรารถนาออกไปจากโลกออนไลน์ที่ต้องผ่านอินเตอร์เน็ตภายใต้อำนาจควบคุมของตน หรือกีดกันกำจัด URLs ที่จะเข้าถึง blog sites เหล่านั้นเสียแต่ต้นทาง

แต่เชื่อไหม? ว่าธุรกิจเอกชนจากประเทศเสรีนิยม-ทุนนิยมการตลาด ยักษ์ใหญ่ "Microsoft" ก็กระโดดเข้าร่วมการเซนเซอร์หรือ block การเข้าถึง blog บางแห่งหรือของชาวบล็อกบางคน เพื่อสนองนโยบายร้ฐบาลจีนหรือว่าเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจที่ตนจะได้ร้บโอกาสจากรัฐบาลจีนก็ไม่ทราบ เรื่องนี้กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ในระดับโลกทีเดียวเชียว

Photoshop of the Day

//rconversation.blogs.com/rconversation/freedom_of_speech/index.html

การเซนเชอร์ของบริษัทเทคโนโลยีอเมริกันต่อ blog ภาษาจีน และ bloggers ชาวจีน ที่เขาทำกันอยู่ มีตัวอย่างเช่น กรณีของหนึ่งในบล็อกเกอร์นักหนังสือพิมพ์ชาวจีน ที่เขียนบล็อกในแนวการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องประเทศจีนค่อนข้างรุนแรง ผู้ใช้นามแฝงในโลกออนไลน์ว่า Anti (ความเป็นมาอ่าน "Good And Bad Things Happened To Mr. Anti" และ บทสัมภาษณ์อ่านที่นี่) พวกคนเหล่านี้จึงตกอยู่ในแบล็กลิสต์ของรัฐบาลจีน ตัว Anti เอง ถูกบีบให้ต้องย้ายที่เล่นบล็อก ที่เคยเล่นในเวปไซต์ของเมืองจีน ไปใช้พื้นที่บล็อกของบริษัทธุรกิจเทคโนโลยีอเมริกัน ด้วยเห็นว่าอยู่นอกอำนาจควบคุมของทางการจีน แต่แล้วก็กลับกลายเป็นว่า Michael Anti คิดผิด เหมือนหนีเสือไปปะแม่งูกินหาง แม่งูก็เลยพาไปกินน้ำบ่อโศก ก็โยกไปโยกมา กับยังต้องหวานอมขมกลืนกินน้ำบ่อทราย ก็เลยต้องย้ายไปย้ายมา เสียอีกด้วย เพราะถูกทางเวปไซต์ของชาวโลกเสรีมีทุนธุรกิจการตลาดเป็นเป้าหมายหลัก ทำการ Block หรือ เซนเซอร์ ไม่ให้คนเข้าถึงบล็อกของเขาได้ ลองเข้าไปบล็อกของ Anti ที่ //mranti.blogneo.com/ ดูก็แล้วกัน ฉันลองหลายหนแล้ว แต่ยังเข้าไม่ได้เลย

การกระทำของเวปไซต์บริษัทเทคโนโลยีชาติตะวันตกเช่นนี้ สงสัยกันว่าเป็นการยอมตามแนวทางขอรัฐบาลจีน เพื่อแลกกับผลประโยชน์อันบริษัทเหล่านี้พึงหวังว่าตนจะได้โกบโกยเอาจากประชากรจำนวนพันล้านคนในเมืองจีนได้สะดวก โดยปราศจากการขัดขวางจากรัฐบาลจีนนั้นเอง

เมื่อ Michael Anti และเพื่อน ๆ ช่วยกันส่งอีเมลบอกเนื้อความคับแค้นใจที่ตนประสพอยู่นี้ป่าวขยายออกไปทั่วโลก เรื่องที่ดูเหมือนไม่เป็นเรื่อง ก็จึงเป็นเรื่องขึ้นมา มีปฏิกิริยาต่อต้านจากชาวบล็อกอย่างกว้างขวางทั่วโลก แม้แต่ชาวบล็อกเกอร์บางคนที่เป็นลูกจ้างของ MSN อย่าง Robert Scoble ได้ส่งข้อความไปยังพวกดูแล MSN space ว่า "Guys over at MSN: sorry, I don’t agree with your being used as a state-run thug." และ Robert Scoble ได้ลงข้อความให้บล็อกเกอร์ชาวจีนผู้อาภัพรายนี้ มาเป็นแขกรับเชิญใช้พื้นที่บล็อกของเขา โพสต์ข้อความเห็นต่าง ๆ ลงได้ หากสนใจตามเข้าไปอ่านได้ที่ Scobleizer จะพบเนื้อหาที่ Robert Scoble และลูกจ้างคนอื่น ๆ ของ MSN ได้แสดงความไม่พอใจตอบโต้ผู้บริหารเวปไซต์ในกรณีนี้ ได้เจ็บแสบอย่างต่อเนื่อง (พวกเราเองก็ลองคิดดู เอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าเราโดนมั้งละก็...คงคับแค้นใจ น่าดูเหมือนกัน)

เรื่องอย่างนี้ คิดว่าคนเล่นบล็อกเมืองไทยก็ควรจะสนใจไว้บ้าง เพราะว่าจะได้เก็บไว้เตือนตน เตรียมตัวไว้ให้พร้อมเพื่อการต่อสู้ ปกป้องสิทธิการคิด การอ่าน การเขียน บนอินเทอร์เน็ตของเรา หากว่าวันหนึ่งรัฐ เอกชน หรือใครก็ตาม มาทำกับพวกเราเช่นนี้บ้าง

ดังที่ Rebecca McKinnon, ผู้ก่อตั้งเวปไซต์ Global Voices Online ทิ้งคำถามไว้ให้ได้คิดกันในทำนองว่า ก็หากว่าบริษัทเทคโนโลยีอเมริกันทำอย่างนี้กับคนจีนได้ ด้วยอ้างเหตุผลว่าเป็นกรณีประนีประนอมทางศีลธรรมให้โอนอ่อนผ่อนตามความต้องการ(ในกฎหมายเฉพาะถิ่น)ของรัฐบาลจีน แล้วละก็ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าพวกเขาจะไม่ทำอย่างเดียวกันนี้ กับพวกเราประชาชนในประเทศอื่น ๆ อีก? หรือว่า เขาทำกับเราไปแล้ว ก็ไม่รู้?

"If these American technology companies have so few moral qualms about giving in to Chinese government demands to hand over Chinese user data or censor Chinese people's content, can we be sure they won't do the same thing in response to potentially illegal demands by an over-zealous government agency in our own country? Can we trust that they're not already doing so?"


หากท่านใดสนใจว่า "ชาวโลกเขามีปฏิกิริยาตอบสนองเรื่องนี้อย่างไร? อยู่ในกระแสเวลานี้" ก็เข้าไปอ่านศูนย์กลางของกระแสได้ที่งานเขียนของ Rebecca McKinnon, ผู้ก่อตั้งเวปไซต์ Global Voices Online, ที่ RConversation //rconversation.blogs.com/ มีข่าวสารต่อเนื่องกว้างขวางไปสู่ประเด็นเสรีภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะอิสรภาพอีเล็คทรอนิคส์ (e-freedom) มาตรฐานจริยธรรมของบริษัทอินเทอร์เน็ต และปฏิกิริยาจากผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางครอบคลุม เช่น บล็อกเกอร์ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ และบล็อกเกอร์ชาวจีนในฮ่องกง

ตัวอย่างความก้าวหน้าต่อเนื่องของหัวข้อเรื่อง ได้แก่

1. Microsoft takes down Chinese blogger (January 03, 2006)
2. Why Microsoft censorship in China matters to everybody (January 05, 2006)
3. Freedom of speech (January 06, 2006)
4. Ethical Standards for Internet Companies (January 07, 2006)
5. Les Blogs: technology and democracy (December 07, 2005)

และ (Update) =>>>>>>>>>>>>>>
6. Chinese reactions to MSN Censorship (January 05, 2006), Chinese anti-MSN protest (January 06, 2006), Ethical Standards for Internet Companies (January 07, 2006), Microsoft obeyed Chinese law? Or was it just a political request? Should the difference matter? (January 10, 2006), Legislating e-freedom?? (January 11, 2006), Congressional hearings to be held on Net Censorship (January 12, 2006), Human Rights and Internet Censorship: A Global Problem (January 14, 2006), Public Media, Citizens' Media & the Internet (January 15, 2006)

ฯลฯ



ในงานเขียนของ Rebecca McKinnon จะโค๊ตข้อความของผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นไว้อย่างค่อนข้างทั่วถ้วน และยังทำลิงค์ไปถึงคนอื่น ๆ ที่พูดถึงเกี่ยวข้องก้ับประเด็นร้อน ๆ นี้ อย่างละเอียดยิบ รวมทั้งฝ่ายบริษัทเทคโนโลยีคู่กรณีด้วย

ก่อนหน้านี้ ยังมีบทความน่าสนใจ ในไซต์ Ethical Corporation ได้โค๊ตความเห็นของ John Palfey, director of Harvard Law School’s Berkman Center for the internet and Society ที่ตั้งคำถามไว้เกี่ยวกับเรื่อง ความถูกต้องของบริษัทเทคโนโลยี่ต่าง ๆ ของชาติตะวันตก อย่าง Microsoft, Google, Yahoo และ Cisco ที่กำลังเข้าไปยุ่งเกี่ยว(ในทางที่ผิด)กับการใช้ความรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์การแสดงออกผ่านโลกออนไลน์ของประชากร (ประเทศต่าง ๆ ) นอกจากนี้ยังมีความเห็นของนักคิดที่เฝ้าจับตามองโลกของอินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ ที่ออกมาถามหาความรับผิดชอบของบริษัทเหล่านั้น ต่อหน้าที่การเผยแผ่ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนแก่สังคมมนุษยชาติอีกด้วย ลิงค์ไปอ่าน //www.ethicalcorp.com/content.asp?ContentID=4040

และ เวปไซต์ Reporters Without Borders’ proposals เรื่อง Do Internet companies need to be regulated to ensure they respect free expression ? (6 January 2006)

อนึ่งเรื่องการเซนเซอร์นักเขียนบนอินเทอร์เน็ตชาวจีนนั้น ในบล็อกของฉันเคยเขียนไว้ใน เลือดข้นกว่าน้ำ ถ้อยคำด่ำลึกกว่าสายเลือด (006/06) เป็นต้น ในนั้นมีเรื่องของชาวจีน"ชื่อ Shi Tao เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจยิ่ง: Shi Tao เป็นนักวารสารศาสตร์ (นักหนังสือพิมพ์ journalist ) และเป็นกวี เขาถูกคำพิพากษาจำคุก ๑๐ ปี โทษฐานเผยแพร่ข่าวสารไปยังเวปไชต์โพ้นทะเล (disclosing news to overseas websites) เพราะว่าข่าวที่ Shi Tao เผยแพร่ออกไปก่อนถึงวันวาระครบรอบสิบห้าปีเหตุการณ์ล้อมปราบสังหารประชาชนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม" (ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์บล็อกตัวเอง ต้อนรับปีใหม่ 2006 เพื่อน ๆ คงไม่ว่ากัน)




เรื่องนี้คงยาว ต้องติดตามกันต่อไป.

(cc in : อิสรภาพอีเลคทรอนิคส์)
| freedom of speech | e-freedom| Internet censorship | American "Internet sector companies" | China | blog, blogger |





UPDATED: October 4, 2006 @ 2:35 AM

Council on Foreign Relations (report)

Media Censorship in China
Author: Carin Zissis, Staff Writer
September 25, 2006

"But in spite of a crackdown under Hu, China’s media is undergoing a process of commercialization, leading to growing competition, diversified content, and an increase in investigative reporting in Chinese news agencies. The government reports more than 2,000 newspapers, over 8,000 magazines, and some 374 television stations now exist in the country. China also has 111 million Internet users and, despite restrictions governing online content, both domestic and international stories that censors would prefer to control slip through the “Great Firewall of China.” Only state agencies can own media in China , but there is some creeping privatization as outlets subcontract administrative operations to the private sector. Northeast Asia media expert Ashley W. Esarey says it is also likely the Internet will play a role in Chinese media reform, because its “absolute control has proven difficult, if not impossible.” "

  • =>> Introduction

  • => What is the current media policy in China?

  • => How free is Chinese media?

  • => What are the primary censoring agencies in China?

  • =>> How does China exert media controls?

  • =>> How does China control the influence of foreign media?

  • =>> How do journalists get around media control measures?




  • UPDATED: October 23, 2006
    สถิติบล้อกเกอร์ในจีน และรัฐจีนต้องการให้ Blogger จดทะเบียน "ชื่อ/นามแฝง/นามปากกา" (แจ้งชื่อ/ที่อยู่/ตัวตนจริง เหมือนจดทะเบียนโทรศัพท์มือถือ) .... แต่ผู้เขี่ยวชาญในโลกเล่นเน็ตตัวจริงบอกว่า .... "It’s totally unrealistic.”

    Anonymity Ending in China Blogs?

    Proposed laws would require registration for Chinese bloggers—but can they be enforced?

    | The Business of Technology | October 20, 2006

    "On the heels of an announcement that Chinese mobile phone subscribers will be required to register using real names, an insider at China’s Ministry of Information Industries (MII) now says that upcoming regulations will require bloggers to register with real names and identification numbers.

    (...................................)

    “Many bloggers have told me that they’ll have many ways to escape from the regulation,” said Mr. Mao.

    “[The proposed regulation] wouldn’t solve the problem, and I think it would just drive Chinese bloggers to move their blogs to foreign-hosted sites,” said Mr. Fang.

    "Big Brother Can Still Watch You

    China now boasts over 17.5 million bloggers, producing nearly 34 million blogs. An estimated 75 million Chinese netizens—more than half the country’s estimated 130 million Internet users—are blog readers.

    Most of the sites—like blogs the world over—chronicle the banalities of young people: sick kitties, puppy love, carping about boring jobs, shopping. Only a handful of bloggers tend to tackle sensitive political issues, and they’re generally unwelcome on China’s domestic blog-hosting sites.

    Beijing has had little trouble tracking down cyber dissidents who have used what they thought were anonymous email accounts created with companies like Yahoo China, which has come under heavy fire for turning over user data to Chinese courts in the cases of three dissidents.

    “If they did manage to enforce this in any meaningful way, it would certainly put a damper on what people write on their blogs,” said Ms. MacKinnon. “But as it is, seriously anti-government content—particularly anything calling for action which gets any kind of significant traffic—is taken down by domestic blog-hosting services anyway.”

    Blog service providers “must police the blogs they host in order to keep their licenses,” she said.

    “In the end, they’ll do it,” said Mr. Mao. “They’ll issue regulations, but they won’t really be able to deploy them. It’s totally unrealistic.”
    "






     

    Create Date : 06 มกราคม 2549    
    Last Update : 23 ตุลาคม 2549 2:27:49 น.
    Counter : 1372 Pageviews.  

    1  2  3  4  5  6  7  8  9  

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.