<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
นิทานชาวบล็อก: bloggers vs.non-bloggers (2/ต่อ)

May 11. 2006 / posted by a_somjai | Tag: bloggers, non-bloggers, normals , (ab) normals, digital, community, anthropologists, blogologist, citizen media, การสื่อสาร, วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม, Participatory Culture |



เล่าต่อ =>

[สำนวนนักวิชาการ]

พวกเราชาวบล็อก/คนเล่นเวปบล็อกด้วยกันจัดได้ว่าเป็นชุมชนขนาดเล็ก ที่ซอยย่อย ๆ เป็นจุด ๆ กลุ่ม ๆ ซ้อนทับกันอยู่ แต่ละเหตุการณ์ที่มีเกิดกิจกรรม “สื่อสารติดต่อเชื่อมโยงกันในกลุ่ม” เกิดขึ้นนั้น จะมีสมาชิกติดต่อสื่อสารกันอยู่จำนวนน้อย ตั้งแต่ 1 ต่อ 1 ขึ้นไป เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายกันแบบ “เพื่อนถึงเพื่อน หรือ Peer to Peer, P2P network” สมาชิกกลุ่มสามารถติดต่อเชื่อมโยงกันได้แบบเผชิญหน้าแบบเพื่อนกับเพื่อน, หรือปัจเจกบุคคลกับปัจเจกบุคคลติดต่อสื่อสารกันได้บนอินเตอร์เน็ตหรือโลกออนไลน์

ลักษณะดังว่านี้ศัพท์ทางสังคมวิทยาเขาเรียกกลุ่มทีมีองค์ประกอบแบบนี้ว่า “Small group” แนวความคิดนี้ได้มาจากโลกสังคมของตัวตนคนมีเนื้อหนังจริง ๆ ที่อธิบายพฤติกรรมกลุ่มแบบพื้นฐานที่สุดของสังคมมนุษย์ คือการสื่อสารแบบเผชิญหน้าโดยตรงของคนเรา จำกัดอยู่ในกาละ เทศะ หนึ่ง ๆ หรือ เฉพาะในช่วงเวลานั้นและในระยะห่างทางกายภาพที่ติดต่อกันได้เท่านั้น… คือ คนในกลุ่มเล็ก ๆ ยิ่งน้อยคนเท่าไรก็ยิ่งดี ไม่ควรเกิน 7- 8 คนแหละ …ต้องสื่อสารกันได้แบบต่อหน้าต่อตา ตัวต่อตัว จับเข่าคุยกัน หรือว่า ถึงลูกถึงคน ไปจนถึง หายใจรดต้นคอกันได้ อะไรประมาณนั้น

แล้วพวกนักวิชาการที่ศึกษาพฤติกรรมของคนในกลุ่มเล็ก ๆ เช่นนี้ (ไม่ว่าพวกท่านจะเรียกปรากฏการณ์ที่ท่านศึกษากลุ่มคนขนาดเล็กนั้นว่า วัฒนธรรม หรือ อะไรก็ตาม) ส่วนใหญ่ที่สุด คือ นักมานุษยวิทยา –Anthropologists … คราวนี้เมื่อหันมาพิจารณาดูกลุ่มคนที่สนใจศึกษา/อธิบายพฤติกรรมของ bloggers หรือ กลุ่มชนในลักษณะเป็นชุมชนขนาดเล็กที่ติดต่อสื่อสสารกันบนโลกดิจิตอล/อินเตอร์เน็ตแล้ว คนพวกนี้ก็คือ คนที่สนใจ “การศึกษาเรื่องบล็อก – study of blog = Blogology =” ซึ่งครอบคลุมเรื่องการเขียนบล็อก blogging และเรื่องของคนเล่นบล็อก bloggers เข้าไปด้วย

ดังนั้น อาจพูดได้ว่า ผู้สนในใจศึกษาเรื่องบล็อก, นักศึกษาบล็อกวิทยา หรือ นักศึกษาบล็อกศาสตร์ - blogologist นั้น ก็คือ นักมานุษยวิทยาชุมชนดิจิตอล (digital community anthropologists) นั้นเอง …และพวกเราชาวบล็อกเกอร์ - bloggers ก็คือ สมาชิกผู้อยู่ในชุมชนดิจิตอลกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยที่ว่านี้เสียด้วย … ต่างกันแต่เพียงว่า… ใครจะบ้า…เอ้ย…สนใจใฝ่รู้ แบบว่า…ศึกษา เก็บสะสมความรู้ จากประสบการณ์เล่นบล็อกจริง ๆ ของตนเองมากกว่ากัน…เท่านั้นเอง

ด้วยเหตุที่ว่ามานี้ ….ฉันจึงเริ่มตั้งข้อสังเกตไว้ในนิทานชาวบล็อกเรื่องเล่าเมื่อวานว่า … <= พวกเรา “bloggers” เป็น “คนกลุ่มน้อย” จำพวก “(ไม่)ปกติ” ใช่หรือไม่ ?


[สำนวนชาวบล็อก]

ถามว่า: เราชาวบล็อกเกอร์ มีพฤติกรรมการบริโภคข่าวสาร การคิดเห็น การเขียน ในชีวิตส่วนตัวและในชีวิตการงาน ปกติดีเหมือนกับ “คนอื่น ๆ ที่เขาไม่เล่นบล็อก” กันหรือไม่?

ดังเช่น…..ที่ฉันเคยเขียนเรื่อง “อาการเสพย์ติดบล็อก” ระยะต้น.... ไว้ ที่นี่ และ ที่นี่ มาแล้วนั้นหละ

…ต่อมาฉันในฐานะบล็อกเกอร์คนหนึ่ง ก็จึงเกิดความคิดแบบคนไม่ปกติต่อไปได้อีกว่า…

พวกเราชาวบล็อกเกอร์…ใช้เวลาในการดูทีวีน้อยลงหรือบางคนไม่ดูเลย,

พวกเราเอาเวลาส่วนใหญ่มาเล่นเวปบล็อก หรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์,

พวกเราเริ่มจะไม่ค่อยมีเวลาอ่านหนังสือ…แม้แต่หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารที่เคยอ่าน,

บางคนบางครั้งไม่อยากออกนอกบ้านไปไหน ๆ เลย อยู่แต่บ้าน(วนเวียนเฝ้าหน้าคอมพ์...หรือเผลอ ๆ ก็นอนมันแถวโต๊ะคอมพิวเตอร์เสียอีก) บางช่วงก็เป็นอยู่อย่างนี้ติดต่อกันนานหลายวันหลายคืน …แม้แต่ไปเดินห้างสรรพสินค้า… หรือว่า…ออกไปซื้อข้าวถุงปากซอย…ก็คร้านที่จะไปเสียแล้ว (เป็นทีอิดหนาระอาเอือมแก่ผู้คนใกล้ชิดเสียนี่กระไร)

พวกเราเหล่าบล็อกเกอร์ แม้ไม่ใช่มีอาชีพเสมียนพิมพ์เอกสาร แต่พวกเราก็สื่อสารกับคนอื่นด้วยแป้นพิมพ์/คีย์บอร์ดและเมาส์มากกว่าใช้ดินสอ ปากกา และปาก(กู)พูด,

สื่อสาร/รับรู้/เรียนรู้โลกภายนอก จากการอ่าน การดูมากกว่าการฟัง (ยกเว้นนักนิยมเพลง/ดนตรี), …

ติดต่อสื่อสารเป็นประจำกับคนอื่นนอกครอบครัว นอกวงศาคณาญาติ นอกชุมชนอยู่อาศัย เพื่อนนอกชุมชน, คนนอกอาชีพการงาน, …ใครก็ไม่รู้ … ไม่เคยเห็นหน้า-เห็นตัว-ได้ยินเสียง…สื่อสารกันเป็นประจำ…ถี่ ๆ วันละหลายหนและบางครั้งใช้เวลานาน …มากกว่าคนใกล้ ๆ ตัว …หรือ กับคนในแวดวงใกล้ตัวบางคนก็ไม่อยากพูด-ไม่อยากฟัง-ไม่อยากเห็นเขาเสียอีกแนะ!?!

บล็อกเกอร์มีแนวโน้ม…..*ลดความเชื่อถือต่อข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และแม้แต่ข่าวสารจากรัฐบาลน้อยลงเรื่อย ๆ … แต่เชื่อข่าวจากอินเตอร์เน็ต หรือ เวปไซต์ เวปบอร์ด โดยเฉพาะข่าวสารความรู้จากเวปบล็อกนั้นเสพ(ติดอย่างเหนียวแน่น)มากขึ้น และมีความเชื่อถือข่าวสารจากเพื่อน ๆ ชาวบล็อกเกอร์สูงขึ้นเรื่อย ๆ*


พวกเราเป็นบล็อกเกอร์

พวกเราปรกติดีอยู่ฤาไฉน?




*….เรื่องร้อน ๆ ที่วงการสื่อสารมวลชนโลก กำลังวิตกกังวลต่อแนวโน้มพฤติกรรม ชาวโลกไม่เชื่อ "สื่อมวลชนกระแสหลัก - mainstream media (MSM)” เพิ่มระดับมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในกลุ่มพวกเล่นเวปไซต์ - web users ที่นับวันจะเติบโตมากขึ้น และคนเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่ การสื่อสารในวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม - a Participatory Culture, ในบทบาทหน้าที่ผู้รายงานข่าว ผู้วิเคราะห์ข่าว และคอลัมนิสต์ออนไลน์ ที่เรียกชื่อรวม ๆ ว่า citizen media รายละเอียด/ความก้าวหน้าของกิจกรรมอ่านได้ ที่นี่ => “The Power of Trust” Global Forum จัดเมื่อ May 3 - 4, 2006 ที่ Lndon โดย The Media Center ร่วมกับ BBC และ Reuters


เล่าโดย a_somjai, บันทึกเวลา 14.17 นาฬิกา วันที่ 11 พฤษภาคม 2549



Create Date : 11 พฤษภาคม 2549
Last Update : 14 พฤษภาคม 2549 8:19:03 น. 5 comments
Counter : 424 Pageviews.

 
โอ๊ว....


โดย: immyjang วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:16:09:33 น.  

 
อ่านแล้วก็เข้าใจและมองเห็นภาพเป็น step เลยค่ะ จากที่เคยสงสัยนิดๆในบล็อกที่แล้ว
แต่พฤติกรรมข้างต้น ก็เกือบจะเป็นแบบถูกทุกข้อเหมือนกันนะคะ หนังสือก็ยังอ่านน้อยลงแต่เน้นมาอ่านข้อมูลทางพวกบล็อกหรือ เสิร์ชเอนจิ้นทั่วไป
อาการเสพย์บล็อกนานๆอย่างนี้ถ้าเป็นขั้นรุนแรงอาจจะมีแนวโน้มกลายมาเป็นพวก Hikikomori ได้ล่ะมังคะ (พวกแปลกแยกตัวเองออกจากสังคม ไม่ทำงาน ให้พ่อแม่เลี้ยง ใช้ชีวิตอยู่กับหน้าจอ ไม่ออกจากบ้าน บางรายก็เป็นเดือนๆ ส่วนใหญ่มักเกิดกับวัยรุ่นไปจนถึงคนอายุสามสิบกว่าๆ)

แต่อย่างไรแล้ว ขอเป็นบล็อกเกอร์สปรกติดีกว่าค่ะ เดี๋ยวนี้ก็มีนัดมีตติ้งกันระหว่างบล็อกเกอร์สด้วยนะคะ
พูดตรงๆว่าตัวเองก็เข้ามาพูดคุยกับเพื่อนในบล็อกเกือบทุกวัน บ่อยกว่าเพื่อนๆในชีวิตประจำวันค่ะ


โดย: Fruit_tea วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:21:47:18 น.  

 
เห็นด้วยค่ะว่าชาว bloggers มักจะติดต่อ พูดคุย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอยู่ในชุมชนเสมือน
หรือ virtual community กับเพื่อนๆ ชาว blog ด้วยกัน
เป็นส่วนใหญ่ เหมือนเป็นการสร้างสังคมใหม่สำหรับ
กลุ่มของตนเองขึ้นมา ซึ่งตรงนี้ถ้าจะมองว่า
เป็นสิ่งอปรกติก็คงมองได้ ขึ้นอยู่กับการตีความว่า
"อปรกติ" คืออะไร แค่ไหน

แต่ก็อย่างที่คุณ Fruit_tea กล่าวไว้ นั่นก็คือ
จากความสัมพันธ์ในชุมชนเสมือน ก็มี bloggers
จำนวนหนึ่งที่ได้พัฒนาความสัมพันธ์มาเป็นการพบปะ
สังสรรค์ และพูดคุยกันในรูปแบบสังคมปรกติมากขึ้น
เช่นกัน ซึ่งก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากนะคะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำศัพท์ใหม่ประจำวันนี้
P2P = Peer to Peer  


โดย: nature-delight วันที่: 12 พฤษภาคม 2549 เวลา:18:37:24 น.  

 
โอ้...ผมเคยเรียนวิชาของอาจารย์สมัยอยู่ม.ช้างชูคบเพลิงรึเปล่าครับ?

ผมเป็นบลอเกอร์ที่ยังเหมือนคนปกติครับ ยังบริโภคสื่อแมสจากแหล่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันก็ยังนิยมออกไปหาความสุขกับสายลมและแสงแดดมากกว่าตวามปัญเทิงจากตัวเลขฐานสองครับ


โดย: นายเบียร์ วันที่: 13 พฤษภาคม 2549 เวลา:15:17:11 น.  

 
ท่านผู้เรียบเรียงนำเสนอได้โดนหลายประเด็น ชอบประโยคที่บอกว่า
นักมานุษยวิทยาในโลกไซเบอร์ครับ
มันฟังดูดีมีประโยชน์กว่าความจริงดีอะ
555


โดย: ดำรงเฮฮา วันที่: 16 พฤษภาคม 2549 เวลา:9:39:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.