<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
นิทานชาวบล็อก: “Live-blogging” / การเล่นบล็อกแบบรายการสด / ทางเลือกเสรีในการสื่อสารของปัจเจกบุคคล

2 พ.ค. 2549 / 04.52 น. / posted by a_somjai | Tag: Live-blogging, BLOGOLOGY, Blogologist, Anthropologist, Sociologist, Communlcation |

- เมื่อวาน 1 พ.ค. 49, เป็นวันที่ฉันเกษียณ(อายุงาน)ตัวเอง จากงานประจำ ภายหลังออกจากรั้วมหาวิทยาลัย และ เลิกการรับเงินค่าใช้จ่ายจากครอบครัวผู้ปกครอง(เงินพ่อ) มาตั้งแต่ปี 2521 – 2522, หลายวันมานี้จึงได้ทบทวนเกี่ยวกับชีวิตที่ผ่าน ๆ มา, เมื่อวันก่อน( 30 เม.ย.) จึงได้ข้อสรุปเด็ดขาดเพื่อการเริ่มชีวิตใหม่อีกรอบว่า…ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ชีวิตยืนยาวต่อไปอีกสักรอบ… ก็เลยเขียนข้อความไปแปะไว้ด้านหลังของป้ายหุ้มพสาสติ๊กห้อยคอของลูกสาวคนเล็กที่เธอเหลือมาจากการเข้าค่ายของทางโรงเรียน แล้วเอาไปแขวนติดไว้หน้าประตูหน้าห้องนอน-ห้องทำงานส่วนตัว ข้อความเขียนด้วยดินสอสี สีน้ำเงิน เขียว พื้นเหลือง (เพราะได้อะไรดี ๆ จากการเขียนเรื่อง บล็อกเบา ๆ บอกเพื่อนเก่าในกระปุก: จากดินสอ ถึง เครื่องพิมพ์ดีด/ตัวอักษร (๑) แต่ยังไม่ทันได้เขียนเรื่อง ดินสอ กับ เครื่องพิมพ์ดีดต่อเลย ก็เป๋ไปเสียแล้ว) …ไม่ได้ถ่ายรูปมาลงไว้ เพราะลูกสาวคนโต(ยึด)เอาไปใช้ที่มหาลัย …ข้อความในป้ายนั้นเขียนสั้น ๆ ว่า “งดเหล้า” …แล้วฉันก็เริ่มออกเดินอีก...คือเดินออกกำลังกายตอนเย็น ( 5 โมงครึ่ง ถึง 1 ทุ่ม) ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร มาได้สองวันแล้ว (การอดเหล้า ต้องออกกำลังช่วงตะวันบ่ายย้ายลงเย็น เพราะแดดร่มลมตก คนติดเหล้าจะดิ้นรนไปหามันมากรอกปาก)

- ความจริงว่าจะอัพบล็อกพรุ่งนี้ (เช้ามืดวันที่ 2 พ.ค., เรียกว่า พรุ่งนี้ เพราะว่าหากคิดแบบคนไทย ขณะเขียนนี้เป็นเวลาของคืนวันที่ 1 อยู่) … โดยเตรียมจะเข้าชั้นเรียน “BLOGOLOGY” สนทนากันต่อในประเด็น “คุณเล่นบล็อกแบบมืออาชีพ หรือว่า คุณเล่นบล็อกแบบมือสมัครเล่น” แต่ช่างเต๊อะเอาไว้ก่อน…เพราะว่าเกิดไอเดียแทรกซ้อนขึ้นมา “สนทนากันระหว่าง ตัวตนบล็อกเกอร์ กับ ตัวตนคนเกษียณเต็มขั้น” …แล้วดันได้ข้อสรุปออกมาว่า… “ทำไมไม่เขียนบันทึก/ไดอารี่…ประสบการณ์ตั้งแต่ช่วงนี้ไว้ล่ะ เผื่อมีอะไรดี ๆ ให้ได้เรียนรู้บ้าง?” …”เอางี้ล่ะกัน…ประเด็นคำถามหลักว่า…. คุณใช้ชีวิตแบบมืออาชีพ หรือ มือสมัครเล่น …. แล้วการเลือกใช้ชีวิตหรือมองชีวิตในทั้งสองแบบนี้ มันต่างกันยังไง? หมายถึง ตัวตนของคุณเอง ทั้งวิธีคิด บุคลิกภาพ และการพฤติกรรมต่างกันยังไง?, คนอื่น ๆ ล่ะเขามองความแตกต่างของคุณยังไง?, และสังคมโดยรวมของคนมองโลก/ใช้ชีวิตแบบมืออาชีพกับแบบมือสมัครเล่นล่ะ คนต่างกลุ่มกันนี้เหมือนกันหรือแตกต่างกันยังไงบ้าง? เพราะอะไร? ทำไม? อย่างไร? แล้วไง?”

- แล้วก็เลยเข้ามาเปลี่ยนชื่อกลุ่มบล็อก จาก “NUDE” (ก็ยังคงเก็บ บล็อกกลุ่มนี้ 4 ตอนแรกไว้ให้เป็นเรื่อง NUDE อยู่) เปลี่ยนเป็น… “My diary / นิทานชาวบล็อก” อย่างที่เห็นนี้แหละ … แล้วเรื่องแรกสุดที่สะดุดตาท้าความคิดให้เขียนบันทึกไว้บนโลกของบล็อก ก็คือเรื่องเกี่ยวกับ BLOGOLOGY (สงสัยว่าพื้นฐานตัวตนเก่า ๆ ของเรานั้นสนใจทาง Sociology หรือว่า Anthropology อะไรนี้แหละ จำไม่ค่อยได้แล้ว ตัวตนออนไลน์ของเรามันจึงออกมาทางนี้ แสดงว่าเราคงถูกสร้าง/ถูกปลูกฝังมาให้ตรงจริตของตนเองเสียละกระมัง? จึงชอบศึกษาเรื่อง blog อ้อเขาเรียก/นักศึกษาบล็อกว่า Blogologist ก็ใกล้ ๆ กับคำว่า Sociologist หรือว่า Anthropologist ซึ่งหมายถึง คนกึ่งดีกึ่งบ้า หรือ คนเพี้ยน ๆ นั้นแหละน้า)

- แล้วเรื่องที่จะเขียนถึงก็คือ แนวโน้มของพฤติกรรมใหม่ที่น่าสนใจของคนเล่นบล็อก ที่จะมีผลต่อ “แบบการสื่อสารในที่สาธารณะระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกัน” ว่ามันจะเป็นยังไงต่อไป, ตอนนี้ได้พบพฤติกรรมกลุ่มแบบว่า...การเล่นบล็อกสด ๆ ของคนหลาย ๆ คน ณ กาล เทศะ และเนื้อเหตุการณ์เดียวกัน ถ้าหากจะเปรียบเทียบก็คงเหมือนเรารวมกลุ่มกันกินบ๊ะหมี่สำเร็วรูปถ้วยของใครของมัน อยู่หน้าจอโทรทัศน์ขณะดูการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลนั้นกระมัง แต่เออ...จะเหมือนหรือไม่ เราก็ไม่ค่อยแน่ใจหรอก ...แน่ใจแต่ว่าการเล่นบล็อกพร้อมกันหลาย ๆ คน แบบสด ๆ เรียลไทม์นี้เขาเรียกว่า “Live-blogging” ....แต่ต้องเอาไว้คุยต่อคราวหน้า เพราะว่าช่วงนี้ไม่ค่อยจะว่างสักเท่าใด จึงไม่ค่อยได้เขียนลงบล็อกได้เต็ม ๆ เนื้อหา ....เอาเป็นว่าสำหรับเรื่องนี้ ขอบอกล่วงหน้า...ใครหลงเข้ามาอ่าน “บันทึก/ไดอารี่” นี้ก่อน แล้วอยากรู้“นิทานชาวบล็อก” เรื่องนี้ก่อนที่ฉันจะเข้ามา blogging เล่าต่อ ก็ลองเข้าไปอ่านแบบสังเกตการณ์เรื่องที่มีคนเขาโพสต์รายงานระหว่างการประชุมไว้ในบล็อกแล้วได้เลย เรื่องมันเพิ่งเกิดเมื่อ Friday, April 28, 2006 นี้เอง หัวเรื่องบล็อกว่า... Live-blogging the Bloggership conference! อยู่ที่ //althouse.blogspot.com

- เอาพล็อตเรื่องคราว ๆ ที่เราคิดไว้ไปดูก่อนล่ะกัน “คนกลุ่มหนึ่ง อยู่ในที่ประชุม มีการเสนองานบนจอภาพห้องประชุมที่ลิงค์เข้ากับเนื้อหาในบล็อก หรือ การ blogging เนื้อหาสด ๆ (อาจมีที่เตรียมสคริป/ข้อมูลมาไว้แล้ว โพสต์แปะลงไปด้วย) โดยวิทยากรนักเล่นบล็อก, ส่วนฝ่ายผู้เข้าร่วมประชุมเองนั้น ต่างคนก็ต่างใข้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวพิมพ์โพสต์รายงานสด…บันทึกเหตุการณ์ และความคิดเห็นต่อข่าวสารและเหตุการณ์ที่ได้รับซึ่งดำเนินอยู่ต่อหน้านั้น ด้วยสื่อคำ สื่อเสียง สื่อภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ในรูปการสื่อสาระหว่างกันแบบ blogging, หลายคนเปิด Friends' blogs ของพรรคพวกที่ร่วมในที่ประชุมกันอยู่นั้นออกมาอ่าน .....นั้นคือขณะที่ประชุมอยู่นั้นพวกเขาเหล่านั้นต่างก็กำลังเล่น blogging กันอยู่อีกด้วย...เพราะต่างก็เป็นชาวบล็อกที่บางคนได้ติดต่อกันมานาน พวกเขาจึงแลกเปลี่ยน comments ในระหว่างบล็อกของกันและกันไปด้วย บางครั้งบางคนก็เสนอรายงานในที่ประชุม บ้างก็เป็นผู้ฟัง บ้างก็ร่วมแสดงความเห็น รวมทั้งบ้างก็ใช้การสื่อสารแบบ chatting หรือ emailing ระหว่างกันอีกตะหาก? เอาเป็นว่า...คนยุคดิจิตอลออนไลน์ที่ล้ำหน้าเหล่านี้ต่างก็แลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างกันทั้งข้อความ ภาพ และเสียง ทั้งสด ๆ และหมาด ๆ อย่างซับซ้อน ทั้งด้านรูปแบบ เนื้อหา และความสัมพันธ์ทางสังคมระหวางกันในระดับกลุ่ม/ชุมชน/องค์กร รวมทั้งความซับซ้อนหลากหลายของการติดต่อสื่อสารกันในระดับบุคคลต่อบุคคล ร่วมในเหตุการณ์และช่วงเวลาเดียวกันได้นั้นแหละ .....อุ้ยโหยววววว… เรื่องนี้ต้องติดตามเสียแล้ว...ใช่ไหม?

- เมื่อพรมแดน ด้านเวลา สถานที่ รวมทั้งรูปแบบ และเนื้อหา ในการสื่อสารเชิงเดี่ยว..ได้ถูกทำลายลง คือ การสื่อสารกันในช่วงเวลาเดียวกันที่ถูกจำกัดให้ คู่สื่อสารต้องอยู่ร่วมในสถานที่เดียวกันหรือต่างสถานที่แต่ต้องอยู่ในช่องการการสื่อสารถึงกันเพียงช่องทางเดียว ด้วยรูปแบบเผชิญหน้า (แบบมองเห็น/หรือสัมผัสถึงกันได้โดยตรงหรือไม่ก็ตาม) แต่ก็ทั้งคู่สนทนา/คู่สื่อสารต้องมุ่งเป้าไปที่จุดสนใจของข่าวสารสาระอันเดียวกันหรือช่องทางเดียวกันเสมอ ...แต่เทคโนโลยีไฮเทค-ดิจิตอล ได้ขยายโอกาสให้คนที่ร่วมในวงสนทนา/สื่อสารกันออกไปอีกแทบไร้ขีดจำกัด ทำให้ทั้งฝ่ายส่ง/เสนอสารกับฝ่ายรับสารคู่สนทนาเหล่านั้นไม่ได้ถูกจำกัดช่องทางการสื่อสารอีกต่อไป ...เทคโนโลยีใหม่ได้เปิดให้คนเราสามารถติดต่อสื่อสาร/สนทนากันโดยมีทางเลือกมากขึ้น จากเชิงเดี่ยวแบบเดิมเป็นการสื่อสารทางเลือกได้พร้อม ๆ กันหลายช่องทาง หลายเรื่อง หลายข่าวสาร หลายคู่สื่อสาร/สนทนา โดยไม่จำกัดสถานที่/ระยะทางอีกต่อไป ....เช่นนี้แล้ว ...พอจะมองเห็นทิศทางของบล็อกในอนาคตกันบ้างหรือยังล่ะ?

ส่วนตัวฉันมีคำถาม คือ: แล้วการสื่อสารทั้งในพื้นที่สาธารณะกับการสื่อสารในพื้นที่ปัจเจกที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ระหว่างบุคคลกับบุคคลที่เป็นตัวเอกของการแสดงในพื้นที่สาธารณะในขณะหนึ่ง และระหว่างบุคคลต่อบุคคลด้วยกันเองที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใด ๆ ทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง ของพวกเขา/พวกเราหรือผู้คน/สังคมยุคต่อไป มันจะเป็นยังไงกันละคราวนี้? ...หากคิดไม่ออกก็ลองนึกจินตนาการถึงการพูดคุยผ่านบล็อก/อีเมล/MSN ระหว่างผู้อยู่ระหว่างการเข้าร่วมประชุมด้วยกันเอง หรือว่าระหว่างผู้กำลังอยู่ในที่ประชุมกับบุคคลที่อยู่นอกห้องประชุมทั้งที่เกี่ยวข้องกันแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกันด้วยเรื่องการงานหรือที่เกี่ยวข้องกันด้วยเรื่องส่วนตัวดูก็แล้วกัน...ว่ามันจะซับซ้อนประมาณใด? ...แล้วในกรณีอื่น ๆ อีกล่ะ เช่น ในห้องเรียน ในสถานที่ทำงาน ในที่พักอาศัยของผัวเมีย/ในครอบตรัวของพ่อ-แม่-ลูก-พี่-น้อง ก็คงนึกเห็นได้ในทำนองคล้าย ๆ กัน ....เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว อะไรจะเกิดขึ้นกับกระบวนการคิด การรับรู้ การตัดสินใจ และการกระทำของคนเราในโลกยุคดิจิตอลที่ก้าวเข้ามาเปิดเส้นทางแปลก ๆ ให้แก่ชีวิตมนุษย์เราต้องเปลี่ยนแปลง "โครงสร้างและกระบวนการสื่อสาร" ไปอย่างใหญ่หลวงเช่นนี้ ...แล้วก็ขอย้ำว่า...หากสังคมชาวโลกยังคงดำเดินไปเช่นนี้...เทคโนโลยีไฮเทค...เราไม่อาจหลีกเลี่ยงมันได้อย่างแน่นอน.... (และหากว่าฉันไม่ตายไปเสียก่อน) สิ่งที่กล่าวมานี้ เราจะได้เห็นกันในอนาคตอันใกล้






ว๊าววววววววว....ชอบรูปนี้จริง ๆ ขอเอามาลงซ้ำอีกรอบละกัน ...เข้ากับเรื่อง ความสัมพันธ์ของคนยุคดิจิเตอล มองผ่านการเล่นบล็อกได้ดีจริง ๆ
(หยิบจาก: www.blogshares.com)






Create Date : 02 พฤษภาคม 2549
Last Update : 23 มีนาคม 2550 11:05:22 น. 7 comments
Counter : 679 Pageviews.

 
มีหลายคำถามจังค่ะ

แต่เห็นรูปประกอบแล้ว
ทำให้คิดถึงเรื่องหนึ่ง มีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า
ตัวเองคุยกับน้องผ่านทาง MSN ทั้งๆ ที่ห้องก็อยู่ตรงข้ามกัน (ตอนนั้นน้องสาวอกหัก )
บางทีการคุยกันโดยไม่เห็นหน้า อาจทำให้เรื่อวราวพรั่งพรูได้มากกว่า


โดย: grappa วันที่: 2 พฤษภาคม 2549 เวลา:8:26:54 น.  

 
มาเข้าห้องเรียนค่ะ เพิ่งเคยได้ยินถึง Live-blogging เป็นครั้งแรกค่ะ ไม่นึกว่าการเล่นบล็อกจะพัฒนาการได้ถึงระบบนี้ จะว่าไปแล้วตัวเองเล่นแบบสมัครเล่นเสียมากกว่า ไม่ถึงเข้าขั้นมืออาชีพ สาเหตุเพราะดองบล็อกด้วย ไม่ค่อยได้เน้นการตกแต่งใช้สคริปต์โดดเด่นอะไรในการสร้างบ้านบล็อกของตนเอง ตอนเล่นครั้งแรก ตื่นตาตื่นใจกับบล็อกของเพื่อนๆมากค่ะ ที่เน้นตกแต่งบล็อกได้มีสีสันน่ารักลงตัว จริงๆ"การตกแต่งบล็อก"ก็ไม่ได้สลักสำคัญเท่า"สาระที่จะสื่อในบล็อกสักเท่าไหร่" แต่เห็นแล้วก็อดชอบไม่ได้ เพราะบล็อกคนไทยนี่ สวยๆทั้งนั้นเลยค่ะ

เดี๋ยวนี้การสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็ทำให้เกิดภาษาพูดในลักษณะของการเขียน อย่างเช่น ฉานปายแร่วน้าตะเอง ซึ่งเป็นการแสดงอารมณ์ของผู้พูด(ผู้เขียน) แทนน้ำเสียงในการพูดจริงๆโดยมิได้คำนึงถึงความถูกต้องของภาษาศาสตร์ ภาษาการใช้ที่หดสั้นลงแทนการพิมพ์ยาวๆ ที่เรียกว่าภาษาแชท เวลาเจอเด็กฝรั่งสบถทีก็จะเจอแสลงย่อๆแปลกๆ (แต่ก็เป็นอันเข้าใจกันดีว่าหมายถึงอะไร) การใช้emoticons แสดงอารมณ์สีสันในการเล่นบล็อก ก็คงเหมือน msn กระมังคะ ที่เดี๋ยวนี้ก็เป็นการแชทเหมือนกัน แต่ถูกปรับรูปแบบเพิ่มฟังค์ชั่นน่าสนใจเข้าไปมากมาย อย่างวาดรูป ตัวอักษรน่ารักๆ การพูดคุยพร้อมกันได้หลายๆคนในหน้าต่างเดียว (อันนี้ก็ไม่ค่อยได้ใช้ msn เหมือนกันค่ะ ไม่รู้ว่ามีการพัฒนาไปถึงไหนแล้ว)

ก็ขอให้อดเหล้าได้นะคะ ตอนนี้พยายามให้ป๊ะป๋าเลิกอยู่ค่ะ แต่ถ้าจะยากค่ะ ดื้อเหลือเกิน


โดย: Fruit_tea วันที่: 2 พฤษภาคม 2549 เวลา:22:08:09 น.  

 



หยุดสามวันไปเที่ยวไหนมาพ่อง

ปล.ได้ข่าวว่าฝนโตะหนะมะมะ



โดย: อย่ามาทำหน้าเขียวใส่นะยะ วันที่: 3 พฤษภาคม 2549 เวลา:11:14:40 น.  

 
ชอบรูปในการ์ตูนมากค่ะ เรื่องLive-blogging นี่เคยติดตามเหมือนกันค่ะ เป็นบล็อกของนักวิจารณ์รายการทีวีและเป็นดีเจรายการวิทยุด้วย เขาจะนัดเวลาแฟนๆไว้ ให้ดูรายการๆหนึ่ง แฟนๆก็ดูไปแสดงความคิดเห็นกันไป มีการโต้ตอบกันไป เป็นอะไรที่interactiveมาก


โดย: brasserie 1802 วันที่: 3 พฤษภาคม 2549 เวลา:13:24:22 น.  

 
ต่อไปการสื่อสารทางตรงแต่ไม่อยู่ตรงหน้าคงจะขยายตัวและมีผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์ของคนอีกมาก อืมแต่ไงสุดท้ายก็ต้องมาจบที่การพบหน้าค่าตากันอยู่ดีนะครับ

ไม่รู้จะเกี่ยวไหมแต่ผมเคยมีประสบการณ์ทำนองนี้ คือมีเพื่อนคนหนึ่งที่ติดต่อกันด้วยเรื่องงาน MSN คุยกันเป็นครึ่งปีจนสนิทสนมกันมาก จนกระทั่งได้มีโอกาสเจอกันที่กรุงเทพ

พอเจอกันจริงๆกลับรู้สึกประดักประเดือก เพราะยังไงเสียการได้มาเจอกันจริงๆ มันย่อมให้ความรู้สึกใหม่อยู่แล้ว จริงๆต้องบอกว่าแทบจะเรียนรู้กันใหม่หมดเลยต่างหาก


โดย: นายเบียร์ วันที่: 6 พฤษภาคม 2549 เวลา:2:05:43 น.  

 
ควรอ่าน

1. web usability. social media. IT. ecommerce.: blogging/Foucault/thinking Friday, May 05, 2006

"Blogging is a special form of thinking...but thinking is not what you think it is.

According to Michael Foucault, in "Polemics, Politics and Problematizations", an interview conducted by Paul Rabinow in 1984, thought is the mental ability to detach self from action, to critique your own behavior.

This stepping back, lurching aside, swerving from parallels, discoincidence, non-congruence, is thought. Thought is rebellion against tradition, habit, status quo. Thought questions the unquestioned. Thought persecutes counter-productive nonsense and detrimental whim.

Blogging is a type of thought, a jagged glance that cuts its way into topics, a piercing lance stabbing into the meat of controversy and confrontation.

..............

This seems to be blogging at its best, a refined form of Foucaultian thinking:

radically analyzing power structures, subtle dominations, war, politics, web design, progress, democracy, violence, environmental policies, technology, blogosphere, family, belief systems, self.

To understand self as a series of problems, and not unmodifiable habit cluster, is to be enlightened. From that spot of light, we blog."



2. Foucault.info :Polemics, Politics and Problematizations
This interview took place in order for Foucault to answer questions frequently asked by American audiences.
It was conducted by Paul Rabinow in May 1984, just before Foucault’s death.
Translation by Lydia Davis, volume 1 “Ethics” of “Essential Works of Foucault”, The New Press 1997.


".....What is a history of problematics ?....

"..... To say that the study of thought is the analysis of a freedom does not mean one is dealing with a formal system that has reference only to itself. Actually, for a domain of action, a behavior, to enter the field of thought, it is necessary for a certain number of factors to have made it uncertain, to have made it lose its familiarity, or to have provoked a certain number of difficulties around it. These elements result from social, economic, or political processes. But here, their only role is that of instigation. They can exist and perform their action for a very long time, before there is effective problematization by thought. And when thought intervenes, it doesn’t assume a unique form that is the direct result or the necessary expression of these difficulties; it is an original or specific response—often taking many forms, sometimes even contradictory in its different aspects—to these difficulties, which are defined for it by a situation or a context, and which hold true as a possible question.
.............

The work of philosophical and historical reflection is put back into the field of the work of thought only on condition that one clearly grasps problematization not as an arrangement of representations but as a work of thought.
."



โดย: a_somjai วันที่: 6 พฤษภาคม 2549 เวลา:4:23:18 น.  

 
Last Update : MSM V.S. BLOGs / Global Forum / The Power of Trust / May 3 - 4, 2006 / WEMEDIA

The Power of Trust Global Forum | May 3 - 4, 2006 | Lndon From The Media Center with partners BBC and Reuters


We Media, Whose Media? May 03, 2006

WeMedia: the real question May 03, 2006

WeMedia Day 2: more listening & dialogue, less lecturing? May 03, 2006

Blogging a conference I’m not even attending… May 03, 2006

WeMedia, WhereMedia? May 04, 2006

We Media, continued May 04, 2006


How should the media affect our world? May 04, 2006



โดย: a_somjai วันที่: 6 พฤษภาคม 2549 เวลา:6:44:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.