<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (3)

เรื่องต่อเนื่อง:
- [คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (2)]
- [คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (1)]


ตอนที่แล้วคุยกันถึง การอพยพของประชากรในโลก ในกรอบของ การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามรัฐข้ามประเทศ
คราวนี้จะเข้ามาสู่เรื่อง คนลาว และเมืองลาว ได้แล้ว

ในยุคตลาดไร้พรมแดนหรือแรงงานไร้พรมแดน แรงงานข้ามรัฐ ข้ามชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำว่า Global, Globally, Globalization ทุกวันนี้ ไม่มีใคร ใผ ผู้ใด หรือว่าประเทศชาติ ชุมชน บ้านเมืองใดในโลกนี้ที่จะอยู่อย่างโดยเดี่ยว ไม่เกี่ยวข้องกับประชาคมโลกทั้งหมดทั้งมวล ได้อีกต่อไปแล้ว

เมื่อโลกแคบลงเป็นเหมือนหมู่บ้านเดียวกัน
คนลาวอพยพ คนลาวในต่างแดน ก็ตกอยู่ในกรอบ บริบท แวดล้อม ของเหตุปัจจัยให้เป็นมา เป็นอยู่และเป็นไป ไม่ต่างจาก ประชากรผู้อพยพชาวโลกหมู่อื่น ๆ

แต่เมื่อจะศึกษาเจาะจงไปในเรื่องของคนลาวที่มีเมืองลาวเป็นอู่กำเนิด หรือ ประเทศบ้านเกิดเมืองนอน แล้วละก็ เราต้องไปตั้งต้นที่ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบ้านเมืองและผู้คนเสียก่อน

หากจะว่าไปแล้วเรื่องของประวัติลาว ก็เหมือนกับประวัติศาสตร์ชนชาติอื่น ๆ ทั่วโลก ที่ถ้าหากจะเล่าสู่กันแล้ว ก็คงมีหลายสำนวน หลายมุมมอง หลายช่วงเวลา และมีผู้คน เหตุการณ์ เงื่อนไขต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย และที่สำคัญ…คือ… ใครเป็นคนเล่า และเล่าเรื่องราวไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใด ก็จะทำให้รายการหรือรายละเอียดของเนื้อเรื่องที่หยิบยกมาเล่าไว้นั้น ๆ ต่างกันออก บางครั้งก็ต่างกันเป็นคนละเรื่องเดียวกันไปเลย หากว่าคนเล่าเรื่องแต่ละสำนวนนั้นมีพื้นฐานจุดยืนและภูมิหนังรวมทั้งเบื้องหน้าแตกต่างกันมาก (อย่างเรื่องที่เล่าโดยคนลาวฝ่ายกู้ชาติ กับ คนลาวฝ่ายรัฐบาลเก่า สมัยสงครามอินโดจีน สงครามเวียดนาม-เขมร-ลาว เป็นต้น)

การนำเสนอไว้บนเว็บบล็อก แตกต่างจากการรวบรวมข้อมูลประมวลนำเสนอในรูปหนังสือหรือสื่อประเภทอื่น ๆ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องความสนใจ และการให้เวลากับเรื่องราวของแขกคนผู้เข้ามาเยี่ยมชม อ่าน ดู ฟังข้อมูลบนกรอบหน้าบล็อก ดังนั้น a_somjai’s blog จึงขอหยิบเอาประวัติศาสตร์แบบรวบรัดเข้าใจง่ายมานำเสนอก็แล้วกัน

ต่อไปนี้ เป็นประวัติศาสตร์ลาว จากมุมมองเหตุการณ์ในอดีต แบบบรรยายสรุป ให้คนทางเมืองไทย เข้าใจเมืองลาว คนลาว ประเทศลาว ได้ในเวลาอันสั้น ขอท่านผู้เจริญเชิญสดับ….(สดับ ในภาษาไทยแปลว่า ตั้งใจฟัง หากจะใช้ให้เต็มต้องใช้กับคำคู่กันว่า สดับตรับฟัง แปลว่า ฟังด้วยความเอาใจใส่)



  • ลาวเป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวสยามในประเทศไทย แต่ลาวประกอบด้วยชมกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น และคนลาวโดยวิถีชีวิต ภาษา วัฒนธรรมประเพณี ที่ว่านี้ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงบนที่ราบ ส่วนชาวชนเผ่าอื่น ๆ จะอยู่บนที่สูง ด้วยนิยมตั้งถิ่นฐานอยู่ตาม ภู ภูเขา ดอย








แผนที่ประเทศลาว MAP of LAOS


ชื่อประเทศ: Lao People's Democratic Republic (Lao PDR ) - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว)

...ในภาษาอังกฤษ คำว่าลาว ที่หมายถึงประเทศสะกดว่า "Laos" และ ลาวที่หมายถึงคนลาว และภาษาลาวใช้ "Lao" ในบางครั้งจะเห็นมีการใช้คำว่า "Laotian" แทนเนื่องจากป้องกันการสับสนกับเชื้อชาติลาว ที่สะกด "Lao ethnic group"....

เมือหลวง: Vientiane - เวียงจันทร์
พื้นที่ประเทศ: 236,800 sq km ตารางกิโลเมตร (91,400 sq miles)

ข้อมูล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ประชาชน – People เมืองลาว (สถิติ ณ ปัจจุบัน)

ประชากร (1999/2549): 5.4 ล้านคน.
อัตราเพิ่มประชากรรายปี (1999): 2.7%.

กลุ่มชาติพันธ์ - Ethnic groups:
- ลาวลุ่ม 53%; ลาวลุ่มกลุ่มอื่น 13% (ไทดำ, พวน);
- ลาวเทิง ((midslope)) 23%;
- ลาวสูง (highland), รวมทั้ง ม้ง/แม้ว-Hmong, อีก้อ/อาข่า-Akha, และเย้า-Yao (เมี่ยน-Mien) 10%;
- กลุ่มเชื้อชาติเวียดนามและจีน 1%.




เพลง: เผ่าลาวเอย
แต่งโดย: สุบ้น สุวันนะวง
ร้องโดย: บุนเล่ง จันทะรังสี
ผลิตดนตรี: เจริญสุข วังเวินโขง
From: nofixedaddress Added: July 24, 2006
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=RVpy8ye1hsM
หมายเหตุ: (เพลงนี้ ที่ a_somjai ยังไม่ถอดเนื้อร้องออกมาเป็นภาษาไทย เพราะจะเก็บเอาไว้พูดกันอีกยาวในหัวข้อเกี่ยวกับการเปลื่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในลาว และ...เรื่องของชาติพันธุ์-ชนเผ่า ไท ลาว มอญ เขมร ฯ ในอุษาคเนย์..จีนตอนใต้ พม่า เวียดนาม ไทย เขมรและเมืองลาว ...ก็ดู VDO นี้ไปก่อน แล้วให้สังเกตว่า...ชนเผ่าต่าง ๆ ที่มาร่วมขบวนพาเหรดแบบเป็นทางการในรูปของ "ความปรองดองของพี่น้องร่วมชาติลาว" นั้นมีความหลากหลายอย่างไร อนึ่ง music VDO นี้ผลิตโดยการอุปถัมภ์ของธุรกิจเอกชน ที่เป็นบริษัทก่อสร้างเคหาสถานและสัมปทาน)


ศาสนา: พุทธ (เถรวาท), ปนกับ การนับถือผีของกลุ่มชาวลาวที่สูง
ภาษา: ภาษาลาว (ทางการ), ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาชาติพันธุ์ชนเผ่าบนที่สูงต่าง ๆ , ภาษาอังกฤษ.

การศึกษา: ผู้รู้หนังสือ--60%.
กำลังแรงงาน-Work force (2.6 ล้าน, 1999): แรงงานภาคเกษตรกรรม--85%; ภาคอุตสาหกรรมและบริการ--15%.

ที่มา: //www.state.gov/outofdate/bgn/l/9538.htm




  • กล่าวเฉพาะเผ่าชนคนลาวที่เป็นหลักในการปกครองแผ่นดินนั้น ในปี พ.ศ.1896 พระเจ้าฟ้างุ้มทรงทำสงครามตีเอานครเวียงจันทน์ นครหลวงพระบาง หัวเมืองพวนทั้งหมด ตลอดจนหัวเมืองอีกหลายแห่งในที่ราบสูงโคราช (ที่ราบสูงโคราชนี้กินพื้นที่บริเวณเขตอีสานของเมืองไทยปัจจุบัน) รวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ภายใต้การช่วยเหลือของกษัตริย์เขมร ก่อตั้งเป็น “อาณาจักรล้านช้าง” ขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขาอันหนำ (เชื่อกันว่ามเหสีของเจ้าฟ้างุ้ม ผู้เป็นพระราชธิดาของกษัตริย์เขมรได้นำต้นจำปา จากเมืองเขมรมาปลูกไว้บนแผ่นดินล้านช้าง สืบมาแต่นั้นมา ดอกจำปา ดวงจำปา จำปาเมืองลาว ก็ได้รับนับถือว่าเป็น ดอกไม้ประจำชาติลาว - Champa: Flower of Laos )

    “อาณาจักรล้านช้าง - Lane Xang or The Lan Xang empire” มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงดง-เชียงทอง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน หลังจากสถาปนาเมืองเชียงดง-เชียงทอง แล้ว พระเจ้าฟ้างุ้มทรงรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ (นิการเถรวาท) จากราชสำนักเขมรมาเป็นศาสนาประจำชาติ และได้อัญเชิญพระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหลจากราชสำนักเขมรมายังล้านช้าง เจ้าฟ้างุ้มทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงดง-เชียงทอง เป็น “เมืองหลวงพระบาง”




  • ลำดับแต่รัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านช้าง มีกษัตริย์สืบวงศ์กันต่อเนื่องกันมา (เกิดกบฏชิงอำนาจกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าในวงศ์ศาคณาญาติก็หลายครั้ง) จนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช อาณาจักรล้านช้างก็แตกออกเป็น 3 อาณาจักร ได้แก่ ..

    1) อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
    2) อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และ
    3) อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

    แต่ครั้งนั้น อาณาจักรลาวทั้งสามจึงต่างตกอยู่ท่ามกลางอำนาจ (และหากจะกล่าวว่าตกอยู่ใต้อำนาจของ… ก็คงไม่ผิด) ของประเทศเพื่อนบ้าน มีทั้งจีน เวียตนาม และสยาม รวมทั้งเขมรและพม่า อีกด้วย

    จนถึง พ.ศ. 2322 กองทัพสยามเข้ายึดครองแผ่นดินล้านช้างที่แตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักรได้ทั้งหมด

    ครั้นถึงปี พ.ศ. 2365 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ทรงวางแผนก่อกบฏเพื่อกอบกู้เอกราช แต่ไม่สำเร็จถูกตัดสินโทษประหารชีวิต กองทัพสยามในรัชกาลที่ 3 ยกมาตีนครเวียงจันทน์ได้รื้อทำลายกำแพงเมือง เอาไฟเผาราบทั้งเมือง ทรัพย์สินถูกปล้นสดมภ์ ผู้คนถูกกวาดต้อน









ในช่วงต่อไปนี้ ของเปลี่ยนแนวทางเพิ่มบทแทรกเรื่องเล่าประวัติศาสตร์เมืองลาว เข้ามา….

เพื่อประกอบกันให้เห็นภาพ “คนลาวอพยพ” หรือ เรื่องราวของ “คนลาว…ที่ได้พรัดพราก หนีไปไกลจากบ้านเกิดเมืองนอน” (ดังเนื้อร้องในเพลงจำปาเมืองลาว หรือ ดวงจำปา ) โดยจะขอนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ชาติลาวจากลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเมืองลาวอันมีผลต่อการอพยพออกนอกประเทศของคนลาว หรือ การอพยพย้ายไปอยู่ต่างแดน ข้ามรัฐ ข้ามชาติ ของคนลาวจากเมืองลาว ไปพร้อม ๆ กัน ดังต่อไปนี้……

เราต้องเข้าใจกันก่อนว่า แต่ในอดีตนั้นการย้ายอพยพของผู้คนพลเมืองท้องถิ่นไปมาระหว่างบ้านพี่เมืองน้อง ตามแนวชายแดนระหว่างลาว จีน เวียดนาม และไทยนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ ส่วนการย้ายอพยพของพลเมืองเป็นกลุ่มก้อนจำนวนมากเป็นร้อยเป็นพันคนนั้น จะเกิดขึ้นจากการหนีภัยสงคราม หรือว่าการถูกกวาดต้อนให้อพยพไปตามความประสงค์ของประเทศผู้ชนะสงคราม เช่นกรณี คนลาวทางอีสาน โซ่ง พวน และคนลาวเผ่า/เมืองอื่น ๆ ที่ถูกกวาดต้อนข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่เมืองไทยเป็นต้น (เรื่องนี้ค่อยเอาไว้คุยกันยาว ๆ ข้างหน้า เมื่อมีโอกาส)

พูดสั้น ๆ ก็คือ การย้ายอพยพของคนลาวข้ามน้ำข้ามทะเลไปอยู่ต่างแดนไกล ๆ จากสภาพทางภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และวัฒนธรรมที่คุ้นเคยกันอยู่บ้าง ไปอยู่ในถิ่นที่แตกต่างกันมาก ๆ นั้น ยังไม่มี

แต่แล้ว…….


  • เมื่อมหาอำนาจตะวันตกเริ่มแผ่นอิทธิพลเข้าสู่อินโดจีน ฝรั่งเศสได้ใช้สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมบีบสยามให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมดให้กับตน (ประเทศลาวในปัจจุบัน) เมืองลาวจึงได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอยู่ใต้ปกครองนับแต่นั้นมา

    ในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันนีมีชัยเหนือประเทศฝรั่งเศสและก่อตั้งคณะรัฐบาลขึ้นที่เมืองวิซี คณะข้าหลวงฝรั่งเศสในอินโดจีนให้การหนุนหลัง รัฐบาลวิซี และตกลงเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น

    ในส่วนของสยามเอง ในปี พ.ศ.2484 รัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก่อการต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสที่เริ่มเสื่อมถอย ด้วยการยึดแขวงไชยบุรีและจำปาศักดิ์กลับคืนมาอยู่ในอำนาจสยาม ญี่ปุ่นเองก็ยุยงให้ลาวประกาศเอกราช แต่กองทัพฝรั่งเศสก็ย้อนกลับคืนมาอีกครั้ง

    หลังสงครามยุติได้ไม่นาน ลาวหันมาปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดภายใต้การควบคุมดูแลของฝรั่งเศส ขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรฯ (อังกฤษ) พยายามเข้ามามีอิทธิพลในอินโดจีน (เวียดนาม เขมร ลาว) เผชิญหน้ากันกับการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิตส์และอำนาจของประเทศมหาอำนาจที่ปกครองด้วยลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ได้ทำให้ แนวรักร่วมชาติที่ต่อต้านจักรวรรดิ์นิยมฝรั่งเศสได้พัฒนาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาวในเวลาต่อมา โดยได้รับการสนับสนุนจากโฮจิมินห์และพรรคคอมมิวนิสต์ของเวียตนาม




  • พ.ศ.2495 ลาวในหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มก่อการจลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงฮานอย เมื่อฝรั่งเศสแพ้สงครามที่ค่ายเดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์

    ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากประเทศลาว ซึ่งแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนระบบกษัตริย์ในนครเวียงจันทน์ (ฝ่ายขวา) กับฝ่ายขบวนการประเทศลาว (ฝ่ายซ้าย)

    พ.ศ. 2498 ลาวได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ

    พ.ศ. 2500 เจ้าสุวรรณภูมาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำรัฐบาลผสมในนครเวียงจันทน์

    3 ปีต่อมา เวียงจันทน์เริ่มสั่นคลอนเพราะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก่อรัฐประหารและกลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหาร ฝ่ายขบวนการประเทศลาวก่อการจลาจลขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออก



  • พ.ศ. 2506 รัฐบาลคอมมิวนิสต์เวียตนามหันมาใช้เส้นทางโฮจิมินห์ในภาคตะวันออกของลาว เป็นเส้นทางหลักในการส่งกำลังพลไปปราบปรามพวกต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียตนามใต้ กองกำลังอเมริกันเริ่มเข้ามาปฏิบัติการลับในลาว

    พ.ศ. 2516 สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม “การทำสงครามหลังฉาก” ในประเทศลาวจึงต้องเลิกราไปด้วย

    พ.ศ. 2518 หลังจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์มีชัยเหนือเวียดนามทั้งประเทศได้ไม่นาน โดยยึดกรุงพนมเปญเป็นแห่งแรก ตามมาได้ไซ่ง่อน แล้วขบวนการประเทศลาวยึดอำนาจได้ทั้งหมดในเดือนธันวาคม เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ ตามมาด้วยการสถาปนาประเทศใหม่....ชื่อว่า.....
    “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” หรือ ส.ป.ป.ลาว
    เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
    [the communist Lao People's Democratic Republic (LPDR) was established.]



  • ระยะ 5 ปี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลาวใช้นโยบายคอมมิวนิสต์ปกครองอย่างเข้มงวด ควบคุมพุทธศาสนา ตัดสัมพันธ์กับประเทศไทย ปราบปรามชนกลุ่มน้อย ราษฎรหลายหมื่นคนถูกจับ ส่งผลให้ปัญญาชนและชนชั้นกลางจำนวนมากหลบหนีออกนอกประเทศ เจ้าสว่างวัฒนาและพระญาติวงศ์สิ้นพระชนม์อยู่ในค่ายกักกัน ชาวบ้านยากจนลง


    รัฐบาลรวมศูนย์การตัดสินใจอำนาจทุกเรื่องไว้ที่ส่วนกลาง ทั่งเรื่องเศรษฐกิจ, คณะกรรมการความมั่นคง, รวมทั้งการปิดปากประชาชนฝ่ายตรงข้าม ด้วยการควบคุมสื่อ และการจับกุม คุมขัง กลุ่มอำนาจรัฐบาลเก่า และเปิด “ค่ายให้การศึกษาใหม่ … re-education camps” การดำเนินนโยบายอย่างเข้มงวดเฉียบขาดและเงื่อนไขฉุดรั้งถดถอยทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเถรตรงในการควบคุมทางการเมือง บังเกิดเป็นผลร้ายให้มีการอพยพหนี้ภัยของ พลเมืองลาวลุ่ม และ กลุ่มชาติพันธ์เผ่าม้ง ออกจากดินแดนประเทศลาว ประมาณการณ์ภายหลังปี 1975/2518 ว่ามีพลเมืองลาวในเวลานั้นถึง 10% ที่กลายเป็นผู้อพยพลี้ภัยทางการเมือง มีคนลาวเหล่านี้จำนวนมากที่ได้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม ในจำนวนนี้มีจำนวนมากถึง 250,000 ที่เข้าไปอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

    อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนี้ สถานการณ์ผู้อพยพลี้ภัยชาวลาวดังกล่าวมานี้ ก็ผ่านพ้นไปอาจเรียกได้ว่าเป็นหนังที่จบม้วนไปแล้ว หากดูจากการที่รัฐบาลลาวได้ปิด “ค่ายให้การศึกษาใหม่ … re-education camps” และปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองให้เป็นอิสระเป็นจำนวนมาก


แหล่งค้นคว้าข้อมูล: ประวัติศาสตร์ลาว, Lao history, Loas History





อะ อะ เรื่องนี้คุยไปคุยมา ทำท่าจะยาวแฮะ!
เรื่องชุด คิดฮอดเมืองลาว – I miss Loas.
คงต้องว่าต่อเนื้อความ กันอีกหลายตอน

ส่งท้ายวันนี้ ด้วยการเปลี่ยนบรรยากาศเครียด ๆ หนัก ๆ
ไปพักฟังเพลงบรรยายความในใจชองคนทางบ้านเมืองลาว
บอกข่าวไปถึงงคนลาวที่ไปตั้งหลักแหล่งในประเทศที่สาม
ฟังกันสักเพลง อุ่นเครื่องไว้อ่านบล็อกตอนหน้า....


(ที่จริงแล้ว ประเทศที่สาม นั้น ฝรั่งเขาก็คงจะให้หมายถึงประเทศที่ไม่ใช่ประเทศที่มีรํฐบาลเป็นปฏิปักษ์กับผู้อพยพ หรือประเทศที่ผู้ลี้ภัยหลบหนี้ออกมา และไม่ใช่ประเทศที่ผู้อพยพมาพักพิงอยู่แบบชั่วคราว แต่หากจะเว้ากันซื่อ ๆ แล้วละก็...ว่าตามความเข้าใจของคนผู้มีมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมอันเก่าเดิมของตนเองอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่ปัจจุบันจำเป็นต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็นนั้น ประเทศที่สาม...ก็คือประเทศที่เจริญก้าวหน้าทางวัฒถุมากกว่าเมืองลาว เท่านั้นเองแหละ...)


Ya Lerm Muang Lao Bahn Hao (Laos)

เพลง: อย่าลืม "เมืองลาวบ้านเฮา"
นักร้อง: วอนวิไล
From: settha100 Added: October 05, 2007
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=diBKsEu0658



คิดฮอดเมืองลาว – I miss Loas.ตอนที่ 4
จะโพสต์เพลงให้ชมฟังกัน
และจะพูดคุยกันเรื่องความรู้ลาวศึกษาจากเนื้อเพลงภาษาลาว
มีพิธี "บาศรีสู่ขวัญ" ให้ด้วยนะเอ๊า..
(บาศรี ครับ ไม่ใช่ บายศรี อยากรู้ว่าทำไม ต้องติดตามอ่านต่อไป)
จากนั้นแล้วค่อยวกมาว่าเรื่องหนัก ๆ กันอีกรอบสองรอบ

สบายดีกันชุผู้ชุคนเด้อ พี่น้องลาว-พี่น้องไทย






posted by a_somjai on Friday , December 7, 2007 @ 11:44 AM
<<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>



Create Date : 07 ธันวาคม 2550
Last Update : 16 มีนาคม 2551 17:06:18 น. 4 comments
Counter : 2961 Pageviews.

 
เอ็มวีดูไม่ได้


โดย: สุดสวย IP: 202.149.24.161 วันที่: 6 มกราคม 2551 เวลา:0:35:36 น.  

 
เพลงที่ You Tube ทุกชุดที่โพสต์ใน a_somjai's blog
ทดสอบอยู่ประจำ ดูชมได้...ปกติ ครับ

เว้นแต่...บริการ Internet หรือ ระบบ..เวลานั้นจะมีปัญหา
หรือ เครื่องคอมพ์ที่เราใช้มีปัญหาครับ


โดย: a_somjai วันที่: 7 มกราคม 2551 เวลา:23:17:13 น.  

 
เออเร่อคะ


โดย: สีดา IP: 202.28.35.2 วันที่: 16 มกราคม 2553 เวลา:15:44:04 น.  

 
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him


โดย: da IP: 124.122.247.144 วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:23:21:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.