All Blog
ระบบศาลของสหรัฐอเมริกา
ระบบศาลของสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกามีระบบศาลคู่ ได้แก่ ศาลรัฐบาลกลาง (Federal Court System) และศาลมลรัฐ (State Court System)
ระบบศาลของรัฐบาลกลาง
ศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นเป็นศาลที่ทำหน้าที่สืบพยานและมีคำพิพากษาในคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของตน โดยทั่วไปเรียกว่า U.S. district court ซึ่งแบ่งเป็น 96 เขต (district) ในแต่ละเขตจะมี district court อย่างน้อย 1 ศาล เกือบทุกคดีที่เป็นคดีตามกฎหมายรัฐบาลกลางจะต้องทำการพิจารณาที่ District court
ศาลชั้นกลางศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เป็นศาลในลำดับชั้นที่สอง โดยแบ่งเป็น 12 ภาคกับเขตดีซี ศาลในแต่ละภาคจะพิจารณาคดีที่มาจาก district court ในภาคของตน นอกจากนี้ การอุทธรณ์จากหน่วยงานทางปกครอง (administrative agency) ก็ทำการพิจารณาที่ศาลอุทธรณ์ภาคนั้นๆ
ศาลสูงสุดหรือศาลฎีกา
ศาลฎีกาสหรัฐอเมริกาเป็นศาลสูงสุด โดยจะพิจารณาคดีที่มีการฎีกาขึ้นมาจากศาลอุทธรณ์ภาคต่างๆ ในบางกรณีก็มีการสืบพยานที่ศาลฎีกาด้วย แต่ก็ทำน้อยมาก เช่น คดีที่ฟ้องดำเนินคดีเอกอัคราชทูตต่างประเทศ เป็นต้น
ระบบศาลมลรัฐ
ศาลของมลรัฐนั้นไม่มีลักษณะโครงสร้างเดียวกันเพราะแต่ละรัฐก็มีระบบเป็นของตนเอง อย่างไรก็ดีทุกรัฐยังคงเดินตามโครงสร้างทั่วไปของระบบศาลรัฐบาลกลาง
ศาลชั้นต้น
ในระบบศาลมลรัฐศาลชั้นต้นหรือศาลที่ทำการสืบพยานจะถูกกำหนดและจัดตั้งโดยมลรัฐนั้นเอง ซึ่งโดยปกติมักจะกำหนดตามเขตจังหวัด(county) โดยเรียกชื่อศาลแตกต่างกันไป อาทิเช่น courts of common plea หรือ county courts สำหรับรัฐนิวยอร์คนั้นมีเอกลักษณ์พิเศษ กล่าวคือ ใช้คำว่า supreme court สำหรับศาลชั้นต้น คดีเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมของศาลมลรัฐโดยทั่วไปจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลมลรัฐ รวมทั้งคดีละเมิดของเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย
ศาลชั้นกลางหรือศาลอุทธรณ์
มีโครงสร้างคล้ายกับศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลาง โดยเป็นศาลที่มีเขตอำนาจกว้างขวาง พิจารณาอุทธรณ์จากศาลชั้นต้น แต่มีอำนาจจำกัดในคดีที่อุทธรณ์มาจากหน่วยงานทางปกครอง ชื่อเรียกก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐ เช่น Court of appeal หรือ superior courts
ศาลสูงสุดหรือศาลฎีกา
เป็นศาลสูงสุดของทุกรัฐ โดยทั่วไปจะเรียก Supreme Court ในบางรัฐเป็นที่รู้จักในนาม court of appeals มีรัฐจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งที่คู่ความสามรถอุทธรณ์ได้สองครั้ง (อุทธรณ์และฎีกา) แต่อีกครึ่งที่เหลือมีเพียงศาลอุทธรณ์เท่านั้น
การเลือกศาล
การฟ้องคดีโดยทั่วไปแล้วต้องฟ้องที่ศาลชั้นต้น โจทก์จะเป็นผู้เลือกศาลที่จะฟ้องคดี ซึ่งคิดว่าเหมาะสมกับตน และมีบางคดีที่โจทก์อาจจะเลือกว่า จะฟ้องคดีต่อศาลมลรัฐหรือศาลรัฐบาลกลาง อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าโจทก์จะเลือกฟ้องคดีต่อศาลมลรัฐ แต่จำเลยยังคงมีสิทธิขอโอนคดีไปยังศาลรัฐบาลกลาง การกำหนดว่าศาลในระบบใดจะเป็นผู้ที่มีอำนาจพิจารณาคดีใดนั้น ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ฟ้องร้องกันหรือสาระแห่งคดี(subject matter) ซึ่งกำหนดโดยกฎหมายซึ่งจะกล่าวถึงอันดับต่อไป
เขตอำนาจศาจมลรัฐ
ศาลมลรัฐมีเขตอำนาจเหนือทุกคดีทีมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐบาลกลาง(ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป) ศาลรัฐบาลกลางมีเขตอำนาจเหนือประเด็นแห่งคดีจำนวนหนึ่ง จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจว่า คดีส่วนใหญ่จะดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลมลรัฐ
เขตอำนาจของศาลรัฐบาลกลาง
มีประเภทคดีจำนวนหนึ่งที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลรัฐบาลกลาง หากศาลมลรัฐทำการพิจารณาและพิพากษาคดีเหล่านี้ คำพิพากษาจะตกเป็นโมฆะ คดีประเภทนี้ได้แก่คดีเกี่ยวกับพาณิชย์นาวี(admiralty) ล้มละลาย(bankruptcy) ลิขสิทธิ์(copyright) สิทธิบัตร(patent) เครื่องหมายการค้า(trademark) คดีฟ้องรัฐบาลสหรัฐ(claims against the U.S. Government) คดีตามกฎหมายระบุให้อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลรัฐบาลกลาง(claims arising under statues providing for Exclusive Federal Jurisdictions) คดีอาญาที่ดำเนินคดีรัฐบาลกลางสหรัฐ(Federal Criminal Prosecutions) คดีเหล่านี้จะดำเนินกระบวนพิจารณที่ศาลรัฐบาลกลาง มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ออกโดยรัฐบาลกลางหลายฉบับที่ให้ศาลรัฐบาลกลางเป็นผู้มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีตามกฎหมายฉบับนั้นการทับซ้อนของเขตอำนาจศาล (Concurrent of Jurisdiction)
มีหลายคดีที่อาจพิจารณาได้โดยศาลรัฐบาลกลางและศาลมลรัฐ โดยเป็นกรณีที่มีการทับซ้อนของเขตอำนาจศาลทั้งสองระบบ ทำให้โจทก์สามารถเลือกฟ้องในศาลใดศาลหนึ่งได้ โดยมีอยู่สองกรณี กล่าวคือ กรณีแรก เป็นปัญหาว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลรัฐบาลกลางหรือไม่ ถ้าคดีนั้นจำเป็นต้องตีความรัฐธรรมนูญสหรัฐ กฎหมายรัฐบาลกลาง สนธิสัญญา เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรัฐบาลกลาง และอาจพิจารณาได้ที่ศาลมลรัฐหรือศาลรัฐบาลกลาง เพราะกฎหมายของรัฐบาลกลางไม่ได้มอบเขตอำนาจโดยเฉพาะให้กับศาลรัฐบาลกลางทั้งหมด อย่างไรก็ดี กฎหมายสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลกลางจำนวนมากให้อำนาจโดยเฉพาะแก่ศาลรัฐบาลกลาง
กรณีที่สองเป็นเรื่องที่มาจากความหลากหลายของพลเมืองสหรัฐ เมื่อองค์ประกอบของคดีมาจากต่างรัฐกัน ก็จะเกิดกรณีนี้ขึ้น เงื่อนไขข้อนี้จะต้องสมบูรณ์ กล่าวคือหากคู่ความทั้งสองฝ่ายอาศัยอยู่ในรัฐเดียวกัน ความแตกต่างก็หมดไป ตัวอย่างเช่น โจทก์เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ที่รัฐโอไฮโอ และจำเลยคนหนึ่งมีถิ่นที่อยู่ที่รัฐมิชิแกนและอีกคนมี่ถิ่นที่อยู่ที่รัฐอินเดียนา กรณีนี้จะมีประเด็นเรื่องความแตกต่างเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ถ้าโจทก์ชาวโอไฮโอฟ้องจำเลยชาวมิชิแกนและชาวโอไฮโอก็ไม่เข้าเงื่อนไขในความแตกต่างนี้และไม่เป็นการทับซ้อนของเขตอำนาจศาล นอกจากนี้ถ้าฐานของเขตอำนาจศาลรัฐบาลกลางมาจากข้อความแตกต่างของพลเมือง ข้อพิพาทนั้นต้องมีทุนทรัพย์ตั้งแต่ 50,000 เหรียญสหรัฐขึ้นไป
เมื่อคดีตกอยู่ในความทับซ้อนของเขตอำนาจศาลรัฐบาลกลางเพราะปัญหาเรื่องรัฐบาลกลางหรือความแตกต่างของพลเมือง โจทก์อาจฟ้องคดีได้ไม่ว่าที่ศาลรัฐบาลกลางหรือศาลมลรัฐ ถ้าได้ฟ้องร้องคดีที่ศาลมลรัฐ จำเลยมีสิทธิขอโอนคดีไปยังศาลรัฐบาลกลาง ถ้าฟ้องคดีที่ศาลรัฐบาลกลางก็คงต้องพิจารณาที่ศาลนั้น
เหตุที่คู่ความมีสิทธิขึ้นศาลรัฐบาลกลางก็เพื่อหลีกเลี่ยงความกังวลในเรื่องอคติของศาลมลรัฐ ลูกขุนในศาลมลรัฐโดยทั่วไปก็มักจะคัดเลือกมาจากคนในจังหวัดนั้นเอง แต่ลูกขุนในศาลมลรัฐจะคัดเลือกมาจากเขตทั้งหมด ซึ่งรวมหลายจังหวัด ลูกขุนในศาลมลรัฐจึงมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันมากกว่าในศาลรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ หลายคนเชื่อว่าผู้พิพากษาศาลรัฐบาลกลางมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาซึ่งต้องมีการตีความกฎหมายรัฐบาลกลาง และมีคุณภาพมากกว่าในในการรับฟังคดีเหล่านี้ นอกจากนี้ หากคู่ความมีความจำเป็นต้องยื่นฎีกาต่อศาลฎีกา การเริ่มต้นฟ้องคดีที่ศาลชั้นต้นของรัฐบาลกลางจะช่วยลดขั้นตอนในการอุทธรณ์หนึ่งขั้น
เขตศาล(Venue)
เขตอำนาจศาลตามสาระแห่งคดีกับเขตศาลเป็นคนละเรื่อง เมื่อทราบแล้วว่าศาลในระบบใดมีเขตอำนาจพิจารณาคดีแล้ว สิ่งที่ต้องทราบต่อไปคือ ศาลใดในระบบนั้นจะมีอำนาจรับคดีไว้พิจารณา โดยพิจารณาตามเขตทางภูมิศาสตร์(Geographic location) โดยทั่วไปจะยึดเกณฑ์ที่คล้ายกัน กล่าวคือ ถิ่นที่อยู่ของจำเลย ที่ตั้งของทรัพย์ที่พิพาท หรือสถานที่มูลคดีเกิดขึ้น หากมีจำเลยหลายคนที่อาศัยอยู่ในเขตศาลต่างกัน โจทก์สามรถเลือกฟ้องยังศาลใดศาลหนึ่งที่จำเลยเหล่านั้นมีถิ่นที่อยู่อยู่ในเขตอำนาจศาลได้ ในกรณีของบริษัท ถิ่นที่อยู่ได้แก่ ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ถ้าเป็นบรัทขนาดเล็กก็อาจหมายถึงโรงงานหรือสำนักงาน ถ้าโจทก์อาศัยอยู่ที่ Wood County ฟ้องจำเลยที่อาศัยอยู่ที่ Lucas County ในคดีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่ Huron County ศาลที่มีอำนาจจะพิจารณาได้แก่ทั้งสามเขตศาลนั้น ซึ่งโจทก์อาจเลือกฟ้องยังศาลใดศาลหนึ่งในสามศาลนี้
ในกรณีที่ศาลที่รับคดีไว้พิจตารณาไม่สะดวกแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็อาจขอให้โอนคดีไปยังศาลที่สะดวกกว่า ตามหลัก forum non conveniens ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตตามคำขอดังกล่าว




Create Date : 04 มีนาคม 2551
Last Update : 4 มีนาคม 2551 14:37:33 น.
Counter : 6310 Pageviews.

0 comment
การดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศสหรัฐอเมริกา
การดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศสหรัฐอเมริกา
หากกล่าวโดยทั่วไปแล้ว ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ไม่มีการจัดตั้งศาลคดีสิ่งแวดล้อมไว้เป็นการเฉพาะเพื่อพิจารณาคดีประเภทนี้เหมือนอย่างเช่นที่มีศาลคดีสิ่งแวดล้อมจัดตั้งไว้เป็นการเฉพาะในบางรัฐของประเทศออสเตรเลีย การฟ้องคดีและการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงกระทำที่ศาลตามปกติเหมือนคดีทั่วไป (ยกเว้นในบางมลรัฐ ได้แก่ มลรัฐเวอร์มอนท์มีการออกกฎหมายจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม)
การดำเนินคดีในประเทศสหรัฐเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าเป็นระบบกล่าวหา(Adversary system) ในระบบกล่าวหานั้น ผู้ค้นหาข้อเท็จจริง (ศาลหรือลูกขุนแล้วแต่กรณี) ทำหน้าที่อย่างเป็นกลางในการรับฟังพยานหลักฐานและข้ออ้างของทั้งสองฝ่ายแล้วทำคำชี้ขาดหรือพิพากษาบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่มีการนำเสนอโดยคู่ความแต่ละฝ่าย




Create Date : 04 มีนาคม 2551
Last Update : 4 มีนาคม 2551 14:34:29 น.
Counter : 463 Pageviews.

0 comment
CERCLA
the Comprehensive Environmental Response, Compensation , and Liability Act of 1980 (CERCLA) หากเทียบกับRCRAแล้วอาจกล่าวได้ว่า RCRA เป็นกฎหมายที่มองไปข้างหน้า ส่วนCERCLA นั้นมองย้อนกลับหลัง โดย CERCLAเป็นกฎหมาย มีจุดประสงค์หลักในการกำหนดความรับผิดทางแพ่งเกี่ยวกับการทำความสะอาด ขจัดมลพิษที่รั่วไหลลงในพื้นที่งาน แต่ก็มีบางมาตราที่กำหนดให้ผู้ที่ทำ TSD (Treatment, Storage and Disposal)ต้องรายงานให้ EPAทราบถึงการปล่อยสารพิษลงในไซท์งานของตน สิ่งท สำคัญมากสำหรับกฎหมายฉบับนี้ก็คือการกำหนดความรับผิดในการทำความสะอาดพื้นที่ แก่คู่กรณีที่อยู่ในข่ายที่ต้องรับผิด (Protentially Responsible Parties, PRPs) ได้แก่
(1) ผู้ก่อ (Generators)
(2) เจ้าของหรือผู้ดำเนินการพื้นที่ที่มีการปล่อยวัตถุอันตรายนั้น (Owners or operators)
(3) ผู้ใดที่เข้าเกี่ยวข้องจัดการให้มีการทิ้งวัตถุอันตรายนั้น(Arrangers)
(4) ผู้ขนส่ง (Transporters)



Create Date : 22 พฤษภาคม 2550
Last Update : 22 พฤษภาคม 2550 4:18:26 น.
Counter : 810 Pageviews.

0 comment
RCRA
RCRA ประกาศใช้เมื่อปี 1976 เนื่องจากประชาชนเริ่มเกิดความหวั่นเกรงเกี่ยวกับปัญหาการรั่วซึมและแพร่กระจายของวัตถุอันตรายที่ถูกทิ้งเป็ขขยะ โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ(Environmental Protection Agency, EPA)ได้ทำการประเมินเมื่อปี 1981 พบว่ามี่ขยะที่เป็นวัตถุอันตรายเกิดขึ้นในสหรัฐมากถึง 290ล้านตัน ผู้ที่ก่อให้เกิดขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่คือภาคอุตสาหกรรม โดยเป็นอุตสาหกรรมด้านเคมีและปิโตเลียม 71% ด้านโลหะ 22%
ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศใช้ RCRA นั้น มีการเก็บขยะเหล่านี้ในดินหรือที่มีน้ำท่วมถึงเมื่อเกิดฝนตกหรือน้าท่วมก็เกิดการแพร่จายและซึมลงไปเจือปนกับน้ำใต้ดิน เกิดความเดือดร้อนกับปนะชาชนซึ่งต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค
RCRAมีจุดประสงค์ในการควบคุมการจัดการ การจัดเก็บและการทิ้งขยะ รวมทั้งกำหนดความรับผิดทางแพ่งกับบุคคลที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม



Create Date : 22 พฤษภาคม 2550
Last Update : 22 พฤษภาคม 2550 3:46:23 น.
Counter : 928 Pageviews.

0 comment
การศึกษาวิชากฎมายสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา
ในการศึกษาเกี่ยวกับวิชาด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ Boalt Hall นั้น วิชาที่เป็นพื้นฐานก็คือ Environmental Law and Policy ซึ่งสอนโดย Prof. Daniel A. Farber เนื้อหาของวิชานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม และกฎหมายสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกาที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
ปัจจุบันปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากขึ้นทุกวัน Climate Change และGlobal warming เป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันอย่างมากมาย โดยเฉพาะรัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียคนเหล็กอาโนลชวาซเนเกอร์ ให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก ถึงขนาดทำความตกลงกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษในเรื่องความร่วมมือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเมื่อปลายปี 2006
ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น รัฐอาจใช้เครื่องมืออาทิเช่น ภาษี การออกกฎหมายควบคุม กฎหมายละเมิด หรือโทษทางอาญาในการรักษาสิ่งแวดล้อม
มีการกำหนดแผนนโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรอบและแนวทางให้แก่รัฐต่างๆในการกำหนดนโยบนาและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในระดับรัฐ
การรับรองสิทธิของประชาชนในการดำเนินคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
การให้อำนาจตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานรัฐโดยศาล (Judicial Review)
กฎหมายที่สำคัญๆเช่น National Policy Act (NEPA), Clean Air Act (CAA), Clean Water Act, Endanger Species Act (ESA), Resource Conservation and Recovery Act (RCRA),Comprehensive Environmental Response, Compensation, and Liability Act (CERCLA) เป็นต้น



Create Date : 20 พฤษภาคม 2550
Last Update : 22 พฤษภาคม 2550 3:28:03 น.
Counter : 746 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  

Env. Boalt
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments