<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
เรื่องเหาเหา <พักฟังลำ “อุ้ยตาย!...ผัวข้อย...มีเหา”>

เรื่องเกี่ยวข้อง: “SAPA LI HAOW” (คำเตือน: เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่ควรเข้ามาชมโดยลำพัง)


ช่วงนี้กำลังรวบรวมแห่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เกี่ยวกับ LAO STUDY - ลาวศึกษา ให้ครอบคลุมหลาย ๆ ด้านทั้งทางล้านนา อีสาน และล้านช้างทางเมืองลาว รวมไปถึงเรื่องของไทใหญ่ ไต ไทลื้อทางรัฐฉานของประเทศพม่าและคนไทคนลื้นคนลาวจากดินแดนสิบสองปันนาในเขตจีนตอนใต้ด้วย ก็เป็นภาพใหญ่ที่รวบรวมมาจากทั่วโลกแหละ (ยกเว้นภาษาที่เราไม่รู้ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาเวียตนาม ภาษาเขมร และภาษาพม่า เป็นต้น) ดังที่เห็นเป็นกลุ่มอยู่ด้านซ้ายของหน้า a_somjai’s blog นั้นแหละ (โปรดสังเกต …ขอบอก..อิอิ)

LAO STUDY - ลาวศึกษา ก็เลยขอพักเรื่องลึก ๆ หนัก ๆ ไว้ก่อน
มื้อนี้ ก็เลยขออนุญาต…บ่เว้าหลาย
หากใครอยู่วาง ๆ บ่รู้จะทำอะไร ก็เลยชวนไปหาเหากันดีกว่า
(5 5 5 5 5)


ปะ..ตำอิด หัวที ทีแรก* นี้ เฮาไปฟังลำกันถ้อน*…พี่น้อง




เพลง: ผัวมีเหา
ร้องโดย: มาลาพอนพิกุน (มาลา พรพิกุล)
แต่งโดย: (ภาพไม่ชัด อ่านไม่ออก)


From: nofixedaddress Added: July 03, 2006
About This Video: Poua Mee Haow, Maarapone pigoune
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=7VQ-uFu6oHQ

คำร้องเพลง ผัวมีเหา
(ถอดจากอักษรวิ่งพาสาลาว)

อุ้ยตายผัวข้อยมีเหา (ๆ)
แม่นไป*ติดเอานำผู้ใด๋*มา
ทุกวันคือเห็นเจ้าสระหัว*อยู่นี่หนา มามีเหาได้
อุ้ยเป็นตาหน่าย*ผู้ชายมีเหา

แต่ก่อนกะยังบ่มี (ๆ)
ตกมาเดี๋ยวนี้ หยัง*มามีเหา
เฮ็ดให้ข้อยอุกอั่งเอ้า*
เจ้าไปติดเหาอยู่ใส*มาอ้าย
บอกมาไว ๆ อย่าได้ปิดบัง

หรือว่ายังหาหม้น*
ซน*ไปบ่เลือกที่ ไปหานอนบ่อนนั้นบ่อนนี้* หนีหน้าแต่ละวัน
บางวันไป...จนแจ้ง* แฮงบ่มี กลับมาฮอดบ่อน*
ได้แต่นอนอ่อนอยู่แอ้แล้*..แอ้แล้ โอ้ย แอ้แล้ แอ้แล้
แท้นอ เจ้าอี่พ่อผัว*

ในเมื่อ หัวผัว มีเหา (ๆ)
จำเป็นแล้วเฮานี้ต้องได้ฆ่า*
บ่จ่ง*มันไว้เลยหนา จับหน้อย*มันมาแผ่ผาย*ไปได้
กำจัดทั้งไข่เหาใหญ่เหาน้อย

ขืนปล่อยมันเอาไว้ ต้องอันตรายเอาไว้บ่อยู่
ซาติว่าคนนิสัยเจ้าชู้ ชูไว้อยู่ซู่แจ*
ข้อยซิแถ..แถหัว*ของเจ้า คันยังบ่เซา*มีเหาอยู่อ้าย
แถออกไปแถเลยเดียวนี้ บ่ให้เหาเหลืออยู่ดี๋ดี๋*
บ่ให้ผัวมี โอยเหาได้ โอยเหาได้.






หมายเหตุของ a_somjai

*ตำอิด (ลาว) ตำแหน่ง+แรก หรือ ตำครั้งแรก มาจากคำสองคำว่า; ตำ ที่หมายถึง ชน สะดุด อย่างเว้าลาวว่า รถตำกัน ย่าง(เดิน)ตำกัน หัวตำกัน เป็นต้น อีกความหมายหนึ่งที่ใช้พูดกันบ่อยและเข้าใจกันดีในหมู่ชนไทย-ลาว คือ ตำที่หมายว่า ทิ่มตำ ทิ่มแทง หรือการใช้สากหรือของอื่นที่คล้ายคลึงกับสากทิ่มลงไปเรื่อย ๆ เช่น ตำแจ่ว ตำน้ำพริก ตำสัมตำปักหุ่ง นั้นแล้ว

เมื่อคนลาวอีสานเว้าว่า ตำอิดตำก่อ เพื่อบอกเล่าหรือชี้แจงต้นสายปลายเหตุที่มาของเรื่องราวนั้น วลีนี้นอกจากแสดงอาการตำ ทิ่ม แทง ชี้หมายไว้แล้ว ยังมีต้นต่อมาจากคำลาวอีกสองคำ คือคำว่า อิด กับ ก่อ; ก่อ หมายว่า ต้นเหตุ ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ, ส่วนคำว่า อิด ในความหมายว่าครั้งแรก ต้นต่อ ลำดับแรกนี้ น่าจะมาจากคำเดิมว่า เอ็ด (อีกความหมายหนึ่งแปลว่า อ่อนล้า ว่า อิดอ่อน)

เพราะว่า เอ็ด เป็นคำเรียกลำดับตัวเลข ๑ ที่อยู่ท้ายเลขจำนวนข้างหน้าที่หารด้วยสิบลงตัว เช่น 21 อ่านว่าซาวเอ็ดหรือยี่สิบเอ็ด = 20+1 , 101 อ่านว่า ร้อยเอ็ด = 100+1 หรืออย่างเรื่องเล่าอาหรับราตรีใน หนังสือ นิทาน 1001 ทิวา หรือ 1001 ราตรี อ่านว่า นิทานพันเอ็ดทิวา นิทานพันเอ็ดราตรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคำเรียกเลขหนิ่งอยู่ในภาษลาวภาษาไทยอีกคำหนึ่งคือคำว่า อ้าย "อ้าย" ใช้เมื่อเป็นจำนวนนับอันดับที่ ๑ เช่นเรียกพี่ชายคนแรกว่าอ้าย, เดือนแรกว่าเดือนอ้าย (ดังนั้น อ้ายจึงเป็นคำเรียกเชิงให้เกียรติยกย่องพี่ชายหรือเมื่อเอ่ยถึงบุรุษที่สามเพศชายที่มีอายุมากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอายุของใครอีกคนหนึ่งแล้ว อนึ่งคนชนบทในภาคเหนือไทย/ล้านนายังคงใช้ อ้าย เรียกขาน ทักท้าย หรือนำหน้าชื่อของผู้ชายโดยทั่วไป ที่ไม่ใช่ผู้เฒ่าผู้แก่ เหมือนกับคนเว้าคำลาวในปัจจุบันอีกด้วย)

ดังนั้นจึงอาจคิดเอาได้ว่า ตำอิดตำก่อ ที่ถูกน่าจะมาจากคำเดิมว่า ตำเอ็ดตำก่อ ที่พากย์ไทยได้ว่า แรกเริ่มเดิมที นั้นเอง

และอีกประการหนึ่งน่าสังเกตว่า เอ็ดและอ้าย ของภาษาลาว-ภาษาไทย คล้ายกับคำว่า อิก หรือ อิด เรียกเลขหนึ่งในภาษาจีนแต้จ๋ว หรือออกเสียงว่า อญี่ yi ในภาษาจีนกลาง ดังชื่อนิยายกำลังภายในบทประพันธ์ของโก้วเล้งเรื่องหนึ่งตั้งชื่อตามพระเอกว่า “เซียวจับอิดนึ้ง” แปลตรงตัวว่า “บุรุษที่สิบเอ็ดแซ่เซียว” พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยชื่อ จับอิดนึ้ง และเห็นมีสร้างเป็นหนังจีนฉายทางทีวีและมีเป็นวีดีโอชื่อ จอมโจร จอมยุทธ์ เซียวจับอิดนึ้ง

[updated: 200-01-03 พบคำว่า "ทำอิด" ในพาสาลาวแล้ว (เสียง ท กับ ต นั้น ออกเสียงแทนกันได้ เช่นล้านนาเชียงใหม่ ทังหลาย ว่า ตังหลาย, ทุ่ง ท่ง หรือ โท่ง ออกเสียงว่า โต้ง เป็นต้น อีกอย่างคำว่า ตำ กับ ทำ นั้นก็มาจาก "กระทำ การ ...อะไรสักอย่าง" เหมือน ๆ กัน)

ที่เว็บไซต์ ธนาคารพงสะหวัน ซึ่งเป็นธนาคารพานิชย์ (เอกชน) แห่งแรกของ ส.ป.ป. ลาว ที่ //www.phongsavanhbank.com/index_la.php ท่านจะอ่านข้อความภาษาลาวได้จะต้อง มี Lao Font ในเครื่องของท่านเสียก่อนนะครับ ....

ข้อความภาษาอังกฤษ:
"Phongsavanh Bank, Lao’s only wholly privately Lao owned bank, opened its doors to the general public in March 2007. With a registered capital of USD$10 million, Phongsavanh Bank provides full retail and commercial banking services to its client base."

ข้อความพาสาลาว:
"ທະນາຄານ ພົງສະຫວັນ, ທີ່ເປັນທະນາຄານເອກະຊົນແຫ່ງທຳອິດ ໃນ ສ.ປ.ປ. ລາວ, ໄດ້ທຳການເປີດໂຕຢ່າງເປັນທາງການໃນເດືອນ ມີນາ 2007. ດ້ວຍເງິນທຶນຈົດທະບຽນໃນເບື້ອງຕົ້ນ ຈຳນວນ 10 ລ້ານ ໂດລາສະຫະລັດ, ທະນາຄານ ພົງສະຫວັນ ສາມາດໃຫ້ການ ບໍລິການ ທາງດ້ານການທະນາຄານແກ່ລູກຄ້າທຸກປະເພດ, ລວມທັງລູກຄ້າທຸລະກິດ."

พากย์ไทย (โดย a_somjai):
"ธนาคาร พงสะหวัน, ที่เป็นธนาคารเอกชนแห่งทำอิต ใน ส.ป.ป. ลาว. ได้ทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดิอน มีนาคม 2007 ด้วยเงินทุนจดทะเบียนในเบื้องต้น จำนวน 10 ล้าน ดอลล่าร์สหรัฐฯ, ธนาคาร พงสะหวัน สามารถให้การบริการทางด้านการธนาคารแก่ลูกค้าทุกประเภท, รวมทั้งลูกค้าธุรกิจ"

ความ/คำว่า แห่งทำอิต ที่ขีดเส้นใต้ไว้นั้น ตรงกับคำไทยว่า แห่งแรก นั้นเอง

อนึ่ง โปรดสังเกตว่า...ทุกเว็บไซต์ที่นำเสนอเป็นภาษาลาว จะเขียนเมนู Home หรือ Homepage หน้าแรกของเว็บไซต์ว่า "หน้าทำอิด" เสมอ

และแล้ว เราก็ได้ข้อสังเกตเพิ่มขึ้นมาอีกว่า... คำ "ทำ" กับ "ตำ" นั้น เป็นคำกลายเสียงกัน และคงมาจากต้นทางเดียวกัน ขอยกเอาวิถ๊ชีวิตพื้น ๆ ที่สุดของคนลาว-คนไทยดั้งเดิมมาอ้างเลยก็ได้ เรื่องที่คนเรามักจะสนทนากันอยู่เป็นประจำก็คือ "ลาว...เอ็ดหยังกัน" "ล้านนา...เยียะหยังกิน" "ไทย..ทำอะไรกิน" คงมาจากความพื้นฐานเดิม ๆ จากบทสนทนาด้วย... "คำถามว่า....ตำหยัง?" และจะได้ "คำตอบว่า...ตำข้าว... ตำแจ่ว ตำน้ำพริก" ตามวัฒนธรรมวิถีชีวิตการกินอาหารของบรรพชนของเรา ดังนั้น ตำ ในที่นี้ก็คือ ทำ.. งาน.. สร้าง... อะไรสักอย่าง ใช่หรือไม่? ดังนี้แล]

หัวที* (ล้านนา ทีหัว หรือ หัวที นี้เห็นในภาษาวรรณกรรมลาวเดิมก็ใช้ บางครั้งคำปากว่า ที คำเดียว)

ทีแรก* (ไทย เมื่อเริ่มต้น อันดับที่ ๑)

[** สำหรับคำว่า ที หมายว่า ครั้ง นี้ก็เกี่ยวกับคำว่า ทำและ/หรือตำ อีกนั้นแหละ, โปรดพิจารณาคำที่หมายว่า ที ครั้ง ที่ยังใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของคนสกุลภาษาลาวดังนี้ ___ ลาวอีสานว่า เทื่อ เป็นคำคุณศัทพ์หรือกริยาวิเศษณ์ หมายว่า ครั้ง, คราว, หน เช่น ครั้งแรก ว่า เทื่อแรก เทื่อทำ/ตำอิด ส่วน__ล้านนาว่า เทื่อ, เตื้อ เช่นว่า เทื่อ/เตื้อเดียว หมายว่า ครั้งเดียว เป็นต้น**]

ถ้อน* พูดเพื่อชักชวน หรือขอร้องให้เป็นไปเช่นนั้น มักจะเว้าว่า แด่ถ้อน* ในภาษาวรรณกรรมใช้ ถ้อน เถิน เถินเถิ้น ก็ว่า อย่างในเรื่องสังข์ศิลปชัยว่า "ขอแก่เทพแผ่นหล้าหลายชั้นช่อยข้อยแด่ถ้อน" เป็นต้น.

แม่นไป* แล้วไปทำ...อะไร ทำไม ที่ไหน อย่างไร มาล่ะ? (ใช้ขึ้นต้นเป็นคำถาม แสดงความสงสัยข้องใจ)

นำผู้ใด* ได้รับมา-ไป-กับ-ด้วย....จากใคร ถ้าเป็นคำถามจะขึ้นท้ายเสียงเป็น นำผู้ใด๋?

สระหัว* สระผม

เป็นตาหน่าย* น่าเบื่อหน่าย

เฮ็ดให้ข้อยอุกอั่งเอ้า* ทำให้ฉันกลุ้มใจ อึดอัดใจ และร้อนใจ [“อุก กลุ้มใจ”, “อั่ง คับ, แออัด, แออัดยัดเยียด”, “เอ้า ร้อน, อบอ้าว”]

อยู่ใส* อยู่ที่ไหน (เป็นคำถาม เช่นว่า อยู่ใส, ไปใส)

หยัง* ทำไม, อะไร, (เป็นคำถาม เช่นว่า เฮ้ดหยัง ทำอะไร, เฮ็ดเฮ็ดหยัง ทำอะไรอย่างนั้น ทำอย่างนั้นทำไม)

หรือว่ายังหาหม้น* หรือว่ายังเที่ยวไปหม้น ไปแสวงหา ไปฝ่า ไปบุก ไปรุก ไปซุกซนไม่เลือกที่

ซน* อาจจะเป็นว่า ชน โดนตำแรง ๆ หรืออาจจะเป็นว่า ซน ซุกซนหมายว่าอาการอยู่ไม่สุข แต่สองคำสองความหมายที่กล่าวมานี้ ไม่น่าจะเป็นสำนวนในภาษาของคนเว้าลาว (เพราะไม่มีในคลังคำเว้าของไทบ้านและไม่มีอยู่ในพจนานุกรมภาษาลาว) และอีกประการหนึ่งในคำร้องของเพลงนี้ที่ว่า "อุกอั่งเอ้า" นั้น เขาออกเสียงว่า "อุกอั่งเอา" นักร้องหมอลำลาวสาวนี้ก็ร้องชัดเชนว่า เอา ไม่ได้ว่า เอ้า และอีกทีเมื่อคำร้องว่า "จำเป็นแล้วเฮานี้ต้องได้ฆ่า ก้ร้องว่า จำเป็นแล้วเฮานี้ต้องได้คา" ดังนั้นจึงสรุปได้อย่างมั่นใจในท่อนเนื้อร้องที่ว่า "ซนไปบ่เลือกที่" นั้นหากจะให้ความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ชายมีเหาแล้ว ก็ควรจะเป็นคนจำพวก "ซ้นไปบ่เลือกที่" มากกว่า เพราะคำว่า "ซ้น" แปลว่า แอบ บัง หลบซ่อน อย่างที่หลบฝน ที่หลบภัยอันตราย เรียกว่า ที่ซ็น ม้องซ้น หรืออาจจะคิดให้เลยเถิดไปไกลอีกก็ได้ว่า ซ้น เป็นคำที่กลายเสียงเป็น ซ่อน ในภาษาไทย (ชิมิคะ นี่ก็เป็นตัวอย่างคำภาษา Chat ที่กลายเสียงมาจาก ใช่มั๊ยคะ เป็นต้น)

นอนบ่อนนั้นบ่อนนี้* นอนที่โน้นที่นี้ นอนไปเรื่อย

กลับมาฮอดบ่อน* กลับมาถึงที่นอน; บ่อน* แปลว่า สถานที่คนหรือสัตว์มักโคจรไปมาอาศัยหรือทำกิจกรรมอยู่เป็นประจำ บ่อนในเพลงท่อนนี้หมายถึง ที่นอน ที่เข้าหลับนอนเป็นประจำ ในคำภาษาไทยกลางเหลือใช้หมายไปในทางไม่ดีได้แก่ บ่อนการพนัน บ่อน(ชน)ไก่(ชน)วัว เป็นต้น. ถ้าเป็นการพูดเพื่อบอกระบุแหล่งที่อยู่ที่ตั้งของพื้นที่นั้น ๆ อย่างชัดเจน ว่าเป็น เวิ้ง ลาน บริเวณใด จะใช้คำว่า "ม้อง" แต่ก็อีกนั้นแหละถ้ามีคนถามเราว่า "ของอยู่บ่อนใด๋ล่ะ?" กับถามว่า "ของอยู่ม้องใด๋ล่ะ?" สองคำถามนี้คิดว่าในปัจจุบันก็คงไม่ได้มีความหมายแตกต่างกันแต่อย่างใดเลย (ทั้ง ๆ ที่คนเว้าลาวทุกคนก็รู้ว่าความหมายของคำมันแตกต่างกัน... ฟังแล้ว เจ้างงบ่?)

จนแจ้ง* จนรุ่งแจ้ง รุ่งเช้า

ได้แต่นอนอ่อนอยู่แอ้แล้* ได้แต่กลับมานอนอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรง (แอแล เป็นอาการนอนของคนจ่อยคนผอม, แอ้แล้ เป็นอาการหมดเรี่ยวแรงอย่างสิ้นเชิงจนไม่สามารถลุกขึ้นทำอะไรได้เลย, ดังนั้น…ได้แต่นอนอ่อนอยู่แอ้แล้… ในเพลงนี้ ก็ลองจินตนาการดูว่ามีอะไรของเจ้าอี่พ่อผัวของนางคนนี้ บ้างที่…ได้แต่นอนอ่อนอยู่แอ้แล้ แอ้แล้ โอ้ย แอ้แล้ แอ้แล้)

เจ้าอี่พ่อผัว* เจ้า, อี หรือ อี่, พ่อ, ผัว เป็นคำเรียกอย่างให้เกียรติสามี เท่ากับคำว่า คุณ ในภาษาไทย อย่างภรรยา/เมียพูดว่า “คุณสามี” จะว่าเป็นการพูดเพื่อยกย่องก็ได้ พูดประชดประชันอย่างรักใคร่ก็ได้ สำนวนลาวว่า “เจ้าอี่พ่อผัว” คงเทียบกับสำนวนไทยได้ว่า “คุณฝาระมี คุณสามี ท่านเจ้าคุณผัว พ่อผัวตัวดี ไอ้คุณผัวตัวดี” เป็นต้น

ในอีกมุมมองหนึ่ง คำ "อีนาง อีนางน้อย อีหล้า บักหล้า(บาหล้า) บักหำ บักหำน้อย อีพ่อ อีแม่" (บัก หรือ บะ กลายเสียงมาจาก บา) เป็นคำเรียกที่ใช้เป็นภาษาสุภาพเพื่อเรียกขานคนที่เรารักเอ็นดู คนคุ้นเคยกัน คนในอุปการะกัน คนในวงญาติพี่น้องกัน ไปจนถึงผู้ที่เราเคารพนับถือเป็นคนของสาธารณะก็ได้, สำหรับคำว่า "อีพ่อ อีแม่" เรามักจะได้ยินคนเว้าลาวอีสานใช้พูดกันในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ (ใช้กับคนทุกกลุ่มอายุ) และคิดว่าในหมู่คนลาวหรือคนทางเมืองลาวก็คงเป็นเช่นเดียวกันนี้ แต่ก็อีกแหละนะ...บางทีการพูดคำว่า "อีพ่อ" ในบางบริบทบางสถานการณ์ก็มีความหมายไปในทางประชดประชันได้เหมือนกัน อย่างในกรณี "อีพ่อผัว" นี้เป็นต้น.

บ่จ่งไว้* ไม่เหลือไว้ ไม่ปล่อยไว้, จ่ง คือ เหลือไว้ เช่นว่า จงผม คือไว้ผมให้ยาวเป็นต้น.

จับหน้อย* หน้อย หมายถึง เล็ก, ไม่ใหญ่ ในที่นี้คงหมายถึง จับเหาตัวเล็ก ๆ

แผ่ผาย* แผ่ (ลาว) เรี่ยไร ขอ (ไทย) คลื่ขยายกระจายออกไปให้มีลักษณะแบนราบหรือกว้างกว่าเดิมหรืออาการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน เช่น แผ่หาง แผ่อาณาเขต และแปลว่า ให้ เช่น แผ่ส่วนบุญ ส่วนคำว่า ผาย (ลาว) เปิดเผย เดิน เหาะ ไป จับ ซัด หว่าน คำว่า ผาย ในคำไทย หมายถึง แผ่กว้างออก เคลื่อนที่จาก เปิด ระบายออก (อย่าง ตด ว่า ผายลม) แบะออก แยกออก (ดูเพิ่มเติมใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

อย่างว่า "เสียงแผ่ผาย กระจายบุญ เสียงบอกบุญ", "กลีบดอกแผ่ผายกว้าง", และในพุทธทํานายพื้นเมืองอีสาน ว่า "อันว่าในพันนี้พระยาธรรมลงมาเกิด ชื่อว่าพระยาศรีธรรมโศกราชเจ้าบุญกว้างแผ่ผาย พระก็พาพลพร้อมบริวารหลายเหล่า ขุดเอาพระธาตุเจ้าจอมไท้ขึ้นจากดิน". (คำล้านนา ในวรรณกรรมพุทธศาสนา จากหนังเรื่อง อนาคตวงส์ เมตเตยยสูตต์และเมตเตยยวงส์, บำเพ็ญ ระวิน (ปริวรรต)) จัดพิมพ์โดย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตสวนดอก เชียงใหม่: 2535 ว่า แผ่ชลาบ "เหตุลูกสิกข์พระพุทธเจ้า ก็บ่แผ่ชลาบไปชุบ้านชุเมือง".

ชูไว้อยู่ซู่แจ* (ซาติว่าคนนิสัยเจ้าชู้นั้นย่อมจะ) ชูไว้ หมายถึง การที่ชายคนนั้นเที่ยวไป “ชูสาว” คำว่า ชู ในที่นี้จึงหมายถึงการแอบไปสมสู่อยู่ร่วมกับหญิง โดยยังไม่ถูกต้องตามทำนอง/ครรลองคลองธรรม, ส่วนคำว่า ซู่ แปลว่า ครบ ถ้วน ทุก ทุกอย่าง (อักษรวิ่งใน Music video เพลงลาวชุดนี้เขียนว่า สุ, คำเขียนลาวว่า ซู่ ตรงกับภาษาเขียนล้านนาว่า ชุ คำปากว่า จุ๊) และคำว่า แจ แปลว่า มุม, อย่างผญาอีสานว่า “สิเอาเมียให้ถามซู่แจบ้าน สิต้านชู้ให้ถามซู่แจเมือง” (ต้าน พูด เจรจา)

แถหัว* แถผม โกนหัว โกนผม อย่างวรรณกรรมเรื่องขูลูนางอั้ว ว่า “กูจักแถหัวเช้าทรงศีลถือบวช” (กูจักโกนหัวตอนเช้า รักษาศึลถือบวช)

คันยัง…บ่เซา* ถ้า(หากว่า)ยัง…ไม่หยุด ไม่เลิก ไม่หาย

เหลืออยู่ดี๋ดี๋* เหลืออยู่เห็น ๆ


คราวนี้ก็มาถึงเรื่องดี ๆ ของ....
คนมีปัญหาเหาเหาภายในครอบครัว
และคนมีปัญหาเหาเหาในที่ทำงานกันบ้าง

ความรู้เรื่องเหาเหา:

1. การรักษาเหา



ที่มา://www.bangkokhealth.com/skin_htdoc/skin_health_detail.asp?Number=9623



2. เหาพลัดถิ่นในอเมริกา


ที่มา: //www.sakulthai.com/board/forum_posts.asp?TID=161&PN=45





posted by a_somjai on Thursday, December 20, 2007 @ 09:06 AM
  • <<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>




  • Create Date : 20 ธันวาคม 2550
    Last Update : 16 มกราคม 2551 16:02:35 น. 0 comments
    Counter : 2323 Pageviews.

    ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
    Comment :
      *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
     

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.