เขียนแบบธรรมชาติ นึกอะไรได้ก็เขียน

Financial Engineering กับคำถามที่คนสงสัย ภาคสอง: จะเลือกมหาลัยอย่างไร? (2.3)



Financial Engineering กับคำถามที่คนสงสัย ภาคสอง: จะเลือกมหาลัยอย่างไร? (2.3)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คุณCherryboyd สมาชิกท่านหนึ่งในพันทิพย์ เคยโพสท์ภาคแรกไว้นานมากแล้ว ซึ่งเลือกอ่านได้ที่ group blog "Financial Engineering กับคำถามที่คนส่งสัย ภาคหนึ่ง" ซึ่งอยู่ที่มุมขวาของบล็อกนี้นะครับ ส่วนภาคใหม่นี่ คุณCherryboyd เพิ่งเขียนเสร็จ และฝากผมมาโพสท์ครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


คิดดีๆก่อนมาเรียน FE
1. ตอนนี้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก กำลังสู่ภาวะถดถอย (จะฟื้นเมื่อไรก็ไม่รู้) FEเป็นสาขาที่ พูดจริงๆแล้ว หางานทำได้เฉพาะธนาคารเท่านั้น อาจจะมีไปทำ Consultได้บ้าง หรือ บริษัทประกันได้บ้าง แต่ไม่มาก แน่ใจหรือเปล่าว่าจะหางานได้ แน่ใจหรือว่า เศรษฐกิจไม่ปรกติอย่างนี้ ที่บ้านส่งไหว ถ้าเกิดวิกฤษเศรษฐกิจอีกรอบ เงินบาทอ่อนลงไปกว่านี้ ที่บ้านรับภาระได้หรือไม่? ค่าครองชีพระหว่างเรียนเท่าไร New York City อย่างต่ำเดือนละ $2000 นะครับ สำหรับกินอยู่แบบไม่ลำบาก ไหวไหม? หาโชคร้ายงานไม่ได้ต้องกลับไทยคุ้มไหม? อยากทำงานอเมริกาไหม? อัตราภาษีเงินได้เมกา ถ้าโดนไป35%น่ะครับ จะคืนทุนกี่ปี? ดูตามข่าวเรื่องVisa H1Bหรือยัง ง่ายลงหรือยากขึ้น? การแข่งขันใน Wall Street ขนาดไหน? เงินดีแต่ชอบงานแข่งขันสูงๆหรือเปล่า? จะเรียนFEลองประเมินตลาดดูก่อนนะ อย่าลืมว่า ตอนเราจบ ก็จะมีคนจบใหม่ๆมาเหมือนกัน
2. การแข่งขันในการสมัครเข้าเรียนตอนนี้ สูงมากๆๆ เพราะ นักเรียนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จากทั่วโลก ส่งใบสมัครมาหา มหาวิทยาลัยระดับ Top โดยเฉพาะ จีนและอินเดีย ที่พื้นฐานทางด้านคำนวณ/ภาษาค่อนข้างดี รับได้ 50 คน ใบสมัครห้าร้อย พันนึง อย่างต่ำ สำหรับมหาวิทยาลัยดังๆ ไหวหรือเปล่า อะไรพอสู้ได้ไหม? GPAดีไหม, Recommend ประสบการณ์ทำงาน Essay – ไม่ได้บอกว่า ต้องดีเลิศทุกอย่าง แต่อย่างน้อยต้องมีจุดขายบ้าง กิจกรรม ความเป็นผู้นำ ภาษา เส้นสายRecommendation ประสบการณ์การทำงาน แรงบันดาลใจ หาข้อมูลเยอะๆ
a. ขยายความเรื่อง Essayหน่อย เมืองไทยยังไม่ค่อยมี FE คุณรู้แล้วหรอว่า FEคืออะไร ทำไมถึงดลใจให้คุณอยากมาเรียน คุณสนใจด้านไหนเป็นพิเศษ ไม่ได้เขียนง่ายๆนะครับ ไมไช่เขียนว่า อยากเป็น Trader อยากทำงานในตลาดหุ้น หรือจะ Google/Wiki ข้อมูล financial engineering แล้วมาเขียน Essay ให้คนอ่านประทับใจ พวกเขียนว่า อยากเป็นความประทับใจพ่อแม่ อยากพัฒนาประเทศชาติ ก็หาเหตุผลดีๆ แล้วก็สมเหตุสมผลด้วยนะครับ ไม่ไช่สุดท้ายก็ทำงานเมืองนอก แล้วมันพัฒนาประเทศชาติตรงไหน
3. ไม่ได้เอ่ยถึงเรื่อง GRE กะ Toefl เลย อยากจะบอกว่า สายวิทย์ไม่ค่อยสน GRE ครับ (แต่ GMATสน) เป็นปัจจัยอย่างท้ายๆเลยที่เค้าดู Toefl เนี่ย ผ่านเกณฑ์ก็พอ แล้ว ออ สำคัญมากไม่รู้มีใครบอกคุณหรือไม่..... Speaking สำคัญที่สุด ห้ามต่ำเด็ดขาด เมกา หากคุณพูดไม่รู้เรื่อง สื่อสารไม่ได้ มหาวิทยาลัยเขี่ยทิ้งอย่างแรกเลยครับ (30ห้ามต่ำกว่า 22 นะครับ Speaking สำหรับมหาวิทยาลัยดีๆ- ต่ำกว่า 17 ควรสอบใหม่ครับ)
4. มหาวิทยาลัย ตอนนี้ก็เปิด FEมากขึ้นเรื่อยๆ บางมหาวิทยาลัยได้ข่าวลือว่า เปิดป.ตรีแล้วด้วยซ้ำ (เมืองไทย จุฬาก็กำลังจะเปิดภาคinterแล้ว ธรรมศาสตร์ก็มีนานแล้ว) ก็มีทางเลือกกันมากยิ่งขึ้น ก็อาจจะดีว่า คุณสมัครได้ง่ายขึ้นเพราะมีตัวเลือกมากขึ้น ขอให้ดูเรื่องคุณภาพด้วยนะครับ มหาวิทยาลัยที่ดังๆก็ยังกระจุกตัวอยู่ที่เดิมชื่อเดิมๆเข้ายากๆเหมือนเดิม เรื่องความดังของมหาวิทยาลัยเรายังไม่พูดตอนนี้ อยากพูดเรื่องว่า มหาวิทยาลัยพร้อมที่จะสอนหรือยังมากกว่าดีกว่า? มหาวิทยาลัยที่เพิ่งเปิดใหม่ๆ บางทีอาจจะยังไม่พร้อม ทั้งเรื่องครูสอน เรื่องการหางาน ก็อยากเตือนให้พิจารณาดีๆด้วยนะครับ อาจจะดูว่า รุ่นพี่หางานกันได้ไหม? หลักสูตรเป็นยังไง? ชื่อเสียงดีพอจะหางานได้หรือปล่าว ครบพอทำงานหรือเปล่า? ถ้าเขาหวังจะจ้างคุณเงินเดือนแพงๆ คิดว่าตัวเองจบแล้วดีพอให้เค้าจ้างไหม? เช่น มีเขียนโปรแกรมไหม? มีเลขไหม? มีสอนStochastic calculus ไหม? วิชาอะไรบ้าง เรียนที่ไหน ไปเรียนกับเด็กBusiness เรียนกับเด็กMath เรียนกับวิศวะ หรือว่าเปิดวิชาต่างหาก (ดูรหัสก็ได้ครับ) ออ ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยก็ขอให้ดูนิดนะครับ FE มันทำงานกับธนาคาร กับธุรกิจ ถ้ามหาวิทยาลัยมันอยู่กลางป่าเขา ห่างไกล มันเหมาะไหม? เขาสอนได้ เปิดหนังสือได้ แต่ว่า มันห่างไกลตลาด เหมือนคุณเรียนเกี่ยวกับมหาสมุทร แต่ไปเรียนที่ๆไกลทะเล ดีไหม? คุณจะ ตามข่าวสารยาก ความรู้ใหม่ๆอาจจะไม่update อาจจะต้องเดินทางมาเข้าเมือง มาสมัครงาน มาสัมภาษณ์บ่อยๆ บริษัทก็อาจจะ ไม่อยากมาโปรโมทหาเด็ก ไม่อยากมาสัมภาษณ์ที่มหาวิทยาลัย (ถ้าไม่ดังจริง) เดินทางทีบินทีสองต่อ แอบบินไปสัมภาษณ์งาน ขากลับติดพายุหิมะ ต้องนอนสนามบิน กลับมาสอบเก็บคะแนนไม่ทัน ก็มีนะครับ

ที่บอกตรงๆ ไม่ไช่ไม่อยากให้มาสมัคร ไม่อยากให้มาเรียน แต่บอกเพราะอยากให้เห็นความเป็นจริง สมัครแล้วไม่ได้ สมัครใหม่อีกปีหน้า เสียเวลาไปเปล่า หรือ เสียเวลาไปเตรียมตัวอะไรที่มันไม่จำเป็น ไม่ไช่มาเรียนแล้วไม่เป็นอย่างที่หวัง หรือ มาเรียนแล้ว ทุกข์ แย่สุด คือ มาเรียนแล้วจบไปทำงานอย่างอื่น ไม่ได้ทำงานอย่างที่เรียน ตอนตัวเองสมัครก็คิดเหมือนกัน ว่า น่าจะมีคนบอกอย่างนี้ ก็ไม่เห็นมีใครบอกมา

สุดท้ายก็ขอให้ทุกคนโชคดีครับ





 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 7 กรกฎาคม 2551 6:00:57 น.
Counter : 1144 Pageviews.  

Financial Engineering กับคำถามที่คนสงสัย ภาคสอง: จะเลือกมหาลัยอย่างไร? (2.2)



Financial Engineering กับคำถามที่คนสงสัย ภาคสอง: จะเลือกมหาลัยอย่างไร? (2.2)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คุณCherryboyd สมาชิกท่านหนึ่งในพันทิพย์ เคยโพสท์ภาคแรกไว้นานมากแล้ว ซึ่งเลือกอ่านได้ที่ group blog "Financial Engineering กับคำถามที่คนส่งสัย ภาคหนึ่ง" ซึ่งอยู่ที่มุมขวาของบล็อกนี้นะครับ ส่วนภาคใหม่นี่ คุณCherryboyd เพิ่งเขียนเสร็จ และฝากผมมาโพสท์ครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่เรียนนี่เรียนอะไร.........
ขอจัดแบ่งแบบนี้เลยนะครับ




ปัญหาอย่างนึงตอนนี้คือ เนื่องจาก Financial engineering เป็นอะไรที่ใหม่มาก (เกิดจริงๆปี ’73) ซึ่งความรู้ต่างๆ ยังไม่พัฒนาเต็มที่ เรียกได้ว่า ความรู้ต่างๆ เกิดจากการทดลองไป ทำไป มหาวิทยาลัย คนที่มีความรู้ต่างๆ ก็จะกระตุกตัวอยู่ตาม มหาวิทยาลัยที่อยู่ในเมือง เช่น อยู่ใน New York City หรือเมืองใหญ่อื่นๆ ดังนั้น ค่าครองชีพก็จะแพง หากมหาลัยเล็กๆ ถ้าไม่ได้ดังจริงๆ ก็จะไม่ค่อยมีความชำนาญเท่าไร ไม่ค่อยมี Guest speaker หรือ ไม่ได้มีความรู้ใหม่ๆ หรือปัญหาใหม่ๆที่เพิ่ง Update มา... หลายๆมหาลัยตอนนี้เลยพยายามไปเปิด Campus ในNew York หรือที่อื่น สำหรับFE โดยเฉพาะเช่น CMU, U of Toronto, Cornell หรือ Claremont เพื่อที่ว่า จะได้update ความรู้ใหม่ๆ และอยู่ใกล้ชิดตลาดมากขึ้น
ปัญหาอย่างที่สองคือ ความรู้ และอาจารย์ผู้สอน กระจุกตัวไปทาง Sell side หรือ ทาง pricing ซะมาก เวลาพูดถึง FE ก็จะไปนึกถึง pricing ซะส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีใครสนใจทำงานวิจัยทางนั้น Buy side หรือ Port/Risk อะไรเท่าไร เพราะว่าทั้งนอกจากจะอาศัยความรู้คนละแนวกันเลยแล้ว ยังต้องติดตามภาวะตลาด และ ต้องการความรู้พื้นฐานทางด้านธุรกิจมากด้วย ดังนั้น วิชาทางนี้ ส่วนใหญ่ เลยไปเรียนกันใน Business school และก็เรียนแบบไม่เน้นคณิตศาสตร์มากนัก หรือไม่ก็ไปเรียนใน Statistics แต่ก็ทำให้ ยาก และ ก็ยุ่งยากไปเลย
ปัจจุบัน เนื่องด้วย หลักสูตรจะเอนไปทาง Sell side มากกว่า ดังนั้น ส่วนใหญ่ก็จะจัดแบ่ง ประมาณนี้
Basic (Finance/stat/computer) 25%
Buy side 25%
Sell side 50%
เนื่องด้วยความรู้ความชำนาญของอาจารย์ด้วย สิ่งที่สังคม ตลาดต้องการด้วย แถมบางที่ ส่งไปเรียนBuy side ร่วมกับเด็ก MBA ดังนั้น ความรุ้ทางด้านนี้ลึกๆ เลยโดน กด ด้อยลงไปด้วย
แต่ก็มีข่าวดีว่า ตอนนี้ ความรู้ความชำนาญทางด้านสายBuy side ก็มีมากยิ่งขึ้น อาจารย์ผู้สอน ก็พร้อมมากขึ้น หลายๆมหาวิทยาลัย ก็เปิดวิชาเลือก ทางด้าน Buy side ให้ผู้เรียนได้เรียน บางมหาวิทยาลัย ก็พยายามปรับหลักสูตรให้เฉลี่ยกันมากยิ่งขึ้น และ บางมหาวิทยาลัย ก็เปิดเป็นหลักสูตรใหม่ ไปเลย เช่น Master of science in Risk management or Portfolio management และ กลับหลักสูตรเป็น Buy/Sell/Other เป็น50/25/25 แทน ทำให้นักเรียน และบริษัท มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น เช่น บริษัทที่ทำ Risk Management, Wealth Management หรือ พวกHedge fund ก็อาจจะเลือกเด็กที่มาจาก หลักสูตรทางด้าน Buy Side แทน ที่ตอนนี้ กำลังจะขาดแคลนในอนาคต ( เพราะ FE สาย Sell side มีผลิตออกมามากกว่า)





 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2551 5:49:51 น.
Counter : 527 Pageviews.  

Financial Engineering กับคำถามที่คนสงสัย ภาคสอง: จะเลือกมหาลัยอย่างไร? (2.1)


Financial Engineering กับคำถามที่คนสงสัย ภาคสอง: จะเลือกมหาลัยอย่างไร? (2.1)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คุณCherryboyd สมาชิกท่านหนึ่งในพันทิพย์ เคยโพสท์ภาคแรกไว้นานมากแล้ว ซึ่งเลือกอ่านได้ที่ group blog "Financial Engineering กับคำถามที่คนส่งสัย ภาคหนึ่ง" ซึ่งอยู่ที่มุมขวาของบล็อกนี้นะครับ ส่วนภาคใหม่นี่ คุณCherryboyd เพิ่งเขียนเสร็จ และฝากผมมาโพสท์ครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สวัสดีครับ หลังจากลงตอนแรก ไปนานมาก ตอนนี้ก็พอมีเวลามาก เลยขอต่อ Financial Engineering ตอนที่2 นะครับ
จะเริ่มต้นด้วยการไขข้อข้องใจ ที่คนชอบเข้าใจผิดอะไรหลายๆ นะครับ
สาขาวิชา Financial Engineering: Financial Engineering เป็นชื่อที่นิยมที่สุด แต่จริงๆแล้ว บางมหาวิทยาลัยก็อาจจะเรียกชื่อต่างๆกันไปบ้าง เช่น Computational Finance, Mathematical Finance, Financial Mathematics ก็จะถือว่าเป็น Financial Engineering เหมือนกันนะครับ ตอนนี้เนี่ย ก็มีการใช้ชื่อที่เฉพาะทางเข้าไปอีก เช่น Applied Statistics and Financial Simulations หรือ Risk Management ก็จะถือว่าเป็น Financial Engineering ได้เหมือนกันครับ แม้กระทั่งมหาวิทยาลัย เรียกว่า Financial Research แยกออกมาจาก Finance ปรกติ ก็อาจจะพอนับได้เหมือนกันครับ
ต่อไปชี้แจงเพิ่มเติม เรื่องมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเลยนะครับ
1. บางมหาวิทยาลัย เปิดสอนในภาควิชา คณิตศาสตร์ หรือ สถิติศาสตร์ เช่น NYU หรือ USC หรือ U of Toronto หรือ OXFORD หรือ U of Chicago หรือ Imperial College (หรือ เปิดร่วมกับภาควิชาอื่นๆ แต่เน้นอาจารย์จากภาคนี้เป็นหลัก)
2.บางมหาวิทยาลัย เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นหลัก ส่วนใหญ่ใน IE หรือ OR เช่น Columbia, Cornell, U of Michigan เป็นต้น
3. บางมหาวิทยาลัย ก็จะเปิดสอนในคณะที่เป็น MBA เป็นหลัก เช่น Berkeley, CMU, Cambridge (JBS) เป็นต้น ครับ
ข้อแตกต่างที่ชัดเจนอย่างมาก คือ
ความยากง่ายในการเข้าของคนแต่ละคน และ วิชาที่เรียนครับ
เช่น มหาวิทยาลัยที่เปิดจากภาคคณิตศาสตร์ แน่นอนครับว่า คนที่เขารับ ก็จะมองคนที่เรียนป.ตรีทางด้านคณิตศาสตร์มาโดยตรง หรือ มองว่า เด็กที่รับ ต้องมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่แข็งมาก มากพอที่จะไม่ต้องมาเรียนวิชาเลขพื้นฐานเพิ่มเติมอีก อาจจะให้ส่งคะแนนGRE subject test Math หรือเขียนเตือนไว้เลยว่าเหมาะสำหรับ นักเรียนสายMathที่อยากทำงานFinance ไม่มีวิชาพวก Prob/Stat, Calculus เป็นวิชาให้เลือกเรียนในเทอมแรกๆ ดังนั้น ใครที่ไม่ได้เรียนมาโดยตรง หรือ ไม่ได้เรียนวิศวไฟฟ้า หรือ เอกฟิสิกส์มา อาจจะยากในการสมัครเรียนครับ แต่ไม่ได้บอกว่า ถ้าไม่ได้เรียนพวกนี้มา จะไม่มีทางสมัครได้ หรือ เขาจะไม่รับนะครับ
มหาวิทยาลัยที่เปิดจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ แน่นอนครับว่า เด็กจบวิศวกรรมมาก็อาจจะง่ายหน่อย โดยเฉพาะจบ IE/OR ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เคมี หรือว่า ทางEconomics ก็จะเห็นได้ทั่วไป นอกจากนี้ การที่เราเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็จะรู้สึกคุ้นเคยกว่า บรรยากาศก็อาจจะไม่เครียดเท่าเรียนในตึกคณิตศาสตร์ หรือ ไม่แพงเท่าเรียนในคณะMBA แนวในการเรียนก็ไม่ต่างกันมากนัก อาจจะโดนบังคับให้เรียนวิชาสาย OR/IE เป็นพื้นฐานมากกว่าปรกติ เพราะอาจารย์เขาอยากสอน หรือ อาจารย์ชำนาญ ก็จะได้เรียนเยอะหน่อย
ส่วนมหาวิทยาลัยที่เปิดใน MBA School อย่างแรกเลยคือ อาจจะใช้ GMAT/GRE ได้ ค่าเทอมแพง วิชาที่เรียนอาจจะไม่เน้นคณิตศาสตร์มากนัก ประสบการณ์ในการทำงานอาจจะมีผลในการตัดสินใจ และ อาจจะมี Benefit ดีๆหลายๆอย่างเช่น เครือข่ายศิษย์เก่า วิชาทางสายบริหารที่อาจจะได้เรียนมาบ้าง



แต่บางมหาวิทยาลัย ก็จะมีลักษณะผสม เช่น เรียนในวิศวะบางวิชาก็จะให้ไปเรียนกับ เด็กMBA ในMBA School ดังนั้น เราก็จะได้จุดแข็งบางอย่างของเด็ก MBA มาด้วย เช่น Discussion งานกลุ่ม หรือพวก Presentation เทคนิคต่างๆ....... แต่ก็แน่นอนว่า ความรู้ทางด้านนั้น ก็จะไม่เน้นลึกทาง ด้านคณิตศาสตร์มากนัก(แต่ก็ไม่เสมอไปนะครับ) หรือชื่อวิชาเหมือนกัน แต่ สอนในคนละภาควิชา เนื้อหาก็อาจจะตรงข้ามกันไปเลย เช่น วิชา Investment ถ้าไปเรียนในMBA ก็อาจจะเรียนว่า Asset class ต่างกันมีคุณสมบัติอย่างไร Bond, Stock, Real estate, Commodity มีลักษณะอย่างไร เศรษฐกิจปัจจุบัน ควรจัดการลงทุนอย่างไร ความเสี่ยงคิดอย่างไร เอาตัวเลขมาใส่ Excel ได้คำตอบ แต่ถ้าไปเรียนใน Math เขาอาจจะสอน สมการของผลตอบแทนแบบต่างๆ ความเสี่ยง ลักษณะของความเสี่ยง การกระจาย การประเมินความเสี่ยง การหาการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ(ในทางคณิตศาสตร์)ที่สุด
ทีนี้ ก็มีข้อยกเว้นนิดนึง เช่น MBA school ที่ดังๆ ก็อาจจะมีเด็กสายMath หรือ PhD.ไปสมัครเยอะแยะ ทำให้มหาลัยได้เด็กที่ทั้งเก่งคณิตศาสตร์ และ ได้เรียนทางด้านธุรกิจอะไรไปด้วย ดังนั้นเราอาจจะเห็นว่า ภาพรวมทำไม มันดีทั้งMath ทั้งBusinessเลย และทำไมเนื้อหามันถึงได้ Mathมากขึ้น ไมได้ง่ายๆเหมือนที่บอกข้างต้นเลย
ส่วนเรื่องการหางานทำ ก็พอๆกันครับ ใครเรียนคณิตศาสตร์หรือ Technical มาเยอะหน่อย ก็อาจจะมีความสามารถที่จะทำงาน Technical ลึกๆได้ แต่ก็ไมไช่ว่า คนที่จบมาทางMath จะไปเป็นSell หรือ Trader ไม่ได้ และขณะเดียวกัน จบจากMBA Schoolมา ก็ไปทำงานเป็น Quantitative analyst ได้ ถ้าทำไหว




 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2551 5:47:14 น.
Counter : 807 Pageviews.  


B Oprysk
Location :
Turin Italy

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Favorite Quote: Trust the Lord with all you heart.

Religion: Christian, Seventh-day Adventist (a serious believer)

Academic Degrees:

PhD candidate, Statistics and Applied Mathematics, Universita` di Torino
Master in Financial Economics, Universitaet Freiburg,
Bachelor in Asia Pacific Management, Ritsumeikan Asia Pacific University

Academic interests: Complex Social Network, Decision Theory, Random Networks, Graph Theory, Game Theory, Mathematical Economics

Other interests: Christianity (Seventh-day Adventist), Music (classical, RnB, Trance), Fitness, Arts (romanticism, futurism)

For more info, see

http://sites.google.com/site/banchongsan/Home
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add B Oprysk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.