All Blog
จัดการเวลาอย่างไรไม่ให้เครียด สำหรับนักเรียนปริญญาโทและเอก (ตอนที่ ๒)
เรื่องการจัดการเวลา (Time management) ของนักเรียนปริญญาโทและเอก ผู้เขียนได้กล่าวบทนำและแนะนำเทคนิคไปบ้างแล้วใน ตอนที่ ๑ ซึ่งสามารถไปติดตามอ่านได้นะคะ คราวนี้มาต่อตอนที่ ๒ ซึ่งผู้เขียนขอแนะนำเทคนิคเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ

๘. การพักผ่อนของคนเรานั้น มีแนวโน้มแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะค่ะ ตามหลักการของ Myer-Briggs Type Indicator (MBTI) ซึ่งเป็นการอธิบายลักษณะบุคลิกของแต่ละคน (personality types) โดยคนเรามีลักษณะบุกลิกต่างกันอยู่ทั้งหมด ๑๖ แบบ น่าสนใจมากทีเดียว ซึ่งในโอกาสต่อไปจะมาเล่ารายละเอียดของแต่ละแบบเพิ่มขึ้นนะคะ ในด้านรูปแบบการพักผ่อน MBTI อธิบายว่าคนเรามีการเติมพลังให้ชีวิต (ซึ่งก็คือการพักผ่อน) อยู่ ๒ ลักษณะ คือ แบบเติมพลังจากคนรอบข้าง แบบนี้เรียกว่า extroversion คนลักษณะนี้ชอบผ่อนคลายหลังเลิกงานด้วยการไปสังสรรค์ (ไม่จำเป็นต้องมีแอลกอฮอล์นะคะ – ผู้เขียนรักษาศีล ๕ ได้ครบถ้วนค่ะ) หรือทำกิจกรรมกับเพื่อนเยอะๆ ในขณะที่คนอีกลักษณะ เรียกว่า introversion ชอบพักผ่อนด้วยการทำกิจกรรมคนเดียวหรือกับครอบครัวหรือเพื่อนสนิทแค่คนสองคนค่ะ เช่นอาจไปดูทีวี ดูหนังฟังเพลงค่ะ สิ่งที่สำคัญคือการที่เรารู้จักตัวเอง ว่าตัวเราชอบทำแบบไหน เพื่อว่าเวลาเราเครียดจากงาน เราจะได้เติมพลังให้กับชีวิตได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมกลับไปทำงานในวันถัดไปค่ะ

๙. ในการแบ่งเวลาไปพักผ่อนนั้น สิ่งที่สำคัญอีกอย่าง คือ เราแบ่งเวลา เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่นค่ะ ส่วนใหญ่นักเรียนโทหรือเอกที่เจอ จะมีความกังวลเรื่องงานตลอดเวลา ส่วนหนึ่งผู้เขียนคิดว่า มาจากการที่เวลาเราทำงานวิจัย มันไม่มีกำหนดการหรือ guideline แน่นอนว่าเราทำวิจัยแค่ไหนถึงจะพอ ไม่มีกำหนดตายตัวว่าเรียนเวลากี่ปีกี่เดือนถึงจะจบ เราก็เลยอยากจะทำงานให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะได้จบเร็วที่สุด แต่การตั้งเป้า มากที่สุด หรือ เร็วที่สุด มันไม่ชัดเจน คือจับต้องไม่ได้ เราก็เลยมีความรู้สึกผิด (guilty) ตลอดเวลาว่า เราควรทำงานให้ได้มากกว่านี้ เวลาที่เรามาพักผ่อน ไปเที่ยว หรือกลับเยี่ยมบ้าน เราก็จะคิดอยู่ว่า จริงๆเราน่าจะทำงานนะแทนที่จะเอาเวลามาเที่ยว จริงรึเปล่าคะ จริงๆแล้ว อย่างที่เขียนไปข้างต้น ว่าการพักผ่อนเป็นส่วนสำคัญเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เวลาที่เราพัก ก็อย่าไปกังวล อย่าไปคิดเรื่องงานเลยค่ะ เวลาพักก็พักให้เต็มที่ การพักผ่อนของเราจะได้ไม่ถูก compromised ลดหย่อนประสิทธิภาพลงไป ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเสียเวลานั่นเองค่ะ

๑๐. จากหนังสือ The Seven Habits … อีกเหมือนกันค่ะ มีอีกข้อที่เค้าแนะนำคือ คนเราต้องไม่แปรอารมณ์ไปตามสิ่งแวดล้อม ก็คือถ้าเราวางแผนไว้แล้วว่าวันนี้จะไปทำแลบหรือจะไปอ่านหนังสือห้องสมุด แต่พอตื่นเช้ามาฝนตก หรือ หิมะตกทั้งวัน อากาศอึมครึม เลยกลายเป็นไม่อยากออกจากบ้านไปไหน อันนี้ก็ไม่ดีค่ะ ถ้าเราตั้งใจทำอะไรแล้วก็ควรทำให้ได้ ถ้าเราคิดจะพัก ก็พักให้เต็มที่ แนะนำว่าให้เราบอกกับตัวเองว่า วันนี้ฝนตก ไม่อยากไปห้องสมุดตามที่วางแผนไว้ แต่ยังไงเราก็ต้องไป แล้วเวลาเราอ่านหนังสือเสร็จ จะให้รางวัลตัวเอง ด้วยการไปดูหนัง เป็นต้นค่ะ

๑๑. ในงาน project หนึ่งๆ งานที่เป็นขั้นย่อยๆอาจประกอบด้วยงานหลายๆชนิด เช่นงานใช้ความคิดมาก หรืองานที่ไม่ต้องใช้ความคิดเท่าไร ให้ list งานแต่ละขั้น แล้วแบ่งตามประเภท งานที่ต้องใช้ความคิดมากๆ ให้ทำในช่วงเวลาที่เราตื่นตัวมากที่สุด เช่น ตอนเช้า ส่วนงานที่ไม่ต้องใช้ความคิด ก็ไว้ทำเวลาที่เราเริ่มเหนื่อยนิดหน่อยได้ ช่วงที่ผู้เขียนกำลังรีบเร่งเขียนวิทยานิพนธ์ให้เสร็จ แล้วพอดีต้องเดินทาง วันนั้นไปติดอยู่ที่สนามบินที่ชิคาโก เนื่องจากอากาศไม่ดี เครื่องบิน delayed อยู่ที่สนามบินเป็นเวลาทั้งหมด ๘ ชั่วโมง ตอนนั้นไม่ค่อยมีสมาธิเท่าไร เหนื่อยด้วย เครียดด้วยเพราะไม่รู้เครื่องบินจะออกเมื่อไร เขียนงานคงไม่ออก ก็เลยนั่งจัด Appendices ที่ใช้แค่การ copy and paste ลงใน MS Excel และจัดรูปแบบให้ลงตัว งานนี้ไม่ต้องใช้ความคิด แต่ใช้เวลาเยอะ ก็เลยทำเสร็จไป ๒ บทของ Appendices ค่ะ

๑๒. นักเรียนปริญญาโทและเอกที่เรียน coursework หมดแล้ว ต่อไปการทำวิจัยก็มีเวลายืดหยุ่นมากขึ้น บางทีอาจจะยืดหยุ่นเกินไป วิธีการก็คือ ให้เราทำงานวิจัยให้เหมือนทำงาน นั่นก็คือกำหนดไปเลยว่าแต่ละวันเราจะใช้เวลาทำงานกี่ชั่วโมง จะเป็น ๘ ชั่วโมงต่อวัน หรือ ๔ ชั่วโมงต่อวัน ก็แล้วแต่เป้าหมายของแต่ละคนค่ะ บางคนเป้าหมายค่อเรียนให้จบไวๆ เพราะมีภาระที่เมืองไทย ก็ทำงานวันละเยอะๆหน่อย บางคนอยากทำงานเก็บเงินไปด้วย ก็แบ่งเวลามาทำงาน part time แล้วเวลาที่ใช้การทำวิจัยก็น้อยลง ก็ไม่มีใครผิดถูกค่ะ ที่สำคัญที่สุด คือการทำไปให้ถึงเป้าหมายของเรานะคะ

ลองเอาไปใช้กันดูนะคะ ใครมีข้อแนะนำหรือติชมอย่างไร ก็แสดงความคิดเห็นมาได้ค่ะ เอาใจช่วยทุกๆคนค่ะ



Create Date : 01 มกราคม 2551
Last Update : 1 มกราคม 2551 1:45:44 น.
Counter : 3057 Pageviews.

12 comments
  


รื่นเริงเถลิงศก

สวัสดีปีใหม่ไทย ๆๆ เรา และ Happy New Year 2008

มีลูกโป่งให้จิ้มนับถอยหลังเล่นๆ รอรอยยิ้มวันฉลองความสุข

โดย: =Lord Gary= วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:1:58:06 น.
  
ขอบคุณค่ะ ปวดหัวกับการเรียน แล้วก็การงานพอๆกัน
แบ่งเวลาไม่ดี เลยนอยเลยค่ะ

สวัสดีปีใหม่ มีความสุขมากๆนะคะ
โดย: three season วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:2:12:50 น.
  
Photobucket
โดย: conejodulce วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:2:38:21 น.
  
สวัสดีปีใหม่ค่ะ แต่มันก็แบ่งเวลายากจริงๆ นะ
โดย: veeda วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:3:17:51 น.
  
ขอบคุณค่ะ
สวัสดีปีใหม่นะคะ
โดย: sunny IP: 24.110.108.4 วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:5:29:02 น.
  


สวัสดีปีใหม่ครับ


ขอให้ สุข สมหวัง ร่ำรวย สมปรารถนา ทุกประการ ทุกวันทุกคืน ครับ


โดย: พฤกษาริมน้ำ วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:8:09:27 น.
  
ข้อ 8 ใช้การพักผ่อนแบบ Introversion มากกว่าค่ะ

อ่าน 7 Habits เหมือนกันค่ะ
แต่ยังทำได้ไม่ครบ....แย่จังเลยค่ะ
ไม่เห็นฝั่งซะที
โดย: MicroMirror วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:8:29:55 น.
  
ขอบคุณค่ะ กำลังศึกษาปริญญาโทเหมือนกัน น่าจะเอาไปใช้ได้



สวัสดีปีใหม่ค่ะ
โดย: แพร (bookofpear ) วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:15:11:07 น.
  
สวัสดีครับ ขอบคุณครับ ขอโทษครับ ไม่เป็นไรครับ

คาถาสี่คำนี้ ถ้าใช้ให้ยิ่งบ่อย ชีวิตจะไม่เครียดครับ

Happyๆ นิว year นะครับ..^o^

เมี๊ยวๆๆ
โดย: แมวกนล วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:15:45:16 น.
  
จะพยายามเป็นคุณหมอที่ดีนะครับ
โดย: คนคนนี้ มีความเหงาเป็นเพื่อน วันที่: 4 มกราคม 2551 เวลา:23:38:34 น.
  
ขอบคุณค่ะ เห็นภาพการคิดชัดเจนขึ้นเยอะเลย ^^
โดย: gift IP: 124.121.141.89 วันที่: 28 สิงหาคม 2553 เวลา:1:03:30 น.
  
ยินดีค่ะที่เป็นประโยชน์ คิดเห็นอย่างไรก็แบ่งปันกันได้ค่ะ
โดย: DrJoyKwanrawee วันที่: 16 กันยายน 2553 เวลา:16:29:25 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DrJoyKwanrawee
Location :
Davis, California  United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]