All Blog
ตอบคำถาม What do you think? อย่างไรดี
คนอเมริกัน และอาจรวมถึงคนชาติอื่นๆด้วย มีลักษณะนิสัยที่ชอบคิด ชอบวิจารณ์ และให้เหตุผลต่างๆนาๆ เมื่อเรามาเรียนเมืองนอก คำถามที่เพื่อนร่วมงาน หรือ อาจารย์มักจะถามก็คือ What do you think about …? คำถามง่ายๆแบบนี้ บางทีให้ตอบก็ตอบยากเหลือเกิน ในที่นี้ขอยกตัวอย่างกรณีที่เราไปฟังคนอื่นพูดใน seminar หลังจากการพูดจบ เพื่อนร่วมงานที่ไปฟังกับเราด้วย ก็ถามเราขึ้นมาว่า What do you think about this talk? แล้วเราจะตอบอย่างไรดีคะ

จริงๆแล้วคำถาม What do you think? นี่ ไม่ใช่คำถามที่ดีและชัดเจนสักเท่าไร เพราะเราจะตอบอะไรก็ได้ จะบอกในแง่บวกหรือลบก็ได้ ส่วนใหญ่พอเราคิดไม่ออกว่าจะตอบอะไร เราก็จะตอบไปว่า อืม ก็ดีนะ หรือ I think it’s good. แต่แค่นี้มันไม่พอสำหรับที่อเมริกาค่ะ ถ้าเราตอบว่า presentation ที่เราฟังไปนี้มันดี ก็ต้องบอกว่ามันดียังไง ถ้ามันไม่ดี แล้วไม่ดียังไงค่ะ ลองใช้วิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้ดูนะคะ

๑. เปลี่ยนมาถามตัวเอง แทนที่จะเป็น What do I think about the talk? มาเป็น What are the three most important things I just learned from this talk? ดูค่ะ เราอาจจะได้เรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ อาจจะจากส่วนของ introduction หรือ experimental methods หรือ results and conclusions ของเค้าค่ะ แล้วเราก็ตอบเพื่อนเราไปว่า อ๋อ เราชอบ presentation นี้มากเลยเพราะเราได้เรียนรู้เพิ่มว่า ยังไงๆๆ ค่ะ

๒. ถ้าเรื่องที่เราไปฟังเป็นเรื่องที่เราไม่คุ้นเท่าไร คือไม่ค่อยเกี่ยวกับงานวิจัยของเรามากนัก เราก็อาจจะได้เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มจากส่วน introduction มากกว่า เพราะส่วนเนื้อหาเราอาจจะตามไม่ทัน เราก็ตอบไปว่า เราได้รู้เพิ่ม ยังไงๆ ค่ะ

๓. เราอาจจะให้ comments เกี่ยวกับ organization of the talk เช่น เราชอบที่เค้าเปิดเรื่องพูดด้วยการเล่าโจ๊กตลก เป็นต้นค่ะ

๔. เราอาจจะ comment ในส่วนของสไตล์การพูดของผู้พูด เช่น เค้าดูเป็นทางการ (formal) หรือดูสบายๆเป็นกันเอง (casual) เค้าเรียงเนื้อหาให้เราเข้าใจง่ายหรือยาก เป็นต้นค่ะ

๕. ถ้าสรุปโดยรวมแล้วเราชอบ ก็บอกไปว่า I like the talk very much because… หรือ it’s a very interesting talk because… แล้วก็ใส่เหตุผลที่เป็นข้อคิดเห็นด้านบวกค่ะ

๖. แต่ถ้าเราไม่ค่อยชอบเท่าไร ก็บอกได้ค่ะว่าไม่ชอบเพราะอะไร ฝรั่งเค้า fair แล้วเค้าก็ชอบ discuss ค่ะ เป็นการติเพื่อก่อค่ะ คือเพื่อนเราก็จะได้รู้ว่า ถ้าทำแบบนี้แล้วคนฟังอาจจะไม่ชอบ แล้วเราก็จะได้รู้และพยายามไม่ทำแบบนั้นด้วย (อันนี้คือหมายถึง เราคุยกันเองกับเพื่อนนะคะ ไม่ได้ไปบอกคนพูดว่าเค้าพูดไม่ดีอย่างงั้นอย่างงี้ โดยก็เริ่มไปว่า Overall, the talk is okay. However, I think … แล้วเราก็ใส่ความคิดเห็นแง่ลบไป ข้อคิดเห็นแง่ลบก็อาจเป็นเพียงอะไรเล็กๆน้อยๆ เช่น เราไม่ชอบตรงที่คนพูดใช้ laser pointer แล้วแกว่งไปมาบนจอตลอดเลย ซึ่งมันทำให้เวียนหัว และ distracting เป็นต้นค่ะ ที่สำคัญ อย่าไปเริ่มด้วยคำพูดที่รุนแรงเช่น Oh I hate this talk very much. หรือ he is a very bad speaker. เพราะเราไม่รู้ค่ะ ว่าเราคุยกับเพื่อนกันสองคน แต่คนอื่นอาจจะได้ยินก็ได้ สุดท้ายอาจจะไปถึงหูคนพูด presentation ก็ได้ เราไม่รู้ว่าใครรู้จักใครกันบ้าง ก็ต้องระวังเพราะ เดี๋ยวจะบาดหมางกันโดยไม่จำเป็นค่ะ

ทีนี้พอเราตอบคำถามเค้าไปแล้ว เพื่อนก็อาจจะให้ความเห็นของเค้ามาเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความคิดเรา เราก็ต้องเปิดใจให้กว้างค่ะ แล้วเราก็ถามเค้าไปว่า แล้วเค้าล่ะคิดอย่างไร เราก็ได้เรียนรู้จากเพื่อนด้วยค่ะ

ถ้าอยากจะให้ง่ายนะคะ พอออกจากห้องสัมมนาก็รีบถามเพื่อนก่อนเลย What do you think about this talk? แล้วพอเค้าพูดมา เราก็ให้ความเห็นเพิ่มจากที่เค้าบอก ไปได้ว่า เราเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างไรค่ะ



Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2551 13:26:58 น.
Counter : 13562 Pageviews.

16 comments
  
แวะมาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ

ขออนถญาตแวะมาบ่อยๆ นะครับผม
โดย: เคมีรามคำแหง วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:45:08 น.
  
อ่านดูแล้วยังคิดหาข้อสรุปอยู่ครับว่าใครบ้างที่ได้ประโยชน์จากการคำถามในลักษณะนี้ครับ ดูเสมอคนวิจารณ์จะได้ประโยชน์(คนฟังสัมมนา) แต่ดูแล้วเหมือนการวิจารณ์กันเอง เป็นการสอนให้คนอเมริกันวิจารณ์กันเองหรือครับ(คงไม่ใช่นินทากันใช่ไหมครับ) แล้วผลที่ได้รับอย่างอื่นมีไหมครับช่วยขยายนิดหนึ่งครับ (เรื่องที่เขียนน่าสนใจมากครับ ขอข้อคิดเพิ่มเติมครับ)ขอบคุณครับ
โดย: P'jumbo IP: 202.91.18.206 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:47:40 น.
  
ขอบคุณคุณเคมีรามคำแหงที่เข้ามาแวะชมบลอกนะคะ ยินดีมากๆค่ะ ขอเชิญแวะมาบ่อยๆนะคะ มีอะไรก็สามารถติชมได้ค่ะ

พี่จัมโบ้ ขอบคุณสำหรับคำถามนะคะ เป็นคำถามที่ดีมากเลยค่ะ แล้วที่ผู้เขียนเขียนไปก็ยังไม่ชัดเจน จึงขอขยายความเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ

ก่อนที่จะพูดถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ขอนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลำดับการเรียนรู้ของคนอเมริกันที่เค้าถูกฝึกมาค่ะ ในการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ กระบวนการรับข้อมูลจะถูกแบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน คือ

๑. Acquisition คือ การรับข้อมูล นั่นก็คือการฟังค่ะ

๒. Processing นั่นคือ เค้าจะต้องเอาข้อมูลใหม่ๆนั้นมาคิด ตรึกตรองดูว่าเป็นเหตุเป็นผลเชื่อถือได้มั้ย (make sense) ในการตัดสินว่ามัน make sense มั้ยนี่ ก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้เดิมที่แต่ละคนมีอยู่ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางวิชาการที่เค้าเคยเรียนมา หรือเป็นเรื่องทั่วไป เช่น ถ้าเป็นด้านศีลธรรม คนที่มีความเห็นผิด ก็จะเห็นผิดเป็นชอบ คือ เห็นว่าการทำผิดมัน make sense เป็นต้นค่ะ

๓. Practice เมื่อเค้าตรึกตรองดูแล้วว่าข้อมูลใหม่ที่รับมานั้นมัน make sense (ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องถูกต้อง) เค้าก็จะนำมาประพฤติปฏิบัติตาม หรือ จดจำไปเป็นข้อมูลในการตรึกตรองข้อมูลใหม่ๆต่อไปค่ะ

สำหรับประโยชน์ในการตอบคำถาม What do you think? ก็เป็นการฝึกกระบวนการคิดในข้อ ๒ ค่ะ ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงก็คือ คนวิจารณ์ค่ะ เพราะได้ทำการฝึกคิดตรึกตรอง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ เป็นการฝึกการคิดแบบที่เรียกว่า critical thinking ที่ในอเมริกามีการเน้นให้เด็กนักเรียนฝึกกันมากค่ะ ตั้งแต่ high school กันเลย การคิดแบบนี้เปรียบเหมือนการรับข้อมูลแบบตะแกรงร่อนค่ะ (screen) คือเลือกเชื่อในสิ่งที่ตรึกตรองแล้ว ซึ่งตรงข้ามกับแบบฟองน้ำ (sponge) ที่รับข้อมูลมาทุกอย่างโดยไม่เลือกค่ะ

ส่วนผู้ที่รับฟังคำวิจารณ์ก็ได้รับประโยชน์อีกแบบ คือ ได้เรียนรู้ในสิ่งที่เพื่อนเราคิด แต่เราเองอาจจะคิดไม่ถึง หรือไม่ได้คิดในด้านนั้นค่ะ ถ้าเราเลือกฟังคนที่คิดเก่งๆ และคิดเป็น ก็เป็นการเพิ่มพูนปัญญาตัวเองไปด้วย

จะว่าไปแล้ว หลักการ ๓ ข้อข้างต้นก็เหมือนคำสอนในพระพุทธศาสนาค่ะ คือ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าก่อนจะเชื่อสิ่งใดก็ต้องตรึกตรอง พิจารณาให้ดีก่อน แต่ด้วยคำอธิบายในข้อ ๒ ที่ว่า แต่ละคนก็อาจจะมีความเห็นผิดได้ พระพุทธศาสนาจึงมีคำสอนเกี่ยวกับสัมมาทิฐิ การเห็นถูกต้อง มาคอยกำกับด้วย

ส่วนการได้ประโยชน์จากการฟังเพื่อนวิจารณ์นั้น ก็ตรงกับคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ให้เราคบบัณฑิต ซึ่งเป็นหนึ่งในมงคลชีวิต ๓๘ ประการค่ะ ซึ่งบัณฑิตในที่นี้ ไม่ใช่คนที่มีความรู้ดีเฉพาะทางโลกนะคะ แต่คือ คนที่รู้ผิดรู้ชอบ มีความเห็นถูกต้องด้วยค่ะ เมื่อเราคบเพื่อนที่เก่งและดี เราก็ได้พัฒนาตัวเองไปด้วยค่ะ

พี่จัมโบ้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรคะ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ
โดย: DrJoyKwanrawee วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:41:08 น.
  
จะลองเอาไปใช้ค่ะ อ่านแล้วมีประโยชน์มากเลยค่ะ
โดย: Nobody know me วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:33:00 น.
  
ขอเสนอความเห็นนะครับ คนเรามีความคิดมากมายไม่เหมือนกันครับ ที่ทะเลาะกันก็เพราะคิดว่าความคิดของตัวเองถูก และที่สำคัญถ้าความคิดนั้นดูเหมือนจะถูกทั้งสองฝ่ายใครล่ะจะยอมใคร เป็นดร.ไม่ใช่ว่าทำงานร่วมกันแล้วจะคิดได้ลงตัว คิดต่างกันทะเลาะกันก็มี อยู่ที่ใครจะหาเครื่องวัดมาวัดได้ ในที่นี้ขอเสนอวิฒุธรรม4 ประการก่อนแล้วกันครับได้แก่ 1.คบสัตบุรุษหมายถึงหาครูดี การเลือกครูต้องพิจารณาจากการมีความรู้และมีนิสัยดีจริง 2.ฟังธรรม หมายถึงฟังคำครูให้ชัด คือการให้คำจำกัดความ คือการกำหนดความหมายถูกต้องและชัดเจน ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติเพื่อให้ครูและนักเรียน เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ในเรื่องความหมาย หลักการปฏิบัติ ทิศทางการปฏิบัติ และผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ เช่น What is the Boon (Punna)? 3.ตริตรองธรรม หมายถึงตรองคำครูให้ลึก คือการไตร่ตรองให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงวัตถุประสงค์ของธรรมะในเรื่องนั้นๆ ตรงกับคำว่าWhyทำไมต้องทำบุญ 4.ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม หมายถึงทำตามครูให้ครบ อย่างเช่นลูกศิษย์เป็นร้อยคนไปเรียนจากครูคนเดียวกัน แต่กลับทำได้ไม่เหมือนกัน
สรุปว่าถ้าคิดวิจารณ์ในกรอบนี้พี่คิดว่าคนคิดจะได้ประโยชน์นะครับ ส่วนว่าจะเข้ากับข้อใหนต้องพิจารณาเอาเองนะครับเพราะมันเกี่ยวเนื่องกันหมดครับ
เสนอไว้เป็นข้อคิดเห็นอันหนึ่งนะครับ แต่ส่วนวิถีชีวิตความคิดเห็นของคนอเมริกันพี่ก็ยังอยากจะศึกษาอยู่ครับ ขอบคุณน้องสำหรับความรู้ครับ
โดย: P'jumbo IP: 58.10.234.213 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:23:57:57 น.
  
แอบแวะเข้ามาดูบ่อย ๆ ค่ะ วันนี้ขอแสดงตัวนะคะ

แล้วจะเก็บไปใช้ประโยชน์ค่ะ ขอบคุณค่ะ
โดย: Little Bear (LittleBearProject) IP: 202.28.4.15 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:23:41 น.
  
มีความรู้
โดย: boyblackcat วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:17:58:14 น.
  
ถ้าอยากถามว่าทำไมคุณถึงคิดว่าฉันสวยจะถามอย่างไรดี
โดย: จอย IP: 202.28.180.202 วันที่: 8 กันยายน 2551 เวลา:12:37:21 น.
  
อยากได้คำถามที่ขึ้นด้วย What พร้อมแปลภาษาไทยค่ะ จะได้ทำรายงาน
โดย: หน้าขี้เร่ IP: 192.168.103.248, 58.147.69.168 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:31:12 น.
  
When I went to brush my teeth, I was almost surprised that the face in the mirror hadn’t changed.
ฉบับแปล ในขณะที่ฉันแปรงฟัน ฉันประหลาดใจที่ใบหน้าไม่ได้เปลี่ยนไป
*** วิจารณ์การแปลหน่อยค่ะ ว่าเป็นการแปลประเภท?
โดย: JKM IP: 58.10.102.239 วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:17:30:33 น.
  
I was clearly beginning to cross his cautious lines, for once he didn’t stop me.
ฉบับแปล ฉันรู้ตัวแล้วว่าฉันก้าวข้ามเส้นต้องห้ามที่เขาวางไว้ ครั้งนี้ดูเหมือนว่าเขาจะไม่ห้ามปราม
*** วิจารณ์การแปลหน่อยค่ะ ว่าเป็นการแปลประเภท?
โดย: JKM IP: 58.10.102.239 วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:17:31:30 น.
  
The relief I felt when I turned on to my street and saw Edward’s silver car.
ฉบับแปล ฉันโล่งอก หัวใจพองโต เมื่อหักเลี้ยวเขาถนนแล้วมองเห็นรถสีเงินของเอ็ดเวิร์ด
จากภาษาฉบับแปลข้างต้น
*** วิจารณ์การแปลหน่อยค่ะ ว่าเป็นการแปลประเภทไหน?
โดย: JKM IP: 58.10.102.239 วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:17:32:33 น.
  
I took my time coming back down the stairs, camera in hand, trying to ignore the butterflies in my stomach.

ฉบับแปล ฉันไม่เร่งร้อนเดินลงมาชั้นล่าง กล้องถือในมือ พยายามไม่ใสใจฝูงผีเสื้อบินพล่านในช่องท้อง.
*** วิจารณ์การแปลหน่อยค่ะ ว่าเป็นการแปลประเภทไหน?
โดย: JKM IP: 58.10.102.239 วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:17:33:21 น.
  
I don’t want you to come with me. “He spoke the words slowly and precisely, his cold eyes on my face.
ฉบับแปล “ ผมไม่อยากให้คุณร่วมทางไปกับผม” เขากล่าวเชื่องช้า ชัดถ้อยชัดคำ สายตาเย็นเยียบจ้องหน้าฉัน
*** วิจารณ์การแปลหน่อยค่ะ ว่าเป็นการแปลประเภทไหน?
โดย: JKM IP: 58.10.102.239 วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:17:34:40 น.
  
I won’t come back. I won’t put you through anything like this again.

ฉบับแปล ผมไม่กลับมาอีก ผมจะไม่พาคุณไปเสียงภัยแบบนั้นอีกแล้ว
*** วิจารณ์การแปลหน่อยค่ะ ว่าเป็นการแปลประเภทไหน?
โดย: JKM IP: 58.10.102.239 วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:17:35:26 น.
  
We have had a brand new frontal lace wigs https://www.youtube.com/watch?v=ovU7TuvxKA8 I endeavor to keep in model with no looking silly. I love these human hair wigs https://www.youtube.com/watch?v=ovU7TuvxKA8. They are no where by as shut in top quality, suit, comfort and longevity--the variance is Day!
โดย: frontal lace wigs IP: 139.99.104.93 วันที่: 16 มกราคม 2563 เวลา:0:06:41 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DrJoyKwanrawee
Location :
Davis, California  United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]