เขียนแบบธรรมชาติ นึกอะไรได้ก็เขียน
Financial Engineeringกับคำถามที่คนสงสัย(1.2)


Financial Engineeringกับคำถามที่คนสงสัย(2)

ใครเพิ่งเข้ามา เข้าไปอ่านตอนแรกที่ผมเอามาลงข้างล่างนะครับ


ความคิดเห็นที่ 5
ขอบคุณนะอุตส่าห์พิมพ์ แต่ไม่รู้เรื่องเลย ตกเลข








จากคุณ : hairy_potto - [ 8 พ.ย. 50 21:39:20 ]
ความคิดเห็นที่ 6

แต่ถ้าคิดจะทำงานในเมืองไทย จะได้ใช้ความรู้พวกนี้หรือครับ?

จากคุณ : กายทิพย์ - [ 9 พ.ย. 50 01:59:36 ]
ความคิดเห็นที่ 7

ได้ยินว่า BOT กำลังขาดบุคลากรที่จบ FE ค่ะ รู้จักพี่คนนึง จบ FE จาก U of Michigan พี่เค้าบอกว่า เรียนแล้ว ลืมหมดแล้ว เพราะว่าไม่ได้ทำงานเลย ที่เรียนได้เพราะพี่เค้าชอบเลขด้วย แต่พี่เค้ายังอยู่ที่นี่ แล้วก็เรียน cer ต่อค่ะ

เก่งจังๆ

จากคุณ : อยากเรียนแต่ไม่ชอบเลข (นางสาวเพียงออ) - [ 9 พ.ย. 50 03:47:12 ]
ความคิดเห็นที่ 8

จบสถิติ มาค่ะ อ่านแล้วอยากเรียนจังเลย
แต่มีครอบครัวแล้ว คิดว่าไปเรียนไกลขนาดนั้นไม่ได้
ช่วยแนะนำที่เรียนที่ใกล้ LA สุดๆๆ มีไหมคะ

จากคุณ : แม่น้องวิน - [ 9 พ.ย. 50 04:53:27 ]
ความคิดเห็นที่ 9

ต้องขอขอบคุณคุณcherryboydที่เข้ามาชี้แจง เคยคิดจะพิมพ์เหมือนกัน แต่ว่า ขี้เกียจซะ และไม่ได้เรียนมาโดยตรง แต่สัมผัสมาเยอะ เพราะเรียนสายfinancial economicsมา

แต่พอดีตอนเรียนโทได้มีโอกาสสมัผัสเนื้อหาของทั้งสองแบบ เพราะในทางทฤษฎีแล้วมันมีความสัมพันธ์กันมาก

ผมขออธิบายเพิ่มเติมละกันนะครับ ให้คนที่อยากรู้ได้รู้ เรื่องที่จะอธิบายคือ แล้ว financial engineering กับ financial economics มันต่างกันยังไงล่ะ


คำตอบที่สั้นที่สุดคือ financial engineering หรือ mathematical finance มองเรื่อง ราคาหุ้นต่างกัน financial engineering ไม่ได้สนเรื่อง ดีมานด์ ซัพพลายใดๆทั้งสิ้น เอาแค่สมมติฐานสั้นๆ ว่าราคาหุ้นแท้จริงๆแล้วมันเดินแบบสุ่ม (stock price follows random walk model) เพราะว่า ขืนเราสมมติฐานว่าหุ้นมันมักจะขึ้น ป่านนี้ทุกคนก้อรวยไปหมดแล้ว หรือถ้าเราสมมติให้ราคาหุ้นมักจะลง แล้วใครจะไปลงทุนล่ะครับ เพราะงั้นที่ราคาหุ้นเดินแบบสุ่ม นี่แหละเหมาะสมที่สุด เราใช้สมมติฐานสั้นๆนี้มาตั้งราคาหุ้นที่เหมาะสม

แล้ว แนวทางนี้ดียังไงล่ะ

ก็ดีตรงที่มันคำนวนง่ายดีน่ะสิครับ เพราะว่ามันสามารถคำนวนได้ เราจึงเรีนกสาขานี้ว่า mathematical finance หรือ quantitative finance เพราะขืนเอาdemand supply มาหาราคา ก็ตายพอดี เราต้องมานั่งคิดว่า เอ หุ้นแบบนี้ น่าจะมีความต้องการแค่ไหน แล้วนักลงทุนมีความต้องการยังไง แล้วเราจะซัพพลายหุ้นกี่อัน สรุปแล้วราคาที่จุดดุลยภาพ (equilibrium) แล้ว เอาจริงๆ นี่ก้ออาจจะไม่ใช่ราคาที่เหมาะสมเลยก้อได้ เพราะดีมานด์ของตลาดที่เราประเมินไว้ ย่อมแตกต่างกับของจริงเสมอ เพราะงั้น ในทางfincial economics เราบอกได้แค่ว่า ราคาที่เหมาะสมมี แต่เท่าไหร่ เราไม่รู้จริง

แต่ว่านะครับ ภายใต้สมมติฐานหลายอันเดี่ยวกับตลาดหุ้น เราจะพบว่า ราคาจากจุดดุลภาพที่ทางสายfinancial economics เสนอ กับ ราคาจากการเดินแบบสุ่มที่ทางสาย mathematical finance/ financial engieering เสนอนัั้น มันราคาเดียวกัน!! นี่คือหัวใจของทฤษฎีfinanceสมัยใหม่ เขาเรียกว่า Fundamental Theorem of Finance เทอมที่แล้ว ผมได้มีโอกาสสอนproofsของทฤษฎีนี้

นี่แหละ คือความน่าอัศจรรย์ใจ และเสน่ห์ของ finance นั่นก็คือ ไปๆมาๆ ภายใต้สมมติฐานหลายอย่างเดี่ยวกับตลาดหุ้น ราคามันเป็นอันเดียวกันได้

เอาแค่นี้ก่อนนะครับ ไว้นึกไรได้อีกจะมาแนะนำเพิ่ม

จากคุณ : บุ้ง (B Oprysk) - [ 9 พ.ย. 50 06:33:51 ]
ความคิดเห็นที่ 10

จริงๆต้องบอกว่า discounted stock price follows martingale process ถึงจะถูก นะครับ แต่ไม่ขออธิบายเพิ่มนะครับ
แก้ไขเมื่อ 09 พ.ย. 50 06:41:54

จากคุณ : บุ้ง (B Oprysk) - [ 9 พ.ย. 50 06:38:54 ]
ความคิดเห็นที่ 11

อยากทราบว่า แล้วใน UK มีมหาลัยไหนที่มีชื่อเสียงด้าน FE บ้างคะ

จากคุณ : cFos (cFos) - [ 9 พ.ย. 50 13:29:07 ]
ความคิดเห็นที่ 12

เอ่ ถ้าอ่านตามทีคุณ CherryBoyd โพสต์
FE เป็น field ที่เหมาะกับคนที่เรียนคณิตศาสตร์และสนใจ Finance มากกว่าคนที่เรียนสายอื่น เข้าใจยังงี้ถูกป้ะคะ

จากคุณ : ParimaA - [ 9 พ.ย. 50 19:17:14 ]
ความคิดเห็นที่ 13

งั้นเรามาคุยวิชาการเพิ่มเติมกันดีกว่านะครับพี่บุ้ง (B Oprysk) ที่ต่อไปจะเรียกว่า คุณบุ้ง นะครับเพื่อความง่ายในการพิมพ์
ครับ เป็นที่น่าแปลกใจมากว่า FE สามารถอธิบายได้อย่างไร โดยไม่มีการสนความต้องการทางเศรษฐศาสตร์อะไรเลย เป็นไปได้อย่างไร จริงๆแล้วก็มีเหตุผลที่ซับซ้อนปานกลางอยู่บ้างครับ
FE จริงๆแล้วไม่ได้สามารถทำนายได้ 100%ครับ ก็เหมือนทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่ก็ไม่สมบูรณ์แบบ ต้องตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานต่างๆมากมาย เช่น ค่านั้นคงที่ ค่านู้นคงที่ ค่านี้ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา

FE ก็ตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานหลายๆข้อที่น่าสนใจ เพื่อให้สมการต่างๆเป็นจริงเช่นเดียวกันครับ ข้อสนันนิษฐานนึงคือ ถ้าราคานั้นอุดมคติ(ยุติธรรม)แล้ว ราคานั้น คือ risk-neutral หรือ ราคาที่สนแต่กำไรขาดทุน ไม่สน demand supply ความเสี่ยง ฯลฯ
และมันก็คือ ราคาที่ นักเศรษฐศาสตร์ คำนวณมาได้เช่นเดียวกัน

อาจจะงงว่าเป็นไปได้อย่างไร คืออย่างนี้ครับ ถ้าราคาในโลกแห่งความเป็นจริง ถ้ายุติธรรม(Arbitrage free)แล้ว เท่ากับราคาอุดมคติ (risk-neutral) เพราะ ตลาดการเงิน ตลาดหุ้น ในสภาวะปรกติ ถือว่าเป็นตลาดที่ มีความคล่องสูง liquidity ดีมาก การกระจายข่าวสารดีมาก ทุกๆคนได้รับข่าวสารเช่นเดียวกัน และ ตอบสนองต่อข่าวสารเหมือนกัน เช่น ถ้าหุ้นตัวไหนราคาสูงหรือต่ำกว่าปรกติ ทุกๆคนในตลาดจะทราบข่าวนี้ และจะรีบแห่กันไปซื้อ/ขาย จนทำให้ ความผิดปรกตินั้น หมดไป หรือหายไป ดังนั้น เราจึงสามารถใช้ FE ในการคำนวณราคาปรกติได้ ครับ
แก้ไขเมื่อ 09 พ.ย. 50 20:07:00

จากคุณ : CherryBoyd - [ 9 พ.ย. 50 20:03:22 ]



Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 3 กรกฎาคม 2551 5:06:16 น. 0 comments
Counter : 1423 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

B Oprysk
Location :
Turin Italy

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Favorite Quote: Trust the Lord with all you heart.

Religion: Christian, Seventh-day Adventist (a serious believer)

Academic Degrees:

PhD candidate, Statistics and Applied Mathematics, Universita` di Torino
Master in Financial Economics, Universitaet Freiburg,
Bachelor in Asia Pacific Management, Ritsumeikan Asia Pacific University

Academic interests: Complex Social Network, Decision Theory, Random Networks, Graph Theory, Game Theory, Mathematical Economics

Other interests: Christianity (Seventh-day Adventist), Music (classical, RnB, Trance), Fitness, Arts (romanticism, futurism)

For more info, see

http://sites.google.com/site/banchongsan/Home
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add B Oprysk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.