All Blog
วิธีจัดเก็บบทความทางวิชาการ สำหรับนักเรียนปริญญาเอก (ตอนที่ ๑)
การเรียนปริญญาเอก และปริญญาโทในบางสาขา สิ่งที่เป็นส่วนสำคัญในชีวิตการเรียน คือการติดตามอ่านผลงานวิจัยใหม่ๆ ใหม่กว่า textbook ที่ตีพิมพ์ออกมาให้เรียนกัน ผลงานวิจัยนั้นก็อยู่ในรูปของบทความทางวิชาการค่ะ ซึ่งเราเรียกกันว่า journal article หรือสั้นๆว่า paper ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ หรือ Journal ค่ะ คนที่เริ่มเรียนต่อก็คงเริ่มคุ้นๆกันบ้างแล้ว ทีนี้ลองนึกสภาพเวลาเราต้องอ่าน paper เหล่านี้ไปเรื่อยๆ กว่าจะจบเอก เราก็สะสม paper ไว้เป็นตั้งแล้วค่ะ การเก็บเป็นหมวดหมู่เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจัดระบบการเก็บและจดโน้ตตั้งแต่ต้นๆนะคะ เวลาจะหาบาง paper มาอ่าน จะได้รวดเร็ว ไม่สับสน ไม่เสียเวลาค่ะ

ผู้เขียนเองตอนมาเรียนใหม่ๆก็อาศัยถามพี่ๆ และเพื่อนในแลป แล้วก็ทดลองมาด้วยตัวเองค่ะ เปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก ก็เห็นข้อดีข้อเสีย ความสะดวก ไม่สะดวกต่างๆ ก็เลยขอมาสรุปไว้ที่นี้นะคะ คนที่เพิ่งเริ่มเรียนก็ลองอ่านดูนะคะ จะได้เริ่มจัดการตั้งแต่ยังมี collection น้อยๆอยู่ ส่วนใครที่เรียนมาสักระยะ เริ่มเก็บ paper มาส่วนหนึ่งแล้ว ก็ลองอ่านเทคนิคที่จะนำเสนอนี้นะคะ เผื่อว่าจะเอาไปปรับปรุง เสริมเพิ่มเติม ให้สะดวกและดีขึ้นค่ะ ผู้เขียนนำเสนอวิธีการเป็นขั้นๆ นะคะ

การจัดการจัดเก็บ Journal Articles แบ่งเป็น ๒ ส่วน

๑. วิธีเขียนโน้ตและจัดเก็บแต่ละ paper ซึ่งก็แบ่งไปอีก ว่าเป็น paper แบบ electronic file (pdf) หรือเป็นแบบ print ออกมาเป็นกระดาษค่ะ
๒. วิธีจัดการกับ bibliography program (เก็บข้อมูลของทุก Paper ของเรา และช่วยในการ เขียน references เวลาเราเขียนงาน)

วิธีเขียนโน้ตและจัดเก็บแต่ละ paper
ตัว journal article เองมาใน ๒ รูปแบบ คือ เรา download จาก online database ได้ แล้ว save ในรูป pdf file กับอีกแบบคือเรา print เป็นกระดาษออกมา หรือไม่ก็ไป copy จากหนังสือมา ก็อญยู่ในรูปแบบกระดาษเช่นกัน ข้อดีข้อเสียของทั้งสองแบบ ก็มีต่างกัน ดังนี้ค่ะ

Pdf file๑. สามารถเก็บรวมไว้ที่เดียวได้ ใน computer ของเรา เวลาจะไปไหนก็เอา laptop ไปเครื่องเดียว ก็มีที่เราเก็บไว้หมดเลยค่ะ แต่พยายามมี backup ไว้นะคะ ก็เหมือน computer files ทั่วไปค่ะ ที่มีโอกาสข้อมูลสูญหายได้
๒. ใช้ Adobe Acrobat Professional สะดวกในการเปิดอ่าน เปลี่ยนหน้า แล้วก็ highlight หรือเขียนโน้ตได้สะดวกค่ะ
๓. เวลาต้องส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษา หรือเพื่อนในแลปดู ก็สะดวกค่ะ แค่ส่งผ่าน email

Hard copy (แบบกระดาษ)
๑. บางคนถนัดกว่า เพราะเปิดเปลี่ยนหน้าไปมาได้เร็ว แล้วก็จะเขียนอะไรลงไปก็ได้ แต่อันนี้ผู้เขียนใช้ Acrobat ซึ่งอย่างที่บอกค่ะ ใช้งานได้คล่องเท่ากับการเขียนบนกระดาษเลย ก็แล้วแต่ใครถนัดแบบไหนค่ะ
๒. ข้อเสียที่เห็นชัดคือ ต้องพกพา เวลาเราจะเอางานไปอ่าน หรือจะเขียนงานของเราแล้วต้องใช้ papers เหล่านั้นในการอ้างอิง ก็หอบกันหนักเลยค่ะ บางทีลืมไว้ที่ office พอกลับมาบ้านจะใช้ ก็หาไม่เจอ ทำงานต่อไม่ได้ค่ะ
๓. ข้อเสียเรื่องการหอบ จะเป็นปัญหาอีกอย่าง คือตอนเรียนจบ แล้วจะขนกลับเมืองไทย หรือย้ายไปทำงานที่อื่น ก็ต้องเสียค่าส่งค่ะ ถ้ามีเป็น electronic files ไว้ ก็สะดวกกว่าเยอะค่ะ (คนเรียนจบแล้ว อาจจะไม่ต้องใช้ papers เหล่านั้นแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับงานที่เราจะทำต่อค่ะ ถึงงานประจำที่ทำจะไม่เกี่ยวกับหัวข้อวิจัยตอนปริญญาเอกแล้ว แต่ส่วนใหญ่เราก็ยังต้องเขียน paper เพื่อตีพิมพ์ผลงานของเราค่ะ บางทีเราเขียนเสร็จก่อนเรียนจบ แต่กว่าทางวารสารจะส่งให้ reviewers แล้วส่งกลับมาให้เราแก้ก็เป็นเดือนค่ะ เราก็ต้องใช้ papers ที่เราใช้อ้างอิง มาฝช่ในการขียนแก้ค่ะ
๔. ข้อเสียอีกข้อ เปลืองกระดาษค่ะ เปลืองทรัพยากร (ผู้เขียนเป็นวิศวกรสิ่งแวดล้อม)

ตอนต่อไปจะมาเริ่มด้วยการจัดการกับ journal articles ทั้งสองแบบกันนะคะ



Create Date : 07 ธันวาคม 2550
Last Update : 7 ธันวาคม 2550 13:56:40 น.
Counter : 1616 Pageviews.

7 comments
  
want to be like you.I'm so proud of Thailand we have smart girl like you.
DC ka
โดย: aun IP: 68.48.237.73 วันที่: 12 มกราคม 2551 เวลา:8:47:15 น.
  
เป็นข้อเสนอแนะที่ดีมากครับ ผมรบกวนถามอาจารย์หน่อยสิครับ เพื่อนผมจบ ตรี-โท ธรณีเกี่ยวกับน้ำบาดาล ไม่ทราบว่าจะเรียนต่อ ดร. ด้านสิ่งแวดล้อมได้ไหม และอาจารย์คิดว่ามหาวิทยาลัยจะรับหรือเปล่าครับ เพราะงานวิจัยที่ทำทุกวันนี้ก็เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทั้งนั้นน่ะครับ...ขอบคุณครับ
โดย: PERU (Triple B ) วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:15:53:05 น.
  
คุณ PERU ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบลอกนี้นะคะ

ขอตอบคำถามข้างต้นนะคะ คิดว่าเพื่อนคุณ PERU เรียนต่อเอกด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างไม่น่ามีปัญหาเลยค่ะ เพราะตอนที่เรียนก็มีเพื่อนหลายคนที่จบ chemical engineering หรือ civil engineering มาค่ะ ก็ไม่มีพื้นฐานด้านน้ำ อากาศ หรือ ขยะของเสียใดๆที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเลยค่ะ อีกอย่างการวิจัยสมัยนี้ก็เป็น interdisciplinary เยอะค่ะ คือเป็นการใช้ความรู้หลายๆสาขา เราก็สามารถนำความรู้ที่เรียนด้านน้ำบาดาลมาใช้กับงานวิจัยใหม่นี้ได้ หรือจะเริ่มเรียนรู้งานด้านใหม่สำหรับปริญญาเอกเลยก็ได้ค่ะ

ข้อสำคัญคือต้องหาอาจารย์ที่ปรึกษาที่ทำงานวิจัยด้านที่เราสนใจค่ะ คงต้องเช็คทาง website ของภาควิชาแต่ละมหาวิทยาลัยดูนะคะ ว่ามีอาจารย์ท่านไหนที่ทำงานวิจัยที่เราชอบบ้าง

ส่วนที่ถามว่าทางมหาลัยจะรับมั้ย อ้นนี้คิดว่ามี ๒ กรณีค่ะ คือกรณีแรก ถ้าเราได้ทุนมาจากเมืองไทย เวลาสมัครก็ยังไม่ต้องเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา ดังนั้นก็ส่งใบสมัครไปที่ภาควิชาได้เลย ถ้าเกรฑ์ทุกอย่างผ่าน เช่น คะแนน GPA TOEFL และอื่นๆ ผ่าน ก็น่าจะได้รับเข้าไปค่ะ

กรณีที่สอง ถ้าไม่มีทุนมา ก็ต้อง email ไปถามอาจารย์ที่เราสนใจว่ามีทุนให้เราทำวิจัยมั้ยค่ะ เรียนเอกส่วนมากแล้วไม่มีใครจ่ายเงินเองค่ะ เพราะถือเป็นการทำงานให้อาจารย์ อันนี้ถ้าอาจารย์ตกลงรับ ก็ไม่มีปัญหาเลยค่ะ

ขอให้เพื่อนคุณ PERU หาที่เรียนได้ถูกใจนะคะ ที่ตอบไปตรงตามที่ถามมารึเปล่าคะ ถ้าอย่างไรเขียนถามมาเพิ่มได้นะคะ
โดย: DrJoyKwanrawee วันที่: 21 มกราคม 2551 เวลา:14:24:46 น.
  
หนูเรียนสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารจบปริญญาตรีแล้ว เมื่อต่อปริญญโท หนุควรเลือกเรียนสาขาเดิมหรือไม่ค่ะ แล้วถ้า หนูเรียนสาขาอื่นเช่น เคมี จุลชีววิทยาหนูจะเรียนได้ไหมค่ะกรุณใหคำาชี้แนะด้วยคะ ขอบคุณ มากๆ ค่ะ
โดย: ปวีสุดา IP: 202.29.21.51 วันที่: 11 มีนาคม 2552 เวลา:15:44:23 น.
  
ขอตอบคุณปวีสุดานะคะ ขอบคุณสำหรับคำถามนะคะ พอดีว่าผู้เขียนเองก็ไม่ทราบด้าน food science เท่าไรค่ะ แต่เท่าที่ดู สาขานี้ก็น่าจะต้องมีพื้นฐานด้านเคมีกับจุลชีววิทยามาพอสมควร ก็น่าจะเรียนได้นะคะ อย่างไรก็ตามอยากให้คิดไว้ตลอดว่าควรเลือกเรียนสิ่งที่เราชอบจริงๆ เพราะไม่งั้นเรียนไปก็ไม่สนุก ไม่อยากเรียนค่ะ แล้วการเรียนโทก็เป็นอีกขั้นที่ยากขึ้นกว่าการเรียนปริญญาตรี อีกต้องคิดด้วยว่าจะเรียนหลักสูตรที่มีการทำแลบ ทำวิทยานิพนธ์ด้วยหรือไม่

อยากแนะนำให้คิดต่อไปถึงว่าจบแล้วอยากทำอาชีพหรือด้านอะไรด้วยค่ะ อันนี้ ต้องสอบถามจากอาจารย์ของสาขานั้นๆ หรือรุ่นพี่ เป็นต้นค่ะ จำเป็นมากๆเลยค่ะสำหรับการพูดคุยสอบถามจากผู้ที่ทำงานจริงหรือมีประสบการณ์ด้านนั้นๆ เพื่อช่วยเราตัดสินใจค่ะ

หากมีคำถามเพิ่มเติม ขอเชิญถามมาได้นะคะ

แล้วก็ขอเอาใจช่วยค่ะ
โดย: DrJoyKwanrawee วันที่: 18 เมษายน 2552 เวลา:18:39:04 น.
  
จบป. เอก หางานอยากไหมคะ ทางด้านชีวะเคมี
โดย: พนิดา ทองสุก IP: 49.48.34.238 วันที่: 17 กรกฎาคม 2556 เวลา:10:54:19 น.
  
งานราชการ และงานบริษัท ลักษณะงาน เงินเดือน
โดย: พนิดา ทองสุก IP: 49.48.34.238 วันที่: 17 กรกฎาคม 2556 เวลา:10:56:37 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DrJoyKwanrawee
Location :
Davis, California  United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]